ads head

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของค่าเงินบาท อ่อนค่าและแข็งค่า

1. วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของค่าเงินบาท อ่อนค่าและแข็งค่า

ค่าเงินอ่อนตัว
ข้อดี: ของนอกรับเข้ามาถูก คนไทยใช้จ่ายกันเยอะ น้ำมันถูก แต่คนส่งออกไม่ได้กำไร
ค่าเงินบาทอ่อนตัวเป็นผลดีต่อผู้ส่งออกของไทย
ค่าเงินแข็งค่า  
ของนำเข้าแพง น้ำมันแพง แต่เป็นช่วงโอกาสของผู้ส่งออกเพราะจะขายของต้นทุนถูก
การแข็งค่าของค่าเงินบาท  หรือเงินบาทแข็งค่า  หมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนลดลง  อาทิเช่น เดิมอยู่ที่ 40 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ  ต่อมาลดลงเป็น 35 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ(การนำเข้าและการส่งออก)  โดยจะมีผลทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้น  แต่การส่งออกลดลง  เนื่องจากประเทศคู่ค้าหรือพ่อค้าชาวต่างชาติ  จะมองเห็นว่าสินค้าที่ส่งออกจากประเทศไทยมีราคาแพง  ในขณะที่ประเทศไทยหรือพ่อค้าชาวไทยจะมองว่าสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมีราคาถูกลง  จึงสั่งสินค้าเข้ามามากขึ้น  แต่การส่งสินค้าออกไปขายของไทยลดลง  เพราะเมื่อนำเงินบาทไปแลกเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐฯจะใช้เงินบาทในจำนวนที่น้อยลง  แต่ชาวต่างชาติจะมองว่าเงิน 1 ดอลล่าร์        ใช้แลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท  หรือซื้อสินค้าได้น้อยลง  ดังนั้น การที่เงินบาทแข็งค่าจะทำให้ธุรกิจการส่งออกของไทยได้รับผลกระทบ  ถ้าหากอัตราแลกเปลี่ยนยังคงลดลงเรื่อยๆ  และเกิดเป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ  ท้ายที่สุด  กิจการใดที่ไม่สามารถยืนหยัดอยู่ได้ก็ต้องปิดตัวลงในที่สุด  ยิ่งไปกว่านั้น  การที่ส่งออกได้น้อย  แต่นำเข้ามากขึ้น  ทำให้ดุลการค้าขาดดุล  และยิ่งเป็นช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองไม่คงเช่นนี้  ทำให้เงินทุนไหลเข้าประเทศลดลง  บัญชีทุนอาจขาดดุลได้  และก็อาจจะส่งผลให้ขาดดุลการชำระเงินได้ ส่วนกรณีของการอ่อนค่าของค่าเงินบาท  หรือเงินบาทอ่อนค่า  หมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้น  เช่น  เดิมอยู่ที่ 40 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ  ต่อมาเพิ่มขึ้นเป็น 45 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ  ซึ่งจะมีผลทำให้การนำเข้าลดลง  แต่การส่งออกเพิ่มขึ้น  เนื่องจากพ่อค้าชาวไทยจะมองว่าสินค้าจากต่างประเทศมีราคาสูง  เพราะต้องใช้เงินบาทในปริมาณที่มากขึ้นในการแลกเปลี่ยนเป็น 1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ  จึงลดการนำเข้าสินค้าลง  ส่วนประเทศคู่ค้าหรือพ่อค้าชาวต่างชาติจะมองว่า 1 ดอลล่าร์สหรัฐฯสามารถใช้ซื้อสินค้าได้มากขึ้น  หรือสินค้าไทยมีราคาถูกลง  จึงสั่งซื้อสินค้าไทยมากขึ้น  ประเทศไทยจึงส่งออกได้มากขึ้น  เมื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น  ในขณะที่การนำเข้าลดลงส่งผลให้ดุลการค้าของไทยเกินดุล และมีผลต่อดุลการชำระเงิน  ทำให้ดุลการชำระเงินเกินดุลด้วย   จะพบว่า เงินบาทแข็งค่าจะมีผลดีกับธุรกิจและอุตสาหกรรม ที่มีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ  อาทิเช่น  เครื่องจักร  แต่จะก่อให้เกิดผลเสียกับธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการส่งออก  ส่วนเงินบาทอ่อนค่า  จะมีผลในทางตรงข้ามคือ  มีผลดีกับธุรกิจที่มีการส่งออก  แต่เกิดผลเสียกับธุรกิจที่นำเข้าวัตถุดิบ                                   
ดังนั้น การที่เราจะดูว่าอัตราแลกเปลี่ยนและค่าเงินบาทในระดับที่เหมาะสมกับประเทศไทย  จะต้องดูว่าอุตสาหกรรมที่เป็นปัจจัยหลักในการส่งเสริมสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น  ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมากน้อยเพียงใด  หรือเน้นไปที่การส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ  แต่โดยสถิติที่ผ่านมารายได้หลักจากต่างประเทศของไทยก็คือการส่งออก  เป็นกิจกรรมหลักที่ช่วยผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  เพราะฉะนั้นการที่เงินบาทแข็งค่าเป็นเวลานาน  ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยได้  แต่อุตสาหกรรมบางส่วนของประเทศก็ต้องอาศัยการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ  ดังนั้นหากเงินบาทอ่อนค่ามากเกินไปก็อาจจะส่งผลกระทบที่รุนแรงได้เช่นกัน  เงินบาทแข็งค่าและเงินบาทอ่อนค่า  ถ้าหากว่าเกิดขึ้นในระดับที่สูงเกินไป  หรือเกิดขึ้นต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน  ก็ไม่ส่งผลดีกับประเทศไทยทั้งนั้น  จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าในกรณีใดที่จะให้ผลดีกับประเทศไทย  แต่รัฐบาลไทยและธนาคารแห่งประเทศไทยควรที่จะรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนและค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่แข็งค่าหรืออ่อนค่าจนเกินไป  นี่คือวิธีที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย
ที่มา...www.google.com, http://archive.htg2.net
2. วิเคราะห์การเกิดปัญหาเงินเฟ้อและเงินฝืด ใครได้ประโยชน์ แบงค์ชาติและกระทรวงการคลังจะใช้นโยบายแก้ไขอย่างไร
เงินเฟ้อ หมายถึง สภาวะทางเศรษฐกิจที่ระดับราคาและบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปกติ  หรือเป็นสภาวะที่ค่าของหน่วยเงินตราลดลงไปเรื่อย  ๆ  เป็นเหตุให้เงินจำนวนเดียวกันนี้ไม่สามารถจะซื้อสินค้าและบริการจำนวนเดียวกันได้เมื่อเวลาล่วงเลยไป  กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  ปริมาณเงินมากกว่าปริมาณสินค้า
เงินฝืด (เงินฟุบ เงินแฟบ) หมายถึง สภาวะที่ระดับสินค้าและบริการลดลงเรื่อย ๆ แม้สินค้าจะมีราคาถูก แต่ก็ขายไม่ออกเพราะประชาชนยากจนไม่มีเงินซื้อ เมื่อเกิดสภาวะนี้จะไม่มีใครอยากลงทุนลงทุนแล้วสินค้าที่ผลิตก็ขายไม่ออก กรรมกรจะว่างงานเป็นจำนวนมาก

เงินเฟ้อ เกิดขึ้นได้จากหลายๆ สาเหตุ แต่ส่วนใหญ่ในทางวิชาการมักจะแบ่งสาเหตุการเกิดเงินเฟ้อได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ ได้แก่ Cost-push inflation และ Demand-pull inflation
1) เกิดจากต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า Cost-push inflation ซึ่งต้นทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าอาจจะสูงขึ้นได้จากทั้งส่วนผสมหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า ค่าจ้างแรงงาน รวมทั้งค่าขนส่งสินค้า มีราคาแพงขึ้น เช่น กรณีของราคาน้ำมันที่แพงขึ้นก็เป็นตัวอย่างได้ หรือการที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน หรือเกิดน้ำท่วม ภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตเกษตรเสียหาย ราคาสินค้าเกษตรก็แพงขึ้น เป็นต้น หรือแม้แต่ในกรณีที่ค่าเงินบาทอ่อนลง จาก 35 บาท เป็น 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ซึ่งหมายถึงว่าเราต้องใช้เงินบาทจำนวนที่มากขึ้นเพื่อไปซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศมาผลิต) หรือแม้แต่การที่รัฐบาลเก็บภาษีเพิ่มขึ้น เช่น การเก็บภาษีบุหรี่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา หรืออาจเกิดจากผู้ผลิตต้องการกำไรที่สูงขึ้นจึงขึ้นราคาสินค้า ซึ่งไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ก็จะมีส่วนทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นได้
ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ อาจจะเกิดขึ้นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรืออาจเกิดขึ้นพร้อมๆ กันก็ได้ ซึ่งหากเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และทำให้ราคาสินค้าและบริการหลายๆ ชนิดแพงขึ้นพร้อมๆ กัน ความรุนแรงของเงินเฟ้อก็จะมากขึ้นด้วย
(2) เกิดจากความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า Demand-pull inflation ส่วนใหญ่ในช่วงที่ปกติ ผู้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่ก็ย่อมจะวางแผนการผลิตสินค้าโดยดูว่ามีคนต้องการซื้อสินค้าของเราเท่าไรในแต่ละช่วงเวลา ดังนั้น ปริมาณสินค้าที่มีในตลาดก็น่าจะอยู่ใกล้เคียงกับความต้องการซื้อสินค้า แต่หากความต้องการสินค้าและบริการสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่สินค้าและบริการที่เป็นที่ต้องการมีอยู่ในตลาดมีไม่พอ ก็ย่อมทำให้ราคาสินค้าและบริการแพงขึ้นได้ ซึ่งเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น คนจะยิ่งรีบใช้เงินซื้อสินค้าและบริการมาตุนไว้ ก่อนที่ค่าเงินที่มีอยู่จะลดลง เพราะซื้อสินค้าได้น้อยลง ราคาสินค้าและบริการจะยิ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นไปกว่าเดิม เพราะคนจะยิ่งรีบใช้เงินที่มีอยู่
อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้ว หน่วยงานของทางการก็มักจะไม่ปล่อยให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง โดยทางการอาจจะเข้ามากำกับดูแลการปรับขึ้นราคาสินค้า ตัวอย่างเช่น การขอความร่วมมือให้ ขสมก. เลื่อนการขึ้นค่ารถเมล์ไปก่อน หรืออนุญาตให้ค่ารถเมล์ปรับขึ้นราคาได้บ้างนิดหน่อย เป็นต้น หรือในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย อาจใช้นโยบายการเงินเพื่อดูแลปัญหาเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนน้อยที่สุด
เงินฝืด เป็นภาวะที่อุปทานมวลรวมของระบบเศรษฐกิจมีมากกว่าอุปสงค์มวลรวม เนื่องจากปริมาณเงินที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจมีไม่เพียงพอกับความต้องการถือเงินหรือความต้องการใช้เงินของประชาชน ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้
  1. ธนาคารกลางพิมพ์ธนบัตรออกมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจน้อยไป ไม่เพียงพอกับความต้องการ
  2. การที่ประเทศมีฐานะดุลการค้า ดุลการชำระเงินขาดดุลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานทำให้ประเทศต้องสูญเสียเงินตราให้กับต่างประเทศ ส่งผลให้ปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจมีน้อยลง
  3. รัฐบาลเก็บภาษีในอัตราสูง ทำให้ปริมาณเงินจำนวนหนึ่งถูกดูดออกจากระบบ (ปริมาณ เงินน้อยลง)
  4. สถาบันการเงินชะลอการปล่อยสินเชื่อให้แก่ระบบเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีไม่เพียงพอกับความต้องการ
  5. ธนาคารกลางดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด เช่น การที่ธนาคารกลางประกาศเพิ่มอัตราเงินสดสำรองที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องดำรงตามกฎหมาย หรือการประกาศใช้นโยบายควบคุมการปล่อยสินเชื่อ ฯลฯ ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจน้อยลง
  6. รัฐบาลใช้นโยบายงบประมาณแบบเกินดุล กล่าวคือ รัฐบาลมีรายได้มากกว่ารายจ่ายทำให้มีปริมาณเงินจำนวนหนึ่งถูกดูดออกจากระบบเศรษฐกิจ (ปริมาณเงินลดลง)

ห้องสมุดวิทยพัฒน์ : ตำราออนไลน์: เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น


-เงินเฟ้อส่งผลกระทบทำให้อำนาจซื้อลดลง เพราะค่าเงินแท้จริงลดลงทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอาทิ เช่น สมมติว่าเราเคยซื้อพัดลมตัวละ 200 บาทในปีที่แล้ว หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 5% ต่อปี ราคาของพัดลมตัวนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็น 210 บาทในปีนี้ ถ้าเงินเดือนเราเท่าเดิม นั่นหมายความว่าเรามีกำลังซื้อน้อยลงหรือจนลงนั่นเอง
- เงินเฟ้อทำให้มูลค่าที่แท้จริง (real value) ของทรัพย์สินที่เป็นตัวเงินลดลง ในขณะที่มูลค่าของทรัพย์สินที่ไม่เป็นตัวเงินอาจเพิ่มขึ้น มีผลทำให้ผู้ที่มีทรัพย์สินเป็นเงินมีรายได้ที่แท้จริงลดลง ในขณะที่ผู้ที่มีทรัพย์สินที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น อสังหาริมทรัพย์ มีรายได้ที่แท้จริงมากขึ้น เงินเฟ้อจึงมีผลกระทบ อาทิ คนถือครองทรัพย์สินรวยกว่าคนถือเงินสด คนมีรายได้ประจำจนลงลูกหนี้ได้เปรียบกว่าเจ้าหนี้เพราะจำนวนเงินเท่าเดิมมีมูลค่าที่แท้จริงลดลง จึงทำให้เมื่อจ่ายหนี้คืนเจ้าหนี้ก็เสมือนจ่ายคืนในมูลค่าที่ลดลง
- ในส่วนของภาครัฐเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ จะทำให้รัฐเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อ ภาษีขาย เป็นต้น
รัฐบาลมักจะแก้ไขภาวะเงินเฟ้อโดยใช้นโยบายการเงินเพื่อลดปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เช่น ขายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อประชาชนนำเงินบางส่วนมาให้รัฐบาลยืม เพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากให้สูงขึ้นเพื่อคนออมทรัพย์มากขึ้น เป็นต้น หรืออาจใช้นโยบายการคลัง อาทิ การเก็บภาษีประชาชนเพิ่ม เป็นต้น หรืออาจใช้นโยบายอื่น ๆ เช่น ควบคุมราคาสินค้า ควบคุมต้นทุนการผลิต ควบคุมค่าจ้างแรงงานไม่ให้สูงขึ้น เป็นต้น
 โดยสรุปคือ ภาวะเงินเฟ้อใช้เพื่อวัดค่าครองชีพของประชาชน ภาวะเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นต่อเมื่อราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นต่อเนื่อง หากสูงขึ้นแล้วปรับลดลง จะไม่นับว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเงินเฟ้อในระดับอ่อนๆ จะไม่สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ แต่หากเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงๆ จะทำให้ค่าของเงินที่เรามีอยู่ด้อยค่าลงไป ทำให้ซื้อของได้น้อยลง ธุรกิจไม่สามารถผลิตหรือลงทุนได้เพราะมีความไม่แน่นอนเรื่องราคาอยู่สูง ซึ่งจะมีผลกระทบทางลบต่อระบบเศรษฐกิจในที่สุด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น