ads head

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความรู้สำหรับมือใหม่

ที่มา http://chulakorn.blogspot.com/2012/05/blog-post_2306.html
ความรู้สำหรับมือใหม่ และประสบการณ์ของรุ่นพี่บางท่าน  
จากประสบการณ์ของนักลงทุนบางท่านที่ได้ถ่ายทอดในห้องสินธร ผมได้เซฟเอาไว้ วันนี้ได้เปิดมาอ่านเห็นว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมีประโบขน์จึงขอนำมาถ่ายทอด ต่อ เป็นวิทยาทาน และขอมอบความดีทั้งหมดให้กับเจ้าของประสบการณ์นะครับ (ขออภัยที่ไม่ได้เซฟชื่อไว้)ผมขออนุญาตเจ้าของประสบการณ์ขอแก้ไขดัดแปลง และเพิ่มเติมบางส่วนจากประสบการณของผมเข้าไปด้วยนะครับ

คนส่วนมากที่เข้าตลาดหุ้น เพราะหวังรวยเร็ว และไม่ต้องทำงานหนัก  เรียกว่า อยากรวยง่ายๆและรวยเร็วนั่นเอง


ก็ไม่แปลกที่อยากรวยง่ายและเร็วเช่นนั้น  แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีอะไรน้อยมากๆที่จะรวยง่ายและรวยเร็วเหมือนลงทุนหุ้น แต่ก็หมดตัวได้เร็งวและง่ายได้เช่นกัน


แต่หุ้นสามารถให้สิ่งนั้นได้ แต่ก็ไม่ได้ง่ายนักที่จะทำสำเร็จ เว้นแต่จะมีความรู้ มีฝีมือจริง ๆ และมีความตั้งใจ ความอดทน และจิตใจเข้มแข็งไม่โลเลตามกระแสนักลงทุนและตลาดจนเกินไป ต้องมีความเชื่อมั่นในหุ้นที่ลงทุนว่าเป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนตามที่เนชรา ต้องการได้  และสามารถรอให้มูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตของบริษัทที่เราคัด เลือกแล้วได้


แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินไปที่จะรวยง่ายและรวยเร็ว หากมุ่งมั่นหาความรู้ และสั่งสมประสบการณ์อย่างถูกต้องและต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แต่จะบอกว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนนั้นก็ยาก อยู่ที่ตัวเราเองว่ามีเวลากับการสั่งสมประสบการณ์ได้แค่ไหน เป็นแก่น หรือ พี้ในการลงทุน รวมทั้งอารมณ์และการตัดสินใจเลือกหุ้นได้ดีและเหมาะสมแค่ไหน รวมทั้งเงินทุนที่มีในการลงทุนด้วย เพราะเงินทุนมาก โอกาสเงินสร้างเงินได้เร็วเป็นทวีคูณ ดังจะได้อ่านเจอว่าเงินล้านแรกหาได้ยาก แต่ล้านต่อไปง่ายกว่ามาก ซึ่งก็เป็นความจริง
ต้องมีประสบการณ์และพื้นฐานที่ดีเกี่ยวกับหุ้นมาก่อน

การลงทุนหุ้นให้รวยนั้นไม่ได้ยากมากนัก  แต่ก็ไม่ได้เร็วนัก หุ้นของบริษัทชั้นดีนั้นก็เหมือนกับน้ำซึมบ่อทราย ค่อยๆให้ผลตอบแทนออกมาเรื่อยๆ ไม่ได้ไหลออกมาแรงๆ  แต่จะค่อยๆซึมออกมาเรื่อยๆ ยิ่งนานยิ่งไหลได้แรง เพราะกิจการได้เติบโตต่อเนื่องทุกปี  ต้องออทนรอให้กิจการค่อยๆเติบโตไปเรื่อยๆ ควรเป็นกิจการที่มั่นคง ก่อตั้งมานานพอสมควรและมีการเติบโตต่อเนื่องมาทุกๆปี มีความเสี่ยงต่ำ กิจการไม่ผันผวนมากแม้เศรษฐกิจไม่ดี และไม่ใช่หุ้นปั่น


หุ้นในตลาดส่วนใหญ่ก็มีความเสี่ยงต่ำที่จะเจ๊งจนต้องปิดกิจการ แต่การเลือกหุ้นในลงทุนของนักลงทุนเองเป็นตัวแปรที่จะทำให้เกิดความเสี่ยง มากหรือน้อย  การเลือกแนวทางการลงทุน(ระยะเวลาที่ลงทุนสั้นยาว)และการเลือกประเภท หุ้น(เก็งกำไรสั้นๆ หรือลงทุนยาว) ก็เป็นตัวแปรที่กำหนดความเสี่ยง
บางคนลงทุนหุ้นพื้นฐานดีความเสี่ยงต่ำ เติบโตเร็ว แต่อยากมีกำไรภายในไม่กี่วัน หรือไม่กี่สัปดาห์ เห็นหุ้นตัวอื่นขึ้นเร็ว ก็ไม่สบายใจ ก็คัตลอส ไปซื้อหุ้นที่เห็นว่าราคาขึ้นลงเร็วตามกระแส ก็ขาดทุนอีก เราใจร้อนอยากกำไรเร็ว กลับขาดทุนและติดดอย


ความสี่ยง เกิดจากความรู้ และประสบการณ์ในการเลือกหุ้นและการลงทุนหุ้นมากน้อยแค่ไหน  หากรู้น้อยแต่ เห็นคนอื่นกำไรเร็ว เสี่ยงแล้วกำไร ก็เสี่ยงตามโดยไม่มีความรู้ ไม่รู้ว่าหุ้นนั้นพื้นฐานหรือความเสี่ยงของกิจการคืออะไร เห็นหุ้นขึ้นต่อเนื่องทุกวันก็อยากกำไรบ้าง กลายเป็นเหยื่อรายใหญ่ (น่าเศร้า)  เพราะความรู้ ประสบการณ์ต่างกัน ก็ทำให้เกิดความเสี่ยง

การลดความเสี่ยง คือควรเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อให้สามารถไขงฃว่คว้าโอกาสที่จะลงทุนให้ได้กำไรสูงแต่ละช่วงของโอกาสนั้นๆได้จริง


หากเรามีความพร้อม มีความรู้ในหุ้นที่จะลงทุนจริงๆว่า เป็นหุ้นประเภทพื้นฐาน ต้องถือยาว หรือประเภทเข้าเร็วออกเร็ว 


สำคัญที่เรามีความรู้ ความสามารถในการเลือกหุ้น และจิตใจเย็นพอที่จะรอให้หุ้นเติบโตตามเวลาที่หุ้นนั้ๆควรจะเป็นไปได้แค่ไหน


ส่วนใหญ่ใจร้อน อยากกำไรเร็ว โดยไม่มีความอดทนที่จะรอให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมา ก็จะขายขาดทุน หรือพอขายไปแล้ว หุ้นก็ขึ้นทันที


สิ่งสำคัญก็คือ "อย่าโลภ"  ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ก็ควรพอ  หากเป็นแนว VI ก็ต้องอดทนรอได้ หากหุ้นที่เราเลือกลงทุนยังมีพื้นฐานที่ดีอยู่ เหมือนตอนที่เราเลือกลงทุน เว้นแต่มีหุ้นอื่นที่ดีกว่าจริงๆ
แต่หากเลือกหุ้นผิด หรือหุ้นไม่ดีอย่างที่คิดไว้  ก็ต้องยอมคัตลอส เปลี่ยนตัวอื่นที่เราคิดว่าดี ที่เหมาะกับเรา แต่ไม่ควรคัตลอสบ่อยๆ เพราะการคัตลอสเป็นการเสียโอกาสให้เงินทำงาน เพราะเงินทุนที่จะนำไปลงทุนหากำไรลดลง


ควรพิจารณาตัวเองว่าเราจะลงทุนในแนวไหน เก็งกำไร หรือหุ้นพื้นฐานดี ลงทุนยาวให้เติบโตไปพร้อมบริษัทในแนวVI และควรหาความรู้ในแนวที่เลือกอย่างเพียงพอ ไม่รีบร้อนในการลงทุน หากจะลงทุนเพื่อสั่งสมประสบการณ์ ก็ควรลงทุนเพียงน้อยๆไม่กี่ร้อยหุ้น ขาดทุนก้ไม่เสียใจ เป็นค่าครูหากได้กำไรก็ไม่ควรเพิ่มเงินมากๆ (เฉพาะมือใหม่)  เพราะอาจสำคัญผิดคิดว่าการลงทุนง่ายจะตายทำไมโง่จัง เพิ่งมาลงทุนก็ได้กำไรตั้งเยอะแยะ  หรือคิดว่าเพราะเราเก่ง ควรค่อยๆเรียนรู้ตัวหุ้น เทคนิคการลงทุน และอ่านอารมณ์ของตลาดไปเรื่อยๆสักปี สองปีก่อน ค่อยลงทุนเต็มตัว (ติดดอยมาเยอะแล้ว)

=====================================================================

จากประสบการณ์ของนักลงทุนบางท่านที่ได้ถ่ายทอดในห้องสินธร ผมได้เซฟเอาไว้ วันนี้ได้เปิดมาอ่านเห็นว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมีประโบขน์จึงขอนำมาถ่ายทอด ต่อ เป็นวิทยาทาน และขอมอบความดีทั้งหมดให้กับเจ้าของประสบการณ์นะครับ (ขออภัยที่ไม่ได้เซฟชื่อไว้)ผมขออนุญาตเจ้าของประสบการณ์ขอแก้ไขดัดแปลง และเพิ่มเติมบางส่วนจากประสบการณของผมเข้าไปด้วยนะครับ (อีกท่านหนึ่งนะครับ)

จากประสบการณ์การลงทุนที่ผ่านมา ทำให้รู้ว่า

อย่าไปยุ่งกับตัวที่เป็นตำนาน คือ ตำ ซะนาน กว่าจะขยับขึ้นขยับลง
อย่าโลภ เพราะเห็นตัวอื่นขยับเร็ว ขยับบ่อย เลยทิ้งตัวที่ศึกษามาดีแล้ว(อาจได้ไม่คุ้มเสีย ติดดอยสูงอีกต่างหาก)


อย่าขายเข้าขายออก บ่อยนัก เพราะ ค่าคอม มิใช่น้อย
หากมีเงินทุนมาก กำไรช่วงเดียวก็ได้เยอะ พยายามขยายพอร์ต ให้ได้มากขึ้น (ควรออมเงินให้มากที่สุด เพราะเงินจะต่อเงินเหมือนพวกเศรษฐีไง ยิ่งรวยก็รวยขึ้น)


พยายาม ลดข้อผิดพลาดในการเลือกตัวลงทุน เพราะนั้นคือสาเหตุ ของขาดทุน (เอาข้อผิดพลาดมาแก้ไข อย่าเดินตามแนวเดิม)


ไม่สนใจคำพูด คำกล่าว ของกูรูมากนัก แต่ให้หาข้อมูลต่างๆ มาตัดสินใจเอง(ความเห็นของกูรู เป็นข้อมูลดิบ ควรนำมาปรุงก่อนครับ แล้วค่อยตัดสินใจ)


ไม่ลงหุ้น ตัวที่ดีดตัวสูง ต้องหักห้ามใจ เพราะติดดอยง่าย (หรือหากกำไรก็เสี่ยง อาจไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่แฝงอยู่ ควาโลภทำให้คนลืมตาย สู้เพราะคิดว่าคนที่อยู่ดอยคงไม่ใช่กรู 555 )
น้ำมีวันลง ก็ย่อมมีวันขึ้น น้ำมีวันขึ้น ก็ย่อมมีวันลงฉันท์ใด หุ้นก็ฉันท์นั้น
คนที่จะประสบความสำเร็จได้ จะต้องมีความอดทนสูง
เดินผิดทาง อย่าลังเล ตัดสินใจเดินทางใหม่ที่ถูกต้องทันที


Cut loss อย่างผิดๆ จะคิดหนักจนตาย (ไม่ควร Cut loss บ่อยๆ เพราะเท่ากับกำไรลดลง 2เท่า ควรเลือกหุ้นอย่างระมัดระวัง หากพื้นฐานยังดีเหมือนตอนตัดสินใจตอนลงทุน ไม่ควร Cut loss ครับ)
ทุกคนอยากได้กำไร และความอยากได้มาก ทำให้ติดกับดักง่าย (ควรดูจังหวะและFund flow และเป้าหมายราคาที่ตั้งไว้ว่าถึงแล้วหรือยัง หากถึงแล้วควรขายทำกำไรตามแนวทางที่ตั้งไว้)
ศึกษาให้ดีว่า หุ้นแต่ละตัว ขึ้นได้เท่าไหร่ ลงได้เท่าไหร่ (Target price ของหุ้นนั้น)
มีจุดตั้งรับที่ชัดเจน และมีวินัยในการลงทุนที่แน่วแน่


ไม่มีใครไม่ผิดพลาด ดังนั้นพลาดแล้วอย่าเก็บไปคิดมากเริ่มใหม่ให้ดี (เอาความผิดพลากมาเป็นบทเรียน และทำตรงข้ามกับที่ผิดพลาด หาความรู้เพิ่มเติมเรื่อยๆ)
เมื่อได้ของถูกมาแล้ว อดทนรอให้เป็น  (ให้หุ้นทำงานไปเรื่อยๆ หากของถูกและเป็นกิจการดี เติบโตต่อเนื่อง ไม่มีความจำเป็นต้องขายทำกำไร เพราะอาจทำให้เสียโอกาสที่ไม่กล้าซื้อคืนเพราะต้องซื้อคืนกว่าราคาที่ขายไป แต่ไม่ซื้อคืนก็เสียดายเพราะกิจการเติบโตอยู่ทุกปี)

=====================================================================


บทเรียนเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในการเป็นผู้จัดการ กองทุนมานาน 25 ปีของผม (เป็นของผู้เขียนนะครับ ไม่ใช่ของWild Rabbit นะครับ เดี๋ยวเข้าใจผิด 5555)

1. เข้าใจความได้เปรียบเชิงแข่งขันและคุณภาพของบริษัท
- คุณจะต้องรู้ฐานะการแข่งขันของบริษัทและรู้ว่าบริษัททำผลกำไรได้ด้วยวิธีการ ใด ธุรกิจที่ผมชอบคือ ธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืนเป็นระยะเวลายาวนาน สิ่งที่ผมจะถามก็คือ “ในอีก 10 ปีข้างหน้า บริษัทนี้จะยังอยู่หรือไม่และบริษัทน่าจะมีมูลค่าสูงกว่านี้หรือเปล่า?”

2. เข้าใจตัวแปรสำคัญๆ ที่เป็นตัวผลักดันธุรกิจ
- ระบุตัวแปรหลักๆ ที่จะส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัทออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแปรที่บริษัทควบคุมไม่ได้อย่างเช่น ค่าเงิน, อัตราดอกเบี้ย และภาษี สำหรับผม ธุรกิจที่ดีคือ ธุรกิจที่สามารถควบคุมชะตากรรมส่วนใหญ่ของตัวเองได้

3. สนใจธุรกิจที่เข้าใจได้ง่ายมากกว่าธุรกิจที่ซับซ้อน
- ธุรกิจที่ซับซ้อนจะวิเคราะห์ได้ยากว่ามีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่าง ยั่งยืนหรือเปล่า สำหรับผมแล้ว ความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดเป็นคุณสมบัติที่น่าสนใจ ธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูงๆ ในการดำเนินธุรกิจจะมีความน่าสนใจน้อยกว่า

4. ฟังข้อมูลจากผู้บริหารโดยตรง
- ผมชอบผู้บริหารที่ตรงไปตรงมาและไม่ขี้โม้ ผมอยากได้ยินทั้งข่าวดีและข่าวร้าย

5. หลีกเลี่ยงบริษัทที่มีผู้บริหารไม่ซื่อสัตย์และไม่มีความน่าเชื่อถือในทุกกรณี

6. พยายามคิดล้ำหน้ากว่าคนอื่นๆ ไปสองก้าว
- ดูว่าอะไรถูกมองข้ามไปในปัจจุบัน แต่มันจะสร้างความตื่นเต้นให้กับนักลงทุนในอนาคตได้ โดยทั่วไปแล้ว ตลาดหุ้นไม่ได้มองอะไรไกลๆ นัก ดังนั้น หากเรามองไกลกว่าคนอื่นๆ เราจะทำกำไรได้

7. เข้าใจความเสี่ยงในงบดุล
- การลงทุนเป็นการจำกัดความเสี่ยงและการหลีกเลี่ยงความหายนะ คุณต้องวิเคราะห์งบดุลอย่างละเอียด ดูเรื่องหนี้สินของบริษัทให้ดี

8. เสาะหาความคิดจากหลายๆแหล่ง
- ยิ่งคุณมีแหล่งความคิดหลากหลายขึ้นเท่าไร คุณก็จะมีโอกาสหาหุ้นเด็ดๆ ได้สูงขึ้นเท่านั้น แหล่งความคิดที่ชัดเจนที่สุดอาจจะไม่ใช่แหล่งที่ดีที่สุดเสมอไป ผมจะชอบแหล่งข้อมูลที่คนอื่นๆ ไม่ค่อยใช้กัน

9. ดูการซื้อขายหุ้นของผู้บริหารบริษัทด้วย
- มันไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ถูกต้องเสมอไป แต่มันก็มีประโยชน์มาก ดูจำนวนรายการที่เกิดขึ้น การซื้อจะบอกอะไรได้มากกว่าการขาย และผู้บริหารบางคนจะน่าสนใจกว่าคนอื่นๆ

10. ตรวจสอบเหตุผลในการลงทุนของคุณเป็นระยะๆ
- การซื้อหุ้นต้องมีเหตุผลรองรับ และคุณต้องตรวจสอบเหตุผลเหล่านั้นเป็นระยะๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีข้อมูลใหม่ๆ เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม อย่าปล่อยให้ความเชื่อมั่นพัฒนากลายเป็นความดื้อรั้น

11. ลืมต้นทุนของคุณซะ
- ราคาที่คุณซื้อหุ้นมาไม่มีความเกี่ยวข้องเลย มันแค่มีความสำคัญในเชิงจิตวิทยาเท่านั้น เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปในเชิงลบ อย่างลังเลที่จะตัดขาดทุน

12. ผลงานที่ผ่านมาไม่ได้บ่งบอกถึงอนาคต
- อย่างไรก็ตามคุณต้องวิเคราะห์ความผิดพลาดของคุณและเรียนรู้จากมัน

13. ใส่ใจกับมูลค่าเฉพาะของบริษัทนั้นๆ ไม่ใช่ดูแต่มูลค่าเชิงเปรียบเทียบ
- หากคุณดูแต่มูลค่าเชิงเปรียบเทียบ คุณอาจจะซื้อหุ้นตัวที่แพงน้อยกว่ามาซึ่งมันจะทำให้คุณขาดทุนอยู่ดี

14. ใช้วิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นตัวบ่งชี้เพิ่มเติม
- ผมจะใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคมาช่วยกำหนดขนาดการซื้อหุ้นของผม หากปัจจัยทางเทคนิคช่วยยืนยันการวิเคราะห์เชิงพื้นฐาน ผมจะซื้อหุ้นในปริมาณที่มากขึ้น แต่ถ้าไม่ ผมจะซื้อหุ้นอยู่ดีแต่จะซื้อในปริมาณที่ลดลง เมื่อไรก็ตามที่ปัจจัยทางเทคนิคชี้ว่าหุ้นกำลังอ่อนแอ ผมจะตรวจ
สอบปัจจัยพื้นฐานของบริษัทอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ผมพบว่ามันจะมีประโยชน์สำหรับหุ้นขนาดใหญ่มากกว่าหุ้นขนาดกลาง – เล็ก

15. หลีกเลี่ยงการทำนายทิศทางตลาดและการลงทุนตามเศรษฐกิจมหภาค
- ผมจะลงทุนในบริษัทที่ผมคิดว่ามีความได้เปรียบเชิงแข่งขัน

16. จงสวนกระแส
หากคุณรู้สึกสบายใจที่จะลงทุนในหุ้น คุณอาจจะเข้ามาสายไปแล้ว จงลงทุนสวนกระแสฝูงชน

อย่ารู้สึกมั่นใจสูงขึ้น เมื่อราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้น
เวลาที่ทุกคนปราศจากความกังวลจะเป็นเวลาที่น่ากลัวที่สุด
เวลาที่ทุกคนกังวลอย่างมาก ความกังวลมันจะไปสะท้อนในราคาแล้ว

by Wild rabbit @pantip.com/cafe/sinthorn

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น