ads head

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความน่าเชื่อถือของไทยในการกู้เงิน

ความน่าเชื่อถือของไทยในการกู้เงิน

August 3, 2011
ที่มา http://www.whereisthailand.info/2011/08/country-sov-rating/
เราได้ยินข่าวการเพิ่มเพดานหนี้ของอเมริกาหนาหูในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ปัญหาคือหากไม่เพิ่มเพดานหนี้ อเมริกาก็จะไม่มีเงินจ่ายหนี้และต้อง default หรือเบี้ยวหนี้ ซึ่งหากทำเช่นนั้นความน่าเชื่อถือในการกู้เงินในอนาคตก็จะลดลง ทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยในการกู้เงินมากขึ้น การกู้เงินมาพัฒนา ศ.ก. ประเทศก็ยากขึ้นตามมา พูดง่ายๆ คือ ถ้ามีประวัติกู้แล้วเบี้ยว รอบต่อไปก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้นจนเขายอมปล่อยกู้
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor’s เป็นหนึ่งในสามสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับในระดับ สากล (นอกจาก Moody และ Fitch) ได้ทำการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ จำนวน 126 ประเทศทั่วโลก โดยคำนึงจากหลายประการ เช่นความสามารถในการชำระหนี้ สภาพเศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ
การได้รับความน่าเชื่อถือที่สูง ก็จะสามารถกู้ยืมเงินได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ซึ่งจะพบว่า อันดับความน่าเชื่อถือมีความสัมพันธ์สูงมากกับ GDP ต่อหัวของแต่ละประเทศ (ยกเว้นบ้างบางกรณีเช่นพี่เบิ้มในเอเชียอย่างจีนที่มีทุนสำรองและพันธบัตร รัฐบาลสหรัฐอเมริกาค้ำประกันฐานะตัวเองไว้จำนวนมากที่สุดในโลก โดยมีทุนสำรองถึง 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐหรือมากกว่าไทยประมาณ 20 เท่า) วิธีดูก็ง่ายๆ เริ่มจากสี่ระดับ A B C D
ในระดับเดียวกัน ตัวหนังสือมากจะดีกว่าตัวหนังสือน้อย เช่น BBB ดีกว่า BB
และในตัวหนังสือเดียวกัน + ก็จะดีกว่า ไม่มีเครื่องหมาย และไม่มีเครื่องหมาย ก็จะดีกว่า -
ประเทศไทยถือว่ามีระดับความน่าเชื่อถือ BBB+ ซึ่งเป็นระดับปานกลาง ประเทศอินโดนีเซียที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอยู่ที่ BB+ ซึ่งยังถือว่าต่ำกว่าระดับ”ปลอดภัย” ที่เหมาะกับการลงทุนเก็งกำไร (speculative) ซึ่งมีความเสี่ยงสูง
สังเกตว่าญี่ปุ่นยังอยู่ในระดับ AA แม้ว่าจะมีหนี้ของชาติประมาณ 225% GDP เพราะต่างชาติมีความเชื่อมั่นมากว่าญี่ปุ่นสามารถจ่ายได้ ในขณะที่ไทยแม้มีหนี้อยู่เพียง 42% GDP แต่ก็มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ BBB+ กรณีของอาร์เจนตินาแม้หนี้จะไม่ต่างจากไทยมาก (50% GDP) แต่ความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ B ซึ่งต่ำกว่าไทย 6 ขั้น เพราะ default มาหลายครั้งแล้ว
ที่มา: http://blog.thomsonreuters.com/index.php/country-sovereign-ratings-graphic-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น