ads head

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อารมณ์นักลงทุน

อารมณ์นักลงทุน

ถ้าท่านมีเพื่อนหรือคนใกล้ชิด เป็นนักเล่นหุ้นซื้อขายรายวัน หรือที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า นักลงทุนระยะสั้นมักจะพบว่า เขาหรือเธอเหล่านั้นมักจะมีอารมณ์แปรปรวนอยู่เสมอๆ
เมื่อไหร่ที่ตลาดหุ้น ดี ดัชนีเพิ่มสูงขึ้น ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น วันนั้นเขาจะอารมณ์ดีเป็นพิเศษ เวลาโทรคุยกันจะได้ยินแต่ภาษาดอกไม้ หัวเราะร่าเริง ส่วนใหญ่จะมีอาการพูดเสียงดัง ฟังชัด น้ำเสียงดูสดใส ถ้าสนิทกันเป็นพิเศษอาจจะบอกว่าวันนี้ได้กำไรเท่านั้นเท่านี้บาท แถมบางครั้งโชคดีอาจจะถูกชวนไปเลี้ยงในร้านอาหารหรูๆ เป็นของแถม เพราะวันนี้ได้กำไรมามาก ต้องไปฉลองกันสักหน่อย
แต่ถ้าสถานการณ์กลับกัน ตลาดหุ้นตกต่ำ ดัชนีถดถอย ราคาหุ้นลดต่ำลง วันนั้นท่านอาจจะไม่ได้รับการติดต่อจากเขาแต่อย่างใด ถ้าได้คุยกันจะพบว่า เสียงของเขาจะอ่อยๆ พูดจาไม่ค่อยเต็มเสียง ถ้าถามว่าวันนี้กำไรหรือขาดทุนก็จะตอบแบบอ้อมๆ หรือไม่ค่อยเต็มใจตอบนัก

ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1359943073

https://sites.google.com/site/26ajirapasite/xarmn-nak-lngthun
เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของนักเล่น หุ้นราย วัน อารมณ์ของเขาและเธอเหล่านั้นได้ผูกติดกับดัชนีตลาดหุ้นอย่างไม่รู้สึกตัว ถ้าตลาดดี อารมณ์ก็จะดี ถ้าตลาดไม่ดี นักเล่นหุ้นก็จะอารมณ์ไม่ดีตามไปด้วย สุดท้ายแล้วก็จะกลายเป็นคนอารมณ์แปรปรวนอย่างไม่ได้ตั้งใจ

สำหรับ นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า จำเป็นอย่างมากที่จะต้อง
"ควบคุมจิตใจของตนเองไม่ให้ถูกครอบงำจากอารมณ์ของตลาดหุ้น เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่อารมณ์ของตลาดมีผลต่อการซื้อขายหุ้นของเรา จะทำให้การตัดสินใจมีความผิดพลาดได้ง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อซื้อหุ้นบริษัทหนึ่ง หุ้นนั้นยืนราคาอยู่ได้สักพัก กลับมีแรงเทขายออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาลดลงอย่างรวดเร็ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ นักลงทุนระยะสั้นจำนวนมากตื่นตระหนก และเทขายหุ้นนั้นตาม เนื่องจากกลัวว่าราคาจะลดต่ำลงไปอีก ถ้าเราตื่นตระหนกตามอารมณ์ของตลาดและขายหุ้นตามไปด้วย มักจะพบว่าหลังจากขายไปแล้วราคาหุ้นมักจะดีดตัวกลับมาอยู่บ่อยๆ ทำให้ต้องขาดทุนจากการลงทุนครั้งนั้น

การที่จะป้องกันไม่ให้อารมณ์ของตลาดมีผลกับการลงทุนของเรานั้น นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าสามารถนำหลักปฏิบัติต่อไปนี้ไปใช้ในการลงทุนได้


ข้อแรก ให้นึกถึงคำสอนของอาจารย์เบนจามิน เกรแฮมที่กล่าวเอาไว้ว่า
ให้เปรียบเทียบตลาดหุ้นเหมือนกับหุ้นส่วนของเราคนหนึ่งผู้ซึ่งมีอารมณ์ฉุน เฉียวอยู่ตลอดเวลา เรียกเขาสั้นๆว่า นายตลาด” (Mr. Market) วันใดที่นายตลาดอารมณ์ดี ก็จะมาเสนอซื้อหุ้นในบริษัทของเราในราคาที่สูงกว่าปกติ แต่ถ้าวันไหนที่เขาอารมณ์เสีย เขาก็จะเสนอขายหุ้นบริษัทนั้นให้กับเราในราคาที่ต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่ว่าเราจะสนใจข้อเสนอของนายตลาดหรือไม่ เขาก็จะกลับมาหาเราอยู่ตลอดเวลาที่ตลาดเปิดทำการ หน้าที่ของเราก็คือการหาประโยชน์ของอารมณ์แปรปรวนของนายตลาด แทนที่จะให้นายตลาดมาชี้นำเราในการลงทุน การสมมติ ”นายตลาด” ขึ้นมา จะช่วยให้นักลงทุนสามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างอารมณ์ของตลาด และอารมณ์ของตนเองได้อย่างที่อ.เกรแฮมได้กล่าวไว้ ถ้านักลงทุนสามารถแยกตนเองออกจากอารมณ์ของตลาดหุ้นได้แล้ว ก็จะทำให้เราสามารถคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองการตัดสินให้รอบคอบได้ด้วยตนเอง แทนที่จะทำอะไรไปตามกระแสของตลาดหุ้นในช่วงเวลานั้นๆ ช่วยลดอาการเป็น "กระต่ายตื่นตูม” ลงไปได้มาก

ข้อสอง ใช้หลักการที่ว่า
ในระยะสั้นราคาหุ้นอาจจะผันผวนไปมา แต่ในระยะยาวราคาหุ้นจะขึ้นกับปัจจัยพื้นฐานของบริษัท
หลัก การนี้นับว่ามีความสำคัญอย่างมากกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่า เพราะในระยะสั้น ราคาหุ้นมักจะมีความผันผวนอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวขึ้น หรือปรับตัวลงก็ตาม เนื่องจากราคาหุ้นในระยะสั้นมักจะขึ้นกับปัจจัยหลายๆ อย่าง นอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐาน เช่น ตลาดหุ้นอาจจะตกต่ำลงในภาวะอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆ เช่น ภาวะสงคราม หรือการก่อการร้าย หรือบางครั้งตลาดหุ้นอาจปรับตัวสูงขึ้นเพราะตอบรับข่าวดีในทางที่มากเกิน กว่าความเป็นจริงก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้น ถ้านักลงทุนคิดอยู่เสมอว่า ถึงแม้ในระยะสั้น ราคาหุ้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมา แต่ในระยะยาวแล้ว บริษัทมีผลประกอบการเป็นอย่างไร ราคาหุ้นจะเป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้นๆ จะช่วยให้นักลงทุนลดความหวั่นไหวที่เห็น "ราคาหุ้น
” ขึ้นลงไปมาได้

หลังจากนักลงทุนใช้หลักการทั้งสองข้อดังที่กล่าวมาแล้ว สามารถนำไปสู่ข้อสุดท้ายของหลักปฏิบัติในการควบคุมจิตใจของตนเองไม่ให้ แปรปรวนไปตามอารมณ์ของตลาดหุ้น นั่นก็คือ เลิกเฝ้าดูราคาหุ้น
นักลงทุน ส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับราคาหุ้นมากกว่าสิ่งอื่นใด ดังนั้นจึงติดตามและเฝ้าดูราคาหุ้นอยู่เสมอแทบตลอดเวลา ถึงแม้ไม่ได้ใช้กลยุทธ์ซื้อขายหุ้นรายวันก็ตาม นักลงทุนจำนวนมากก็ยังติดตามราคาหุ้นรายวันอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเปิดดูราคาหุ้นทางโทรทัศน์ หรือดูราคาหุ้นผ่านทางเวบไซต์ต่างๆ ก็ตาม การที่เรายังคงเกาะติดสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นรายวันเช่นนี้ มีส่วนทำให้เราตัดสินใจตามอารมณ์ของตลาดในระยะสั้นไปบ้างไม่มากก็น้อย เพราะบางครั้งตลาดหุ้นอาจมีอะไรที่เหนือความคาดหมายอยู่เสมอๆ เช่น เมื่อมีข่าวร้ายเกิดขึ้นในตลาด นักลงทุนเห็นหุ้นที่ถืออยู่ราคาลดลง เลยตกใจขายหุ้นออกไป แต่แล้วราคาหุ้นกลับวิ่งไปต่อ แถมไม่กลับมาให้เห็นที่ราคาเดิมอีก ทำให้เสียโอกาสในการลงทุนได้
ดังนั้น นอกเหนือจากเข้าใจในอารมณ์ของ
นายตลาดและหลักการในการเผชิญกับความผันผวนของราคาหุ้นแล้ว ทางที่ดีที่สุดอีกทางหนึ่งก็คือ ลงทุนซื้อหุ้นไปแล้ว ก็อยู่ห่างจากตลาดหุ้นบ้าง จะช่วยทำให้จิตใจสงบขึ้นอย่างมากทีเดียว บางทีนานๆดูราคาหุ้นที อาจจะได้ผลตอบแทนมากกว่าเฝ้าดูราคาหุ้นทุกวันก็เป็นไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น