ads head

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

The Big Box นักฆ่าจากอนาคต

The Big Box นักฆ่าจากอนาคต

สมบุญ รุจิขจร , วุฒิกร สินธุวาทิน
ภาพที่เห็นชินตานับตั้งแต่ปี 1957 ที่ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่ขายสินค้าเฉพาะอย่างและเรียกตัวเองว่า Category Killer หรือ Big Box อย่าง Toy R Us ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในตลาดค้าปลีกของอเมริกา ก็คืออเมริกันชนทั่วไป กำลังเพลิดเพลินกับการช้อปปิ้งใน
ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่ขายสินค้าเฉพาะหมวดหมู่ที่หลากหลายไปด้วยจำนวนสินค้า Brand บรรยากาศซึ่งคนอเมริกัน เรียกร้านค้าปลีกในแนวนี้ว่า Category Killer หรือที่มีชื่อเรียกขานอีกอย่างว่า Big Box Store ร้านค้าในรูปแบบดังกล่าว เข้ามามีบทบาท
ต่อ ไลฟ์สไตล์การช้อปปิ้งของอเมริกันชนได้อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ครึ่งศตวรรษ ที่แล้ว ด้วยจุดขายในเรื่องของความหลากหลายในตัว สินค้าที่ลงลึก ในแต่ละ Category มีจำนวนเอสเคยูให้เลือกเป็นหลักตั้งแต่ 50,000 เอสเคยูขึ้นไป มีการบริการที่ลงลึกในลักษณะของการเป็น Retail
Specialist โดยมีกลยุทธ์ด้านราคาที่ขายต่ำกว่าร้านค้าในรูปแบบเดิม เป็นกลยุทธ์สำคัญในการ Dominate ตลาด
กล่าวได้อีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ว่าคุณจะเข้าไปซื้อหนังสือในร้าน Barnes & Noble ซื้อสินค้าตกแต่งบ้านในร้าน Home Depot หรือ ซื้อทีวีสักเครื่องจากร้าน Best Buy แต่ละร้าน แม้จะมี Product Category แตกต่างกันแต่สิ่งที่ร้านค้าปลีกเหล่านั้นจะ Approach เหมือนกันก็คือ
เรื่องของ Retail Experience ที่หาไม่ได้ในร้านค้าปลีกขนาดเล็ก
คำจำกัดความที่เป็นสากลของร้านค้าในแนว Category Killer หรือ Big Box Store ก็คือ เป็นร้านค้าปลีกแบบ Chain Store ขนาดใหญ่ที่ Dominate Product Category ไว้ โดยทั่วไปนั้นจะมี Product ให้เลือกหลากหลายมากถึงขั้นลงลึกที่เรียกว่า Intensive ในราคาที่ต่ำจนร้านค้าขนาดเล็กไม่สามารถแข่งขันได้
Big Box Store ตามความหมายอีกอย่างคนอเมริกันก็คือ เป็นร้านค้าขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ขายไล่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร ไปจนถึง 20,000 ตารางเมตร ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบของสโตร์ออกมาในลักษณะของแวร์เฮ้าส์ที่เน้นเรื่องหลักๆ ก็คือ การเน้น Self Service / Big Selection คือมีของให้เลือกเยอะ ในราคาถูก โดย Category ของสินค้าที่นำเสนอนั้นจะมีทั้งที่เป็น
สินค้า Consumer Goods
ประเทศต้นฉบับอย่างสหรัฐอเมริกาจัดให้ร้านอย่างวอลมาร์ทเป็น Category Killer ตัว หนึ่ง ที่มีคอนเซ็ปต์ครบตามความหมายของค้าปลีกในเซ็กเม้นต์นี้ คือ ใช้กลยุทธ์ราคาเป็นหัวหอก มีไซส์หรือขนาดของร้านที่ใหญ่ จำนวนเอสเคยูมากๆ มีสาขาแบบเชน และที่สำคัญมีการ
บริหารจัดการที่ดีจึงสามารถลดต้นทุนได้จนนำพาไปสู่การใช้กลยุทธ์ราคาเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ
นอกจาก Big Box Store ในรูปแบบแรกแล้ว ยังมี Big Box Store ที่เป็น Category Killer ในหมวด สินค้า Hard Goods มีร้านในสไตล์นี้แยกย่อยออกมาเป็นหลาย Category อาทิ ร้าน Toy R Us ที่ขายของเล่น ร้านขายหนังสืออย่าง Barnes & Noble ร้าน Home Depot ที่
ขายสินค้าในหมวดของ Home Improvement ร้าน PETsMART และร้านBest Buy เป็นต้น
ไม่ว่าจะเป็น Big Box ในรูปแบบไหน วันนี้ ค้าปลีกในเซ็กเม้นต์ที่ว่า กลายมาเป็นค้าปลีกที่ทรงอิทธิพลและมีบทบาทต่อการใช้ชีวิตของเหล่าอเมริกันชนทั้งหลาย
กลับมาที่ตลาดค้าปลีกเมืองไทย.....
กว่า 10 ปีที่ผ่านมา คนไทยรู้จักกับค้าปลีกในสไตล์ Big Box Store ที่เป็น Consumer Goods อย่างดิสเคาน์สโตร์หรือไฮเปอร์มาร์เก็ตเป็นอย่างดีแล้ว เพราะค้าปลีกในรูปแบบที่ว่านี้ เข้ามาเขย่าตลาดบ้านเราด้วยการนำกลยุทธ์ราคาและความใหญ่โตของตัวเอง เข้ามาเปลี่ยน
โครงสร้างตลาดค้าปลีกของบ้านเรา จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นเซ็กเม้นต์ค้าปลีกในซีกของโมเดิร์นเทรดที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด
ช่วงเวลากว่า 10 ปีเช่นกัน ที่ Big Box Store ที่เป็น Category Killer เริ่มเข้ามามีบทบาทในฐานเซ็กเม้นต์ค้าปลีกที่มีภาพของความเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ลงลึกเฉพาะในแต่ละ Product Category หลังการ ตอกหมุดปักฐาน
Big Box Store ในคอนเซ็ปต์ของ เพาเวอร์ เซ็นเตอร์ที่รวบรวมเอา Big Box ในหลาย Category มา รวมไว้ในพื้นที่เดียวกันในลักษณะที่ผสมผสานทั้งภายในศูนย์การค้า และนอกศูนย์การค้าเป็นแห่งแรกๆของประเทศที่ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ซึ่งในปัจจุบันมีร้านค้าปลีกเฉพาะอย่างทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่รวมแล้วกว่า 14 แห่ง บนพื้นที่ของศูนย์กว่า 147 ไร่เมื่อร่วม 10 ปีที่ผ่านมา Big Box Store ในรูปแบบของร้าน Category Killer ก็เริ่มทวีบทบาท
ในฐานะร้านค้าปลีกที่เป็น Retail Specialist ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในเรื่องของความครบวงจรทั้งตัวสินค้าและบริการที่ลงลึกใน Product Category ของตัวเอง จนกลายเป็นรูปแบบร้านค้าปลีกที่กำลังเข้ามามีบทบาทในตลาดค้าปลีกเมืองไทยอีกเซ็กเม้นต์หนึ่ง....

จาก Big Box กลายพันธุ์
สู่ Retail Specialist

ว่ากันว่า คนไทยคุ้นเคยกับร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าเฉพาะ Product Category มานานแล้ว แต่ออกมาในลักษณะของการเป็นย่านการค้าเฉพาะหรือ Cluster ผู้ บริโภคหลายๆ คนรู้ว่า ถ้าจะซื้อรถจักรยานยนต์ก็ต้องไปที่ย่านวรจักร ซื้ออะไหล่รถยนต์ต้องไปที่เชียงกง หรือซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับกอล์ฟก็ต้องไปที่จุดศูนย์รวมของสินค้าประเภทนี้ที่ ย่านธนิยะ
เมื่อ โมเดิร์นเทรด ทวีบทบาทของตัวเองขึ้น จึงมีการผลักดันตัวเองเข้าไปหาผู้บริโภคถึงชุมชนในรูปของสาขาหลากหลายรูปแบบ ย่านที่ขายสินค้าเฉพาะประเภทจึงลดบทบาทลงไปบ้างตามความเข้มแข็งของเชนโม เดิร์นเทรด....
ว่ากันอีกว่า เส้นทางการอุบัติขึ้นของร้านค้าปลีกแนว Category Killer ที่เป็นโมเดิร์นเทรดในเมืองไทย แทบจะไม่แตกต่างจากการเกิดขึ้นของร้าน ค้าปลีกแนวนี้ในประเทศต้นแบบสหรัฐอเมริกาเท่าไรนัก เพราะส่วนหนึ่งเป็นการเกิดขึ้นจากแนวคิดของการบริหารจัดการในเรื่องของตัว สินค้าที่ผู้เล่นแต่ละรายต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพื่อ สร้างตัวเลขของ
กำไรเพิ่มขึ้น
ร้านเพาเวอร์ บาย ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าและไอที ซูเปอร์ สปอร์ตร้านขายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับกีฬา ร้านโฮมเวิร์ค ที่ขายสินค้าวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน หรือร้านบีทูเอส ขายหนังสือ เครื่องเขียนและสินค้าเอนเตอร์เทนเม้นต์ต่างๆ ของกลุ่ม เซ็นทรัล รีเทลฯ หรืออย่างร้านสปอร์ตมอลล์ เพาเวอร์มอลล์ และ บีเทรนด์ ของค่ายเดอะมอลล์ ต่างก็เกิดขึ้นจากแนวคิดเบื้องต้นในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเกี่ยวกับตัวสินค้า
นอก เหนือจากทิศทางของพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย ที่เข้ามากำหนดให้ค้าปลีกต้องลงลึกในแต่ละเซ็กเม้นต์อย่างชัดเจนแล้ว แรงบีบจากขยายตัวไฮเปอร์มาร์เก็ตก็มีส่วนสำคัญที่เป็นตัวเร่งให้ร้านในแนว Category Killer ถูกใส่พลังเข้าไปเพื่อสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็ว
ใน ยุคที่ค้าปลีกเมืองไทยยังไม่มีการแบ่งแยกเซ็กเม้นต์อย่างชัดเจนนั้น ซูเปอร์มาร์เก็ตที่รวมอยู่ในห้างสรรพสินค้าจะเป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงดูด คนเข้าห้าง เพราะหลายๆครั้งซูเปอร์มาร์เก็ตจะใช้กลยุทธ์ด้านราคาเข้ามาเป็นตัวจักรสำคัญ เพื่อดึงนักช้อปปิ้งเข้ามาใช้บริการและต่อยอดไปสู่การซื้อในส่วนของดีพา ร์ตเม้นต์
เมื่อไฮเปอร์มาร์เก็ตเข้ามามีบทบาท กลยุทธ์ด้านราคาของซูเปอร์มาร์เก็ตถูกกลบรัศมีด้วยการขายแบบ ถูกทุกวันผู้เล่นที่เป็นห้างสรรพสินค้าจึงต้องหันไปสร้างแม่เหล็กตัวอื่นๆ ขึ้นมาเพื่อผลักดันให้ห้างหรือศูนย์การค้าของตัวเองกลายเป็น Retail Destination หรือจุดหมายปลายทางที่ผู้บริโภคจะไปช้อปปิ้ง Category Killer ทำหน้าที่ในการเป็น Big Box Store ที่สมบูรณ์แบบ คือเป็นแม่เหล็กสำคัญส่วนหนึ่งในการดึงดูดผู้บริโภคและสร้างความต่างจาก
ไฮเปอร์มาร์เก็ตด้วยการนำเสนอสินค้าที่เป็น Brand ยอดนิยม หลากหลาย ลงลึกในหมวดนั้นๆ และที่สำคัญ มีบรรยากาศหรือ Retail Experience ที่แตกต่างจากที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตนำเสนออย่างสิ้นเชิง
ทั้งกลุ่มเซ็นทรัล และเดอะมอลล์ ต่างก็ใช้ร้าน Category Killer ของ ตัวเอง ในการทำหน้าที่ดังกล่าว โดยเฉพาะกับกลุ่มเซ็นทรัล ที่มีการมองเห็นแนวโน้มดังกล่าวมาตั้งแต่ยุคที่คุณสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ ยังกุมบังเหียนอยู่ จึงมีการแยกแต่ละ Category ออกมาเป็นบริษัทในเครือและมีทิศทางการขยายตัวทางธุริกจอย่างชัดเจน จนปัจจุบัน Category Killer ออกมาแต่ละ Box นั้น กลายเป็นแม่เหล็กสำคัญส่วนหนึ่งในการขยายตัวของศูนย์การค้าทั้งแนวตั้งและ แนวราบที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการขยายตัวในอนาคตอันใกล้นี้
ตัวอย่างของการวาง Category Killer ไว้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างให้ศูนย์การค้าของเซ็นทรัลเป็น Retail Destination ตามคำบอกเล่าของ มร.ดี น ทอมป์สัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีทูเอส จำกัด ในเครือ เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น ก็คือ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ที่มีร้านในรูปแบบของแฟลกชิฟสโตร์ของแต่ละ Category วางเด่นเป็นแม่เหล็กในการดึงผู้บริโภคเข้ามาใช้บริการในศูนย์
เช่นเดียวกับค้าปลีกในเซ็กเม้นต์อื่นๆ เมื่อเข้ามาสู่ตลาดเมืองไทย Category Killer ในแต่ละหมวดก็มีการปรับรูปแบบเพื่อให้เข้ากับสภาพตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทย แต่ยังคงเค้าโครงและยืนอยู่บนพื้นฐานของการเป็น Category Killer คือ ลงลึกในสินค้าเฉพาะหมวดที่มีทั้งความหลากหลายและเรนจ์ของสินค้าที่มากกว่าร้านค้าในรูปแบบเดิม

ความเหมือนกันอย่างหนึ่งของร้านในสไตล์ Category Killer ในบ้านเรากับในประเทศต้นแบบก็คือ การนำเสนอสินค้าที่ลงลึก หลากหลายมีเอสเคยูระดับมากกว่า 50,000 เอสเคยูขึ้นไป เป็นร้านในรูปแบบของเชนที่แม้บางสาขาจะไม่ใช่เป็น Big Box ในลักษณะ เต็มกล่องคือมีพื้นที่ต่ำกว่า 5,000 ตารางเมตรลงมา และเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในศูนย์การค้าแนวตั้งมากกว่า การวางไว้เป็น Box เชื่อม ต่อกันในแนวราบเหมือนตลาดต้นแบบแต่บรรยากาศหรือการทำตลาดโดยรวมจะคล้ายๆ กัน คือเน้นความเป็นผู้เชี่ยวชาญในหมวดสินค้านั้นๆ ที่มีการให้บริการในเฉพาะจุดที่เหนือกว่าร้านค้าทั่วไป ภาพของความครบวงจรของสินค้า บริการ และการชำระเงิน
ที่ มาที่นี่จุดเดียว ได้ครบทั้งเรื่องของสินค้า บริการ และรูปแบบการชำระเงินที่หลากหลายช่องทาง ได้กลายเป็นจุดขายสำคัญที่ทำให้ร้านค้าแนวนี้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
ส่วนสิ่งที่แตกต่างจากร้านต้นแบบในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็คือ Category Killer ที่ไม่ใช้หมวดสินค้า Consumer Goods ใน เมืองไทย ไม่ได้ใช้กลยุทธ์ราคาเป็นตัวจักรสำคัญในการถล่มตลาด แม้วันนี้ ผู้เล่นแต่ละรายจะมีการบริหาร จัดการ ในตัวสินค้าที่มีประสิทธิภาพจนสามารถลดต้นทุนได้ในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม กลยุทธ์ราคาเป็นเพียง Gimmick ที่ถูกใช้ในบางช่วง
ของการทำตลาด สิ่งที่ผู้เล่นแต่ละรายเพิ่มเข้าไปก็คือ การ Add Value ใน เรื่องของการบริการที่มีให้มากกว่าในฐานะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่เริ่มมีการสร้างความต่างจากคู่แข่งขันในเซ็กเม้นต์เดียวกันผ่านทางสินค้า ที่มีการนำเสนอในร้าน ทั้งในรูปของสินค้าเฮ้าส์แบรนด์สินค้ามี Brand ที่
Exclusive เฉพาะบางรุ่น.....
จนถึงขณะนี้ ร้าน Big Box Store ที่เป็น Category Killer คืบคลานเข้ามาแผ่ขยายอิทธิพลในตลาดค้าปลีกเมืองไทยแทบจะครบทุก Category มีทั้งที่เป็นเชนจากอเมริกาอย่าง Toy R Us และ Office Depot (เป็นการนำเข้ามาทำตลาดของกลุ่มเซ็นทรัลรีเทล) และร้านที่ถูกพัฒนาขึ้นตามต้นแบบของร้านแนวนี้ในอเมริกา
ร้านส่วนใหญ่ที่เปิดจะมีตั้งแต่ไซส์ขนาดเล็กที่มาแบบ ครึ่งกล่อง และร้านขนาดใหญ่ในสไตล์ Big Box Store ขนาน แท้ ตามมูลค่าตลาดของสินค้าในหมวดนั้นๆ ที่ไล่ตั้งแต่หมื่นล้านบาทอย่างหมวดกีฬา บุ๊คและเครื่องเขียน อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า ไอที และตัวที่มีมูลค่าเกินแสนล้านบาท
อย่าง Home Improvement ที่มีมูลค่าตลาดในปี 2550 สูงถึง 132,000 ล้านบาท ซึ่งใน Category หลังนี้ ถือเป็น Big Box Store ที่โดดเด่นทั้งในเรื่องของขนาดไซส์ของร้านที่มีมากกว่าหมื่นตารางเมตรขึ้นไป และจำนวนเอสเคยูของสินค้าที่ว่ากันตั้งแต่ 6-7 หมื่นเอสเคยูขึ้นไป
นอกจากความใหญ่ของไซส์แล้วผู้เล่นหลักที่อยู่ใน Home Impovement ทั้ง 3-4 ราย ต่างก็เป็นระดับ พี่บิ๊กแทบทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น โฮมโปร ที่มีแบ็คอัพเป็นกลุ่มแลนด์แอนด์เฮ้าส์ โฮมเวิร์ค ที่ถูกส่งเข้าประกวดด้วยยักษ์ใหญ่ในวงการค้าปลีกบ้านเราอย่างกลุ่มเซ็นทรัล หรือร้านโฮมมาร์ท ของ SCG ที่ พัฒนาตัวแทนจำหน่ายของตัวเองขึ้นมาเพื่อรับกับเทรนด์การขยายตัวของตลาดโดย เฉพาะนอกจากที่กล่าวมาก็ยังมีสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่มีการจัด Category และมีการบริหารจัดการที่ดี อย่างหมวดออโต้ Pet Shop หมวดสินค้าแม่และเด็กที่เริ่มมีเชนดังอย่าง MotherCare เข้ามาชิมลางทำตลาดในบ้านเราบ้างแล้ว
ที่น่าจับตามองในเรื่องของการขยายตัวของตลาดค้าปลีกเซ็กเม้นต์นี้ก็คือ แต่ละ Product Category ที่ เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ ช่องทางจัดจำหน่ายในรูปแบบเดิมหรือเทรดิชั่นนัล เทรด ยังคงมีสัดส่วนค่อนข้างมาก จนกลายเป็นโอกาสทางการตลาดของโมเดิร์นเทรดที่จะเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งตรงนั้น อย่างในตลาด Home Improvement นั้น สัดส่วนถึง 75% ยังคงมาจากการขายผ่านร้านในรูปแบบเดิม
ถ้าลงลึกในรายละเอียด และมองเส้นทางการเติบโตของ Category Killer ออกมาเป็นสเตปๆ จะพบว่า เส้นทางการเดินทัพของร้านค้าในแนวนี้ในประเทศอเมริกา จะเริ่มจากตัว Size มาสู่ Pricing ขณะ ที่การแข่งขันในตลาดจะเป็นตัวช่วยในเรื่องของการเติบโตเป็นอย่างดี เพราะต่างก็ต้องหาทีเด็ดในการมัดใจผู้บริโภค และมีการเติบโตในประเทศถึงระดับหนึ่ง ก็จะถึงขั้นของการขยายออกไปเติบโตในตลาดภายนอกประเทศ เชนหลายๆเชนในอเมริกาส่วนใหญ่จะมีเส้นทางเดินทัพในลักษณะนี้ อย่าง Best Buy หรือ Home Depot ที่มีสาขาของตัวเองทั้งในอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก และจีน
ส่วน ในบ้านเรานั้น อาจจะเรียกได้ว่าผ่านสเตปของการบริหารจัดการ และการพัฒนารูปแบบของสโตร์ฟอร์แมตที่ลงตัวไปแล้ว สเตปต่อจากนี้ไปจึงเป็นเรื่องของการขยายสาขาออกสู่ต่างประเทศ อย่างกลุ่มเซ็นทรัล รีเทลฯ ที่มีแผนในการขยายสาขาไปยังประเทศจีน ก็มีการดึงเอาร้านเพาเวอร์ บาย และซูเปอร์สปอร์ต เข้าไปเป็นแม่เหล็กส่วนหนึ่งในการขยายสาขาของที่นั่น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มโฮมโปร และอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ที่มีแผนเข้าไปเปิดสาขาของตัวเองแบบเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะรายหลังนี้เริ่มมีการเข้าไปสนับสนุนคู่ค้าในประเทศอินโดนีเชีย เปิดร้านในรูปแบบเดียวกันกับ อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ในเมืองไทย
ภาพของความเป็น Retail Specialist ของร้านค้าปลีกในแนว Category Killer จะมีส่วนช่วยในการทำให้ค้าปลีกในเซ็กเม้นต์นี้ เป็นค้าปลีกที่มีบทบาทในการ Dominate ตลาดค้าปลีกเมืองไทย เพราะขณะที่สินค้าหลายๆ ตัวเริ่มที่จะมีการทำตลาดลงลึกในลักษณะของการ Customization เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เฉพาะเจาะจง ที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็น
Category Killer.....

The Killer

เรียนรู้และรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการค้าปลีกสมัยใหม่กว่าจะมาเป็น Big Box กันมามากพอสมควรแล้ว คราวนี้เราลองมาดูผลกระทบที่เกิดจากค้าปลีกสมัยใหม่ดังกล่าวนี้กันบ้าง
เมื่อครั้งที่ Big Box ในซีกของ Consumer Goods อย่างเทสโก้ โลตัส, คาร์ฟูร ์ หรือบิ๊กซี เริ่มมาลงหลักปักฐานในเมืองไทยชนิดแข่งกันทิ้งระเบิดแบบปูพรมไปทุกแห่งหน
ผล พวงจากการรบพุ่งกันดังกล่าว พบว่ากลุ่มที่กระทบกระเทือนที่สุดนั้นกลับเป็นกลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกแบบ ดั้งเดิม ทั้งที่เป็นร้านยี่ปั๊วในรูปแบบเดิมๆ และร้านโชวห่วยแบบห้องแถว มีจำนวนไม่น้อยที่ทนแรงเสียดทานไม่ไหวจนต้องเปิดหมวกอำลาสนามไปในที่สุด ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย
แน่นอนว่า ณ ปัจจุบันนี้ การปรับทัพที่ลงตัวของ Big Box ในซีกของ Hard Goods ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการ Educate ตลาด นานกว่าทางซีกของสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งในตอนนี้ทุกอย่างก็ถึงควรแก่เวลา และพร้อมที่จะขยับขยายสาขาออกไปสู่ตลาดในระดับครอบคลุมทั่วประเทศ
การรุกคืบของ Category Killer หรือ Big Box ประเภทต่างๆ ที่วางตำแหน่งตัวเองเป็น Retail Specialist ในหมวดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้า, ไอที, วัสดุก่อสร้าง, เครื่องเขียน, เครื่องใช้สำนักงาน ฯลฯ ก็ย่อมที่จะส่งผลกระทบไปยังผู้ประกอบการรายเดิมในตลาด 100%
อยู่ที่ว่าพื้นที่ไหนจะรุนแรงกว่ากันเท่านั้น
โดย ส่วนใหญ่แล้วพื้นที่สีแดงที่มักจะได้รับแรงกระแทกเป็นอันดับต้นๆ นั้น ก็มักจะเริ่มจากส่วนกลาง ไล่ไปยังจังหวัดหัวเมือง และเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ดังที่เราจะเห็นได้จากความพยายามที่จะปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจครอบ ครัวที่สืบทอดกันมาหลายชั่วคน
ถึงตรงนี้หลายคนอาจเกิดคำถามในใจขึ้นมาว่า...แล้วร้านค้ารูปแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) ที่ จัดอยู่ในมวยรุ่นไลท์ฟลายเวท จะปรับตัวให้รอดพ้นจากวิกฤตนี้ได้อย่างไร ในเมื่อคู่แข่งขันครั้งนี้เป็นถึงแชมป์มวยรุ่นเฮฟวี่เวท ที่ร้านค้าท้องถิ่นต้องแบกน้ำหนักขึ้นชกอยู่มากโข
บทสรุปของคำถามนี้ ก็มีอยู่ 2 หนทาง
หนึ่ง สู้ต่อ และปรับตัวรับกับสถานการณ์
สอง ยอมจำนน
แต่ก็พบว่ามีผู้ค้ารายเก่าหลายต่อหลายรายที่สามารถยืนหยัดต่อสู้ได้อย่างสมศักดิ์ศรี ไม่ใช่มีแต่ความพ่ายแพ้เสมอไป
กรณีศึกษาของร้านใต้ฟ้า ซิตี้ จังหวัดนครราชสีมา ร้านค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้า และไอที ที่ปรับรูปแบบร้านค้าจากห้องแถวดั้งเดิมมาเป็น Category Killer ก็นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของการปรับตัวจนรอดพ้นจากสภาวการณ์ที่ว่านี้มาได้
ใต้ฟ้า ซิตี้ ใช้วิธีขยายร้านค้า เพื่อให้สามารถวางสินค้าให้ครบวงจรตั้งแต่ล่าง-กลาง-บน และโดยเฉพาะสินค้าในตลาด High End ซึ่งเป็นตลาดที่ ใต้ฟ้า ซิตี้ เชื่อว่าจะเจ็บตัวจากสงครามราคา และการรุกคืบของโมเดิร์นเทรดน้อยที่สุด
คุณอภิชัย จงเจริญใจ ประธานกรรมการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ใต้ฟ้า ซิตี้ ได้เล่าย้อนหลังถึงการปรับตัวให้เข้ากับสภาพการแข่งขันให้ฟังว่า
ตลาดโมเดิร์นเทรดเป็นตลาด Mass เขาทำ High End ลำบากเพราะว่าเขาไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ จะมาชนกับเรา
นอก จากการขยับตัวเพื่อหาจุดยืนของตนเองให้ได้แล้ว อีกหนทางหนึ่งของการต่อสู้ของใต้ฟ้าก็คือ การเรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็งของคู่แข่งขัน และเลือกที่จะต่อสู่ในแอร์เรียที่ตนเองถนัด
เวลาห้างเขาดัมพ์ราคาทีวี 21 นิ้ว ลงมานี่ เราเก็บของเลยเพราะว่าเราสู้ราคาเขาไม่ได้ เราต้องยอมรับ เพราะว่าเขาขายขาดทุนจริงๆ เพราะว่าเอาส่วนต่างจากตัวอื่นได้ แต่เราทำไม่ได้
อีกหนึ่งรายที่แสดงให้ประจักษ์ แสดงให้เห็นถึงการไม่ยอมพ่ายก็คือ ร้านเสริมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ที่หาทางออก ด้วยการไปยืนอยู่บนตลาด Category Killer ที่เน้นสินค้า Mid End ไปจนถึง High End, สร้างความเชื่อถือเรื่องคุณภาพ และเน้นการบริการที่เหนือกว่า
ข้ามมายังธุรกิจวัสดุก่อสร้างกันบ้าง
ตัวอย่าง ที่เรียกว่าประสบความสำเร็จในการยืนหยัดต่อสู้กับโมเดิร์นเทรดก็เห็นจะเป็น ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างเก่าแก่อย่างตึกน้ำเงินจังหวัดนครสวรรค์ ที่มีการปรับตัวให้ทันต่อเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา เพราะล่าสุดทางกลุ่มตึกน้ำเงินก็เพิ่งจะมีการเปิดตัว Big Box Store ในกลุ่มสินค้า
วัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้านในชื่อร้านว่า โฮมเม็กซ์ ที่มีขนาดพื้นที่มากถึง 20,000 ตารางเมตร และมีสินค้าประมาณ 80,000 SKU ซึ่งจัดว่าเป็น Big Box Store ที่ใหญ่ที่สุดในภาคกลางตอนบน
ด้วย ขนาดที่ใหญ่โตมโหฬารทำให้โฮมเม็กซ์สามารถจะรองรับกลุ่มลูกค้าหลักทั้งสาม กลุ่ม คือ กลุ่มผู้รับเหมา กลุ่มผู้ที่ซื้อไปซ่อมแซม และกลุ่มลูกค้าที่อยู่อาศัยประเภทบ้านจัดสรร ซึ่งร้านแม่อย่างตึกน้ำเงินจะไม่สามารถให้บริการครอบคลุมได้เท่านี้
ที่ โฮมเม็กซ์เรามีสินค้ามากกว่าตึกน้ำเงินเยอะ เราโชว์ได้เต็มที่กว่า ที่นั่นจะมีความหลากหลายกว่าเยอะ คือตอนนี้เทรนด์เป็นแบบนี้อย่างวัสดุก่อสร้างสมัยก่อน เรามีของแต่เราโชว์ไม่ได้ เราก็ต้องไปอยู่ที่โกดัง แล้วพฤติกรรมสมัยก่อนจะมีตู้กระจกอยู่อันหนึ่ง มีซ้อยืนอยู่หน้าร้าน ซื้ออะไรซ้อก็หยิบมาให้ ซ้อคนเดียวที่จะรู้ของอยู่ตรงไหนหยิบมาให้เราดู
อย่างนี้ความเกรงใจมี เราไปซื้อของแล้วให้เขาหยิบให้ เราดูแล้วบอกไม่เอา คนรุ่นใหม่ก็จะไปดู ชอบก็ซื้อไม่ชอบก็สามารถไม่ซื้อก็ได้
คุณสรรเสริญ นภาพร ประธานกรรมการ บริษัท ตึกน้ำเงิน (1993) จำกัด ได้อธิบายถึงข้อจำกัดของร้านตึกน้ำเงินเดิม และสาเหตุที่ต้องพัฒนามาเป็น Big Box Store ให้ฟัง
ตัวอย่าง ที่หยิบยกมาเป็นกรณีศึกษานี้จะเห็นได้ว่า ถ้าหากผู้ประกอบการท้องถิ่นมีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงและพัฒนา รูปแบบธุรกิจให้เข้ากับยุคสมัยนั้น ก็ยังมีโอกาสที่จะอยู่รอดปลอดภัย ถึงแม้ว่าถ้าจะเทียบน้ำหนักกันปอนด์ต่อปอนด์แล้ว ร้านค้าท้องถิ่นจะเสียเปรียบก็ตามที

จากการพบปะพูดคุยกับผู้สันทัดกรณีในแวดวงค้าปลีกหลายต่อหลายคน BrandAge ได้รวบรวมวิธีการพัฒนาธุรกิจมาไว้เป็นแนวทางสำหรับการปรับปรุง
เริ่ม จากสิ่งแรกที่ร้านค้าท้องถิ่นต้องรักษาไว้ให้ดีที่สุดนั่นก็คือ ความคุ้นเคย หรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างผู้ประกอบการกับลูกค้าในละแวกนั้น ซึ่งตรงจุดนี้เชนค้าปลีกขนาดใหญ่ไม่มีทางที่จะเข้าถึงได้ลึกซึ้งเช่นร้านค้า ขนาดเล็ก การผูกใจกับลูกค้า หรือที่ภาษาการตลาดสมัยใหม่เรียกว่า CRM นี่แหละ จะเป็นสิ่งที่ช่วยประคับประคองธุรกิจให้อยู่ได้แบบตลอดรอดฝั่ง
ตราบที่ยังสามารถรักษาสิ่งนี้เอาไว้
ประการ ที่สองที่ควรนำไปพิจารณาก็คือ ควรหลีกเลี่ยงที่จะชนกันด้วยสงครามราคาโดยเฉพาะร้านค้าขนาดเล็ก เพราะไม่มีทางที่สู้ยักษ์ใหญ่ได้ในระยะยาว แม้ว่าการลดราคาจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดลูกค้าได้มากที่สุดก็ตามที
เกี่ยว กับเรื่องสงครามราคานี้ ไม่เพียงแต่เฉพาะร้านค้าขนาดเล็กที่ควรจะหลีกเลี่ยง แต่ในปัจจุบันนี้ ร้านค้าขนาดใหญ่ที่เป็นเชนสโตร์เองก็พยายามที่จะออกห่างให้มากที่สุด และเลี่ยงที่จะปะทะกันด้วยราคาถ้าไม่จำเป็น
คุณสุทธิสาร จิราธิวัฒน์ ประธานบริษัท เพาเวอร์ บาย จำกัด ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ราคามาเป็นจุดขายว่า
การจะทำราคาให้ถูกกว่า Modern Trade ไม่ใช่ Long Term ไม่นานสินค้าก็ราคาเดียวกันหมด จึงไม่มีประโยชน์ที่จะทำราคาให้แตกต่าง
สิ่งต่อมาที่ร้านค้าขนาดเล็กต้องพยายามสร้างขึ้นมาก็คือ ความเป็น Retail Specialist ให้มากกว่าที่เป็นอยู่
คำว่า Retail Specialist นี้ หมายถึง การรักษาวาไรตี้ของสินค้าในแต่ละกลุ่มสินค้าที่ตนเองจำหน่ายไว้ให้มากที่สุด ตลอดจนพยายามฝึกฝนพนักงานให้มีความรู้ความเข้าใจในตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์ นั้นๆ ให้มากที่สุดเพื่อที่จะสามารถให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตรงจุดนี้หากเป็นเรื่องที่เกินกำลัง ก็สามารถที่จะขอความช่วยเหลือไปยังเจ้าของ Brand
สินค้า ต่างๆ ให้ส่งพนักงานพีซีมาช่วยเหลือ หรือส่งคนมาจัดฝึกอบรมให้ได้เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทผู้ผลิตต่างก็ต้อง การที่จะรักษาสมดุลของช่องทางการจัดจำหน่ายระหว่างเก่ากับใหม่อยู่แล้ว
ทางรอดของค้าปลีกดั้งเดิมควรจะมุ่งไปที่การขาย Service มากกว่าการขายสินค้า หากขายแล้วได้ Volume ไม่มากนัก การเน้น Service จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เช่น ตู้เย็น หรือว่าเครื่องปรับอากาศเสีย จะซ่อมอย่างไร
ร้านค้าห้องแถวที่เห็นว่าอยู่กันได้ และยังไม่ตายจากกันไปจะเป็นร้านขายเครื่องปรับอากาศ เนื่องจากกลุ่มนี้ยัง Require High Service แต่ถ้าเป็นสินค้าที่ไม่ได้ Require High Service ก็ต้องหาอะไรก็ตามที่เป็นเรื่องของการให้บริการ เช่น ขายโทรทัศน์ เครื่องเสียงอาจจะขายแบบ In Store เข้าไปในผนัง หรือเดินสายภายในบ้าน ซึ่งไม่มีใครทำได้ เป็นลักษณะเหมือน Consult เพราะเวลานี้จะขายอะไรที่ยกวาง แกะกล่องวาง คงไม่ได้
วิธีการต่อมาก็คือ การหา Solution Partner อื่นๆ ที่จะเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันของตนเอง ในส่วนที่เราไม่ถนัด เช่น ระบบเงินผ่อน, ระบบการชำระเงิน, ระบบการส่งสินค้า เป็นต้น
หรือไม่อีกหนทางหนึ่งก็คือ การปรับร้านให้เป็น Exclusive Dealer อย่างร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าของโซนี่ หรือร้านวัสดุก่อสร้าง Home Mart ของเครือซิเมนต์ไทย ก็ยังทำได้
การ ปรับเปลี่ยนในลักษณะนี้ อย่ามองว่าเป็นความพ่ายแพ้ แต่ให้มองว่าเป็นการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย เหมือนในซีกของค้าปลีกที่มีผู้ประกอบการหลายรายเปลี่ยนแปลงตัวเองจากร้านชำ มาเป็นร้านสะดวกซื้ออย่าง 7- Eleven หรือ Family Mart ก็มีให้เห็นสม่ำเสมอ

Fragmentation Concept

ถ้าเปรียบเทียบกับทางอเมริกา หรือยุโรปกับบ้านเราในเรื่องของการทำ Retail Segmentation นั้น เราอาจจะยังตามหลังอยู่พอสมควร เพราะในบางประเทศธุรกิจค้าปลีกได้พัฒนาไปไกลมากถึงขนาดทำ Retail Fragmentation กันแล้ว
ใน ต่างประเทศ เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ค้าปลีกพัฒนาไปได้ไกลกว่าเราก็เพราะว่า ประเทศนั้นมีกำลังซื้อที่มากพอจนสามารถแตกซอยร้านค้าออกมาเป็น Retail Specialist ได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะที่อเมริกา ซึ่งเป็นต้นตำรับของค้าปลีกรูปแบบนี้
ส่วนบ้านเราในปัจจุบัน กลุ่มค้าปลีกเฉพาะอย่างของบ้านเราส่วนที่ติดลมบนไปแล้ว เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า, วัสดุก่อสร้าง, ไอที, หนังสือ, กีฬา ฯลฯ ร้านเหล่านี้เรียกว่าผ่านขั้นตอนของการก่อร่างสร้างตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้ความรู้กับผู้บริโภค หรือการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมาพอแล้ว
จาก นี้ต่อไปของกลุ่มทัพหน้านี้จะถือเป็นก้าวที่สำคัญ ก็คือ เรื่องของการเร่งขยายสาขาลงไปยังพื้นที่ที่มีศักยภาพ รวมถึงการบุกออกไปวาดลวดลายในตลาดต่างประเทศ
ส่วนร้านค้าประเภทอื่นๆ ที่มีความเป็นสินค้าเฉพาะแต่ยังเป็น Niche อยู่ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยง, สินค้าแม่และเด็ก, ของเล่น, ร้านอุปกรณ์ถ่ายภาพ ฯลฯ ก็คงจะทยอยมีมาให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีปัจจัยที่จะเป็นตัววัดความสำเร็จด่านแรกก็คือ เรื่องของ Buying Power ของผู้บริโภคที่มีมากพอจนสามารถแยกออกมาเป็นเอกเทศ โดยไม่ต้องฝังตัวอยู่ในห้างสรรพสินค้าได้หรือยัง
สำหรับ แนวโน้มของค้าปลีกรูปแบบนี้ในประเทศไทยในระยะเวลาอันใกล้นี้ ก็เชื่อได้ว่าหลักๆ แล้วทำเลที่เหมาะสมส่วนใหญ่ก็ยังจะกระจุกตัวอยู่ในศูนย์การค้าขนาดใหญ่แบบ One Roof อยู่ เหตุผลเพราะพฤติกรรมของคนไทยเคยชินกับการเดินซื้อของในห้างขนาดใหญ่ๆ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากสภาพอากาศของบ้านเราที่ร้อนอบอ้าวเกือบตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญ
ของการขยายตัวในแนวราบ เหมือนอย่างในอเมริกา
เหตุผล อีกประการที่บ้านเราไม่นิยมขยายตัวในแนวราบก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของราคา ที่ดินทำเลดีๆ มีผู้คนสัญจรไปมามากๆ มีราคาแพงมาก ซึ่งก็ต่างจากอเมริกาอีกเช่นกัน ที่ประเทศเขากว้างใหญ่ไพศาล จนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างห้างในแบบแนวตั้ง เว้นแต่ในย่านชุมชน
เพราะค้าปลีกแบบแนวราบนี้ ถ้าไม่ติดเรื่องราคาที่ดิน จะมีการลงทุนที่ต่ำกว่า แถมยังก่อสร้างได้เร็วกว่าอาคารเดียวแต่มีหลายชั้นมาก
แต่ หลังจากที่กฎหมายค้าปลีกมีผลบังคับใช้ การขยับขยายห้างขนาดใหญ่ในเขตชั้นในอาจจะเป็นเรื่องลำบาก และการแข่งขันที่รุนแรงจะเป็นการส่งผลเชิงบังคับให้ผู้ประกอบการต้องเบนเข็ม มาเปิดให้บริการในเขตชั้นนอกแทน ซึ่งก็จะทำให้โอกาสการขยายตัวแบบแนวราบมีความเป็นไปได้สูงที่จะได้รับความ นิยม เหมือนอย่างที่ค้าปลีกแบบคอมมูนิตี้ มอลล์
ที่มีลักษณะเป็นค้าปลีกแนวราบที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
เชื่อว่าในอนาคตการขยายตัวตลาดค้าปลีกของไทย Big Box Store นี้ น่าจะเป็นอะไรที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างลงตัว โดยมีแม่เหล็กดึงดูด เป็นร้านปลีกแบบไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือ Category Killer ขนาดใหญ่เป็นแม่เหล็กหลัก และจะแวดล้อมไปด้วยค้า
ปลีก เฉพาะอย่างขนาดเล็กเป็นตัวเสริม อย่างกรณีของ เอกมัย เพาเวอร์เซ็นเตอร์ ของกลุ่มสยามฟิวเจอร์ ที่มีแม่เหล็กหลักคือ บิ๊กซี และมีแม่เหล็กรองอย่าง อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ และแม็คโคร ออฟฟิศ เซ็นเตอร์ก็ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดี
ในความเป็นจริงค้าปลีกแบบเพาเวอร์ เซ็นเตอร์ นั้นจะต้องประกอบไปด้วยค้าปลีกแบบ Big Box ขนาด ใหญ่หลายแบบมารวมกันในที่เดียวกัน เพียงแต่ว่าสำหรับในประเทศไทยที่ตลาดมีความยืดหยุ่นสูงเมื่อเทียบกับต้นแบบ ในต่างประเทศนั้น ผู้ประกอบการค้าปลีกเองก็จำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตความ เป็นอยู่ของคนไทย
ขนาด เพาเวอร์ เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติของวงการค้าปลีกที่อลังการงานสร้างก็ยังถูกปรับปรุง เปลี่ยนแปลงขนาดลงมาจนน่าจะเรียกว่า มินิ เพาเวอร์ เซ็นเตอร์ มากกว่า
ส่วน Big Box ก็เช่นกัน การขยายสาขาของค้าปลีกแนวนี้ในเมืองไทย ก็ยังคงจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของคนไทยจนเป็นที่มาของฝรั่งสวมชฎา
ดังนั้น ถ้าเราเห็นฟอร์แมตค้าปลีก Big Box ถูกซอยย่อยลงมาเหลือ Half Box หรือเหลือเพียงแค่ ครึ่งกล่องเพื่อ ให้พอดีกับแต่ละพื้นที่ก็ไม่ต้องตกใจอะไรไป เหมือนอย่างที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตที่เน้นราคาก็ยังต้องปรับมาเป็นไลฟ์สไตล์ มอลล์ โดยเพิ่มความสำคัญกับแฟชั่นก็ยัง
มีให้เห็นมาแล้ว
ยังไม่รวมกับข่าวลือที่ยักษ์ใหญ่ในซีกของซูเปอร์เซ็นเตอร์ที่หาทางกระโดดเข้ามาร่วมไพบูลย์กับซีกของ Category Killer เครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งถ้าข่าวนี้เป็นจริงตลาดก็คงร้อนแรงยิ่งขึ้นไปอีกแต่ไม่ว่า Big Box แบบ ไทยๆ จะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไรท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่จะเป็นตัววัดความแพ้ชนะ ในสนามแข่งขันก็คงหนีไม่พ้นปัจจัยพื้นฐานไม่กี่ข้อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดการต้นทุนให้ต่ำที่สุดุ (Low Cost Leader) การสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน (Differentiate) และรักษาจังหวะการหมุนเวียนเข้าออกของสินค้า (Inventory Turnover)
ให้ดี และสุดท้ายคือการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด
เพราะธุรกิจค้าปลีกเป็นอะไรที่ต้องหมุนตามผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา
ที่สำคัญคือ ผู้บริโภคคนไทยนี่หมุนเร็วเสียด้วยสิ
ไม่แน่ในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจจะได้เห็น Power Center
ที่มาแบบ Full Version ก็เป็นได้ ®

ล้อมกรอบ

ประเภทร้านค้าปลีก

Department store
ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีสินค้าจำนวนมากไว้บริการ มีการจัด
หมวดหมู่ชัดเจน โดยเฉพาะสินค้าจำพวกแบรนด์เนมจะมีพนักงาน
ขายไว้คอยให้บริการ เสมือนการนำเอาร้านค้าเฉพาะอย่างหลายๆ
ร้านมารวมไว้ในที่เดียว เช่น เซ็นทรัล, โรบินสัน, เดอะมอลล์

Supermarket
ค้าปลีกที่เน้นขายสินค้าอุปโภคบริโภคเช่นเดียวกัน มีลักษณะพิเศษ
ของการเป็นแมกเน็ตอยู่ในห้างสรรพสินค้า จนกระทั่งพัฒนารูป
แบบมาเป็นสแตนอะโลนมากมายในปัจจุบัน เช่น ท็อปส์, จัสโก้, โฮม
เฟรส มาร์ท

Convenience Store หรือ Mini-mart
ร้านค้าที่ให้บริการลูกค้าที่ต้องการความสะดวก และความรวดเร็ว
จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันซึ่งมีจำนวน
SKU ประมาณ 2,000 - 3,000 SKU ในแต่ละร้าน รวมทั้งจำหน่าย
เครื่องดื่มและอาหารประเภทพร้อมทาน เช่น 7-อีเลฟเว่น, แฟมิลี่
มาร์ท

Specialty Store
ร้านค้าปลีกที่ขายของเฉพาะอย่างในสายผลิตภัณฑ์เดียวกัน ซึ่ง
ภายใน Specialty Store ยังสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท โดย
แบ่งตามขนาดของร้าน ตามประเภทสินค้าที่ขาย โดยไม่จำเป็นต้อง
มีชนิดของสินค้ามากมาย เช่น ร้านไวน์ ร้านดอกไม้ ร้านขายยา
ร้านอุปกรณ์กอล์ฟ ตามกลยุทธ์ในการขาย มีพื้นที่ขายระหว่าง
200 – 1,000 ตารางเมตร เช่น วัตสัน, บู๊ทส์

Hypermarket หรือ Super Center
ค้าปลีกสมัยใหม่ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 15,000-20,000
ตารางเมตร ที่ชูจุดขายเรื่อง “Everyday low prices” โดยเป็นค้า
ปลีกที่ต้องบริการตนเองเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยทั่วไปจะจำหน่าย
สินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก คิดเป็นหมวดสินค้าที่จำเป็นต่อการใช้
ชีวิตประจำวัน เช่น อาหารกว่า 80% เช่น เทสโก้ โลตัส, คาร์ฟูร์ และ
บิ๊กซี

Category Killer
ร้านค้าปลีกที่ขายของเฉพาะอย่างขนาดใหญ่ตั้งแต่ 2,000 –
10,000 ตารางเมตร และขายสินค้าทุกชนิดครบครันในสินค้าหมวด
ใดหมวดหนึ่ง เช่น เพาเวอร์ บาย, ซูเปอร์ สปอร์ต, บีทูเอส

Big-Box Store
Chain Store ค้าปลีกขนาดใหญ่ตั้งแต่ 5,000 -20,000 ตารางฟุต
โดยสามารถแบ่งสินค้าที่จำหน่ายออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
Big-box store ที่ขายสินค้าอุปโภบริโภคทั่วไปในลักษณะของ
ไฮเปอร์มาร์เก็ต หรือซูเปอร์เซ็นเตอร์ และที่ขายสินค้าแบบ Specific
Range หรือเฉพาะหมวดสินค้า แบบ Category Killer เช่น ร้าน
Barnes & Noble ในสหรัฐที่เน้นขายสินค้าจำพวกหนังสือ เป็นต้น
ชื่อเรียกของ Big Box นั้นมาจากลักษณะเฉพาะตัวของร้านค้าปลีก
ที่ส่วนใหญ่มักจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ มีหลังคาสูง โครงสร้าง
จะคล้ายๆ กับ Warehouse ที่สำคัญคือ มีพื้นที่ใช้สอยกว้างเพื่อ
รองรับกับจำนวนสินค้าที่มีจำนวนมาก

Power Center
รูปแบบค้าปลีกขนาดใหญ่ที่รวบรวมเอาร้านค้าปลีกแบบ Big Box
มาไว้ด้วยกัน เฉลี่ยแล้วจะมีขนาดเท่าๆ กันมารวมกันอย่างน้อย 2-3
ร้าน ในพื้นที่เดียวกัน โดยจะนิยมมีการเชื่อมต่อกันจากภายนอก
(ไม่ใช่ One Roof เหมือนบ้านเรา) แต่จะมีการแชร์พื้นที่ส่วนกลาง
บางอย่างร่วมกัน อาทิ ที่จอดรถ หรือร้านอาหาร เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น