ads head

วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กลยุทธ์ซื้อหุ้นปี 2556 ของ..บัฟเฟตต์

กลยุทธ์ซื้อหุ้นปี 2556 ของ..บัฟเฟตต์

สวัสดีครับ เพื่อนๆ พี่ๆ เฟสบุ๊ค
พบกัน ทุกวันเสาร์  และวันอาทิตย์ นะครับ
เพื่อให้สอดคล้องกับ หนังสือเรื่อง…
“25 เคล็ดลับการลงทุนของ..บัฟเฟตต์”
ที่จะเปิดตัวหนังสือในงาน “สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ”
วันนี้จึงขอเสนอตอน  “กลยุทธ์ซื้อหุ้นปี 2556 ของ..บัฟเฟตต์”

ที่มา http://www.doctorwe.com/variety/20121008/3394
วอร์เรน บัฟเฟตต์ อภิมหากูรูนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุดในโลก
จึงเป็นเหตุให้ไม่ว่าบัฟเฟตต์จะเคลื่อนไหวในการซื้อหรือขายทั้งหุ้นและกิจการ
ก็มักจะถูกจับตามองจากผู้คนทั่วโลก
ในปัจจุบันและปีหน้า 2556 หรือ 2013  บัฟเฟตต์ได้เริ่มส่งสัญญาณการเข้าซื้อหุ้นและกิจการ
ซึ่งพอจะจำแนกกลยุทธ์พร้อมทั้งเหตุผลได้ดังนี้ครับ


หนึ่ง เน้นการซื้อกิจการที่ใช้เงินลงทุนสูง
ทอดด์ โลเวนสไตน์ (Todd Lowenstein) ผู้จัดการกองทุนฯ ได้พูดถึงบัฟเฟตต์ว่า
“ปัญหาของบัฟเฟตต์ในขณะนี้..เป็นปัญหาที่พวกเราทุกคนอยากจะมี
นั่นก็คือ เขามีเงินมากเกินไป”


ปัจจุบันพบว่าบัฟเฟตต์สามารถสร้างกระแสเงินสดผ่านบริษัทเบิร์กไชร์ ฮาทาเวย์
บริษัทของเขาสูงถึงเดือนละ 1 พันล้านดอลลาร์
และยังพบต่อไปอีกว่าเขามีเงินในมือกว่า 37.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นเงินจำนวนมหาศาล
อาจกล่าวได้ว่า “ถ้ามีโอกาสรออยู่ บัฟเฟตต์จะซื้อแต่กิจการที่มีการลงทุนขนาดใหญ่ๆเท่านั้น
เพราะเขารู้ว่ากิจการที่มีการลงทุนขนาดเล็กจะไม่สามารถทำให้เบิร์กไชร์มีผลประกอบการที่ดีขึ้นมาได้”
 

สอง ธุรกิจแบบพื้นฐาน..ที่มั่นคง แต่อนาคตไกล 
บัฟเฟตต์ยังคงไม่ชอบลงทุนในธุรกิจกลุ่มเทคโนโลยี
โดยเฉพาะกลุ่ม App Economy ที่นำแถวโดย Apple, Google, Amazon เป็นต้น
ด้วยเหตุผลเดิมๆของบัฟเฟตต์ที่ว่า
“ผมไม่เข้าใจโมเดลธุรกิจ ดังนั้นผมก็จะไม่ลงทุนซื้อหุ้น” 


บัฟเฟตต์ยังคงชื่นชอบในการลงทุนในอุตสาหกรรมพื้นฐาน
เช่น การเข้าซื้อกิจการรถไฟเบอร์ลิงตัน นอร์ธเทิน ซานตาเฟ
ซึ่งเข้าซื้อกิจการนี้ด้วยเงินสูงถึง 34 พันล้านดอลลาร์
บัฟเฟตต์ซื้อกิจการรถไฟเพราะ


เขามั่นใจว่า….  ในอนาคตอันใกล้นี้ราคาน้ำมันจะยิ่งมีราคาสูงขึ้น
และการขนส่งผ่านทางรถไฟจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
ซึ่งจะทำให้สามารถปรับราคาขนส่งเพิ่มขึ้นได้
และจะนำมาซึ่งกำไรก้อนโตนั่นเอง 
 

สาม ผู้นำตลาด..ก็คงยังเป็น “ผู้นำตลาด” 
หากเพื่อนๆพอจำกันได้
หนึ่งในหุ้นที่บัฟเฟตต์ตั้งใจจะถือไว้โดยไม่ขายออกไปเลย นั่นก็คือ หุ้นโคคาโคลา
ซึ่งเป็นบริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจน้ำอัดลมสูงที่สุดในโลก
บัฟเฟตต์ยังคงให้ความสำคัญกับการเป็น “ผู้นำตลาด” ของบริษัทที่เขาคิดที่จะเข้าไปซื้อกิจการอยู่ดี 


ปีที่แล้ว บัฟเฟตต์ได้ซื้อบริษัท ลูบริซอล (Lubrizol) ซึ่งเป็นผู้นำตลาดทางด้านผลิตภัณฑ์หล่อลื่น
ด้วยเงินสูงถึง 9 พันล้านดอลลาร์
นอกจากนั้นเขายังสนใจที่จะซื้อบริษัท เฮงเกล (Henkel) ในประเทศเยอรมนี
ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์กาวและสารเคมี บริษัทยังเป็นเจ้าของกาวยี่ห้อ ล็อคไทล์ (Loctile)
ซึ่งขายดีเป็นอันดับหนึ่งของโลก


ผลิตภัณฑ์ของบริษัทยังกินส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของตลาดโลก
ปัจจุบันยังพบต่อไปอีกว่า
เฮงเกลเป็นผู้ป้อนผลิตภัณฑ์กาวและสารเคมีให้กับบริษัท แอร์บัส
ซึ่งเป็นผู้สร้างเครื่องบินพาณิชย์รายใหญ่ของโลกอีกด้วย
 

สี่ บริษัทที่มี “แบรนด์” จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ดีกว่า 
บัฟเฟตต์ได้วางแผนเข้าไปซื้อกิจการบริษัท เดียร์ (Deere)
ผู้นำทางด้านเครื่องจักรการเกษตรของสหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่าสูงถึง 32.2 พันล้านดอลลาร์
แม้ว่าเดียร์จะมีมูลค่าการตลาดสูงมากถึงเพียงนั้น
บัฟเฟตต์ก็ยังคงชื่นชอบบริษัทที่มี “แบรนด์” อยู่ดี 


ปัจจุบันสินค้ายี่ห้อ “เดียร์” มีการพัฒนาทางด้านจักรกลการเกษตรอยู่ตลอดเวลา
และไม่ว่าเดียร์จะผลิตเครื่องจักรการเกษตรอะไรออกมาสู่ตลาดก็ตาม
ก็มักจะได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี
นอกจากนั้นผลกำไรของเดียร์ก็น่าประทับใจมาก
โดยมีผลกำไรสูงถึง 33 เปอร์เซ็นต์เฉลี่ย ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา 
 

ห้า  “ราคาสินค้าเกษตร” จะมีแต่..สูงขึ้น
ผมเคยเขียนถึงกูรูนักลงทุนที่ชื่อ จิม โรเจอร์ส ที่พูดถึง “ราคาสินค้าเกษตร”
(อ่านได้ใน http://www.doctorwe.com/posttoday/20120322/257 )
ไว้ว่า  ในอีก 20-30 ปีข้างหน้า จะเกิดปัญหาการขาดแคลนเกษตรกรจำนวนมาก
ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ผลผลิตทางการเกษตรเกิดการขาดแคลนตามไปด้วย


โดยสาเหตุมาจากการที่คนหนุ่มสาวย้ายเข้ามาทำงานในเมืองมากขึ้น
เพราะได้เงินพอๆกัน..แต่ทำงานสบายกว่า
และที่สำคัญคือได้มีโอกาสสังคมกับคนอื่นไปด้วย
เขายังเชื่อต่อไปว่า เมื่อไร..ที่ของขาด
เมื่อนั้น..ราคาสินค้าเกษตรก็จะต้องขึ้นอย่างแน่นอน


เช่นเดียวกัน บัฟเฟตต์ก็มีความเชื่อว่าในอนาคต..
ราคาสินค้าเกษตรจะต้องสูงขึ้นมากอย่างแน่นอน
โดยเขากล่าวว่า “อีก 100 ปีข้างหน้า
ผลผลิตทางการเกษตรจะมีราคาสูงกว่า..ทองคำ
 

ซึ่งก็เห็นกันอยู่แล้วว่า ราคาสินค้าเกษตรในปี 2554 นั้น
มันสูงเป็น 6 เท่าของราคาสินค้าเกษตรเมื่อ 10 ปีก่อน”
เมื่อปีที่แล้ว  บริษัท เดียร์ ขายเครื่องจักรการเกษตรสูงถึง 24 พันล้านดอลลาร์
ซึ่งก็คาดกันว่าในปี 2563
ยอดขายของเดียร์จะสูงถึง 50 พันล้านดอลลาร์ทีเดียว

13 เทรนด์ตลาดร้อนปี 2556 "กลยุทธ์สินค้ายุคผู้บริโภคทรงอำนาจ"

13 เทรนด์ตลาดร้อนปี 2556 "กลยุทธ์สินค้ายุคผู้บริโภคทรงอำนาจ"

updated: 29 ธ.ค. 2555 เวลา 18:10:09 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?
การขยายตัวของ "สมาร์ทโฟน" และเทคโนโลยีการสื่อสารกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคเข้าสู่ "ยุคดิจิทัล" ด้วยช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็วในสังคมออนไลน์ ทำให้วันนี้บทบาทของ "ผู้กำหนดเทรนด์" การตลาด เปลี่ยนมือจากสินค้าและนักการตลาด มาเป็น "ผู้บริโภค" อย่างเต็มตัว

เมื่อ "ผู้บริโภค" กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลในการกำหนดเทรนด์ตลาด ส่งผลให้กลยุทธ์ที่เจ้าของสินค้าต่าง ๆ นำมาใช้จากนี้ ต้องวิ่งไปตามพฤติกรรมที่ซับซ้อนของผู้บริโภค

ศาสตราจารย์ ดร.ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ ที่ปรึกษาและนักกลยุทธ์การตลาดชื่อดัง และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธรู เดอะ ไลน์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ให้สัมภาษณ์พิเศษ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า พฤติกรรมของผู้บริโภควันนี้ซับซ้อนมากขึ้น ตามสังคมที่เปลี่ยนไป สื่อใหม่ ๆ ที่เข้ามามีอิทธิพล ส่งผลให้เทรนด์การตลาดจากนี้ นักการตลาดต้องคำนึงถึงไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคเป็นตัวตั้ง แล้วจึงนำกลยุทธ์ต่าง ๆ เข้าไปจับตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป

"ดร.ธีรพันธ์" ได้แบ่งเทรนด์การตลาดปี 2556 ออกเป็น 13 กลยุทธ์ที่มาแรงและเชื่อมโยงกันและกัน

1.ซีเอสอาร์ (Corporate Social Responsibility) จะเป็นเทรนด์ที่มาแรงและจะได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะกระแสรักษ์โลกที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยซีเอสอาร์จากนี้จะเปลี่ยนไปอย่าง
ชัดเจน จากเดิมองค์กรต่าง ๆ ขายสินค้าได้กำไรแล้วค่อยคืนกำไรสู่สังคม แต่จากนี้ต้องคำนึงว่าการทำซีเอสอาร์เกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับแบรนด์หรือไม่ อย่างไร

"จากนี้นักการตลาดต้องสร้างกิจกรรมซีเอสอาร์ให้สัมพันธ์และสามารถเชื่อมโยงกับแบรนด์ได้ทั้งระบบ ตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบ หรือแม้แต่กระบวนการผลิตที่ไม่ปล่อยน้ำเสียต่อชุมชน ก็เป็นการทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยเช่นกัน โจทย์คือทำอย่างไรให้โลกน่าอยู่ขึ้น"

2.การตลาดส่วนบุคคล (Personalization Marketing) ด้วยไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ต้องการความเป็นส่วนตัว

สูงขึ้น นักการตลาดจึงต้องทำตลาดผ่านความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค บนช่องทางการสื่อสารออนไลน์ ทั้งโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ให้สามารถเข้าถึงไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค เพื่อให้นักการตลาดสามารถวางแผนกลยุทธ์รองรับพฤติกรรมอย่างลึกซึ้ง

3.การตลาดสังคมเครือข่าย (Social Networking Marketing) เป็นเรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีสังคมกลุ่มเพื่อนอยู่บนโลกออนไลน์ ซึ่งเทรนด์ที่จะมาแรงในปี 2555 คือการแชร์รูปภาพระหว่างเพื่อน (Photo Sharing) อาทิ ถ่ายรูปอาหารการกิน แสดงความคิดเห็นเรื่องของเพื่อน ฯลฯ

"ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วบนโลกออนไลน์ ทำให้เกิดสิ่งที่น่ากลัวสำหรับนักการตลาด คือลูกค้ามีอำนาจมากขึ้น และมีพลังมากขึ้น ควบคุมยาก ทำให้เทรนด์การตลาดต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ไปจับตามพฤติกรรมของผู้บริโภค จนเป็นที่มาของกลยุทธ์ที่ 4"

4.ปากต่อปากบนโลกออนไลน์ (Word-of-mouse Marketing) โดยเทรนด์นี้ไม่ได้หมายถึงการบอกต่อปากต่อปากเหมือนเมื่อก่อน แต่หมายถึงการบอกต่อด้วยการคลิกเมาส์ เพื่อบอกเรื่องราวต่าง ๆ ให้เพื่อนได้รับรู้ผ่านโลกออนไลน์ และเมื่อผู้บริโภครู้สึกดีหรือไม่ดีกับแบรนด์ใด ก็พร้อมที่จะคลิกเมาส์เพื่อบอกต่อทันทีอย่างรวดเร็ว ดังนั้นนักการตลาดต้องรู้จักเรียนรู้และสร้างกระแสผ่านช่องทางนี้ด้วยกระแสปากต่อปากบนโลกออนไลน์

5.กลยุทธ์การสื่อสารผ่านแบรนด์ (Branding Strategy) จะเกิดขึ้นแน่นอน ตลอดปี 2556 "แบรนดิ้ง" ยังเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจากนี้ไป สินค้าหรือบริการจะไม่ต่างกัน ทำให้นักการตลาดต้องเร่งสร้างแบรนด์ เพื่อสร้างความแตกต่างและเอกลักษณ์เฉพาะตัว

6.การสร้างประสบการณ์กับแบรนด์ (Brand Experience) นักการตลาดต้องเพิ่มดีกรีการสร้างประสบการณ์ร่วมระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ แรลลี่ การเชิญผู้บริโภคมาทำอาหาร ฯลฯ เพื่อสะท้อนความเป็นตัวตนของแบรนด์

7.การสร้างความผูกพันกับแบรนด์ (Brand Engagement) วันนี้แบรนด์สามารถสร้างกิจกรรมขึ้นมาแล้วดึงให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วม โดยสร้างสิทธิพิเศษให้แก่สมาชิกของแบรนด์นั้น ๆ หรือสร้างแบรนด์คอมมิว นิตี้ (Brand Community) ยกตัวอย่าง เอไอเอสให้สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าเอไอเอส เซเรเนด อาทิ มีห้องรับรองสำหรับลูกค้า
เซเรเนดโดยเฉพาะ รวมถึงการให้สิทธิพิเศษหรือส่วนลดในการซื้อสินค้าแบรนด์ต่าง ๆ ที่ร่วมรายการ

8.แบรนด์อินโนเวชั่น (Brand Innovation) คือการสร้างหรือพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ให้ผู้บริโภคสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง และเหนือกว่าแบรนด์อื่น ๆ หรือเรียกว่า "Hero Design" ที่ต้องติดตรึงใจผู้บริโภคและไม่เคยมีแบรนด์ไหนทำมาก่อน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นความเหนือกว่าในแง่ "ฟังก์ชั่น" เท่านั้น แต่อาจจะเป็น "ความแตกต่าง" ในแง่อารมณ์ ความรู้สึกของผู้บริโภค

9. Right-time of Real-time Marketing ต่อไปนี้ผู้บริโภคสามารถสื่อสารได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านออนไลน์ ดังนั้นแนวโน้มการซื้อของออนไลน์จะเติบโตขึ้น สังเกตได้จากค้าปลีกต่าง ๆ มีการพัฒนาช่องทางขายผ่านออนไลน์เพิ่มขึ้น

"ผู้บริโภคอาจจะไม่ต้องใช้เวลากับการซื้อสินค้าในช็อปอีกต่อไป เมื่อมีออนไลน์ลูกค้าสามารถทำทุกอย่างได้บนเครื่องมือการสื่อสาร เกิดพฤติกรรมที่เรียกว่า "In-line Shopping"

10.การตลาดที่เน้นเนื้อหาสาระ (Content Marketing) สิ่งนี้เริ่มเห็นชัดเจนขึ้น คนที่มี "คอนเทนต์" ถือว่ามี "ขุมทรัพย์" อยู่ในมือ เพราะสามารถนำคอนเทนต์เข้าไปอยู่ในทุกช่องทางการสื่อสารเพื่อสร้างมูลค่า

เพิ่มได้ สังเกตได้ว่าวันนี้สินค้าบางตัวเริ่มสร้างคอนเทนต์ของตัวเองขึ้นมา อาทิ บริษัทที่ขายสินค้าสุขภาพสร้างเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับสุขภาพขึ้นมาบนออนไลน์ สร้างความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

"วันนี้ผู้บริโภคไม่ได้เสพคอนเทนต์ที่เป็นเอ็นเตอร์เทนเมนต์เพียงอย่างเดียว แต่เสพคอนเทนต์ที่เป็นการผสมผสานสาระและบันเทิงควบคู่กันไป (edutainment) สะท้อนจากละครที่ได้รับความนิยมอย่างแรงเงา ก็ต้องมีสอดแทรกสาระเข้าไปด้วย ทำให้วันนี้รายการที่อยู่ในตลาดได้ ต้องเริ่มจากการมีคอนเทนต์ที่ดี แล้วค่อยใส่รายละเอียดต่าง ๆ ลงไป"

11.การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management) หรือกลยุทธ์ CRM ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค ซึ่งต่อเนื่องไปถึงเทรนด์ต่อไป

12. Convergence Marketing คือการสร้างกลุ่มก้อนทางธุรกิจ ซึ่งเป็นการพัฒนามาจากกลยุทธ์ "โคแบรนดิ้ง"
(cobranding) แตกต่างตรงที่ convergence เป็นการผนึกกำลังกันทางธุรกิจที่หลากหลาย ยกตัวอย่างอีเวนต์ หรือรายการสักรายการหนึ่ง ต้องมีการดึงพันธมิตรรายต่าง ๆ เข้ามานำเสนอผู้บริโภคเป็นแพ็กเกจ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจร่วมกัน

"ความต้องการของผู้บริโภคที่ซับซ้อนในวันนี้ หมดยุคข้ามาคนเดียว แบรนด์แบรนด์หนึ่งไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ทุกจุดได้อีกต่อไป"

13.การบริหารความสัมพันธ์กับคู่ค้า (Partner Relationship Management) จากเทรนด์ของ Convergence ที่จะรุนแรงขึ้นในปี 2556 นี้ ทำให้ธุรกิจต้องเน้นบริหารความสัมพันธ์ระหว่างคู่ค้ากับคู่ค้ามากขึ้น

"ดร.ธีรพันธ์" สรุปทิ้งท้ายว่า กลุ่มสินค้าที่จะเป็นไฮไลต์ในปี 2556 เชื่อว่าจะเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิง ทั้งเครื่องสำอาง ความงาม แฟชั่น รวมถึงอาหารเสริมและสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวเนื่องที่สามารถทำให้ผู้บริโภครู้สึกหนุ่มสาวอยู่ตลอดเวลา ด้วยจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการในด้านนี้สูงขึ้นตามไปด้วย

เศรษฐกิจฟองสบู่

เศรษฐกิจฟองสบู่


รศ.ธนรักษ์ เมฆขยาย  คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. 2550
ที่มาhttp://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2011
โอกาส ครบรอบ 10 ปีวิกฤตเศรษฐกิจ เราควรทบทวนเพื่อเป็นบทเรียน และไม่เพียงจะไม่ก้าวพลาดอีกครั้ง แต่ช่วยกันปฏิบัติ (ไม่ดีแต่พูด) ในทางนำพาเศรษฐกิจของเราให้แข็งแกร่ง

ถ้านับตั้งแต่ทศวรรษ 2470 เป็นต้นมา วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540  นับเป็นวิกฤตร้ายแรงที่สุดของระบบเศรษฐกิจตกต่ำ  สร้างความเสียหายต่อทุกชนชั้น   ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างสูงสุด วิกฤตการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร   สมมติฐานคือ เป็นเรื่องของวัฎจักรเศรษฐกิจ  เป็นความผิดพลาดของรัฐบาลในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค  หรือเป็นเพราะภาคประชาชน   อย่างไรก็ดี อาจกล่าวในเชิงลักษณะอาการได้ว่า เป็นเพราะ “ฟองสบู่แตก”

ความหมายของเศรษฐกิจฟองสบู่

การที่ เศรษฐกิจสาขาใดสาขาหนึ่งพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ได้ผลตอบแทนมากกว่าสาขาอื่น และส่งผลกระทบอย่างรุนแรง  เป็นสภาพที่ระบบเศรษฐกิจเติบโตแบบลวงตา  ซึ่งเฉพาะมูลค่าเท่านั้นสูงขึ้น ไม่ส่งผลให้ปริมาณผลผลิต การจ้างงาน และรายได้ที่แท้จริงของประชาชนเพิ่มขึ้น  ไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพื้นฐาน (Real Sector)  เช่น ปรากฏการณ์ที่มูลค่าในทางเศรษฐกิจหรือทรัพยากรถูกดึงไปรวมกัน  เมื่อเศรษฐกิจภาคการเงินการธนาคารพองขึ้นเสมือนลูกโป่งที่ลอยขึ้นไป  สุดท้ายจะแตกและตกลงมาสู่พื้นฐานความจริง

เศรษฐกิจฟองสบู่ (Bubble Economy)  หรือ สินทรัพย์ที่พองตัวขึ้นมา (Inflated Asset) เป็นภาวะบูม (Boom) ของเศรษฐกิจที่เกิดจากมายาภาพของคนที่เชื่อว่า ราคาสินค้าที่อยู่ในเศรษฐกิจสต็อก (Stock Economy) จะมีราคาสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน   ทุกคนจึงแห่กันมาเล่นเกมเงินตรา (เก็งกำไร) เพื่อแสวงหา Capital Gain สะท้อนถึงเศรษฐกิจขยายตัวเพราะอุปสงค์เทียม


ประเภทของเศรษฐกิจฟองสบู่
ตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 16  ในเมืองการค้าของยุโรปที่มีการขยายตัวของการค้า  เคยเกิดการเก็งกำไร พร้อมๆ กับวิวัฒนาการของเศรษฐกิจทุนนิยม หลังจากนั้นฟองสบู่ได้ทวีความซับซ้อนและรุนแรงยิ่งขึ้น   เศรษฐกิจฟองสบู่อาจแบ่งตามลักษณะของกลุ่มคนที่ทำให้เกิดออกเป็น 3 ประเภท  ดังนี้

1.  มวลชนทั่วไปที่ไม่รู้ความ เริ่มจากการเป็นเศรษฐีในชั่วพริบตาของผู้คนจำนวนมากที่เข้ามาเล่นเก็งกำไร  ไปกระตุ้นความโลภของคนอื่นให้เข้ามาผสมโรง  จนคลั่งไคล้ลุกลามไปทั่วภายในเวลาไม่นาน  เช่น เหตุการณ์คลั่งไคล้ดอกทิวลิปที่ฮอลแลนด์ในศตวรรษที่ 17

2.  มวลชนผู้มีอันจะกิน สร้างกระแสการเก็งกำไรเพื่อให้มีรายได้ที่ทัดเทียม  และการเลียนแบบเพื่อความเท่าเทียมทางสังคม  เช่น เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเมื่อทศวรรษที่ 1920  เนื่องจากภาวะมอเตอร์ไรเซชั่น (ประชายานยนต์) ที่ผู้คนต้องการมีรถยนต์เป็นของตนเอง  ทำให้เกิดกระแสการเก็งกำไร  เพื่อนำผลได้มาซื้อรถยนต์เพื่อสร้างความทัดเทียมกันทางสังคม

3.  บริษัทขนาดใหญ่ ระดมเงินจำนวนมหาศาลจากตลาดทุนด้วยต้นทุนที่ต่ำ  แต่ไม่นำเงินไปลงทุนทางการผลิตเช่นในอดีต  กลับหมุนเงินจำนวนมหาศาลนี้มาเล่นเก็งกำไร  ประกอบกับการเปิดเสรีทางการเงิน  ทำให้สร้างผลกำไรได้สูงกว่าจากการผลิต   ต่อมาบริษัทอื่นๆ ทั้งใหญ่และเล็ก ต่างเอาอย่าง  เช่น เศรษฐกิจฟองสบู่ช่วงครึ่งหลังทศวรรษที่ 1980  

 กลไกการเกิดเศรษฐกิจฟองสบู่

สามารถแบ่งตามวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเป็น 2 ห้วง ดังนี้

(1)  ห้วงศตวรรษที่ 19 (ปี ค.ศ. 1800-1899)

แบ่งออกเป็น 8 ขั้นตอน ดังนี้

1.  มีการสะสมความมั่งคั่งก่อนที่วัฎจักรเศรษฐกิจหนึ่งๆ จะเริ่มขึ้น ยิ่งถ้าสะสมก่อนห้วงบูม พอถึงห้วงบูม การเก็งกำไรยิ่งมีมากขึ้น  ทำให้ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ (Panic) รุนแรงยิ่งขึ้น

2.  มีปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจ   ถ้าหลายๆ ปัจจัยเกิดขึ้นพร้อมกัน หรือเป็นปัจจัยที่ทรงพลัง  เช่น ค่าเงินเยนญี่ปุ่นแข็งขึ้น  จะผลักดันให้เศรษฐกิจโตแบบพุ่งโลด  การเก็งกำไรเกิดขึ้นง่ายและรุนแรงกว่าปกติ

3.  ราคาสินค้าแพงขึ้น   เนื่องจากเศรษฐกิจคึกคัก  เกิดการขยายการผลิต  การนำเข้าวัตถุดิบ  การก่อสร้างโรงงาน  การติดตั้งเครื่องจักร   เศรษฐกิจจริงจะขยายตัวและต้องใช้เงินทุน  การระดมเงินทุนโดยผ่านการออกพันธบัตรหรือตลาดหลักทรัพย์มีมากขึ้น

4.  เกิดการเก็งกำไร   ยิ่งภาวะเศรษฐกิจบูมนานต่อเนื่อง ราคาสินค้าจะยิ่งถีบตัวสูงขึ้นตาม   ผู้คนแห่กันซื้อคุณสมบัติใหม่ของสินค้า โดยไม่เกี่ยวข้องกับคุณค่าใช้สอย (Use Value)  อันเป็นคุณสมบัติเดิมของสินค้านั้น

5.  การเคลื่อนไหวของเงินรวดเร็วมาก   สินเชื่อขยายตัวอย่างรวดเร็ว  การเก็งกำไรขยายไปสู่หุ้นหรือพันธบัตร   ความมั่งคั่งที่สะสมมา (ในขั้นตอนที่ 1) ถูกนำไปใช้เล่นเก็งกำไร

6.  เกิดอุปสงค์เพิ่มเติมในภาคเศรษฐกิจจริง   โดยเฉพาะอุปสงค์ต่อสินค้าฟุ่มเฟือย  เนื่องจากรายได้เพิ่มขึ้นจากกำไรที่ได้มาจากการเก็งกำไรระยะสั้นชั่วคราว

7.  ทางการเข้าแทรกแซงการปล่อยสินเชื่อ   เมื่อเห็นว่า ถึงขีดที่จะเป็นอันตรายต่อสถาบันการเงินทั้งระบบ  ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเข้ามาควบคุมการปล่อยสินเชื่อ  การพองตัวออกคล้ายฟองสบู่ของสินเชื่อถูกทำให้แฟบลง

8.  อวสานของการเก็งกำไร   อุปสงค์ในข้อที่ 6 จะสูญสลายไปก่อน  ต่อมาการผลิตในภาคเศรษฐกิจจริงลดลง  เกิดการว่างงาน   ผลกระทบจากฟองสบู่แตกจะแผ่กระจายไปสู่ภาคเศรษฐกิจโดยรวม  เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยยาวนาน 

 (2)  ห้วงศตวรรษที่ 20  (ปี ค.ศ. 1900-1999)

เงิน ในยุคเศรษฐกิจฟองสบู่ไม่ได้เป็นไปตามทฤษฏีเศรษฐศาสตร์คลาสสิก ที่เป็นแค่สื่อกลางแลกเปลี่ยนกับใช้สะสมทรัพย์  แต่เป็นทรัพย์ที่งอกเงยได้โดยตัวมันเอง  เป็นทุนที่ทรงประสิทธิภาพในการสร้างความมั่งคั่ง   ปรากฏการณ์ที่ทำให้ทฤษฏีมูลค่าเกิดจากแรงงานไม่อาจอธิบายได้มีอยู่ 3 กรณี คือ

1.  แรงงานมนุษย์ถูกทดแทนด้วยหุ่นยนต์หรือคอมพิวเตอร์
2.  ความเหลื่อมล้ำกันของค่าแรงสูงมาก
3.  ราคามิได้ถูกกำหนดจากต้นทุนที่แท้จริงเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความต้องการ (กฎอุปสงค์) และปริมาณสินค้า (กฎอุปทาน)

ต่อไปอธิบายกลไกการเกิดเศรษฐกิจฟองสบู่  อาจแบ่งตามวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็น 4 ขั้น (ศุภวุฒิ สายเชื้อ 2543)

1.  ก่อนจัดตั้งสถาบันการเงินหรือธนาคารออมทรัพย์   การสะสมทรัพย์เกิดขึ้นภายในตัวเศรษฐกิจจริง  ในรูปของ ทองคำ  เหรียญ  อัญมณี  ฯลฯ

2.  มีสถาบันการเงิน   แต่การฝากเงินยังเป็นเพื่อให้ธนาคารดูแลรักษาแทน  ผู้ฝากนอกจากไม่ได้รับดอกเบี้ยแล้ว ยังต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่ธนาคารที่ช่วยดูแลรักษาให้   เมื่อจะนำเงินไปใช้ในการลงทุนจึงค่อยถอนออกมา  

3.  ธนาคารพาณิชย์เริ่มปล่อยกู้   ผู้ประกอบการนำเงินไปลงทุนในภาคเศรษฐกิจจริง  สร้างงาน  ผลิตสินค้า  ก่อให้เกิดผลกำไร  แล้วนำเงินมาใช้หนี้พร้อมดอกเบี้ยเงินกู้   ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝาก เพื่อระดมเงินฝาก  

4.  ปริมาณเงินตราใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว   การไหลเวียนของสินค้าและบริการคล่องตัว  ภาคเศรษฐกิจจริงขยายตัว   รายได้ของผู้คนเพิ่มสูงขึ้นกว่าอัตราการบริโภค  มีเงินออมเพิ่มขึ้นโดยสัมพัทธ์   ต่อมาผู้ประกอบการกลายเป็นบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ที่มีกำไรสะสมมากจนไม่ต้องกู้ ยืมจากธนาคาร

ปริมาณเงินที่อยู่ในสภาพคล่องจำนวนมหาศาลนี้ต้องดิ้นรน หาทางออก  โดยนำไปเก็งกำไรในเศรษฐกิจสต็อก ต่อมาเติบโตอย่างเป็นอิสระโดยสัมพัทธ์จากเศรษฐกิจจริงและมีขนาดใหญ่กว่า   ทำให้ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่กลายเป็นสิ่งที่ไร้พรมแดนไปโดยอัตโนมัติ 

 การเกิดและแตกเศรษฐกิจฟองสบู่

กรณีฟองสบู่แตกในปี 2540  อธิบายได้ 3 ระยะ  ดังนี้

1.  การก่อตัวของฟองสบู่

ใน ห้วงปี 2527-2529  เศรษฐกิจไทยยังตกต่ำ  เกิดปัญหาสถาบันการเงิน (“ราชาเงินทุน”) ล้ม จนเป็นที่มาของการเกิดโครงการ 4 เมษายน 2527  โดยรัฐบาลต้องไปขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)  และหั่นงบประมาณรายจ่ายในปี 2528 และ 2529  ติดต่อกัน  เพื่อรักษาวินัยการเงินและการคลัง

ก่อนเข้าสู่ปี 2530 เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว  พอดีกับนักลงทุนจากญี่ปุ่นหนีพิษเงินเยนที่ปรับตัวสูงขึ้นเท่าตัวในช่วงไม่ กี่ปีก่อนหน้า ได้ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตเพื่อการส่งออกเข้ามา  ตามมาด้วยนักลงทุนจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย  เช่น ไต้หวัน  ฮ่องกง  สิงคโปร์   ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทิศทางการพัฒนาประเทศจากเกษตรกรรมไปสู่อุตสาหกรรม และภาคบริการ  จนกลายเป็นภาวะ “บูม” ทางเศรษฐกิจในเวลาต่อมา 

 2.  การพองตัวของฟองสบู่

ความ ต้องการที่ดินเพื่อตั้ง โรงงาน  สำนักงาน  สนามกอล์ฟ  รีสอร์ท  ที่อยู่อาศัย  โรงแรม  ฯลฯ   เพิ่มสูงขึ้น  ธุรกิจซื้อขายที่ดินเติบโตขึ้น   พวกนายหน้าค้าที่ดินได้กำไรอย่างงดงามในชั่วข้ามคืน  เกิดเศรษฐีใหม่กว่า 200,000 คนที่ร่ำรวยจากการค้าที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ และการเล่นหุ้น   มีการปั่นราคาที่ดิน ทำให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมเป็นร้อยเท่า

สภาพ คล่องทางการเงินมีสูงมาก  เงินนอกประเทศสามารถเข้าง่ายออกง่าย  อัตราดอกเบี้ยเพียง 11.5%   ธนาคารพาณิชย์สนับสนุนการปล่อยกู้สินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินกันอย่างเต็มที่  แสดงว่า ส่งเสริมพวกนักเก็งกำไรให้เข้ามาสู่ธุรกิจฟองสบู่

ต้นปี 2533  ความเคลื่อนไหวของการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มแผ่วลง  เนื่องจากปัญหาขาดแคลนวัสดุก่อสร้าง ตามจำนวนโครงการลงทุนที่เริ่มก่อสร้าง   รัฐบาลโดยผ่าน ธปท.ได้ขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินให้ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อที่ไม่ ก่อประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิต  โดยเฉพาะที่นำไปเก็งกำไร  ประจวบกับสงครามอ่าวเปอร์เซียในช่วงปลายปี 2533  ทำให้การเก็งกำไรหดหายไป  ตลาดอสังหาริมทรัพย์ซบเซา  ราคาที่ดินเข้าสู่ภาวะทรงตัวและหยุดเคลื่อนไหว

ขณะ ที่ฟองสบู่ลูกที่หนึ่งเริ่มแตก  กลับปรากฏว่า มีกลุ่มนักธุรกิจต่างชาติที่มีความพร้อมทั้งเงินทุนและเทคโนโลยีทันสมัย ได้เข้ามาลงทุนอยู่ตลอดเวลาในช่วงปี 2534  เป็นการต่ออายุให้แก่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์   ส่วนใหญ่เป็นญี่ปุ่นและฮ่องกงเข้ามา “ร่วมทุน” กับกลุ่มตระกูลดังๆ

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี 2535  ได้กระหน่ำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้หยุดชะงักอีกครั้งหลังจากที่กำลังจะเริ่มฟื้นตัว 

 ต่อมาเกิดปัจจัยกระตุ้นทำให้ผู้ประกอบ การธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีแหล่งเงินทุนใหม่  ดอกเบี้ยต่ำ  มากระตุ้นขยาย “ฟองสบู่” ให้พองโตขึ้นและใหญ่กว่าเดิมได้อีกครั้ง  ดังนี้

1.  ประกาศหลักเกณฑ์มาตรฐานการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) ของรัฐบาลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2536  ทำให้การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีที่ดินหรือทรัพย์สินค้ำประกัน ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง 50%  จากเดิมที่ให้เป็นความเสี่ยง 100%  ยิ่งทำให้สินเชื่อด้านอสังหาริมทรัพย์มีมากขึ้น

2.  การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างประเทศสามารถเปิดให้บริการวิเทศธนกิจ (BIBF)  ซึ่งบริการให้กู้เงินและรับฝากเงินตราต่างประเทศได้เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2536

3.  คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อนุญาตให้บริษัทสามารถออกตราสารได้   ตั้งแต่ปี 2536 กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จึงกลับมาทุ่มเทลงทุนในโครงการใหม่ๆ อย่างคึกคัก  เกิดภาวการณ์ซื้อที่ดินเพื่อกักตุนไว้เป็นแลนด์แบงก์ (Land Bank)  ตามข้อกำหนดของ ก.ล.ต.

4.  ปลายปี 2536  กระทรวงพาณิชย์ออกประกาศหลักเกณฑ์ให้บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกัน วินาศภัยสามารถปล่อยสินเชื่อให้แก่โครงการพัฒนาที่ดิน รวมทั้งสินเชื่อรายย่อย  และยังยินยอมให้ปล่อยสินเชื่อเพื่อการลงทุนต่างๆ ได้ถึง 30% ของสินทรัพย์ในบริษัทประกัน  จากเดิมเพียง 10%

อาจกล่าว ได้ว่า เป็นความผิดพลาดของทางการที่ดำเนินนโยบายสนับสนุนฟองสบู่  แทนที่จะปรามปราบฟองสบู่  ผลจึงเป็นความหายนะทางเศรษฐกิจในอีก 4 ปีต่อมา  เมื่อฟองสบู่ลูกที่สองแตกอย่างถาวร 

3.  สภาวะฟองสบู่แตก

เมื่อทาง การจำเป็นต้องตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาท และดำเนินการปิด 56 สถาบันการเงิน ระบบการเงินจึงเข้าสู่ภาวะวิกฤต  สถาบันการเงินขาดสภาพคล่อง   ทั้งๆ ที่สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของ ธปท.และกระทรวงการคลัง   ขณะที่อีกด้านหนึ่งมาจาก ขาดความสามารถ  ความโลภ  ไร้ประสิทธิภาพในการบริหารเงิน และการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน   ประชาชน นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขาดความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงินไทย

นโยบายการเงินที่เห็นได้ชัด คือ การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (ตะกร้าเงิน)  อิงกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเวลานานถึง 10 กว่าปี  โดยไม่ได้ใช้เป็นเครื่องมือในการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

การส่ง สัญญาณเตือนภัยล่าช้า  วิเคราะห์สถานการณ์ผิดพลาด  เช่น  การใช้นโยบายเปิดเสรีทางการเงินเพราะต้องการเร่งระดมทุนจากต่างประเทศเข้า มาขยายการลงทุน เนื่องจากเงินออมในประเทศไม่เพียงพอ   ต่อมาเมื่อเงินทุนไหลเข้ามามากจนกระตุ้นให้เกิด “ฟองสบู่” ลูกใหม่   ธปท.กลับควบคุมสถานการณ์ไม่ได้  และมิได้ตระหนักถึงภัยอันตราย   สถาบันการเงินไทยหันไปพึ่งพาเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศ  โดยอาศัยส่วนต่างค่อนข้างมากของอัตราดอกเบี้ยมาทำกำไรจำนวนมหาศาล  ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  ทำตัวเป็น “เสือนอนกิน”

ปริมาณ เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ ในปี 2530 มีเพียง 27.6 พันล้านบาท  หลังเปิดเสรีทางการเงินในปี 2536  ได้เพิ่มขึ้นเป็น 260.9 พันล้านบาท หรือเกือบ 20 เท่าในช่วงเวลาเพียง 7-8 ปี   และกว่า 90% เป็นการนำเข้าเงินทุนของภาคเอกชนโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์

เงินทุนนำ เข้าจากต่างประเทศที่ส่วนใหญ่เป็นเงินทุนระยะสั้น เพื่อนำมาปล่อยสินเชื่อระยะยาวในประเทศ   ส่วนใหญ่กระจุกตัวที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน และหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงในช่วงฟองสบู่พองตัว   เมื่อภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นจุดเริ่มฟองสบู่แตก  จึงลุกลามไปถึงสถาบันการเงิน
 

เรื่องของเศรษฐกิจฟองสบู่

เรื่องของเศรษฐกิจฟองสบู่

เศรษฐศาสตร์จานร้อน  ดร.ศุภวุฒิ  สายเชื้อ  กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2547

การ ขยายตัวอย่างก้าวกระโดดของเศรษฐกิจ ราคาหุ้น และราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดคำถาม และความเป็นห่วงเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยว่า กำลังเข้าสู่สภาวะฟองสบู่หรือไม่

ใน การพูดคุยเกี่ยวกับสภาวะอสังหาริมทรัพย์นั้น เรามักได้ยินคำอธิบายว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ ยังไม่เกิดสภาวะฟองสบู่อย่างแน่นอน เพราะขณะนี้มีการก่อสร้าง และซื้อ-ขายบ้าน บ้านแฝด คอนโด ฯลฯ เพียง 35,000 - 40,000 หลังต่อปี ซึ่งคิดเป็น 1/3 -1/4 ของยอดขายในปี 2537-38 ซึ่งสูงถึง 120,000 - 150,000 หลัง

แต่หากพิจารณาให้ดีแล้ว ก็จะเข้าใจว่า สาเหตุพื้นฐานของฟองสบู่นั้น เกิดจากอุปสงค์ หรือดีมานด์ที่สูงเกินไป อุปทาน คือซัพพลาย ที่มีมากจนล้นตลาดนั้น เกิดขึ้นหลังจากการแตกสลายของฟองสบู่ กล่าวคือ อุปสงค์ ที่มากเกินไปในตอนแรก คือ เหตุ และอุปทานที่มากเกินไปในตอนหลังคือ ผล นั่นเอง

ตัวอย่างฟองสบู่ที่เกิดขึ้นในหุ้นอินเทอร์เน็ตที่สหรัฐ ในช่วง 2542-43 นั้น ผลักดันให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ แนสแด็ก ปรับตัวสูงขึ้นมาที่ระดับ 5,000 จุด และเมื่อฟองสบู่แตก ราคาหุ้นก็ปรับตัวลดลงอย่างมากเหลือเพียง 1,500 จุด และแม้จะฟื้นตัวมาระดับหนึ่ง ในช่วง 2546 ดัชนีหุ้นแนสแด็ก ก็ยังสูงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจุดสูงสุด เมื่อตอนต้นปี 2543

ประเด็นหลัก คือ สภาวะฟองสบู่เกิดขึ้นจากความต้องการในระยะสั้น ที่สูงเกินความเป็นจริง และสูงเกินกว่าที่จะยืนหยัดอยู่ได้ในระยะยาว และเมื่อมีความต้องการสูงเกินไป ราคาสินทรัพย์ก็ถูกผลักดันให้สูงเกินความเป็นจริงในระยะยาวได้ ซึ่งราคาที่สูงดังกล่าว กลายเป็นปัจจัยส่งเสริม (incentive) ให้มีการเพิ่มการผลิตสินค้าดังกล่าวออกมาจำนวนมาก

แต่การผลิต สินทรัพย์นั้น ต้องใช้เวลา 2-3 ปี กว่าผลผลิตจะออกมาสู่ตลาด ไม่ว่าจะเป็นหุ้น หรือบ้าน และเมื่อสินทรัพย์จำนวนมาก ถูกนำออกมาจำหน่าย ก็จะขายไม่ได้ในราคาที่สูง ดังที่คาดเอาไว้ ผลก็คือ ราคาจะปรับลดลง ทำให้ยิ่งเกิดความไม่มั่นใจ และราคาสินทรัพย์ปรับตัวลงไปอีก เป็นผลให้ผู้ผลิตต้องเสียหาย และล้มละลายเป็นจำนวนมาก
ทำไม สภาวะอุปสงค์ที่สูงเกินจริงจึงเกิดขึ้นได้?

สาเหตุ หลักมักจะเกิดจากความเชื่อในสิ่งประดิษฐใหม่ๆ ว่าจะมีคุณค่าอย่างมาก ต่อสังคม และเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ที่ลงทุนผลิตสินค้าดังกล่าว ได้รับผลตอบแทนมหาศาล การคาดการณ์ ผลกำไรที่สูงเกินจริงนั้น เกิดขึ้นบ่อยๆ ในอดีต เช่น การลงทุนสร้างทางรถไฟในอเมริกา การลงทุนผลิตไฟฟ้า การผลิตรถยนต์ (ซึ่งในช่วงแรก มีหลายร้อยบริษัท และยี่ห้อ)

และล่า สุด คือ อินเทอร์เน็ต และโทรคมนาคม แต่หากศึกษาประวัติศาสตร์ให้ละเอียดแล้ว จะพบว่า นักลงทุนมักจะไม่ได้รับผลตอบแทนสูงมากนัก เพราะการแย่งกันเข้ามาลงทุน จะทำให้เกิดการแข่งขัน และการตัดราคาสินค้า ทำให้ผู้ที่มักจะได้ประโยชน์มากที่สุด คือผู้บริโภคนั่นเอง  


อีกสาเหตุหนึ่ง คือ นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากเกินไป และนานเกินไป ดอกเบี้ยที่ต่ำ จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า ตนเองมีกำลังซื้อสินทรัพย์สูง อีกทั้งยังผลักดันให้ต้องรีบเป็นหนี้ และซื้อสินทรัพย์โดยเร็ว เพราะรู้ว่าในที่สุด ราคาสินทรัพย์ และดอกเบี้ยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต

การ ดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่นั้น เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมาก ซึ่งนายกรีนสแปน ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ ได้กล่าวสุนทรพจน์ในเชิงชมเชยตัวเอง ที่ไม่ได้ปรับดอกเบี้ยขึ้น ในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐ ประสบปัญหาฟองสบู่ในตลาดหุ้น ในช่วง 2542-43 โดยให้เหตุผลว่า ไม่มีใครรู้ได้อย่างแน่ชัดว่า เกิดสภาวะฟองสบู่ขึ้น  ดังนั้น การปรับดอกเบี้ยขึ้น อาจจะทำความเสียหายให้กับเศรษฐกิจได้

อย่าง ไรก็ดี เมื่อฟองสบู่แตกขึ้นจริงๆ ในปี 2543 นายกรีนสแปน ก็รีบปรับลดดอกเบี้ยอย่างมาก และฉับพลัน เหลือเพียง 1.0% จาก 6.5% ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐ ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย คือเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะถดถอยเพียง 3 ไตรมาส ในปี 2544 และขณะนี้ ก็ฟื้นตัวจนสามารถขยายตัวได้ระดับ 3% ในปี 2546 และคาดว่า จะขยายตัว 4.4% ในปี 2547
 


ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า เราอาจไม่จำเป็นต้องพยายามรีบจัดการกับฟองสบู่ และหากเกิดการแตกของฟองสบู่ การผ่อนคลายนโยบายการเงินที่ทันท่วงที ก็จะบรรเทาผลกระทบได้เกือบทั้งหมด แต่ข้อสรุปดังกล่าวที่ผิด เพราะ

1. การปล่อยให้ฟองสบู่ในตลาดหุ้นพองตัวขึ้น ทำให้ความไม่สมดุลเกิดขึ้นในส่วนอื่นๆ ด้วย เช่น การใช้จ่ายเกินตัว การสร้างหนี้อย่างมหาศาลของประเทศสหรัฐ ดังเห็นได้จากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการขาดดุลงบประมาณ ซึ่งคาดว่าจะรวมกันมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2547

2. การรีบลดดอกเบี้ย เพื่อลดผลกระทบของการแตกฟองสบู่ในตลาดหุ้น ได้ทำให้เกิดฟองสบู่ ในส่วนอื่นของเศรษฐกิจสหรัฐ คือภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจสหรัฐได้ เมื่อดอกเบี้ยขึ้นในอนาคต

3. การปรับตัวลดดอกเบี้ย เมื่อฟองสบู่แตก แต่ไม่ปรับดอกเบี้ยขึ้น เพื่อสกัดการสร้างตัวของฟองสบู่ เป็นการกระทำที่ไม่สมดุล อันจะก่อให้เกิดพฤติกรรมกล้าเสี่ยงที่เกินเลยขอบเขตที่เหมาะสมได้ เพราะนักลงทุน จะรู้ว่า ธนาคารกลางยอมให้เก็งกำไร ผลักดันราคาสินทรัพย์ให้เพิ่มขึ้นเกินจริง โดยไม่ห้ามปราม แต่เมื่อราคาจะปรับลดลง ทางการจะมีมาตรการเข้ามาช่วยเหลือ ไม่ให้เกิดการตกต่ำตามกลไกตลาด
 


แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะปรับตัวดีขึ้น อย่างมากในปี 2546 และ 2547 แต่ก็ยังมีปัญหาการใช้จ่ายเกินตัว ซึ่งกลายเป็นปัญหาโครงสร้าง ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ผลคือ แม้เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว ในอัตราที่สูงกว่า เศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ แต่เงินดอลลาร์ กลับลดค่าลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนอาการของประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอมากกว่าเศรษฐกิจที่แข็งแรง

การ ที่สหรัฐสร้างหนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ ในศักยภาพของสหรัฐในระยะยาว และความกังวลว่า สหรัฐจะแก้ปัญหาหนี้สินที่เพิ่มพูนของตน โดยการสร้างเงินเฟ้อ ซึ่งส่งผลให้ ราคาทองคำ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะการถือทองคำ คือการปกป้องมูลค่าของทรัพย์สิน ในกรณีที่สภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้นจริงในอนาคตครับ
 

วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทำไมคนทั่วไปเป็นเศรษฐีเงินล้านไม่ได้

ทำไมคนทั่วไปเป็นเศรษฐีเงินล้านไม่ได้

 
Read more at : http://www.thorfun.com/story/view/UNfV5a7rWfg0AAVr#ixzz2Ge7RuKXf
Follow us: @thorfundotcom on Twitter | ThorfunDotCom on Facebook
   ใครๆก็เป็นเศรษฐีเงินล้านได้ มันง่ายขนาดนั้นเลยหรือที่ใครๆก็เป็นเศรษฐีเงินล้านได้ ตอบว่าใช่ครับ ใครๆก็เป็นได้......
     แล้วถามว่า แล้วทำไมจึงมีน้อยคนเป็นเศรษฐีเงินล้าน มีหลายสาเหตุที่ทำให้คนทั่วๆไปพลาดการเป็นเศรษฐีเงินล้าน เช่น
ไม่ตั้งใจจะเป็นเศรษฐี   เพราะ คนส่วนใหญ่ไม่กล้าที่จะฝันว่าตัวเองจะรวยเป็นเศรษฐีเงินล้านได้ เมื่อไม่ฝัน จึงปล่อยชีวิตเลยตามเลย เมื่อมีรายได้เข้ามาก็ไม่เก็บออม ใช้จ่ายตามสบาย อยากได้อะไรก็ซื้อก็ช็อปตามใจชอบ ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีแรงบันดาลใจที่จะเป็นเศรษฐี เมื่อไม่ได้ตั้งใจ ก็เลย.....
ไม่รู้วิธี   เมื่อ ไม่มีเป้าหมายที่จะมั่งคั่งเป็นเศรษฐีเงินล้าน ทำให้ไม่คิดหาวิธีที่จะมั่งคั่ง และในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัยก็ไม่สอนกันเสียด้วย เมื่อไม่รู้ ไม่มีใครสอน ไม่ได้แสวงหาแนวทางมั่งคั่ง ไม่รู้วิธีเก็บออม ไม่รู้วิธีบริหารเงิน ไม่รู้วิธีที่จะทำให้เงินงอกเงย ไม่รู้พลังดอกเบี้ยทบต้น ก็เลย.....
ติดกับดักหนี้  ชีวิตที่เริ่มต้นหลังจากจบการศึกษาจึงเริ่มต้นด้วยการเป็นหนี้ สารพัดหนี้ แทนที่จะเริ่มต้นด้วยการเก็บออม  เงินเดือนๆแรกดูสวยหรูเอาไปให้พ่อแม่ ซึ่งต่างก็ปลื้มกับเงินก้อนแรกที่ทำได้ในชีวิต แต่พอเดือนที่สองของการทำงาน ก็ใช้จ่ายซะหมด บางคนกลับไปขอเงินเดือนแรกที่เพิ่งจะให้พ่อแม่ไปเมื่อเดือนที่แล้วคืน เดือนต่อๆมาจากที่ใช้พอดีก็เริ่มไม่พอ เพราะอะไรๆก็ดูน่าซื้อหามาครอบครองไปหมด เริ่มกินเริ่มเที่ยวให้สาสมกับที่อดทนเรียนเหนื่อยตั้งหลายปี จบแล้วต้องมีรถขับ รถยิ่งหรู ยิ่งโก้เท่าไหร่ยิ่งดี มีเร็วเท่าไรยิ่งดี ไม่มีเงินสดพอซื้อก็ดาวน์ต่ำ ผ่อนนาน ดอกเบี้ยบานไม่ต้องกลัว ได้รถมา ไม่มีตังค์เติมน้ำมัน ไม่มีตังค์กินข้าว ก็เริ่มหาบัตรเครดิต หาบัตรกดเงินสด มาเสริม....
เงินเดือน  ทำงานครบปี ก้าวหน้าในงานตำแหน่งสูงขึ้น เงินเดือนเพิ่มขึ้น แต่ขาดการเก็บออม เงินเดือนสูงขึ้น เครดิตก็สูงขึ้น ย่อมกู้เงินได้เพิ่มขึ้น  เครดิตดี บัตรสารพัดบัตร ก็ตามมาอีกหลายใบ
  มีครอบครัวเร็วเกินไป
    เมื่อมีรถแล้ว แฟนก็มีแล้ว ส่วนใหญ่คิดถึงเรื่องแต่งงานซึ่งอายุยังน้อย บางคู่จบมาแล้วแต่งงานเลยอายุไม่ถึง25ด้วยซ้ำ บางครั้งเงินที่ใช้ในการจัดงานแต่งงานยังต้องกู้มาจัดงานเลย เมื่อแต่งงานแล้ว น่าจะมองหาบ้านอีกสักหลัง ประมาณว่าเป็นเรือนหอ ไม่มีเงินไม่เป็นไรหรอก แต่จะยากอะไรในเมื่อเครดิตดี  ดาวน์สิ เงินดาวน์ก้อนแรกก็ผ่อนดาวน์ได้ ผ่อนดาวน์เสร็จก็ผ่อนกับธนาคารต่อ พอแต่งงานแล้วก็ช่วยกันผ่อน สองแรงแข็งขัน แต่หารู้ไม่แฟนเราก็อยู่ในสภาพเดียวกัน   หนี้ท่วม......
   เมื่อแต่งงานแล้ว หลายคู่ปล่อยให้มีลูกเลย ซึ่งทั้งคู่อยู่ในสภาวะไม่พร้อม การมีลูกในสภาวะไม่พร้อมในการเลี้ยงดูเป็นสิ่งที่น่าเศร้า เพราะเมื่อมีลูกจะตามด้วยใช้จ่ายในการเลี้ยงดู ค่าเล่าเรียนของลูกๆเมื่อโตขึ้นและอื่นๆอีกสารพัด

   เมื่อคู่รักต่างคนต่างมาพร้อมกับหนี้คนละก้อน เกือบล้าน  หนี้ผ่อนรถคนละคัน หนี้บัตรเครดิตคนละอีกหลายใบ หนี้ผ่อนบ้านด้วย รวมๆแล้ว 2คนหนี้ล้านกว่าบาท เกือบ2ล้านบาท  เขาทั้งสอง
พลาดการเป็นเศรษฐีเงินล้านไปแล้ว.....
                             นพ.ชาญชัย กิจประเสริฐ

หนี้เป็นพิษ

หนี้เป็นพิษ
Read more at : http://www.thorfun.com/story/view/UNUiTa7rWTxCAA06#ixzz2Ge5qjhLt
เงินเดือนเป็นแสนแต่เกือบต้องติดคุกเพราะเป็นหนี้ เกือบต้องเสียเพื่อนเพราะหนี้ หนี้ก้อนโตจึงเป็นเครื่องกัดกร่อนความมั่งคั่งตัวฉกาจที่สุด และยังเป็นตัวทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อน หรือคนสนิท หรือแม้แต่ญาติด้วยกันเอง มีข่าวทำร้ายร่างกายหรือทวงหนี้ด้วยวิธีโหดร้าย มีบางกรณีฆ่าตัวตายหนีหนี้ ฆ่าเพื่อน ฆ่าญาติ ฆ่าพี่น้องที่คลานตามกันมา ต่อไปนี้คือเรื่องราวหนี้เป็นพิษที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตผม
หนี้เป็นพิษ
   เล่าย้อนอดีต ผ่านการเรียนประถม มัธยม และมหาวิทยาลัย ผมมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับการเงินน้อยมาก หรือ จะเรียกได้ว่าไม่มีความรู้เรื่องการเงินเลยก็ว่าได้ เข้าใจว่าหลังเรียนจบต้องขยันทำงานจึงจะมีเงินมีทอง หลังจากเรียนจบแพทย์ เริ่มมีเงินเดือน รู้สึกว่ามีเงิน เห็นคนอื่นมีอะไร เราก็อยากได้ไปหมด เครื่องเสียง รถยนต์ บ้าน หรือที่ดิน อยากได้ไปหมด ผมซื้อแหลกกกกก... ไม่ มีเงิน ก็กู้ธนาคาร ธนาคารก็ใจดีให้กู้ เริ่มรู้จักบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ไปขอธนาคารไหนก็ได้ ไม่ไปขอ  ธนาคารเองก็มาเสนอให้ เพราะมีเงินเดือนสูง ในกระเป๋าสตางค์ไม่มีเงินสด มีแต่บัตร  สารพัดบัตร  รูดปรื๊ดๆๆๆ....
     5 ปี แรกของการทำงานจึงเต็มไปด้วยหนี้  สารพัดหนี้  ผมเป็นหนี้รวมยอดหนี้เกือบ 3 ล้านบาท ยิ่งช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ดอกเบี้ยการกู้ยืมสูงปรี๊ด... ยิ่งดอกเบี้ยคงค้างของบัตรเครดิต และดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด สูงขึ้นไปเกือบ24% ดอกเบี้ยการกู้ยืมซื้อบ้าน ซื้อที่ดินสูง 15%  แม้ว่าผมจะเป็นหมอที่ขยันทำงานเป็นที่สุด ขยันมากกว่าใครๆ เงินเดือนและเงินโอที ที่ได้มาแทบไม่พอจ่ายดอกเบี้ย บางเดือนไม่เพียงพอ หนี้ของผมแต่มันคือทรัพย์สินของธนาคาร
   หากดอกเบี้ยธนาคาร 15% หากไม่ชำระเลย พลังดอกเบี้ยทบต้นจากเงิน 3 ล้านบาท จะกลายเป็นเงิน 6 ล้านบาท
   หากดอกเบี้ย ร้อยละ24%   เงินที่ผมกู้ยืมมา 3 ล้านบาท หากผมไม่ชำระเลย 5ปี พลังดอกเบี้ยทบต้น จะทำให้เงินที่กู้ยืมมา 3 ล้านบาทจะกลายเป็น  9 ล้านบาท โอ้ววว แม่เจ้า...นี่มันปล้นกันชัดๆ
  ผมตกอยู่ในวังวนของหนี้ เมื่อจนตรอก สิ้นเดือนถึงเวลาชำระหนี้  เงินเดือนเป็นแสนก็ไม่พอชำระ เพราะหนี้ส่วนใหญ่ของผมเป็นหนี้ระยะสั้น การหมุนหนี้จึงเกิดขึ้น ผมกดบัตรเครดิต ไปใส่บัตรกดเงินสด กดจากบัตรกดเงินสดไปชำระเงินกู้โอดีของแบงค์ เงินหมุนไปๆ หนี้หมุนมาๆ นานเข้าหนี้ก้อนโตพอกพูน ดอกเบี้ยเร็วกว่าดอกไม้ชนิดใดๆที่ผมเคยเห็นในโลก
   ในที่สุดแพทย์ที่ขยันที่สุด ทำงานหนักที่สุด ได้เงินเดือนสูงกว่าใครๆ ต้องถูกฟ้องคดีเช็คเด้ง(เช็คเด้งเป็นคดีอาญา หากแพ้คดีก็ต้องติดคุก) ขึ้นโรงขึ้นศาล เพราะเรื่องหนี้ แม้ผมจะมีเพื่อนเป็นทนายที่เก่ง แต่มันเป็นประสบการณ์ที่แย่มากๆ มันบั่นทอนจิตใจ มันบั่นทอนอะไรหลายๆอย่าง มันทำให้ผมขาดอิสรภาพที่จะทำอะไรๆอยากทำหลายอย่างในชีวิต
       
 สรุปแล้วผมติดบ่วงหนี้อยู่เกือบ10ปี
      ยามยากลำบาก  ผมหันหน้าไปยืมเงินใครล้วนแต่ถูกปฏิเสธ แต่ไม่ได้โกรธ เพราะรู้ว่าในสภาพตอนนั้น ใครๆก็คงยากลำบากเหมือนกัน มีเพื่อนบางคนที่ให้ผมยืมเงิน แต่เนื่องจากจำนวนไม่มาก และผมก็พยายามใช้จนหมด แต่ก็เกือบจะแย่ เกือบต้องเสียเพื่อนดีๆไป
   ผมนึกย้อนกลับไป เป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่เพื่อนและคนรู้จักไม่ให้ผมยืมเงินใน วันนั้น หรือให้ผมยืมแต่ปริมาณน้อย  เพราะหากพวกเขาให้ยืมจำนวนมากๆ  ป่านนี้ผมคงเสียเพื่อน เสียคนที่รู้จักคุ้นเคยไปแน่ๆ เพราะให้ผมยืมมา ผมต้องผิดนัดชำระหนี้แน่ๆ และเมื่อผิดนัดชำระหนี้ เพื่อนก็คงไม่กล้าทวงหนี้ผม ผมเองก็ไม่กล้ามีหน้าไปพบเพื่อนเพราะผิดคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับเพื่อน  สัมพันธภาพที่อุตส่าห์สร้างมาตั้งหลายปีต้องมีอันสะบั้นไป
        ผมเองประสบ หรือได้รับทราบเรื่องราว ของผู้คนที่จบการศึกษาแล้วเริ่มทำงานใหม่ๆ ต่างตกเป็นหนี้ ติดอยู่ในบ่วงหนี้ ทำให้ชีวิตไม่ก้าวหน้า หรือบางคนเสียคนไปก็มี  ผมเองก็หลงเดินวนไปวนมาในเขาวงกตแห่งหนี้ กว่าจะหาทางออกเจอ

   หนี้ก้อนโตจึงเป็นเครื่องกัดกร่อนความมั่งคั่งตัวฉกาจที่สุด และยังเป็นตัวทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อน หรือ คนสนิท หรือแม้แต่ญาติด้วยกันเอง มีข่าวทำร้ายร่างกายหรือทวงหนี้ด้วยวิธีโหดร้าย มีบางกรณีฆ่าตัวตายหนีหนี้  ฆ่าเพื่อน ฆ่าญาติ ฆ่าพี่น้องที่คลานตามกันมาก็มีให้เห็นในข่าวบ่อยๆ
  ผมอดทนทำงานอย่างหนักลดละเลิกสิ่ง ฟุ่มเฟือยทุกชนิด ประหยัดสุด ทำงานหนักสุดๆผมเคยอยู่เวร24ชั่วโมงทุกวันติดต่อกันเป็นเดือน เพื่อหาทางใช้หนี้ มีอะไรที่พอจะขายได้ ทรัพย์สินส่วนเกิน ผมขนไปขายหมด ขายแม้กระทั่งเครื่องประดับ สร้อยคอ กำไร แหวนที่ผมซื้อให้ภรรยาวันแต่งงาน สร้อยทองที่เป็นของขวัญของลูกสาวที่ได้รับมาตอนเกิดจนในที่สุดผมปลอดหนี้ทุก ชนิดตอนอายุ39ปี เป็นวันที่ผมปลอดโปร่งโล่งสบายที่สุด เหมือนยกภูเขาออกจากอก นี่กระมังที่เขากล่าวว่า ไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ
  ผมปฏิญาณไว้กับตัวเองและครอบครัวว่าจะไม่ยอมเป็นหนี้ใคร ไม่กู้ ไม่ยืมเงินใครเด็ดขาด  บัตร เครดิตที่มีเพียงใบเดียว ก็ขอลดวงเงิน เอาไว้ใช้เท่าที่จำเป็นและจ่ายเงินคืนเต็มจำนวนทุกครั้ง ทุกเดือน ไม่เหลือค้าง ส่วนใหญ่การใช้จ่ายเป็นเงินสด
  และเช่นเดียวกันผมและครอบครัวปฏิญาณว่าจะไม่ยอมให้ใครยืมเงินเด็ดขาด ไม่ยอมไปค้ำประกันให้ใครๆทั้งสิ้น  ไม่ใช่ไม่มีน้ำใจ แต่ผมไม่อยากเสียเพื่อนรัก ไม่อยากเสียสัมพันธ์อันดีกับญาติ หรือคนสนิทไป
    ผมและภรรยาจึงสอนลูกไม่ให้เป็นหนี้ และไม่ยอมให้ใครยืมเงิน ปฏิเสธที่จะค้ำประกันใครๆทั้งสิ้น มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย บางคนต้องติดคุก หรือต้องเป็นหนี้เพิ่มจากการค้ำประกันให้คนอื่น
   ฟังดูเหมือนคนใจร้าย ไม่มีน้ำใจต่อเพื่อนต่อญาติ  แต่ผมและครอบครัวจะใช้วิธีหากเพื่อน หรือญาติตกระกำลำบากจริงๆ
ผมให้เลย ให้เท่าที่จะให้ได้ ให้ในจำนวนที่ไม่เดือดร้อน ให้พอที่เขาจะประทังชีวิตได้ เช่นค่าอาหาร ค่ายาเมื่อเจ็บป่วย ให้แล้วไม่ต้องเอามาคืนผม  ผมให้ได้แค่นั้นจริงๆ
  ลูกสาวสองคนก็เช่นกัน หากเพื่อนขอยืมสตางค์ ผมสอนลูกให้เขาปฏิเสธไปเลย เขาถามว่าหากเพื่อนลืมเอาเงินมาโรงเรียนแล้วมาขอยืมเงินไปกินข้าว หนูจะทำอย่างไร  ผมบอกว่าหากเกิดกรณีอย่างนี้ หนูก็เลี้ยงข้าวเพื่อนเลยสิ ไม่ต้องให้ยืมแต่เลี้ยงข้าวเพื่อนไปเลยจะได้สบายใจ ไม่ต้องกังวลว่าเพื่อนจะคืนเงินหรือไม่
   ทุกวันนี้ชีวิตของผมและครอบครัวปลอดหนี้  ไม่ยอมเป็นหนี้ใคร และไม่ยอมให้ใครเป็นหนี้
                                               นพ.ชาญชัย กิจประเสริฐ


คาถาของ..บัฟเฟตต์ “เงินสด..เงินสด..เงินสด”

คาถาของ..บัฟเฟตต์ “เงินสด..เงินสด..เงินสด”
ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
www.facebook.com/doctorweraphong
วอร์เรน บัฟเฟตต์ หนึ่งในมหาเศรษฐีชาวอเมริกันที่รวยที่สุดคนหนึ่งของโลก อาจกล่าวได้ว่า เขาเป็นคนธรรมดาๆที่พลิกผันชีวิตของตนด้วยการลงทุนและการซื้อกิจการ จนกลายไปเป็นบุคคลที่มั่งคั่งติดอันดับโลก บัฟเฟตต์เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับ “การถือเงินสด” เป็นอย่างยิ่ง โดยสังเกตได้จากปริมาณเงินสดที่บริษัทของบัฟเฟตต์ที่ชื่อ เบิร์กไชร์ ฮาทาเวย์ ถืออยู่ซึ่งพบว่า งบดุลของเบิร์กไชร์เมื่อสิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2555 มีเงินสดอยู่ 40.7 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท หรือประมาณครึ่งหนึ่งของงบประมาณของประเทศไทยทั้งประเทศ) ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมากทีเดียว แล้วทำไม? บัฟเฟตต์จึงต้องถือเงินสดมากมายถึงเพียงนี้ ผมพอมีคำตอบที่อยากจะเล่าให้คุณผู้อ่านได้อ่านดังนี้ครับ

หนึ่ง เงินสด สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่..แย่มาก แต่อาจให้โอกาสการลงทุนที่..ดีมาก
ในเวลานี้อัตราผลตอบแทนของการฝากเงินในสถาบันการเงินของกลุ่มประเทศยูโรโซน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ต่างให้อัตราผลตอบแทนเกือบจะเป็นศูนย์ ดังนั้นการถือครองเงินสดโดยหวังว่าจะได้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยนั้น ในระยะยาวคงจะให้ผลตอบแทนที่..แทบจะไม่ได้อะไรเลย
ในช่วงเหตุการณ์ล่มสลายของบริษัทเลห์แมน บราเดอร์ส วาณิชธนกิจชั้นนำของโลกเมื่อเดือนกันยายนปี 2551  บัฟเฟตต์ได้ออกมาพูดถึงกลยุทธ์การลงทุนของเขาว่า “การลงทุนในหุ้นจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินสดอย่างมากในอีก 10 ปีข้างหน้า แต่การถือเงินสดของนักลงทุนที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ก็อาจสร้างผลตอบแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากพวกเขาโยกเงินสดกลับไปลงทุนในเวลาที่เหมาะสม” ประโยคดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า บัฟเฟตต์พร้อมที่จะ “ใช้เงินสดทันที..เมื่อโอกาสมาถึง”

สอง เปลี่ยนจาก “การถือ..เงินสด” เป็น “กลยุทธ์การลงทุนด้วย..เงินสด”
ตามที่รู้กันว่า บัฟเฟตต์ไม่ได้ถือเงินสดเพราะว่า เขาต้องการผลตอบแทนจากดอกเบี้ย แต่บัฟเฟตต์ถือว่าการถือเงินสดเป็น..กลยุทธ์การลงทุนอย่างหนึ่ง เขามักจะเฝ้ารอเวลาที่ “ตลาดหุ้นถล่ม” ด้วยความอดทนอย่างสูง จากนั้นจึงนำเงินสดที่บริษัทตนถือครอง เข้าไปกวาดซื้อของถูกๆ..ที่อยู่เต็มไปหมดทั่วตลาดหุ้น
อลิซ โชรเดอร์ (Alice Schroeder) ผู้แต่งหนังสือเรื่อง “The Snowball: Warren Buffett and the Business of Life.” ได้พูดถึงกลยุทธ์ดังกล่าวของบัฟเฟตต์ไว้ว่า “เขามองการถือเงินสดต่างจากนักลงทุนทั่วๆไปอย่างสิ้นเชิง สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ดิฉันได้เรียนรู้จากบัฟเตต์ก็คือ โอกาสของการถือเงินสด เขาจะมองว่า การถือเงินสดก็คือ อนุพันธ์ประเภทหนึ่ง ที่ไม่มีวันหมดอายุ และสามารถเปลี่ยนไปสินทรัพย์ได้ทุกชนิดได้อย่างรวดเร็ว”  


“คำสอนในการลงทุน” ของบัฟเฟตต์ ตอนที่ 1

“คำสอนในการลงทุน” ของบัฟเฟตต์ ตอนที่ 1

สวัสดีครับ  เพื่อนๆ พี่ๆ เฟสบุ๊ค
ไม่เจอกันหลายวันนะครับ
ในเวลานี้ เราเปลี่ยนแปลงเวลามาพบกันทุกวันเสาร์ อาทิตย์
วันนี้ ผมอยากจะพาเพื่อนๆมาอ่านเรื่องราวของ “บัฟเฟตต์”
ในตอน  “คำสอนในการลงทุน” ของบัฟเฟตต์  ตอนที่ 1

ที่มา http://www.doctorwe.com/variety/20120812/3010
หนึ่ง  อย่าสนใจเรื่องเล็กๆที่สั่นคลอน “ตลาด”
จดหมายถึงผู้ถือหุ้นปี 2008 ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2009
ที่กล่าวไว้ว่า “เศรษฐกิจจะยังคงเซื่องซึมต่อไปจนถึงปี 2009”
คำพูดดังกล่าวได้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วผ่านอินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ และอื่นๆ
เมื่อตลาดหุ้นปิดในวันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2009
ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ก็ตกลงมาสู่ระดับที่ต่ำที่สุดในรอบสองทศวรรษ


แต่จริงๆแล้วประโยคเต็มๆของมันคือ
“เศรษฐกิจจะยังคงเซื่องซึมต่อไปจนถึงปี 2009  แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ราคาหุ้นจะขึ้นหรือจะลง
แต่ทำไมประโยคท่อนที่ตามมาจึงไม่มีการเผยแพร่ไปด้วยล่ะ?
เหตุผลหนึ่งที่พอเป็นไปได้ก็คือ
นักวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ต้องการสร้างเหตุการณ์ต่างๆให้เป็นเหมือนละคร


เขาทำเพียงเพื่อจะได้… เพิ่มความนิยมต่อสื่อที่พวกเขาทำงานอยู่
แต่พวกเขากลับไม่ได้คำนึงว่า สิ่งที่พวกเขาทำลงไปนั้น
ได้สร้างความสับสนโกลาหลอย่างรุนแรงให้แก่โลกใบนี้
ดังนั้นจึงจำไว้ว่า…
ข้อสรุปของภาวะทางเศรษฐกิจ ไม่ได้บอกเราว่าตลาดหุ้น “จะขึ้น” หรือ “จะลง”


สอง  จงยินดี เมื่อตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะที่ “เลวร้าย”
คำว่า “การจัดสรรเงินลงทุน” ของบัฟเฟตต์นั้นหมายความว่าอย่างไร?
อันที่จริงบัฟเฟตต์คิดว่าตัวเขาเองไม่ได้เป็นแค่ผู้บริหาร  เท่านั้น
แต่เขายังเป็นประธานเจ้าหน้าที่จัดสรรการลงทุน อีกด้วย
เขาจึงต้องทำให้เงินสดของบริษัทของเขาอยู่ในที่ที่ปลอดภัย
เพื่อจะได้ใช้เงินดังกล่าวในยามที่จะต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อการลงทุน


เช่นเดียวกับนายพลผู้ยิ่งใหญ่ในสนามรบ
บัฟเฟตต์รู้ถึงคุณค่าของช่วงเวลาที่ผิดปกติซึ่งเป็นหลักการที่ได้พิสูจน์มาแล้ว
เขาได้พัฒนาจิตใจที่แข็งแกร่งเพื่อที่จะเผชิญหน้ากับภาวะตลาดที่เลวร้าย
และนำเอาความคิดในแง่ร้ายต่างๆมาเป็นเพื่อนเขา
เมื่อทุกคนกำลังวิ่งหนีมุ่งหน้าไปสู่ภูเขา เขาก็จะเริ่มใช้เงินทุนที่เก็บสะสมไว้
นั่นคือ บัฟเฟตต์กำลังจะแสวงหาโอกาส ที่ยากจะแสวงหาได้ในยามปกตินั่นเอง


ความสำเร็จของบัฟเฟตต์นั้นวัดได้ง่าย
เขามักจะชนะสงครามเมื่อเขานำเงินที่บรรดาผู้บริหารของบริษัทในเครือหามาได้
ไปลงทุนต่อและสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าต้นทุนของเงินจำนวนนั้น
โดยการใช้สายตาอันเฉียบคมแสวงหาเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำและผลตอบแทนที่สูง


บัฟเฟตต์ก็สามารถทำให้ราคาหุ้นของบริษัทของบัฟเฟตต์เพิ่มขึ้น
ในอัตราทบต้น 20.3 เปอร์เซ็นต์ต่อปีเป็นเวลานานถึง 45 ปี
ซึ่งนั่นก็คือ ผลตอบแทนที่มากกว่าสองเท่าของอัตราที่เพิ่มขึ้นของดัชนีเอสแอนด์พี 500 ในช่วงเวลาเดียวกัน
ดังนั้นจึงควรจำไว้ว่า…นักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ จะต้องเป็นผู้จัดสรรเงินลงทุนที่ “มีวินัย”
สาม ตรวจดูอีกที ถ้าคุณคิดว่า “ฟ้าจะถล่ม”
ในปี 2008 ราคาหุ้นของบริษัทของบัฟเฟตต์ตกลงมาจาก 90,343 ดอลลาร์ต่อหุ้น
ลงมาเหลือเพียง 77,793 ดอลลาร์ต่อหุ้น
ซึ่งการลดลงในครั้งนั้นเป็นเพราะการร่วงลงของตลาดโดยรวม
มิใช่เป็นเพราะว่ามูลค่าสุทธิของหุ้นลดลง
ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่น่าประทับใจเอาเสียเลย


ในช่วงสิ้นปี 2008 เขาได้รายงานการลงทุนของพอร์ตของบริษัทของบัฟเฟตต์
ว่าตกลงมาถึง 14 เปอร์เซ็นต์ …และมันก็ยังคงตกต่อไป
นักลงทุนที่ชาญฉลาดที่สุดในโลกก็ได้รับความเจ็บปวดเช่นเดียวกับบรรดาผู้ถือหุ้น
และนี่คือสิ่งที่ทำให้คนทั่วไปประหลาดใจว่า
ทั้งๆที่บัฟเฟตต์ฉลาดถึงอย่างนั้นแล้ว
ทำไมเขาจึงขาดทุนในการลงทุนด้วยล่ะ?


คำตอบง่ายๆก็คือ บัฟเฟตต์ก็เป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง
จากนั้นก็มีคำถามตามมาอีกว่า…
แล้วบัฟเฟตต์ทำอะไรต่อ หลังจากที่หุ้นของเขาตก?
คำตอบง่ายๆก็คือ เขาอยู่เฉยๆ..และไม่ได้ทำอะไรเลย


ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นของเขา บัฟเฟตต์เขียนชัดเจนว่า
การตกลงของราคาหุ้นเป็นผลมาจากสภาพโดยรวมของตลาดที่ตกลงมา
มิใช่เป็นเพราะว่ามูลค่าสุทธิของหุ้นบริษัทของบัฟเฟตต์ตกต่ำลง
การตกลงมาของราคาหุ้นในครั้งนั้นเป็นการตกลงมาแค่ตัวเลขเท่านั้น


บัฟเฟตต์ทราบดีว่ามันก็เหมือนสภาพภูมิอากาศ ในที่สุดตลาดก็จะเปลี่ยนไป
และก็ชัดเจนว่าคุณภาพของหุ้นของบริษัทของบัฟเฟตต์ก็จะสูงขึ้นตามมูลค่าสุทธิของมัน
อะไรจะเกิดขึ้นถ้าบัฟเฟตต์เกิดตกใจเหมือนกับไก่ในภาพยนตร์เรื่อง “Chicken Little” 
เมื่อมันถูกลูกต้นโอ๊คตกใส่หัว และคิดว่าฟ้ากำลังจะถล่ม


แต่บัฟเฟตต์ไม่ได้ขายหุ้นที่ราคาต่ำสุด และบริษัทของบัฟเฟตต์ก็ไม่ได้ขาดทุนอย่างมหาศาล
และในที่สุดตลาดหุ้นก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกเช่นเคย
และผู้ถือหุ้นบริษัทของบัฟเฟตต์ก็ยังคงโชคดีที่มีบัฟเฟตต์เป็นหัวเรือใหญ่
นั่นเป็นเพราะว่า เมื่อใดก็ตามที่ตลาดเริ่มฟื้นตัว
ราคาของหุ้นบริษัทของบัฟเฟตต์ก็จะพลอยขึ้นตามไปด้วย
คติพจน์:  จงหลีกเลี่ยง “โรคกระต่ายตื่นตูม”
สี่  ซื้อหุ้นที่มีคุณภาพ เมื่อมัน “ราคาตก”
บัฟเฟตต์พยายามที่จะหนีห่างจากโรค “กระต่ายตื่นตูม”
ตามคำสอนของ เบน เกรแฮม ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
เกรแฮม เป็นนักลงทุนที่เน้นคุณค่า และเป็นผู้สร้างวินัยในการวิเคราะห์หุ้น
หลักการที่สำคัญที่สุดในเรื่องนี้ก็คือ “ราคาคือ สิ่งที่เราจ่ายไป แต่คุณค่าคือ สิ่งที่เราได้มา”


วิธีในการหาคุณค่าของหุ้นแบบนี้มักจะไม่เป็นที่ชื่นชอบของนักเก็งกำไร
บัฟเฟตต์เองไม่ได้มองหุ้นของบริษัทที่เข้าไปลงทุนเป็นเพียงใบหุ้นธรรมดาๆเท่านั้น
แต่เขากลับแสวงหาที่จะซื้อธุรกิจที่เขาสามารถจะเข้าใจได้
มีความได้เปรียบในการแข่งขัน
และมีการบริหารโดยผู้บริหารที่ซื่อสัตย์


ด้วยคุณสมบัติทั้ง 3 ประการข้างต้น
ก็จะทำให้บัฟเฟตต์คาดการณ์ได้ว่าจะมีเม็ดเงินไหลมาหาเขาจากธุรกิจเหล่านั้นตลอดอายุของมัน
เขาก็จะซื้อหุ้นของบริษัทดีๆที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นนั้นๆ
เพื่อจะทำให้ผลตอบแทนของเขาดีขึ้นไปอีก


อะไรคือมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นที่เราจะเข้าไปซื้อ?
ทุกวันนี้ในยามที่ตลาดซบเซา มูลค่าของมันมีค่ามากกว่าเงินที่เราต้องจ่ายไปเพื่อซื้อมัน
ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว เราก็จะซื้อหุ้นอย่างชาญฉลาด
แต่อะไรจะเกิดขึ้นล่ะ? ถ้าคุณซื้อหุ้นตอนราคาขึ้นถึงจุดสูงสุด


ทุกวันนี้ หุ้นที่คุณซื้อไว้ควรจะมีมูลค่าที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของมัน
สำหรับบัฟเฟตต์แล้ว ราคาหุ้นที่จะซื้อจะต้องต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงเท่านั้น
ไม่ใช่ซื้อหุ้นในราคาที่ผันผวนตามภาวะฟองสบู่ที่เป็นอยู่
คติพจน์:  ราคาคือ สิ่งที่เราจ่ายไป แต่คุณค่าคือ สิ่งที่เราได้มา

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ไฟล์เคล็ดลับเซียนหุ้นพันแท้

ไฟล์เคล็ดลับเซียนหุ้นพันแท้

เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธุ์แท้
สำรอง

ไฟล์ การประเมินมูลค่าหุ้นเบื้องต้น

ไฟล์ การประเมินมูลค่าหุ้นเบื้องต้น.pdf
โหลดที่นี่   การประเมินมูลค่าหุ้นเบื้องต้น

               ลิ้งค์สำรอง

การวัดราคาหุ้นด้วย P/E Ratio : สันติ สิงหวังชา

การวัดราคาหุ้นด้วย P/E Ratio : สันติ สิงหวังชา

peratio220
ที่มาhttp://www.sarut-homesite.net/2009

pe-ratio-%E0%B8%AA%E0%B8%B1/
การประเมินราคาอย่างที่ได้บอกไว้ในคราวที่แล้ว แบ่งได้เป็น 2 วิธีหลักๆ วิธี discount (DCF) นั้นผมไม่ค่อยได้ใช้งานเท่าไหร่ แต่ผมก็ไม่ได้บอกว่าเป็นวิธีที่ไม่ดี เพราะถ้านักลงทุนสามารถที่จะประมาณและคาดการณ์อนาคตได้ค่อยข้างแม่นยำ วิธี discount เป็นวิธีที่ให้คำตอบได้ดีมาก ใครสนใจการประเมินแบบ discount แนะนำให้อ่านหนังสือ วัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเอง เขียนโดย คุณสุมาอี้(นามแฝง) ผมเองเพิ่งอ่านจบไปเมื่อกี้นี้เอง อ่านเข้าใจง่ายและมีตัวอย่างการวิเคราะห์หุ้นของจริงๆให้เห็นหลายรูปแบบ ซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป

คราวนี้เรากลับมาพูดถึงวิธี Relative กันบ้างดีกว่า ติดค้างกันไว้นานแล้ว

วิธี Relative ที่ผมใช้บ่อยที่สุดคือ P/E ratio โดยที่ P คือ ราคาหุ้น ในขณะที่ E คือกำไรต่อหุ้น ความหมายของ p/e มองได้ง่ายๆคือ จำนวนปีที่จะคืนทุนโดนสมมุติว่ากำไรคงที่ตลอด เช่น เราซื้อหุ้นราคา 10 บาท กำไรต่อหุ้น 2 บาท เพราะฉะนั้นถ้ากำไรของบริษัทยังคงที่ไปตลอด การลงทุนครั้งนี้ก็จะมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 5 ปี ดังนั้นถ้าสมมติว่าหุ้นทุกตัวในตลาดมีกำไรคงที่ตลอด หุ้นที่น่าซื้อที่สุดคือหุ้นที่ pe ต่ำที่สุด หรือ มีระยะเวลาคืนทุนต่ำที่สุดนั้นเอง

แต่ชีวิตจริงมันไม่ง่ายอย่างที่เราสมมตินะซิ กำไรของหุ้นในตลาดนั้นมีทั้งเพิ่มขึ้น ลดลง หรือคงที่ ด้วยอัตราที่แตกต่างกันไป เลยเป็นที่มาว่าหุ้นแต่ละตัวจะมี pe ที่เหมาะสมไม่เท่ากัน ลองมาดูตัวอย่างง่ายๆ ข้างล่างนี้
หุ้น a มีกำไรคงที่ตลอดมี
หุ้น b มีแนวโน้มกำไรเติบโต
หุ้น c มีแนวโน้มกำไรลดลง
หุ้น d มีกำไรผันผวนเอาแน่เอานอนไม่ได้

สมมติหุ้นทั้ง 4 ตัวมี pe เท่ากับ 6 เหมือนกันหมด ถ้าให้เลือกหุ้นได้ตัวเดียวเราควรจะซื้อหุ้นตัวไหน จริงๆแล้วคงตอบได้ไม่ยากว่าหุ้น b น่าจะเป็นการลงทุนที่ดีที่สุด เพราะถ้ากำไรไม่โตก็ใช้เวลา 6 ปีในการคืนทุน ถ้ากำไรโตขึ้นด้วยเวลาคืนทุนก็น่าจะสั้นกว่า 6 ปี แต่ถ้าถามกลับกันว่าหุ้นตัวไหนที่ไม่ควรซื้ออย่างมาก ก็น่าจะเป็นหุ้น c เพราะระยะเวลาคืนทุนน่าจะยาวกว่า 6 ปีเป็นแน่ หรือดีไม่ดีอาจจะไม่มีโอกาสคืนทุนเลยก็ได้ถ้าบริษัทกำไรลดลงจนกลายเป็นขาด ทุนไปเลย

ส่วนหุ้น a นั้นแม้ว่าจะไม่ใช่การลงทุนที่ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ใช้เวลาคืนทุนประมาณ 6 ปี ก็ไม่ถือว่าเป็นการลงทุนที่แย่เท่าไหร่ ถ้าเปลี่ยนโจทย์ให้สามารถลงทุนได้ 2 ตัว หุ้น a ก็น่าจะอยู่ในตัวเลือกด้วยได้
แต่ปัญหาอยู่ที่หุ้น d นี่แหละครับ จะว่าน่าซื้อหรือว่าไม่น่าซื้อตอบยากเหลือเกิน เพราะกำไรมันเอาแน่เอานอนไม่ได้ เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง บางปีอาจจะขาดทุนมาก บางปีอาจจะพลิกมาเป็นกำไรมาก ในความเป็นจริงแล้วหุ้นที่อยู่ในตลาดมีหุ้นกลุ่มนี้อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน

เพราะฉะนั้น ข้อแนะนำข้อแรก สำหรับการใช้วิธีวิเคราะหุ้นด้วย pe อย่างแรกคือ หลีกเลียงการใช้ pe กับหุ้นที่มี ธุรกิจ รายได้ หรือกำไรที่ผันผวน (จริงๆวิธีดัดแปลงนำไปใช้ก็พอมีอยู่ แต่ในเบื้องต้นยังไม่เอามาพูดดีกว่า เดี๋ยวจะพากันงงไปซะก่อน)

ตอนนี้เราพอจะเข้าใจแนวคิดคร่าวๆของการวัดมูลค่าหุ้นด้วย pe กันบ้างแล้ว ถ้าลองย้อนกลับไปอ่านที่ผมวิเคราะห์หุ้น ilink เอาไว้จะเห็นว่าผมกำหนด pe ที่เหมาะสมของหุ้น ilink เอาไว้ที่ 8 สมมติว่ากำไรที่จะเกิดในปี 49 นี้คิดเป็น e เท่ากับ 1.2 ต่อหุ้น ราคาเหมาะสมก็เอา 8 คูณกับ 1.2 ก็ได้ 9.6 บาท ดูแล้วง่ายเหลือเกิน แต่จริงๆแล้วกว่าที่จะกลายมาเป็น pe ที่ 8 กับ e (กำไรในอนาคต ณ สิ้นปี 49) ที่ 1.2 ก็มีที่มาที่จะเอามาคุยกันได้พอสมควร ติดตามตอนต่อไปครับ
####

การวัดราคาหุ้นด้วย P/E ratio 2
การใช้ pe ในการหาราคาเหมาะสมของหุ้น จะเห็นได้ว่า ตัวแปรที่มีความสำคัญมากๆคือ pe ที่เหมาะสม กับ e ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คราวนี้จะขอพูดเฉพาะ e ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกันก่อนนะครับ
e ในที่นี้คือกำไรต่อหุ้นที่จะเกิดขึ้น โดยปกติผม ถ้าอยู่ในช่วงต้นๆหรือกลางๆปี ผมก็จะคาดการณ์กำไรในอนาคตออกไปจนจบปี อย่างตอนนี้เดือน 8 เหลือเวลาอีก 4 เดือนที่บริษัทจะดำเนินงานจนครบปี ผมก็จะประมาณกำไรออกไปอีก 2 ไตรมาสก็จะได้เป็นกำไรของทั้งปี 49 ซึ่งจะประกาศผลออกมาในช่วงประมาณปลายเดือน กุมภาพันธ์ปี 50 เพราะฉะนั้น ราคาเป้าหมายของหุ้นที่คิดจาก e ตัวนี้จะเป็นเป้าหมายราคาในช่วง ปลายเดือน 2 ปีหน้า ด้วยเช่นเดียวกัน

เวลาส่วนใหญ่ในการวิเคราะห์หุ้นของผม คือการทำความเข้าใจกับธุรกิจให้เพียงพอที่จะสามารถประมาณกำไรให้ได้แม่นยำ ยิ่งแม่นเท่าไหร่โอกาสที่ผมจะถูกก็มีมากขึ้นเท่านั้น ที่นี้คนส่วนใหญ่ก็คงจะงงว่ากำไรจะประมาณอย่างไร อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเข้าใจในตัวธุรกิจของหุ้นนั้นๆด้วย เราสามารถของย้อนไปดูอดีตของบริษัทว่ารายได้มีแนวโน้มเป็นอย่างไร ต้นทุนผันผวนรึเปล่า .. โดยปกติผมมักจะชอบลงทุนในหุ้นที่ผลงานไม่ค่อยผันผวนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการคาดการณ์อนาคตก็จะไม่ซับซ้อนมาก 

สิ่งต่อมาที่ต้องดูคือ พยายามหาให้ได้ว่าบริษัทมีการตั้งเป้าการเติบโตอย่างไร ซึ่งหุ้นหลายตัวมักจะมีการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวโน้มของธุรกิจอยู่เรื่อยๆ เราก็สามารถนำตัวเลขเหล่านี้มาประมาณรายได้คร่าวๆได้ แต่จะให้ดีควรจะดู Track ย้อนหลังไปด้วยว่าในอดีตที่ผู้บริหารมีการคาดการณ์อนาคต ผลลัพธ์ที่ออกมาใกล้เคียงความจริงเท่าไหร่ เพราะผู้บริหารมีหลายประเภท พวกหนึ่งก็มักจะมองโลกในแง่ดี คือประมาณเกินความจริง อีกพวกก็อาจจะ conservative หน่อย คือประมาณไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง อีกพวก็อาจจะประมาณได้ใกล้เคียงความจริง หรือกลุ่มสุดท้ายคือไม่ค่อยซื่อเท่าไหร่ ออกมาให้ข่าวเพื่อสร้างราคา โดยไม่ได้มีความสัมพันธ์กับความจริงเลย เราจำเป็นต้องนำปัจจัยเหล่านี้มาคำนึงในการประมาณรายได้ด้วย แต่ถ้าเป็นผู้บริหารกลุ่มสุดท้ายที่เชื่อถือไม่ค่อยได้ หลีกให้ห่างเลยดีกว่า ไม่ต้องไปเสียเวลาประมาณเพราะยังไงก็คงเดาไม่ถูก (ถ้าความมั่นใจในการประมาณน้อย ควรจะประมาณรายได้ให้ต่ำไว้ก่อน เพื่อความปลอดภัย)

หลังจากประมาณรายได้แล้วต่อมาก็ประมาณกำไร โดยใช้ดูเอาจากอดีตว่ามีอัตราการทำกำไรเท่าไหร่ กำไรขั้นต้นเป็นอย่างไร ค่าใช้จ่ายขายและบริหารเป็นกี่ % ของรายได้ แล้วประมาณออกมาเป็นกำไร (ถ้าผู้บริหารมีการคาดการณ์อัตรากำไรขั้นต้นมาให้ด้วย ก็สามารถเอามาใช้ได้ แต่อย่าลึมนะว่าเป็นผู้บริหารประเภทไหน) เรื่องที่ควรคำนึงถึงในขึ้นตอนนี้คือ ต้นทุน (วัตถุดิบ ค่าแรง การลงทุนในสินทรพย์ถาวร ที่จะเกิดมาเป็นค่าเสื่อมราคา ฯลฯ) มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญรึเปล่า ถ้าต้นทุนเพิ่มสูงมาก ก็ควรประมาณอัตรากำไรขั้นต้นให้ลดลงมากหน่อย ค่าใช้จ่ายขายและบริหารปกติจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยส่วนใหญ่แล้ว ถ้ารายได้เพิ่มขึ้น 10% ค่าขายและบริหารมักจะเพิ่มไม่ถึง 10% ถ้าไม่แน่ใจก็ประมาณให้ค่าใช้จ่ายสูงๆไว้ก่อนเป็นดี (อันนี้ขึ้นอยู่กับธุรกิจ ควรดูเปลี่ยนเทียบจากงบการเงินในอีตว่าค่าใช้จ่ายขายและบริหารมีการเปลี่ยน แปลงอย่างไรเทียบกับรายได้)

หลังจากประมาณกำไรได้แล้วก็หารด้วยจำนวนหุ้น กลายเป็น eps จนจบปี แล้วก็เอามาคูณ pe ที่เหมาะสมของหุ้นนั้นๆ ก็จะได้ราคาเป้าหมายออกมาได้ไม่ยาก …. อย่าลืมที่ในขั้นตอนการประมาณถ้ามีจุดไหนที่ไม่มั่นใจให้ประมาณโดยกดให้กำไรต่ำไว้เสมอ และ ที่สำคัญห้ามหลอกตัวเอง อย่ามองโลกในแง่ดีจนเกินเหตุเพราะจะทำให้เราคำนวณราคาเป้าหมายได้สูง โอกาสขาดทุนจะเยอะ ในขณะที่มองโลกในแง่ร้ายเกินเหตุอย่างน้อยก็ไม่ทำให้เราขาดทุน แค่อาจจะทำให้เสียโอกาสในการซื้อหุ้นราคาถูกเท่านั้นเอง (ยังไงเสียดายน้ำลายหก ก็ยังดีกว่าเสียใจน้ำตาตกอยู่ดี)

สำหรับผม ถ้าจะประมาณกำไรได้แม่นๆนั้น ส่วนใหญ่จะต้องมีโอกาสได้คุยกับผู้บริหารด้วย เพราะทำให้เราเข้าใจธุรกิจเค้ามากขึ้น โดยปกติผมชอบยิงคำถามเหล่านี้ เช่น ตั้งเป้ารายได้โตกี่ % อัตรากำไรขั้นต้นจะรักษาระดับเดิมไว้ได้มั๊ย มีปัจจัยอะไรที่น่าเป็นห่วงสำหรับธุรกิจมั๊ย ฯลฯ ก็จะทำให้เราได้ข้อมูลในการประมาณกำไรได้พมสมควร นอกจากนี้การพูดคุยยังทำให้เราพอจะมองออกได้ว่านิสัยของผู้บริหารเป็นอย่าง ไร ขี้โม้หรือเปล่า ซื่อสัตย์รึเปล่า หรือว่า มีฝีมือรึ้เปล่า โอกาสที่จะได้คุยกับผู้บริหารก็อาจจะน้อย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเลย ไว้จะมาเล่าอีกที่ครับ วันนี้เท่านี้ก่อนละกัน
####

การวัดราคาหุ้นด้วย P/E ratio 3

ในการเลือกซื้อหุ้นเราต้องเทียบระหว่างราคาที่เราจะจ่ายกับ คุณภาพของหุ้น ยิ่งหุ้นมีคุณภาพสูง pe ที่เหมาะสมของหุ้นนั้นๆก็ควรจะสูงไปด้วยการประเมินคุณภาพของหุ้น ผมมองว่าเป็นศิลปะ ไม่มีสูตรตายตัวในการคิดออกมาเป็นตัวเลข เพราะคุณภาพนั้นมันวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ยาก ก็อาศัยใช้ประสบการณ์ฝึกดูไปเรื่อยๆก็พอจะได้ไอเดียว่าหุ้นประเภทไหนควรมี pe เท่าไหร่ 

โดยผมจะมี check list คร่าวๆในใจ เอาไว้ประเมินคุณภาพของหุ้นดังนี้
การเติบโตของรายได้ : แนวโน้มอุตสาหกรรม , ความสามารถของคู่แข่ง , ความสามารถในการเพิ่มยอดขายของบริษัท

ความสามารถในการควบคุมต้นทุน : อำนาจต่อรองเทียบกับ supplier , ความสามารถในการผลักภาระไปให้ลูกค้า


ความผันผวนของรายได้และกำไร : ยิ่งผันผวนมาก ผมมองว่าคุณภาพจะค่อนข้างต่ำ
ผู้บริหาร : ความซื่อสัตย์ , ความขยัน , ความเก่ง (ต้องระวังผู้บริหารที่ขี้โม้เก่งนิดนึง เพราะเราอาจจะคิดว่าฝีมือดีทั้งที่จริงๆแล้วอาจจะไม่ได้เรื่องเลยก็ได้)


โครงสร้างการเงินของบริษัท : หนี้สินเทียบกับส่วนทุน , หนี้สินเทียบกับกำไร , เงินสดที่เหลืออยู่หักด้วยหนี้สิน

ฯลฯ

จากปัจจัยต่างๆข้างต้นที่เป็นตัววัดคุณภาพ ลองพยายามประเมินออกมาให้ได้ว่าหุ้นที่เราวิเคราะห์นั้นอยู่ในกลุ่มไหน แล้วลองเอามาเทียบกับหุ้น 5 กลุ่มข้างล่างที่ผมเขียนเอาไว้

หุ้นที่มีคุณภาพแย่ (หุ้นเกรด F) กิจการที่ขาดทุน หนี้สินเยอะๆ หรือกำไรเอาแน่เอานอนไม่ได้ ปีนึงกำไร ปีนึงขาดทุน หรือพวกที่ผู้บริหารไว้ใจไม่ได้ พวกนี้ไม่ต้องประเมิน pe หรอกครับอย่าไปซื้อมันเลยดีกว่า

หุ้นที่มีคุณภาพกลางๆ (หุ้นเกรด C)
หนี้สินกลางๆ รายได้และกำไรไม่ค่อยเติบโต หรือเติบโตช้าไม่เกิน 5% ต่อปี pe ควรจะอยู่แถวๆ 5-6

หุ้นคุณภาพดีพอใช้ (หุ้นเกรด B)
หนี้ไม่มาก รายได้ไม่ผันผวนโตอย่างสม่ำเสมอ กำไรในอนาคตเติบโตระดับ 5-15% ต่อปี pe น่าจะประมาณ 6-9

หุ้นคุณภาพดี (เกรด A) หนี้น้อย หรือไม่มีเลย รายได้โตอย่างต่อเนื่อง กำไรในอนาคตคาดว่าจะโตในระดับ 15% ขึ้นไป pe เหมาะสมประมาณ 9-12

หุ้นสุดยอด (Super stock) หนี้น้อยหรือไม่มี รายได้มั่นคงมากและโตขึ้นอย่างสม่ำเสมอ กำไรโตขึ้นในระดับ 20-30% ผู้บริหารเก่ง ขยัน ซื่อสัตย์ แนวโน้มธุรกิจดี มีอำนาจในการต่อรองต่อ supplier สูง อยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่แข่งขันกันเรื่องราคาเป็นหลัก สามารถผลักภาระให้ลูกค้าได้ ฯลฯ พวกหุ้นชั้นยอดพวกนี้ pe ตั้งแต่ 12 ขึ้นไปจนถึง 20

ตัวเลขที่แสดงเป็นเพียงแค่ Guideline คร่าวๆเท่านั้นนะครับ อย่าไปคิดว่าเป็นสูตรตายตัวอะไร ที่แบ่งออกมาเป็นกลุ่มแบบนี้ผมว่าเข้าใจง่ายดี อ่าน Blog วันนี้แล้วจำเกรดของหุ้นไว้ด้วยก็ดีนะครับ เผื่อในอนาคตผมอาจจะยกเกรดเหล่านี้มาใช้ในสื่อสารให้เข้าใจได้ตรงกัน

ปล.ตามการประเมินมูลค่าหุ้นด้วย pe ก็ยังมีข้อจำกัด และข้อควรระวังหลายประการ ซึ่งจะเอามาพูดกันต่อในคราวหน้านะครับ
####

ข้อจำกัดของการใช้ pe
ที่บอกไปวันก่อนนะครับว่าการใช้ pe ประเมินราคาหุ้นยังมีข้อจำกัดอยู่บางกรณี ผมจะขอยกตัวอย่างให้ดูกันนะครับ

มีอยู่ช่วงนึงที่หุ้นกลุ่มเดือนเรือวิ่งขึ้นกันกระจาย ตอนนั้นเองผมก็เล่นไปกับเค้าด้วย แต่ตอนนั้นยอมรับครับว่าไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรเท่าไหร่ อาศัยเล่นตามๆเค้าไป เห็นเค้าบอกว่าค่าระวางเรืออยู่ในช่วงขาขึ้น psl หุ้นเรือเทกอง วิ่งจากประมาณ 6 (ปรับการแตกหุ้นแล้ว) ไปถึง 50 กว่าบาท หุ้น tta วึ่งจาก 10 บาทไป 40 บาท ตอนนั้นผลประกอบการของกลุ่มเรือออกมาดีจนน่าใจหาย กำไรพุ่งพรวดเป็นประวัติการณ์ แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไปพักนึง ค่าระวางเรือเริ่มไหลจากจุดสูงสุดลงมาเรื่อยๆ ราคาของหุ้นเดินเรือก็ไหลลงตามเช่นเดียวกัน psl ไหลจาก 50 ลงมา เหลือ 30 กว่าๆ (ผมขายไปแถว 35-38 บาท) tta ก็ไหลลงมาเหลือ 20 กว่าๆ เพราะคนส่วนใหญ่มองว่าอนาคตของกลุ่มเดินเรือจะไม่หรูหราเหมือนงบที่ประกาศ ออกมาอีกแล้ว

เรื่องที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเดินเรือข้างต้น ก็เป็นเรื่องปกติที่เกิดในตลาดหุ้นที่ธุรกิจก็มีขึ้นมีลง ราคาหุ้นก็มีขึ้นมีลง เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่คนเล่นหุ้นอย่างเราต้องยอมรับกันแต่มีเรื่องที่น่า สังเกตอยู่อย่างหนึ่งก็คือ เราสามารถใช้ pe ในการวิเคราะห์หุ้นเรือได้รึเปล่า? เนื่องจากค่าระวางเรือที่เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงนั้นทำให้ผลประกอบการที่ผ่าน มาของกลุ่มเรือสูงมาก การใช้ pe ที่คำนวณจากผลประกอบการในอดีต (ที่เห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์) จะทำให้หุ้นกลุ่มนี้มี pe ต่ำมากๆ บางตัวอาจจะมี pe เพียงแค่ 3-4 เท่านั้น แต่หุ้นเรือนี้ราคาถูกจริงรึเปล่า? ผมว่าเนื่องจากความเป็นวัฏจักรของธุรกิจเดินเรือที่จะมีช่วงที่ ค่าระวางเพิ่มขึ้นสูงจนกำไรดีมาก และช่วงที่ค่าระวางลดลงจนถึงกับทำให้บริษัทเหล่านี้ขาดทุนได้ง่ายๆ ถ้าค่าระวางเรือเป็นขาลง ผลกำไรของกลุ่มจะลดลง จนทำให้ e ที่ใช้คำนวณนั้นลดลง ถ้าหุ้นราคาไม่ลง pe ก็จะทำให้ pe นั้นเพิ่มขึ้นอย่างมากหุ้นก็จะมีถูกอีกต่อไป ใครซื้อเข้าไปตอน pe ต่ำๆก็อาจจะขาดทุนได้ง่ายๆเหมือนกัน

โดยสรุปแล้วจะเห็นว่าหุ้นที่เป็นวัฏจักรรายได้มีช่วงขาขึ้นและขา ลง การใช้ pe ประเมินราคาไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมนัก เพราะหุ้นที่ดูเหมือนราคาถูกอาจจะกลายที่ราคาแพงขึ้นมาได้ทันทีที่ผลกำไรของ บริษัทลดลงตามวัฏจักร

ปล. ผมไม่ได้บอกว่าหุ้นเรือไม่ดีนะครับ เพราะที่ผ่านมาหุ้นก็วิ่งขึ้นลงตามดัชนีค่าระวางเรือที่ผันผวนมาตลอด การจะทำกำไรจากหุ้นเรือได้คงต้องเข้าใจธุรกิจนี้เป็นอย่างมากพอที่บอกได้ว่า ค่าระวางเรือจะเป็นอย่างไหรในอนาคต (ซึงยากเอามากๆ) อย่าลืมนะครับ สำหรับหุ้นที่เป็นวัฏจักร (พวกเรือ เคมี ปิโตรเลียม ฯลฯ) อย่าเผลอไปใช้ pe ในการประเมินราคา ไม่งั้นเดี๋ยวจะหาว่าผมไม่เตือน

การวัดราคาหุ้นด้วย P/E ratio
Yoyo’s Value Investing Way
สันติ สิงหวังชา

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เขาคำนวณหามูลค่าตรายี่ห้อกันอย่างไร

เขาคำนวณหามูลค่าตรายี่ห้อกันอย่างไร

ที่มาhttp://www.marketeer.co.th/inside_detail.php?inside_id=1063
นักการตลาดมักมีความเชื่อและกล่าวอยู่เสมอว่า ตรายี่ห้อเป็นทรัพย์สินที่มีค่าขององค์การแต่หากถามต่อไปว่า ที่บอกว่ามีค่าถ้าคิดเป็นตัวเงินแล้วบอกได้ไหมว่ามีค่าเท่าไรผมเชื่อว่าเกือบไม่มีนักการตลาดคนใดให้ตัวเลขที่แน่นอนสำหรับมูลค่าตรายี่ห้อของสินค้าที่ตัวเองดูแลอยู่ได้ นอกจากใช้วิธีประมาณการเอาเอง

                ผมเองก็เหมือนนักการตลาดทั่วๆ ไปที่เชื่อว่าตรายี่ห้อมีค่าแต่ไม่เคยคิด ไม่เคยให้ความสนใจว่าจะตีราคาตรายี่ห้อออกมาได้อย่างไร จนกระทั่งได้เข้าไปเป็นกรรมการในหลักสูตร ประกาศนียบัตรในการประเมินทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ทำให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กับอาจารย์ชาวต่างประเทศและผู้เชี่ยวชาญ ด้านการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ของไทย จนได้ทราบถึงหลักการที่ใช้ในการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์แบบที่มีหลักการ ทางวิชาการยอมรับ เลยเกิดความคิดที่จะทดลองนำหลักการประเมินราคาทรัพย์สินมาประเมินมูลค่าตรา ยี่ห้อในเชิงการตลาด หลังจากใช้เวลาศึกษาร่วมปีในลักษณะงานวิจัยเพื่อการศึกษา ผมก็ได้วิธีการประเมินมูลค่าตรายี่ห้อมาเกือบ 20 วิธี และได้ทดลองนำมาประเมินมูลค่าตรายี่ห้อ ของไทยหลายยี่ห้อ ผมเลยอยากนำวิธีที่คิดว่ามีความเหมาะสมและเป็นไปได้สำหรับสภาพตลาดเมืองไทย มาอธิบายย่อๆให้ผู้อ่านทราบ ประมาณ 4 วิธี ดังนี้ครับ

วิธีต้นทุนของตลาด (Cost Replacement Method)

            แนวคิดของวิธีนี้มีอยู่ว่า ถ้าเราจะสร้างตรายี่ห้อของสินค้าใหม่สินค้าหนึ่งขึ้นมาให้มีอัตราการรับรู้ (Brand Awareness) เท่า กับตรายี่ห้อของคู่แข่งที่อยู่ในตลาดมาก่อน เราจะต้องใช้เวลาและงบประมาณในการโฆษณาเพื่อให้ตรายี่ห้อเป็นที่รู้จักจำนวน หนึ่ง โดยนักการตลาดเชื่อ ว่า งบประมาณที่บริษัทใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในแต่ละปีไม่ใช่ค่าใช้จ่ายแต่ เป็นงบลงทุนเพื่อสร้างตรายี่ห้อให้เป็นที่รู้จักและเข้มแข็ง

                ดัง นั้น หากเรานำงบโฆษณาประชาสัมพันธ์ในการสร้างตรายี่ห้อหนึ่งตลอดอายุของตรายี่ห้อ มาเป็นฐานในการคำนวณหามูลค่าของตรายี่ห้อได้ ซึ่งโดยปกติแล้วตรายี่ห้อที่มีการใช้งบโฆษณาเฉลี่ยในแต่ละปีมากกว่าคู่แข่ง ก็มักจะมีอัตราการรับรู้ยอดขายและส่วนครองตลาดมากกว่าคู่แข่งด้วย

                ผู้เขียนได้เคยทดลองนำวิธีดังกล่าวมาประเมินมูลค่าตรายี่ห้อขอสุรา Black Cat โดยเก็บข้อมูลงบประมาณการโฆษณาของ Black Cat ที่เริ่มทำการตลาดสำหรับตรายี่ห้ออย่างจริงจังในปี 2539 ด้วยโฆษณาชุดไอ้ฤทธิ์กิน Black  จากปี 2539 ถึง 2542 สุรายี่ห้อนี้ใช้งบประมาณโฆษณารวมกันสูงถึง 372 ล้านบาท และเมื่อนำเงินลงทุนด้านการโฆษณาของ Black Cat มาคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน ณ ปี 2542 เพื่อหามูลค่าตรายี่ห้อด้วยวิธีต้นทุนของตลาดก็จะได้มูลค่าประมาณ 544 ล้านบาท ซึ่งจากงานวิจัยที่ผู้เขียนทำขึ้นในปี 2542 เพื่อศึกษาอัตราความรู้จัก(Brand Awareness) และความชื่นชอบ (Brand Preference)ในตรายี่ห้อสุราไทย พบว่า Black Cat ได้รับคะแนนความชื่นชอบในตรายี่ห้อจากผู้บริโภคสุราไทยสูงถึง 6.01 จากคะแนนเต็ม 10 ซึ่งต่ำกว่า แม่โขงที่ได้รับคะแนนความชื่นชอบเป็นอันดับ 1 เพียง 1.2 คะแนน (แม่โขงได้คะแนน 7.21)

                ซึ่ง วิธีดังกล่าวจะเหมาะสำหรับตรายี่ห้อที่มีอายุไม่ยาวนานนักเพราะสามารถเก็บ ข้อมูลงบโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ลงไปในการสร้างตรายี่ห้อนั้น ๆ ได้ง่าย ส่วนตรายี่ห้อที่อยู่ในตลาดมายาวนาน วิธีนี้นอกจากจะมีปัญหาด้านข้อมูลงบโฆษณาในแต่ละปีที่ใช้ซึ่งหายากเนื่องจาก เวลาที่ผ่านไปแล้วยังมีข้อถกเถียงเรื่องมูลค่าปัจจุบันของเงินค่าโฆษณาที่ลง ไปในอดีตเมื่อ 10 ปีก่อน จะนำมาเปรียบเทียบกับค่าโฆษณาของปีปัจจุบันได้อย่างไรเพราะราคาค่าโฆษณาใน อดีตต่ำกว่าปัจจุบันมาก อีกทั้งโฆษณาที่เผยแพร่มานาน ๆ หลาย ๆ ปีย่อมมีผลในด้านอัตราการรับรู้ต่ำกว่าโฆษณาที่เพิ่งเผยแพร่ไม่นานนัก

                นอกจากนี้ในบางธุรกิจที่ค่อนข้างผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด รวมทั้งธุรกิจที่ไม่ได้มุ่งขายสินค้าให้ผู้บริโภคคนสุดท้าย (End User) โดยตรง ก็มักจะใช้งบประมาณในการโฆษณาต่ำ ทำให้การประเมินมูลค่าตรายี่ห้อด้วยวิธีนี้อาจออกมาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น



วิธีค่าเช่าสิทธิ์ (Loyalty Relief)

            แนว คิดของวิธีการประเมินมูลค่าตรายี่ห้อแบบนี้ เป็นการใช้สมมุติฐานว่า ถ้าเจ้าของตรายี่ห้อนั้น ๆ ไม่ดำเนินธุรกิจเอง แต่ให้ผู้อื่นเช่าสิทธิ์นำตรายี่ห้อของตนไปใช้ผลิตสินค้า เจ้าของตรายี่ห้อควรได้รับค่าตอบแทนปีละเท่าไร หลังจากได้คำนวณหารายได้ค่าเช่ารายปีแล้ว นำมาเข้าสูตรทางการเงินที่ประมาณการรายได้ในอนาคตให้กลับมาเป็นรายได้ ปัจจุบันแล้วก็จะได้มูลค่าของตรายี่ห้อนั้น ๆ

                วิธีดังกล่าวค่อนข้างสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันที่ผู้ประกอบการของไทยหลาย ๆ แห่งยอมจ่ายค่าเช่าสิทธิ์ในตรายี่ห้อของร้าน Fast Food ชื่อ ดังของต่างประเทศเพื่อเข้ามาประกอบกิจการในไทยหรือในธุรกิจเสื้อผ้า ผู้ประกอบการของไทยจำนวนไม่น้อยก็จ่ายค่าเช่าสิทธิ์แก่เจ้าของตรายี่ห้อ เสื้อผ้าดัง ๆ ของต่างประเทศเพื่อทำการผลิตและจำหน่ายในเมืองไทย

                ผม เคยลองใช้วิธีนี้เป็นหนึ่งในวิธีประเมินมูลค่าตรายี่ห้อแม่โขง โดยนำเสนอกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะหนึ่งในทีมที่ปรึกษาที่กรมให้ช่วยประเมินราคาตรายี่ห้อเพื่อใช้เป็น ข้อมูลในการตัดสินใจก่อนที่จะเปิดประมูลขายโรงงานสุราบางยี่ขันและสิทธิใน ตรายี่ห้อ ตอนนั้นเราตกลงใช้ค่าเช่าสิทธิในอัตรา 2% ของราคาขายส่งหน้าโรงงานเป็นฐานในการคำนวณ โดยอ้างอิงจากข้อมูลของบริษัทที่เช่าสิทธิตรายี่ห้อเบียร์ของต่างประเทศเข้ามาผลิตและทำการตลาดในเมืองไทย ที่เขาจ่ายค่าเช่าตรายี่ห้อ ประมาณ 2-2.5% ของ ต้นทุนผลิต ซึ่งเมื่อพยากรณ์ยอดขายในอนาคตของแม่โขง คูณกับอัตราค่าเช่าสิทธิแล้วคิดกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน ณ ปี 2542 แล้ว จะได้มูลค่าประมาณ 1,022 ล้านบาท



วิธีผลต่างของราคาหุ้น (Stock Premium Method)

                วิธีนี้เป็นวิธีที่นิตยสารธุรกิจชั้นนำในอเมริกาอย่าง Business Weeks ใช้ จัดอันดับตรายี่ห้อสินค้าที่มีค่าสูงสุดในโลก โดยสรุปเป็นรายงานเป็นประจำทุกปี ซึ่งวิธีดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่ามูลค่าหุ้นของบริษัทสะท้อน ราคาตลาดในขณะนั้นของบริษัท ดังนั้นหากนำมูลค่าตลาดของบริษัทที่ได้จากราคาตลาดของหุ้นบริษัทมาหักจาก มูลค่าทรัพย์สินที่จับต้องได้ทั้งหมดของบริษัทก็จะได้ค่าความนิยม (Goodwill) ของ บริษัทออกมา เมื่อนำค่าความนิยมมาสกัดส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับตรายี่ห้อ เช่น ชื่อเสียงของเจ้าของกิจการ ฐานข้อมูลลูกค้าและความสัมพันธ์กับผู้แทนจำหน่าย เป็นต้น เราจะได้มูลค่าตรายี่ห้อออกมา โดยสามารถสรุปเป็นสูตรง่าย ๆ ดังนี้

               

                มูลค่าตลาดรวมของบริษัท   =   ราคาหุ้นในขณะนั้น  x จำนวนหุ้นทั้งหมด     

                ค่าความนิยม(Goodwill)     =  มูลค่าตลาดรวมของบริษัท มูลค่าทรัพย์สินที่จับต้องได้

                มูลค่าของตรายี่ห้อ              =  ค่าความนิยม ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับตรายี่ห้อ



                ซึ่ง วิธีดังกล่าวทำได้ค่อนข้างง่ายสำหรับบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งต้อง เปิดเผยงบการเงิน และมีราคาหุ้นของบริษัทที่ซื้อขายกันในตลาดได้อย่างชัดเจน แต่ก็มีข้อจำกัดมากหากบริษัทดังกล่าวดำเนินธุรกิจหลายประเภท หรือ มีผลิตภัณฑ์หลากหลายยี่ห้อ ทำให้ยากต่อการแบ่งแยกค่ามูลค่าตรายี่ห้อ แต่ละยี่ห้อออกจากค่าความนิยมของบริษัท ดังนั้นในการประเมินมูลค่าตรายี่ห้อของบริษัทที่มีข้อจำกัดลักษณะนี้อาจต้อง ใช้วิธีการอื่นเข้ามาร่วมด้วย



วิธีผลต่างของราคา (Price Premium Method)

                วิธี นี้เป็นวิธีประเมินมูลค่าตรายี่ห้อภายใต้หลักที่ว่าลูกค้าจะยอมจ่ายเงินสูง ขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีตรายี่ห้อที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะทางกายภาพและคุณภาพเหมือนกัน แต่ไม่มีตรายี่ห้อ (Generic Brand) ซึ่งเรามักจะ เห็นช่วงระดับราคาดังกล่าวได้อย่างชัดเจนจากสินค้าหลายรายการที่วางจำหน่าย ตามซูเปอร์เซ็นเตอร์ เช่น น้ำดื่มบรรจุขวดยี่ห้อดัง ๆ จะมีราคาจำหน่ายต่อลิตรสูงกว่าน้ำดื่มที่เป็น House Brand ของห้างนั้น ๆ

                ส่วนต่างของราคาดังกล่าว เมื่อนำมาคูณกับจำนวนขายต่อปีของสินค้ายี่ห้อนั้น ๆ จะกลายเป็นรายได้จากต่อปีที่มาจากตรายี่ห้อนั้น ๆ  เมื่อ ทำการพยากรณ์ปริมาณขายแต่ละปีที่จะเกิดขึ้น ในอนาคตของสินค้ายี่ห้อนั้น ๆ แล้วนำมาคูณกับส่วนต่างของราคาก็จะได้รายได้ในอนาคตต่อไปที่เกิดจากศักยภาพ ของตรายี่ห้อ เมื่อคำนวณโดยใช้สูตรทางการเงินเพื่อเปลี่ยนรายได้ในอนาคตกลับมาเป็นมูลค่า ในปัจจุบันก็จะได้มูลค่าของตรายี่ห้อ ณ ปัจจุบัน

                เพื่อให้เห็นวิธีการประเมินมูลค่าตรายี่ห้อที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ผมได้ทดลองนำวิธีผลต่างของราคา (Price Premium Method) มาทดลองประเมินมูลค่าตรายี่ห้อของบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด(มหาชน) ดังรายละเอียดในตารางด้านล่าง ซึ่งผลที่ได้ก็คือ ณ ปลายปี 2543 บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด(มหาชน) มีมูลค่าตรายี่ห้อสูงถึง 6,867 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 23.77% ของมูลค่าทรัพย์สินของบริษัท ณ สิ้นปี 2543

            แทรกตารางที่แนบมาด้วย

สรุป


            จะเห็นได้ว่าจากความเชื่อของนักการตลาดที่ ว่าตรายี่ห้อมีค่า เมื่อนำหลักการประเมินราคาที่ใช้กับทรัพย์สินที่จับต้องได้มาปรับใช้เพื่อ คำนวณหามูลค่าตรายี่ห้อออกมาในรูปของตัวเงินก็มีหลักการณ์ที่สามารถทำได้ เมื่อช่วงปลายปี 2542 กรมโรงงานอุตสาหกรรมเคยนำโรงงานสุราบางยี่ขัน เครื่องจักรและตรายี่ห้อสุรากว่า 40 ยี่ห้อที่ทางกรมจดทะเบียนไว้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือยี่ห้อสุราดังอย่าง แม่โขง “กวางทอง” และ เชี่ยงชุน” ออกมาประมูลขาย มูลค่าตรายี่ห้อที่ทางที่บริษัทปรึกษาด้านการประเมินมูลค่าของกรมโรงงานอุตสาหกรรมประเมินไว้ที่ ประมาณ 1,800 ล้านบาท เมื่อมีการประมูลจริงมีผู้ให้ราคาสูงสุดถึง 8,216 ล้านบาท (เมื่อหักราคาที่ดินและโรงงานแล้ว ราคาตรายี่ห้อที่ถูกประมูลไปจะมีค่าสูงถึงประมาณ 5,000 6,000 ล้านบาท) ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้อย่างตรายี่ห้อก็ สามารถประเมินค่าและมีการซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์ได้

                นอก จากนี้หน่วยงานของรัฐอย่างกรมทะเบียนการค้าร่วมกับสมาคมธนาคารไทยยังมีแนว คิดที่จะยกร่างกฎหมายในสถาบันการเงินยอมรับการตีมูลค่าของทรัพย์สินที่จับ ต้องไม่ได้ เช่น ตรายี่ห้อและสิทธิ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักทรัพย์สำหรับลูกหนี้เพื่อค้ำประกันมูลหนี้กับสถาบันการเงิน ซึ่งแม้แนวคิดดังกล่าวจะยังอยู่อีกไกลในการพัฒนาเป็นกฎหมายแต่ก็แสดงให้เห็น กระแสความยอมรับความมีตัวตนและมูลค่าที่สามารถวัดได้ของตรายี่ห้อมากขึ้น แล้วเพื่อน ๆ นักการตลาดอ่านแล้วลองกลับไปคิดดูสิครับว่าตรายี่ห้อสินค้าของเราน่าจะมีค่าเท่าไร