ads head

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

Catalyst ตอนที่หนึ่ง อำนาจของ ข่าว ต่อราคาหุ้น

Catalyst ตอนที่หนึ่ง อำนาจของ ข่าว ต่อราคาหุ้น
ที่มาhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kunjoja
ปล. เป็นข้อเขียนที่มาจากแนวคิดของผู้เขียนเอง จะแบ่งไว้สามตอน
โปรดใช้วิจารณญาณ ในการอ่าน ครับ


ปัจจุบันเราจะเห็นว่าข่าวหลายๆเหตุการณ์เป็นตัวที่มีอิทธิพลต่อทิศทางราคาหุ้นในระยะสั้น ค่อนข้างมาก

ผม ขอยกตัวอย่างเมื่อเหตุการณ์ วันข่าวลือ วันที่ 14 ตุลาคม 2552(แสดงเป็นกราฟรายวัน) ที่ทำให้set index ร่วงหล่นอย่างหนักในสองวันติดต่อกัน และล่าสุด ผลคดียุบพรรคเมือวันที่ 29 พย 2553( แสดงเป็นกราฟรายชั่วโมง) จะเห็นได้ว่า ข่าว มีผลกระทบต่อตลาดหุ้น ..




จาก ตัวอย่าง เป็นตัวอย่าง ในภาพกว้างๆ แต่เมื่อมองลึกๆในแต่ละบริษัทก็จะมีข่าวการเคลื่อนไหวของบริษัทในรูปแบบ ต่างๆ ถ้าบริษัทไหนมีข่าวมาบ่อยๆ คนก็มักจะเรียกว่า หุ้นตัวนี้มี Story (มี เรื่องราวที่ติดตามในอนาคต) แต่ ข่าวบางอย่าง หรือstory บางอย่าง ก็มีผลต่อมูลค่าของกิจการ ซึ่งเราพอจะอนุมานได้ว่า เรื่องราวนั้น เป็นตัวกระตุ้นหรือตัวชะลอ ต่อราคาหุ้น ได้ในระยะยาว

.....
ขอ ยกตัวอย่างเปรียบเทียบราคาหุ้นของสองบริษัท ด้วยกราฟรายวัน จะเห็นราคาหุ้นเพิ่มขึ้นในบริษัทที่มีผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง ส่วนอีกบริษัทมีข่าวบางอย่างทำให้มีผลกระทบต่อมูลค่าของกิจการ ทำให้ราคาหุ้นลดลง



……
นัก ลงทุนหลายๆคนพอได้รับข่าว ที่เกี่ยวกับหุ้นตัวที่ถือไว้ ก็จะไม่ค่อยได้พิจารณา กันให้ถ่องแท้ว่า จริงหรือไม่ ขอตรู ขาย หรือ ซื้อไว้ก่อน พอเห็นราคาขึ้นหรือลง และมีข่าวเข้ามาพร้อม ก็แห่กันขาย แห่กันซื้อ นักลงทุนกลุ่มนี้ มักจะตระหนก ก่อนจะตระหนัก และ ท้ายสุดก็มักจะเจอคำถามเดิมๆ หลังจากมีข่าวร้ายเกิด ขายดีไหมๆ เดียวรอย่อแล้วค่อยมารับใหม่ดีกว่าไหม นักลงทุนกลุ่มนี้ จะเป็นนักลงทุนที่ตื่นตระหนก ง่ายและกลัวราคาหุ้นจะไม่กลับมาที่ราคาเดิม หรือง่ายๆ กลัวขาดทุน กลัวกำไรหด โดยไม่ได้คิดว่า บริษัทนี้ แนวโน้มธุรกิจของบริษัทนี้ เป็นอย่างไร ทั้งๆที่ตอนซื้อตอนแรกก็บอกกันว่า พื้นฐานดี ปันผลงาม พีอีต่ำ มีตัวเร่งในอนาคต แต่พอมีข่าวร้ายเล็กๆ ซึ่งจริงไม่จริงไม่รู้ ตกใจไว้ก่อน
…..

สำหรับผมเมื่อก่อนก็เป็นอยู่บ่อยๆ หลังๆผมจะมีกลยุทธ์อย่างหนึ่ง มาช่วย ก็เลยมาแชร์ไอเดียให้ครับ

คือ ต้องเรียกสติปัญญาตัวเองออกมาก่อน หายใจเข้าออกลึกๆ แล้วนึกและทบทวนตัวเองก่อน ว่า หุ้นตัวนี้ เราซื้อมาด้วยเหตุผลอะไรตอนแรก จำให้แม่น ถ้านึกไม่ออก แสดงว่า เราซื้อโดยไม่มีแผนวางไว้ เรียกว่า ขาดวินัยของการคิด เพื่อให้มีวินัยในการคิดวิธีง่ายๆคือ เวลาเราซื้อหุ้น ควรจะเขียนในสมุดของเราเลยว่า หุ้นตัวนี้ เราซื้อเพราะอะไร จดไว้ พอมีEvent อะไรก็ตามที่ทำให้ใจเราอยากซื้อหรือขายหุ้นตัวนี้ ให้เปิดมาอ่านสิ่งที่เราเขียนก่อน ช่วยได้จริงๆครับ ลองทำดู พอทำไปสักระยะ ผมว่า เราจะเริ่มมีระบบการคิดของเราเองมีวินัยในการคิดให้เป็นระบบ ต่อไปก็ไม่ต้องจดไว้แล้วว่า หุ้นตัวนี้เราซื้อเพราะอะไร เพราะเราจะคิดได้เองโดยไม่ตอ้งมีตัวช่วยมากนัก

หมาย เหตุ: ปกติแล้วคำว่า ซื้อเพราะอะไรแล้วแต่กลยุทธ์ของแต่ละคนนะครับ เอาง่ายๆเช่นผมเองเวลาจะซื้อหุ้นตัวนี้ ผมจะสร้าง สกอร์ไว้ก่อน และนำไปสู่ เป้าหมาย เขียนแล้วอาจจะงง ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น บริษัทมีอัตรากำไรเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20เปอร์ ทุกไตรมาส หรือ ถ้าในบางบริษัทที่เติบโตน้อย ก็อาจจะโยงถึงเป้าหมายอื่นๆเช่น บริษัทนี้หยุดการเปิดสาขา กำไรสุทธิต่อไตรมาสลดลงเรื่อยๆ เป็นต้น จริงๆแล้วมีหลักอีกเยอะในการสร้างเหตุผล ต้องลองศึกษาไปเรื่อยๆ แล้วจะบอกได้ว่า ตัวเราจะใช้หลักไหนในการสร้างเหตุผล ครับ

ลอง ฝึกสร้างเหตุผลง่ายๆให้ตัวเองนะครับ ไม่ต้องเลียนแบบใคร ลองคิดเองแบบง่ายๆ ไม่ต้องให้ดีเลิศแบบนักวิชาการอะไร แต่ผมเชื่อว่า การฝึกสร้างเหตุผล นั้น มีเหตุผลของมัน นั่นคือ....

เหตุผลที่เราสร้างขึ้นด้วยตัวเราจะทำให้เราเรียกสติกลับมาได้ ดีกว่า การลอกเหตุผลของคนอื่นครับ

ต่อมาเราค่อยๆทบทวนต่อว่า ข่าวนี้ เป็นอย่างไร

ค้น หา คำตอบให้ได้ ว่า ข่าวนั้น ลึกๆแล้ว มีผลกระทบต่อบริษัทในระยะสั้นหรือระยะยาว หรือไม่มีผลอะไรเลย แค่ตัวแปรภายนอกให้คนไขว้เขว (คนที่จะพอได้คำตอบตรงนี้ได้เร็ว อย่างน้อยต้องรู้จักบริษัท นี้อย่างเพียงพอ ศึกษาบริษัทมาพอสมควร ไม่ใช่นักลอกหุ้น ) แต่บางคนอาจจะยังไม่เก่งในเรื่องการวิเคราะห์ ก็อาจจะอาศัยความรู้จากเพื่อนๆที่พอที่จะช่วยได้ในเวปต่างๆก็มีกูรูหลายท่าน ยินดีที่จะมาย้ำพื้นฐานของบริษัทและแจ้งเหตุผลให้เราได้อ่าน ก่อนการตัดสินใจ

โดยหลักการทางวิทยาศาสตร์ ง่ายๆ เมือมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น เราตอ้งแยกให้ออกว่า ข่าวนี้คือข่าวดีข่าวร้าย แท้หรือปลอม ความหมายก็คือ
เมื่อมี Story เราต้องแยกให้ได้ว่า มันเป็น true หรือ false positive/ negative




ท้ายสุด คงมีนักลงทุนหลายๆคน คุ้นเคยกับสำนวนทั้งสองประโยคได้ดี ..

ข่าวดีให้ขาย ข่าวร้ายให้ซื้อ
“Buy on rumor and sell on fact”


จึงเป็นสำนวนที่ตีค่า ในแง่ของข่าว ที่มีผลต่อราคาหุ้น ถ้ามองประโยคลึกๆจริงๆ ก็มีมุมมองที่ต่างกัน
อยู่ที่ตัวเราจะเลือกใช้แบบไหน ไมใช่แค่การแปลประโยคตรงๆแล้วนำไปใช้ ครับผม


เดียววันหลังจะมาเขียนต่อ ยังไม่ได้เข้าเรื่องหลักเลย 555



Create Date : 01 ธันวาคม 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น