ads head

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิธีการฟื้นเศรษฐกิจตกต่ำ

 หน้าแรก > > บทความ   
  [ ฉบับที่ 781 ประจำวันที่ 4-4-2007 ถึง 6-4-2007 ]

วิธีการฟื้นเศรษฐกิจตกต่ำ 

ที่มา http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=2472
หากจะสรุปเป็นทฤษฎีทั่วๆ ไป อาจกล่าวได้ว่าเศรษฐกิจตกต่ำเกิดเนื่องจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ 1. สาเหตุในประเทศ คือ การที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้วิสาหกิจเอกชนในประเทศมีต้นทุนสูงขึ้น ทำให้มีการลดจำนวนผลผลิตและการแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกันลง ทำให้อำนาจซื้อลดลง ประสิทธิภาพการผลิตลดลง และการสะสมทุนก็ลดลงด้วย ทำให้ GDP ลดลงอย่างมาก คนจึงตกงานเอกชนอาจขายของขาดทุน ทำให้ส่วนของทุนของวิสาหกิจเอกชนลดลง จนไม่สามารถใช้หนี้ ทำให้เกิดหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans-NPL) ซึ่งเป็นผลให้สถาบันการเงินต้องตั้งสำรองหนี้สูญจำนวนมาก และไม่กล้าปล่อยสินเชื่อเป็นเวลานาน ความจริงแล้ว ถ้าต้นทุนที่แท้จริงสูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่น การขึ้นราคาน้ำมันมากๆ ก็ทำให้เศณษฐกิจลดลงได้

2.สาเหตุจากต่างประเทศ คือ ประการแรก การที่ระบบเศรษฐกิจถูกถอนเงินทุนออกจากประเทศอย่างฉับพลัน ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนลดค่าลง การที่เงินลดค่าอย่างมาก ทำให้ส่วนของทุนในบริษัทธุรกิจติดลบ ล้มละลาย ต้องเลิกกิจการจำนวนมาก ทำให้ GDP ตกลง

ประการที่สอง การที่ธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าและบริการรวมทั้งการท่อง เที่ยวไม่สามารถขายสินค้าได้ เนื่องจากความตกต่ำของเศรษฐกิจโลก ทำให้การนำเข้าของโลกลดลง ก็ทำให้ GDP ของเราลดลงด้วย

อาจกล่าวโดยรวมได้ว่า เศรษฐกิจตกต่ำนั้น เกิดอันเนื่องมาจากวิสาหกิจเอกชนไม่ทำงานได้ การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการลดลง ผลก็คือคนตกงานและราคาทรัพย์สินตกลง ดังนั้น จึงเหลือเพียงภาครัฐบาลเท่านั้นที่สามารถสร้างเงิน มาจ้างงานและซื้อทรัพย์สินจากเอกชนไว้ได้ โดยรัฐบาลอาจจ้างคนที่ตกงานในอัตราค่าจ้างตามวิชาชีพเท่าเดิม มาผลิตสินค้าสาธารณะ เช่น ถนนคอนกรีต แหล่งน้ำ เมื่อจ้างงานได้มากพอแล้ว ระบบเศรษฐกิจก็จะฟื้นขึ้น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจึงเป็นโอกาสที่ประเทศจะได้ใช้แรงงานที่ว่างงานมาสร้าง สินค้าสาธารณะ เรียกว่าเป็นการสร้างทรัพย์สินของชาติ โดยไม่มีค่าเสียโอกาส ไม่มีต้นทุนทางเศรษฐกิจ ไม่แย่งแรงงานจากภาคเอกชน ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจรุ่ง รัฐบาลไม่สามารถทำได้

การใช้แรงงานที่ว่างงานในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ สร้างสินค้าสาธารณะ จึงเป็นการเปลี่ยนชีวิตของแรงงาน ซึ่งเก็บไม่ได้และกำลังจะหมดไปในแต่ละวัน ให้เป็นผลผลิต (GDP) ที่เพิ่มขึ้น หากไม่สร้างผลผลิตนี้ก็จะเกิดการสูญเปล่าของแรงงานไปเลย เป้าหมายสำคัญของการสร้างสินค้าสาธารณะในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จึงเป็นการเปลี่ยนชีวิตของแรงงานให้เป็น GDP ส่วน GDP ที่สร้างขึ้นจะได้ใช้ประโยชน์ในวันนั้นหรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่สำคัญรองลงมา

สำหรับเงินที่จะนำมาจ้างแรงงานนั้น รัฐบาลสามารถสร้างขึ้นได้ โดยนำมาจากธนาคารกลาง ซึ่งไม่ทำให้รัฐบาลเป็นหนี้เชิงเศรษฐศาสตร์เพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลสามารถใช้เงินที่เพิ่มขึ้นจ้างแรงงานที่ว่างงาน ทำให้ GDP เพิ่มขึ้น จะเพิ่มมากกว่าเงินที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว (Multiplier Effects)

จะเห็นได้ว่า วิธีการนี้ประเทศจะได้ทรัพย์สินจากการสร้างสินค้าสาธารณะเพิ่มขึ้นมากกว่า ปริมาณเงินที่ใช้เพิ่มขึ้น จึงอาจพิจารณาได้ว่าในเชิงสุทธิแล้วรัฐบาลไม่ได้สร้างหนี้เพิ่มขึ้นในเชิง เศรษฐศาสตร์ และเงินที่นำมาจากธนาคารกลางก็ไม่ต้องคืนทั้งหมด เพราะเมื่อเศรษฐกิจเจริญเติบโตขึ้น ปริมาณเงินก็ต้องเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว และภาระหนี้ของรัฐบาลก็จะลดลงไปเอง

ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ภาคธุรกิจเอกชนจะเป็นตัวการที่เร่งให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำเร็วขึ้น เพราะภาคธุรกิจสร้างเงินเองไม่ได้ ขาดทุนไม่ได้ จึงต้องลดขนาดธุรกิจ ลดการจ้างงาน และเร่งขายทรัพย์สินชำระหนี้ ทำให้ราคาทรัพย์สินตกต่ำไปด้วย

อาจกล่าวได้ว่าเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ ภาคธุรกิจจะใช้ความรู้ MBA เพื่อลดขนาด (Downsizing) ธุรกิจของตน แต่เมื่อเกิดการลดขนาดธุรกิจแล้ว จำนวนแรงงานและทรัพย์สินใสนชาติไม่ได้ลดลง เป็นภาระของสังคมที่จะต้องดูแล รัฐบาลจึงมีหนาที่ใช้วิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ โดยรัฐบาลต้องทำตรงกันข้ามับภาคธุรกิจคือ (1) รัฐบาลจะต้องจ้างงานเพิ่มขึ้น และ (2) รัฐบาลจะต้องซื้อทรัพย์สินจากภาคธุรกิจ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจึงต้องทำตรงกันข้ามกับการแก้ไขปัญหาธุรกิจ เมื่อธุรกิจ Downsize รัฐบาลก็ต้อง Upsize เพราะธุรกิจขาดทุนไม่ได้ แต่รัฐบาลขาดทุนได้ และธุรกิจสร้างเงินไม่ได้ แต่รัฐบาลสร้างเงินโดยไม่เป็นหนี้ได้

คำกล่าวที่ว่าการกู้ยืมเงินของรัฐบาลเป็นการนำเอาอนาคตมาใช้ในปัจจุบัน จึงไม่เป็นจริงในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การกู้เงินของรัฐบาลจากธนาคารกลางในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำมาจ้างงานก็ไม่ใช่การ สร้างหนี้เชิงเศรษฐกิจ แต่กลับเป็นการสร้างทรัพย์สินในปัจจุบันให้มากขึ้น เพื่อสร้างอนาคตของชาติที่ดีขึ้น

เงินที่นำมาจ้างงานและซื้อทรัพย์สินนั้น รัฐบาลควรนำมาจากภายในประเทศและเป็นเงินบาทเท่านั้น ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำรัฐบาลไม่จำเป็นต้องกู้เงินต่างประเทศมาแก้ไขปัญหา เศรษฐกิจ เพราะเงินต่างประเทศใช้ซื้อของต่างประเทศ จึงเป็นการฟื้นเศรษฐกิจของต่างประเทศ แต่เราต้องการซื้อแรงงานและทรัพย์สินจากคนในชาติ จึงต้องใช้เงินบาท ซึ่งเป็นการฟื้นเศรษฐกิจในชาติ ดังนั้น การจ้างงานและการซื้อทรัพย์สินโดยรัฐบาล จึงเป็นการฟื้นเศรษฐกิจ

อาจกล่าวได้ว่าในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลจะต้องทำตรงกันข้ามกับภาควิสาหกิจเอกชน ซึ่งอาจทำได้อย่างน้อย 7 ประการ ดังต่อไปนี้

1.รัฐบาลสร้างงาน โดยรัฐบาลกู้เงินทางบัญชีจากธนาคารกลาง หรือกู้เงินที่ล้นอยู่มากมายในระบบสถาบันการเงิน มาจ้างแรงงานผลิตสินค้าสาธารณะ เช่น การสร้างถนน แหล่งน้ำ หรือให้ประชาชสร้างงานกันเอง โดยรัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ให้ เช่น การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน การพักหนี้เกษตรกร ธนาคารประชาชน เป็นต้น การทำในลักษณะเช่นนี้ รัฐบาลไม่ได้สร้างหนี้เพิ่มขึ้นในเชิงเศรษฐศาสตร์ แต่ประเทศจะได้รายได้ (GDP) เพิ่มขึ้น ได้ทรัพย์สินเพิ่มขึ้น เพราะได้เปลี่ยนแรงงานที่กำลังจะสูญเปล่าไปในแต่ละวัน ให้เป็นทรัพย์สินของชาติ ดังนั้น เศรษฐกิจตกต่ำจึงเป็นโอกาสที่รัฐบาลจะสร้างทรัพย์สินของชาติ โดยไม่มีต้นทุนทางเศรษฐกิจ

2.รัฐบาลซื้อทรัพย์สิน รัฐบาลควรนำเงินจากธนาคารกลางหรือจากระบบสถาบันการเงินมาซื้อทรัพย์สินที่ เอกชนแย่งกันขาย เพื่อไม่ให้ราคาทรัพย์สินตกต่ำจนเกินไป เพราะการที่ราคาทรัพย์สินตกต่ำลงอย่างมาก จะทำให้ภาคเอชกนและประชาชนเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่สามารถฟื้นตัวเองได้ ระบบเศรษฐกิจก็จะฟื้นยาก

3.ลดการกู้เงินตราต่างประเทศแล้วกู้เงินบาทจากในชาติ เศรษฐกิจตกต่ำเกิดเนื่องจากเงินบาทหายไปไม่เพียงพอในระบบเศรษฐกิจก่อให้เกิด ผลผลิตตกต่ำ เกิดการว่างงานของคนในชาติ การจ้างงานคนในชาติจึงใช้เงินบาท ไม่จำเป็นต้องกู้เงินตราต่างประเทศ การกู้เงินตราต่างประเทศ นอกจากจะทำให้เป็นหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นแล้ว ยังนำไปซื้อสินค้าต่างประเทศ เป็นการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจต่างประเทศ

4.ไม่ต้องขายทรัพย์สินให้ต่างประเทศ การขายบริษัทและรัฐวิสาหกิจให้ต่างประเทศเพื่อให้ได้เงินตราต่างประเทสไม่ ใช่วิธีการฟื้นเศรษฐกิจของชาติ และยังจะทำให้ต่างชาติได้ทรัพย์สินของชาติไปในราคาถูกกว่าปกติด้วย การฟื้นเศรษฐกิจของชาติโดยการเพิ่มปริมาณเงินบาทให้เพียงพอ จะทำให้ทรัพย์สินใชาติมีราคาเพิ่มขึ้น ภาระหนี้สินของเอกชนและรัฐบาลก็จะลดลงไปเอง

5.ลดการนำเข้าและเร่งการส่งออก เศรษฐกิจตกต่ำเกิดจากเราส่งออกได้น้อยลง ดังนั้น จึงควรปล่อยให่าเงินบาทอ่อนลงกว่าปกติ เพื่อให้ราคาสินค้าและบริการส่งออกถูกลงและราคาสินค้าและบริการนำเข้าแพง ขึ้น เป็นการเพิ่มรายได้จากการส่งออกและลดรายจ่ายจากการนำเข้า โดยคนในชาติจะหันมาซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศแทนการนำเข้าเพราะถูกกว่า การเพิ่มการส่งออกและการลดการนำเข้าจะช่วยให้มีการจ้างงานในชาติเพิ่มขึ้น ทำให้ GDP ขยายตัวสูงขึ้น

6.ขยายขนาดเศรษฐกิจไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยนำเงินบาทไปให้กู้แก่ประเทศเพื่อน้านในอัตราดอกเบี้ยต่ำระยะยาว จะทำให้บริษัทก่อสร้างและแรงงานไทยที่ว่างงานอยู่มีงานทำในประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำของชาติ และเป็นการพัฒนาประเทศเพื่อนบ้านไปพร้อมๆ กัน ทำให้เพื่อนบ้านมีอำนาจซื้อสูงขึ้น ซื้อสินค้าเรามากขึ้น ทำให้ GDP เราสูงขึ้น

7.สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง โดยรัฐบาลส่งเสริมคนดีที่ได้รวมตัวกันอยู่แล้ว ให้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น มีรายได้และมีการออกมากขึ้น ดังนั้น เงินกองทุนหมู่บ้าน จึงควรให้แก่ชุมชนคนดีที่ได้รวมตัวกันและมีความเจริญเติบโตอยู่แล้ว เงินกองทุนหมู่บ้านไม่ควรให้แก่กลุ่มคนที่ไม่ดีที่วิ่งเข้าหาเงิน เพราะในที่สุดก็จะเป็นการทำลายระบบเศรษฐกิจรากหญ้า และลดจำนวนคนดีในหมู่บ้านลง

การดำเนินกลยุทธ์ทั้ง 7 ประการนี้ จะต้องทำให้ภาคประชาชนและเอกชนมีความขยันขันแข็งและมีวินัยมากขึ้น จะต้องไม่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ภาคเอกชนและไม่เป็นการแจกเงินให้ ประชาชน มิฉะนั้นแล้ว จะเป็นการทำลายโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติในระยะยาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น