ads head

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

1923 บทเรียนเศษฐกิจเยอรมันล่มสลาย


1923 บทเรียนเศษฐกิจเยอรมันล่มสลาย



May 31, '09 4:38 PM
 
      หลัง จากเยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่๑ รัฐบาลweimar ของเยอรมันต้องเซ็นพันธสัญญษแวซายน์เพื่อการลงโทษทางเศษฐกิจ คือจ่ายเงินในฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นจำนวนเงินถึง 6 พันล้านปอนด์ นั้นก็หมายความว่าเยอรมันต้องเป็นหนี้ไปจนถึงปี 1987 เยอรมันจ่ายเงินก้อนแรกไปเป็นถ่านหิน ไม้ และ เหล็ก มีค่าเท่ากับ 2 พันล้านมาร์ค

      ปี 1922 เยอรมันกระเป๋าฉีกครับ ไม่สามารถจ่ายเงินก้อนที่สองให้ฝ่ายสัมพันธมิตร ปัญหาคือฝ่ายสัมพันธมิตรไม่เชื่อ โดยเฉพาะฝรั่งเศส เลยนำทหารฝรั่งเศสและเบลเยี่ยมบุกเมือง Ruhr ของเยอรมันซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของเยอรมันในขณะนั้น ยึดโรงงานเหล็ก ถ่านหิน และทางรถไฟต่างๆ  ซึ่งเป็นการระเมิด Leaque of nations ที่ตกลงกันไว้หลังสงครามโลกสงบ

      รัฐบาล weimar ของเยอรมันตอบโต้โดยสั่งให้แรงงานในเมือง Ruhr ทำการประท้วงฝรั่งเศสที่เข้ายึดครองโดยการหยุดทำงาน ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นเป็นผลให้ 132 คนเสียชีวิต 150,000 คนถูกขับออกจากบ้าน



เนื่องจากRuhr เป็นศูนย์อุตสาหกรรมที่สำคัญมากคับของเยอรมันในยุดนั้น การประท้วงหยุดงานหมายความว่าไม่มีผลผลิต ทำให้เกิดผลกระทบต่อเศษฐกิจของเยอรมันอย่างมาก แถมรัฐบาลยังต้องจ่ายเงินช่วยเหลือแรงงานที่หยุดทำงาน และ ประชาชนอีกแสนกว่าชีวิตที่ไร้ที่อยู่อาศัย ด้วยเหตุนี้รัฐบาลเยอรมันเริ่มถังแตกเข้าไปใหญ่ จนไปถึงการทำสิ่งที่แย่ที่สุดคือการพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ต่างชาติพากันถอนการลงทุนออกจากเยอรมันไป



      พอความมั่นใจของนักลงทุนหมดไป ราคาอาหารสูงขึ้นเพื่อให้ตรงกับเงินเฟ้อ ทุกอย่างก็เสียการควบคุมอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิด Hyperinflation คือ เงินเฟ้อขั้นรุนแรงในเยอรมัน ราคาสินค้าต่างๆก็ปรับตัวสูงขึ้นไปเรื่อยๆจนคนไม่มีเงินพอสามารถซื้ออาหารได้อีกแล้ว

ขนมปังก้อนนึงในขณะนั้นราคาถึง 200,000 ล้าน มาร์ค 

      ผลกระทบของ Hyperinflation ใหญ่มากคับ คนต้องเอาเงินใส่รถเข็นเพื่อมาซื้อขนมปังกันเลยทีเดียว หรือเวลาได้เงินมาแล้วต้องรีบวิ่งไปร้านของของเพื่อเอาเงินไปใช้ก่อนค่าเงิน จะต่ำจนไม่มีค่าอีกแล้ว
เงินถูกโยนลงที่ถนนอย่างไม่มีค่า บางบ้านเอาเงินมาเผาแทนฟืนสะงั้น หรือเด็กเอาเงินมาเล่นเรียงต่อกันเป็นปิรามิด


      คนที่มีผลกระทบน้อยที่สุดคือคนรวย เพราะเป็นมีเส้นสายสามารถหาซื้ออาหารได้ไม่ยาก หรือไม่ก็มีที่ดินเพื่อทำการเพาะปลูกอาหารได้เอง

      คนที่ได้ผลกระทบมากที่สุดคือชนชั้นกลาง ที่หาเช้ากินค่ำ เงินฝากในธนาคารหายไปชั่วข้ามคืน และไม่มีที่ดินเพาะปลูกเหมือนคนร่ำรวย

      รัฐบาล weimar ก็เป็นคนรับบาปไปเต็มๆ เป็นผลให้คนที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะคนชนชั้นกลาง ตัดสินใจร่วมกับพรรคนาซีที่นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก




   
      ในสุดท้ายปี 1923 เยอรมนีได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ชื่อ Gustav Stresemann เข้ามาแก้ปัญหาโดยการสร้างค่าเงินใหม่ชื่อเรนเท่นมาร์ค (Rentenmark) ซึ่งแบ๊คโดย อเมริกันดอลล่าร์ และกู้เงินจากอเมริกาป็นเงิน 200 ล้านดอลล่าร์ เพื่อแก้ปัญหาเศษฐกิจตามแผนของชาวอเมริกันชื่อ Chales Darwes

      สถานะ การณ์ดูเหมือนจะครี่คลายอย่างรวดเร็วรัฐบาลweimar กลับมาได้ความนิยมอีกครั้ง จนเรียกได้ว่าปี 1924-1929 เป็นปีของweimar เลยทีเดียว


ที่มา:http://apophis99.multiply.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น