ads head

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การลงทุนแบบ Philip Fisher

PHILIP A. FISHER (1907-2004)
ในกลุ่มนักลงทุนที่มีชื่อเสี่ยงหลายคน ฟิชเชอร์ นับได้ว่าเป็น บิดาแห่งการลงทุน สไตล์ Growth Investor
หรือ การลงทุนในธุรกิจที่มีการเติบโตสูง โดยเขาจำกัดความตนเองว่าเป็น นักซื้อธุรกิจแบบเติบโตยั่งยืน

รูปแบบการลงทุนของฟิชเชอร์ นั้นเขามักจะเน้น ธุรกิจเทคโนโลยี โดยที่ซื้อแล้วถือลืม


ความสำเร็จที่สำคัญ ของเขาคือการเข้าซื้อหุ้นในบริษัท เท็กซัส อินสทรูเม้นต์ (สินค้า ปัจจุบันเป็น เครื่องคิดเลขทางวิทยาศาสตร์ เครื่องใหญ่ๆ) ในปี 1956 นานมากก่อนจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในปี1970 ซื้อที่ราคา 2.7 USD และหลังจากนั้นราคาก็ขึ้นไปถึง 200 USD เพิ่มขึ้น 7400%
และการลงทุนซื้อหุ้นบริษัท Motorola ซื่งเป็นบริษัทผลิตวิทยุที่เขาซื้อเมื่อปี 1955 และถือจนกระทั่งตัวเองถึงแก่กรรมในเดือน มีนาคม 2004 รวมอายุขัย 96 ปี


วิธีการ และแนวทางในการลงทุน Methods and guidelines
ให้ความสนใจในหุ้นบริษัทใหม่ที่มีการเติบโต (Young growth stock) และเพื่อให้ได้มาซึ่งความชัดเจน นักลงทุนควร
1.อ่านข้อมูลทุกอย่างที่หาได้ ทั้งจากวารสาร รายงานของบริษัทหลักทรัพย์
2.สนทนากับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่นผู้จัดการ พนักงาน โดยเฉพาะกับผู้ป้อนวัตถุดิบ ลูกค้า คู่แข่ง
3.เยี่ยมชม สถานที่ทำงานในจุดต่างๆของบริษัทเช่นโรงงาน สาขา ถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรไปแค่สำนักงานใหญ่
4.ก่อนที่จะซื้อหุ้นของบริษัทนั้นๆ จะต้องแน่ใจว่าสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้

โดยทั้งคำถาม 15 ข้อ - คำถามเหล่านี้ตั้งขึ้นมาใช้สำหรับซักไซ้ไล่เรียงหาคำตอบจาก ผู้ส่งป้อนสินค้าต่างๆ, คู่แข่งทั้งหลาย และเหล่าผู้บริโภค:

   1. บริษัทมีสินค้าหรือบริการที่มีศักยภาพในตลาดเพียงพอซึ่งเป็นไปได้ว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายไปได้อย่างน้อยอีกหลายๆปีหรือไม่

   2. ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นที่จะยังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือขบวนการผลิตใหม่ ขึ้นมาทดแทนสายของผลิตภัณฑ์เดิมที่เป็นที่ต้องการตลาดเดิมขณะนี้แต่ส่วนใหญ่ ถูกช่วงชิงเอาศักยภาพการเติบโตดังกล่าวไป ทั้งนี้เพื่อว่าผลิตภัณฑ์ใหม่จะได้เป็นตัวเพิ่มศักยภาพการขายโดยรวมของ บริษัทให้เติบโตต่อไปหรือไม่

   3. เมื่อเทียบกับขนาดของบริษัทแล้วฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีความทุ่มเทเอาจริงเอาจังอย่างมีประสิทธิผลหรือไม่

   4. องค์กรฝ่ายขายของบริษัทมีความสามารถสูงเกินกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไปหรือไม่

   5. บริษัทสามารถทำกำไรในอัตราส่วนที่ดีพอหรือไม่

   6. บริษัทได้กำลังทำอะไรเพื่อรักษาคงอัตรากำไรไว้หรือปรับปรุงเพื่อทำให้อัตรากำไรสูงขึ้นกว่าเดิมอยู่หรือไม่

   7. บริษัทมีการสร้างความสัมพันธ์กับแรงงานและบุคคลากรได้ยอดเยี่ยมหรือไม่

   8. บริษัทมีการสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริหารได้ยอดเยี่ยมหรือไม่

   9. บริษัทมีจำนวนบุคคลากรที่มีปัญญา เฉลี่ยวฉลาดและรู้จริงร่วมงานกับผู้บริหารหรือไม่

   10. บริษัทมีการวิเคราะห์ต้นทุนและควบคุมระบบบัญชีได้ดีเพียงใด

   11. เมื่อพิจารณาเทียบเคียงกับคู่แข่งในวงการอุตสาหกรรมเดียวกัน บริษัทมีสิ่งบ่งบอกอย่างอื่นทางธุรกิจที่แตกต่างออกไปที่พอจะทำให้ผู้ลงทุน ใช้เป็นตัวชี้นำสำคัญๆที่จะบ่งชี้ได้ว่าบริษัทมีความโดดเด่นเหนือกว่าอย่าง ไรหรือไม่

   12. เมื่อพิจารณาในเรื่องของการทำกำไร บริษัทมีการมองภาพการทำกำไรแบบช่วงสั้นๆ หรือ แบบช่วงยาวๆ

   13. ในอนาคตอีกไม่นานบริษัทจำเป็นต้องเพิ่มทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นเพื่อนำไปขยาย กิจการสร้างการเติบโตกับบริษัท ซึ่งที่สุดแล้วการเพิ่มทุนดังกล่าวเพื่อแลกกับการเติบโตที่คาดหวังไว้จะเป็น ตัวการทำให้ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่เคยได้รับหมดไปหรือไม่

   14. เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างราบรื่นผู้บริหารพูดคุยกับนักลงทุนอย่างเปิดเผยเกี่ยว กับสิ่งต่างๆที่บริษัทกระทำลงไปแต่ในทางตรงกันข้ามกลับปิดบังอำพรางเมื่อมี ปัญหาเกิดขึ้นและผลประกอบการไม่เป็นไปตามที่หวัง หรือไม่

   15. ผู้บริหารของบริษัทมีความซื่อสัตย์สุจริต หรือไม่

เขามีเหตุผลเพียงสามประการที่จะตัดสินใจขายหุ้นออก

  1.เกิดความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในการวิเคราะห์หุ้นที่ซื้อมาแล้ว

  2.บริษัทนั้นมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถผ่านหลักเกณฑ์ทั้ง15ข้างต้นได้เหมือนที่เคยเป็น

  3.สามารที่จะนำเงินลงทุนในบริษัทเดิมไปลงทุนในบริษัทอื่นที่สามารถสร้างผล ตอบ แทนได้สูงกว่ามากๆ และก่อนจะตัดสินใจลงไปต้องแน่ใจว่ามีเหตุผลที่หนักแน่นพอ



คำแนะนำจาก ฟิลิป ฟิชเชอร์ ‘สิ่งสำคัญที่นักลงทุนทั้งหลายไม่พึงกระทำ


   ในการลงทุนนั้น การหยุดการสั่งซื้อมีความสำคัญพอๆกับการสั่งซื้อ ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำจาก ฟิลิป ฟิชเชอร์ ในเรื่องที่คุณไม่พึงกระทำ

   1. อย่าเน้นในเรื่องการกระจายความเสี่ยงมากจนเกินเหตุ

   ที่ปรึกษาการลงทุนหลายๆคนและนักสื่อสารด้านการลงทุน ได้อธิบายความถึงข้อดีของการกระจายตวามเสี่ยง โดยยกเอาประโยคที่น่าสนใจและจดจำง่ายนี้ขึ้นมาพูดอยู่เสมอๆ “อย่าใส่ไข่หลายๆฟองของท่านไว้ในตระกร้าใบเดียว”

   อย่างไรก็ตาม ฟิชเชอร์ ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ท่านใส่ไข่หลายฟองของท่านไว้ในตระกร้าใบโน้นบ้างใบนี้บ้าง ก็ไม่แน่เสมอไปว่าไข่ทั้งหมดทุกฟองจะอยู่ในที่ปลอดภัยดี อีกทั้งยังยากต่อการเฝ้าติดตามดูไข่ทุกฟองนั้น

   ฟิชเชอร์, เป็นผู้ซึ่งถือหุ้นไม่เกิน 30 ตัวเป็นอย่างมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดของอาชีพ, มีคำตอบที่ดีกว่าดังนี้คือ

   ‘ให้เสียสละเวลาค้นคว้าและทำความเข้าใจบริษัทหนึ่งๆอย่างถ้วนถี่ และถ้าหากเป็นที่แน่ชัดว่าบริษัทดังกล่าวเข้าเกณฑ์ 15 ข้อที่เขาตั้งเป็นเกณฑ์กำหนดไว้ครบถ้วน คุณควรที่จะลงทุนในปริมาณมากๆ’

   ฟิชเชอร์ เห็นด้วยกับคำพูดของ มาร์ค ทเวน ที่ว่า “ใส่ไข่ทั้งหมดทุกฟองของคุณไว้ในตระกร้าใบเดียว และเฝ้าดูแลตระกร้านั้นให้ดี”


   2. อย่าแห่ตามฝูงชน

   การเฮโลไปกับฝูงชนโดยลงทุนในหุ้นที่กำลังอยู่ในความนิยม อย่างเช่น หุ้นกลุ่ม”นิฟตี้ ฟิฟตี้” (หุ้น 50 ตัวที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนสถาบัน)ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 หรือหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ในช่วงปลายทศวรรษปี 1990 เป็นอันตรายต่อสุขภาพการเงินของคุณได้

   ในทางตรงกันข้าม การค้นคว้าหาข้อมูลในหุ้นกลุ่มที่ฝูงชนละเลยไม่ให้ความสนใจ ก็สามารถสร้างผลกำไรให้สูงมากๆได้

   ครั้งหนึ่ง เซอร์ ไอแซ๊ค นิวตัน เคยพูดยอมรับอย่างเศร้าใจว่า เขาสามารถที่จะคำนวณการเคลื่อนไหวของวัตถุต่างๆที่ตกมาจากท้องฟ้าได้ แต่กับความบ้าคลั่งของฝูงชนนั้น เขาไม่อาจจะทำได้ ฟิชเชอร์ เห็นด้วยอย่างจริงใจกับคำกล่าวนี้

   3. อย่าคิดเล็กคิดน้อย

   หลังจากได้ศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง และคุณได้พบบริษัทที่คุณมั่นใจว่าจะเจริญเติบโตอย่างแน่นอนในช่วง 10 ปีข้างหน้า และราคาหุ้นปัจจุบันเสนอขายในราคาเหมาะสม คุณควรจะรอหรือละเว้นการลงทุนของคุณเพื่อให้ราคาลงมาต่ำกว่าที่เป็นอยู่ขณะ นั้นอีกซักไม่กี่เพนนีดีกว่า?

   ฟิชเชอร์ ได้เล่าเรื่องของนักลงทุนที่ชำนิชำนาญคนหนึ่ง ที่ต้องการจะซื้อหุ้นของบริษัทหนึ่งซึ่งในวันนั้นราคาหุ้นปิดที่ 35.5 เหรียญต่อหุ้น อย่างไรก็ตามนักลงทุนผู้นี้ตั้งใจว่าจะไม่ซื้อหุ้นตัวนั้นจนกว่าราคาจะลดลง มาอยู่ที่ 35 เหรียญ ซึ่งหลังจากวันนั้น หุ้นตัวนี้ไม่เคยมีราคาต่ำกว่า 35 เหรียญอีกเลย

   และต่อมาอีก 25 ปี มูลค่าของหุ้นได้เพิ่มขึ้นเป็น 500 เหรียญต่อหุ้น นักลงทุนผู้นี้พลาดโอกาสที่จะได้ส่วนต่างราคาที่มากมายมหาศาลไปอย่างน่า เสียดาย เพียงแค่ต้องการประหยัดต้นทุนอีก 50 เซนต์ต่อหุ้น

   แม้แต่ วอร์เร็น บัฟเฟตต์ เอง ก็มักจะปล่อยให้เกิดความผิดพลาดทางจิตใจในแบบนี้เช่นกัน

   บัฟเฟตต์ เคยเริ่มซื้อ วอลมาร์ท เมื่อหลายปีก่อนหน้านั้น แต่ก็หยุดซื้อเมื่อราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นอีกเพียงเล็กน้อย บัฟเฟตต์ ยอมรับว่าความผิดพลาดอันนี้ทำให้ เบิร์กไชร์ แฮทธาเวย์ สูญเสียกำไรที่ควรจะเป็นไปราว 1 หมื่นล้านเหรียญ

   แม้แต่นักทำนายผู้ปราดเปรื่องแห่งโอมาฮา ยังน่าได้รับประโยชน์จากข้อแนะนำของ ฟิชเชอร์ ข้อนี้ที่ว่า อย่าคิดเล็กคิดน้อย

12 พค 2555

credit.
1.http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I12073992/I12073992.html
2.http://nevercry-boy.blogspot.com/2012/01/1.html
3.http://www.thaivi.com/2009/09/60/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น