ads head

วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

“คำสอนในการลงทุน” ของบัฟเฟตต์ ตอนที่ 1

“คำสอนในการลงทุน” ของบัฟเฟตต์ ตอนที่ 1

สวัสดีครับ  เพื่อนๆ พี่ๆ เฟสบุ๊ค
ไม่เจอกันหลายวันนะครับ
ในเวลานี้ เราเปลี่ยนแปลงเวลามาพบกันทุกวันเสาร์ อาทิตย์
วันนี้ ผมอยากจะพาเพื่อนๆมาอ่านเรื่องราวของ “บัฟเฟตต์”
ในตอน  “คำสอนในการลงทุน” ของบัฟเฟตต์  ตอนที่ 1

ที่มา http://www.doctorwe.com/variety/20120812/3010
หนึ่ง  อย่าสนใจเรื่องเล็กๆที่สั่นคลอน “ตลาด”
จดหมายถึงผู้ถือหุ้นปี 2008 ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2009
ที่กล่าวไว้ว่า “เศรษฐกิจจะยังคงเซื่องซึมต่อไปจนถึงปี 2009”
คำพูดดังกล่าวได้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วผ่านอินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ และอื่นๆ
เมื่อตลาดหุ้นปิดในวันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2009
ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ก็ตกลงมาสู่ระดับที่ต่ำที่สุดในรอบสองทศวรรษ


แต่จริงๆแล้วประโยคเต็มๆของมันคือ
“เศรษฐกิจจะยังคงเซื่องซึมต่อไปจนถึงปี 2009  แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ราคาหุ้นจะขึ้นหรือจะลง
แต่ทำไมประโยคท่อนที่ตามมาจึงไม่มีการเผยแพร่ไปด้วยล่ะ?
เหตุผลหนึ่งที่พอเป็นไปได้ก็คือ
นักวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ต้องการสร้างเหตุการณ์ต่างๆให้เป็นเหมือนละคร


เขาทำเพียงเพื่อจะได้… เพิ่มความนิยมต่อสื่อที่พวกเขาทำงานอยู่
แต่พวกเขากลับไม่ได้คำนึงว่า สิ่งที่พวกเขาทำลงไปนั้น
ได้สร้างความสับสนโกลาหลอย่างรุนแรงให้แก่โลกใบนี้
ดังนั้นจึงจำไว้ว่า…
ข้อสรุปของภาวะทางเศรษฐกิจ ไม่ได้บอกเราว่าตลาดหุ้น “จะขึ้น” หรือ “จะลง”


สอง  จงยินดี เมื่อตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะที่ “เลวร้าย”
คำว่า “การจัดสรรเงินลงทุน” ของบัฟเฟตต์นั้นหมายความว่าอย่างไร?
อันที่จริงบัฟเฟตต์คิดว่าตัวเขาเองไม่ได้เป็นแค่ผู้บริหาร  เท่านั้น
แต่เขายังเป็นประธานเจ้าหน้าที่จัดสรรการลงทุน อีกด้วย
เขาจึงต้องทำให้เงินสดของบริษัทของเขาอยู่ในที่ที่ปลอดภัย
เพื่อจะได้ใช้เงินดังกล่าวในยามที่จะต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อการลงทุน


เช่นเดียวกับนายพลผู้ยิ่งใหญ่ในสนามรบ
บัฟเฟตต์รู้ถึงคุณค่าของช่วงเวลาที่ผิดปกติซึ่งเป็นหลักการที่ได้พิสูจน์มาแล้ว
เขาได้พัฒนาจิตใจที่แข็งแกร่งเพื่อที่จะเผชิญหน้ากับภาวะตลาดที่เลวร้าย
และนำเอาความคิดในแง่ร้ายต่างๆมาเป็นเพื่อนเขา
เมื่อทุกคนกำลังวิ่งหนีมุ่งหน้าไปสู่ภูเขา เขาก็จะเริ่มใช้เงินทุนที่เก็บสะสมไว้
นั่นคือ บัฟเฟตต์กำลังจะแสวงหาโอกาส ที่ยากจะแสวงหาได้ในยามปกตินั่นเอง


ความสำเร็จของบัฟเฟตต์นั้นวัดได้ง่าย
เขามักจะชนะสงครามเมื่อเขานำเงินที่บรรดาผู้บริหารของบริษัทในเครือหามาได้
ไปลงทุนต่อและสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าต้นทุนของเงินจำนวนนั้น
โดยการใช้สายตาอันเฉียบคมแสวงหาเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำและผลตอบแทนที่สูง


บัฟเฟตต์ก็สามารถทำให้ราคาหุ้นของบริษัทของบัฟเฟตต์เพิ่มขึ้น
ในอัตราทบต้น 20.3 เปอร์เซ็นต์ต่อปีเป็นเวลานานถึง 45 ปี
ซึ่งนั่นก็คือ ผลตอบแทนที่มากกว่าสองเท่าของอัตราที่เพิ่มขึ้นของดัชนีเอสแอนด์พี 500 ในช่วงเวลาเดียวกัน
ดังนั้นจึงควรจำไว้ว่า…นักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ จะต้องเป็นผู้จัดสรรเงินลงทุนที่ “มีวินัย”
สาม ตรวจดูอีกที ถ้าคุณคิดว่า “ฟ้าจะถล่ม”
ในปี 2008 ราคาหุ้นของบริษัทของบัฟเฟตต์ตกลงมาจาก 90,343 ดอลลาร์ต่อหุ้น
ลงมาเหลือเพียง 77,793 ดอลลาร์ต่อหุ้น
ซึ่งการลดลงในครั้งนั้นเป็นเพราะการร่วงลงของตลาดโดยรวม
มิใช่เป็นเพราะว่ามูลค่าสุทธิของหุ้นลดลง
ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่น่าประทับใจเอาเสียเลย


ในช่วงสิ้นปี 2008 เขาได้รายงานการลงทุนของพอร์ตของบริษัทของบัฟเฟตต์
ว่าตกลงมาถึง 14 เปอร์เซ็นต์ …และมันก็ยังคงตกต่อไป
นักลงทุนที่ชาญฉลาดที่สุดในโลกก็ได้รับความเจ็บปวดเช่นเดียวกับบรรดาผู้ถือหุ้น
และนี่คือสิ่งที่ทำให้คนทั่วไปประหลาดใจว่า
ทั้งๆที่บัฟเฟตต์ฉลาดถึงอย่างนั้นแล้ว
ทำไมเขาจึงขาดทุนในการลงทุนด้วยล่ะ?


คำตอบง่ายๆก็คือ บัฟเฟตต์ก็เป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง
จากนั้นก็มีคำถามตามมาอีกว่า…
แล้วบัฟเฟตต์ทำอะไรต่อ หลังจากที่หุ้นของเขาตก?
คำตอบง่ายๆก็คือ เขาอยู่เฉยๆ..และไม่ได้ทำอะไรเลย


ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นของเขา บัฟเฟตต์เขียนชัดเจนว่า
การตกลงของราคาหุ้นเป็นผลมาจากสภาพโดยรวมของตลาดที่ตกลงมา
มิใช่เป็นเพราะว่ามูลค่าสุทธิของหุ้นบริษัทของบัฟเฟตต์ตกต่ำลง
การตกลงมาของราคาหุ้นในครั้งนั้นเป็นการตกลงมาแค่ตัวเลขเท่านั้น


บัฟเฟตต์ทราบดีว่ามันก็เหมือนสภาพภูมิอากาศ ในที่สุดตลาดก็จะเปลี่ยนไป
และก็ชัดเจนว่าคุณภาพของหุ้นของบริษัทของบัฟเฟตต์ก็จะสูงขึ้นตามมูลค่าสุทธิของมัน
อะไรจะเกิดขึ้นถ้าบัฟเฟตต์เกิดตกใจเหมือนกับไก่ในภาพยนตร์เรื่อง “Chicken Little” 
เมื่อมันถูกลูกต้นโอ๊คตกใส่หัว และคิดว่าฟ้ากำลังจะถล่ม


แต่บัฟเฟตต์ไม่ได้ขายหุ้นที่ราคาต่ำสุด และบริษัทของบัฟเฟตต์ก็ไม่ได้ขาดทุนอย่างมหาศาล
และในที่สุดตลาดหุ้นก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกเช่นเคย
และผู้ถือหุ้นบริษัทของบัฟเฟตต์ก็ยังคงโชคดีที่มีบัฟเฟตต์เป็นหัวเรือใหญ่
นั่นเป็นเพราะว่า เมื่อใดก็ตามที่ตลาดเริ่มฟื้นตัว
ราคาของหุ้นบริษัทของบัฟเฟตต์ก็จะพลอยขึ้นตามไปด้วย
คติพจน์:  จงหลีกเลี่ยง “โรคกระต่ายตื่นตูม”
สี่  ซื้อหุ้นที่มีคุณภาพ เมื่อมัน “ราคาตก”
บัฟเฟตต์พยายามที่จะหนีห่างจากโรค “กระต่ายตื่นตูม”
ตามคำสอนของ เบน เกรแฮม ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
เกรแฮม เป็นนักลงทุนที่เน้นคุณค่า และเป็นผู้สร้างวินัยในการวิเคราะห์หุ้น
หลักการที่สำคัญที่สุดในเรื่องนี้ก็คือ “ราคาคือ สิ่งที่เราจ่ายไป แต่คุณค่าคือ สิ่งที่เราได้มา”


วิธีในการหาคุณค่าของหุ้นแบบนี้มักจะไม่เป็นที่ชื่นชอบของนักเก็งกำไร
บัฟเฟตต์เองไม่ได้มองหุ้นของบริษัทที่เข้าไปลงทุนเป็นเพียงใบหุ้นธรรมดาๆเท่านั้น
แต่เขากลับแสวงหาที่จะซื้อธุรกิจที่เขาสามารถจะเข้าใจได้
มีความได้เปรียบในการแข่งขัน
และมีการบริหารโดยผู้บริหารที่ซื่อสัตย์


ด้วยคุณสมบัติทั้ง 3 ประการข้างต้น
ก็จะทำให้บัฟเฟตต์คาดการณ์ได้ว่าจะมีเม็ดเงินไหลมาหาเขาจากธุรกิจเหล่านั้นตลอดอายุของมัน
เขาก็จะซื้อหุ้นของบริษัทดีๆที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นนั้นๆ
เพื่อจะทำให้ผลตอบแทนของเขาดีขึ้นไปอีก


อะไรคือมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นที่เราจะเข้าไปซื้อ?
ทุกวันนี้ในยามที่ตลาดซบเซา มูลค่าของมันมีค่ามากกว่าเงินที่เราต้องจ่ายไปเพื่อซื้อมัน
ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว เราก็จะซื้อหุ้นอย่างชาญฉลาด
แต่อะไรจะเกิดขึ้นล่ะ? ถ้าคุณซื้อหุ้นตอนราคาขึ้นถึงจุดสูงสุด


ทุกวันนี้ หุ้นที่คุณซื้อไว้ควรจะมีมูลค่าที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของมัน
สำหรับบัฟเฟตต์แล้ว ราคาหุ้นที่จะซื้อจะต้องต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงเท่านั้น
ไม่ใช่ซื้อหุ้นในราคาที่ผันผวนตามภาวะฟองสบู่ที่เป็นอยู่
คติพจน์:  ราคาคือ สิ่งที่เราจ่ายไป แต่คุณค่าคือ สิ่งที่เราได้มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น