ads head

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พลังงานทางเลือกไทยอยู่ที่ไหน?




พลังงานทางเลือกไทยอยู่ที่ไหน?

March 9, 2012


ที่มา  http://www.whereisthailand.info/2012/03/alternative-energy/
จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทยหากทรัพยากรธรรมชาติไม่พอใช้?
ดังที่เคยกล่าวไปแล้วในเรื่องพลังงานไทยอยู่ตรงไหน? ประเทศไทยมีพลังงานทางเลือกน้อยมาก หากทรัพยากรเชื้อเพลิงฟอสซิลเริ่มขาดแคลน ประเทศไทยจะหันมาใช้อะไรทดแทน? การเปลี่ยนไปใช้พลังงานทางเลือกย่อมหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการก่อ สร้าง ดำเนินการ ดูแลรักษา และค่าเชื้อเพลิงของพลังงานทางเลือกที่อาจจะสูงกว่า แต่หากว่าพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลหมดไปจริงๆ ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นอาจจะเป็นภาระที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คำถามก็คือเราจะต้องจ่ายกันเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่?
จากการประเมินของกระทรวงพลังงาน[1] ได้ทำการประเมินรวมค่าใช้จ่ายของโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆตั้งแต่เวลาสร้างเฉลี่ย ต่อหน่วยพลังงานที่ผลิตได้ตลอดการใช้งาน ได้ผลดังนี้
ค่าใช้จ่ายของพลังงานไฟฟ้าโดยประมาณ
โรงไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายในหน่วย บาท/Kwh*
แสงอาทิตย์ 12.50
ลม 5.20
ก๊าซธรรมชาติเมื่อบ่อก๊าซใกล้หมด (Marginal Gas) 4.34
ก๊าซธรรมชาติ (Gas Existing) 3.96
ขยะ 3-5
ชีวมวล 3-3.50
ถ่านหิน 2.94
นิวเคลียร์ 2.79

* หมายเหตุ: ไม่รวมค่าดูแลสิ่งแวดล้อม
โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้น มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างค่อนข้างต่ำ ผลิตไฟฟ้าได้มาก แต่ค่าเชื้อเพลิงอาจเปลี่ยนแปลงตามราคาท้องตลาด (เช่น ต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นเมื่อบ่อก๊าซในอ่าวไทยใกช้หมดดังตารางข้าง บน) อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลก็ยังมีค่าใช้จ่ายโดยรวม ถูกกว่าพลังงานทางเลือกอื่นเสมอ แม้กระนั้นก็ตาม เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถทดแทนได้ และมีแต่จะค่อยๆ หมดไป
ในทางกลับกันพลังงานหมุนเวียนเช่นพลังงานลม แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ และเขื่อน เป็นพลังงานที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในด้านเชื้อเพลิง แต่มักจะมีค่าก่อสร้างและดูแลรักษาที่สูง และผลิตไฟฟ้าได้น้อย จึงทำให้ราคาต่อหน่วยพลังงานค่อนข้างสูง ส่วนพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพนั้นมีปัญหาทางด้านการใช้ที่ดินทำกินในการเกษตร ซึ่งหมายถึงการสูญเสียรายได้ผลผลิตในการเกษตรเพื่อผลิตพลังงาน
สำหรับพลังงานนิวเคลียร์นั้น ค่าใช้จ่ายในการลงทุนก่อสร้างสูง แต่ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงค่อนข้างต่ำ และผลิตไฟฟ้าได้มาก แต่ราคานี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการปลดระวาง (Decommission Cost) นอกจากนี้ยังมีภาพพจน์ในทางลบทางด้านความเสี่ยงต่อการหลอมของเตาปฏิกรณ์ จึงทำให้หลายๆ ชุมชนในหลายๆ ประเทศยังคงลังเลต่อการหันมาพึ่งพลังงานนิวเคลียร์ แม้ว่าพลังงานนิวเคลียร์จะจัดเป็นพลังงานที่ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำมากแหล่ง หนึ่ง
หากเราเปรียบเทียบกับสัดส่วนในการใช้พลังงานเฉพาะพลังงานไฟฟ้าของไทยในปี 2554 จะพบว่าปัจจุมันเรามีการใช้พลังงานจากแหล่งต่างๆโดยประมาณ ดังนี้
พลังงานหมุนเวียน 1% น้ำมัน 1% ก๊าซธรรมชาติ 70% ถ่านหิน 21% พลังน้ำ 7%
หากเราสมมติกรณีที่ในอนาคตอันใกล้แหล่งก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน ไฟฟ้าหลักของประเทศไทยได้เริ่มหมดไป และเราต้องหาแหล่งพลังงานอื่นมาทดแทน จะเห็นได้ว่าแหล่งพลังงานหลายชนิดมีต้นทุนที่สูงกว่าก๊าซธรรมชาติ ซึ่งย่อมต้องหมายถึงภาระต้นทุนการผลิตค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดก็จะถูกผลักป็นภาระของเราทุกคนในรูปแบบของค่าไฟ หากเราลองคำนวนเทียบภาระต้นทุนการผลิตค่าไฟปัจจุบันตามค่าใช้จ่ายของพลังงาน ไฟฟ้าประเภทต่างๆต่อ Kwh ด้วยสัดส่วนการใช้พลังงานเบื้องต้น เทียบกับกรณีที่ก๊าซธรรมชาติ 20% ถูกทดแทนด้วยแหล่งพลังงานอื่น เราจะได้ว่า
หากเราเปลี่ยนไปใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 20% ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น 46%
หากเราเปลี่ยนไปใช้พลังงานลม 20% ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น 7%
หากเราเปลี่ยนไปใช้พลังงานจากขยะ 20% ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น 6%
หากเราเปลี่ยนไปใช้พลังงานชีวมวล 20% ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจะลดลง 2%
หากเราเปลี่ยนไปใช้พลังงานนิวเคลียร์ 20% ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจะลดลง 6%
หากเราใช้ก๊าซธรรมชาติแบบเดิม แต่ 20% ของก๊าซต้องเสียค่าขุดเจาะเพิ่มขึ้นเนื่องจากเหลือน้อย (Marginal gas) ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น 2%
ทั้งนี้เนื่องจากภูมิอากาศและภูมิประเทศที่ไม่เอื้ออำนวย จึงอาจเป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถหาแหล่งที่เหมาะสมที่จะทดแทนความต้องการ พลังงาน 20% ของประเทศได้ด้วยพลังงานลม พลังงานน้ำจากเขื่อน ขยะ(หากมีไม่เพียงพอต่อความต้องการพลังงาน) หรือพลังงานความร้อนใต้พิภพ สำหรับพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพนั้น การเปลี่ยนพื้นที่การเกษตรไปเป็นการปลูกพืชเพื่อเป็นเชื้อเพลิงย่อมหมายถึง GDP จากการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรของประเทศที่ลดลงไปด้วย
ในทางปฏิบัตินั้นการจะเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนย่อมไม่ขึ้นอยู่กับแหล่ง พลังงานใหม่เพียงแหล่งเดียว แต่จะเป็นการทดแทนด้วยแหล่งพลังงานทางเลือกหลายๆแหล่งพร้อมๆกัน สำหรับประเทศไทยนั้น กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษณ์พลังงานสังกัดกระทรวงพลังงานได้มีการทำแผนพัฒนา พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกของไทย โดยมีการทำแผนที่จะชดเชยพลังงานทดแทน 25% ในระยะเวลา 10 ปี ( พ.ศ.2555-2564)[2]
[1] http://www.eppo.go.th/power/power2554.pdf
[2] http://www.dede.go.th/dede/images/stories/aedp25.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น