ads head

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิกฤตเศรษฐกิจเปรียบเทียบ สวีเดน เม็กซิโก และไทย

วิกฤตเศรษฐกิจเปรียบเทียบ สวีเดน เม็กซิโก และไทย

คงไม่เชยเกินไป ถ้าเราจะย้อนมองกลับไปศึกษาเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจในอดีต และการตัดสินใจแก้ปัญหาในครั้งนั้น รศ.ดร.สมบูรณ์ ศิริประชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. ได้ศึกษาเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ เปรียบเทียบสามประเทศคือ สวีเดนเมื่อคราว 1991 เม็กซิโกเมื่อคราว 1995 และประเทศไทยเมื่อคราว 1997

รศ.ดร.สมบูรณ์ ศิริประชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนงานวิจัยเรื่อง "วิกฤติการณ์เศรษฐกิจในสวีเดน เม็กซิโกและไทย: สาเหตุและการตอบสนองของนโยบาย" และได้นำเสนอประเด็นสำคัญของงานวิจัยชิ้นนี้ ในงานสัมมนาวิจัยหัวข้อ "วิกฤตเศรษฐกิจ" ที่จัดโดยคณะทำงานสัมมนาและเผยแพร่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันจันทร์ที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมา

รศ.ดร.สมบูรณ์ออกตัวว่า งานวิจัยดังกล่าวเป็นงานที่ใช้เวลาเขียนยาวนานถึง 6 ปี อันเป็นเวลาที่ยาวนานจนเหมือนว่าข้อค้นพบที่ได้อาจจะล้าสมัยไปแล้ว ทว่า การได้ย้อนศึกษาที่มาที่ไปของปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ แนวนโยบายที่ใช้แก้ปัญหา ประกอบกับภาวะความไม่น่าเชื่อมั่นของเศรษฐกิจและการเมืองของไทยเวลานี้ ยิ่งเสริมหนุนว่าให้เราต้องย้อนทบทวนไปเรียนรู้เรื่องราวในอดีตอีกครั้ง

ในงานวิจัยเรื่อง "วิกฤติการณ์เศรษฐกิจในสวีเดน เม็กซิโกและไทย: สาเหตุและการตอบสนองของนโยบาย" รศ.ดร.สมบูรณ์ กล่าวว่า สาเหตุของวิกฤติแต่ละประเทศอาจเกิดแตกต่างกัน แต่ละประเทศมีลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมต่างกัน แต่ถ้าเราเข้าใจสาเหตุของประเทศหนึ่งแล้วก็อาจจะนำมาป้องกันได้

วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับทั้งสามประเทศ ล้วนเกิดขึ้นนับแต่ ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา นั่นคือ ประเทศสวีเดนในปี 1991 ประเทศเม็กซิโกในปี 1995 และประเทศไทยในปี 1997

"ทำไมวิกฤตเหล่านี้จึงเกิดขึ้นในทศวรรษที่ 20 ทำไมไม่เกิดก่อนหน้านั้น" รศ.ดร.สมบูรณ์ตั้งประเด็นพร้อมกล่าวต่อว่า วิกฤตทั้งสามประเทศ ล้วนเริ่มต้นที่วิกฤตการเงินก่อนทั้งสิ้น และมีมูลเหตุคล้ายๆ กัน คือ ทั้งสามประเทศเปิดเสรีทางการเงินในทศวรรษ 1990 เดินแบบภายใต้สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า ฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus)

รศ.ดร.สมบูรณ์ เริ่มต้นมุ่งประเด็นไปที่ประเทศสวีเดน ซึ่งมีมุมให้น่าขบคิดอย่างยิ่ง ความน่าสนใจของประเทศสวีเดน คือ เป็นประเทศที่ถือว่ามีระบบธรรมาภิบาลที่ดี และดำเนินระบบเศรษฐกิจแบบรัฐสวัสดิการ

โดย สวีเดนเป็นประเทศแรกในกลุ่มนอร์ดิกที่เปิดการเงินเสรี ซึ่งในเวลานั้นก็พบว่า ธนาคารต่างชาติค่อยๆ เข้ามาตั้งสาขาในประเทศ ผลที่น่าสนใจที่ตามมาก็คือ การปล่อยการเงินเสรีทำให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเงินกู้อย่างมโหฬาร เป็นการปล่อยกู้โดยไม่ระมัดระวัง ไม่มีการกำกับที่ดีของสถาบันการเงิน และยังพบว่า เป็นการปล่อยกู้ให้กับความสัมพันธ์ส่วนตัว

แต่ อย่างไรก็ดี รศ.ดร.สมบูรณ์ย้ำว่า ก่อนที่ประเทศสวีเดนจะเปิดการเงินเสรี รัฐบาลได้ควบคุมการเงินอย่างเข้มข้นมาเป็นระยะเวลายาวนานประมาณ 40-50 ปี ทำให้ประเทศสวีเดนมีกำไรส่วนเกินจากการควบคุมการแข่งขันจากภายนอก

หลัง จากการเปิดเสรีทางการเงิน อันนำไปสู่การให้กู้เงินอย่างมโหฬารนั้น แม้เงินที่กู้ในตอนแรกจะกู้เงินจากสถาบันการเงิน แต่หลังจากนั้น ธนาคารในประเทศสวีเดนก็กู้เงินจากต่างประเทศเพื่อนำมาปล่อยกู้ให้กิจการ อสังหาริมทรัพย์ในประเทศ อันเป็นกิจการที่เฟื่องฟูมาก ซึ่งก็เป็นไปตามหลักการรัฐสวัสดิการ ที่ต้องการให้ประชาชนมีความมั่นคงทางที่อยู่อาศัย

เมื่อ เกิดความอ่อนแอทางการควบคุมการเงิน กิจการบางอย่างทีปล่อยกู้ไป โดยเฉพาะกิจการอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อถึงจุดหนึ่งก็เกิดความอิ่มตัว เพราะเป็นกิจการที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

ทำไม สวีเดนจึงลงทุนเรื่องบ้านและที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมหาศาล รศ.ดร.สมบูรณ์ตั้งประเด็นและกล่าวต่อว่า เพราะนโยบายรัฐที่สนับสนุน แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง ผู้คนก็ไม่มีความต้องการซื้อ ราคาของมันก็ลดลง ส่งผลให้เริ่มมีบริษัทอสังหาริมทรัพย์ล้มละลาย และผลถัดมาคือ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งปล่อยกู้จำนวนมาก ก็เริ่มล้มละลาย

"วิกฤติของสวีเดน มีเหตุหลักจากการเปิดเสรีทางการเงิน แต่นั่นไม่ใช่เหตุเดียว" รศ.ดร.สมบูรณ์กล่าว "
สวีเดนเป็นประเทศที่ไม่ได้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว"

เมื่อ ปี ๑๙๙๑ ที่เกิดวิกฤตในช่วงปลายปี เพราะขาดความระมัดระวังในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ เวลานั้น รัฐบาลสวีเดนก็มองไม่เห็นว่าจะเกิดวิกฤต เพราะมีเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาหนุนมากมาย แต่วิกฤตเกิดขึ้นได้กับทุกประเทศ ไม่ใช่แค่ประเทศด้อยพัฒนา

และ น่าสนใจที่ประเทศสวีเดน เริ่มวิกฤติจากสถาบันการเงิน นำมาสู่วิกฤติอัตราแลกเปลี่ยน จนทำให้ต้องลดค่าเงินโครนลง และเกิดวิกฤตเศรษฐกิจอย่างที่เรารู้กัน

"สวีเดน ดำเนินนโยบายผิดพลาด กดดอกเบี้ยไว้นาน พอแบงค์เสรีก็ปล่อยกู้อย่างไม่ระวัง"

แต่คำถามคือ ทำไมสวีเดนจึงไม่เดินไปหาไอเอ็มเอฟ รศ.ดร.สมบูรณ์ตั้งข้อสังเกต

วิกฤต คราวประเทศสวีเดนเมื่อเทียบกับไทยแล้วต่างกันมาก เพราะรัฐบาลสวีเดนสามารถแก้ปัญหาได้ภายในสองปี โดยสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลสวีเดนทำคือ ไม่พยายามอุ้มธนาคารพาณิชย์ ด้วยการแบกหนี้เสียแทน


ประสบการณ์จากเตอกีล่าเอฟเฟคส์
ในส่วนของวิกฤตเศรษฐกิจของเม็กซิโกที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1995 นั้น มีนักทฤษฎีวิเคราะห์ออกมาหลายสาเหตุ

ช่วง เวลานั้น เศรษฐกิจมหภาคของเม็กซิโกดูเหมือนไม่น่ามีปัญหา แต่ประเทศเม็กซิโกมีปัญหาเรื่องการกู้เงินของธนาคารพาณิชย์ ที่กู้เงินจากต่างประเทศมาถ่วงดุลบัญชีเดินสะพัด เนื่องจากมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงมาก คือประมาณร้อยละ ๘

รัฐบาล เจอปัญหาว่า การขาดดุลดำเนินต่อไปเรื่อยๆ มีคำถามว่า การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นต้นเหตุหรือไม่ บ้างว่าไม่ บ้างว่าเป็น เพราะเป็นการขาดดุลระยะยาว

ทั้ง นี้ ประเทศเม็กซิโกมีเงินทุนไหลเข้ามหาศาล ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเปโซสูงค่าขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนเปโซสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน แล้วมีปัญหาขาดดุลสูง นั่นทำให้ต้องเขาต้องนำเงินต่างประเทศมาหนุน

นอก จากนี้ เงินออมของเม็กซิโกก็ลดต่ำลงมาก เกิดภาวะไร้ดุลยภาพภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ แต่นักเศรษฐศาสตร์ก็บอกว่า มันอาจไม่วิกฤต หากมีเงินทุนไหลเข้าเรื่อยๆ

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เหตุการณ์ทางการเมืองต่างหาก รศ.ดร.สมบูรณ์กล่าว

ประเทศเม็กซิโกมีการลอบสังหารองประธานาธิบดี เป็นเหตุการณ์ตอนต้นปี ๑๙๙๔  แต่ ดูเหมือนเม็กซิโกจะไม่กังวลต่อวิกฤต เพราะตอนนั้นเม็กซิโกเพิ่งเข้าสมัครเป็นสมาชิกนาฟตา ซึ่งทำให้เม็กซิโกเชื่อว่า การเป็นสมาชิกจะทำให้การส่งออกดีขึ้น แต่ก็ดีขึ้นเฉพาะกับประเทศชายแดนเท่านั้น ไม่ใช่ดีขึ้นจริง ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้น และไปบั่นทอนการส่งออกอื่นๆ

คนต่างชาติก็เริ่มเห็นว่า เสถียรภาพประเทศเม็กซิโกมีปัญหา นับแต่เกิดการลอบสังหาร เงินทุนระยะสั้นเริ่มถอนตัวออกไปจากเม็กซิโก

ปรากฏการณ์นี้เหมือน "สัตว์" นั่นคือ นักลงทุนต่างชาติมีความเกรงกลัวเกินกว่าเหตุ การถอนตัวในช่วงเวลาไม่กี่วันถึงหลายร้อยพันล้านเหรียญ

ตอนนั้นเม็กซิโกให้ต่างชาติถือพันธบัตรได้เต็มที่ในรูปของเงิน US เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว พอต่างชาติถอนเงินออกจำนวนมหาศาล ก็มีผลต่อเงินกองทุนสำรองที่ลดลงอย่างฮวบฮาบ จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เม็กซิโกต้องยกเลิกอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ในปี ๑๙๙๔ มาเป็นแบบลอยตัว และเม็กซิโกก็เป็นหนี้มหาศาล เพราะเงินกู้ กู้มาในรูปเงินดอลล่าร์ รัฐบาลไม่สามารถชำระหนี้ได้ และไม่ขายธนาคาร

ทาง เลือกในการแก้ปัญหานั้น เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ขณะที่ประเทศสวีเดนไม่พยายามอุ้มธนาคารพาณิชย์ ส่วนรัฐบาลประเทศเม็กซิโก ก็เลือกเดินเข้าหาไอเอ็มเอฟ

กรณี ของไทย คล้ายเม็กซิโก คือรัฐบาลไทยเดินตามฉันทามติวอชิงตัน ขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยก็ไม่ได้ยกเลิกอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นแบบลอยตัว ไม่ทำให้มีความยืดหยุ่น

Jeffrey Sach นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Harvard วิพากษ์ กรณีของไทยเปรียบเทียบกับเม็กซิโกว่า กรณีประเทศไทย มีพื้นฐานเศรษฐกิจมหภาคที่ดีมากจนไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าเกิดวิกฤตในปี 1997 ขณะที่กรณีของประเทศเม็กซิโกมีปัญหาเงินเฟ้อมาก่อนหน้านั้น และอัตราแลกเปลี่ยนของเม็กซิโกที่ซ่อนเร้นอยู่มีค่าสูงเกินจริง

รศ.ดร.สมบูรณ์กล่าวว่า "นัก เศรษฐศาสตร์เวลานั้นมองแบบสุขนิยม คือมองว่า เงินทุนที่ไหลเข้า คงไม่ไหลออกไปในแบบทันทีทันใด ถ้าแบงค์ชาติในขณะนั้นได้ศึกษากรณีเม็กซิโกและสวีเดน ก็น่าจะเฉลียวใจ"

แต่ว่า เงินทุนไหลเข้านั้น ไหลออกอย่างรวดเร็วมาก นั่นเป็นความตื่นตระหนกของนักลงทุนอย่างไม่มีเหตุผล

เหล่านี้คือความคล้ายคลึงกันของวิกฤติเศรษฐกิจไทยและเม็กซิโก ต่างเพียงประเทศไทยไม่มีสถานการณ์สังหารผู้นำ

แต่ สิ่งที่น่าสนใจคือ การออกแบบวิธีแก้ปัญหาวิกฤตของสวีเดน เมื่อย้อนมองเทียบกับประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลเลือกที่จะโอนหนี้ของเอกชนมาเป็นของรัฐ แต่ประเทศสวีเดนเลือกที่จะขายธนาคารทิ้ง ไม่แบกหนี้นายทุนเอกชน

สรุป ทั้งสามประเทศดำเนินนโยบายภายใต้สิ่งที่เรียกว่าฉันทามติวอชิงตัน มูลเหตุวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นจากสถาบันการเงิน ตามด้วยธนาคารพาณิชย์ และเงินทุนระยะสั้น เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์

ทั้งสามประเทศมีอาการร่วมกัน คือมีการใช้เสรีการเงินอย่างรุนแรง โดยไม่เคยคิดเลยว่าจะถอยกลับดีไหม

"สิ่งที่น่าสนใจคือบทเรียนในการแก้วิกฤต แต่เรากลับไม่เอาบทเรียนนั้นมาใช้" รศ.ดร.สมบูรณ์ กล่าว


ทำความรู้จัก “เฮดจ์ฟันด์ (Hedge Funds)” กองทุนที่ได้ฉายาว่า ‘กองทุนปีศาจ’: กมล กมลตระกูล

ทำความรู้จัก “เฮดจ์ฟันด์ (Hedge Funds)” กองทุนที่ได้ฉายาว่า ‘กองทุนปีศาจ’: กมล กมลตระกูล

link http://www.sarut-homesite.net/2009/ พ.ย. 22nd, 2009
hedge-funds
เฮดจ์ฟันด์ (Hedge Funds) ได้ชื่อว่ากองทุนปีศาจ วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งแล้วครั้งเล่าตั้งแต่วิกฤตหนี้ในละตินอเมริกาในทศวรรษ 1980 , วิกฤตการเงินเตกิลา , วิกฤตฟองสบู่แตก วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 (1997) และล่าสุดวิกฤตอสังหาฯถล่ม (subprime crisis) บางคนเรียกว่า วิกฤตคาวบอย หรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2551 (2008) ล้วนเป็นผลมาจากความกระหายเลือดของกองทุนปีศาจเหล่านี้
การได้รับชื่อว่า กองทุนปีศาจ เพราะว่ากองทุนเหล่านี้ไม่มีตัวตน ไม่มีทรัพย์สินของตนเอง จับต้องไม่ได้ แต่หลอกคนได้ สูบเลือดคนได้เหมือนปีศาจ
การทำงานหรือการบริหารของกองทุน ต้องใช้กลไกของสถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งมีรายได้(fee) จากการให้บริการหรือเป็นกลไกในการทำงานแทนกองทุนปีศาจเพื่อแลกกับค่าบริการ ที่สามารถคิดได้สูงลิบลิ่วตามปริมาณเงินที่ผ่านเข้า-ออก สถาบันการเงินและบริษัทหลักทรัพย์ส่วนใหญตั้งกองทุนหรือรับบริหารกองทุน โดยการตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการ เมื่อพูดถึงกองทุนปีศาจจึงรวมถึงสถาบันการเงินและรัฐบาลที่ให้การสนับสนุน เหล่านี้ด้วย
เศรษฐกิจโลกที่อยู่ใต้กงเล็บของกองทุนปีศาจ จึงได้ชื่อว่า ระบอบเศรษฐกิจกาสิโน (casino economy) หรือทุนนิยมกาสิโน (casino capitalism)
กำเนิดเฮดจ์ฟันด์
เฮดจ์ฟันด์ถือกำเนิดขึ้นในปี 1949 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงได้ 4 ปี นายอัลเฟรด โจนส์ (Alfred W. Jones) ผู้สื่อข่าวด้านตลาดทุนและตลาดเงิน ซึ่งคร่ำหวอดกับการสังเกตการเคลื่อนไหวของตลาดทุนและตลาดเงิน จึงได้ตั้งกองทุนขึ้นมาลงทุนที่สวนทางกับการลงทุนทั่วๆไปในสมัยนั้น โดยการเลือกซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและราคาขึ้นมากกว่าอัตรา เฉลี่ยของตลาด ในขณะเดียวกันเสนอขายราคาหุ้นตัวนั้นเมื่อราคาตกลงระดับหนึ่งพร้อมกันเพื่อ ลดการขาดทุนจำนวนมากๆในคราเดียว รวมทั้งเลือกขายหุ้นประเภทห่วยแตกล่วงหน้า(selling short) ดังนั้นเมื่อตลาดหุ้นขึ้นเขาก็จะได้กำไรจากตัวแรกมาชดเชยตัวหลัง หรือในทางตรงกันข้าม ซึ่งยุทธศาสตร์นี้เป็นการลดความเสี่ยงในตลาดทุนและตลาดเงินที่มีความผันผวน คาดการณ์ไม่ได้ เต็มไปด้วยข่าวลือ ข่าวลวง และข่าวลับ ลวง พราง
กลยุทธ์เฮดจ์ฟันด์
กองทุนและเทคนิคหรือกลยุทธ์ที่เขาเริ่มใช้เป็นคนแรกจึงได้ชื่อ ว่า เฮดจ์ฟันด์ (Hedge Funds) และต่อมาได้พัฒนาให้มีความซับซ้อน และนำมาใช้ในทุกตลาด คือ ตลาดทุน ตลาดเงิน ตลาดอนุพันธ์ (derivatives) ตลาดคอมมิวดิตี้ (commodity) ตลาดพันธบัตร (bonds market) และตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา (foreign exchange) โดยพ่อมดการเงินรุ่นต่อๆมาจนกลายเป็นกระแสหลักที่รู้กันแต่วงในของวาณิชย์ ธนกิจ (investment bankers)
ส่วนบรรดาแมลงเม่า และนักลงทุน หรือผู้บริหารกองทุน ตามตำราปัจจัยพื้นฐานก็มักจะหมดตัวหรือทำให้ ผู้ถือหุ้น ผู้ร่วมลงทุน ประเภทกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจบชีวิตเหมือนกับแมลงเม่าที่วิ่งเข้าหากองไฟไป ด้วย
ตัวอย่างกลยุทธ์ที่ใช้ เช่น การตั้งคำสั่งซื้อและขายพร้อมกันในตลาดเดียวกันหรือคนละตลาดเพื่อกินกำไร ส่วนต่าง(arbitrage) , การซื้อเมื่อตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้นและขายล่วงหน้าเมื่อตลาดอยู่ในภาวะขาลง long-short investing techniques , การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซื้อขายแทนคน ซึ่งเรียกว่า quantitative investing หรือ program trading ซึ่งมีการตั้งโปรแกรมทั้งซื้อหรือขายเมื่อดัชนีตัวใดตัวหนึ่ง หรือดัชนีของตลาด หรือราคาหุ้น หรืออัตราแลกเปลี่ยนขึ้นหรือลงถึงจุดนั้น ก็จะสั่งซื้อหรือขายโดยอัตโนมัติใน เสี้ยววินาที ซึ่งคำสั่งเหล่านี้มีนับหมื่นๆคำสั่งต่อวัน หรือเป็นแสนเมื่อรวมของทุกกองทุนเข้าด้วยกัน โปรแกรมเทรดดิ้งนี้เองเป็นต้นตอของความผันผวนของตลาดทุน ตลาดเงิน และตลาดอื่นๆ ทุกตลาด ที่เรียกว่า panic trading ซึ่งเกิดจากการตั้งคำสั่งซื้อขายล่วงหน้าด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั่นเอง การซื้อก่อนจ่ายทีหลัง การซื้อขายภายในวันเดียวกัน หรือกู้เงินมาซื้อ ที่เรียกว่า leverage
กลยุทธ์การกู้เงินมาซื้อเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ ทุกกองทุนนำมาใช้เพราะเป็นการเพิ่มอำนาจซื้อและเพิ่มผลกำไรได้อย่างมหาศาล ถ้าหากว่าบริหารไม่ผิดพลาด เช่น เมื่อกองทุนได้รับเงินมาบริหาร 10 เหรียญ กองทุนอาจกู้เงินเพิ่มได้ 90 เหรียญ รวมเป็น 100 เหรียญ เพื่อนำไปเก็งกำไรในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือตลาดอนุพันธ์ หรือตลาดหุ้น และหากว่าขาดทุนเพียงร้อยละ 10 ก็เท่ากับว่ากองทุนนั้นหมดไปอย่างสิ้นเชิง แต่ถ้าได้กำไรร้อยละ 10 ก็เท่ากับว่าได้กำไร 100% ของเงินทุน
กรณีศึกษาตัวอย่างข้างต้น คือ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2008 บริษัท Lehman Brothers ซึ่งได้ก่อตั้งมานานถึง 158 ปี เป็นบริษัทหลักทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของอเมริกา และเคยเข้าร่วมขบวนการดูดเลือดคนไทยเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 โดยเป็นทั้งบริษัทที่ปรึกษา และตีราคาทรัพย์สินเอ็นพีแอล แล้วตั้งบริษัทลูกขึ้นมาซื้อทรัพย์สินและหนี้สินในราคาต่ำกว่าราคาตลาด (ทรัพย์ของ ป.ร.ศ.) แล้วไปบีบขายให้ลูกหนี้ในราคาสูงลิ่ว เมื่อลูกหนี้ซื้อไม่ไหวก็ต้องถูกยึดกิจการ บัดนี้กรรมได้สนองโดยได้ยื่นเรื่องต่อศาลให้เป็นบริษัทล้มละลายโดยมีหนี้สิน เฉพาะที่เป็นพันธบัตร 768 แสนล้านเหรียญ (768 billion) ซึ่งเท่ากับประมาณแผ่นดินไทย 30 ปี ในขณะที่ทรัพย์สินในกองทุนมีเพียง 639 แสนล้านเหรียญ (639 billion) คือติดลบ
ในปี 2003 Lehman Brothers มีเงินทุน 13,000 ล้านเหรียญ (13 billion) แต่มีบัญชีทรัพย์สินมากถึง 31,200 ล้านเหรียญ (312 billion) ซึ่งแปลว่าทุกๆเงินทุน 1 เหรียญ Lehman Brothers กู้มาเพิ่มอีก 24 เหรียญ(เท่า) เพื่อเก็งกำไร พอถึงปี 2007 Lehman Brothers มีเงินทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 73 กลายเป็น 22.5 พันล้านเหรียญ แต่มีบัญชีทรัพย์สินมากถึง 691 พันล้าน ซึ่งแปลว่าทุกๆ เงินทุน 1 เหรียญ Lehman Brothers กู้เพิ่มเป็น 31 เท่าเพื่อเก็งกำไร
การล้มละลายของ Lehman Brothers ที่สร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนคิดเป็นเม็ดเงิน 639 พันล้าน เป็นคดีล้มละลายที่ใหญ่กว่าการล้มละลายของบริษัทพลังงาน ENRON ในปี 2001 ถึง 10 เท่า กรณี ENRON กลายเป็นตำนานมหากาพย์แห่งการฉ้อฉลที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน สถาบันจัดอันดับ และสื่อด้านเศรษฐกิจ ซึ่งล้วนพัวพันเกี่ยวข้องโยงใยกันเหมือนใยแมงมุม ไม่ต่างกับกรณีธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ หรือบีบีซี ซึ่งมีนายราเกซ สักเสนา และนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ เป็นผู้ต้องหา แต่มีนักการเมืองอีกจำนวนมากที่โยงใยเกี่ยวข้อง
เมื่อครั้งกองทุน Long-Term Capital Management ซึ่งก่อตั้งโดยนักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล 2 คน และเคยทำกำไรให้นักลงทุนสูงสุดถึงร้อยละ 25-50 จนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเกือบทุกสาขา และกองทุนของมหาวิทยาลัย มูลนิธิต่างแย่งกันเสนอให้กองทุนนี้บริหารให้ โดยกองทุนนี้มีเงินที่ได้รับมาบริหาร 40,000 ล้านเหรียญ แต่สามารถกู้เงินมาลงทุนได้ 12,500 ล้านเหรียญ หรือ 30 เท่าของเม็ดเงินที่ตนมี รวมทั้งมีตัวเลขงบดุลในบัญชีสูงถึง 1 ล้านล้านเหรียญ ด้วยวิธีการซื้อแบบใช้ margin ซึ่งใช้เงินเพียงร้อยละ 10 ในการลงทุน 100 แต่ในที่สุดกองทุนนี้ก็ล้มครืนลง และประธานาธิบดีคลินตันต้องกระโดดเข้ามาอุ้มด้วยการใช้เงินภาษีอากรของคน อเมริกันทั้งประเทศเพื่อไม่ให้ระบบเศรษฐกิจของชาติล่มแบบโดมิโน
กลยุทธ์ข้างต้นนี้เอง ที่ประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งประชาชนมีเงินออมมากและมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Pension Funds) ในทุกภาคส่วนรวมทั้งผู้ใช้แรงงานในประเทศเหล่านี้เป็นเจ้าของทุนปีศาจ และล้วนมีส่วนได้ส่วนเสียทั้งสิ้น จึงมีนโยบายบีบให้ประเทศกำลังพัฒนาทุกประเทศก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ตลาดทุนและตลาดเงิน หรือแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ฯ แปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยข้ออ้างว่าเพื่อความทันสมัย เพื่อเปิดช่องทางการระดมทุนมาขยายธุรกิจ และเป็นเรื่องการค้าเสรีหรือการเปิดเสรีเพื่อให้กองทุนปีศาจเหล่านี้สามารถ เข้ามาสูบเลือดกลับไปเลี้ยงประชาชนในชาติของตน
เฮดจ์ฟันด์ กองทุนปีศาจ(1)
คอลัมน์ เดินคนละฟาก
กมล กมลตระกูล kamolt@yahoo.com
วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4158  ประชาชาติธุรกิจ

####

เฮดจ์ฟันด์ กองทุนปีศาจ (จบ) ทุนปีศาจครอบโลก
คอลัมน์ เดินคนละฟาก
กมล กมลตระกูล kamolt@yahoo.com
วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4159  ประชาชาติธุรกิจ

เพียงแค่ขนาดของกองทุนปีศาจนั้นก็มหาศาลแล้ว เช่น กองทุนที่ใหญ่ที่สุด Bridgewater Associates บริหารเม็ดเงินจำนวน 38,600 ล้านเหรียญ หรือ 11 ล้านล้านบาท หรือ กองทุน Soros Fund Management ของพ่อมดการเงิน Soros มีทรัพย์สิน 2 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 7 แสนล้านบาท ซึ่งเกือบเท่ากับงบประมาณแผ่นดินไทยทั้งปีในบางปี (1 ล้านล้านบาทเศษ) แต่สามารถซื้อขายโดยวิธี Leverage คือกู้เงินมาซื้อขาย หรือซื้อขายเงินเชื่อแล้วมาหักกำไรขาดทุนทีหลังได้มากถึง 10-25 เท่า ของเม็ดเงินของกองทุน ดังนั้นจึงไม่มีตลาดทุนและตลาดเงินที่ไหนของโลกสามารถต้านการโจมตี หรือการ “ทุบ” ของกองทุนปีศาจเหล่านี้ได้
ใน 10 กองทุนปีศาจเหล่านี้ รับบริหารเม็ดเงินเกือบ 3 แสนล้านเหรียญต่อปี ในขณะที่กองทุนปีศาจทั้งหมดในโลก บริหารเม็ดเงินประมาณ 2.5 ล้านล้านเหรียญ (2.5 trillion)

edi05191152p2
จากการเปรียบเทียบขนาดของกองทุน เมื่อก่อนเกิดวิกฤต subprime และภายหลัง กองทุนเหล่านี้ไม่ได้เล็กลงเลย เพียงแต่สลับตำแหน่งกันตามความสามารถในการแข่งขัน
ก่อนเกิดวิกฤตอสังหาฯถล่ม (subprime crisis) ในปี 2008 กฎหมายหรือระเบียบที่ควบคุมกองทุนปีศาจมีน้อยมาก เพราะรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องของนักลงทุนใหญ่ๆที่ไม่เกี่ยวกับสาธารณชน เช่น ไม่มีระเบียบเรื่องสัดส่วนเงินสำรอง เรื่องสัดส่วนของเงินกู้ต่อทุน และนอกจากนี้ กองทุน (offshore) ส่วนใหญ่จดทะเบียนในประเทศหรือเมืองที่เรียกว่า tax haven หรือเมืองท่าปลอดภาษี เช่น Cayman Island เป็นที่ตั้งของกองทุนเหล่านี้ถึงร้อยละ 67 ตามมาด้วย British Virgin Islands ร้อยละ 11% และ Bermuda ร้อยละ 11% รวมทั้งรัฐ Delaware ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทุนภายในประเทศ (onshore) มากถึงร้อยละ 64
ตัวเลขในปี 2004 มีกองทุนปีศาจในอเมริกามากถึง 7,000 กองทุน ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออก เช่น รัฐนิวยอร์ก และคอนเนกทิคัต
กรุงลอนดอนเป็นศูนย์กลางของกองทุนปีศาจของยุโรป โดยเป็นที่ตั้งของกองทุนเหล่านี้ถึงร้อยละ 75 และมีทรัพย์สินที่รับบริหารจัดการในปี 2008 เป็นเงิน 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นเงินจากทวีปเอเชีย ร้อยละ 25 ส่วนอีกร้อยละ 25 ของเงินจากเอเชีย บริหารโดยกลุ่มทุนของอเมริกา
ในเอเชียก็มีสิงคโปร์และฮ่องกงเป็นศูนย์กลางใหญ่ หรือที่ตั้งสาขาของกองทุนปีศาจเหล่านี้
อัตราค่าบริหารกองทุน
แรงจูงใจหรือน้ำเลี้ยงของกองทุนปีศาจ คือค่าบริหารกองทุน (management fee) , ค่าส่วนแบ่งจากผลกำไร (performance fee) อัตรามาตรฐานหรือราคาตลาดของค่าบริหารกองทุน คือ ร้อยละ 2 ต่อปี ของมูลค่าเงินของลูกค้าที่มอบให้บริหาร แต่ต้องจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส เนื่องจากยอดเงินที่รับบริหารมีจำนวนมาก รายได้ส่วนนี้จึงเป็นรายได้ที่เป็นค่าใช้จ่ายของสำนักงานและเป็นผลกำไรด้วย
ค่าส่วนแบ่งจากผลกำไร (performance fee) โดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 20 ของผลกำไรสุทธิจากการบริหารกองทุนนั้นๆ แต่บางบริษัทอาจจะคิดมากกว่านี้ เช่น Steven Cohen”s SAC Capital Partners คิดร้อยละ 35-50 หรือ Jim Simons” Medallion Fund คิดร้อยละ 45
ค่าส่วนแบ่งผลกำไรนี้มักนำมาแบ่งปันกันในหมู่ผู้บริหาร ในรูปของโบนัส เงินเดือน สิทธิซื้อหุ้นของบริษัท (stock option) และเป็นแรงจูงใจให้ผู้บริหารกองทุนปีศาจเหล่านี้ใช้วิธีการลงทุนที่ “สุ่มเสี่ยง” เพื่อหวังผลตอบแทนสูงและได้ส่วนแบ่งสูงไปด้วย หากคาดการณ์ถูกก็จะสร้างชื่อเสียง และมีกองทุนหรือมูลนิธิ หรือสถาบันการเงินอื่นๆ แห่กันนำเงินมาให้บริหาร หากตลาดไม่เป็นไปตามคาด ทุกอย่างก็ล้มพังครืนเหมือนวิกฤตการเงินในแต่ละช่วง ซึ่งวนเวียนกลับมาทุก 10 ปี เป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยซ้ำแล้วซ้ำเล่า
Richard Fuld , ประธานของ Lehman Brothers ได้ถูกนาย Henry Waxman (D-CA) ส.ส.พรรคเดโมแครตจากรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นกรรมาธิการด้านปฏิรูประบบงานของรัฐ เรียกมาให้การ เพื่อสอบสวนและตั้งคำถามว่า “บริษัทของคุณยื่นเป็นบริษัทล้มละลาย แต่คุณกลับรับเงินตอบแทนที่ดูดไปจากบริษัท เป็นเงินมากถึง 480 ล้านเหรียญ นั้นเป็นธรรมหรือไม่”
สถาบันจัดอันดับ
เครื่องมือที่สำคัญของกองทุนปีศาจ คือ สถาบันจัดอันดับ เช่น Moody”s และ Standard & Poor”s นิตยสารและ น.ส.พ.ธุรกิจ และการเงิน รายงานประจำเดือนของสถาบันการเงิน หรือกองทุน เช่น น.ส.พ.วอลล์สตรีต, Forbes, Business Week ฯลฯ ซึ่งกองทุนปีศาจเป็นผู้ให้โฆษณารายใหญ่ หรือมีผู้บริหารที่รู้จักกัน มีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือเป็นบอร์ดไขว้กัน ดังนั้นเมื่อมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือรายงานข่าว (ลือ ลับ ลวง พราง) ทำให้ผู้ลงทุนทั่วไปแตกตื่นเทขายหุ้น แล้วถูกช้อนซื้อ หรือในทางตรงกันข้าม หรือรัฐบาลหรือนักการเมืองประเทศกำลังพัฒนาแตกตื่น และออกมาตรการหรือกฎหมายในลักษณะเต้นตามเพลงที่เขาเปิด และติดกับดักการเงิน หรือกับดักหนี้
เมื่อไรจะตาสว่างกัน(เสียที)
แน่นอนว่า การปฏิเสธตลาดหลักทรัพย์ ตลาดทุน ตลาดเงิน หรือตลาดอัตราแลกเปลี่ยน เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในภาวะปัจจุบัน แต่การเปิดหูเปิดตาให้ประชาชนเรียนรู้และรู้เท่าทันความจริงเชิงประจักษ์ที่ มีหลักฐานยืนยันได้ และมีเหตุการณ์ของวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นพักๆ และการที่รัฐบาลแต่ละประเทศต้องนำเงินภาษีอากรมาอุ้มกองทุนปีศาจเหล่านี้ เป็นเครื่องยืนยัน
การให้การศึกษากับประชาชนถึงเบื้องหน้าเบื้องหลัง เป็นเรื่องสำคัญที่มิใช่การรู้ไม่เท่าทันและเทศนาให้ประชาชนยิ่งโง่งมและถูก หลอกต่อๆไปด้วยคาถาว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ คือ ตัวชี้วัดเศรษฐกิจของชาติ และมีการใช้เงินภาษีเข้าอุ้มเมื่อเกิดวิกฤต แต่ความจริงเศรษฐกิจโลกในวันนี้ ก็ไม่ต่างจากบ่อนที่มาเก๊า หรือลาสเวกัสนั่นเอง
นอกจากนี้รัฐต้องไม่งมโข่งหลับหูหลับตาเชื่อในเรื่องการแปรรูปตลาดหลัก ทรัพย์ หรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อนำเข้าตลาดหุ้น ทั้งๆที่เป็นรายได้ของรัฐ หรือการเปิดเสรีอย่างหลับหูหลับตา แล้วปล่อยให้ทุนปีศาจเข้ามาดูดเลือดคนในชาติได้อย่างเสรีโดยปราศจากการควบ คุม ด้วยมาตรการภาษี หรือมาตรการอื่นๆ ที่เป็นการป้องปรามกองทุนปีศาจที่ไร้คุณธรรมเหล่านี้เข้ามาควบคุมและมุ่งหา กำไรอย่างเสรี

กฏ 10 ข้อของการซื้อหุ้น : สุมาอี้


กฏ 10 ข้อของการซื้อหุ้น : สุมาอี้

เขียนโดย นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ (สุมาอี้)
ที่มาhttp://puktiwit.wordpress.com/2012/11/10
1. ซื้อก็ต่อเมื่อได้วิเคราะห์ข้อมูลจนมั่นใจว่ามูลค่าตลาดของหุ้นตัวนั้นต่ำ กว่ามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคตทั้งหมดที่คาดหวังได้ของบริษัทเท่า นั้น ซึ่งถ้ามันเป็นเช่นนั้นจริง ซื้อมาแล้วไม่ต้องขายเลยก็ยังกำไร (กฎข้อนี้สำคัญมากห้ามผ่าฝืนเด็ดขาด)

2. ทิศทางของราคาหุ้นเป็นสิ่งที่ไม่มีทางทำนายได้ อย่าพยายามทำกำไรด้วยการ BLASH การเทรดหุ้นทุกวันเปรียบเสมือนการกระโจนเข้าใส่เครื่องบดเนื้อ

3. ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์บริษัทและอุตสาหกรรมให้มากที่สุด ไม่ต้องให้ความสำคัญกับการทำนายทิศทางเศรษฐกิจมหภาค เรือทุกลำต้องเผชิญพายุเหมือนกันหมด จงพยายามเลือกเรือลำที่ดีที่สุดแทนที่จะพยายามคาดเดาว่าพายุจะมาเมื่อไร

4. ราคาหุ้นไม่มีความสัมพันธ์กับกำไรในปัจจุบันแต่จะวิ่งไปตามความเชื่อของตลาด ว่าพรุ่งนี้กำไรของบริษัทจะเป็นเท่าไร หุ้นที่ขึ้นไม่ใช่หุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานดี แต่หุ้นที่ขึ้นคือหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานไม่ดีในวันนี้แต่กำลังจะดีขึ้นวัน หน้าหรือหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานดีอยู่แล้วและจะดีขึ้นไปอีก

5. หุ้นบูลชิพที่เติบโตช้า แม้ downside จะต่ำ -20% แต่ upside ก็ต่ำด้วย +20% หุ้นเติบโตสูงจึงน่าลงทุนมากกว่าเพราะแม้ว่า downside ของมันอาจจะมากถึง -100% แต่ upside ของมันไม่มีขีดจำกัด (อาจเป็น 200% 500% 1000%…) พอร์ตที่มีหุ้นเติบโตสูงหลายๆ ตัวแม้จะผันผวนมากกว่าแต่จะวิ่งได้ไกลกว่าพอร์ตที่เต็มไปด้วยหุ้นบูลชิพใน ระยะยาวๆ

6. อย่าให้ความสำคัญกับ dividend yield มากนัก เพราะไม่มีกฎว่าบริษัทต้องจ่ายเงินปันผลเท่าเดิมทุกปี จงสนใจว่าบริษัทเอา retained earnings ไปลงทุนทำอะไรมากกว่า มูลค่าของบริษัทจะเพิ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบริษัทลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบ แทนที่คุ้มค่าเท่านั้น

7. หุ้นเป็นหลักทรัพย์ที่มีผลตอบแทนคุ้มค่ากับการเสี่ยงมากที่สุด อย่าเสียเวลาคิดว่าควรแบ่งเงินไปลงตราสารหนี้เท่าไรหุ้นเท่าไร เงินส่วนใหญ่ของคุณควรอยู่ในหุ้นกับเงินสดตลอดเวลา อย่ากลัว market crash เพราะในระยะยาวๆ ไม่มีตลาดหุ้นไหนในโลกที่ไม่สามารถกลับมาสูงกว่าจุดสูงสุดเดิมได้ เพราะเศรษฐกิจในระบอบทุนนิยมโตต้องขึ้นเรื่อยๆ

8. จงละเลยหุ้นที่มีประวัติเรื่องเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย หรือมีพฤติกรรมดูแลราคาหุ้นแม้แต่ครั้งเดียว ราวกับว่าบริษัทเหล่านั้นมิได้ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์

9. โอกาสในตลาดหุ้นไม่ได้มีมากขนาดหาได้ทุกวันมิฉะนั้นผู้คนคงเลิกทำงานประจำ บริษัทคงเลิกนำเงินไปลงทุนนอกตลาด ในบรรดาหุ้น 20 ตัวที่คุณอยากซื้อในหนึ่งปี จงใช้เงินทั้งหมดที่มีอยู่ซื้อแค่ 1-2 ตัวที่คุณคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีที่สุดใน 20 ตัวนั้น คุณจะพบว่าคุณจะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าการแบ่งเงินออกเป็น 20 ส่วนเพื่อซื้อทั้ง 20 ตัว

10. นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จร้อยทั้งร้อยมีความคิดที่เป็นอิสระ ถ้าคุณจอดรอไฟแดงอยู่ที่สี่แยกที่ไม่มีรถวิ่งอยู่ แต่รถคันหลังรุมกดดันคุณด้วยการบีบแตรไล่ให้คุณวิ่งออกไปเลย ถ้าคุณไม่สนใจแรงกดดันนั้นและรอจนไฟเขียวจึงค่อยไป คุณมีแนวโน้มที่จะเล่นหุ้นแล้วประสบความสำเร็จครับ

เหตุการณ์ที่สร้างราคาหุ้น : วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล


เหตุการณ์ที่สร้างราคาหุ้น : วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล

เหตุการณ์ที่สร้างราคาหุ้น : วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล
Posted by admin in Valuation on ก.ค. 24th, 2011 | no responses

 ที่มาhttp://puktiwit.wordpress.com/
นักลงทุนทุกคนต่างต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติ (Abnormal Returns) จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหมั่นศึกษาถึงงบการเงิน งบกระแสเงินสด ภาวะอุตสาหกรรม ความคิดของนักลงทุนสถาบันของหุ้นตัวนั้น เพื่อหาปัจจัยบวก (Drivers) ในการผลักดันราคาหุ้นว่าจะปรับตัวขึ้นเมื่อไรและอย่างไร

Drivers ต่างๆเหล่านี้ จะมาพร้อมกับการปรับมุมมองของการลงทุนให้ดีขึ้น (Upgrade) นำไปสู่การเปลี่ยนคำแนะนำในที่สุด เช่น จากคำแนะนำเดิมจาก “ถือ” (Hold) เป็น “ซื้อ” (Buy) หรือจาก “ซื้อ” เป็น “ซื้ออย่างเต็มที่” (Strong Buy) แต่ Drivers ต่างๆเหล่านี้ จะต้องเป็นสิ่งที่ตลาดไม่ได้คาดหมาย

ถ้านักลงทุนสามารถคาดการณ์เหตุการณ์เหล่านี้ได้อย่างแม่นยำ นักลงทุนท่านนั้นก็สามารถมีผลตอบแทนสูงกว่าปกติได้ (Buy before market expectations) เนื่องจากในตอนที่หุ้นตัวนั้นราคาถูกๆ นักลงทุนส่วนใหญ่ยังไม่มีหุ้นนั้นในพอร์ต จะเป็นสภาพ Under-owned Stocks เมื่อมีข่าวดีแบบไม่ได้คาดหมาย (Unexpected Good News) นักลงทุนจะรุมซื้อ และทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นในที่สุด

ในทางกลับกัน ถ้านักลงทุนได้คาดการณ์เหตุการณ์นั้นแล้ว ซื้อหุ้นเข้าพอร์ตแล้ว หุ้นตัวนั้นจะกลายเป็น สภาพ “Over-owned” คือสภาพที่ทุกคนมีหุ้นตัวนั้นอยู่ในพอร์ต เมื่อข่าวดีออกมา จะถูกเทขายทำกำไรทันที กลายเป็นสภาพ Buy on expectations and sell on facts

ผมได้รวบรวมเหตุการณ์ 13 เหตุการณ์ (จริงๆมีมากกว่านี้มาก) ที่จะเป็นตัวผลักดัน หรือทำให้หุ้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นในขณะที่ราคายังต่ำอยู่

กรณีที่ 1 : ผลการดำเนินงาน “มากกว่า” คาดหมาย (Results beat market expectations) เช่น หุ้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีตัวหนึ่ง นักวิเคราะห์และนักลงทุนได้คาดการณ์ว่า ผลกำไรในไตรมาส 1 ของปี 2548 ได้กำไรกว่า 2,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 250 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกันกับไตรมาสเดียวกันนี้แล้ว ซึ่งเป็นผลการเติบโตของกำไรอย่างมหาศาล แต่เมื่อบริษัทได้ประกาศผลการดำเนินงานแล้ว ก็เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาด

แต่ราคาหุ้นตัวนั้นกลับถูกแรงเทขายทำกำไร แสดงว่าการคาดการณ์ผลการประกอบการที่ดีนั้นได้ถูกคาดการณ์และนักลงทุนได้ ซื้อหุ้น (Build Position) ไว้แล้ว นักลงทุนกลับมุ่งความสนใจไปในผลการดำเนินงานในไตรมาสถัดไปทันที (Forward Expectation) แต่ในทางกลับกัน ถ้าผลกำไรของบริษัทได้เพิ่มเป็น 4,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้มาก หุ้นบริษัทปิโตรเคมีตัวนั้นจะตอบสนองในทางบวกทันที เนื่องจากบรรดานักวิเคราะห์ จะพากันพาเหรดกันปรับผลกำไรขึ้นทันที (Upgrade and Re-rate)

กรณีที่ 2 : งบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานหลังหักงบลงทุน (Free Cash Flow) เป็นบวกในไตรมาสแรกหลังจากติดลบมานาน ผมได้ศึกษาเรื่องนี้มา 15 บริษัท พบสิ่งที่น่าสนใจว่า บริษัทใดก็ตามที่มี Free Cash Flow หรืองบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานหลังหักงบลงทุนเป็นบวกในไตรมาสแรก หลังจากติดลบมาหลายๆ ปี ราคาหุ้นตัวนั้นจะมีการตอบสนองเป็นบวก และบวกมากๆด้วย

การที่ Free Cash Flow เป็นบวก สะท้อนให้เห็นถึงธุรกิจกำลังฟื้นตัว (Turn Around) เนื่องจากบริษัทได้ผ่านขั้นตอนการลงทุนไปแล้ว และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวดอกผลจากการลงทุนนั้น กระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เหลือจากการลงทุน สามารถคืนหนี้ได้เร็วขึ้น และจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นเร็วขึ้น แต่ถ้า Free Cash Flow ยังคง “ติดลบ” หมายความว่า บริษัทต้องกู้เงินเพิ่ม หรืออาจต้องรบกวนกระเป๋าเงินผู้ถือหุ้นเพิ่มโดยการเพิ่มทุน

เช่นในปี 2546 Free Cash Flow ของ บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น (SAMART) เป็นบวกครั้งแรกในไตรมาส 3 ในรอบหลายปี ประกอบกับบริษัทได้ประสบความสำเร็จ ในการปรับโครงสร้างหนี้ด้วย หนี้ได้ลดลงอย่างมหาศาลในปีนั้น ทำให้ราคาหุ้นของ SAMART ได้ทะยานขึ้นราว 4-5 เท่า ในระยะ เวลา 1 ปี
กรณีที่ 3 : การเปลี่ยนแปลงภาวะอุตสาหกรรม หุ้นจะเป็นไปตามวัฏจักรของอุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) ซึ่งจะมีผลต่ออำนาจการต่อรอง (Pricing Power) ของผู้ซื้อและผู้ขาย และกระทบต่อกำไร (Margins) ของผู้ขาย

เช่นเมื่อปี 2539 ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ในประเทศไทย มีจำนวนผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Property Development) จำนวนมากกว่า 2,000 ราย แต่เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ จำนวนผู้ประกอบการกลับลดลงเหลือแค่ 100-200 ราย ในขณะที่ความต้องการบ้านถึงแม้จะลดลงแต่การลดลงยังน้อยกว่าจำนวนผู้ประกอบ การ ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่ ซึ่งแน่นอนต้องเป็นผู้แข็งแกร่งเท่านั้นที่อยู่รอด สามารถกำหนดราคาขายได้

ในช่วงปี 2542-2547 เป็นยุคทองของผู้แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ เช่น บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH) ในกรณีที่ผู้ขายรายอื่นล้มหายตายไป หรืออยู่ในระหว่างปรับโครงสร้างหนี้ LH กลับสามารถทำกำไรขั้นต้น (Gross Margins) โตถึง 40-45 เปอร์เซ็นต์ แทบจะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของวงการสังหาริมทรัพย์

ลักษณะวัฏจักรอุตสาหกรรมแบบนี้เรียกว่า “Oligopoly Business” (อุตสาหกรรมที่มีผู้ประกอบการน้อยราย แต่ผู้ประกอบการสามารถตั้งราคาขายที่มีกำไรสูงได้) ซึ่งอำนาจในการกำหนดราคา (Pricing Power) จะอยู่ที่ผู้ขาย หุ้นของบริษัทในอุตสาหกรรมจะปรับตัวขึ้นอย่างมาก เช่น ราคาหุ้น LH ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 20 บาท (Par 10 บาท) มาเป็น 14 บาท (Par 1 บาท) เนื่องจากกำไรจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เมื่อไรก็ตามที่กำไรมากก็ต้องดึงดูดจำนวนผู้ประกอบการเข้ามามากขึ้น รวมทั้งผู้ประกอบการรายเก่าที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้สินมา มีการลดเงินต้นและลดดอกเบี้ยมากมาย ทำให้ต้นทุนของบริษัทเหล่านี้ถูกลง

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มีผู้ประกอบการหน้าใหม่และหน้าเก่าเกิดขึ้นแทบจะทุกวันในปี 2546 ถึง 2547 วัฏจักรอุตสาหกรรมเปลี่ยนทันทีจาก Oligopoly เป็นการแข่งขันกันอย่างค่อนข้างดุเดือด (Perfect Competition) ราคาหุ้นของบริษัทในกลุ่มนี้ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว

เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมัน โรงกลั่นโรงสุดท้ายที่สร้างขึ้นในประเทศไทย ซึ่งสร้างเมื่อปี 2538-2539 จากนั้นเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โรงกลั่นไม่ว่าจะดีอย่างไรก็ขาดทุนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็น บมจ.ไทยออยล์ (THAI OIL), บมจ.สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (STAR Refinery) เนื่องจากหนี้เพิ่มขึ้นและความต้องการลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นอุตสาหกรรมที่นักลงทุนหลบเลี่ยงในช่วงนั้น ราคาหนี้ของโรงกลั่นเหล่านี้ถูกเทขายในราคา 25 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าตลาด (ราคาได้ตกต่ำกว่าราคาหนี้มาก) จากนั้นใช้เวลาประมาณเกือบ 8-9 ปี ทำให้กลุ่มโรงกลั่นถึงมีกำไรมากๆถึงปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท ธนาคารที่ซื้อหนี้ของไทยออยล์ ที่ราคา 25-30 เปอร์เซ็นต์ ของราคาหน้าตั๋ว แล้วแปลงหนี้เป็นทุนสามารถทำกำไรมหาศาล

กรณีที่ 4 : การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์หรือแก้ไขสัญญาสัมปทาน เช่น ในกรณี บมจ.ไอทีวี (ITV) เมื่อปี 2547 ที่ได้รับการลดค่าสัมปทานจากที่ต้องจ่ายปีละกว่า 1,000 ล้านบาท มาเป็นจ่ายปีละ 200-300 ล้านบาท หรือการที่บริษัทยูบีซี (UBC) สามารถมีโฆษณาในเคเบิลทีวีได้ ตลอดจนการแก้ไขส่วนแบ่งรายได้ของบริษัท โทรคมนาคมต่างๆ ซึ่งการแก้ไขเหล่านี้ ค่าต้นทุนและการแบ่งรายได้กับภาครัฐลดลง ผลกำไรของบริษัทนั้นเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามีการกลับคืนของสัญญาสัมปทาน ราคาหุ้นก็พร้อมจะปรับตัวลงทันที
กรณีที่ 5 : การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรายใหม่หรือเป็นมืออาชีพ (Strategic Partner) เช่น ในกรณีที่ บมจ.แมกเนคคอมพ์ พรีซิชั่น (Magnecomp) เข้าซื้อกิจการ บมจ.เค อาร์ พรีซิชั่น (KRP) เมื่อปลายปี 2547 ในอดีต KRP ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์แขนจับหัวอ่าน ในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ขาดทุนมาตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา และต้องมีการเพิ่มทุนอยู่เสมอ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และ KRP ไม่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้

เมื่อแมกเนคคอมพ์ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้เข้าซื้อกิจการของ KRP โดยการออกหุ้น ทำการแลกหุ้น (swap) และเอาโรงงานของแมกเนคคอมพ์ในสิงคโปร์มา ภายในไตรมาสแรกหลังเข้าซื้อกิจการ บริษัท KRP และแมกเนคคอมพ์มีผลการประกอบการที่ดีขึ้น นอกจากนี้ราคาที่แลกหุ้นกัน ทำให้เกิดค่าความนิยม (Good Will) น้อยมาก ทำให้บริษัทแมกเนคคอมพ์ไม่ต้องมีการคิดค่าใช้จ่ายทางด้านความนิยมด้วย หรือในกรณี บมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทย (TPI) ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) ซึ่งบมจ. ปตท. (PTT) และ “พันธมิตร” ได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนในราคาหุ้นละ 3.30 บาท นักลงทุนก็มีความเชื่อว่า หลังจากที่ บมจ.ปตท เข้ามาบริหารงานใน IRPC อาจจะทำให้มูลค่าหุ้นของ IRPC เพิ่มขึ้นกว่ามูลค่าทางบัญชีได้

กรณีที่ 6 : หุ้นที่ได้รับความสนใจภายใต้สภาพเศรษฐกิจภาวะใดภาวะหนึ่ง ในปกติสภาวะเศรษฐกิจจะมีทั้งเงินเฟ้อและเงินฝืด ในสภาวะใดสภาวะหนึ่งของเศรษฐกิจ อาจก่อให้เกิดกระแสเกี่ยวกับการลงทุน (Investment Theme) เกิดขึ้น

เช่น ในภาวะเงินฝืด (Deflation) ซึ่งเป็นสภาวะที่ปริมาณสินค้ามีมากกว่าความต้องการ (Over Capacity) ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขยายตัวลดลง กำลังซื้อหดอย่างฉับพลัน ผู้บริโภคชะลอการซื้อ ทำให้สินค้าหลายอย่างขายไม่ได้ กระแสการลงทุนในช่วงนี้จะเน้นไปสู่หุ้นกลุ่มที่มีอำนาจผูกขาด (Monopoly) หรือมีอำนาจเหนือผู้บริโภค เช่น หุ้นกลุ่มพลังงาน ผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้พลังงาน ทำให้หุ้นกลุ่มพลังงานขนาดใหญ่บางบริษัทมีอำนาจในการผูกขาดหรือเกือบผูกขาด เป็นระยะเวลานาน อำนาจกึ่งผูกขาดนี้อาจมาจากสิทธิมอบให้จากภาครัฐ หรือความที่บริษัทนั้นมีส่วนแบ่งตลาดมหาศาลจนสามารถกำหนดราคาได้ หรือเป็นบริษัทที่กระแสเงินสดแข็งแกร่ง จนกระทั่งการขยายตลาดในอนาคตนำไปสู่การผูกขาดในระยะยาว (Life-long Monopoly) เงินจะไหลไปสู่การลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้และจะทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ

กรณีที่ 7 : การเป็นบริษัทหายาก (Scarcity) โดยลักษณะผลิตภัณฑ์หรือรายได้ของบริษัทเหล่านี้ต้องไม่เหมือนใครในท้องตลาด (มี Unique and Scarcity) จะมีอุปสงค์ (Demand) สูงทำให้นักลงทุนยินดีที่จะจ่ายราคาแพง (Premiums) เพื่อซื้อหุ้นกลุ่มนี้

P/E Ratio ของหุ้นกลุ่มนี้จะไม่ต่ำ และจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตราบเท่าที่นักลงทุนให้ Premium กับหุ้นกลุ่มนี้ เช่น หุ้นในกลุ่มพลังงานตัวหนึ่ง ทำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถซื้อขายที่ PE สูงถึง 20-30 เท่าได้ ตราบเท่าที่บริษัทจะมีผลกำไรเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ถ้าผลกำไรเติบโตลดลง หุ้นก็มีโอกาสปรับตัวลงได้อย่างมาก

กรณีที่ 8 : หุ้นที่ได้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้และธุรกิจ จนสามารถพลิกฟื้นสถานการณ์จากการล้มละลาย (Bankruptcy and Distress) จะสังเกตได้ว่าก่อนวิกฤติทางการเงินปี 2540 บริษัทจดทะเบียนหลายแห่งได้ลงทุนในธุรกิจต่างๆ นอกเหนือจากธุรกิจที่ตัวเองทำและถนัดอยู่ โดยมีความคิดว่าการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ (Diversified) ถือว่าเป็นบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ไกล (High Vision) และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นได้ โดยที่ตัวเองไม่มีความชำนาญ

การลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเป็นผู้ถือร่วมในลักษณะการร่วม ทุน (Joint Ventures) ในอัตราส่วน 20-25 เปอร์เซ็นต์ โดยหวังจะได้ผลกำไร (Equity Accounting) มาช่วยผลกำไรบริษัทแม่ โดยมิได้สนใจว่าบริษัทร่วมทุนนั้นจะมีเงินปันผลหรือไม่ เพื่อต้องการให้กำไรต่อหุ้นของบริษัทแม่ดูดี เพื่อจะได้ P/E ที่ต่ำ หรืออาจจะจัดตั้งในรูปแบบบริษัท Holding Company ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งในขณะนี้ใช้โครงสร้างแบบนี้ เพื่อกระจายความเสี่ยงของรายได้

บริษัทก่อสร้างใหญ่ๆ ก็มักทำโครงสร้างแบบร่วมทุนโครงการต่างๆเพื่อการประมูลงาน หรือเข้าไปถือในบริษัทซัพพลายเออร์ โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่มักเป็นเงินกู้ เมื่อเศรษฐกิจถดถอย กระแสเงินสดในบริษัทร่วมทุนเหล่านี้ไม่สามารถที่จะชำระดอกเบี้ยเงินกู้ของ บริษัทแม่ที่ยืมมาร่วมทุนได้ ทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ มีการลดเงินต้นและลดดอกเบี้ย (Hair cut) ทำให้มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นเพิ่มสูงขึ้น และมีการขายทรัพย์สินที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลัก (Non-core Assets) เช่น บริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สุดของไทย ซึ่งแน่นอนว่าราคาหุ้นของบริษัทนั้นจะทรุดหนัก แต่นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงเป็นพิเศษ ต้องหาจังหวะลงทุนในช่วง “ราคาที่ถูกทุบลงมา” (Distress) โดยที่เราต้องศึกษาและมั่นใจว่า บริษัทนั้นต้องไม่ถูก “ลดทุน” หรือถูก Written off ในส่วนของทุนจดทะเบียนจนหมด ผมเคยแนะนำให้ “เฮดจ์ฟันด์” ลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ ผลตอบแทน 14 เท่า ในรอบ 2 ปี

กรณีที่ 9 : การนำบริษัทลูก (Subsidiary) หรือบริษัทร่วม (Associates) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าให้บริษัทแม่ เพราะบริษัทแม่สามารถมี “กำไรที่ยังไม่รับรู้” (Unrealized Gains) เนื่องจากเป็นมูลค่าซ่อนเร้น ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ของบริษัทแม่เพิ่มขึ้น ถ้ามูลค่าของบริษัทลูกหรือบริษัทร่วมอยู่ในงบดุลของบริษัทแม่ มูลค่าเหล่านั้นจะถูกบันทึกเป็นมูลค่าทางบัญชีเท่านั้น แต่ถ้าบริษัทลูกและบริษัทร่วมนั้นถูกจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มูลค่านั้นจะเป็น “มูลค่าตลาดทันที” (Market value) ซึ่งโดยเฉลี่ยจะมีมูลค่าประมาณ 2-3 เท่าของมูลค่าทางบัญชี

บริษัทจดทะเบียนหลายบริษัทที่ได้ใช้กลยุทธ์ดังกล่าว เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถค้นหาได้ว่า บริษัทไหนมีมูลค่าซ่อนเร้นอยู่โดยการเปลี่ยนจากมูลค่าทางบัญชีเป็นมูลค่า ตลาด เราก็ลงทุนหุ้นตัวนั้นล่วงหน้าก่อน ก่อนที่คนทั่วไปจะค้นพบ

กรณีที่ 10 : บริษัทที่มีโครงสร้างทางการเงินหรือธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อการควบรวม กิจการ (Merger and Acquisitions) การควบรวมกิจการจะเกิดขึ้นได้ ถ้าบริษัทที่ต้องการซื้อ (Acquirers) เห็นประโยชน์ที่ “ซ่อนเร้น” (Hidden) หรือไม่ซ่อนเร้นในกิจการที่บริษัทกำลังถูกซื้อหรือ “ควบรวมกิจการ” (Takeover Target) ทำให้เกิดการเก็งกำไรได้ บริษัทที่มีโอกาสถูกควบรวมกิจการ มักมีลักษณะ

ก.เป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์ (Assets) , ที่ดิน (Land Bank) หรือใบอนุญาต (Licenses) ที่ซ่อนอยู่มหาศาล จนกระทั่งมูลค่าของสินทรัพย์เหล่านั้น มีมูลค่ามากกว่ามูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัท (Market Capitalization) หรือมากกว่ามูลค่ากิจการทั้งหมดของบริษัท (Enterprise Value) อย่าลืมว่า Enterprise Value จะมีค่าเท่ากับมูลค่า หนี้สินสุทธิ + มูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัท ซึ่งโดยปกติมูลค่า Enterprise value จะมีค่ามากกว่ามาร์เก็ตแคปเสมอ ยกเว้นในกรณีที่บริษัทนั้นเป็นบริษัทที่ไม่มีหนี้หรือมีเงินสดในมือ

ข.บริษัทที่ขาดทุนสะสมมากจนสามารถนำ “ขาดทุนสะสม” (Loss Carried Foreword) มาใช้ในการหักภาษีได้

ค.มีเงินสดในมือมากกว่ามาร์เก็ตแคป จะเห็นว่า บางช่วงขณะ ราคาหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์บางบริษัทได้ตกลงมามาก จนกระทั่งมูลค่าเงินสดในงบดุลมากกว่ามาร์เก็ตแคปเสียอีก ทำให้เป็นโอกาสในการถูกซื้อกิจการเพื่อเอาเงินสดในบริษัทได้

ง.การควบรวมกิจการในลักษณะแนวดิ่ง (Vertical Integration) ซึ่งสามารถทำได้ทั้งทางขึ้นหรือต้นน้ำ (Upward) และทางลงหรือปลายน้ำ (Downward) เช่น บมจ.ปิโตรเคมีแห่งชาติ หรือ NPC มีความพยายามที่จะ ขยายกิจการไปทางปลายน้ำ เพื่อลดความผันผวนของกำไรและราคาผลิตภัณฑ์ที่บริษัทผลิตอยู่ หรือกรณีกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดโอกาสให้ทำธนาคารเต็มรูปแบบ (Universal Banking) ทำให้ธนาคารขนาดใหญ่เหล่านี้ต้องการต่อยอดธุรกิจสินเชื่อประเภทเช่าซื้อ หรือ Leasing ที่ตัวเองยังไม่มีความถนัด กลุ่มบริษัท Leasing หรือสถาบันการเงินที่จะเป็นเป้าหมายในการควบรวมกิจการของธนาคารพาณิชย์ บริษัทที่ถูกเข้าซื้อจะมีลักษณะทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในอัตราส่วนที่สูงหรือ กองทุนขั้น 1 เช่น ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ โดยปกติ สถาบันการเงินถ้ามีทุน 10 บาท สามารถขยายสินเชื่อได้ 10-12 เท่า หรือ 100 บาท หรือ 120 บาท ถ้ามี “อัตราส่วนกองทุนขั้นที่หนึ่งสูง” หมายความว่า สถาบันการเงินนั้นสามารถขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องเพิ่มทุน

นอกจากนี้การควบรวมอาจจะควบรวมกิจการทางแนวราบ (Horizontal Integration) เพื่อลดจำนวนคู่แข่งหรือสกัดดาวรุ่งก็ได้ เช่น การควบรวมกิจการระหว่างเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR) กับ อีจีวี (EGV) แต่การควบรวมกิจการแบบนี้อาจก่อให้เกิดค่า “กู๊ดวิลล์” (Good will หรือส่วนต่างระหว่างราคาซื้อขายกับ มูลค่าทางบัญชี) และจะทำให้บริษัทที่เป็นบริษัทแม่ (Acquirers) มีกำไรที่ลดลงจากการตัดค่าใช้จ่ายทางกู๊ดวิลล์ ได้ แต่ถ้าการควบรวมกิจการเป็นไปในลักษณะการเกิดบริษัทใหม่ หรือ Amalgamation เช่นกรณี บมจ.ปิโตรเคมี แห่งชาติ (NP) กับ บมจ.ไทยโอเลฟินส์ (TOC) การรวมลักษณะนี้ทำให้ บมจ.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สามารถมีสิทธิในการออกเสียงได้ ตลอดจนนำไปสู่การลดสัดส่วนการถือหุ้นของ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น บมจ.ไทยโอเลฟินส์ ได้
เหมือนสมัยหนึ่งนานมาแล้ว บริษัทเคเบิลทีวี 2 แห่งในประเทศไทย เช่น ยูทีวี กับ ไอบีซี รวมกันเกิดบริษัท ใหม่เป็น “ยูบีซี” แต่ถ้าการควบรวมแบบซื้อกิจการเลยเหมือนในกรณีเมเจอร์ ผู้ถือรายใหญ่จะไม่มีสิทธิในการออก เสียง

กรณีที่ 11 : การเพิ่มทุนแต่กลับทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นและทำให้หุ้นปรับตัวขึ้น เช่น กรณีบมจ.อาปิโก ไฮเทค (AH) ที่มีการเพิ่มทุนในปี 2546 และการเพิ่มทุนนี้ทำให้ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Assets) หลังเพิ่มทุนสูงขึ้น

กรณีที่ 12 : การที่บริษัทสามารถเริ่มจ่ายเงินปันผลให้เป็นครั้งแรก (Dividend Signaling) ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม ราคาหุ้นจะตอบสนองในทางบวกทันที เช่น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น (SHIN) เริ่มจ่ายปันผลในปี 2546 หลังจากเป็น Holding company ที่ไม่จ่ายปันผลเสียนาน ราคาหุ้น SHIN ก็เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อมา
กรณีที่ 13 : การที่ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าสร้างใหม่ (Replacement Cost) มาก ซึ่งจะทำให้หุ้นของบริษัทนั้นมีการปรับตัวขึ้นมาก เช่น HMPRO (เมื่อกลางปี 2547) TPI (เมื่อกลางปี 2547 เช่นกัน) รายละเอียดในเรื่องนี้ ผมจะขยายความต่อไป เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะเราสามารถหาหุ้นที่มีโอกาสปรับตัวขึ้นสูงเป็น ร้อยเปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ราคายังต่ำอยู่

ส่วนหนึ่งจากหนังสือ Money Game โดย วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล
ที่มา : http://www.thaistockinfo.com/forum2010/f0058.html
(6 votes, average: 4.83 out of 5)

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สูตรคำนวณเลือกหุ้น 2

สูตรคำนวณเลือกหุ้น 2

 
ที่มา http://www.oknation.net/blog/STRATEGICSTOCK/2008/08/30/entry-1
หลังจากที่เราได้รู้ถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัทไปแล้ว เรื่องต่อไปที่สำคัญไม่แพ้กัน
ก็ คือ การวัดสภาพคล่องของบริษัท สภาพคล่องก็คือ การที่บริษัทมีเงินคล่องมือ เงินเข้า เงินออก ได้อย่างไม่สะดุด จะต้องไม่กู้เงินมาจ่ายแก้ขัด เพราะถ้ากู้บ่อยๆ ย่อมไม่เป็นผลดีกับบริษัท และในเรื่องความสามารถในการกู้เงิน ก็จะมีในบทความต่อไป
การวัดสภาพคล่องของบริษัทมีการวัดอยู่ด้วยสามสูตร เรียกว่า Current ratio, Working capital และ Quick Ratio โดยทั้งสามจะใช้วัดว่าบริษัทมีเงินมากพอสำหรับการใช้จ่ายในธุรกิจที่จะเจอในรอบ 1 ปีได้หรือไม่
Current Ratio มาจาก สินทรัพย์หมุนเวียน หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน ค่าที่ได้ ถ้ามากกว่า 1 ย่อม แสดงว่า มีสินทรัพย์หมุนเวียนที่จะสามารถทำให้กลายเป็นเงิน หรือขายออกไปแล้วได้เงินเข้ามา ไปจ่ายหนี้สินหมุนเวียนได้ และยังมีเงินเหลือ แต่ถ้าน้อยกว่า 1 ก็แสดงว่า สินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน ไม่ได้แสดงว่าไม่ดีซะทั้งหมด เราต้องเข้าใจรูปแบบของธุรกิจนั้นๆด้วย แต่ธุรกิจส่วนใหญ่แล้ว การมีสภาพคล่องดี ย่อมเป็นสิ่งที่ดี

อย่างที่สองก็คือ
Working Capital หมาย ถึง เงินทุนหมุนเวียน มาจากสินทรัพย์หมุนเวียน ลบด้วย หนี้สินหมุนเวียน ถ้าหากเหลือมาก ก็แสดงว่ามีเงินเหลือเยอะ ไม่ต้องกังวล แต่การเหลือมากเกินไปก็ไม่ได้หมายความว่าจะดี เพราะไม่สามารถใช้สินทรัพย์ที่มี สร้างรายได้และกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และสุดท้ายก็คือ
Quick Ratio มา จาก เงินสด+ลูกหนี้การค้า+สินค้าคงคลัง แล้วหารด้วย หนี้สินหมุนเวียน สำหรับวิธีนี้ จะทำให้ได้เห็นสภาพคล่องที่เข้มงวดขึ้น เพราะในความเป็นจริงแล้ว สามอย่างที่นำมาบวกกัน คือของจริงที่ใช้ทำเงิน ทำรายได้ หรือ นำไปใช้หนี้ รวมถึงในการดำเนินธุรกิจจริงๆ ผลที่ได้ออกมาจะเหมือน Current ratio ยิ่งมากยิ่งดี

มีการนำสูตรเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการคำนวนเลือกหุ้น เช่น การนำ Working Capital มา หารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมด เพื่อให้ทราบถึงเงินทุนหมุนเวียนต่อหุ้น เป็นเท่าไหร่ ถ้าราคาหุ้นถูกกว่าที่คำนวนได้ แสดงให้เห็นว่า ราคาหุ้นที่ซื้อขายกันนั้นถูกกว่าความเป็นจริง ถ้าหากคุณซื้อหุ้นได้มากจนเข้าไปบริหาร คุณก็เหมือนกันซื้อของ 1 บาทด้วยเงินเพียง 50 สตางค์เลย
แต่ ว่าสูตรเดียวนั้นยังไม่เพียงพอกับการคัดเลือก จำต้องใช้หลายๆอย่างเข้าด้วยกัน และต้องเข้าใจธุรกิจนั้นให้ดีซะก่อน มิฉะนั้นแล้ว คุณอาจจะมองภาพได้ผิด และซื้อหุ้น หรือลงทุนไปแล้วผิดพลาดได้

สูตรคำนวณเลือกหุ้น 1

สูตรคำนวณเลือกหุ้น 1

 
ที่มาhttp://www.oknation.net/blog/STRATEGICSTOCK/2008/08/29/entry-9

อธิบายเรื่องการใช้ตัวเลขสูตรคำนวณต่างๆ เพื่อเอามาใช้เลือกหุ้น
 
โดยเริ่มแรก สิ่งที่เรามองเป็นลำดับแรกในการเลือกลงทุนกับบริษัทหนึ่งๆ ก็คือ ความ สามารถในการทำกำไร เป็นเรื่องปกติที่เวลาทำธุรกิจก็อยากทำธุรกิจที่กำไรดี ค้าขายคล่องมือ สำหรับบทความนี้ เราจะได้เรียนรู้ถึงสูตรคำนวณพื้นฐานการเลือกหุ้นในด้านความสามารถในการทำ กำไร
 
ตัวแรกที่เราจะต้องรู้จักเลยก็คือ Gross Margin เรียกว่า อัตรากำไรขั้นต้น วิธีคิดก็เอากำไรขั้นต้นหารด้วยยอดขาย อัตรากำไรขั้นต้นนี้ยิ่งมากยิ่งดีครับ คิดง่ายๆ ก็คือคุณซื้อเสื้อมาตัวละ 100 บาท แล้วขายได้ที่ 200 บาท นั่นก็คืออัตรากำไรขั้นต้น 100% ครับ

 
ตัวที่สองเป็น Operating Margin เรียกว่า อัตรากำไรจากการดำเนินธุรกิจ วิธีคิดก็เอากำไรจากการดำเนินธุรกิจหารด้วยยอดขาย อัตรากำไรจากการดำเนินธุรกิจนี้ ก็เหมือนอัตรากำไรขั้นต้นคือยิ่งสูงยิ่งดี คิดง่ายๆก็คือ เมื่อขายเสื้อได้ 200 บาท หักต้นทุนออก 100 บาทแล้ว คุณต้องหักค่ารถที่ไปขนของ หักเงินเดือนพนักงานที่คุณจ้างมาช่วยขาย หักค่าเช่าร้าน เป็นต้น

 
ตัวที่สามเป็น Net profit margin เรียกว่า อัตรากำไรสุทธิ วิธีคิดก็คือเอากำไรสุทธิตั้งหารด้วยยอดขาย อัตรากำไรสุทธินี้ยิ่งมากก็ยิ่งดีเช่นกัน คิดง่ายๆ เมื่อหักต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆออกจนหมดแล้ว ทีนี้คุณยังต้องหักกำไรออกเพื่อจ่ายดอกเบี้ย หากคุณกู้ยืมเงินมา และหักกำไรออกเพื่อเสียภาษี ก็จะเหลือกำไรสุทธินั่นเอง

 
พอเหลือกำไรสุทธิแล้ว ก็จะถึงค่าตัวเลขที่ใครก็อยากได้เห็นก็คือ Earning per Share หรือ EPS เรียกว่า กำไรต่อหุ้น วิธีคิดตามงบการเงินก็คือเอากำไรสุทธิหารด้วยจำนวนหุ้นสามัญเฉลี่ยถ่วง น้ำหนัก แต่ที่ผมใช้อยู่และอยากให้ทำตามก็คือ ให้รวมจำนวนหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และวอร์แรนท์เข้าด้วยกันทั้งหมด เพราะว่า หุ้นบุริมสิทธิก็มีส่วนในการแบ่งผลกำไร และวอร์แรนท์ก็จะถูกแปลงเป็นหุ้นสามัญ หรือ หุ้นบุริมสิทธิในอนาคต อีกทั้งยังมาทำให้ค่า EPS นี้ลดลงอีกด้วย ถ้าหากบริษัทไม่สามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นได้

 
ทีนี้มาดูตัวอย่างกัน งบการเงินในส่วนของงบกำไรขาดทุน จะมีสองแบบ ดังนี้

รายได้จากการขาย                             xxx บาท
รายได้จากการบริการ                          xxx บาท
รายได้อื่นๆ                                       xxx บาท
รายได้รวม                                       xxx บาท
ต้นทุนขาย                                       xxx บาท
ต้นทุนบริการ                                    xxx บาท
ต้นทุนอื่นๆ                                       xxx บาท
กำไรก่อนจ่ายดอกเบี้ยและภาษี            xxx บาท
ดอกเบี้ยจ่าย                                    xxx บาท
ภาษีจ่าย                                         xxx บาท
กำไรสุทธิ                                        xxx บาท
และอีกแบบเป็น
ยอดขาย                                         xxx บาท
ต้นทุนขาย                                       xxx บาท
กำไรขั้นต้น                                      xxx บาท
ค่าใช้จ่าย                                        xxx บาท
กำไรจากการดำเนินงาน                      xxx บาท
รายได้อื่นๆ                                      xxx บาท
รายจ่ายอื่นๆ                                     xxx บาท
ดอกเบี้ยจ่าย                                    xxx บาท
ภาษีจ่าย                                         xxx บาท
กำไรสุทธิ                                        xxx บาท

 
เนื่อง จากบางงบการเงินจะใช้คำอธิบายแตกต่างกัน แต่ความหมายเดียวกัน เช่น กำไรจากการดำเนินงาน คืออันเดียวกันกับ กำไรก่อนจ่ายดอกเบี้ยและภาษี และงบการเงินในส่วนของงบกำไรขาดทุน สามารถทำได้สองแบบตามที่ยกตัวอย่างให้ดู ทำให้การคำนวณบางสูตรอาจทำได้ลำบาก และในส่วนอัตรากำไรนี้ มักจะเน้นที่อัตรากำไรจากการดำเนินงาน กับ อัตรากำไรสุทธิ เป็นหลักด้วย

 
อีกสองสูตรคำนวณ ก็คือ ROA (Retuen on Asset) และ ROE (Return on Equity) เรียกเป็นภาษาไทยว่า อัตรากำไรสุทธิต่อสินทรัพย์ และ อัตรากำไรสุทธิต่อส่วนผู้ถือหุ้น ROA เป็นการวัดอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ทั้งหมดที่บริษัทมีใช้ในการดำเนินธุรกิจ ยิ่งมากก็ยิ่งดีครับ ROE เป็นการวัดอัตราผลตอบแทนเทียบกับส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นเท่านั้น ยิ่งมากก็ยิ่งดีเช่นกัน

 
ROA ก็มาจาก กำไรสุทธิหารด้วยสินทรัพย์รวม บางคนอาจจะเข้มงวดหน่อย ก็เอาสินทรัพย์รวมงวดก่อนบวกกับงวดปัจจุบันแล้วหารสองให้ได้ค่าเฉลี่ย ก็จะทำให้ได้ค่าตัวเลขที่เข้มงวดขึ้น
ROE ก็คล้ายกันแค่เปลี่ยนจากสินทรัพย์รวม มาเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นเท่านั้น และก็ยังเอาส่วนของผู้ถือหุ้นงวดก่อนรวมกับงวดปัจจุบันแล้วหารเอาค่าเฉลี่ยด้วย

 
สำหรับ สองค่านี้ เป็นค่าหนึ่งที่นิยมใช้กันเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นที่อยู่ใน อุตสาหกรรมเดียวกันว่า สามารถให้อัตราผลตอบแทนเทียบกับสินทรัพย์ และเงินลงทุนของผู้ถือหุ้น บริษัทไหนทำได้ดีกว่ากัน บริษัทที่คำนวนได้มากกว่า ยอมดีกว่า แต่จะดียิ่งขึ้นถ้าหากสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในอัตราใกล้เคียงกันต่อเนื่อง ไปหลายๆปี





ที่มา : www.thaihoon.com

ทำไมการเล่นหุ้นโดยติดตามข่าวรายวันจึงไม่ได้ผล




การเล่นหุ้นโดยติดตามข่าวรายวันนั้นดูเหมือนจะได้ผล ทั้งนี้เพราะทุกครั้งที่มีข่าวดี หุ้นก็ จะมีราคาเพิ่มขึ้น และทุกครั้งที่มีข่าวร้าย หุ้นก็จะมีราคาลดลง แต่การเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ มีผลชัดเจนแค่ 1-2 วันเท่านั้น การเล่นหุ้นแบบนี้จะฃื้อขายบ่อย ทั้งนี้เพราะข่าวดีกับข่าวร้าย มักจะมาปะปนกัน การเล่นหุ้นแบบนี้ผมเรียกว่าเป็นการ "เล่นหุ้นระยะสั้น"

การเล่นหุ้นระยะสั้นอย่างนี้ท่านจะพบว่า ท่านทายถูกประมาณ 3 ใน 5 ครั้ง ซึ่งก็นับว่าเก่ง มากแล้ว เพราะคนซื้ออย่างเดาสุ่มนั้นจะเดาถูกแค่ 1 ใน 2 ครั้ง

แต่การทายถูก 3 ใน 5 นี้ก็ยังทำให้ท่านขาดทุน ทั้งนี้เพราะ เวลาเราทายถูกนั้นมันให้กำไร แค่ 2-3 % แต่ท่านต้องเสียค่าธรรมเนียมซื้อ และค่าธรรมเนียมขายในเวลาต่อมา รวมกัน 0.32 จึงเหลือกำไรจริงแค่ 1-2%(เฉลี่ย=1.5%) แต่เวลาทายผิด ท่านจะขาดทุน 2-3% และเมื่อรวม กับค่าธรรมเนียมแล้วกลายเป็นขาดทุนจริง 3-4%(เฉลี่ย=3.5%) ดังนั้น ถ้าท่านทายถูก 3 ครั้ง ก็จะมีกำไร = 3 คูณ 1.5 = 4.5% และทายผิด 2 ครั้งก็จะขาดทุน = 2 คูณ 3.5 = 7.0% ซึ่งรวม ผลการเล่น 5 ครั้งแล้ว = 4.5-7.0 = -2.5% หรือคือขาดทุนไป 2.5 %

อันที่จริงแล้ว ข่าวดีและข่าวร้ายต่างๆนั้นมีผลกระทบยาวนานกว่าที่เราคิด ทั้งนี้เพราะ ข่าว ต่างๆนั้นคือความจริงที่จะไปมีผลต่อกิจการและระบบเศรษฐกิจในเวลาต่อมา ราคาหุ้นนั้น จะลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามแรงผลักดันของข่าวที่เกิดขึ้นย้อนหลังไปเป็นเดือนๆ หรือเป็นปีๆ ซึ่งเราไม่สามารถจะมาจดจำ หรือประเมินผลกระทบที่แท้จริงได้

เรื่องนี้ท่านยังไม่ต้องเชื่อผม ท่านลองเก็บสถิติดู คือ ต่อไปนี้เวลาท่านซื้อหรือขายหุ้น ให้ท่านจดบันทึก ราคาซื้อ ราคาขาย เอาไว้ เมื่อได้สัก 30-40 ครั้งแล้วลองนำมาคำนวณดู ดูว่ากำไรจริงเป็นเท่าใหร่ ขาดทุนจริงเป็นเท่าใหร่ รวมแล้วขาดทุนหรือกำไร และอัตรา การทายถูกของท่านเป็นเท่าใด แล้วนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผมพูดไว้ข้างบน

ความผิดพลาด 19 ประการ ที่นักลงทุนส่วนมากกระทำ

ความผิดพลาด 19 ประการ ที่นักลงทุนส่วนมากกระทำ

วันนี้ผมได้นำเอาบทความที่เก็บเอาไว้ในDATAของผมออกมาแบ่งปันเพื่อนๆครับเห็นว่าดีลองอ่านดูกันนะครับ
ความผิดพลาดสามัญ 19 ประการ ที่นักลงทุนส่วนมากกระทำ (Nineteen Common Mistakes Most Investors Make)
(จาก How to Make Money in Stocks ของ William J. O Neil

1. รั้นที่จะถือขาดทุนไว้เมื่อเป็นจำนวนเล็กน้อยและสมเหตุสมผล
(Stubbornly holding onto losses when they are small and reasonable.)
ข้อนี้เป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมากเป็นอันดับหนึ่ง (นาย O Neil มีกฏให้ทำ Cut loss ทันทีเมื่อขาดทุนไป 7-8%)

2. ซื้อตอนหุ้นตก นั่นคือการตอกย้ำความลำเค็ญ (Buying on the way down in price, thus ensuring miserable results.)
หุ้นที่กำลังตกลงมาถูกกว่าเมื่อสัปดาห์ก่อนดูท่าว่าถูกดี -แต่ จะจ้องรับกริชที่กำลังหล่นไปไย

3. ซื้อเฉลี่ยตอนลงมากกว่าตอนขึ้น (Averaging down in price rather than up when buying.)
นี่คือการเอาเงินดีไปปนเงินเลว เป็นกลยุทธแบบมือสมัครเล่นที่จะนำไปสู่การขาดทุนหนักๆ 

4. ซื้อหุ้นราคาต่ำจำนวนมาก แทนที่จะซื้อหุ้นราคาสูงจำนวนน้อย (Buying large amounts of low-priced stocks rather than smaller amounts of higher priced stocks.)
หุ้นคุณภาพดีราคาไม่มีต่ำ (ลองเทียบ SCC/1000++ กับ TMB/4++)
ควรซื้อหุ้นที่ดีที่สุด (ไม่ใช่ถูกที่สุด)

5. อยากรวยเร็วไม่อยากออกแรง (Wanting to make a quick and easy buck.)
โลภมากใจร้อนจี๋ มีโอกาสใจด่วนโดดเข้ากองไฟแล้วเสียดายไม่อยาก Cut loss เมื่อพลาด

6. ซื้อตามเขาว่า (Buying on tips, rumors, split announcements, and other news hear from supposed market experts on TV.)
หรืออีกนัยหนึ่ง เอาเงินที่ตนสะสมมาอย่างยากเย็นไปเชื่อตามคนอื่น แทนที่จะใช้เวลาฝึกศึกษาให้รู้ตัวว่ากำลังทำอะไร

7. เลือกหุ้นชั้นรองเพราะใด้ปันผลหรือ P/E ต่ำ (Selecting second-rate stocks because of dividends or low price-earnings ratios.)
มีปัจจัยข้อมูลอื่นๆอีกมากที่สำคัญกว่า เงินปันผล หรือ P/E (เช่นอัตราการเติบโต)

8. ไม่ยอมถอยแม้จะเลือกผิดและไม่รู้จริงในการหาบริษัทที่พบความสำเร็จ (Never getting out of the starting gate properly due to poor selection criteria and not knowing exactly what to look for in a successful company.)
หลายคนหลงอยู่กับหุ้นปลายแถวที่มีข้อมูลคลุมเครือ

9. ซื้อหุ้นที่คุณคุ้นชื่อ (Buying old names you're familiar with.)
แค่ที่คุณเคยทำงานการบินไทยไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุให้เป็นห้นดีที่คุณควรซื้อ มีหุ้นดีๆเกิดใหม่ขึ้นมาได้เสมอ

10. ไม่มีปัญญาจดจำทำตามข้อมูลคำแนะนำที่ดี (Not being able to recognize (and follow) good information and advice.)
ญาติ มิตร โบรกเกอร์ และ การบริให้คำแนะนำต่างๆ อาจเป็น -ต้นตอ- ของคำแนะนำที่เลว
มีนักกีฬามืออาชีพเพียงน้อยนิดที่โด่งดังโดดเด่นจริงๆ

11. ดูกราฟไม่เป็นและไม่กล้าซื้อเมื่อเป็น "new high" (Not using charts and being afraid to buy stocks that are going into new high ground in price.)
คนมากกว่า 98% คิดว่าราคาที่ new high แพงไป...แล้วก็ตกรถ

12. ชอบขายหมูแต่ชอบกอดของเน่า (Cashing in small, easy-to-take profits while holding the losers.)
อีกนัยหนึ่ง ควรทำตรงกันข้าม คือ ให้โอกาสเวลา เพื่อทำกำไรและรู้จัก cut loss

13. เป็นกังวลเกินไปกับค่าภาษีและค่าคอม (Worrying too much about taxes and commissions.)
(บ้านเราคงไม่เป็นนักเพราะไม่แพงอย่างเขา)

14. จดจ้องรู้แต่ตอนซื้อแต่ไม่รู้ตอนขาย (Concentrating your time on what to buy and once the buy decision is made, not undetrstanding when or under what conditions the stock must be sold.)
ส่วนมากทำการบ้านแค่ครึ่งเดียว

15. ไม่เข้าใจความสำคัญของการซื้อหุ้นคุณภาพและการดูทางเท็คนิคเพื่อปรับปรุงการเลือกของตน (Failing to understand the importance of buying quality companies with good institutional sponsorship and the importance of learning how to use charts to significantly improve selection and timing.)

16. ชอบเก็งกำไรหนักๆ พวก W/C เพราะเชื่อว่าเป็นทางลัดรวยเร็ว (Speculating too heavily in options or futures because they're thought to be a way to get rich quick.)
(คนที่ชนะคงค้าน -แต่มีกี่คนไม่รู้)

17. ไม่ค่อยทำตามตลาดแต่ชอบเคาะเพดาน (Rarely transacting "at the market" and preferring to put price limits on their buy and sell orders.)
(เลยชวดขายชวดซื้อ)

18. ละล้าละลังไม่รู้เวลาลงมือ (Not being able to make up your mind when a decision needs to be made.)
(หลายคนไม่รู้เวลาจะซื้อ จะขาย จะถือ ดูกระทู้ในสินธรก็ท่วมไปหมด)

19. ซื้อหุ้นอย่างไม่มีเป้าหมาย (Not looking at stocks objectively.)
ชอบซื้อตัวที่ชอบแล้วนั่งภาวนา แทนที่จะศึกษาสนใจทั้งตลาด

ไม่รู้ใครถูกใครผิดแค่ไหนเพียงไร โปรดใช้วิจารณญาณ
..........ตนป็นที่พึ่งแห่งตน.............

ขอให้โชคดีพบความสำเร็จโดยทั่วกัน