ads head

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การใช้พลังงานไทยอยู่ตรงไหน?


การใช้พลังงานไทยอยู่ตรงไหน?

March 19, 2012


ที่มา http://www.whereisthailand.info/2012/03/energy-cons-sector/
การใช้พลังงานไทยอยู่ตรงไหน?
จากที่ประเทศไทยอยู่ตรงไหนได้เคยนำเสนอไปแล้วว่าประเทศเราพึ่งพลังงานจาก พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นส่วนมากและมีการนำเข้าพลังงานถึงกว่า 50%[1] พลังงานเหล่านี้เรานำไปใช้ในส่วนไหนกันบ้าง?
จากการศึกษาในปี 2005 [2] พบว่าประเทศไทยมีการใช้พลังงานทั้งสิ้นเทียบเท่าน้ำมัน 53 ล้านตัน โดยแบ่งออกเป็น
อุตสาหกรรม 38.1 %
การคมนาคมทางบก 27.8%
การคมนาคมอื่นๆ 5.9%
เกษตรกรรม 5.4%
การพาณิชย์ และ บริการสาธารณะ 4.6%
ที่อยู่อาศัย 16.1%
อื่นๆ 2.1%
สำหรับสัดส่วนการใช้พลังงานของประเทศอื่นๆมีดังนี้
Other Countries Energy use by sector

Total Final Consumption (million metric toe) Industry (%) Road Transport (%) All Other Transport (%) Agriculture (%) Commercial & Public Services (%) Residential (%) Non Energy Uses & “Other” (%)
World 7,585 31.9 19.7 5.5 2.5 7.8 27.5 5.1
Asia (excluding Middle East) 2,175 34.7 13.0 3.7 2.9 5.9 35.3 4.4
Thailand 53 38.1 27.8 5.9 5.4 4.6 16.1 2.1
Malaysia 32 40.6 35.0 5.5 0.3 7.1 9.6 1.9
Indonesia 118 19.8 17.5 2.2 1.7 1.8 56.1 1.0
China 785 40.0 6.1 3.5 4.2 3.7 38.2 4.3
Japan 342 35.9 23.2 4.9 1.9 16.9 13.6 3.5
Germany 246 29.8 22.9 3.9 1.1 9.8 28.6 3.8
United States 1,540 26.2 32.3 7.3 1.0 12.2 16.6 4.5

จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีการบริโภคพลังงานมากที่สุดในส่วนของอุตสาหกรรม และการคมนาคม ทั้งนี้เมื่อเทียบกับประเทศแถบเอเชียและทั่วโลกแล้ว จะพบว่าประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราส่วนการใช้พลังงานในส่วนของ การคมนาคมค่อนข้างสูง ในขณะที่ส่วนของที่อยู่อาศัยค่อนข้างต่ำ ทั้งนี้ เป็นไปได้ว่าประเทศในเขตหนาวอาจมีความต้องการใช้พลังงานในการให้ความอบอุ่น ในครัวเรือนมากกว่าจึงทำให้มีสัดส่วนการใช้พลังงานในที่อยู่อาศัยสูงกว่า แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นไปได้ว่าประเทศไทยมีสัดส่วนการใช้พลังงานทางด้าน คมนาคมที่สูงอยู่แล้วก็เป็นได้

จะเห็นได้ว่า การมุ่งลดการใช้พลังงานทางด้านอุตสาหกรรมอาจไม่ง่ายนัก เนื่องจากมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการผลิตซึ่งหมายถึงรายได้ (GDP) ของสังคมโดยรวม ดังนั้นหากเราต้องการที่จะลดอัตราการใช้พลังงาน สิ่งแรกที่เราสามารถเริ่มต้นได้คือด้านคมนาคม ซึ่งโดยหลักการแล้วสามารถทำได้โดยการ “ลงทุนระยะยาว” กับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น การเร่งพัฒนาการคมนามระบบรางให้ครอบคลุมทุกจังหวัดและมีคุณภาพมากกว่าเดิม หรือการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน (mass transit) ในเมืองใหญ่และไม่ใช่เฉพาะในกรุงเทพเท่านั้น การวางระบบ รถประจำทาง, BTS, MRT, BRT อย่างบูรณาการเพื่อการลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล การรณรงค์การใช้ carpool เพื่อลดการใช้ยานพาหนะโดยไม่จำเป็น การสนับสนุนพาหนะทางเลือกเช่น จักรยาน การมุ่งลดจำนวนรถยนต์บนท้องถนนเช่นการเพิ่มภาษีรถยนต์จากภาครัฐ

อ้างอิงข้อมูล:

[1] พลังงานไทยอยู่ตรงไหน? http://www.whereisthailand.info/2012/03/energy-consumption-by-source/
[2] http://earthtrends.wri.org/pdf_library/data_tables/ene3_2005.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น