ads head

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ไมโครซอฟท์”พลังอำนาจที่ไม่อาจปฏิเสธได้


“ไมโครซอฟท์”พลังอำนาจที่ไม่อาจปฏิเสธได้"

บุณฑริกา สิริโภคาศัย
“ไมโครซอฟท์”พลังอำนาจที่ไม่อาจปฏิเสธได้



       ระบบปฏิบัติการ “ไมโครซอฟท์ วินโดวส์” เปิดตัวสู่ตลาดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.1985 (หลังจากเข้าตลาดโอเอสด้วย MS DOS 1.0 ในปี ค.ศ.1981) โดยถือเป็นคู่แข่งทางตรงของ “แมค โอเอส” จาก Apple Inc. ด้วยลักษณะผลิตภัณฑ์และสมรรถนะที่คล้ายคลึงกันมาก   แต่ประเด็นสำคัญที่ทำ ให้โอเอสวินโดวส์ชนะขาดโอเอสของ Apple พร้อมกับก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดทิ้งห่างโอเอสของเจ้าอื่น ครองส่วนแบ่งมากกว่า 90% คือ การเลือกกลุ่มลูกค้าที่กว้างกว่า Apple


      เนื่องจาก Apple ตั้งใจพัฒนาระบบปฏิบัติการของตัวเองขึ้นมา เพื่อเป็นโอเอสที่ใช้งานกับฮาร์ดแวร์ อย่างคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องโน้ตบุ๊คของ Apple โดยเฉพาะ (Niche Market) แต่โมเดลการทำตลาดของไมโครซอฟท์ที่เน้น Bundle ซอฟต์แวร์ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ณ จังหวะที่ช่วงนั้นตลาดพีซีกำลังขยายตัวอย่างมาก จนถึงขั้นที่นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า ยุคที่ไมโครซอฟท์ Enter สู่ตลาดนั้น “พีซีถือเป็นศูนย์กลางของจักรวาล” ทำให้การเข้าตลาดตั้งแต่ในระยะแรกๆ ของไมโครซอฟท์จึงสร้างการเติบโตได้อย่างมหาศาล 


      นั่นเพราะตามธรรมชาติของเทคโนโลยี คือ เมื่อใดก็ตามที่เทคโนโลยีใหม่สามารถเปิดตัวสู่การยอมรับของตลาดในวงกว้าง และมีพลวัตของการเติบโตอย่างรวดเร็ว (Dynamic Growth Mode) ในรายของไมโครซอฟท์ถือว่าได้ใช้โอกาสในการเข้าสู่ตลาดเป็นรายแรกๆ ชิงความได้เปรียบทางการแข่งขันมาต่อยอดความสำเร็จให้กับธุรกิจ พร้อมกำหนดกลยุทธ์ที่คู่แข่งรายอื่น ยากจะทลายกำแพงมาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดของซอฟต์แวร์ไจแอนท์รายนี้ได้ในบางตลาดถึงกับมีการฟ้องร้องไมโครซอฟท์ด้วยข้อหา “ผูกขาดทางการค้า” อย่างเช่น การที่สหภาพยุโรปฟ้องร้องกรณีการพ่วงซอฟต์แวร์เบ็ดเตล็ด อย่าง Internet Explorer, Windows Media Player ฯลฯ เข้าไว้ใน Windows OS ของไมโครซอฟท์ ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวได้ทำลายการแข่งขันในตลาดบราวเซอร์ โดยคดีความยืดเยื้อมานานนับสิบปี 


      ที่สำคัญ ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์กลายเป็น Standard ที่ผู้ใช้ทั่วโลกต้องการ รวมถึงประเทศไทยก็เช่นกัน ที่ธุรกิจมีอัตราการเติบโตรวดเร็วเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศในกลุ่ม Emerging Market และหากพิจารณาถึงสถานะของไมโครซอฟท์ในไทย เรียกว่าแทบไม่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ที่ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดคิดเป็น 90% ในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป และ 87% ในกลุ่มองค์กร
      ด้วยฐานะ Market Leader ผนวกกับข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน จึงส่งผลอย่างมากต่อแนวทางการวางกลยุทธ์ของไมโครซอฟท์ทั่วโลก โดยเฉพาะมุมมองในการสร้าง Customer Value ที่ทำให้ไมโครซอฟท์มี Speed และการอัพเดทเวอร์ชั่นโอเอสแต่ละครั้ง ได้รับความสนใจจากผู้ใช้มาโดยตลอด  เรียกว่า ยิ่งอัพเกรด ก็ยิ่งยากที่คู่แข่งจะเข้ามาชิงพื้นที่ส่วนแบ่งตลาดของไมโครซอฟท์
      ใน กรณีของ Windows 7 ยังถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของ “การใกล้ชิดคอนซูเมอร์มากขึ้น” ที่จะมาสร้างการเติบโตอย่างมหาศาลให้กับไมโครซอฟท์ในตลาดผู้บริโภค เนื่องจาก Windows 7 กลายเป็นโอเอสที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของไมโครซอฟท์ มีการขายไลเซ่นไปทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 150 ล้านไลเซ่น ภายในระยะเวลาเพียง 7 เดือนหลังจากเปิดตัว ซึ่งในไทยขายไปมากกว่า 3 แสน License และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเพราะอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี ที่สำคัญ คุณสมบัติหลักเรื่อง “ความง่ายต่อการใช้และเร็ว” ของ Windows 7 ยังถือเป็นแรงส่งสำคัญของไมโครซอฟต์ หลังจากที่ระบบปฏิบัติการ Windows Vista ซึ่งเปิดตัวไปก่อนหน้านี้ ไม่ประสบความสำเร็จดังที่หวังไว้

      “ตลาด องค์กรเป็นจุดแข็งของไมโครซอฟต์ ประเทศไทย โดยในปัจจุบัน ตลาดคอนซูเมอร์มีสัดส่วนอยู่ที่ 10% ของรายได้ แต่หลายอย่างเพิ่งเป็นจุดเริ่มต้น แต่แนวทางสำคัญ คือ การใกล้ชิดผู้บริโภคให้มากขึ้น” ผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย เคยกล่าวกับสื่อมวลชนเมื่อไม่นานมานี้

      โดย Windows 7 ที่เปิดตัวในไทย ยังมาพร้อมเวอร์ชั่นภาคภาษาไทย นับเป็นสปีดที่ปรับได้รวดเร็วขึ้นจาก Insight ของตลาด ตามแนวทางการพัฒนา Feature ให้ Localize สำหรับผู้ใช้ในไทย รวมทั้งไมโครซอฟท์ยังสามารถเลือกปรับระดับราคาให้ต่ำลงได้ เพราะหนึ่ง ในความท้าทายของการทำธุรกิจใน Emerging Market อย่างประเทศไทย คือ ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งในปัจจุบันอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ในไทยคิดเป็นตัวเลข 76% 

      ผู้บริหารไมโครซอฟท์ระดับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เคยให้ความเห็นว่า “เหตุผลหลักที่ผู้คนใช้โปรแกรมผิดกฎหมาย ก็เพราะการจ่ายค่าลิขสิทธิ์แบบซื้อขาดหรือไม่มีวันหมดอายุนั้น (Perpetual License) ในราคาที่สูง ในทางกลับกัน สมมติเราบอกว่า จะเรียกเก็บค่าใช้งาน email เดือนละ 2 เหรียญต่อผู้ใช้งาน 1 คน นั่นเป็นสิ่งที่พวกเขารับได้ง่ายกว่าการจ่ายค่าลิขสิทธิ์แบบซื้อขาด”
เมื่อ Market Leader มองเห็นอุปสรรคที่ขัดขวางการเติบโต ข้อได้เปรียบประการหนึ่งที่พวกเขาเลือกลงมือทำได้ นั่นคือ การปรับ Business Model ให้เหมาะสมกับตลาด ในเคสของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย พวกเราเลือกวางระดับราคาของผลิตภัณฑ์ให้ต่ำลง เน้นการขายรูปแบบแพ็กเกจ รวมทั้งมีการจัดแคมเปญการสื่อสารเพื่อให้ความรู้ในหมู่ผู้บริโภคอีกด้วย


      โดย ระดับราคาปกติสำหรับซอฟต์แวร์ลิขสิทธ์ของไมโครซอฟท์ ประเทศไทยจะอยู่ที่ราว 8,000 บาท แต่ระยะหลังๆ เริ่มมีการปรับระดับราคาลดลงอยู่ที่ 4,000 – 5,000 บาท นอกจากนั้น ยังมีการสร้างความคุ้มค่าให้กับโปรดักต์ เช่น การเปิดตัวซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่พ่วงแอนตี้ไวรัสฟรี เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องการจูงใจผู้บริโภคให้หันมาใช้ซอฟต์แวร์แบบถูกลิขสิทธิ์
ความ ยืดหยุ่นในการปรับราคาให้เหมาะสม ทำให้เชื่อได้ว่าธุรกิจของไมโครซอฟท์จะยังคงทำกำไร เพราะข้อได้เปรียบของการเป็น Market Leader ตรงกับคำกล่าวของ Bill Gates ผู้ที่นำพาไมโครซอฟท์สู่ความสำเร็จเคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าคุณครอบครองตลาดไว้ได้ นั่นหมายถึง ในที่สุดแล้ว คุณก็ครอบครองผลกำไรเอาไว้เช่นกัน” 


      ทั้งนี้ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทยยังเลือกใช้โมเดลในการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในภาคธุรกิจ Internet Café ที่มีชื่อโปรเจ็กต์ว่า “iCafe” เพื่อขายสินค้าลิขสิทธิ์ในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดถึง 80% ให้กับ Internet Café ที่เข้าร่วมโครงการกว่า 8,000 แห่งจากทั้งหมด 15,000 แห่งทั่วประเทศ แม้ว่า iCafe อาจมิใช่โมเดลที่สร้างรายได้ให้กับไมโครซอฟท์มากนัก แต่เป็นการเน้นให้ผู้คนเข้าถึงเทคโนโลยีและสร้างประสบการณ์ใช้งานสินค้าถูก ลิขสิทธิ์มากกว่า

      ในแง่ของคู่ค้าทั่วประเทศ ยังมีการลงทุนเปิดสาขา Microsoft Experience Center ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเข้าถึงและความเข้าใจในการใช้งานมากขึ้น นอกจากนั้น ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ยังสร้างพันธมิตรอย่างองค์กรในภาคการศึกษา โดยจับมือกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเปิดศูนย์คอมพิวเตอร์กว่า 2,000 แห่ง ผลักดันให้โรงเรียนอีก 3,000 แห่งในไทยหันมาใช้งาน Microsoft Multipoint ซึ่งเป็นตัวอย่างของการคิดโซลูชั่นมารองรับสภาพการใช้งานได้อย่างเหมาะสม

      อย่าง ไรก็ตาม ธุรกิจส่วนใหญ่ของไมโครซอฟท์นั้น ล้วนเกี่ยวเนื่องกับการขายซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์อย่างระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และซอฟต์แวร์สำหรับสำนักงาน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาสขึ้นลงตามความผันผวนของตลาดคอมพิวเตอร์ส่วน บุคคล ขณะที่ข้อมูลจากบริษัทวิจัย การ์ทเนอร์ ระบุว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์กว่า 90% ทั่วโลก ยังคงทำงานด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แต่จากข้อมูลล่าสุดพบว่า มีสมาร์ทโฟนไม่ถึง 3% เท่านั้นที่ใช้ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์

      นอกเหนือจาก ความท้าทายของการเผชิญหน้ากับซอฟท์แวร์ผิดกฎหมายในตลาดเติบโตเร็วในภูมิภาค เอเชีย แปซิฟิกแล้ว อีกหนึ่งความท้าทาย คือ การที่ Market Leader รายนี้จะต้องนำพละกำลังและข้อได้เปรียบทั้งหลายมาสร้างความสำเร็จอีกครั้ง ในยุคที่บริบทการสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงด้วยสิ่งที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต

      แน่นอนว่า ผู้นำตลาดอย่างไมโครซอฟท์ย่อมตระเตรียมสรรพกำลังไว้เพื่อสู้ศึกในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์การก้าวสู่โลกของ Cloud Computing อันเป็นแพลตฟอร์มที่จะตอบโจทย์ของผู้บริโภคและองค์กรในอนาคต หรือการต่อยอดหาช่องทางใหม่ๆ เพื่อสร้างรายได้จากการเติบโตอย่างพุ่งพรวดของตลาด Mobile Internet  เพราะชัยชนะที่แท้จริงของผู้นำ อยู่ที่การเอาชนะการแข่งขันแบบวิ่งผลัด มากกว่าที่จะชนะจากศึกสงครามเพียงแค่หนเดียว...

ได้เปรียบอย่างไร
1. Create Standard Platform
2. Adaptable Business Model
3. Speed to Market
4. Customer Intimacy (คนคุ้นเคยกับการใช้วินโดวส์มากกว่าระบบอื่น)


ref:http://www.brandage.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น