ads head

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โรงไฟฟ้าอะไรอันตรายที่สุด?



โรงไฟฟ้าอะไรอันตรายที่สุด?

March 12, 2012


ที่มา http://www.whereisthailand.info/2012/03/energy-death/
จากที่เราได้นำเสนอไปแล้วเรื่องค่าใช้จ่ายในเชิงเศรษฐกิจของโรงไฟฟ้า ประเภทต่างๆ ข้อมูลอีกอันที่ผู้คนมักจะให้ความสนใจก็คือความเสี่ยงต่อชีวิตมนุษย์ทั้งใน กรณีที่เกิดอุบัติเหตุและผลกระทบระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เมื่อเทียบกับชนิด อื่น ข้อมูลจากเว็บไซต์ nextbigfuture.com [1] ซึ่งรวบรวมจากแหล่งต่างๆ เช่น ExternE องค์การอนามัยโลก (WHO) ฯลฯ พบว่าอัตราการเสียชีวิตต่อพลังงานที่ผลิตในหน่วย TWh (TeraWatts hour) เป็นดังนี้
ชนิดของแหล่งพลังงาน : จำนวนผู้เสียชีวิตต่อ TWh (สัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในโลก)
ถ่านหิน : 161 (26%)
น้ำมัน : 36 (36%)
ก๊าซธรรมชาติ : 4 (21%)
เชื้อเพลิงชีวภาพ : 12 (0%)
ถ่านหินเลน (peat) : 12 (0%)
พลังงานน้ำจากเขื่อน : 1.4 (2.2%)
พลังงานแสงอาทิตย์จากครัวเรือน (rooftop) : 0.44 (<0.1%)
พลังงานลม : 0.15 (<1%)
พลังงานนิวเคลียร์ : 0.04 (5.9%)
หมายเหตุ:
- โรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ในการศึกษาของ ExternE จากอุบัติเหตุในโรงไฟฟ้า 4290 ครั้ง พบว่าในโรงไฟฟ้าน้ำมันมีการเสียชีวิตของคนงานมากถึง 15,000 คน ขณะที่โรงไฟฟ้าถ่านหินมี 8,000 คน [2]
- อุบัติเหตุในกรณีเชื้อเพลิงฟอสซิลนี้ยังไม่รวมอุบัติเหตุในการขนส่ง
- ในกรณีของโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้นมีอันตรายต่อสุขภาพสูงเนื่องจากมลภาวะทางอากาศ World Health Organization (WHO) ประมาณว่าในทุกๆปีมีผู้เสียชีวิตถึงกว่าหนึ่งล้านคนเนื่องจากมลภาวะที่เกิด จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
- สำหรับกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น ในกรณีของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล (Chernobyl) มีผู้เสียชีวิตโดยตรงทั้งสิ้น 50 ราย อาจจะมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากผลระยะยาวของกัมมันตรังสีอีกถึง 4000 คน ภายในระยะเวลาอย่างน้อย 20 ปี [3]
- ในกรณีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ (Fukushima) ที่ได้รับความเสียหายจากซีนามินั้น มีผู้เสียชีวิตที่ติดอยู่ในโรงไฟฟ้าเป็นเหตุจากซึนามิทั้งสิ้น 3 คน ในปัจจุบันยังไม่พบผู้ใดที่เสียชีวิตเป็นผลจากการรั่วไหลของกัมมันตรังสี [4]
- สำหรับการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคานั้น ข้อมูลจากองค์การ OSHA เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่างการติดตั้ง 1,000 คนต่อปี โดยส่วนมากมาจากการตกจากที่สูง นี่ทำให้ตัวเลขการเสียชีวิตของพลังงานแสงอาทิตย์ต่อ TWh สูงกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่ก็ยังจัดว่าปลอดภัยกว่ามากเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าฟอสซิล
- การประเมินทั้งหมดนี้ยังไม่รวมถึงผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกและสภาวะโลกร้อน

อ้างอิงข้อมูล:

[1] http://nextbigfuture.com/2011/03/deaths-per-twh-by-energy-source.html
[2] http://nextbigfuture.com/2008/03/deaths-per-twh-for-all-energy-sources.html
[3] http://www.who.int/mediacentre/news/releases/2005/pr38/en/index.html
[4] http://www.world-nuclear-news.org/RS_Deaths_confirmed_at_Fukushima_Daiichi_0304111.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น