ads head

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิกฤติเศรษฐกิจ 1929 (ตอนที่ 5): หนี้เสีย

หนี้เสีย

 คำถามที่จะถามก็คือว่าเราทำอะไรกันบ้างกับสินทรัพย์ของ ธนาคารที่ส่อแววว่า กำลังจะมีปัญหาเกิดขึ้นในช่วงที่วิกฤติเศรษฐกิจเริ่มต้นขึ้น ตราบใดที่ตลาดสินเชื่อยังคงเลวร้ายต่อไปเรื่อยๆ และตราบใดที่สินทรัพย์ที่สถาบันการเงินได้มาจากการปล่อยสินเชื่อยังคมมี มูลค่าลดลงต่อไปไม่หยุด ธนาคารก็ไม่สามารถที่จะปล่อยกู้เพิ่มเติมได้หรือแม้ว่าจะยังคงกระทำได้ สถาบันการเงินก็จะเลือกที่จะไม่ปล่อยกู้เพิ่มเติมเพราะกลัวว่าจะกลายเป็น หนี้เสียตามมาในภายหลัง แทนที่จะปล่อยให้ธนาคารต้องต่อสู้ดิ้นรนหาทางออกให้กับหนี้เสียที่เกิดขึ้น ด้วยตัวเอง ให้ระบบแก้ไขตัวเองไปตามธรรมชาติของมัน ผู้กำหนดนโยบายก็จะออกมาตรการต่างๆมาชุดหนึ่งเพื่อดึงหนี้เสียออกจากระบบ ทำให้ระบบธนาคารสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าได้อีก ครั้งหนึ่ง

สูตรสำเร็จที่ภาครัฐนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาสถาบันการ เงินก็คล้ายๆกับการผ่าตัดครั้งใหญ่ที่สุดแสนจะเจ็บปวดนั่นคือ การแยกธนาคารที่ประสบปัญหาออกมาเป็น 2 ธนาคารเป็น good bank กับ bad bank สินทรัพย์ที่ยังดีอยู่ ไม่มีปัญหาก็เอาไว้กับ good bank ส่วนหนี้เน่า สินทรัพย์ที่มีปัญหาก็เอาไปไว้กับ bad bank เมื่อมีการแยกหนี้เสียออกมา good bank ก็สามารถดำเนินธุรกิจปล่อยสินเชื่อต่อไปได้ มีความน่าในใจ สามารถดึงดูดเงินฝาก เงินทุนได้ 

ราคาที่ธนาคารต้องสูญเสียไปอันเนื่องมาจากมาตรการกำจัดหนี้เสียออกจากระบบ บัญชีของธนาคารเพื่อให้ธนาคารดำเนินธุรกิจต่อไปได้นั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ ค่อนข้างแพงที่ผู้ถือหุ้นของธนาคารและเจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักประกันต้องกล้ำ กลืนฝืนทน ตัดใจ ตัดหนี้สูญในส่วนนี้ไป คือ ในส่วนที่เป็นหนี้เสียที่ธนาคารต้องยอมตัดขายขายทุนสินทรัพย์ในส่วนนั้นให้ กับ bad bank ในทางกลับกัน bad bank หรือบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เอกชนเป็นผู้จัดตั้งขึ้นก็สามารถทำกำไรได้จาก สินทรัพย์ที่ธนาคารประมูลซื้อมาในราคาถูกๆนั่นเอง

มาตรการในทำนองนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากปี 1988 เมื่อธนาคารเมลลอนมีปัญหาขาดความน่าเชื่อถือ ปัญหาเกิดขึ้นเมื่ออสังหาริมทรัพย์ในพอร์ตสินเชื่อของธนาคารซึ่งปล่อยกู้ให้ กับภาคอุตสาหกรรมกลายเป็นหนี้เสีย ธนคารเมลลอนใช้เงินที่ได้มาจากธนาคารเพื่อการลงทุนดึงสินทรัพย์ที่สงสัญว่า จะเสียออกจากบัญชีทรัพย์สินของธนาคาร โยกสินทรัพย์ด้งกล่าวไปไว้ในบัญชีของธนาคารใหม่ที่ธนาคารจัดตั้งขึ้นมาซึ่ง มีชื่อว่า the Grant Street National Bank นักลงทุนทั่วไปที่ชื่นชอบความเสี่ยงใส่เงินลงทุนของตนเองลงไปในธนาคารใหม่ นี้ พนักงานที่ทำงานกับ bad bank ดังกล่าวมีหน้าที่กว้านซื้อสินทรัพย์มีปัญหา ประเมินราคาสินทรัพย์ และทำกำไรให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้จากสินทรัพย์เสียที่ประมูลซื้อมา 

เมื่อธนาคารเมลลอนปลดเปลื้องสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ออกไปได้ ธนาคารเมลลอนก็ฟื้นคืนชีพ กลับมาดำเนินธุรกิจ ยืนอยู่บนขาของตัวเองได้อีกครั้งภายในระยะเวลาอันสั้น เมื่อธนาคาร the Grant Street National Bank ขายสินทรัพย์หมดในปี 1995 ธนาคารดังกล่าวก็เลิกกิจการไป

นี่เป็นมาตรการที่ดีที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน วิธีการอื่นๆที่เป็นทางเลือกที่ดีน้อยกว่าก็คือการผลักภาระให้กับภาครัฐ ให้รัฐเป็นผู้รับซื้อหนี้เสียของธนาคารอย่างที่ TARP ดำเนินการอยู่ ราคาที่ TARP จะต้องจ่ายเป็นไปตามระบบที่เรียกว่า “reverse auction” คือผู้ขายจะเสนอราคาขายที่ต่ำที่สุดที่ตนเองยอมรับได้ให้กับ TARP เพื่อกำจัดหนี้เสียออกจากระบบบัญชีของธนาคาร ผลของการตั้งราคาซื้อขายดังกล่าวคือทำให้สินทรัพย์มีราคาลดต่ำลง

วิธีดังกล่าวก็เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ แต่วิธีการบริหารสินทรัพย์ในลักษณะนี้นั้นเป็นวิธีการที่นำมาซึ่งราคา สินทรัพย์ที่เป็นธรรมจริงๆหรือ ธนาคารที่เข้าร่วมการประมูลก็รู้ ก็เห็นกันอยู่ว่าราคา/มูลค่าสินทรัพย์นั้นมีแนวโน้มว่าจะลดต่ำลงไปเรื่อยๆ แล้วทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็รวมหัวกันทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้อะไรใดๆทั้ง สิ้นในเรื่องนี้ ยิ่งไปกว่านั้นสินทรัพย์ทั้งหลายเหล่านั้นล้วนแต่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ที่จะเกิดประโยชน์ได้ก็แต่เฉพาะกับผู้ถือครองหลักทรัพย์/สินทรัพย์ที่เป็น สถาบันการเงินเท่านั้น และสิ่งที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่งก็คืออำนาจในการต่อรองราคาสินทรัพย์ เพื่อให้ได้ราคารับซื้อสินทรัพย์ที่ต่ำที่สุดนั้น รัฐบาลสามารถต่อรองกับสถาบันการเงินได้มากน้อยแค่ไหน ราคาที่ซื้อได้สูงเกินจริงหรือไม่ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วหากเหตุการณ์ดำเนินไปในลักษณะดังกล่าวจริง รัฐบาลก็จะต้องขาดทุนจากเม็ดเงินที่ควักกระเป๋าออกไปรับซื้อหนี้เสียเหล่า นั้น และเมื่อความช่วยเหลือดังกล่าวสิ้นสุด การตัดสินใจเข้าซื้อหนี้เสียของรัฐบาลเพื่ออุ้มสถาบันการเงินดังกล่าวก็จะ กลายเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงด้วยเงินภาษีที่เก็บมาจากผู้เสียภาษีอากร ชาวอเมริกันนั่นเอง ประชาชนจึงเป็นผุ้เสียหายตัวจริง

ทางเลือกอื่นมีอีกมั๊ย มีครับ เช่น การกำหนดรูปแบบของการที่ภาครัฐจะเข้าไปเป็นผู้ค้ำประกันให้กับธนาคารที่ ประสบปัญหา ประมาณว่าธนาคารมีหนี้เสียอยู่ 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ธนาคารก็อาจจะยินยอมให้หักส่วนลดสัก 3 พันล้านดอลลาร์เป็นหนี้สูญ แล้วให้รัฐบาลเข้ามาช่วยดูแลหนี้ในส่วนที่เหลืออีก 4.7 หมื่นล้านดอลลาร์ แลกกับการค้ำประกันสินเชื่อของภาครัฐด้วยการยอมเสียเงินไป 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นค่าพรีเมียมที่ธนาคารจ่ายให้กับรัฐบาลที่เข้ามาช่วย ค้ำประกันหนี้ที่มีมูลค่าลดลงมาเหลือ 4.7 หมื่นล้านดอลลาร์ให้ ทางเลือกอื่นก็ยังมีอยู่อีก อย่างเช่นการให้รัฐเลือกรับผลตอบแทนเป็นหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ของธนาคาร ที่มีมูลค่าเท่ากับ 3 พันล้านดอลลาร์ที่ธนาคารจะต้องตัดหนี้สูญในส่วนนี้ออกไป

วิธีการในแบบหลังๆนั้ก็คือวิธีการที่มีการนำมาประยุกต์ ใช้กันในสหราชอาณาจักร และรัฐบาลสหรัฐก็นำมาใช้ต่อด้วยการให้การค้ำประกันมูลหนี้มูลค่าหลายแสนล้าน ดอลลาร์ให้กับสินทรัพย์เสี่ยงของ Bank of America และซิตีกรุ๊ป คราวนี้เราลองมาดูกันว่าในทางปฏิบัตินั้นผลจะออกมาเป็นอย่างไร ในกรณีของแบงค์ออฟอเมริกานั้น หนี้เน่าของธนาคารมีมูลค่าประมาณ 1.18 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ มีการตัดหนี้สูญออกไปประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังการให้ความช่วยเหลือครั้งแรกแบงค์ออฟอเมริกาก็ตั้งหลักได้ ธนาคารต้องตัดหนี้สูญไปร้อยละ 10 ของมูลหนี้ทั้งหมด ส่วนหนี้ที่เหลืออยู่อีกร้อยละ 90 นั้นได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาล โดยรัฐบาลสหรัฐได้รับผลตอบแทนเป็นหุ้นจำนวนมหาศาลในธนาคารซึ่งมีมูลค่าเท่า กับจำนวนเงินที่รัฐบาลใส่เข้าไปช่วยเหลือนั่นเอง

ส่วนวิธีการ reverse auction นั้นกลับเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากกว่า ซึ่งรัฐบาลก็ยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงว่าความช่วยเหลือที่ให้ไปนั้นจะ เกิดความเสียหายขึ้นมาหรือไม่ ในกรณีของแบงค์ออฟอเมริกา รัฐบาลอาจตั้งสมมติฐานขึ้นมาว่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้นั้นน่าจะไม่ มากไปกว่าสิ่งที่แบงค์ออฟอเมริกาได้จ่ายให้กับรัฐบาล(หุ้นในธนาคาร) แต่หากว่ามูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมันกลับกลายเป็นว่าสูงกว่าที่รัฐบาล ได้คาดการณ์กันไว้แล้ว รัฐบาลก็จะต้องแบกรับภาระความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประมาณการณ์ที่ ผิดพลาดนั้นตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้ ผลสุดท้ายก็คือว่ารัฐบาลได้จ่ายเงินภาษีอากรของประชาชนไปให้กับแบงค์ออ ฟอเมริกาสูงเกินมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ที่รัฐบาลได้รับมาเป็นการตอบ แทน รัฐบาลก็จะขาดทุนจากการลงทุนในครั้งนี้ เสียเงินงบประมาณไปกับการตัดสินใจที่ผิดพลาดของธนาคารเอกชน สุดท้ายแล้วภาระทั้งหมดก็ตกอยู่กับประชาชนผู้เสียภาษีอีกนั่นเอง ผู้เสียหายตัวจริง

ในปัจจุบันปัญหาของข้อตกลงในการแก้ไขปัญหาหนี้เน่านั้น ดูเหมือนว่าจะกำลังดำเนินไปบน แนวทางในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยยืนอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดที่ว่ารัฐบาลเห็นด้วยกับการให้ความช่วยเหลือ ทางการเงินแก่นักลงทุนภาคเอกชนที่ตกลงรับซื้อหนี้เสียไว้แล้วดึงหนี้เสีย ก้อนดังกล่าวออกจากระบบบัญชีของธนาคารที่มีปัญหา นั่นคือแนวคิดพื้นฐานของมาตรการที่เรียกว่า the Public-Private Investment Program : PPIP “Pee-Pip” ที่รัฐบาลนำออกมาใช้ในปี 2009 มาตรการที่ดูเหมือนว่าจะย่ำแย่ที่สุดเท่าที่เคยมีการคิดค้นกันออกมา เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำนับล้านล้านดอลลาร์ที่ปล่อยกู้ให้กับนักลงทุนภาคเอกชนที่ ต้องการเข้าไปประมูลซื้อหนี้เน่าของธนาคาร แล้วรัฐบาลก็ทำให้ข้อตกลงมันดูดีขึ้นมาหน่อยด้วยการเสนอว่าจะใส่เงินทุนลงไป ในสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ

โชคไม่ดีที่เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำดังกล่าวของรัฐบาลไม่ได้ ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นเลย สถานการณ์ยังคงเลวร้ายต่อไปเช่นเดิม นักลงทุนสามารถเบี้ยวหนี้ได้โดยที่รัฐไม่สามารถลงโทษอะไรได้เลย ในทางปฏิบัตินั้นนักลงทุนเองก็มีแรงจูงใจให้ตั้งราคาเสนอซื้อขายที่เกินจริง เพราะหลังจากการซื้อขายเกิดขึ้นแล้วรัฐบาลก็จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือทางการ เงิน จ่ายเงินซื้อหนี้เสียเหล่านั้นไปในภายหลัง ผลก็คือภาคเอกชนเป็นผู้ชนะและได้รับกำไรไปในช่วงที่เศรษฐกิจเดินต่อไปได้ ส่วนภาครัฐก็ต้องแบกรับภาระทางการคลังเอาไว้ในยามที่เศรษฐกิจเกิดปัญหาซึ่ง ก็คือผู้เสียภาษีนั่นเองที่เป็นผู้เสียหายตัวจริง

ดัง นั้น PPIP จึงไม่ได้ดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนได้มากนัก นั่นเป็นเพราะว่ารัฐบาลนั้นมีมาตรการให้ความช่วยเหลือภาคธนาคารด้วยวิธีการ อื่นที่ได้ผลมากกว่าอยู่แล้ว ด้วยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมากำกับดูแลการถ่ายโอนหนี้เสียออกจากระบบบัญชีของ ธนาคารที่มีปัญหา เพื่อให้สะท้อนภาพมูลค่าที่แท้จริงของราคาสินทรัพย์ตามราคาตลาด ซึ่งมาตรการนี้เป็นนโยบายที่ดีที่ช่วยป้องกันการตกแต่งตัวเลขทางบัญชีของ สินทรัพย์ให้สูงเกินของของสถาบันการเงินเจ้าของสินทรัพย์

ไม่มีมาตรการอะไรที่ทำออกมาแล้วสมบูรณ์แบบ เพียบพร้อมทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ก็มีบางมาตรการที่ทำออกมาแล้วดีกว่ามาตรการอื่นๆ โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการแยกหนี้เสียออกมาแล้วถ่ายดอนออกไปไว้กับ bad bank วิธีการนี้คือวิธีการที่รัฐแบกรับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาของ ธนาคารเอกชนไว้น้อยที่สุด ทั้งยังยืนอยู่บนหลักของความถูกต้อง ชอบธรรม และช่วยให้ธนาคารกลับมามีแรงจูงใจทางธุรกิจ คิดที่จะปล่อยกู้กันอีกครั้ง แต่การนำมาตรการนี้ออกมาใช้นั้นนักลงทุนต้องยอมแบกรับความเจ็บปวดบ้างอัน เนื่องมาจากการตัดหนี้สูญ และการตัดขายสินทรัพย์ออกไปในราคาขาดทุนให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งในปัจจุบันผู้กำหนดนโยบายและนักการเมืองนั้นไม่ปรารถนาให้เกิดเรื่องแบบ นั้นขึ้น และออกหน้ามาดำเนินการแทรกแซงระบบด้วยตัวเอง โชคไม่ดีที่การแทรกแซงของนักการเมืองนั้นไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น ธนาคารค่อยๆย่ำแย่ลงไปเรื่อยๆ อาการหนักขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นผีตายซากที่ยืนหยัดอยู่ได้ด้วยกองหนี้ สาธารณะจำนวนมหาศาลของรัฐบาล

เมื่อเราย้อนกลับไปมอง ดูเรื่องมาตรการให้ความช่วยเหลืองบเงินมหาศาลในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่ภาครัฐ พยายามยื้อชีวิตครั้งแล้วครั้งเล่านี้ ใส่เงินเข้าไปอัดฉีดภาคธนาคารและสถาบันการเงินอื่น และขยายวงเงินคุ้มครองเงินฝาก ขณะที่สินเชื่อของธนาคารยังคงอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ รัฐบาลก็ต้องเข้ามาอุ้มช่วยกันต่อไปไม่ให้ตลาดสินเชื่อพังครืนลงไปอีกครั้ง ธนาคารจึงต้องดำเนินมาตรการซื้อหนี้เสียของธนาคารต่างๆหรือแนวทางอื่นๆโดย แปลงหนี้ของภาคเอกชนมาเป็นพันธบัตรรัฐบาลซึ่งมีความมั่นคง ปลอดภัย เชื่อถือได้มากกว่าในสายตาของนักลงทุน รัฐบาลก็ต้องออกมาค้ำประกันหนี้เสียของสถาบันการเงินและออกมาตรการทั้งทาง ตรงและทางอ้อมเพื่อซื้อหนี้เสียดังกล่าวไว้ เม็ดเงินที่รัฐบาลปูพรมลงมานั้นมากมายมหาศาล สูงสุดเป็นประวัติการณ์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โชคไม่ดีที่ปัญหาอุปสรรคต่างๆซึ่งรัฐบาลกำลังเผชิญอยู่นั้น มาตรการให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงินของรัฐบาลนั้นช่วยสถาบันการเงินได้ อย่างจะแจ้ง ชัดเจน แต่กลับไม่ได้สนับสนุนให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจขึ้นเลย

ที่มา http://seksanpantu.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น