ads head

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

My view : Treasury stock…มาพยายามเข้าใจกับหุ้นซื้อคืน

My view : Treasury stock…มาพยายามเข้าใจกับหุ้นซื้อคืน

ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kunjoja&month=08-2011&date=06&group=1&gblog=41
หมายเหตุ : ข้อมูลหลายๆส่วนคัดลอกมาและเป็นมุมมองของผู้เขียนร่วมประกอบด้วย

ด้วย ความที่มีหุ้นในพอร์ทเกี่ยวข้องกับ หุ้นซื้อคืน (Treasury stock ) อยู่หลายตัวรวมถึงมีข่าวคราว ก็เลยมาคิดทบทวนดู การมีหุ้นซื้อคืน หรือการขายหุ้นซื้อคืนนั้นมีดีไม่ดีอย่างไรในมุมมองต่างๆ พอสังเข

ขอคัดลอก หลักการมาลงไว้คร่าวๆ ดังนี้ …


1.กรณีเหตุของการซื้อหุ้นคืน
มาตรา 66/1 บทบัญญัติตามมาตรา 66 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการที่บริษัทเป็นเจ้าของหุ้นของตนเองมิให้นำมาบังคับ ใช้ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) บริษัทอาจซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นที่ออกเสียงไม่เห็นด้วยกับมติของที่ ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งแก้ไขข้อบังคับบริษัทเกี่ยวกับสิทธิในการออกเสียงลง คะแนนและสิทธิในการรับเงินปันผล ซึ่งผู้ถือหุ้นเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม (2) บริษัทอาจซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน เมื่อบริษัทมีกำไรสะสมและสภาพคล่องส่วนเกิน และการซื้อหุ้นคืนนั้นไม่เป็นเหตุให้บริษัทประสบปัญหาทางการเงิน

หุ้น ที่ซื้อคืนนั้นจะไม่นับเป็นองค์ประกอบในการประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งไม่มีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนและสิทธิในการรับเงินปันผลด้วย หุ้นที่ซื้อคืนตามวรรคหนึ่ง บริษัทต้องจำหน่ายออกไปภายในเวลาที่กำหนดในกฏกระทรวง ถ้าไม่จำหน่ายหรือจำหน่ายไม่หมดในเวลาที่กำหนด ให้บริษัทลดทุนที่ชำระแล้วโดยวิธีตัดหุ้นจดทะเบียนส่วนที่จำหน่ายไม่ได้ การซื้อหุ้นตามวรรคหนึ่ง การจำหน่ายหุ้น และการตัดหุ้นตามวรรคสาม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฏกระทรวง

ประเด็น ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการจำหน่ายและการตัดหุ้นที่ซื้อคืน กฏกระทรวงดังกล่าวกำหนดให้บริษัทจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนได้ เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับตั้งแต่การซื้อหุ้นในแต่ละคราว และต้องจำหน่ายให้หมดภายในระยะเวลาที่กำหนดในโครงการซื้อหุ้นคืน แต่ไม่เกิน 3 ปี การจำหน่ายหุ้น

มุมมองส่วนตัว : โดยทั่วไปเราจะเข้าใจว่า การซื้อหุ้นคืน เป็นเครื่องมือในการบริหารการเงินและการปรับโครงสร้างทางการเงิน กล่าวคือ เมื่อบริษัทมีกำไรสะสมและสภาพคล่องทางการเงินสูง คือ มีเงินเพียงพอที่จะไปลงทุนในหุ้นบริษัทเอง เมื่อเห็นว่าหุ้นมีราคาต่ำเกินจริง และการลงทุนในหุ้นของบริษัทจะได้รับอัตราผลตอนแทนจาการลงทุนสูงกว่าลงทุน ประเภทอื่น และผลของการซื้อหุ้นคืนกลับมาทำให้โครงสร้างทาการเงินเปลียนแปลงคือโดยแต่จะ ครั้งจะทำให้จำนวนหุ้นลดลง ทำให้ EPS เพิ่มขึ้น เป็นต้น
แต่การซื้อ หุ้นคืนยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ที่เรียกว่า การแก้ไขปัญหาระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัท และการคงอำนาจการต่อรองของผู้บริหารในบริษัทได้ด้วยเช่นกัน

ซึ่ง สองกรณีหลัง นักลงทุนอาจจะไม่คอ่ยได้ยินหรือได้พบบ่อย อันเนื่องจากประเทศไทยยังเป็นการผ่องถ่ายอำนาจของเจ้าของบริษัทไปสู่ผู้ถือ หุ้นไม่ได้เด็ดขาด เหมือนกับหลายๆประเทศ(หมายความว่า ผถห.ที่เป็นเจ้าของบริษัทดั้งเดิมยังกุมอำนาจของผถห.ที่มีสัดส่วนมากและมี อำนาจเด็ดขาด(มากน้อยแล้วแต่บริษัท)จนผถห.รายใหญ่อื่นๆไม่สามารถมาทดแทนเป็น เจ้าของบริษัทแทน)
ตัวอย่างกรณีการแก้ไขปัญหา เช่น การซื้อหุ้นคืนเข้าบริษัทจากนักลงทุนรายใหญ่หรือกองทุนเพื่อไม่ให้เกิดภาวะ เรียกว่า take over กิจการ เป็นการรักษาอำนาจเดิมของเจ้าของบริษัท(และทำให้สัดส่วนของผถห. ของผบห.เพิ่มขึ้นมีอำนาจต่อรองมากขึ้นได้)



2.คุณสมบัติของบริษัทที่มีสิทธิ์ในการซื้อหุ้นคืนได้
1. มีกำไรสะสม โดยการซื้อหุ้นคืนจะทำได้ไม่เกินวงเงินสะสม และบริษัทควรกันกำไรสะสมไว้เป็นเงินสำรองเท่ากับจำนวนเงินที่ได้จ่ายซื้อ หุ้นคืนจนกว่าจะมีการจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนได้หมด หรือลดทุนชำระแล้วโดยวิธีตัดหุ้นซื้อคืนที่จำหน่ายไม่หมด แล้วแต่กรณี
2. มีสภาพคล่องส่วนเกิน โดยพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ภายใน 6 เดือน ข้างหน้าว่าถ้านำเงินมาซื้อหุ้นคืนแล้ว จะไม่กระทบกับการชำระหนี้ของบริษัท
3. ไม่ทำให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย ( Free Float) ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (> 15% ของทุนชำระแล้ว และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 150 ราย)
ณ ปัจจุบัน บริษัทที่จะซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 10% ของทุนจดทะเบียน หลังจากที่คณะกรรมการของตลาดหลักทรัพย์ มีมติ ก็ให้ใช้วิธีแจ้งกับผู้ถือหุ้นโดยใช้หนังสือเวียนแทนการเรียกประชุมผู้ถือ หุ้นได้ แต่เดิมต้องผ่านขั้นตอนที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับบริษัท ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาเร็วขึ้น และคาดว่าโครงการดังกล่าวน่าจะทำให้ราคาหุ้นสะท้อนภาพราคาที่แท้จริงได้มาก ขึ้น


3.ผลของการประกาศซื้อหุ้นคืนของบรัษัทจดทะเบียน

มีเอกสารเชิงวิจัยที่น่าสนใจ ขอยกมาคร่าวๆ …
การศึกษาผลกระทบการซื้อหุ้นคืนต่อผลตอบแทนที่ผิดปกติสะสมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดเอ็ม เอ ไอ
วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า - เล่มที่ 5 พฤศจิกายน 2552

บริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดเอ็ม เอ ไอ มีการซื้อหุ้นคืนครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2544 ด้วยวัตถุประสงค์ของการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงินในการรักษาระดับ ราคาหุ้น ดังนั้น การศึกษานี้เพื่อสำรวจการตอบสนองของตลาดที่มีต่อราคาหุ้นโดยศึกษาจากอัตราผล ตอบแทนที่ผิดปกติและอัตราผลตอบแทนที่ผิดปกติสะสม ในช่วงประกาศโครงการซื้อหุ้นคืน ช่วงดำเนินโครงการซื้อหุ้นคืนและในช่วงประกาศลดทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานด้านอัตราส่วนทางการเงินก่อนและหลัง การประกาศโครงการซื้อหุ้นคืน
ผลการศึกษา พบว่ามีอัตราผลตอบแทน ที่ผิดปกติเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อมีการประกาศโครงการซื้อหุ้นคืน แต่ทั้งนี้ไม่เกิดอัตราผลตอบแทนที่ผิดปกติเมื่อมีการดำเนินโครงการซื้อหุ้น คืน และผลการดำเนินงานของบริษัทที่ซื้อหุ้นคืนวัดโดยอัตราส่วนทางการเงิน ได้แก่ เงินปันผลต่อหุ้นมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีภายหลังการประกาศโครงการซื้อหุ้น คืนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งพบว่าราคาของหลักทรัพย์มีการปรับตัวในเชิงลบก่อนที่จะมีการประกาศลด ทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วของบริษัทที่ไม่สามารถจำหน่ายหุ้นคืนได้ภายใน ระยะเวลา 3 ปี

http://journal.nida.ac.th/journal/index.php?option=com_content&view=article&id=1008%3A2010-04-08-01-53-09&catid=162%3A-5--2552&Itemid=95&lang=th


4.ผลกระทบจาการซื้อหุ้นคืน
ผลกระทบของการซื้อหุ้นคืนในแง่ผู้บริหาร
ข้อดี - ซื้อหุ้นคืนเพื่อชลอการจ่ายเงินปันผลและรักษาระดับการจ่ายเงินปันผลในอนาคต
- สะดวกแก่การชำระตามข้อผูกพัน เช่น เตรียมไว้เพื่อการแปลงสภาพ
- สามารถนำไปขายในตลาดเมื่อต้องการเงินทุน
- รักษาอำนาจการควบคุม
- เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุน

ข้อเสีย - เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อผู้ลงทุน เพราะอาจถูกมองว่าไม่มีโครงการลงทุนอื่นที่ดี จึงต้องซื้อหุ้นคืน
- หลีกเลี่ยงภาษี เพราะทำให้การจ่ายปันผลน้อยลง

ผลกระทบของการซื้อหุ้นคืนในแง่ผู้ถือหุ้น
ข้อดี - ราคาหุ้นจะสูงขึ้น ทำให้ได้กำไรจากการขายหุ้น ซึ่งเสียภาษีน้อยกว่าได้เงินปันผล
- ชลอการจ่ายภาษี เพราะเลือกได้ว่าจะขายหรือไม่
- ลดจำนวนหุ้นส่วนเกิน สามารถระบายหุ้นส่วนเกินความต้องการออกจากตลาด เพื่อรักษาสภาพราคาให้คงไว้

ข้อ เสีย - ผลประโยชน์ด้ายภาษีในกรณีผู้ถือหุ้นมีรายได้น้อย การเสียภาษีในรูปเงินปันผลอาจให้ประโยชน์มากกว่าการขายหุ้นที่มี ราคาสูงขึ้นเพราะการซื้อหุ้นคืน
- ถ้าหุ้นที่หมุนเวียนมีน้อย เมื่อซื้อแล้วอาจมีผลให้ราคาหุ้นตกได้
- ความเสี่ยงสูง เพราะสัดส่วนของหนี้สินและทุนจะสูงขึ้น
…….

5.มุมมองเพิ่มสำหรับการซื้อหุ้นคืน
โดยสรุป
ให้ มองก็คือการลงทุน ของบริษั่ท เพียงแต่เป็นการลงทุนที่ได้ประโยชน์ทางตรงและทางอ้อมหลายต่อ ในแง่ของจิตวิทยา ก็จะมองว่าบริษัทมีสภาพคลอ่ง มีเงินสดเหลือเพียงพอที่จะนำเงินสดไปต่อยอดการลงทุนเพื่อให้เกิดผลตอบแทน ใหม่ขึ้นมา ซึ่งอาจจะไปลงตราสารหนี้ หรือไปซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนอื่นได้
แต่ถ้าบริษัทมองแล้ว นี่คือโอกาสในการซื้อหุ้นตัวเองในราคาที่ถูก และเล็งเห็นว่าบริษัทตัวเองจะเติบโตได้แน่ๆ ในอนาคต ก็สู้มาลงทุนในหุ้นตัวเองก็ได้เช่นกัน
แต่ท้ายสุด ถ้าบริษัทยังคงความมีสภาพคล่อง มีการเติบโตที่สูงไปอีก ก็สามารถตัดหุ้นซื้อคืนออกจากบริษัทได้เช่นกัน
และสามารถขายคืนให้กับตลาดหุ้นในกรณีเราต้องการเงินทุนจำนวนหนึ่ง ก็ได้เช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องไปกู้ยืมเงินมา





Create Date : 06 สิงหาคม 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น