ads head

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำได้อย่างไร

จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำได้อย่างไร

ที่มา http://witayakornclub.wordpress.com/2009/04/10/%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88/
ต้องวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง อย่าแก้ปัญหาเฉพาะอาการภายนอก
ปัญหาเศรษฐกิจทุนนิยมโลกตกต่ำ ไม่ใช่แค่เกิดจากความผิดพลาดทางเทคนิคในการบริหารจัดการของสถาบันการเงินในก ารปล่อยสินเชื่อให้กู้ซื้อบ้านและการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคที่เกินตัว จนคนส่งไม่ไหว เกิดปัญหาหนี้เสีย สถาบันการเงินล้มละลาย และธุรกิจอื่น ๆ เสียหายตามมาเท่านั้น แ ต่สาเหตุลึก ๆ ที่เป็นรากเหง้าของปัญหา คือตัวระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมผูกขาด ที่เน้นการแข่งขันกันผลิตสูงสุด กำไรสูงสุดของเอกชนแบบสุดโต่ง ทำให้เกิดการพัฒนาแบบไม่สมดุล การ ที่ความ มั่งคั่งกระจุกตัวในมือคนส่วนน้อยแค่ 10-20% ไม่กระจายไปสู่คนส่วนใหญ่ 80%อย่างเป็นธรรม ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีรายได้มากพอจะมีบ้านและมีชีวิตทางเศรษฐกิจที่ดีได้

ที่เศรษฐกิจไทยกำลังมีปัญหามาก เพราะว่าโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเดินตามแนวทุนนิยมตะวันตกที่เน้นการส่งออก(และ สั่งเข้า) มากเกินไป พึ่งพาตลาดภายในประเทศน้อยเกินไป เมื่อเศรษฐกิจประเทศอื่นที่เราเคยพึ่งเขาในการส่งสินค้าไปขายตกต่ำลง พวกเขาจะซื้อของไทยลดลง ถ้านักเศรษฐศาสตร์ไทยคิดอยู่แต่ในกรอบตะวันตก ก็จะคิดได้อย่างเดียวว่า เราต้องปรับปรุงความสามารถในการส่งออกของเราให้เก่งกาจสู้กับคนอื่นได้มากขึ ้น ลดต้นทุน หาสินค้าใหม่ หาตลาดใหม่ฯลฯ ซึ่งแม้จะเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ต้องถือว่าไม่ใช่ทางเลือกเดียว ต้องทำอย่างอื่น เช่นการพัฒนาตลาดภายในประเทศด้วย

วิธีการแก้ไขปัญหาตามตำราตะวันตกด้วยการลดดอกเบี้ย ลดภาษี โครงการประชานิยมและปล่อยเงินกู้เพิ่มขึ้น จะแก้ปัญหาได้ชั่วคราวเท่านั้น แต่จะแก้ไขได้ไม่ยืนยาว เพราะเป็นการช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายระยะสั้น แล้วนายทุนก็สูบเงินกลับมาเข้ากระเป๋านายทุนอีก ไม่ได้ช่วยให้โลกเกิดความสมดุลและคนจนแข็งแรงจริง ๆ

ต้องคิดนอกกรอบจึงจะแก้ปัญหาได้
ถ้าเรากลับมามองดูที่ตัวเราเอง คือประเทศไทย คนไทย 65 ล้านคนมากขึ้น ดูว่าเราคือใคร เรามีอะไรที่จะแก้ปัญหาจากภายในประเทศได้บ้าง เราน่าจะแก้ปัญหาของเราเองได้ดีกว่าการแก้ตามตำราตะวันตกหรือคอยดูตามโมเดลแก้ปัญหาของรัฐบาลสหรัฐฯหรือประเทศตะวันตกอื่น ๆ
คนไทย 65 ล้านคนในประเทศไทยนั้นมากกว่าคนในประเทศอังกฤษหรือฝรั่งเศสด้วยซ้ำ แต่ที่ตลาดภายในประเทศและขนาดเศรษฐกิจประเทศไทยเล็ก เพราะคนไทย 80% ยากจน จึงขาดอำนาจซื้อ สินค้าที่ควรจะผลิตมาขายคนไทย(ซึ่งเป็นตลาดที่ใกล้ที่สุด) สัก 50-60 ล้านชิ้นได้ จึงขายไม่ได้ ต้องมุ่งไปที่ตลาดส่งออกซึ่งมีการแข่งขันสูง การส่งออก(และการหารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ) จำเป็นสำหรับการหาเงินมาซื้อสินค้าเข้าที่จำเป็นและมีประโยชน์อื่น ๆ ด้วย แต่ต้องเลือกสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และต้องถือว่าการส่งออกและการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระ บบเศรษฐกิจ ไม่ใช่เป็นส่วนเดียวหรือเป็นส่วนหลัก

การที่คนไทยส่วนใหญ่จน ไม่ได้แปลว่าประเทศไทยจน แท้จริงแล้วคนรวยคนชั้นกลาง 20% แรกยังรวยอยู่มาก เงินฝากในธนาคารของไทยก็มีมาก(สักหกล้านล้านบาท) ทรัพยากรที่ดิน การเกษตร ศิลปะหัตถกรรม ทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยว ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาตะวันออกฯลฯ มีอยู่มาก ประเด็นคือ จะรู้จักนำมาสิ่งที่เรามีมาหมุนเวียนใช้ใ ห้เกิดการพัฒนาที่เหมาะสม ทำให้คนมีงานทำ มีรายได้จับจ่ายใช้สอยที่จำเป็น ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และอย่างยั่งยืนได้อย่างไร

ถ้าคิดอยู่แต่ในกรอบทุนนิยมตะวันตก รัฐบาลก็ต้องลดดอกเบี้ย ลดภาษี เพื่อกระตุ้นให้ภาคธุรกิจเอกชนใช้จ่าย และรัฐเองก็ลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นด้วย แต่ในระบบทุนนิยมนั้น ภาคธุรกิจเอกชนจะใช้จ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ อยู่ที่เขาคาดหมายว่าเขาจะทำกำไรได้หรือไม่ ไม่ใช่อยู่ที่อัตราดอกเบี้ยหรืออัตราภาษีที่ต่ำ(ตามตำรา)เสมอไป ถ้าเขายังไม่แน่ใจว่าลงทุนแล้วจะขายได้คุ้มทุน เขาก็จะไม่ลงทุน แม้ดอกเบี้ยและภาษีจะต่ำลงจากเดิมมากก็ตาม ทั้งการลดภาษีก็จะทำให้รัฐมีรายได้ลดลง แล้วรัฐจะเอาเงินที่ไหนไปลงทุนเพิ่ม

ระบบทุนนิยมผูกขาดไม่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาด้วยตัวของมันเอง เพราะไม่ใช่ระบอบที่มีการแข่งขันอย่างเสรีหรือเป็นธรรมจ ริง ในสภาพวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ กลไกตลาดในระบบทุนนิยมที่มีลักษณะผูกขาดกลุ่มอยู่แล้วจะยิ่งทำงานล้มเหลวมาก ขึ้น เพราะคนที่ถูกระบบทุนนิยมสอนให้แข่งขันเพื่อกำไรสูงสุดของตัวเอง จะยิ่งเห็นแก่ตัว ปกป้องตัวเอง มองโลกในแง่ร้าย ลดการลงทุนมากกว่าเพิ่มการลงทุน การแก้ไขปัญหาตามตำรา จึงไม่ค่อยได้ผล

เมื่อคนรวยมีเงินแต่ไม่อยากลงทุน แต่คนจนไม่มีเงิน ไม่มีงาน รัฐบาลต้องใช้ทั้งการแทรกแซงและการกระตุ้นที่มากกว่าที่ตำราเศรษฐศาสตร์ตะวั นตกของฝ่ายนิยมเคนส์บอกไว้ นั่นก็คือต้องทำทั้งภาคบังคับและภาคส่งเสริมให้มีการนำเงินและทรัพยากรในประ เทศมาหมุนเวียนใช้อย่างเหมาะสม เราต้องรู้จักคิดข้ามกรอบคิดของระบบการค้าเสรีแบบตัวใครตัวมันว่า คนไทยทั้งประเทศอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ทีมเดียวกัน ในยามที่คนส่วนใหญ่อ่อนแอ แต่ยังมีคนรวย คนเข้มแข็งทางเศรษฐกิจอยู่ส่วนหนึ่ง คนรวยต้องเสียสละช่วยคนอื่น ๆ ในทีมให้อยู่ได้ และทำให้ทีมเข้มแข็งขึ้น ประเทศไทยทั้งประเทศถึงจะไปแข่งขันกับคนอื่นได้

รัฐบาลต้องกล้าผ่าตัดโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้สมดุลมากขึ้น ด้วยการเก็บภาษีคนที่รวยมากมาช่วยแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ โดยเฉพาะภาษี เช่นมรดก ทรัพย์สิน สินค้าและการบริโภคฟุ่มเฟือยต่าง ๆ และแก้ไขกฎหมายหารายได้จากการให้สัมปทานน้ำมัน ก๊าซ ทรัพยากรต่าง ๆ คลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์เ ข้ารัฐมากขึ้น ทั้งเพื่อลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยประเภทคนรวยชอบใช้จ่ายเงินไหลออกนอกประเทศ และเพื่อให้รัฐมีงบประมาณเพิ่มมากพอที่จะนำไปใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเท ศได้มากขึ้น

การเก็บภาษีบางอย่างสำหรับคนรวย เช่นคนที่มีทรัพย์สินเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป จะไม่ทำให้เกิดการบริโภคหรือการลงทุนลดลง เพราะคนเหล่านี้ถึงอย่างไรเขาก็จะมีเงินเหลือเฟือที่จะบริโภคของเขาได้อยู่แ ล้ว ถ้าคนรวยของไทยใจกว้างพอ พวกเขาควรจะรู้ว่าการปฏิรูประบบภาษีเพื่อมาช่วยคนจนเพิ่มขึ้น คือสิ่งที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศได้ และเมื่อเศรษฐกิจฟื้น พวกคนรวยจะได้ประโยชน์มากกว่าที่จะปล่อยให้เศรษฐกิจประเทศพัง ซึ่งในระยะยาวพวกคนรวยอาจเสียหายมากกว่าเพราะพวกเขามีสินทรัพย์และการลงทุนม ากกว่าคนอื่น ๆ

นอกจากภาคบังคับแล้ว รัฐบาลควรส่งเสริมกระตุ้นให้คนรวย คนชั้นกลางที่พอมีเงินจับจ่ายใช้สอย จ้างงาน ซื้อสินค้าและบริการ รวมทั้งการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น รัฐบาลอาจจะลดภาษีเพื่อช่วยกิจกรรมที่เน้นการจ้างงาน การผลิตสินค้าและบริการที่ใช้ทรัพยากรภายในประเทศเพื่อขายคนภายในประเทศ จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการจ้างงาน ทำงานบ้าน ทำสวน ช่วยดูแลเด็ก คนชรา บัณฑิตอาสาสมัคร การนวดแผนไทย ตลาดนัดขายสินค้าอุปโภคบริโภคฯลฯ แนวคิดคือทั้งรัฐ คนรวย คนชั้นกลางควรช่วยให้คนจนมีงานทำ มีรายได้ โดยเน้นการใช้แรงงาน ทรัพยากรภายในประเทศ เศรษฐกิจภายในประเทศจะได้หมุนเวียน ประคับประคองกันให้ผ่านช่วงวิกฤติเศรษฐกิจทุนนิยมโลกตกต่ำอย่างน้อย 2-3 ปีนี้ไปให้ได้

โครงการใช้จ่ายของรัฐไม่จำเป็นต้องเป็นเมกะโปรเจ็คแบบก่อสร้างขนาดใหญ่ หากคว รเน้นโครงการที่เพิ่มการจ้างงาน ใช้ทรัพยากรภายในประเทศ ลดการใช้พลังงานที่ต้องสั่งเข้า เช่นโครงการปลูกป่าไม้โตเร็วทั่วประเทศ การปรับปรุงระบบชลประทานขนาดเล็ก การพัฒนาการเกษตร, อุตสาหกรรมเกษตร ธุรกิจขนาดย่อม การพัฒนาทางการศึกษา สาธารณสุขและสังคมด้านต่าง ๆ โครงการประชานิยมที่ต้องมาปฏิรูปเสียใหม่ ต้องแก้ไขจุดอ่อนที่ปล่อยให้ชาวบ้านกู้เงินไปเพื่อการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภ ค หรือเอาไปลงทุนแบบสะเปะสะปะและขาดทุนไปไม่รอดได้มากเกินไป และส่งเสริมจุดแข็ง ให้ชาวบ้านมีความรู้ในการบริหารจัดการ การตลาด การจัดตั้งองค์กร เช่นสหกรณ์ผู้ผลิตและผู้บริโภค เพื่อสร้างอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้นได้อย่างแท้จริง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะมีพลังและใช้แก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำได้ จริง ไม่ใช่แค่ส่งเสริมให้คนรวยประหยัด คนรวยควรประหยัดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยจากต่างประเทศหรือไปเที่ยวต่างประเ ทศ แต่คนรวยชั้นกลาง ควรบริโภคสินค้าและบริการในประเทศ รวมทั้งการเที่ยวในประเทศให้มากขึ้น ประเด็นสำคัญคือคนรวยต้องรู้จักแบ่งปันกัน ช่วยให้คนจนได้มีกินมีใช้สิ่งที่จำเป็นอย่างพอเพียงด้วย เศรษฐกิจพอเพียงไม่ควรพูดเฉพาะในเชิงปรัชญาเรื่องความพอเพียงสำหรับแต่ละคนแ บบตัวใครตัวมัน ต้องคิดในเชิงเศรษฐกิจพอเพียงหรือเศรษฐกิจพึ่งตนในระดับประเทศได้มากขึ้น และต้องคิดในแง่การให้ประชาชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตผ่านระบบสหกรณ์ผู้ผลิ ต วิสาหกิจชุมชนเพิ่มขึ้น รัฐต้องลงทุนให้คนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาพัฒนาความรู้ความสามารถอย่างมีคุณภ าพ(ไม่ใช่เรียนฟรีแต่คุณภาพต่ำ จบมาแล้วทำอะไรไม่เป็น) มีงานทำ เน้นการใช้แรงงาน ทรัพยากรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในประเทศ ทำให้ชุมชนและประเทศผลิตสินค้าและบริการได้เองเพิ่มขึ้น ซื้อขายกันภายในชุมชนและภายในประเทศกันมากขึ้น กิจกรรมและเงินจึงจะหมุนเวียนในประเทศ ช่วยให้คนไทยมีงานทำ มีรายได้ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพอย่างพอเพียงโดยทั่วหน้ากัน เศรษฐกิจจะโตจากภายในประเทศได้เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องหวังพึ่งแต่ต่างประเทศด้า นเดียวแบบที่แล้ว ๆ มา
 โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 26 ธันวาคม 2551 11:37 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น