ads head

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การส่งออกของประเทศไทยอยู่ตรงไหน?



การส่งออกของประเทศไทยอยู่ตรงไหน?

January 2, 2013

Thailand Export
ที่มาhttp://www.whereisthailand.info/2013/01/thailand-export/
คนไทยได้ยินกันบ่อยว่าเศรษฐกิจไทยนั้นพึ่งพาการส่งออกสูง และการส่งออกคือปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ในความเป็นจริงแล้วเราพึ่งการส่งออกมากแค่ไหน? (มูลค่าการส่งออกคิดเป็นเท่าไหร่เทียบกับ GDP?) เราส่งออกให้ใครบ้าง? (ลูกค้ารายใหญ่ของไทยคือใคร?) และเราส่งออกสินค้าอะไรมากที่สุด? (ไทยขายอะไร?)

มูลค่าใน GDP:

ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกที่สูงมากและนับเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการ ส่งออกประเทศหนึ่ง ทำให้หลายคนมักเข้าใจอย่างผิวเผินว่าการส่งออกคือ “มูลค่าส่วนใหญ่” ของ GDP ประเทศ อย่างไรก็ตาม ลำพังการส่งออกอย่างเดียวนั้นไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการขยายตัวของ GDP เพราะในการคำนวณ GDP จะต้องนำเอามูลค่าการส่งออกมาหักลบกับมูลค่าการนำเข้าด้วย (หรือที่เรียกว่า Net Export : NX) ซึ่งหากปีไหนส่งออกได้มากกว่านำเข้า จึงจะนับได้ว่าการค้าระหว่างประเทศในปีนั้นช่วยเพิ่ม GDP
ตัวเลขจากธนาคารโลก [1] ระบุว่าในปี 2010 นั้น ถึงแม้ว่ามูลค่าการส่งออกทั้งหมด จะคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ถึง 71% แต่หากเรานำมูลค่าการนำเข้า [2] (64% ของ GDP) ไปพิจารณาด้วยแล้ว จะได้ Net Export เพียง 7% เท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงความสำคัญของการค้าระหว่างประเทศที่มีต่อตัว เลข ค่า GDP ไม่ได้แสดงถึงความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศจริงๆ ที่อาจสูงกว่านี้เนื่องจากสัดส่วนทั้งการส่งออกและนำเข้าของประเทศไทยอยู่ใน ระดับที่สูงเมื่อเทียบกับภาคการบริโภค (ภาคการบริโภคของประเทศไทยคิดเป็น 52% ของ GDP) [3]

ลูกค้ารายใหญ่ของไทย:

ในปัจจุบัน เรากลับพบว่าประเทศปลายทางหรือผู้ที่ซื้อสินค้าของไทยที่ใหญ่ที่สุดนั้น ไม่ใช่สหรัฐหรือญี่ปุ่นเหมือนในอดีต ตัวเลขการส่งออกในปี 2010 จากธนาคารแห่งประเทศไทย [4] ระบุว่าลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของไทยคือประเทศจีน รองลงมาจึงเป็นญี่ปุ่นและสหรัฐฯตามลำดับ
และที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือในปัจจุบัน มูลค่าการส่งออกของไทยไปประเทศกลุ่มอาเซียนนั้นมากกว่ามูลค่าการส่งออกไป สหรัฐและญี่ปุนรวมกัน โดยในปี 2001 ไทยเคยส่งออกไปสหรัฐกับญี่ปุ่นรวมกันมากกว่าอาเซียนเกือบ 2 เท่า แต่ในปี 2010 ไทยส่งสินค้าไปยังตลาดอาเซียนมากกว่าการส่งออกไปสหรัฐกับญี่ปุ่นรวมกัน ประมาณ 10%
ซึ่งนอกจากจะเป็นเพราะการเติบโตของเศรษฐกิจจีนและอาเซียนแล้ว ยังน่าจะเป็นผลของการย้ายฐานการผลิตจากสหรัฐและญี่ปุ่นมายังจีนและเอเชีย เพิ่มขึ้น โดยสหรัฐมีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มจาก 9% ในปี 2001 เป็น 19% ในปี 2010 [5]

ไทยขายอะไร:

จากโครงสร้างรายได้จากการส่งออกของไทยนั้นกลับพบว่าไทยไม่ได้มีสัดส่วน ของ สินค้าเกษตรสูงอย่างที่หลายคนเข้าใจ ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า [6] สัดส่วนมูลค่าสินค้าส่งออกของไทยประกอบด้วยสินค้าเกษตรกรรม (กสิกรรม,ปศุสัตว์,ประมง) 11%, สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 6.8%, สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 5.1% และสินค้าอุตสาหกรรม 76.9% จะเห็นได้ว่ารายได้หลักของการส่งออกไทยมาจากสินค้าอุตสาหกรรม

สินค้าส่งออกที่สำคัญ:

เมื่อพูดถึงการส่งออกคนไทยทั่วไปมักนึกถึงสินค้าอย่าง ข้าว ผลไม้กระป๋อง ผลไม้สด หรือเสื้อผ้าสำเร็จรูป แต่ในความเป็นจริงแล้วสินค้าเหล่านั้นไม่ใช่สินค้าที่ทำรายได้สูงให้ไทย ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า [7] สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ คอมพิวเตอร์ รถยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ นอกจากนี้ ยางพารา เม็ดพลาสติก หรือเคมีภัณฑ์ ยังเป็นสินค้าส่งออกที่มีความสำคัญในเชิงมูลค่าสูงกว่าสินค้าที่กล่าวในตอน ต้นอีกด้วย
ความสำคัญที่กล่าวถึงนี้เป็นเทียบจากมูลค่าสินค้าของไทยเองเท่านั้น แต่หากทำการเทียบมูลค่าการส่งออกของสินค้าชนิดนั้นกับประเทศอื่นๆ (เทียบอันดับ) [8] จะพบว่ามีหลายสินค้าไทยหลายชนิดที่เราส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก เช่น ปลากระป๋อง ธนบัตร หรือ สแตมป์ที่ใช้สะสม มันสำปะหลัง เนื้อสัตว์ที่สุกแล้ว ยาง และ ข้าว นอกจากนี้ไทยยังเป็นผู้ส่งออก น้ำตาล ผลไม้กระป๋อง กุ้งและหอยบางประเภท และเครืองปรับอากาศ เป็นอันดับสองของโลกอีกด้วย
หมายเหตุ: ข้อมูลที่นำมาใช้เป็นข้อมูลปี 2010 เนื่องจากปี 2011 ได้เกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัยซึ่งอาจทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจและตัวเลขการส่ง ออกไม่เป็นไปตามปกติ

อ้างอิง

[1] http://data.worldbank.org/indicator/NE.EXP.GNFS.ZS
[2] http://data.worldbank.org/indicator/NE.IMP.GNFS.ZS
[3] http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=94
[4] http://www2.bot.or.th/statistics/ReportPage.aspx?reportID=52&language=eng
[5] http://www.census.gov/foreign-trade/balance/
[6] http://www.ops3.moc.go.th/infor/db_sql/gp_web_export3.asp
[7] http://www2.ops3.moc.go.th/
[8] http://www.intracen.org/policy/trade-statistics/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น