ads head

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความล่มสลายของระบบทุนนิยมโลก ? ตอนจบ


ความล่มสลายของระบบทุนนิยมโลก ? ตอนจบ (ตีพิมพ์ใน “มติชนสุดสัปดาห์”)

December 26, 2008

โดย เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์
ภาพจาก : http://talk.mthai.com 
 
      ปัจจัยสำคัญที่ทำให้วิกฤตในปัจจุบันส่งผลกระทบน้อยกว่าในอดีต คือ ข้อมูลข่าวสารและการวิเคราะห์ที่ลึกซึ้งละเอียดยิบ ในอดีตเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นมา ผู้คนจะตื่นกลัวมาก เศรษฐีมีเงินย่อมไม่อาจแยกแยะถึงบริษัทที่กระทบหรือไม่กระทบ กระทบมากหรือกระทบน้อย ทุกคนต่างเหมารวมว่า แต่ละบริษัทเลวร้ายเหมือนกันหมด ยิ่งไม่ต้องพูดถึง การพิจารณาว่าบริษัทที่มีปัญหานั้น สามารถแยกส่วนสินทรัพย์ที่ดีมาใช้ประโยชน์ได้บ้าง หรือกว่าจะรู้ว่าอะไรดีไม่ดี ความเสียหายก็ได้เกิดขึ้นมากมายแล้ว แต่ในปัจจุบันนั้น จอมคนอย่าง Warren Buffet สามารถแยกแยะได้ว่า Goldman Sachs ซึ่งแม้จะประสบปัญหาลุกลามตามวาณิชธนกิจรายอื่นไปด้วย แต่บริษัทนี้มีความโดดเด่นแตกต่างจากบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน ที่สำคัญ บริษัทนี้ยังมีทีมงานและบุคลากรที่สุดยอดมากมาย ดังนั้น จึงเป็นโอกาสในการนำเงินเข้ามาซื้อกิจการ จากการกระทำนี้ จึงเห็นได้ว่า กลไกการคัดเลือกคนเก่งและสินทรัพย์ดี ทำได้อย่างรวดเร็วฉับไว ความสูญเสียจึงจำกัดขนาดลง ที่สำคัญ Goldman Sachs ถ้าหากได้อัจฉริยะบุรุษอย่าง Buffett มาช่วยชี้แนะการบริหารและการลงทุน การเกิดใหม่อีกครั้งของ Goldman Sachs ย่อมเด่นล้ำแข็งแกร่งกว่าเดิม ที่สำคัญ ขณะที่วาณิชธนกิจอื่นย่ำแย่ จึงเป็นโอกาสท่ามกลางวิกฤตของ Goldman Sachs ที่จะหาประโยชน์ แน่นอนว่า วิกฤตครั้งนี้ย่อมทำให้ภาวะตลาดซบเซา แต่คู่แข่งที่อ่อนแอและลดน้อยลงน่าจะช่วยชดเชยสิ่งที่สูญเสียไปได้บ้าง

      เราจะเห็นได้ว่า วิกฤตแต่ละครั้ง ได้เผยให้โลกเห็นว่า มนุษย์คนใดมีความสามารถ มนุษย์คนใดด้อยความประสิทธิภาพ ผู้ บริหารระดับสูงของหลายธุรกิจนั้น ส่วนหนึ่งอาศัยการศึกษาในสถาบันการศึกษาชั้นสูง อาศัยลีลาภาษาและสมการคณิตศาสตร์ที่สลับซับซ้อนในการสร้างชื่อเสียงและความ มั่งคั่งให้ตนเอง เพราะในภาวะปกติและฟองสบู่เฟื่องฟู ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสามารถมากมายในการสร้างผลกำไรให้บริษัท แต่ในที่สุด เมื่อวิกฤตอุบัติขึ้น จึงได้รู้ว่าภายใต้มนต์มายาของคำกล่าวสวยหรูนั้น สิ่งใดเป็นของจริง แน่นอนว่า คนเก่งชั้นเลิศบางคน อาจผิดพลาดใหลหลงไปบ้าง เพราะความเก่งนั้นยังไม่ถึงขั้นอัจฉริยะ แม้จะคาดการณ์และเตรียมป้องกันวิกฤตไว้แล้ว แต่ความเสียหายมากกว่าที่คิด จึงต้องล่มจมตามคนเก่งธรรมดาและคนเก่งจอมปลอมไปด้วย

      แต่โลกของเรายังมีคนเก่งระดับอัจฉริยะซึ่งรอดพ้นปลอดภัยจากวิกฤตและผลกระทบ คนเหล่านี้เองที่มองเห็นและแยกความแตกต่างระหว่างคนเก่งชั้นเลิศกับคนเก่ง จอมปลอม สินทรัพย์ชั้นดีกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพได้ พวกเขาจะเริ่มคัดเลือกคนเก่งชั้นเลิศเข้ามาร่วมสร้างสรรค์ระบบใหม่ ดังนั้น ทุกคนควรจับตาดูว่า Buffett คาดการณ์ถูกต้องหรือไม่ที่เขามาโอบอุ้ม Goldman Sachs และ ควรติดตามต่อไปอีกว่า Buffett จะร่วมคัดเลือกให้ใครบริหารงาน และจะปลดคนที่ดูเหมือนเก่งแต่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานความเก่งคนใดออกไปบ้าง

      กลไกคัดเลือกคนเก่งชั้นเลิศและสินทรัพย์ชั้นดีนี้เอง ที่ช่วยทำให้วิกฤตคลายความรุนแรงลง เพราะคนเก่งอัจฉริยะและคนเก่งชั้นเลิศนั้นจะร่วมกันใช้ความสามารถของตนพลิก ฟื้นวิกฤตของบริษัทขึ้นมา ซึ่งย่อมส่งผลดีต่อเศรษฐกิจติดตามมา แม้จะมีบริษัทจำนวนมากล่มสลายลง แต่บริษัทที่เหลือซึ่งมีคนเก่งชั้นเลิศรวมตัวกันจะเข้าครอบครองตลาดอันกว้าง ใหญ่ซึ่งบริษัทที่ล่มสลายได้ทิ้งมรดกไว้ ดังนั้น คุณภาพของสินค้าและบริการในช่วงนี้ จะมีคุณค่าสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะผู้ด้อยประสิทธิภาพได้ถูกกำจัดไปแล้ว ยิ่งในยุคปัจจุบันที่การประกาศล้มละลาย การขายสินทรัพย์ และการเข้าซื้อกิจการเป็นไปอย่างรวดเร็ว โอกาสที่คนเก่งชั้นเลิศจะได้เข้ามาบริหารตลาดอันกว้างใหญ่และไร้คู่แข่งนี้ จึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คุณภาพของบริษัทและเศรษฐกิจจึงสามารถได้รับการพัฒนาฟื้นฟูอย่างรวดเร็วทัน ท่วงที

      ที่กล่าวมาทั้งหมด ต้องการชี้ให้เห็นว่า สรรพสิ่งในโลกนี้มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การใช้มุมมองเดิมมาวิเคราะห์สถานการณ์แบบเดิมซึ่งมีบริบทแตกต่างออกไป ย่อมอาจทำให้ผลการวิเคราะห์มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนกว่าที่ควรจะเป็นได้ มากมายนัก ในอดีตที่ผ่านมา มนุษย์มีความเข้าใจในระบบทุนนิยมไม่มากนัก จึงไม่สามารถแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องทันท่วงที แต่ในปัจจุบันนั้นบริบททั้งหลายได้เปลี่ยนแปลงไป มนุษย์มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับระบบทุนนิยมมากขึ้น ขณะเดียวกัน ในช่วงหลายสิบปีนี้ได้เกิดการปฏิวัติข้อมูลข่าวสารหรือคลื่นลูกที่ 3 ขึ้นมา จึงทำให้การรับรู้ปัญหามีความลึกซึ้งครอบคลุมขึ้น ช่วยให้การตัดสินใจแยกแยะสินทรัพย์ทีดีออกจากสินทรัพย์ที่ไม่ดีทำได้ง่าย ขึ้น

      เช่นเดียวกัน การติดต่อสื่อสารที่ฉับไว ทำให้เกิดความร่วมมือกันของประเทศต่างๆทั่วโลก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถใช้ข้อมูลที่ชัดเจนรวดเร็วนี้บริหารจัดการแก้ไข วิกฤตได้อย่างทันท่วงที โดยมีความผิดพลาดที่ต่ำกว่าในอดีต เพราะคุณภาพของข้อมูลที่แม่นยำกว่า ยิ่งกว่านั้น ภาครัฐและเอกชนในทุกประเทศต่างร่วมมือกันอย่างเต็มที่ทั้งโดยตั้งใจและไม่ ตั้งใจ การเข้าซื้อกิจการของนักธุรกิจจากในและนอกประเทศ ล้วนได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากเจ้าของกิจการและรัฐบาล ขณะที่ผู้มาซื้อกิจการย่อมสามารถตรวจสอบข้อมูลของบริษัทได้มากกว่าในอดีต จึงกล้าเข้ามาซื้อกิจการอย่างรวดเร็ว

      บริบททั้งหลายที่ช่วยเสริมส่งกันนี้ ย่อมทำให้วิกฤตที่เกิดขึ้นมีขนาดและความรุนแรงลดลง และเศรษฐกิจอาจกลับดีขึ้นมาอย่างรวดเร็ว แต่ หากใครยังคงมุมมองการวิเคราะห์แบบเดิมไว้ ย่อมพลาดโอกาสที่ดีในการแสวงหาประโยชน์จากวิกฤต ซึ่งสินทรัพย์ทั้งหลายมีราคาต่ำกว่าความเป็นจริง และด้วยความรวดเร็วในการเข้าซื้อสินทรัพย์เช่นนี้เอง ทำให้วิกฤตยิ่งฟื้นตัวเร็วกว่าปกติ เพราะคนที่คิดว่าจะรอให้สินทรัพย์ราคาถูกลงกว่าเดิม ย่อมต้องเพิ่มความเร็วในการเข้าซื้อ เพราะอาจถูกคนอื่นชิงตัดหน้าไปก่อน

      บางคนอาจคิดว่า ภาวะล่มสลายของสถาบันการเงินระดับโลก ย่อมทำให้เม็ดเงินในการซื้อสินทรัพย์มีจำนวนไม่มากเพียงพอที่จะกอบกู้วิกฤต ได้ แต่อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ความมั่งคั่งของโลกแม้ว่าจะมีค่าลดลงจากในช่วงฟองสบู่ แต่ย่อมมีมูลค่ามากกว่าเมื่อก่อนเกิดภาวะเฟื่องฟูของฟองสบู่ ยังไม่นับว่า สินทรัพย์ที่ถูกนำมาขายในภาวะแบบนี้นั้น มีราคาถูกกว่าความเป็นจริงในภาวะปกติ ที่สำคัญ ไม่จำเป็นเลยที่สินทรัพย์ทุกชนิดจะต้องได้รับการซื้อไป ขอเพียงสินทรัพย์ที่ดีในแต่ละธุรกิจได้รับการซื้อไป เพื่อนำมาปรับปรุงและดำเนินกิจการต่อไป ด้วยประโยชน์จากตลาดที่คู่แข่งลดลงและอ่อนแอ ผนวกกับความสามารถของผู้บริหารซึ่งได้รับการคัดเลือกมาแล้วว่าแข็งแกร่งแม้ ในภาวะวิกฤต ทั้งหมดย่อมช่วยให้สินทรัพย์ชั้นดีนั้นเติบโตขยายงานอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดสามารถกลับมาชดเชยความมั่งคั่งที่ถูกทำลายไปในช่วงฟองสบู่แตกได้ สำเร็จอย่างรวดเร็ว

      ยังไม่นับว่า ทุกรอบวิกฤตได้เกิดการพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ขึ้น มา และจนถึงทุกวันนี้ระบบเศรษฐกิจโลกได้มีความหลากหลายของธุรกิจอย่างมากมาย ภาวะวิกฤตของระบบการเงินโลก ย่อมส่งผลต่อภาคธุรกิจไปทั่วโลก แต่หลายธุรกิจได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน และบางธุรกิจกลับสามารถแสวงหาประโยชน์จากวิกฤตอีกด้วย โดยเฉพาะการ เชื่อมโยงของธุรกิจทั่วโลก ซึ่งในมุมหนึ่งย่อมทำให้วิกฤตลามออกไปเป็นวงกว้าง แต่ในอีกมุมหนึ่งธุรกิจที่เข้มแข็ง สามารถเข้ามาทดแทนและซื้อกิจการจากบริษัทที่ย่ำแย่ได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้ภาวะวิกฤตบรรเทาลง ขณะที่ธุรกิจชั้นเลิศนั้นยังอาจผลิตความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นจากการซื้อกิจการ และนำมาปรับปรุงต่อยอดผสานพลังกับธุรกิจเดิมของตน จึงยิ่งลดทอนความรุนแรงของวิกฤตลงอีกชั้นหนึ่ง ที่สำคัญ ระบบป้องกันความเสี่ยงของธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งหลาย ได้ทำให้ธุรกิจจำนวนหนึ่งได้รับผลกระทบไม่มากนักจากวิกฤติที่เกิดขึ้น
บริบท ที่กล่าวไปทั้งหมด ซึ่งเกิดจากการพัฒนาความซับซ้อนลุ่มลึกของธุรกิจและอารยธรรมมนุษย์ โดยเฉพาะการปฏิวัติข้อมูลข่าวสาร อาจทำให้วิกฤตมีความรุนแรงน้อยกว่าที่คิดและจบสิ้นเร็วกว่าที่คาดได้
      ข่าวร้ายสำหรับผู้สาปแช่งระบบทุนนิยม คือ ระบบนี้มีการปรับตัวและแข็งแกร่งขึ้นทุกวัน แม้จะเผชิญวิกฤตอันหนักหน่วงอย่างในวันนี้ แต่ข่าวดี คือ ระบบทุนนิยมแบบดั้งเดิมตามตำรานั้นได้ล่มสลายไปนานแล้ว เพราะระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันได้มีพลวัตไปไกลกว่าทุนนิยมในอดีตมากมายนัก โดยเฉพาะบทบาทของภาครัฐที่เข้ามาแทรกแซงด้านสวัสดิการสังคมอย่างขนานใหญ่ การเกิดขึ้นของชนชั้นกลางที่มีความรู้ ซึ่งบางครั้งมีบทบาทในองค์กรมากกว่าเจ้าของทุน การเกิดขึ้นของแนวคิดธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่เกิดจากความเมตตาปราณีของนายทุนหรือผู้บริหารที่เป็นชนชั้นกลาง ซึ่งบังเอิญรู้สึกสงสารคนยากจน แต่เกิดจากปฏิสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนของผู้เล่นแต่ละรายในโลกของเรา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ผลประโยชน์ของชนชั้นสูงกลุ่มหนึ่งซึ่งอาจขัดกับชนชั้นสูงอีกกลุ่มหนึ่ง ได้สร้างประโยชน์ให้กับคนยากจน รวมถึงขนาดของบริษัทและตลาดที่กว้างใหญ่ขึ้น ทำให้การสร้างธรรมาภิบาล ความน่าเชื่อถือใน Brand หรือแม้กระทั่ง CSR ได้ให้ผลประโยชน์ตอบแทนต่อบริษัทมากกว่ารูปแบบการทำธุรกิจแบบเดิมที่อาจเน้น แต่ผลกำไรระยะสั้นเพียงอย่างเดียว

      แน่นอนว่า การกดขี่ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบยังคงดำรงอยู่ แต่มันได้แปลงรูปเปลี่ยนร่างไปจากเดิมมากมาย บางทีเราอาจต้องมีชื่อเรียกใหม่ให้กับระบบใหม่นี้ และก็ต้องมีคนที่มาตามสาปแช่งระบบใหม่ขึ้นอีก ที่สำคัญ คือ การกดขี่ขูดรีดไม่ได้สถิตย์อยู่ในระบบทุนนิยมเท่านั้น ระบบทั้งหลายในอดีตต่างได้ขูดรีดกดขี่ชนชั้นล่างมาอย่างยาวนาน บางทีอาจจะยิ่งกว่าทุนนิยมด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่เรามองเห็นได้ชัดเจนในวันนี้ คือ ชีวิตความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของมนุษย์มีคุณภาพสูงขึ้นกว่าเดิมอย่างเทียบ ไม่ติด ยิ่งไม่ต้องพูดถึงอิสระเสรีภาพในดำรงชีวิต เสพรับความสุข และการเดินทางไปยังที่ต่างๆทั่วโลก

      ระบบทาสในเรือนเบี้ย ไพร่ติดที่ดิน หรือแม้แต่กรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องทำงานอย่างยาวนานนับ 10 ชั่วโมงได้ผ่านพ้นไปหมดสิ้นแล้ว แน่นอนว่า การทำงานของคนระดับล่าง ยังคงน่าเบื่อและหนักหน่วง แต่ระบบในปัจจุบันยังเปิดโอกาสให้ชีวิตได้เสพสุขจากคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า เดิม ทั้งการลิ้มรสอาหารชั้นดีนอกบ้าน การชมภาพยนตร์ที่มีระบบเสียงยอดเยี่ยม รวมถึงการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อสนทนารื่นรมย์กับเพื่อนฝูง คนรัก และพ่อแม่ ทั้งหมดอาจถูกโจมตีว่าเป็นเพียงการเสพสุขขั้นต่ำ แต่ใครจะเถียงได้บ้างว่า ความสุขเหล่านี้ ในอดีตชนชั้นล่างไม่เคยมีโอกาสได้ลิ้มรสเลย ไม่เคยมีระบบอื่นใดในอดีตที่ให้ประชาชนคนชั้นล่างได้มากเท่านี้ ระบบทุนนิยมที่หลายคนประณามนี้เองที่ได้สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา แน่นอนว่าคงไม่ใช่ความใจดีของใครคนหนึ่ง แต่เป็นผลจากปฏิสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนซึ่งยาวเกินกว่าบทความชิ้นนี้จะ วิเคราะห์ให้เห็น

      ข่าวร้ายยิ่งกว่าสำหรับทั้งผู้ที่ชื่นชอบและผู้ที่คัดค้านระบบทุนนิยมซึ่ง ได้กลายรูปไปจนจำไม่ได้แล้ว คือ ความล่มสลายที่จะนำมาสู่อารยธรรมมนุษย์ทั้งมวล ไม่ใช่เพียงแต่ระบบทุนนิยมเท่านั้น นั่นคือ วิกฤตสิ่งแวดงล้อมที่ทรุดโทรมลงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นผลมาจากระบบทุนนิยม
อีกตัวแปรหนึ่งที่จะนำมาซึ่งความล่มสลายของระบบทุนนิยม คือ สงคราม ซึ่งหากเกิดขึ้นอีกครั้ง โลกของเราอาจล่มสลายได้ เพราะเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการทำลายล้างกว่าเดิม

      แต่ข่าวร้ายที่สุดคือ หากอารยธรรมและทุนนิยมไม่ได้ล่มสลายลงอย่างที่คิด แต่กลับเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นกว่าเดิมภายหลังวิกฤต เหมือนที่เคยเกิดมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว จะต้องมีผู้เคราะห์ร้ายจำนวนมาก ที่ไม่อาจอยู่รอดได้ในระบบที่มั่งคั่งขึ้นนี้ โดยอาจถูกทำร้ายจากวิกฤตในระบบแต่ละครั้ง หรืออาจพ่ายแพ้ในการแข่งขันทั้งในยามปรกติและในยามฟองสบู่เฟื่องฟู ความจริงแล้วถ้าโลกล่มสลายลงเสียเลย ทุกคนคงเลวร้ายเท่ากันหมด ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบกัน แต่กลายเป็นว่า ในระบบทุนนิยมที่พัฒนาตัวเองตลอดเวลานี้ คนจำนวนมากต้องกลายเป็นผู้แพ้ และนี่เป็นเรื่องน่าเศร้าที่สุดในประวัติศาสตร์ตลอดมา คำทำนายอันเลวร้ายของนักคิดทั้งหลายไม่เคยเกิดขึ้นจริง แต่ชะตาชีวิตอันเลวร้ายของผู้แพ้กลับเกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา และคาดว่าจะยาวไกลไปถึงอนาคตกาล
แม้กระนั้น ผู้พ่ายแพ้ในแต่ละรอบของวิกฤตและความเฟื่องฟูนั้น จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าผู้พ่ายแพ้ในรอบก่อนหน้าเสมอ ตามการยกระดับของอารยธรรมตลอดเวลาหลายพันปีที่ผ่านมา แน่นอนว่า ส่วนแบ่งที่ได้รับย่อมไม่น่าอภิรมย์นัก แต่ก็ยังดีกว่าความอดอยากล้มตายของผู้แพ้ในอดีตหลายพันปีที่ผ่านมา
      ข่าวดีที่สุด คือ ผู้ชนะในวันนี้ไม่ได้หมายความว่าในอนาคตจะต้องชนะตลอดไป โดยมีวิกฤตซับไพร์มเป็นตัวอย่างสอนใจที่ดีที่สุด สถาบันการเงินอายุยืนยาวนับร้อยปี และดูเหมือนยิ่งรุ่งโรจน์เรืองรองกว่าเดิมในช่วงฟองสบู่ซับไพร์ม ยังกลับพลิกผันล่มสลายลงในชั่วพริบตาได้ แต่ตราบใดที่อารยธรรมมนุษย์ยังคงยกระดับความมั่งคั่งและคุณภาพขึ้นตลอดเวลา (แม้จะมีช่วงตกต่ำเป็นระยะ) ทุกคนย่อมมีโอกาสที่จะรุ่งเรืองมั่งคั่งขึ้นมาบ้าง แต่ไม่ใช่ทุกคนจะได้รับความสำเร็จ โอกาสยิ่งใหญ่เช่นนี้ จะเกิดขึ้นได้แต่เฉพาะผู้ที่สั่งสมความสามารถ ความรู้ และทีมงานคนเก่งมาอย่างดี ซึ่งย่อมสามารถแสวงหาโอกาสในทุกรอบวิกฤต เพื่อจะกลายเป็นผู้บุกเบิกยุคใหม่ที่ดีกว่าเดิม



ความล่มสลายของระบบทุนนิยมโลก ? ตอนจบ (ตีพิมพ์ใน “มติชนสุดสัปดาห์”) | Siam Intelligence Unit

ความล่มสลายของระบบทุนนิยมโลก ? ตอนที่ 1


ความล่มสลายของระบบทุนนิยมโลก ? ตอนที่ 1 (ตีพิมพ์ใน “มติชน” สุดสัปดาห์)

December 11, 2008

จารึกโดย
เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์
ภาพจาก http://www.bloggang.com
 

      การทำนายถึงความล่มสลายในอารยธรรมมนุษย์ มีประวัติศาสตร์มายาวนาน แต่จนบัดนี้ มนุษยชาติยังดำรงอยู่อย่างปลอดภัยแม้จะเผชิญวิกฤตและความทุกข์ยากในบางครั้ง คราว

หากมีการเปิดบ่อนพนันเพื่อรับแทงความล่มสลายของโลก เจ้ามือคงร่ำรวยมหาศาล จากคำทำนายที่ผิดพลาดนับครั้งไม่ถ้วน
      การล่มสลายของอาณาจักรโรมัน จักรวรรดิยิ่งใหญ่แรกสุดของโลก ได้ส่งผลสะเทือนเลื่อนลั่นต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนเกือบครึ่งค่อนโลก แม้กระนั้น ชาวจีนในอีกซีกโลกหนึ่ง ยังคงดำรงอารยธรรมไปได้อย่างปกติสุข ถึงแม้จะมีปัญหาและความสับสนวุ่นวายแทรกเข้ามาเป็นระยะ แต่สุดท้าย ระบบสังคมการเมืองจีนกลับสามารถยืดหยุ่นปรับตัวเข้าสู่ระเบียบใหม่ในราชวงศ์ ใหม่ ฟื้นคืนความสงบสุขรุ่งเรืองได้ ครั้งแล้วครั้งเล่า
      ยิ่งกว่านั้น ยุคสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ Renaissance ที่เป็นรากฐานการพัฒนาวิทยาศาสตร์และอารยธรรมใหม่ให้กับชาวยุโรป และนำพาไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่เปลี่ยนชีวิตมวลมนุษยชาติไปอย่างไม่มีวันหวนกลับนั้น ยังอาจกล่าวได้ว่า คือ ผลสืบเนื่องจากความล่มสลายของอาณาจักรโรมัน ที่ได้พัฒนาจนถึงจุดสูงสุด จนยากจะก้าวเดินต่อไปได้อีก
การพังทลายของระบบเก่า จึงกลายเป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับการเกิดใหม่ ในยุคสมัย Renaissance อันยิ่งใหญ่
เช่น เดียวกัน ตลอดเวลาร้อยปีที่ผ่านมา ได้มีการทำนายถึงวิกฤตและความล่มสลายของระบบทุนนิยม ซึ่งหลายครั้งดูเหมือนคำทำนายเหล่านั้นจะกลายเป็นความจริง
แต่ในที่สุดระบบทุนนิยมที่กำลังจะล่มสลาย ได้กลับฟื้นตัวขึ้นมา และยังแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม วิกฤตซับไพร์มในปี 2008 ครั้งนี้ ได้ส่งผลสะเทือนพร้อมกันทั่วโลก อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ที่สำคัญ ปริมาณเงินและความเสียหายยังมากมายกว่าครั้งใดๆที่ผ่านมา
ฤาระบบทุนนิยมโลกจะล่มสลายลง ?
      ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ภายหลังการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือการปฏิวัติคลื่นลูกที่ 3 อารยธรรมโลกได้ค้นพบแหล่งสร้างความมั่งคั่งใหม่ที่มีขนาดมหาศาลกว่าครั้งใดๆ ที่ผ่านมา โดยเริ่มตั้งแต่คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต จนกระทั่งถึง iPhone Hi5 FaceBook ซึ่งได้เปลี่ยนวิถีชีวิตวิถีบริโภคไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง แต่ท่ามกลางความดีใจมโหฬาร ได้มีคนกลุ่มหนึ่งซึ่งรู้สึกหวาดกลัวต่อความมั่งคั่งใหม่นี้ โดยมองว่าเป็นเพียง “ฟองสบู่” ซึ่งนายทุนได้ปั่นราคาขึ้นมาจนสูงเกินจริงเท่านั้น

      นิสัยที่แก้ไม่หายของมนุษย์ คือ การพิจารณาสรรพสิ่งอย่างสูงหรือต่ำเกินจริง ใน ภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง คนจำนวนมากย่อมเชื่อมั่นแรงกล้าว่า ทรัพย์สินทั้งหลายต้องพุ่งทะยานสูงขึ้นไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด โดยไม่เคยสะกิดสงสัยเลยว่า มันอาจเป็นเพียง “ฟองสบู่” ซึ่งทุกคนต่างช่วยกันปั่นสร้างสถานการณ์ขึ้นมา ขณะเดียวกัน ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้คนส่วนใหญ่ได้พลิกกลับมุมมอง 180 องศา ก่นประณามด่าทอ ความมั่งคั่งทั้งหลายว่าเป็นเพียงเรื่องหลอกหลวงจอมปลอม โดยไม่เคยกลับมาคิดทบทวนดูว่า ในภาคเศรษฐกิจจริงนั้น เรามีการเติบโตของความมั่งคั่งใหม่มากน้อยเพียงใด สำหรับ ส่วนที่เป็นฟองสบู่ ย่อมต้องเลือนหายไปในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ส่วนที่เป็นความมั่งคั่งแท้จริง ทั้งเทคโนโลยีการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าในอดีต ทั้งการปฏิวัติข้อมูลข่าวสารที่ช่วยลดต้นทุนการผลิต ต้นทุนการขนส่ง และช่วยเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ยังคงเป็นมูลค่าส่วนเพิ่มที่ดำรงอยู่ ท่ามกลางฟองสบู่ที่แตกสลายไป

      วิกฤตฟองสบู่ดอทคอมในราวปี 2000 เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนยิ่ง แน่นอนว่า นักลงทุนได้สูญเสียทรัพย์สินไปมโหฬาร แต่ เราจะเห็นบริษัทชั้นดีมากมายเกิดขึ้นในช่วงวงจรฟองสบู่นี้ เพราะมีแต่โอกาสเช่นนี้เท่านั้น ที่บริษัทเล็กๆแต่มีคุณภาพและนวัตกรรม จะสามารถระดมเงินทุนและเครดิตมาใช้พัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าอย่างเต็ม ศักยภาพ ฉกฉวยประโยชน์จากโอกาสที่เปิดกว้างขึ้น โดยภาวะเอื้ออำนวยเช่นนี้ บริษัทชั้นเลิศจึงเติบโตก้าวกระโดดสร้างความมั่งคั่งแท้จริงมหาศาล แม้นเมื่อฟองสบู่ได้แตกทำลายลง บริษัทชั้นดีทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Yahoo, Amazon, eBay ฯลฯ ยังคงมีความมั่งคั่งที่สูงยิ่ง แน่นอนว่าอาจจะ น้อยลงกว่าในภาวะเฟื่องฟูของฟองสบู่ แต่ย่อมมากกว่าในภาวะก่อนฟองสบู่ ที่สำคัญ ธุรกิจซึ่งรอดพ้นจากภาวะนี้ ย่อมได้รับโอกาสยิ่งใหญ่ภายหลังความล่มสลายของคู่แข่งที่ได้จมหายไปในช่วง ฟองสบู่นั้น

      สินทรัพย์ที่ถูกเทขายเลหลังในช่วงวิกฤต ย่อมมีราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็นในภาวะปกติ แต่สินทรัพย์นั้นยังมีมูลค่าในตัวเอง ไม่ได้ล่มสลายตามเจ้าของไปด้วย ขณะเดียวกัน การเปลี่ยนมือจากเจ้าของเก่าผู้พ่ายแพ้ไปสู่เจ้าของใหม่ผู้ชนะ อาจทำให้การบริหารสินทรัพย์เหล่านั้นเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้ทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจได้รับการจัดสรรดีขึ้น เช่นเดียวกัน ภาคธุรกิจที่ล่มสลายไป ย่อมเปิดโอกาสให้ผู้เล่นรายใหม่ได้รับโอกาสแสดงฝีมือ สำหรับผู้เล่นเก่าที่มีความสามารถในการแข่งขันและเอาตัวรอดได้มากกว่าในภาวะ วิกฤต ย่อมได้รับประโยชน์จากการล่มสลายของคู่แข่งที่ด้อยกว่า ซึ่งในภาวะปกติ ยังสามารถอยู่รอดได้ แต่ในภาวะวิกฤตที่เรียกร้องความสามารถในการบริหารจัดการ การวางยุทธศาสตร์ การสร้างคุณค่ามูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ ย่อมสามารถคัดเลือกคุณภาพของผู้เล่นที่ดีออกจากผู้เล่นที่ไม่ดี ดังนั้น สังคมจะได้ประโยชน์จากการจัดสรรนี้ แม้ในระยะสั้นอาจต้องเผชิญความเจ็บปวดบ้างก็ตาม

      แนวคิดนี้อาจคล้าย “เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิค” แต่ความต่างคือ ในอดีตนั้น เศรษฐกิจมีความสามารถในการปรับตัวช้า ดังนั้น หากปล่อยให้กลไกตลาดปรับสมดุลระหว่างผู้แพ้ที่มีประสิทธิภาพต่ำไปสู่ผู้ชนะ ที่มีประสิทธิภาพสูงผลกระทบต่อประชาชนย่อมขยายไปในวงกว้าง แต่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยข่าวสารที่รวดเร็วฉับไว ทำให้การถ่ายโอนสินทรัพย์ การสร้างระบบบริหารจัดการใหม่ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ผลกระทบต่อสังคมจึงลดลง ยิ่งกว่านั้น รัฐบาลยังดำเนินการแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเพื่อผ่อนคล้ายวิกฤตได้อย่างชาญฉลาด ด้วยข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์กว่าเดิม อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่าน มา ที่สำคัญ การแทรกแซงนั้นมีความรวดเร็วกว่าในอดีตมากมาย ดังจะเห็นได้จากบทบาทของFedหรือ ธนาคารกลางสหรัฐ (เทียบได้กับ แบงค์ชาติของไทย) ที่มีต่อวิกฤตซับไพร์ม ซึ่งหากเดินเกมส์ผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ย่อมนำมาซึ่งความเสียหายมหาศาล แต่ การที่ Fed จะทำเช่นนี้ได้ จะต้องมีระบบข้อมูลที่ดี มีความเข้าใจในกลไกอันซับซ้อนทางเศรษฐกิจ ซึ่งจากประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน ทำให้ Fed สามารถสร้างผลงานยิ่งใหญ่นี้ได้

      สำหรับประเทศไทย ภายหลังวิกฤต 2540 แม้จะมีการโจมตีถึงระบบทุนนิยมพวกพ้อง จนถึงความผิดพลาดของ IMF แต่กระนั้น เศรษฐกิจไทยได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วกว่าที่คาด จนบางคนรู้สึกว่าประเทศไทยเสียหายไม่มากนัก ที่เป็นเช่นนี้ เพราะสินทรัพย์ได้รับการถ่ายโอนไปสู่ผู้เล่นรายใหม่อย่างรวดเร็ว มีการเติบโตของธุรกิจ SMEs มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการสมัยใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มธนาคาร ซึ่งบางคนอาจมองโลกในแง่ร้ายว่า โดนต่างชาติซื้อกิจการไปหมดสิ้นแล้ว แต่ต้องไม่ลืมว่า ชาวต่างชาติย่อมฉลาดพอที่จะไม่เข้าแทรกแซงการดำเนินงาน จนได้รับการต่อต้านขนานใหญ่จากประชาชน และตราบใดที่ธุรกิจไทยยังคงดำเนินไปด้วยดี ต่างชาติกลับต้องนำความรู้และเทคโนโลยีมาสนับสนุนธุรกิจที่ตนซื้อเข้ามา เพื่อให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์และบริการชั้นเลิศ อันจะนำไปสู่ผลกำไรให้กับตนเองที่ได้เข้ามาถือหุ้นในกิจการนั้น และแน่นอนว่า คนไทยจำนวนมากย่อมได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน เพราะธุรกิจธนาคารและธุรกิจอื่นที่ต่างชาติได้เข้ามาช่วยปรับปรุงนั้น สามารถตอบสนองความต้องการทั้งหลายได้ดีกว่าเดิม ยังไม่นับผลตอบแทนที่คนไทยได้รับผ่านการจ้างงานและการเข้าร่วมลงทุนในบริษัท เหล่านั้น
ในโลกอันสลับซับซ้อน กฏการคัดเลือกทางธรรมชาตินั้น ย่อมไม่ใช่เพียงความสามารถในเชิงการต่อสู้ และพัฒนาคุณภาพในตัวเองเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นปรับตัว หรือแม้กระทั่งโชคชะตาซึ่งอาจช่วยเหลือได้บ้างในระยะสั้น สำหรับ วิกฤตซับไพร์มครั้งนี้ ประเทศไทยกลับได้รับผลกระทบทางตรงไม่มากนัก ส่วนหนึ่งเพราะความเจ็บปวดจากวิกฤตในปี 2540 ยังคงติดตรึงในความทรงจำ ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายมีความระมัดระวังตรวจสอบในเรื่องการลงทุนเป็น พิเศษ หรือบางที เราอาจไม่เก่งกาจเพียงพอที่จะเข้าใจสมการอันซับซ้อนของซับไพร์ม จึงไม่ได้เข้าไปร่วมลงทุนในตราสารชนิดนี้ ที่สำคัญ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา บ้านเมืองเราประสบปัญหาทางการเมือง ทำให้นักธุรกิจยังไม่กล้าขยับขยายการลงทุนมากนัก สิ่งที่น่าจะเป็นข้อเสียจึงกลับกลายเป็นข้อดีได้อย่างเหลือเชื่อ ประเทศไทยจึงรอดตัวจากวิกฤตนี้มาได้อย่างหวุดหวิด

      แต่สิ่งสำคัญกว่านั้น คือ การแสวงหาโอกาสท่ามกลางวิกฤต ที่เหล่าประเทศมหาอำนาจกำลังประสบภาวะล่มสลาย ถ้าหากไทยฉกฉวยประโยชน์ในช่วงนี้ไม่ได้ ย่อมจะนำมาซึ่งวิกฤตการณ์ในอนาคต เมื่อมหาอำนาจทั้งหลายฟื้นตัวและกลับมาครอบครองสนามแข่งขันทางธุรกิจในอีก วาระหนึ่ง ตัวอย่างในประวัติศาสตร์ คือ ประเทศจีน ซึ่งเผชิญวิกฤตมากมายรุมเร้าอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยความยืดหยุ่นในการปรับตัว จึงสามารถรักษาความสงบสุขในสังคมได้อย่างยาวนาน ไม่แตกสลายล่มจมเหมือนชาวโรมัน ซึ่งแม้จะสร้างอารยธรรมยิ่งใหญ่ไว้มากมาย แต่กลับต้องประสบภาวะบ้านเมืองแตกสลายนานนับพันปี อย่างไรก็ตาม ชาวจีนกลับไม่สามารถฉกฉวยประโยชน์จากการเป็นอารยธรรมที่อยู่รอดปลอดภัยมาใช้ ในการพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวกระโดดจนชาติเพื่อนบ้านที่ล่มสลายไม่มีวันตาม ทันได้ ในที่สุด เมื่อชาวยุโรปได้ฟื้นฟูตนเองขึ้นมา หยิบยืมความรู้จากชาวกรีก-โรมัน พัฒนาปฏิวัติอุตสาหกรรมได้สำเร็จ ชาวจีนที่เคยภูมิใจในอารยธรรมที่ต่อเนื่องยาวนานนับพันปีของตน ก็กลับต้องยอมสยบภายใต้แสนยานุภาพทั้งทางการทหารและเศรษฐกิจของชาติตะวันตก นานนับร้อยปี ก่อนที่จะยืนหยัดพัฒนาตนเองจนทัดเทียมผู้อื่นได้ในไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาต้นทุนความเจ็บปวดที่ไม่รู้จักฉกฉวยประโยชน์ พัฒนาตนเองให้เติบโตแข็งแกร่ง ย่อมมีราคาที่สูงยิ่งนัก



ความล่มสลายของระบบทุนนิยมโลก ? ตอนที่ 1 (ตีพิมพ์ใน “มติชน” สุดสัปดาห์) | Siam Intelligence Unit

ปรากฏการณ์ตื่นทองคำของคนไทยในยุคปัจจุบัน


ปรากฏการณ์ตื่นทองคำของคนไทยในยุคปัจจุบัน

โดย ชวินทร์ ลีนะบรรจง, สุวินัย ภรณวลัย

15 ธันวาคม 2553 15:40 น.
ภาพจาก :http://www.thailandonlinefocus.com


“กู รู้” ทั้งหลายบอกว่าไม่ได้แล้ว ทุกท่านต้องมีทองคำเก็บเอาไว้เพราะราคาจะพุ่งไปไกลกว่าที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบัน เห็นไหมว่าจาก 12,000 เป็น 15,000 จนกลายมาเป็น 20,000 บาท

“กูไม่รู้” จึงอยากจะเตือนว่าการตื่นทองคำด้วยการเก็งกำไรของคนไทยในยุคปัจจุบันนั้นล่อแหลมขนาดไหน

ในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า คนไทยเข้าสู่ยุคตื่นทองคำหรือGold Rush มากกว่ายุคสมัยที่ผ่านมาทั้งหมด แต่มิใช่เป็นยุคตื่นทองคำเพราะไปเจอเหมืองทองคำแต่อย่างใด หากแต่เป็นยุค สมัย “ทองคำของคนโง่” หรือ Fool’s Gold ที่สามารถก่อให้เกิดภาวะฟองสบู่ในทองคำได้โดยง่ายมากกว่า ล่อแหลมขนาดไหนลองมาดูกัน

ทองคำแม้จะถูกยอมรับนับถือว่าเป็นโลหะที่มีค่ามาตั้งแต่ยุคโบราณ ทั้งนี้น่าจะเนื่องมาจากคุณลักษณะทางกายภาพคือเป็นโลหะที่สามารถนำมาขึ้นรูป ทรงต่างๆ ได้ง่ายเพราะมีความอ่อนตัว ไม่เป็นสนิม เป็นมันแวววาวเมื่อได้รับการขัดถู และเป็นแร่ธาตุที่หาได้ยากทำให้มีการค้นพบตามธรรมชาติในปริมาณที่จำกัด แต่มูลค่าที่แท้จริงหรือ intrinsic value ของมันกลับมีน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำ หรืออากาศ

อาจ มีแม่ยกทองคำผู้ที่หลงใหลในทองคำออกมาโต้แย้งทันทีว่า ถ้าทองคำมีมูลค่าที่แท้จริงน้อยกว่าน้ำหรืออากาศ ทำไมราคาน้ำหรืออากาศจึงมีราคาต่ำใกล้เคียงของฟรีไม่สูงเท่ากับทองคำที่เป็น อยู่ในทุกวันนี้

ดูก่อนแม่ยกทองคำทั้งหลาย การกำหนดราคาสินค้าวัตถุใดใต้หล้านั้น ล้วนแล้วแต่กำหนดมาจากความหายากง่ายเป็นประการสำคัญ หาได้ขึ้นอยู่กับประโยชน์ใช้สอยอันเป็นที่มาของมูลค่าที่แท้จริงแต่เพียง อย่างเดียวไม่

ทองคำ 1 กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหรืออากาศในปริมาณเดียวกันจึงหาได้ยากกว่า แต่มิได้หมายความว่าประโยชน์โดยรวมของทองคำ 1 กิโลกรัมนั้นจะมีมากกว่าน้ำหรืออากาศ เพราะน้ำและอากาศมีจำนวนที่มากกว่าทองคำ ดังนั้นจึงสามารถหามาได้ง่ายกว่า ราคาต่อหน่วยจึงต่ำกว่า แต่หากต้องไปติดอยู่ในเรือดำน้ำหรือกลางทะเลทราย ความยากในการได้มาซึ่งน้ำหรืออากาศจะทำให้ราคาน้ำหรืออากาศแพงกว่าทองคำ เพราะมนุษย์หากต้องการมีชีวิตก็ขาดซึ่งน้ำและอากาศไม่ได้ เหมือนดั่งเทพเทือกขาดซึ่งเนวินผู้มีพระคุณไปไม่ได้เช่นกัน

ดัง นั้นราคาทองคำในปัจจุบันที่สูงขึ้นมาเรื่อยๆ จึงเป็นเพราะเหตุผลของการเก็งกำไรหรือ speculation เป็นประเด็นสำคัญมากกว่าประโยชน์ใช้สอยที่ได้จากทองคำ อย่าได้หลงผิดไปกับการโฆษณาว่าการซื้อทองคำโดยไม่มีการแปรรูปเป็นการลงทุน หรือ investment หากซื้อเป็นทองคำแท่งและนำมาแปรรูปทำเป็นทองคำรูปพรรณออกขายภายหลัง นั่นคือการลงทุนเพราะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มในปริมาณทุนหรือ capital ที่ใส่แรงงาน และหรือเครื่องจักรในการผลิตเพิ่มเข้าไปเพื่อแปรรูป ต่างกันอย่างมากกับการเก็งกำไรที่ซื้อทองคำเข้ามาในสภาพใดก็ขายออกไปในสภาพเดิมที่ซื้อมา แสดงว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทุนเพิ่มเข้าไปในทรัพย์สิน (ทองคำ) ที่ซื้อเข้ามาแต่อย่างใด จะเรียกว่าลงทุนในทองคำได้อย่างไร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะตรวจสอบโฆษณาที่ปรากฏตามสื่อว่าหลอกลวงเป็นเท็จหรือไม่กับผู้บริโภค?

ประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่ผ่านมาได้บอกเล่าเรื่องราวของการเก็งกำไรโดยอาศัย วัตถุต่างๆ เป็น veil of value มากมายหลายกรณี เช่น ดอกทิวลิบสีดำในเนเธอร์แลนด์ หรืออสังหาริมทรัพย์ในหลายๆ ประเทศไม่ว่าจะเป็น ฮ่องกง ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ประเทศไทยก็เคยมีประสบการณ์มาก่อน เมื่อราคาเพิ่มขึ้นก็ย่อมต้องมีจุดสูงสุดก่อนที่จะตกลงไป เปรียบได้กับภาวะฟองสบู่ที่เมื่อฟองนั้นลอยโผล่พ้นผิวน้ำขึ้นมาเมื่อใดก็จะ แตกออกเมื่อนั้น

ในปัจจุบันข้ออ้างประการเดียวของการปลุกปั่น ความโลภให้คนเข้ามาซื้อทองคำก็คือ การเป็นทรัพย์สินที่ใช้เก็บไว้ซึ่งความมั่งคั่งในยามที่เงินดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง เพราะไม่ว่าจะถือดอลลาร์สหรัฐในรูปแบบของเงินฝากหรือหุ้นที่ออกในหน่วยนับ เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าของหลักทรัพย์ต่างๆ เหล่านั้นก็จะเสื่อมค่าลงไปตามมูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ

ด้วยดอลลาร์สหรัฐที่ถูกใช้เป็น ”เงินของโลก” ที่ใช้เพื่อชำระราคาเมื่อเกิดธุรกรรมอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลาเกือบ 1 ศตวรรษนับจากข้อตกลงที่ Bretton Woods เป็นต้นมา การหาเงินสกุลอื่นไม่ว่าจะเป็น หยวน เยน หรือยูโร มาทดแทนก็ไม่สามารถทำได้โดยง่าย ในทำนองเดียวกันการเปลี่ยนมาเก็บความมั่งคั่งจากดอลลาร์สหรัฐมาเป็นเงินสกุล อื่นๆ ก็ไม่สามารถทำได้โดยง่ายเช่นกัน

สาเหตุก็เพราะไม่มี ปริมาณของเงินสกุลอื่นในตลาดระหว่างประเทศจำนวนมากพอที่จะให้คนในโลกเข้ามา ถือเพื่อทำธุรกรรมหรือรักษาความมั่งคั่งเอาไว้แทนดอลลาร์สหรัฐที่ตนถืออยู่ ได้นั่นเอง

เงินบาทและทองคำจึงเป็นเป้าหมายของคนที่มีดอลลาร์สหรัฐอยู่ในมือที่ต้องการ เก็บรักษาความมั่งคั่ง ค่าเงินบาทและราคาทองคำในตลาดโลกจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับดอลลาร์สหรัฐที่มีค่าตกลงไปเรื่อยๆ

แต่ดูก่อน คนไทยที่มีรายรับเป็นเงินบาทซึ่งนับวันจะแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ หากจะเข้าไปถือทองคำก็ควรระลึกอยู่เสมอในใจตลอดเวลาว่าระหว่างเงินบาทกับ ทองคำสิ่งใดมีความเสี่ยงมากกว่ากัน เพราะผลตอบแทนย่อมต้องมาพร้อมกับความเสี่ยงเสมอ

ความเสี่ยงในที่นี้ก็คือความผันผวนในราคานั่นเอง อย่าลืมว่าค่าเงินบาทชั่วๆ ดีๆ ก็ยังมีรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาดูแลไม่ให้ราคาผันผวนมากนัก แต่ทองคำละใครจะเป็นผู้ดูแล? การ คาดการณ์แต่ในด้านดีเพียงลำพังอย่างเป็น “มายาคติ” ว่าทองคำนั้นมีแต่ราคาขึ้นไม่มีวันที่ราคาตก ดูจะเป็นการหลอกตัวเองแบบนกกระจอกเทศหรือไม่ที่เอาแต่เพียงหัวไปซุกไว้ในรู ก็เชื่อว่าปลอดภัยแล้วจากเสือที่จะมาทำร้าย เพราะเมื่อราคาขึ้นได้ทำไมราคาตกไม่ได้

ตัวอย่างก็มีให้เห็นอยู่มากมาย เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1989 ดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่อยู่ในระดับประมาณ 39,000 เยนก็ถูกโบรกเกอร์ยักษ์ใหญ่ เช่น โนมูระที่ล้มละลายไปแล้ว บอกดังๆ ให้ลูกค้าฟังว่าจะขึ้นไปถึงระดับ 40,000 เยน ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมาก็คือดัชนีตลาดหุ้นญี่ปุ่นไม่เคยขึ้นไป ถึง ซ้ำร้ายยังตกลงถึงระดับต่ำกว่า 10,000 เยน และขึ้นๆ ลงในระดับ 10,000 - 20,000 เยน มากว่า 10 ปีแม้จนกระทั่งปัจจุบัน เช่นเดียวกับวิกฤตเงินกู้ต่ำกว่าระดับหรือ sub-prime crisis ในสหรัฐฯ เมื่อเร็วๆ นี้ที่เกิดจากการเก็งกำไรในราคาบ้านทั้งจากผู้กู้และผู้ให้กู้ที่ต่างก็หลอก ตัวเองด้วย “มายาคติ” ว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้านไม่มีวันตก การปล่อยให้ผู้กู้ต่ำกว่าระดับที่เป็น sub-prime borrowers ไปซื้อบ้านหลังที่ 2 หรือมากกว่านั้นจึงมีความเสี่ยงต่ำเนื่องจากมีทรัพย์สินคือบ้านที่เชื่อว่า ราคาตกยากเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่เป็นตัวอย่างเพราะ ราคาก็ตกลงต่ำกว่าที่เคยเป็นได้

แต่ก็เป็นเรื่องน่าแปลกที่ หน่วยงานในประเทศไทย เช่น คณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือ กลต.กลับส่งเสริมไปในทิศทางเพื่อการเก็งกำไรมากกว่า ไม่ว่าจะมีการตั้งกองทุนรวมเพื่อไปเก็งกำไรในทองคำที่ไม่เกี่ยวข้องกับการ ผลิตหรือแปรรูป หรือการเปิดให้มีการซื้อขายอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับทองคำ ทั้งๆ ที่จะมีผู้ผลิตในประเทศที่ใช้ทองคำเป็นวัตถุดิบสักกี่รายที่มีความจำเป็น ต้องป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนในราคาทองคำเมื่อเปรียบเทียบกับอนุพันธ์ ที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าจะมีผู้ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อปกป้องความ ผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนมากกว่า กลายเป็นที่ควรมีก็ดันไม่มี แต่ไปมีในสิ่งที่ไม่จำเป็น กลต.ควรจะตระหนักให้ดีกว่านี้!

ในภาพที่กว้างขึ้นมา สาเหตุ ที่เป็นต้นตอประการหนึ่งของการเก็งกำไรและการเกิดภาวะฟองสบู่แตกที่ผ่านมาก็ คือผลตอบแทนจากการฝากเงินในสถาบันการเงินต่ำกว่าเงินเฟ้อที่เป็นอยู่ ซึ่งส่งผลให้ผู้มีเงินออมต่างก็ขวนขวายหาแหล่งพักพิงให้กับเงินออมของตนเอง แทนการฝากเงินกับสถาบันการเงิน

อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันจึงถูก ใช้เป็นเครื่องมือที่ใช้ไปเพื่อการต่อสู้กับเงินเฟ้อและการเก็งกำไรเพื่อมิ ให้เกิดภาวะฟองสบู่แตกมากกว่าที่จะเอาไว้เป็นตัวปรับสมดุลเพื่อให้เงินทุน ไหลเข้าออกประเทศตามที่ต้องการ ธนาคารกลางในปัจจุบันจึงมีหน้าที่หลักในการรักษาเงินเฟ้อที่กระทบต่อความ ผาสุกของประชาชนมากกว่าที่จะสนับสนุนให้มีการเจริญเติบโตอันเป็นหน้าที่ของ นโยบายการคลังของฝ่ายการเมืองมากกว่า และที่ “กูรู้” ทั้งหลายพึงตระหนักก็คือเครื่องมือ เช่น อัตราดอกเบี้ยก็มีขีดจำกัดในการใช้งาน จะใช้ไขควงไปขันน็อตได้อย่างไร

คำถามที่เปิดให้ลองคิดดูเล่นๆ ว่า หากประเทศไทยค้นพบเหมืองทองคำ หรือพบทองคำที่ซ่อนไว้ถ้ำลิเจียจริง ประเทศไทยจะก้าวไปสู่ความมั่งคั่งโชติช่วงชัชวาลบานบุรีศรีบูรพาหรือไม่?

คำตอบก็คือไม่ มี หลายประเทศที่ค้นพบแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เช่น ทองคำ เพชร หรือน้ำมัน แต่ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่ปรากฏในภายหลังก็คือ ระดับการพัฒนาประเทศกับระดับการมีอยู่ของทรัพยากรที่สำคัญดังกล่าวไม่ได้ไป ด้วยกันแต่อย่างใด กล่าวง่ายๆ ก็คือ แม้ประเทศไทยจะพบทองคำที่ญี่ปุ่นมาซ่อนเอาไว้หรือการพบเหมืองทองคำ บ่อน้ำมัน ก็มิได้เป็นเงื่อนไขที่ทำให้ประเทศได้พัฒนาก้าวหน้าแต่อย่างใด ใน ทางตรงกันข้ามมีหลายๆ ประเทศที่ร่ำรวยหรือมีมากในน้ำมัน ทองคำ หรือเพชร แต่ประชากรส่วนใหญ่ก็ยังยากจนอยู่เหมือนเดิมดุจดังต้องคำสาปจากทรัพยากรที่ ค้นพบ

พลเมืองเข้มแข็งจึงไม่ต้องตกใจเพราะเป็นคำถามและคำตอบเดียวกับเมื่อ ค.ศ.1776 ที่ Adam Smith ได้เคยสงสัยและตั้งเป็นคำถามหักล้างแนวคิดของพวก Mercantilism ที่ประเทศในยุโรปส่วนใหญ่ในสมัยนั้นอาศัยการค้าและล่าอาณานิคมเพื่อให้ได้มา ซึ่งโลหะมีค่า เช่น ทองคำ มาไว้ในครอบครองว่าจะทำให้ชาติมีความมั่งคั่งจริงหรือไม่จากหนังสือที่ชื่อ An Inquiry to the Nature and Causes of the Wealth of Nations

การพัฒนาประเทศจึงมิได้เกิดจากการค้นพบในทรัพยากรดังกล่าวแต่เพียงลำพัง ผล ที่ปรากฏอาจเป็นในทางตรงกันข้ามว่า ประเทศที่เป็นต้นแบบการพัฒนาในเอเชียไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน หรือฮ่องกง ต่างก็มีเพียงทรัพยากรคนเท่านั้นที่เป็นหลักในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าว หน้าไปได้

“กูรู้” ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น พิเชียร (อำนาจ) วีระ (ธีระ) บริษัทหลักทรัพย์จัดการทั้งหลาย กลต. และสื่อสารมวลชน พวกคุณมีความรับชอบทางสังคมแค่ไหนในการจะไม่พาคนไปลงเหวแห่งความพินาศด้วย การให้ข้อมูลทำให้เห็นผิดเป็นชอบ ชักจูงให้เห็นว่าการซื้อทองคำเป็นการลงทุนมิใช่การเก็งกำไร


ที่มา :Daily News - Manager Online

1923 บทเรียนเศษฐกิจเยอรมันล่มสลาย


1923 บทเรียนเศษฐกิจเยอรมันล่มสลาย



May 31, '09 4:38 PM
 
      หลัง จากเยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่๑ รัฐบาลweimar ของเยอรมันต้องเซ็นพันธสัญญษแวซายน์เพื่อการลงโทษทางเศษฐกิจ คือจ่ายเงินในฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นจำนวนเงินถึง 6 พันล้านปอนด์ นั้นก็หมายความว่าเยอรมันต้องเป็นหนี้ไปจนถึงปี 1987 เยอรมันจ่ายเงินก้อนแรกไปเป็นถ่านหิน ไม้ และ เหล็ก มีค่าเท่ากับ 2 พันล้านมาร์ค

      ปี 1922 เยอรมันกระเป๋าฉีกครับ ไม่สามารถจ่ายเงินก้อนที่สองให้ฝ่ายสัมพันธมิตร ปัญหาคือฝ่ายสัมพันธมิตรไม่เชื่อ โดยเฉพาะฝรั่งเศส เลยนำทหารฝรั่งเศสและเบลเยี่ยมบุกเมือง Ruhr ของเยอรมันซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของเยอรมันในขณะนั้น ยึดโรงงานเหล็ก ถ่านหิน และทางรถไฟต่างๆ  ซึ่งเป็นการระเมิด Leaque of nations ที่ตกลงกันไว้หลังสงครามโลกสงบ

      รัฐบาล weimar ของเยอรมันตอบโต้โดยสั่งให้แรงงานในเมือง Ruhr ทำการประท้วงฝรั่งเศสที่เข้ายึดครองโดยการหยุดทำงาน ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นเป็นผลให้ 132 คนเสียชีวิต 150,000 คนถูกขับออกจากบ้าน



เนื่องจากRuhr เป็นศูนย์อุตสาหกรรมที่สำคัญมากคับของเยอรมันในยุดนั้น การประท้วงหยุดงานหมายความว่าไม่มีผลผลิต ทำให้เกิดผลกระทบต่อเศษฐกิจของเยอรมันอย่างมาก แถมรัฐบาลยังต้องจ่ายเงินช่วยเหลือแรงงานที่หยุดทำงาน และ ประชาชนอีกแสนกว่าชีวิตที่ไร้ที่อยู่อาศัย ด้วยเหตุนี้รัฐบาลเยอรมันเริ่มถังแตกเข้าไปใหญ่ จนไปถึงการทำสิ่งที่แย่ที่สุดคือการพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ต่างชาติพากันถอนการลงทุนออกจากเยอรมันไป



      พอความมั่นใจของนักลงทุนหมดไป ราคาอาหารสูงขึ้นเพื่อให้ตรงกับเงินเฟ้อ ทุกอย่างก็เสียการควบคุมอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิด Hyperinflation คือ เงินเฟ้อขั้นรุนแรงในเยอรมัน ราคาสินค้าต่างๆก็ปรับตัวสูงขึ้นไปเรื่อยๆจนคนไม่มีเงินพอสามารถซื้ออาหารได้อีกแล้ว

ขนมปังก้อนนึงในขณะนั้นราคาถึง 200,000 ล้าน มาร์ค 

      ผลกระทบของ Hyperinflation ใหญ่มากคับ คนต้องเอาเงินใส่รถเข็นเพื่อมาซื้อขนมปังกันเลยทีเดียว หรือเวลาได้เงินมาแล้วต้องรีบวิ่งไปร้านของของเพื่อเอาเงินไปใช้ก่อนค่าเงิน จะต่ำจนไม่มีค่าอีกแล้ว
เงินถูกโยนลงที่ถนนอย่างไม่มีค่า บางบ้านเอาเงินมาเผาแทนฟืนสะงั้น หรือเด็กเอาเงินมาเล่นเรียงต่อกันเป็นปิรามิด


      คนที่มีผลกระทบน้อยที่สุดคือคนรวย เพราะเป็นมีเส้นสายสามารถหาซื้ออาหารได้ไม่ยาก หรือไม่ก็มีที่ดินเพื่อทำการเพาะปลูกอาหารได้เอง

      คนที่ได้ผลกระทบมากที่สุดคือชนชั้นกลาง ที่หาเช้ากินค่ำ เงินฝากในธนาคารหายไปชั่วข้ามคืน และไม่มีที่ดินเพาะปลูกเหมือนคนร่ำรวย

      รัฐบาล weimar ก็เป็นคนรับบาปไปเต็มๆ เป็นผลให้คนที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะคนชนชั้นกลาง ตัดสินใจร่วมกับพรรคนาซีที่นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก




   
      ในสุดท้ายปี 1923 เยอรมนีได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ชื่อ Gustav Stresemann เข้ามาแก้ปัญหาโดยการสร้างค่าเงินใหม่ชื่อเรนเท่นมาร์ค (Rentenmark) ซึ่งแบ๊คโดย อเมริกันดอลล่าร์ และกู้เงินจากอเมริกาป็นเงิน 200 ล้านดอลล่าร์ เพื่อแก้ปัญหาเศษฐกิจตามแผนของชาวอเมริกันชื่อ Chales Darwes

      สถานะ การณ์ดูเหมือนจะครี่คลายอย่างรวดเร็วรัฐบาลweimar กลับมาได้ความนิยมอีกครั้ง จนเรียกได้ว่าปี 1924-1929 เป็นปีของweimar เลยทีเดียว


ที่มา:http://apophis99.multiply.com

กุญแจ 5 ดอกของการลงทุน


กุญแจ 5 ดอกของการลงทุน


          วันนี้ขอเปลี่ยนบรรยากาศ มาแนะนำหนังสือเกี่ยวกับการลงทุน ที่น่าอ่านสักเล่มหนึ่ง ที่เพิ่งออกวางแผงเมื่อไม่นานมานี้ ชื่อเรื่อง กุญแจ 5 ดอกของการลงทุน แบบเน้นคุณค่า แปลมาจากต้นฉบับชื่อ 5 Keys to Value Investing เขียนโดย J. Dennis Jean-Jacques ผู้เรียบเรียงคือ คุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข ซึ่งที่ผ่านมา มีผลงานแปลหนังสือ เกี่ยวกับการลงทุน แบบเน้นคุณค่าออกมาหลายเล่มด้วยกัน
          J. Dennis Jean-Jacques เคยทำงานเป็นนักวิเคาระห์ของ Fidelity Investments สำนักการลงทุนแห่งเดียวกับเซียนหุ้นบรรลือโลก ปีเตอร์ ลินซ์ (Peter Lynch) ก่อนที่จะย้ายมาทำงานร่วมกับ ไมเคิล ไพรซ์ (Michael Price) ที่กองทุน Mutual Series Fund ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสุดยอดกองทุนแบบเน้นคุณค่าแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ผู้เขียนเริ่มต้นทำงานในตำแหน่งนักวิเคราะห์ของกองทุนแห่งนี้ จากนั้นก็ได้เลื่อนมาเป็นผู้จัดการกองทุน หลังจากที่ ไมเคิล ไพรซ์ ได้เกษียณตัวเองจากการบริหาร
การดำเนินงานของ Mutual Series Fund จะเน้นไปที่การหาหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สินมากๆ หลักการลงทุนของ กองทุนแห่งนี้จะเน้นไปที่การตรวจสอบงบการเงิน โดยเฉพาะตรวจสอบ ‘งบดุล เป็นหลัก คล้ายๆ กับการลงทุนของต้นตำรับอย่าง เบนจามิน เกรแฮม
           ดังที่ ไมเคิล ไพรซ์ กล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า อย่างแรก ราคาหุ้นของบริษัทจะต้องอยู่ในระดับที่มีส่วนลดจากมูลค่าทรัพย์สิน อย่างที่สอง ผู้บริหารต้องถือหุ้นของบริษัท ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น อย่างสุดท้าย งบดุลของบริษัทต้องสะอาดหมดจด มีหนี้สินน้อย ซึ่งนั่นจะชี้ว่า ความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทอยู่ในระดับต่ำ หากคุณดูทั้งสามสิ่งนี้ คุณจะได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจ
           นอกเหนือจากนั้น ไมเคิล ไพรซ์ ยังกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างการลงทุนของเขา กับการลงทุนของวอร์เรน บัฟเฟตต์ อีกว่า วิธีการไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือแนวคิด  บัฟเฟตต์จะเด่นในเรื่องการเสาะหาธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่าง ยั่งยืน เราไม่เก่งในเรื่องนั้น เราจะมองหาคุณค่า
           การลงทุนของ Mutual Series Fund ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ ไมเคิล ไพรซ์อย่างมาก โดยเฉพาะที่ผ่านมา การตัดสินใจการลงทุนทั้งหมดจะมาจาก ไมเคิล ไพรซ์ เพียงคนเดียว และกองทุนแห่งนี้ก็ได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจในระยะยาว
           ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้กล่าวถึงคำถาม 5 ข้อที่นักลงทุนควรจะพิจารณาเพื่อประเมินความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุนของตน กฎเกณท์เหล่านี้ เรียกว่า กุญแจ 5 ดอก ซึ่งนักลงทุนสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์การลงทุนของตนเองได้เป็นอย่างดี
           กุญแจ 5 ดอกของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า สามารถสรุปคร่าวๆ ได้ดังต่อไปนี้
           กุญแจดอกที่หนึ่ง: บริษัทนี้เป็นบริษัทที่ดีหรือไม่
ในหนังสือเล่มนี้จะอธิบายถึงการค้นหาข้อมูลการวิเคราะห์ธุรกิจและอุตสาหกรรม ของบริษัทนั้นๆ ว่าจะสามารถหาข้อมูลได้จากแหล่งใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือรายงานประจำปีของบริษัท หรือจากบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ รวมถึงการวิเคราะห์ตัวบริษัทที่จะลงทุนเองด้วยวิธีการวิเคราะห์ตามแนวนิ่ง (Vertical Assessment Approach), การวิเคราะห์ส่วนประกอบของอัตราส่วนกำไรต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE Decomposition approach) และการวิเคราะห์กระแสเงินสด (Cash-flow Based Approach)
นักลงทุนสามารถนำการวิธีการวิเคราะห์ที่กล่าวถึงไปใช้ในการวิเคราะห์บริษัท ที่จะลงทุนได้ เพื่อตรวจสอบว่าบริษัทที่จะลงทุนเป็นบริษัทที่ดีหรือไม่ รวมทั้งในหนังสือยังมีตัวอย่างการบริษัท ที่ผู้เขียนได้ลงทุนจริงๆ เป็นตัวอย่างประกอบอีกด้วย
           กุญแจดอกที่สอง: มูลค่าที่เหมาะสมของบริษัทนี้อยู่ที่เท่าไหร่
การหามูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นที่จะลงทุน นับว่าเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์เลยทีเดียว หนังสือเล่มนี้จะอธิบายถึงการประเมินหามูลค่าหุ้นด้วยวิธีต่างๆ เช่นที่รู้จักกันดีก็คือ อัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (Price to Earning Ratio หรือ P/E) นอกเหนือจากการอธิบายถึงความหมายของอัตราส่วนดังกล่าวแล้ว ผู้เขียนยังได้กล่าวถึง ข้อดีข้อเสีย ของการใช้ P/E ในการลงทุนอีกด้วยว่ามีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร ตัวอย่างเช่น การเปรียบเทียบ P/E ระหว่างหุ้น จะใช้ได้ดีในธุรกิจที่มีความคล้ายคลึงกัน แต่ถ้าธุรกิจที่นำมาเปรียบเทียบกันนั้น มีโครงสร้างธุรกิจและนโยบายการบัญชีที่แตกต่างกัน การนำ P/E มาเปรียบเทียบกันอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้
เครื่องมือในการประเมินมูลค่าที่อธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้มีมากมาย ทั้งการประเมินมูลค่าเชิงเปรียบเทียบ (Comparision-based), การประมินมูลค่าโดยอิงจากสินทรัพย์ (Asset-based) หรือ การประเมินมูลค่าโดยอ้างอิงจากข้อตกลงซื้อขายที่เคยเกิดขึ้น (Transaction-based)
นักลงทุนสามารถนำเครื่องมือดังกล่าวไปใช้ในการหามูลค่าหุ้นได้ รวมทั้งมีตัวอย่างบริษัทจริงให้ดูเป็นการประกอบคำอธิบาย
           กุญแจดอกที่สาม: ราคาหุ้นของบริษัทอยู่ในระดับที่น่าสนใจหรือไม่
นักลงทุนทั่วไปจะสนใจใน ‘ราคาหุ้น มากกว่าสิ่งอื่นใด โดยเฉพาะจะเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นทั้งจากคอมพิวเตอร์ ทีวี หรือ หนังสือพิมพ์เป็นประจำทุกวัน โดยให้ความสนใจในเรื่องอื่นๆ เป็นลำดับต่อมา แต่ถ้าสังเกตดูจะพบว่า ราคาหุ้นสำหรับการลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้น ไม่ได้เป็น ‘กุญแจดอกที่หนึ่ง แต่อย่างใด  กลับกลายเป็นกุญแจดอกสำคัญรองๆ ลงมา
ราคาหุ้นสำหรับนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า เป็นเพียงการแสดงความจำนงซื้อขายหุ้นเท่านั้น แต่ไม่ได้บอกว่าหุ้นนั้นน่าสนใจหรือไม่ มีประโยคที่น่าสนใจเกี่ยวกับราคาหุ้นจากหนังสือกล่าวไว้ดังนี้
หากราคาหุ้นของทั้งบริษัท A และ บริษัท B ต่างก็มีราคาอยู่ที่ $20 หุ้นตัวไหนจะถือว่าถูก และหุ้นตัวไหนจะถือว่าแพง มีปัจจัยมากมายที่นักลงทุนจะต้องนำมาพิจารณาก่อนที่จะบอกได้ว่า ‘ราคาหุ้น นั้นๆถูกหรือแพง นักลงทุนไม่สามารถพิจารณาแต่ราคาหุ้นโดดๆ เพียงอย่างเดียวได้
ดังนั้นราคาหุ้นนั้นจะอยู่ในระดับที่น่าสนใจหรือไม่จะต้องนำไปเปรียบเทียบ กับปัจจัยอื่นๆ อีกมากโดยเฉพาะกับมูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นนั้นๆ
           กุญแจดอกที่สี่: ตัวเร่ง (Catalyst) ที่มีประสิทธิภาพมีโอกาสเกิดขี้นแค่ไหน
ตัวเร่ง หรือ Catalyst เปรียบเสมือนเชื้อไฟที่สุมเข้ากับกองถ่านที่ทำให้เกิดเปลวไฟลุกโชติช่วงได้ ในทันทีทันใด หากปราศจากเชื้อไฟกองถ่านก็ยังคงเพียงครุกรุ่นอยู่อย่างนั้นตลอดไป ฉันใดก็ฉันนั้น หุ้นที่ไม่มีตัวเร่งอาจจะไม่มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งนักลงทุนอาจจะต้องใช้เวลานานเกินไปที่จะทำผลตอบแทนอย่างที่ได้ตั้งใจไว้
ตามหนังสือกล่าวไว้ว่า มี ‘ตัวเร่ง อยู่สองประเภทคือ ตัวเร่งที่เกิดขึ้นภายในบริษัท (Internal Catalyst) และตัวเร่งจากภายนอกบริษัท (External Catalyst) ผู้เขียนได้ยกเหตุการณ์ต่างๆ ที่แสดงถึงตัวเร่งที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งไว้ค่อนข้างละเอียด พอสมควร ทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงสั้นๆ และ เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะเวลาที่ยาวนานกว่า
           กุญแจดอกที่ห้า: ราคาที่ซื้อให้ส่วนเผื่อความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน
ส่วนเผื่อความปลอดภัย (Margin of Safety) เป็นตัวช่วยกำหนดว่า ราคาหุ้นที่นักลงทุนซื้อมานั้นมีโอกาสในการที่จะขาดทุนมากน้อยเพียงใด แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ส่วนเผื่อความปลอดภัย ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่รับประกันว่านักลงทุนจะไม่ขาดทุนจากการลงทุนนั้นๆ
           ผู้เขียนยังได้ยกตัวอย่างการลงทุนจริงๆ ของกองทุน เป็นกรณีศึกษา เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า ในสถานการณ์จริงๆ นั้น การตัดสินใจในการลงทุนจำเป็นจะต้องนำเหตุการณ์และข้อมูลต่างๆ มาประกอบด้วย แทนที่จะยึดติดอยู่กับการคำนวณและการหามูลค่าหุ้นด้วยวิธีต่างๆ เพียงอย่างเดียว
กุญแจทั้ง 5 ดอกจากหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้นักลงทุนมีความเข้าใจใน ‘การลงทุนแบบเน้นคุณค่า มากขึ้น รวมทั้งสามารถนำวิธีการดังกล่าวไปปฏิบัติได้จริงๆ และจากการแปลที่เรียบเรียงได้ดีโดยคุณพรชัย ทำให้หนังสือเล่มนี้อ่านง่าย แม้กับผู้ที่ไม่เคยลงทุนในตลาดหุ้นมาก่อน
หนังสือราคาเล่มละ 280 บาท ถือว่าเป็น ‘การลงทุนที่คุ้มค่า มากๆ แทนที่จะเสียเงิน ‘ซื้อประสบการณ์ จากการขาดทุนเป็นแสนเป็นล้านบาทในตลาดหุ้น ยอมเสียเงิน ซื้อหนังสือ ราคาไม่กี่ร้อยบาทเพื่อหาความรู้ก่อนเข้าตลาดจะดีกว่า–จบ–
–กรุงเทพธุรกิจ Bizweek ฉบับวันที่ 1 – 7 ตุลาคม 2547–


ที่มา:http://www.thaivi.com/2010/02/170/

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ฟองสบู่น้ำมันแตกแล้ว?


    ฟองสบู่น้ำมันแตกแล้ว?


    สมสกุล เผ่าจินดามุข


    กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : 6 เดือนก่อน หากไปถามคนทั้งในวงการและนอกวงการคงไม่มีใครเชื่อว่า ราคาน้ำมันดีเซลที่พุ่งสูงสุด 44 บาทกว่า เมื่อ 7 กรกฎาคม 2551 จะหล่นมาเหลือ 19 บาทกว่าเช่นเดียวกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นแก๊สโซฮอล์ 95 และ 91 และเบนซินธรรมดาที่ปรับลดลงมาเกินครึ่งหนึ่ง จากราคาสูงสุดเมื่อกลางปี

    มันน่าฉงน หากย้อนพิจารณาราคาน้ำมันที่ต้องใช้เวลา 3 ปีถึงปรับเพิ่มขึ้นมา 1 เท่าตัว แต่ใช้เวลาเพียง 6 เดือนลดลงอยู่ระดับเดียวกับ 3 ปีที่แล้ว

    ไม่นานมานี้ นักวิจัยจากสวิตเซอร์แลนด์ และจีน ศึกษาการปรับตัวของราคาน้ำมันโดยดูเทียบกับอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลกย้อนหลังไป 4 ปี ได้ข้อสรุปที่ตรงกันว่า "พวกเรากำลังอยู่ในช่วงฟองสบู่น้ำมัน"

 
ภาพจาก: http://www.goldhips.com

    ทำไมนะหรือครับ ก็เพราะกราฟแสดงการปรับตัวของราคาน้ำมันฟ้องชัดว่า ราคาน้ำมันพุ่งเร็วกว่าระดับเอ็กซ์โพเนนเชียล พูดอีกอย่าง ก็คือ ราคาน้ำมันช่วงที่ผ่านมาไม่ได้เกี่ยวข้องกับอุปสงค์/อุปทานเลย แต่เป็นเพราะการเก็งกำไรมากกว่า

    เอฟ. วิลเลียม อิงดาลห์ จากโกลบอล รีเสิร์ช เจ้าของงานเขียนเรื่อง Century of War: Anglo-American Oil Politics and the New World Order (PlutoPress), and Seeds of Destruction: The Hidden Agenda of Genetic Manipulation ได้เสนองานวิเคราะห์บนเวบไซต์โกลบอล รีเสิร์ช เรื่อง "เป็นไปได้ที่ 60% ของราคาน้ำมันทุกวันนี้เกิดจากการเก็งกำไร" โดยเชื่อว่าราคาน้ำมันปัจจุบันไม่ได้มาจากความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์กับอุปทาน แต่ถูกควบคุมจากระบบตลาดเงินที่ละเอียดอ่อน และถูกคุมจากบริษัทน้ำมันอังกฤษและสหรัฐรายใหญ่ 4 ราย

"อย่างน้อย 60% ของราคาน้ำมันที่ระดับ 128 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ล้วนมาจากแรงการเก็งกำไรของเฮดจ์ฟันด์ กลุ่มการเงินและนักค้าของธนาคารรายใหญ่ และจากการซื้อขายในตลาดล่วงหน้าอย่างไม่ถูกต้องตามกฎข้อบังคับ ในตลาดลอนดอน ไอซีอี ฟิวเจอร์ส กับตลาดล่วงหน้าไนเมกซ์ รวมถึงการเทรดผ่านอินเตอร์แบงก์กับหน้าเคาน์เตอร์ หรือโอทีซี เพื่อเลี่ยงการถูกตรวจสอบ" อิงดาลห์อธิบาย

    ข้อมูลที่พวกเขานำมาวิเคราะห์นอกจากราคาน้ำมันตั้งแต่ปี 2548 แล้ว ยังนำอัตราแลกเปลี่ยนสกุลดอลลาร์ ยูโร และสกุลหลักอื่นมาประกอบการวิเคราะห์ด้วย เพื่อยืนยันว่า ราคาที่ปรับขึ้นรวดเร็วไม่เกี่ยวกับการอ่อนตัวของเงินดอลลาร์ และยังพอตรวจสอบอุปสงค์และอุปทานน้ำมันทั่วโลก โดยเฉพาะความต้องการใช้น้ำมันในประเทศเศรษฐกิจใหม่อย่างจีนและอินเดีย

    ทั้งนี้เอกสารของ ดร.เคน โคยามา ผู้อำนวยการและสมาชิกคณะกรรมการ หน่วยวิจัยอุตสาหกรรมและการวางแผน จากสถาบันเศรษฐกิจการพลังงานของญี่ปุ่น หรือ ไออีอีเจ หนึ่งในผู้ร่วมงานสัมมนาของธนาคารโลก ซึ่งให้ข้อมูลเรื่อง "ราคาน้ำมันกับตลาดน้ำมันทั่วโลก" วิเคราะห์ที่มาและผลกระทบของการไหลเวียนของเงินทุนที่ไหลเข้าตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมันว่า นอกเหนือจากผู้ซื้อและผู้ขายในอุตสาหกรรมแล้ว ยังมีผู้เล่นรายใหญ่จากตลาดเงินแยกเป็น 3 กลุ่มดังนี้

    กลุ่มแรกกองทุนบำเหน็จบำนาญ (เพนชั่นฟันด์) มีเงินลงทุนในตลาด 16-17 ล้านล้านดอลลาร์ กลุ่มสองกองทุนรัฐมีเงินลงทุน 2-3 ล้านล้านดอลลาร์ และสุดท้ายเฮดจ์ฟันด์มีเงินลงทุนกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งผู้เล่นรายใหญ่ทั้ง 3 รายต่างมีแผนการลงทุนแตกต่างกัน แต่ทั้ง 3 กลุ่มมีจุดประสงค์เดียวกันคือโยกเงินจากตลาดหุ้น ตราสารหนี้และตลาดเงิน ที่หนีปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ปล่อยกู้ลูกค้ามีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพร์ม) ไปหาผลตอบแทนจากตลาดสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมันมากขึ้น
    จากแบบจำลองที่ต่างกัน 3 บริบท ได้ข้อสรุปอย่างเดียว คือ "ฟองสบู่" เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าราคาอนาคตจะสูงขึ้น เลยกระพือให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น โดยไม่มีเหตุผลด้านพื้นฐานรองรับ

    จุดสังเกตที่สำคัญ คือ ปี 2547 และ 2548 อุปสงค์และอุปทานน้ำมันทั่วโลกเพิ่มขึ้นเหมือนกันหมด พอมาต้นปี 2549 อุปทานเริ่มตกลง อีก 2-3 เดือนต่อมาอุปสงค์ลดลงตาม และหลังจากนั้น 6 เดือน ราคาน้ำมันถึงเริ่มลดลง

    ช่วงระหว่างกลางปี 2549 ถึงต้นปี 2550 อุปสงค์กับอุปทานเริ่มผันผวน จากนั้นอุปสงค์ อุปทาน และราคาน้ำมันทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่องทำสถิติสูงสุดรอบใหม่สุดเป็นประวัติการณ์

    ด้าน ศจ.โรเบิร์ต ไวเนอร์ นักวิชาการจาก จอร์จ วอชิงตัน ยูนิเวอร์ซิตี้ ประเทศสหรัฐ เห็นสอดคล้องกับ ดร.โคยามาว่า ตลอดทศวรรษที่ผ่านมาราคาน้ำมันผันผวนมาก ราคาน้ำมันดิบกระโดดจาก 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลช่วงปลายทศวรรษหลังปี 2533 มาอยู่ที่กว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปีนี้

    ทั้งนี้ ศจ.ไวเนอร์ให้ความเห็นในข้อสงสัยกองทุนรัฐมีส่วนเก็งกำไร ดันราคาน้ำมันสูงขึ้นว่า เป็นเรื่องยากในการจับตาติดตามดูปฏิกิริยาของกลุ่มเก็งกำไร และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานใดพิสูจน์ได้ ในเรื่องการเทรดของกลุ่มเก็งกำไรซึ่งเป็นกลุ่มไม่เกี่ยวข้องการค้ากับการพาณิชย์ และจากสถิติการเทรดของกลุ่มผู้จัดการกองทุนในตลาดน้ำมันตอนนี้ยังไม่มาก และอยู่ระดับปานกลาง หมายความว่ากิจกรรมกลุ่มเก็งกำไรเกือบครึ่งหนึ่ง ทั้งการซื้อและขาย 

    ครั้นลองเอาอุปทานและอุปสงค์ล่าสุด (ก.ค.) มาเทียบกัน ก็มาเจอว่าอุปทานสูงเกินกว่าอุปสงค์ถึงครึ่งล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ราคาดันทะลึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่ผ่านมา ดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์ส่งผลต่อราคาน้ำมันน้อยมาก นักวิจัยเลยตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันอย่างมาก น่าจะมาจากที่อื่นที่ไม่ใช่อุปสงค์/อุปทาน

    และได้คำตอบสุดท้าย ว่า เป็นเรื่องของการเก็งกำไร เป็นเพราะการบริโภคข่าวลือหนาหูว่าน้ำมันใกล้หมดโลกทำให้ราคาสูงขึ้น

    ส่วนปัจจัยหนุนอื่น อาจเป็นเพราะนักลงทุนกำลังมองหาผลตอบแทนรายได้สูงสุดจากการลงทุนหลังจากฟองสบู่เศรษฐกิจสหรัฐ แตกไปแล้ว 3 ฟอง (ฟองสบู่อินเทอร์เน็ตปี 2540 ฟองสบู่อสังหาฯ ปี 2549 และปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพปี 2550)

    บางส่วนหันมาเก็งกำไรหลังรัฐบาลสหรัฐยกเลิกกฎระเบียบการค้าน้ำมันล่วงหน้าเมื่อต้นปี 2549 ซึ่งตอนนั้นทำให้เกิดความผันผวนขึ้นช่วงสั้นๆ สุดท้าย นักลงทุนอาจวิตกว่า ค่าเงินดอลลาร์อ่อนอาจกระตุ้นให้คนหันไปทำประกันความเสี่ยงเผื่อราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นในอนาคต

    ตอนนี้อาจพูดไม่ได้เต็มปากว่า ฟองสบู่น้ำมันแตกแล้ว แต่ราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 6 เดือน พอให้ข้อสรุปบางอย่างได้บ้าง

ที่มา:http://www.bangkokbiznews.com
       http://www.nidambe11.net

วิกฤตอิตาลี



วิกฤตอิตาลี


          ปัญหาวิกฤตในยุโรปได้เริ่มลุกลามไปยังประเทศอิตาลี สร้างความผันผวนให้กับตลาดหลักทรัพย์ของทุกประเทศ ยกระดับความกังวลใจของทุกคนกับปัญหาวิกฤตหนี้ภาครัฐในยุโรปเพิ่มขึ้น           ถ้ายังจำกันได้ หลายคนมุ่งหวังว่า วิกฤตภาคการคลังในสหภาพยุโรป น่าจะจบลงที่สเปน และสเปนจะเป็นสงครามด่านสำคัญที่จะช่วยป้องกันไม่ให้วิกฤตลุกลามไปมากกว่า นี้  แต่ล่าสุดดูเหมือนกับว่า ความมุ่งหวังดังกล่าวจะเริ่มเป็นหมัน เพราะนอกจากนักลงทุนจะเริ่มจับจ้องไปที่อิตาลีเพิ่มเติมแล้ว ประเทศอื่นๆ ที่ได้รับการช่วยเหลือไปแล้ว เช่น กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส ก็วนกลับมาเป็นปัญหาให้แก้อีกรอบ

เกิดอะไรขึ้น ทำไมอยู่ๆ ปัญหาจึงลุกลามขึ้น
          ความจริง อิตาลีก็เป็นประเทศที่หลายๆ คน จับตามองอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากมีหนี้ภาครัฐสูงถึง 120% ของขนาดของประเทศ นับว่าเป็นประเทศที่มีหนี้ภาครัฐสูงเป็นอันดับสองรองจากกรีซ ซึ่งการที่มีหนี้สูงขนาดนี้ หมายความว่า ถ้าเกิดอะไรขึ้น อิตาลีก็จะมีปัญหาในการจ่ายหนี้คืนให้กับเจ้าหนี้ รวมทั้งเกิดปัญหาสภาพคล่องได้ง่าย
          ยิ่งอิตาลีเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของสหภาพยุโรป และเป็นประเทศที่มีตลาดพันธบัตรใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก หากเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา ก็จะส่งผลกระทบไปอย่างกว้างขวาง
แต่ที่ทำให้คนกังวลใจก็คือ “อิตาลีจะสามารถดูแลปัญหาด้านการคลัง และสร้างวินัยทางการเงินให้เกิดขึ้น เพื่อให้นักลงทุนคงความเชื่อมั่นในประเทศไว้ได้หรือไม่” เพราะยิ่งนับวัน วิกฤตก็ยิ่งวนเข้ามาใกล้อิตาลีมากขึ้น ยิ่งมีกรณีที่รัฐมนตรีคลังกับนายกรัฐมนตรีของอิตาลีออกมาทะเลาะกันผ่านหน้า สื่อ และหลายคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์แผนการรัดเข็มขัดของอิตาลีที่รัฐนตรีคลังเสนอ ตลาดก็ยิ่งเริ่มกังวลใจ
ท้ายสุด เมื่อถูกซ้ำเติมจากการที่ กลต. ของอิตาลีออกมาเปลี่ยนกฏเกณฑ์ไม่ให้นักลงทุนเก็งกำไรในหุ้นของอิตาลี เมื่อ 10 กว่าวันที่แล้ว รวมทั้ง การลดอันดับเครดิตของประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรป สถานการณ์ที่ล่อแหลมก็เลยกลายเป็นปัญหาที่รุนแรงขึ้น
          ทั้งหมดนี้ ทำให้ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล 10 ปีของอิตาลีก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากประมาณ 4.6% มาเป็นประมาณ 6% และ ดัชนี CDS รัฐบาลอิตาลี 5 ปี เพิ่มจาก 125 จุด เป็น 306 จุดและในวันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีหลักทรัพย์ของอิตาลีลดลงประมาณ 5% ในช่วงเปิดตลาดก่อนที่จะปรับตัวดีขึ้น
หลายคนจึงเริ่มกังวลใจเรื่องอิตาลีมากขึ้น
          อย่างไรก็ตาม ถ้าลองไปดูแล้ว (1) ปัญหาหนี้ของอิตาลีเป็นปัญหาที่เกิดมานานแล้ว ตั้งแต่ปี 2002 ซึ่งปัจจุบันก็อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเดิมที่เคยสูงถึง 122%  (2) อิตาลีเองก็ไม่ได้มีการขาดดุลการคลังสูงมาก คือแค่ประมาณ 4.5% เท่านั้น ซึ่งการขาดดุลส่วนมากมาจากภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายไป ถ้าหักดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายออกไป รัฐบาลก็อยู่ในระดับเกินดุลเล็กๆ (3) การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอิตาลีก็ไม่สูงมากนัก แค่เพียง 3% เท่านั้น
          นอกจากนี้ ตัวเลขด้านเศรษฐกิจของอิตาลีก็อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยอัตราการว่างงานของอิตาลี ก็ขึ้นมาที่ 8% ในปัจจุบันซึ่งไม่สูงมากนักเมือ่เทียบกับในอดีต และเศรษฐกิจของอิตาลีก็เริ่มขยายตัวที่ประมาณ 1%
เรียกได้ว่า มีหนี้ภาครัฐเหมือนกรีซ แต่โดยรวมแล้วดูรับได้
          ในช่วงต่อไป  อิตาลีจะรอดได้หรือไม่จะขึ้นอยู่กับ (1) ตัวของอิตาลีในการแก้ไขปัญหาของตนเอง ซึ่งการที่รัฐบาลอิตาลีสามารถผ่านแผนการรัดเข็มขัดมาได้เมื่อสุดสัปดาห์ ที่ผ่านมา ก็เป็นก้าวแรกที่สำคัญ  และ (2) การแก้ไขปัญหาของสหภาพยุโรปโดยรวม ที่จะหยุดยั้งวัฏจักรที่มาซ้ำเติมให้วิกฤตลุกลาม ที่พัดสะพือจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง วนเวียนไปมา

ที่มา:dr. kobsak

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เล่าเรื่องฟองสบู่ ## Gold Rush, California



## เล่าเรื่องฟองสบู่ ## Gold Rush, California : ตื่นทอง และ 49ERs



การตื่นทองที่แคลิฟอร์เนียใน ค.ศ. 1849 ทำให้ดินแดนทางภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกาขยายตัวอย่างรวดเร็ว และแม้ว่าจะมีการตื่นทองอีกหลายครั้งทางภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกา อาทิ ที่ Colorado Nevada Idaho Montana South Dakota และ Alaska



แต่ยังไม่เคยมีการตื่นทองครั้งใดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาที่สำคัญและมี ชื่อเสียงเท่าการตื่นทองที่แคลิฟอร์เนีย การพบทองของ James William Marshall นักบุกเบิกชาวอเมริกันเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1848 ทำให้นโยบายของสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับดินแดนทางตะวันตกเปลี่ยนไป มาร์แชลล์พบทองโดยบังเอิญที่หุบเขา Coloma บริเวณ South Fork ของแม่น้ำ American ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง Sacramento ขณะรับจ้างสร้างโรงเลื่อยให้ Augustus Sutter ซึ่งอพยพจากสวิตเซอร์แลนด์มาทำไร่ในที่ดินผืนนี้ตั้งแต่แคลิฟอร์เนียยังเป็น ของเม็กซิโก

โรงเลื่อยของ Sutter


James William Marshall


Augustus Sutter


ช่วงแรก ๆ หลังจากพบทองทั้งคู่ตกลงเป็นหุ้นส่วนกัน และพยายามเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นความลับ แต่ข่าวรั่วออกไป ทำให้นักแสวงโชคแถบแคลิฟอร์เนียพากันบุกรุกเข้าไปขุดทองในที่ดินของซัตเตอร์ ในขณะที่คนทางภาคตะวันออกยังคิดว่าเรื่องนี้เป็นเพียงข่าวลือ เนื่องจากดินแดนแคลิฟอร์เนียยังไม่ได้รับการสถาปนาเป็นมลรัฐ การปกครองดูแลดินแดนจึงอยู่ในความดูแลของทหาร ผู้ว่าการทหารจึงเป็นทั้งผู้ปกครองดินแดนและผู้บัญชาการทหารในดินแดนนั้น ด้วย


ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1848 ผู้ว่าการทหาร (military govenor) ของแคลิฟอร์เนียในขณะนั้น Richard Barnes Mason รายงานให้กระทรวงสงครามของสหรัฐอเมริกาทราบว่าทองคำที่ร่อนได้จากแม่น้ำ แซคราเมนโตกับแม่น้ำ San Joaquin มีมูลค่าสูงกว่าค่าใช้จ่ายที่สหรัฐอเมริกาต้องเสียไปในการทำสงครามเม็กซิโก ถึงกว่า 100 เท่าตัว และ ประธานาธิบดี James K. Polk ก็ได้รายงานเรื่องนี้ต่อรัฐสภาสหรัฐอเมริกา พร้อมกับตั้งข้อสังเกตว่าแคลิฟอร์เนียจะทำให้สหรัฐอเมริกามั่งคั่งร่ำรวย จึงเกิดการตื่นทองครั้งใหญ่ทั่วสหรัฐอเมริกา เนื่องจากในเวลานั้นเศรษฐกิจทางภาคตะวันออกของสหรัฐอเมริกากำลังได้รับผล กระทบอย่างหนักจากสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับเม็กซิโกที่เพิ่งสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1848 คนหนุ่มส่วนใหญ่ซึ่งแทบไม่มีโอกาสสร้างตัวพร้อมใจกันเดินทางไปขุดทองที่แคลิ ฟอร์เนียด้วยความหวังว่าจะร่ำรวยกลับมา การพบทองครั้งนี้จึงมีผลทางด้านจิตวิทยาต่อคนอเมริกันในช่วงนั้นเป็นอย่าง มาก





การตื่นทองที่แคลิฟอร์เนียเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ยิ่งใหญ่กว่าการตื่นทอง ครั้งใดๆ ไม่เพียงแต่คนทั่วสหรัฐอเมริกาจะทิ้งครอบครัวเดินทางไปแสวงโชคที่แคลิ ฟอร์เนีย แต่การพบทองที่แคลิฟอร์เนียยังดึงดูดคนจากทุกมุมโลกให้เดินทางมาที่นี่ จนแม้แต่พวกที่ไปไม่ได้ก็ยังร่วมกันตั้งสโมสรขึ้นมาหลายแห่ง เพื่อช่วยกันออกเงินส่งตัวแทนของตนไปขุดหาทองที่แคลิฟอร์เนีย

ปี 1849 เกิดมีพวกนักแสวงโชคซึ่งเรียกกันว่า
นักขุดทองปี 49 หรือ 49ERs
(Forty Niners ที่มาของชื่อทีมอเมริกัน ฟุตบอล San Francisco 49ERs)






49ERs เดินทางไปแคลิฟอร์เนียถึงประมาณ 40,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันจากทุกหมู่บ้านซึ่งพากันทิ้งครอบครัวเดินทางไปแสวง โชคที่แคลิฟอร์เนีย คู่มือนักเดินทาง แผนที่ของแคลิฟอร์เนีย เครื่องมือขุดทอง และโกลโดมิเตอร์ (goldometer) ซึ่งโฆษณาว่าสามารถบอกได้ทันทีว่ามีทองอยู่ตรงไหน จึงมีวางขายแทบทุกหมู่บ้าน

ตรงนี้ในทางเศรษฐศาสตร์การพัฒนา เราเรียกว่า Backward Linkage ครับ เป็นการเชื่อมโยงไปข้างหลัง ได้แก่ ธุรกิจที่เกิดขึ้นมาเพื่อ Support ธุรกิจที่กำลังเติบโต เช่น ธุรกิจเหล็กเติบโต รองรับ ธุรกิจรถยนต์ หรือในกรณีก็เช่นกัน ที่ธุรกิจอุปกรณ์หาทองเติบโต รองรับการตื่นทอง ส่วนการเชื่อมโยงไปข้างหน้าหรือ Forward Linkage ก็พวกร้านเครื่องประดับ ร้านหลอมทอง โรงรับจำนำ เป็นต้น

ตัวอย่างของคนที่ได้รับอานิสงค์จากยุคตื่นทอง และสามารรวยอย่างยั่งยืนได้ คือ Levi Strauss พ่อค้าชาว บาวาเรียน ผู้กำเนิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1829 เขาสูญเสียบิดา เมื่ออายุเพียง 16 ปี หลังจากนั้นเขาเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลพร้อมมารดาและพี่สาว เพื่อมาสมทบกับพี่ชายอีกสองคน ที่บุกเบิกมาตั้งรกรากประกอบธุรกิจขายส่งในนิวยอร์ก เขาแยกตัวออกมาจากครอบครัว เดินทางออกสู่ทำเลของตนเอง ในปี 1853 เขาได้เดินทางจากตะวันออกสู่ตะวันตก ดินแดนที่ครั้งหนึ่งเต็มไปด้วยทองคำล้ำค่าจำนวนมหาศาล แต่ในปีที่เขาเดินทางไปถึงเป็นช่วงที่การขุดทองเริ่มยากมากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายได้ถูกจับจองขุดเอาทองออกไปหมดแล้ว เหลือแต่พื้นที่เข้าไปถึงได้อย่างยากลำบาก ประกอบกับการออกกฎหมายที่เคร่งครัดในการขุดทอง ทำให้นักแสวงโชครุ่นหลังต้องหันไปประกอบการอย่างอื่นแทน


Levi Strauss ไม่ได้มุ่งมั่นเข้ามาขุดทองเหมือนคนอื่นๆ เขาต้องการขยายธุรกิจขายส่งของครอบครัว เขาเริ่มขายทุกอย่างที่เป็นของแห้งตั้งแต่ อาหารแห้ง เสื้อผ้า ร่ม และผ้าเป็นม้วนๆ เป็นต้น นอกจากนั้นเขามีความคิดที่จะขายเต็นท์และผ้าใบคลุมรถให้แก่บรรดา 49ERs แต่ในไม่ช้าเขาพบว่า คนงานเหมืองเหล่านั้นต้องการกางเกงใช้งานที่ทนทานต่องานในเหมืองมากกว่า สินค้าอื่นๆ เขาจึงสั่งวัตถุดิบที่ใช้ในการตัดกางเกง โดยเฉพาะผ้าใบเข้ามาขายให้แก่ร้านตัดเสื้อผ้าในซานฟรานซิสโกเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นตัวแทนของบริษัทในนิวยอร์กจำหน่ายสินค้าส่งอื่นๆ ให้กับพื้นที่ในแคลิฟอร์เนียและตะวันตกของอเมริกา ภายใต้ชื่อบริษัทว่า "Levi Strauss" ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของตำนานกางเกงยีนส์อมตะของโลก

การขุดทองที่แคลิฟอร์เนียในช่วงแรกได้ทองเป็นจำนวนมาก โดยใช้เพียงภาชนะก้นแบนตักดินไปล้างในแม่น้ำที่อยู่ใกล้ ๆ ให้ดินหลุดไปเหลือแต่ผงทองตกอยู่ที่ก้นภาชนะ



การร่อนทองแบบดั้งเดิม



ต่อมาเพื่อให้ร่อนทองได้มากขึ้นจึงใช้พลั่วตักดินใส่รางยาว ๆ แล้วใช้น้ำล้างให้ดินหลุดไปจนหมดเหลือแต่ผงทอง




การขุดทองได้ง่าย ๆ โดยแทบไม่ต้องลงทุนเลยนี้ทำให้คนที่มาที่นี่มือเปล่าร่ำรวยขึ้นได้ในพริบตา ในช่วง 5 ปีแรกของการตื่นทองนักขุดทองสามารถขุดทองได้เป็นมูลค่ารวมกันถึงกว่า 200 ล้าน USD

การพบทองที่แคลิฟอร์เนียมีผลดีต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาหลายด้าน กล่าวคือทำให้ประเทศนี้มั่งคั่งอย่างมาก และยังทำให้ธุรกิจเดินเรือเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะค่าเดินทางและค่าขนส่งสินค้าไปยังแคลิฟอร์เนียในช่วงที่มีการ ตื่นทองจูงใจให้นักธุรกิจชาวอเมริกันหันมาต่อเรือมากขึ้น จนทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นคู่แข่งทางด้านพาณิชย์นาวีของอังกฤษและชาติที่ เป็นนักเดินเรืออื่น ๆ เพราะเรือเหล่านี้ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เดินทางไปแคลิฟอร์เนียเท่านั้น แต่ยังเดินทางไปประเทศจีนเพื่อหาซื้อสินค้าประเภทใบชาและผ้าไหม และเดินทางไปออสเตรเลียเพื่อหาซื้อข้าวสาลีและทองคำด้วย



ในช่วงทศวรรษ 1850 ซึ่งกำลังมีการตื่นทองที่แคลิฟอร์เนียทั้งสหรัฐอเมริกาและอังกฤษซึ่งเป็นคู่ แข่งกันทางการค้า ต่างพยายามหาเส้นทางเดินเรือที่สามารถช่วยให้การเดินทางติดต่อระหว่าง มหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากในช่วงทศวรรษ 1840 ชาวอเมริกันที่เดินทางจากนิวยอร์กไปแคลิฟอร์เนียหากไม่เดินทางทางบกด้วย เกวียนประทุน ก็จะต้องเดินทางอ้อมแหลม Cape Horn ซึ่งอยู่ตรงปลายสุดของทวีปอเมริกาใต้ หรือเดินทางด้วยเรือไปยังคอคอดบริเวณอเมริกากลางซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นดินแคบ ๆ คั่นอยู่ระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรแปซิฟิก จากนั้นจึงเดินทางทางบกข้ามคอคอดดังกล่าว หรือใช้เรือแคนูล่องไปตามแม่น้ำผ่านป่าทึบของอเมริกากลางไปขึ้นเรือที่ Panama City ทางริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก วิธีนี้แม้จะทุ่นเวลากว่าวิธีอื่น ๆ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเช่นเดียวกับการเดินทางอ้อมแหลมฮอร์น และยังต้องเสี่ยงกับโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนสัตว์ร้ายในป่าขณะเดินทางไปเมืองปานามาซิตี

และแม้ประเทศ Colombia ซึ่งขณะนั้นมีอำนาจเหนือคอคอด จะเคยลงนามในสนธิสัญญา Bidlack–Millarino Treaty ตั้งแต่ ค.ศ. 1846 ยินยอมให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาสร้างทางรถไฟข้ามคอคอดดังกล่าวแลกเปลี่ยนกับการ ที่สหรัฐอเมริการับรองอำนาจของโคลัมเบียเหนือดินแดนปานามา แต่ทางรถไฟข้ามคอคอดซึ่งสามารถช่วยให้การเดินทางไปต่อเรือที่เมืองปานามาซิ ตีสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น สร้างเสร็จไม่ทันขนส่ง พวก 49ERs เพราะเริ่มสร้างใน ค.ศ. 1850 และไปสร้างเสร็จใน ค.ศ. 1855 เมื่อกระแสการตื่นทองที่แคลิฟอร์เนียเริ่มจางลงแล้ว



นอกจากนี้ การขยายตัวของการเดินเรือในช่วงที่มีการตื่นทองยังทำให้ภาคพื้นทวีปนี้เติบ โตอย่างรวดเร็ว และแม้การเดินทางทางเรือจากภาคตะวันออกไปภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกาจะเสีย ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเดินทางทางบกด้วยเกวียนประทุน แต่พวก 49ERs จำนวนไม่น้อยก็ยังเลือกเดินทางด้วยวิธีนี้ นักธุรกิจชาวนิวยอร์กหลายคนจึงตั้งบริษัทเดินเรือขึ้นมาจัดการเดินทางให้นัก แสวงโชคที่ต้องการเดินทางไปแคลิฟอร์เนียโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังทำให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเริ่มคิดเรื่องการขุดคลองตรงจุดใดจุด หนึ่งของอเมริกากลางซึ่งมีลักษณะเป็นคอคอด เพื่อให้กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาสามารถเดินทางจากมหาสมุทรแอตแลนติกไปยัง มหาสมุทรแปซิฟิกได้เร็วขึ้น



การตื่นทองมีความสำคัญต่อความเจริญของดินแดนทางภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกา เป็นอย่างมาก เพราะทำให้มีเมืองสำคัญ ๆ เกิดขึ้นทางแถบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง San Francisco ซึ่งกลายเป็นเมืองที่สำคัญที่สุดของแถบชายฝั่งแปซิฟิก เนื่องจากนักบุกเบิกหลายคนเมื่อเดินทางทางเรือมาขึ้นฝั่งที่เมืองนี้แล้ว เล็งเห็นว่าการขายเครื่องมือขุดทองและเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ ให้นักขุดทอง ทำเงินได้มากกว่าโดยเสี่ยงอันตรายน้อยกว่าการขุดทอง จึงปักหลักทำธุรกิจอยู่ ณ ที่นี้





ซานฟรานซิสโกจึงกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าของแถบตะวันตกไกลในเวลาอันรวด เร็วในขณะเดียวกัน การตื่นทองยังมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของแคลิ ฟอร์เนีย ทำให้แคลิฟอร์เนียมีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากประมาณ 15,000 คนเป็น 250,000 คนในเวลาเพียง 4 ปี จึงได้รับการสถาปนาให้เป็นมลรัฐที่ไม่มีทาสใน ค.ศ. 1850 จากดินแดนที่เคยเงียบเหงาของเม็กซิโก แคลิฟอร์เนียกลายเป็นมลรัฐที่มั่งคั่งร่ำรวยมลรัฐหนึ่งของสหรัฐอเมริกา สมกับที่ได้รับสมญานามว่า มลรัฐทองคำ (Golden State)



นอกจากนี้ การพบทองในมลรัฐนี้ยังทำให้รัฐสภาสหรัฐอเมริกาให้ความเห็นชอบโครงการสร้าง ทางรถไฟสายข้ามทวีปเชื่อมภาคตะวันออกกับภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกาเข้าด้วย กันปัจจุบันแม้กระแสการตื่นทองที่แคลิฟอร์เนียจะสิ้นสุดลงแล้ว เรื่องราวของนักขุดทองการแสวงโชค ความมั่งคั่งชั่วข้ามคืน รวมทั้งชื่อเสียงของแคลิฟอร์เนียในยุคนี้ ยังคงเป็นที่กล่าวขวัญ
เรื่อยมาในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา.



ขอบคุณบทความ : กุลวดี มกราภิรมย์ สาขามานุษยวิทยา ม.ก.
ข้อมูลอ้างอิงอื่นๆ : Wikipedia และ Google
_________________
ที่มา:http://www.soccersuck.com

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ย้อนรอยจตุคามรามเทพ



ย้อนรอยจตุคามรามเทพ ปรากฏการณ์ของเทพที่เลือนหาย


เรื่อง : จักรพันธุ์ กังวาฬ
ภาพ : บุญกิจ สุทธิญาณานนท์



          เล่าขานกันในหมู่คนนครว่า เป็นครั้งแรกที่เมืองทั้งเมืองตื่นขึ้นจากการหลับใหลอันยาวนานเพราะเทพองค์หนึ่ง
          เล่าขานกันในหมู่เซียนพระว่า นี่คือประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการพระเครื่อง
          เล่าขานกันในหมู่คนทั่วไปว่า หากใครได้เทพองค์นี้ไปบูชา จะรวยและแคล้วคลาดจากภัยทั้งปวง…

          ข้อความข้างต้นคือบทเปิดเรื่องของสารคดีพิเศษ “ปรากฏการณ์จตุคามรามเทพ ๒๕๕๐ เมื่อ ‘เทพ’ มาเยือนเมืองคอน” ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสาร สารคดี ฉบับที่ ๒๖๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
ระหว่างปี ๒๕๔๙-๒๕๕๐ คงไม่ผิดหากกล่าวว่ากระแสความนิยมจตุคามรามเทพพุ่งแรงสู่จุดสูงสุดในระดับ ปรากฏการณ์ อย่างที่วัตถุมงคลอื่นใดไม่สามารถทำได้มาก่อน หลายคนอาจยังจำได้ถึงเหตุการณ์วันเปิดจองจตุคามรามเทพ รุ่น “เงินไหลมา ๒” จัดสร้างโดยพระมหาไมตรี ปภารตโน เจ้าอาวาสวัดพระนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ฝูงชนแห่แหนเข้ามาแออัดเบียดเสียดกระทั่งเหยียบกันตาย กลายเป็นข่าวใหญ่ตามหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนต่างๆ

          ผู้รู้ในแวดวงพระเครื่องกล่าวว่า จตุคามรามเทพนับเป็นวัตถุมงคลที่มีกระบวนการจัดสร้างพัฒนาไปอย่างถึงที่สุด นับตั้งแต่การออกแบบที่หลากหลาย มวลสารและวัตถุดิบที่นำมาผลิต กระทั่งพิธีกรรมที่พิสดารขึ้นทุกที มีพิธีปลุกเสกจตุคามฯ ตั้งแต่ในเรือรบจนถึงบนเครื่องบิน
          ช่วงเวลานั้นคนทุกสารทิศหลั่งไหลไปยังเมืองนครศรี-ธรรมราชในฐานะต้น กำเนิดของจตุคามรามเทพ ทำให้ทั้งเมืองคึกคักครึกครื้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทั้งจากพิธีกรรมและกิจกรรมนานาที่เกี่ยวเนื่องกับองค์เทพ และจากเม็ดเงินมหาศาลแพร่สะพัด เปรียบเสมือนเมืองนครตื่นจากการหลับใหลอันยาวนาน
          แต่ละวันมีผู้สร้างมาขอใช้ลานหน้าพระบรมธาตุของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เพื่อประกอบพิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษกจตุคามรามเทพ วันละอย่างน้อย ๓ เวลา โดยมีผู้ศรัทธามาเข้าร่วมพิธีเนืองแน่น เช่นเดียวกับศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ก็เป็นสถานสำคัญที่ผู้สร้างจตุคามฯ ทุกรุ่นต้องมาทำพิธีปลุกเสกที่นี่
          ทุกมุมเมืองนครศรีธรรมราชเต็มไปด้วยป้ายคัตเอาต์ประกาศสร้างจตุคามรามเทพ รุ่นต่างๆ และแผงค้าจตุคามฯ กระจัดกระจายทั่วไปหมด ตั้งแต่ด้านหน้าร้านตัดผม ร้านอาหาร ร้านทอง ร้านขายยา อู่ซ่อมรถ ไม่เว้นแม้แต่ปั๊มน้ำมัน รวมทั้งร้านค้าในอาคารตึกแถว ทั้งยังมีรถปิกอัปติดป้ายโฆษณาจตุคามรามเทพวิ่งขวักไขว่เต็มท้องถนนทั่ว เมือง
          กิจการต่างๆ ในเมืองนครได้รับประโยชน์จนเข้าสู่สภาวะ “ขาขึ้น” ถ้วนหน้า โรงแรมทุกระดับและร้านอาหารมียอดลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สายการบินต่างๆ มีผู้ใช้บริการจำนวนมากจนต้องเพิ่มจำนวนเที่ยวบินมายังนครศรีธรรมราช แม้แต่มอเตอร์ไซค์รับจ้างแทบไม่มีวิ่งรับคนเพราะต้องไป
วิ่งส่งจตุคามฯ กันหมด


ต้นปี ๒๕๕๓ บรรยากาศในวิหารพระม้า สถานที่ประดิษฐานท้าวขัตตุคาม-ท้าวรามเทพ ผู้คนไม่คึกคักพลุกพล่านเท่าสมัยที่จตุคามรามเทพ อยู่ในกระแสความนิยม
          ทว่าเมื่อเวลาผ่านไป ๓ ปี เราเดินทางมาที่เมืองนครศรี-ธรรมราชในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ก็พบว่ากระแสความนิยมจตุคามรามเทพที่เคยรุ่งเรืองเฟื่องฟูสุดขีดได้ซบเซาลง ไปแล้ว…
          ลานหน้าพระบรมธาตุของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารโล่งกว้างแทบว่างเปล่าภาย ใต้แดดบ่ายจัดจ้าร้อนระอุ คนเดินผ่านไปมาน้อยจนนับจำนวนได้ ภายหลังเราจึงรู้ว่าลานแห่งนี้ปราศจากการประกอบพิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษกจตุ คามรามเทพ มาตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๑
          ฟุตบาทริมถนนหน้าวัดพระมหาธาตุซึ่งเคยมีแผงค้าจตุคามฯ เรียงรายยาวเหยียด วันนี้เหลือแผงค้าวัตถุมงคลอยู่ไม่กี่เจ้า เราข้ามถนนไปยังห้องแถวคูหาหนึ่งที่เปิดเป็นร้านค้าจตุคามฯ ชื่อร้านถมนครา ภายในร้านไม่มีลูกค้าอื่นใด สตรีวัยกลางคนเชื้อสายจีนที่เป็นพี่สาวเจ้าของร้านยินดีคุยกับเราโดยไม่ขอ เปิดเผยชื่อ
          “ร้านของเราเปิดตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ นับเป็นร้านขายจตุคามฯ รุ่นบุกเบิก กระแสจตุคามฯ บูมสุดๆ ช่วงปี ๒๕๔๘-๒๕๔๙ บรรยากาศตอนนั้นคึกคักมาก คนมาดูมาซื้อทุกวันจนแน่นเต็มร้าน ขนาดที่คนด้านนอกเบียดเข้ามาไม่ได้ แต่พอปลายปี ๒๕๕๐ ลูกค้าเริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ”
          เมื่อถามว่าปัจจุบันกิจการของร้านเป็นอย่างไร เธอตอบว่า “ตอนนี้จตุคามฯ เงียบเลย แทบไม่มีคนเข้าร้าน ที่พอปล่อยได้คือจตุคามฯ แบบองค์บูชา (รูปหล่อโลหะ) แต่ราคาตกมาก อย่างสมัยก่อนขนาด ๕ นิ้วราคาจอง ๕,๐๐๐ บาท เดี๋ยวนี้เหลือพันกว่าบาท แต่จตุคามฯ แบบแว่น (เหรียญกลม) ปล่อยไม่ออกเลย ขนาดให้ฟรียังไม่มีคนเอา ร้านเรามีเหลือเป็นโกดังเลย ตอนนี้น้องชายที่เป็นเจ้าของร้านเขาหันไปทำธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแทน แล้ว”
          เธอเล่าต่อว่า “เมื่อก่อนแถวนี้มีแผงจตุคามฯ แน่นเอี้ยดเลย เหมือนแถวศาลหลักเมือง และมีแผงจตุคามฯ กระจายทั่วตัวเมืองนคร ไม่ว่าตึกตรงไหนว่างก็มีคนไปเช่าเปิดแผง แต่เดี๋ยวนี้หายไปหมด น่าจะเหลืออยู่บ้างที่คาร์ฟูร์”
          หลังจากนั้นเราเดินทางไปที่ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ย่านกลางเมืองนครศรี ธรรมราช สมัยที่กระแสจตุคามฯ ยังพุ่งแรงบริเวณชั้น ๔ ซึ่งเป็นศูนย์พระเครื่องและวัตถุมงคลเคยเต็มไปด้วยแผงจตุคามฯ เรียงรายแออัดกินพื้นที่กว้างขวางเกือบทั้งชั้น ทว่าในวันนี้บรรยากาศที่นี่ค่อนข้างเงียบเหงา แผงวัตถุมงคลดูบางตา ส่วนใหญ่มีแต่เจ้าของยืนเฝ้าแผงของตน
          เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ รัฐพล แก้วประทุม ชายหนุ่มเจ้าของแผงจตุคามฯ รายหนึ่ง เขาเล่าว่า “เมื่อก่อนที่ลานนี้มีแผงวัตถุมงคลเยอะกว่านี้ แผงของเราก็เคยยุบไปหนหนึ่งแล้วกลับมาขายใหม่ ผมว่าคนที่อยู่ได้ต้องปรับตัว ในเมื่อสิ่งนี้ขายไม่ได้ เราก็เปลี่ยนมาขายอีกอย่าง สมัยก่อนเรามีจตุคามฯ เกือบทั้งแผง ตอนนี้เหลืออยู่ประมาณ ๓๐-๔๐ % นอกนั้นเป็นพระเครื่องและวัตถุมงคลอื่นๆ
          “ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๒ ยังพอมีลูกค้ามาเช่าจตุคามฯ แต่จำนวนน้อยลง และราคาก็ถูกลง บางรุ่นถูกลงไปถึง ๕๐-๘๐ % แต่บางรุ่นที่ราคาตกเรายังได้กำไรจากราคาจอง อย่างจตุคามฯ รุ่นเงินไหลมา เราเคยจององค์ละ ๑๐๐ บาท ตอนนี้ประมาณ ๗๐๐-๑,๐๐๐ กว่าบาทเรายังขายได้อยู่ แต่คนที่เคยเช่าในช่วงที่ถีบราคาขึ้นไป ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ บาท มาขายตอนนี้ถือว่าขาดทุนไง ก็เหมือนการเล่นหุ้น ถ้าคุณซื้อไว้ตั้งแต่ต้นมือ มันก็ได้กำไร แต่ถ้าคุณไปซื้อปลายมือแล้วราคาตก คุณก็ขาดทุน”
          เราถามรัฐพลถึงสาเหตุที่กระแสความนิยมในจตุคามรามเทพเสื่อมถอยลง เขาให้ความเห็นว่า
“เพราะการจัดสร้างมากเกินไปและไม่พิถีพิถันครับ คนที่วิ่งเข้ามาเหมือนคนเข้ามาเล่นหุ้น ต้องการซื้อถูกแล้วขายแพง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ดึงดูดคนเข้ามาเกี่ยวข้องกับจตุคามฯ เยอะ ทำให้กระแสพุ่งขึ้นไป ทีนี้พอสร้างกันมากๆ เข้า ความพิถีพิถันก็น้อยลง โรงงานรับผลิตก็มีความเห็นแก่ตัว หมายความว่ารับงานไว้เยอะมาก จนต้องปั๊มพระ (เหรียญจตุคามรามเทพ) ทั้งวันทั้งคืน งานก็ไม่มีคุณภาพ ผู้สร้างเองเมื่อกำหนดวันทำพิธีปลุกเสกล่วงหน้าแล้ว พอถึงเวลาพระไม่เสร็จก็เอากล่องเปล่ามาทำพิธี ทีนี้คนเช่าก็เริ่มรู้ระแคะระคายว่าพระบางรุ่นไม่ได้รับการปลุกเสก ก็ทำให้กระแสความนิยมเสื่อมลงเรื่อยๆ”
          ความคิดเห็นของรัฐพลคล้ายกับคนในแวดวงพระเครื่องเมืองนครหลายราย รวมทั้ง พงษ์ภัคดี พัฒนกุล หรือ “แมว ทุ่งสง” ประธานภาคใต้สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
          “กระแสจตุคามฯ ตอนนั้นไม่ใช่ของจริง มันเป็นฟองสบู่ เหมือนที่เคยมีกระแสการจองรถแล้วขายใบจอง ซึ่งทุกคนจองเพื่อจะขาย ไม่ได้จองเพื่อมาใช้ ในช่วงนั้นถ้าเราจำได้ มีการสร้างจตุคามฯ เป็นพันรุ่น เมื่อดีมานด์กับซัปพลายไม่สมดุลกัน พอสร้างมากกว่าความต้องการก็เริ่มเสื่อมความนิยม” พงษ์ภัคดีกล่าว
          “มันเป็นเรื่องของคนที่โดนความโลภเข้ามาครอบงำ…ช่วงที่จตุคามฯ เริ่มมีปัญหาคือช่วงปลายปี ๒๕๕๐ แต่ก่อนหน้านั้นสัก ๖ เดือนผมได้ไปร่วมวงเสวนาของหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ผมวิเคราะห์ล่วงหน้าว่าถ้าองค์จตุคามฯ ถูกครอบด้วยระบบทุน วันหนึ่งต้องล้มแน่นอน และล้มทั้งระบบเหมือนโดมิโนเลย มันเริ่มล้มเหลวจากผู้รับจ้างผลิต โรงงานรับงาน ๓-๔ เจ้าพร้อมกันแล้วทำไม่ทัน คุณภาพก็ไม่ได้ ผู้สร้างซึ่งรับจองมามากแต่โรงงานส่งพระให้ไม่ทันหรือไม่มีคุณภาพ พอผู้สร้างล้ม คนรับจองเพื่อที่จะขายต่อก็ต้องล้มตามมา”
          พงษ์ภัคดีบอกว่า แม้กระแสทางธุรกิจจะซบเซา แต่คนนครยังนับถือและเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พ่อจตุคามรามเทพเหมือนเดิม
          “บางคนบอกว่าองค์พ่อไปแล้ว คนที่พูดแบบนั้นอาจผิดหวังจากการทำธุรกิจสร้างจตุคามฯ ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ ท่านยังอยู่และมีความศักดิ์สิทธิ์ ยังขอได้ไหว้รับ ถ้าเรามีศรัทธาเราก็ขอได้ คนนครยังศรัทธาท่านอยู่ หลายคนยังห้อยคอและบูชาท่าน”
          วงสนทนาในขณะนั้น นอกจาก “แมว ทุ่งสง” ยังมี จำลอง ฝั่งชลจิตร นักเขียนเรื่องสั้นชื่อดังชาวนครศรีธรรมราช เจ้าของคอลัมน์ “จตุคามรามเทพปริทรรศน์” ซึ่งเคยตีพิมพ์ต่อเนื่องใน เนชั่นสุดสัปดาห์ หลังปรากฏการณ์จตุคามรามเทพผ่านไป เขามีมุมมองต่อเรื่องนี้ว่า สิ่งที่เหลือให้เห็นเป็นรูปธรรมก็คือ วัดต่างๆ สามารถสร้างถาวรวัตถุได้เป็นจำนวนมาก โดยเงินทุนที่ได้จากการจัดสร้างจตุคามรามเทพ
          “การสร้างจตุคามรามเทพถ้ามีจุดประสงค์ที่ดีก็สามารถบูรณะวัดได้เลย วัดทั่วนครศรีธรรมราชสามารถสร้างศาลาการเปรียญ เมรุ อุโบสถ หอฉัน ศาลาธรรมสังเวชได้มากมาย ยกตัวอย่างวัดพระนคร ที่ท่านมหาไมตรีได้บูรณะวัดที่เกือบร้างให้กลายเป็นวัดใหญ่โต ทั้งยังซื้อที่ดินขยายพื้นที่วัดอีกด้วย”
          อีกตัวอย่างหนึ่งคือการสร้างจตุคามรามเทพรุ่นราชันย์ดำ เมื่อปี ๒๕๔๙ เพื่อหาเงินสร้างอาคารหอฉันหลังใหม่ของวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดนครศรีธรรมราช เดิมกลุ่มผู้จัดสร้างคาดว่าจะได้เงิน ๔ ล้านบาท ปรากฏว่าผลสำเร็จที่ได้เกินเป้าหมาย สามารถระดมทุนได้กว่า ๒๐ ล้านบาท
          สมเกียรติ นวลรอด ผู้ประสานงานจัดสร้างจตุคามรามเทพรุ่นราชันย์ดำ บอกกับเราว่า
“เราได้เงินมาสร้างหอฉันหมดไปประมาณ ๖ ล้านบาท ที่เหลือก็มอบทุนการศึกษาให้โรงเรียนเทศบาล ๙ แห่ง ตกโรงเรียนละ ๔ แสน ๕ หมื่นบาท แล้วซื้อรถตู้พยาบาลมีเครื่องมือการแพทย์ครบประมาณ ๒ ล้านบาท มอบให้แก่โรงพยาบาลเทศบาล นอกจากนั้นโรงเรียนรอบนอกเขตเทศบาลขอมา เช่น ขอซื้อคอมพิวเตอร์ สร้างห้องน้ำ สร้างรั้ว สร้างกำแพง เราก็จัดให้ไปตามความเหมาะสม”
          วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นอีกวัดที่มีรายได้มหาศาลจากยอดเงินบริจาคของ ผู้สร้างที่มาขอใช้สถานที่ประกอบพิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษกจตุคามรามเทพไม่ เว้นแต่ละวัน กระทั่งสามารถสร้างและบูรณะถาวรวัตถุในวัดได้จำนวนมาก
          วันต่อมา เรามีโอกาสได้เข้ากราบนมัสการและสนทนากับพระเทพวินยาภรณ์ (สมปอง ปญฺญาทีโป) เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
“ปรากฏการณ์จตุคามรามเทพส่งผลให้วัดและโรงเรียนหลายแห่งได้ประโยชน์เยอะ ช่วงที่ผ่านมาวัดพระมหาธาตุได้บูรณะทั้งวัดโดยใช้เงินประมาณ ๑๐๐ ล้านบาท ตั้งแต่การบูรณะองค์พระธาตุ พระวิหารหลวง วิหารทับเกษตร ศาลาร้อยปี กุฏิสงฆ์ ๒-๓ หลัง หมายความว่าสิ่งใดที่ต้องบูรณะก็บูรณะ จตุคามฯ ให้มาไม่ใช่เพื่อเก็บ แต่ให้มาเพื่อสร้าง คนเก็บไปใช้เองก็ถูกลงโทษไปตามวิถีของกฎแห่งกรรม”
          อย่างไรก็ตาม ท่านเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุยังกล่าวถึงเหตุแห่งความเสื่อมของกระแสนิยมจตุคามรามเทพไว้ด้วยว่า
          “ฟ้าดินสร้างคนมาให้มีกิเลสมาก หมายความว่าคนเราโลภเกินควร คือพอเรามีอะไรแล้วมันพัฒนาไปสู่ความโลภ ไม่ได้พัฒนาเพื่อไปสู่ความพอเพียง ต่างคนต่างก็อยากได้เงินได้ทองมาบูรณะบ้าง มาทำอะไรกันบ้าง สร้างแล้วสร้างอีก มากเกินไป ก็คงจะหยุดไปชั่วคราว เพราะว่าปรากฏการณ์เทพถ้าเกิดขึ้นแล้วจะมีกระแสอยู่ไม่นาน
          “บางคนมาพูดให้อาตมาฟังว่า ตอนนี้จตุคามรามเทพถูกลงโทษ ถูกจองจำอยู่ อาตมาว่าไม่รู้…พูดก็พูดไป เขาพูดอย่างนี้หมายความว่าถูกจองจำจากการที่แผลงฤทธิ์ฟุ่มเฟือยมากเกินไป มันเกินประมาณฤทธิ์ของเทวดาที่จะทำอย่างนี้ คือเทวดาที่มีมาโดยมากบันดาลเจาะจงทั้งนั้น ไม่ใช่บันดาลทั่วไป บันดาลเจาะจงให้สร้างตรงนั้นตรงนี้ สร้างที่จำเป็น บูรณะที่ชำรุด ที่ผ่านมาคือสร้างพร่ำเพรื่อ แล้วก็ถูกลงโทษ ต้องหยุดหลายปี ใครลงโทษล่ะ เทพไม่ได้มีระดับเดียว เทพที่มีศักดิ์ใหญ่กว่าก็เป็นได้”
          พระเทพวินยาภรณ์ยังกล่าวอีกว่า “คนเรามีอาหารประเภทที่บำเรอมาก คนก็มุ่งเข้าไปหาอาหารบำเรอตน ทั้งเรื่องของรูป รส กลิ่น เสียง แต่ไม่ค่อยเข้าหาอาหารบำรุงใจ คือใจยังไม่มั่นคงเพียงพอ มีอะไรผ่านมาทางสื่อทางสารก็รับไปบริโภคหมด กระแสจตุคามฯ ก็อย่างนี้ พอเป็นกระแสแล้วคนก็
หลงตาม พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า อย่าเพิ่งเชื่อ ถ้าคนไร้สติแล้ว ปัญญาก็ลดน้อยถอยตามไปด้วย
“กระแสจตุคามฯ ซบเซาก็ถูกต้องแล้ว คือสัจธรรม ใครจะไปหลีกมันได้ อะไรที่ขึ้นแล้วมันต้องลง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันอยู่คู่กับโลก ไม่มีอะไรที่อยู่เหนือสัจธรรมไปได้”
          คงปฏิเสธไม่ได้ว่า แม้ปรากฏการณ์จตุคามรามเทพเกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่กี่ปี แต่ก็ได้สร้างผลกระทบหลายด้านต่อเมืองนครศรีธรรมราชและสังคมไทย ดังเช่นวัดวาอารามทั่วเมืองนครสามารถระดมเงินบูรณะซ่อมสร้างศาสนสถาน ซึ่งหลายคนเห็นว่าเป็นผลกระทบในทางที่ดี ขณะเดียวกันก็ยังมีคนที่มองเห็นแง่มุมที่แตกต่าง
          นพ. บัญชา พงษ์พานิช คนเมืองนครที่สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาและประวัติศาสตร์ เป็นอีกผู้หนึ่งที่แสดงความไม่เห็นด้วยต่อกระแสจตุคามรามเทพมาตั้งแต่แรก ในวันนี้เมื่อกระแสดังกล่าวซบเซาลง นพ. บัญชาแสดงทัศนะต่อเรื่องนี้ว่า
          “แต่เดิมตอนแรกเริ่มกระแสนั้น ผมคาดว่าไม่น่าจะนานสักกี่ปีเพราะเห็นว่าเป็นของไม่จริงแท้ เกิดจากกระแสปั่นและการเล่าลือ แล้วสุดท้ายก็ฮืออยู่ได้ไม่ทันถึงปีก็จบ สาเหตุที่ซบเซาก็เหมือนอย่างที่ว่า เพียงแต่ว่าเนื่องจากปั่นกันแรงเกินจนหมดภูมิพ้นฐาน หมดกำลังทั้งขาปั่น ขาห้อยขาโหน จนกระทั่งคนที่เที่ยวช้อนซื้อหาตามกระแส จนแม้กระทั่งคนที่ชอบก็หมดกำลังจะตามไหว ผมยืนยันมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วว่าไม่จริงไม่แท้ ไม่ว่าจะตามหลักของเหตุและผล หลักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งหลักการพระพุทธศาสนา เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น ช่วยได้ทุกอย่างจริง ก็ต้องไม่ซบเซาสิ ใครมีคนนั้นก็ต้องได้ดังหวังทุกคนสิ แต่นี่ไม่ใช่ อาจมีบางคนเท่านั้นที่ได้ดังหวังจากนับแสนนับล้านๆ คนที่เช่าหาและห้อยแขวนกัน ซึ่งนั่นเป็นเพียงเรื่องของความบังเอิญหรือประจวบเหมาะเท่านั้น
          “เมืองนครบ้านผมนั้นได้ชื่อลือลั่นในหลายทาง ยากที่จะบรรยาย แต่ที่แน่ๆ ก็คือกลายเป็นเมืองมงคลบางประการขึ้นมาจากเดิมที่มีพื้นภูมิอยู่ก่อนแล้ว แม้เศรษฐกิจจะบูมอยู่ชั่วครู่ แต่ตอนหลังเข้าใจว่าความเสียหายที่เจ๊งกันไม่น้อยนั้นน่าจะพอๆ กัน ไม่มีใครศึกษามูลค่าตอนขาลงว่าสูญกันไปคนละเท่าไร
“ที่สำคัญสำหรับผมนั้น เห็นว่าปรากฏการณ์นี้ชี้ชัดว่าสังคมไทยเรา รวมทั้งที่เมืองนครยังอ่อนปัญญาอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะในเชิงหลักการเหตุผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ หรือในเชิงพุทธิปัญญาว่าด้วยความรู้ที่ถูกถ้วนและถูกต้อง หลอกชวนชักจูงกันได้ง่ายๆ ด้วยการโฆษณาประชาสัมพันธ์และการตลาดพร้อมกับคำเล่าลือเรื่องอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ซึ่งถ้ามองในทางบวกก็ถือเป็นการช่วยชี้ให้เราเห็นว่า ทั้งๆ ที่เร่งพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทางวัตถุ ความเจริญและสะดวกสบายนานาภายใต้เครื่องมือสำคัญคือการศึกษาที่มีสถาบันการ ศึกษาอยู่เต็มประเทศ ใครๆ ก็แข่งแย่งกันศึกษาหาปริญญายกฐานะกันทั้งเมือง แต่ระดับของสติปัญญาของคนไทยยังได้ประมาณนี้เท่านั้น หลอกล่อง่ายดายเหลือหลาย พวกเราชาวพุทธยังมีงานให้ทำอีกมากมาย”
          สิ่งที่ นพ. บัญชาเห็นว่าเป็นงานหนักที่รออยู่ข้างหน้าก็คือความพยายามเผยแผ่หลัก ธรรมตามแนวทางที่พระพุทธองค์สั่งสอน ให้ก่อเกิดเป็นกระแสความสนใจใฝ่ศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติภาวนาโดยไม่คอยบูชาเซ่น ไหว้หวังลาภลอยรอโชคจากเทพ
          และทั้งหมดนี้คือการย้อนรอยปรากฏการณ์จตุคามรามเทพ ซึ่งประกอบด้วยเหตุการณ์หลายมิติและความคิดเห็นหลายมุมมอง ส่วนที่มีบางคนเชื่อว่าอีกไม่นานกระแสความนิยม
จตุคามรามเทพจะกลับมาอีกครั้ง คงเป็นเรื่องที่ต้องรอดูกันต่อไปในอนาคต


ที่มาภาพ:http://www.oknation.net

ที่มา:http://www.sarakadee.com

วิกฤตโปรตุเกส



March 30, 2011
Posted by KOBSAK (ADMIN)

วิกฤตโปรตุเกส

คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร. กอบ
          เมื่อกลางสัปดาห์ที่แล้ว สายตานักลงทุนเริ่มไปจับจ้องที่โปรตุเกสอีกครั้ง โดยหลายๆ คนมีคำถามที่อยู่ในใจว่า “ยังเหลือเวลาอีกนานแค่ไหน ก่อนโปรตุเกสจะเข้ารับการช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและ IMF

เกิดอะไรขึ้น
          โปรตุเกสเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเปราะบางมากทางเศรษฐกิจ จากปัญหาด้านต่างๆ นับแต่

          (1) การที่เศรษฐกิจขาดประสิทธิภาพ แข่งขันไม่ได้ ขยายตัวไม่ดีเทียบกับประเทศอื่นๆ ในยุโรป           (2) การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องในระดับสูง รวมทั้ง (3) การกู้ยืมจากต่างประเทศ จนมีหนี้ภาครัฐและเอกชนเป็นจำนวนมาก

          ครั้นวิกฤตในสหรัฐและยุโรปได้ปะทุขึ้น เศรษฐกิจโปรตุเกสได้ชะลอตัวลง ประสบปัญหาการว่างงาน นำไปสู่ปัญหาด้านการคลัง โดยมีการขาดดุลในระดับที่สูง จนกลายเป็นเป้าหมายของนักลงทุนในการเก็งกำไร และเล็งว่าโปรตุเกสจะเป็นประเทศต่อไปที่จะเกิดวิกฤต อัตราดอกเบี้ยที่รัฐบาลกู้ยืมจากตลาดจึงพุ่งขึ้นสูงมากกว่าระดับ 7% ซึ่งเป็นระดับสำคัญที่เคยทำให้กรีซและไอร์แลนด์ต้องเกิดวิกฤตมาแล้ว
          ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลโปรตุเกสจึงได้พยายามที่จะประคับประคองตน สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนว่ารัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาด้านการคลัง สามารถทำให้วินัยทางการคลังเกิดขึ้น และสามารถคืนหนี้ได้ด้วยตนเองไม่ต้องไปขอความช่วยเหลือจาก สหภาพยุโรปและ IMF
แต่ล่าสุด การลาออกของนายกรัฐมนตรี หลังรัฐสภาลงมติไม่เห็นชอบแผนการรัดเข็มขัดของทางรัฐบาลที่จะลดการใช้จ่าย ของภาครัฐ และเก็บภาษีเพิ่มเติม ได้มาซ้ำเติมให้ปัญหามีความหนักหน่วงรุนแรงยิ่งขึ้น

จะเกิดอะไรต่อไป
          สิ่งที่ท้าทายในช่วงต่อไปคือ รัฐบาลชั่วคราวของโปรตุเกสจะสามารถกู้ยืมเงินมาคืนหนี้ที่ครบกำหนดชำระจำนวน 4.3 พันล้านยูโร ในเดือนเมษายน และ4.9 พันล้านยูโร ในเดือนมิถุนายน พร้อมดอกเบี้ยอีก 3 พันล้านยูโร ได้หรือไม่ และต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่เท่าไร ท่ามกลางปัญหาด้านต่างๆ ที่คุกคามอยู่ โดยเฉพาะจาก



          (1) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ที่พากันประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลโปรตุเกสลง โดย S&P ลดอันดับโปรตุเกสลง 2 ขั้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็น BBB ทั้งยังขู่ว่าจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถืออีกในเร็วๆ นี้ ซึ่งเรื่องนี้กำลังส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของพันธบัตรรัฐบาลโปรตุเกส เพราะ LCH.Clearnet (ซึ่งทำหน้าที่เหมือนศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ของประเทศไทย) ประกาศว่า ไม่ให้ใช้พันธบัตรของรัฐบาลโปรตุเกสเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืมต่อ ไป
          (2) สถาบันการเงินในโปรตุเกสที่ขาดสภาพคล่อง ในอดีตสถาบันการเงินเหล่านี้ได้กู้ยืมเงินมาเพื่อปล่อยสินเชื่อเป็นจำนวนมาก โดยสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของสถาบันการเงินบางแห่งเคยสูงถึงประมาณ 200% ทำให้มีความเสี่ยงต่อการที่นักลงทุนจะเรียกเงินกู้ยืมคืน ล่าสุด สถาบันการเงินในโปรตุเกสต้องหันไปพึ่งพาสภาพคล่องจากธนาคารกลางของยุโรป ประมาณ 41 พันล้านยูโร (สูงเป็นอันดับที่ 4 รองจากไอร์แลนด์ กรีซ สเปน) เนื่องจากไม่สามารถเข้าไปกู้ยืมตลาดการเงินระหว่างประเทศอีกต่อไป

          เรียกได้ว่า สถานการณ์ในปัจจุบันเริ่มสุกงอมมาก รอวันเวลาที่จะปะทุขึ้นมาเป็นวิกฤต ก็เพียงแต่ว่าจะเมื่อไรเท่านั้นเอง และยิ่งรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพเช่นนี้ ยิ่งเป็นเป้าหมายในการเก็งกำไรมากขึ้นเท่านั้น
          ส่วนผลกระทบต่อประเทศต่างๆ รวมถึงไทยนั้น โชคดีที่โปรตุเกสเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก ไม่มีปัญหาฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์เช่นเดียวกับไอร์แลนด์ และไม่ได้มีปัญหาหนี้ภาครัฐรุนแรงเหมือนกรีซ อีกทั้งตลาดได้รับรู้ข่าวและเตรียมใจไว้ก่อนแล้วระดับหนึ่ง ผลกระทบของวิกฤตในโปรตุเกสจึงน่าจะอยู่ในวงจำกัด ที่เราน่ากังวลใจกันจริงๆ ก็คือ สเปน ซึ่งอยู่ข้างๆ และหลายคนมองว่าจะเป็นคิวต่อไปที่อาจเกิดวิกฤต ว่าจะถูกกระทบอย่างไร จะยืนหยัดอยู่ได้หรือไม่ เพราะสเปนใหญ่กว่าโปรตุเกสมาก ถ้าสเปนเป็นอะไรไป ก็จะมีผลพวงตามมาอีกมาก ก็ขอเอาใจช่วยครับ



ที่มา:http://www.oknation.net/ 

วิกฤติไอร์แลนด์ (Crisis in Ireland)



November 9, 2010
Posted by KOBSAK (ADMIN)

วิกฤติไอร์แลนด์ (Crisis in Ireland)

          ช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าววิกฤตของ Ireland ได้ส่งผลให้ตลาดการเงินโลกเกิดความผันผวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง และนำมาซึ่งความกังวลใจว่าจะลุกลามกลายเป็นวิกฤต และ IMF และ EU ส่งเจ้าหน้าที่เข้าช่วยดูแลปัญหาอย่างเร่งด่วนนับแต่วันพฤหัสที่ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านมา วันนี้จะได้มาวิเคราะห์สถานการณ์ล่าสุดใน Ireland และนัยให้ทุกท่านฟัง
เกิดอะไรขึ้นที่ Ireland

          Ireland เป็นหนึ่งในประเทศในกลุ่มลูกหมู (PIIGS) ที่หลายคนมองว่าเป็นกลุ่มประเทศเจ้าปัญหาในสหภาพยุโรป ซึ่งประเทศในกลุ่มนี้มี (1) ปัญหาหนี้ภาครัฐในระดับที่สูง หรือ (2) ปัญหาการขาดดุลการคลังในสัดส่วนที่สูงกว่าที่ทางสหภาพยุโรปได้ตกลงกันไว้

          สำหรับกรณีของ Ireland ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ระดับของหนี้ภาครัฐ ซึ่ง Ireland จะมีหนี้ภาครัฐอยู่เพียง 82.9% ของ GDP ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งแม้ว่าสูงกว่าระดับที่ควรจะเป็น แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ก็ยังอยู่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของประเทศในสหภาพยุโรป และเมื่อเทียบกับกรีซที่มีหนี้ภาครัฐสูงถึง 124.9% ไอร์แลนด์ไม่ได้มีปัญหาหนี้ภาครัฐรุนแรงเท่ากับกรีซ



          ปัญหาอยู่ที่การขาดดุลการคลังในระดับที่ สูงมาก ที่ Ireland ขาดดุลการคลังถึง 14.7% เมื่อเทียบกับ 3% ที่ทางสหภายยุโรป ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลต้องเข้าไปช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากเกิด วิกฤตการเงินในสหรัฐ ส่งผลให้ฟองสบู่อสังหาใน Ireland ซึ่งได้สะสมตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงที่เศรษฐกิจดีดี จนหลายคนเรียก Ireland ว่า Economic Miracle ของยุโรป ก่อนปี 2008 แตกลงกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญ โดย
          – ระดับราคาบ้านใน Ireland ที่ปรับตัวลดลงมาอย่างรวดเร็ว และทำให้สินเชื่อบ้านในไอร์แลนด์กำลังกลายเป็นหนี้เสียให้กับภาคธนาคาร พาณิชย์



          - ราคาหลักทรัพย์ใน Irish Stock Exchange ก็ปรับตัวลดลงมากเช่นกัน
ทั้งหมดนี้ นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญของ Ireland ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ท้ายสุดรัฐบาลต้องเข้าไปยึดสถาบันการเงินเกือบทั้งหมด มาเป็นของภาครัฐ ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยจะมีก็เพียงแบงก์อันดับ 1 คือ Allied Irish Bank และแบงก์อันดับสอง Bank of Ireland ที่ยังมีเอกชนถือหุ้นอยู่บ้าง แต่รัฐก็เข้าไปช่วยจนทำให้รัฐมีหุ้นอยู่ประมาณ 70% และ 40% ตามลำดับแล้ว


          ทำไมรอบนี้ดูร้ายแรงต่อเนื่องกว่ากรณีกรีซ และมีการพูดกันในตลาดว่าอาจได้รับเงินช่วยเหลือถึง 90-130 พันล้านยูโร
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าปัญหาต่างกัน
          - ปัญหาของกรีซเป็นปัญหาด้านการคลัง
          - ปัญหาของ Ireland เป็นปัญหาฟองสบู่อสังหาแตก และทำให้แบงก์ล้ม

          เวลาที่มีปัญหาด้านการคลัง สิ่งที่เกิดขึ้น จะค่อยๆ เกิด ไม่เร็ว และหัวใจสำคัญก็คือการดูแลให้รัฐบาลมีเงินที่เพียงพอที่จะจ่ายคืนหนี้ภาครัฐ ที่ครบกำหนดในช่วงต่อไป
          ด้านการคลังของไอร์แลนด์ รัฐบาลขาดดุลมากก็จริง จากเศรษฐกิจที่ซบเซาลงหลังฟองสบู่แตก และจากการว่างงานที่เพิ่มขึ้นมาก จากประมาณ 4% เป็นประมาณ 14% ทำให้รัฐบาลมีภาระมากขึ้นในการใช้จ่าย และจัดเก็บภาษีได้ไม่มากเช่นเดิม ตรงนี้ หมายความว่ารัฐบาลจะต้องพยายามรัดเข็มขัด ลดเงินเดือนข้าราชการ และลดการใช้จ่าย เพื่อให้การขาดดุลภาคการคลังไม่มากอย่างที่เป็นอยู่ ซึ่งรัฐบาลของไอร์แลนด์ก็พยายามอย่างยิ่งที่จะแสดงให้โลกเห็นถึงวินัยการ คลังของตน ในช่วงที่ผ่านมา


แต่ความพยายามในการแสดงถึงวินัยทางการคลังกลับไม่ได้ผลมาก เพราะปัญหาจริงๆ ของไอร์แลนด์อยู่ที่แบงก์ โดยเฉพาะหนี้เสียที่เกิดขึ้นหลังจากช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูและฟองสบู่ ภาคอสังหาริมทรัพย์แตก (ซึ่งกรีซไม่ได้มีปัญหาในลักษณะนี้) จากปัญหานี้ ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมรัฐบาลไอร์แลนด์ จึงต้องมีการประกาศยึดแบงก์เกือบทั้งหมดของประเทศมาเป็นของภาครัฐ และมีการประกาศจัดตั้ง NAMA ซึ่งเป็น Bad Bank เข้ามาจัดการบริหารปัญหาต่างๆ
และที่น่าสนใจก็คือ ทั้งๆ ที่รัฐบาลได้เข้ายึดแบงก์ต่างๆ เหล่านี้เรียบร้อยแล้วเป็นส่วนมาก ปัญหาภาคสถาบันการเงินของไอร์แลนด์ ยังคงก่อตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด CDS ของสถาบันการเงินเหล่านี้ ได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว



          สงครามที่กำลังต่อสู้กันอยู่ในขณะนี้ ก็คือ สงครามของความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงินในสถาบันการเงินเหล่านี้  ที่ทำให้มีการถอนเงินฝากจากสถาบันการเงินเหล่านี้อย่างต่อเนื่องในช่วงที่ ผ่านมา ในกรณีของ Allied Irish Bank มีเงินฝากหายไป 13 พันล้านยูโรหรือ 20% ของยอดเงินฝากจากปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ส่วน Bank of Irish เงินฝากลดลงไปประมาณ 10 พันล้านยูโร

          ตรงนี้ ผู้ฝากเงินบางกลุ่มมีการพยายามที่จะแลกเปลี่ยนเงินฝากจากยูโรเป็นเงินปอนด์ ที่น่ากังวลใจก็คือ การถอนเงินเกิดขึ้นทั้งๆ ที่ไอร์แลนด์ได้ประกาศคุ้มครองเงินฝาก และการกู้ยืมของสถาบันการเงินเหล่านี้แล้ว แต่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ไม่เชื่อ

          ด้วยเหตุนี้ จากปัญหาความไม่เชื่อมั่นในสถาบันการเงิน จึงไม่น่าแปลกใจว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในไอร์แลนด์ดูเหมือนกับว่า เร็ว แรง และแก้ยากกว่ากรณีของ กรีซ ซึ่งเป็นปัญหาด้านการคลัง
จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
          
          หัวใจสำคัญคือการดูแลให้ความเชื่อมั่นเกิดขึ้น
ตรงนี้ ความไม่เชื่อมั่นส่วนหนึ่งมาจาก ความไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะดูแลไว้ได้ แม้ว่ารัฐบาลจะใส่เงินเข้าไปมาก เพราะ

           หนึ่ง – แบงก์ทั้ง 5 มียอดเงินฝาก/กู้ยืมรวมกันประมาณ 350 พันล้านยูโร หรือประมาณ 2 เท่าของ GDP ของไอร์แลนด์ เรียกได้ว่าใหญ่มาก ใหญ่กว่าที่รัฐบาลจะอุ้มไว้ได้ และจะนำไปสู่การลดอันดับ Rating ของรัฐบาลไอร์แลนด์ต่อไป และความกังวลใจถึงความสามารถของไอร์แลนด์ที่จะจ่ายหนี้คืน
ซึ่งหนี้เสียสำหรับแบงก์ในไอร์แลนด์ที่ เกิดขึ้นในช่วงแรก มาจากบริษัทอสังหาขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถจ่ายคืนหนี้ได้ แต่ตอนนี้ หลังจากเศรษฐกิจตกต่ำ คนตกงาน ราคาบ้านลดลงมาก ผู้บริโภคที่กู้ซื้อบ้านก็ไม่กำลังจ่ายคืนหนี้เช่นกัน ทำให้ฐานะของสถาบันการเงินในไอร์แลนด์ง่อนแง่นมากกว่าเดิม และความเสียหายที่รัฐบาลจะต้องเข้าไปเพิ่มทุนให้แบงก์เหล่านี้อาจจะมากกว่า ที่คาดไว้

          สอง – ไอร์แลนด์ไม่สามารถพิมพ์เงินยูโรได้เอง เวลาที่แบงก์ขาดสภาพคล่อง แบงก์ก็ไปเอาที่ธนาคารกลาง แต่ว่าในกรณีนี้ ธนาคารกลางไม่สามารถพิมพ์เงินได้ ก็ต้องไปเอาจาก ECB ต่อ ซึ่งสองเดือนที่ผ่านมา ไอร์แลนด์ ได้กู้ยืมสภาพคล่องจาก ECB ถึง 130 พันล้านยูโร (กลายเป็นอันดับหนึ่งของประเทศที่ต้องพึงพาสภาพคล่องจาก ECB โดยรองลงมาคือ กรีซที่ 92 พัรล้านยูโร และสเปนที่ 70 พันล้านยูโร

          สาม – คำถามคือ ECB จะช่วยแค่ไหน ถ้าไอร์แลนด์มาพึ่งเรื่องสภาพคล่องมากถึงขนาดนี้ เพราะเวลาเกิด Bank run ไม่มีใครรู้ว่าเงินจะไหลออกไปและจะต้องช่วยแค่ไหน  ECB ก็ออกมาบ่นเรื่องนี้ ว่ากงวลใจว่าถ้าช่วยอย่างไม่มีข้อจำกัดก็จะเป็นภาระในภายหลัง  ซึ่งความกังวลใจเกิดจากความไม่แน่นอนในการช่วยเหลือ และความไม่แน่นอนเชิงนโยบายเกี่ยวกับว่าอนาคตคืออะไร และจะทำอย่างไรถ้าแบงก์ล้มจริงๆ (จนมีบางคนไปสร้างข่าวลือว่า อาจจะต้องออกจากยูโร ถ้า ECB ไม่ช่วย คนก็ยิ่งกลัวไปต่างๆ นานา) ตรงนี้ก็เลยเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องติดตาม

          สี่ วิกฤตได้เริ่มไปจากเศรษฐกิจไปสู่การเมือง การประท้วง และคำถามเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งทำให้การแก้ไขยากขึ้นไปอีก



ตรงนี้ สิ่งที่ต้องทำโดยเร็ว ก็คือ ความชัดเจนของนโยบาย โดยเฉพาะของ ECB และเงินช่วยเหลือที่จะต้องมากพอ พอที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกคนได้ ซึ่งยากกว่ากรณีของกรีซ เพราะว่าเงินที่จะจ่ายออกไป จะขึ้นกับขนาดของการแห่ถอนเงิน ไม่ได้ขึ้นกับภาคการคลัง และเป้าหมายต่อไป ของนักเก็งกำไร คือ โปรตุเกส ซึ่งจาก CDS และส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยกับเยอรมันอยู่ในระดับที่สูงไม่แพ้ไอร์แลนด์ เช่นกัน ทำให้น่าติดตามอย่างยิ่งว่าจะเกิดอะไรขึ้นครับ



ที่มา:http://www.kobsak.com
ON Air in Money Wake Up at The Money Channel
(Monday, November 22, 2010)