ads head

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เจาะลึกเบื้องหลังความสำเร็จ และวิสัยทัศน์ก้าวต่อไปของ “นายธนินท์ เจียรวนนท์”

CNBC เจาะลึกเบื้องหลังความสำเร็จ และวิสัยทัศน์ก้าวต่อไปของ “นายธนินท์ เจียรวนนท์” ผู้ที่ทำให้เครือเจริญโภคภัณฑ์เติบโตจากธุรกิจครอบครัวสู่การเป็นบริษัท เกษตรและอาหารชั้นนำระดับโลก  


หลังจากที่ CNBC สถานีโทรทัศน์ธุรกิจชื่อดังระดับโลกได้มอบรางวัล Lifetime Achievement Award ประจำปี 2555 ซึ่งเป็น 1 ในรางวัล Asia Business Leaders Awards  ที่ยิ่งใหญ่ในระดับภูมิภาคเอเชีย  แก่ ‘นายธนินท์ เจียรวนนท์’ ไปได้ไม่นาน ทางสถานี CNBC ก็ส่ง “Christine Tan” ผู้ดำเนินรายการ Managing Asia ซึ่งเป็นรายการยอดนิยมของ CNBC ที่สัมภาษณ์แต่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรธุรกิจชั้นนำของโลกเดินทางมา สัมภาษณ์พิเศษถึงเบื้องหลังความสำเร็จของ‘ท่านประธานธนินท์ เจียรวนนท์’ ผู้ที่ทำให้เครือเจริญโภคภัณฑ์เติบโตจากธุรกิจครอบครัวสู่การเป็นบริษัท เกษตรและอาหารที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก รวมถึงวิสัยทัศน์ในการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคตของเครือเจริญโภคภัณฑ์ 

ในการนี้ “Christine Tan” ได้ สัมภาษณ์ถึงที่มาแห่งความสำเร็จของเครือเจริญโภคภัณฑ์ภายใต้การบริหารงานของ นายธนินท์ที่ทำให้เครือเจริญโภคภัณฑ์ก้าวสู่การเป็นบริษัทระดับโลก รวมถึงทุกประเด็นคำถามที่ทุกคนอยากรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง การแก้ปัญหาไข้หวัดนก รวมถึงข่าวคราวการเข้าไปถือหุ้นของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ของโลก ไม่ว่าจะเป็นคาร์ฟูร์ หรือ สมิทฟิลด์ และยังเปิดเผยถึงการสร้างคน สร้างทายาททางธุรกิจ และผู้นำคนใหม่ในอนาคตของเครือเจริญโภคภัณฑ์ 

ท่านที่สนใจสามารถติดตามทุกเนื้อความในการสัมภาษณ์ครั้งนี้แบบไม่ตัดต่อได้ทาง CP E News เพียงแห่งเดียวเท่านั้น....

Christine Tan : คุณ พ่อและคุณอาของท่านได้เริ่มต้นธุรกิจเมื่อปีค.ศ. 1921 โดยการขายเมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะขยายไปสู่ธุรกิจอาหารสัตว์แล้วก็ทำฟาร์มท่าน เรียนรู้อะไรในแง่ของการทำธุรกิจจากการที่ได้ดูคุณพ่อและคุณอาของท่านในการ ทำธุรกิจ

ท่านประธานธนินท์ : ตอนเด็ก ๆ ได้มีโอกาสคุยกับคุณพ่อ ซึ่งความสำเร็จของคุณพ่อนี่ถืออยู่หลักเดียวก็คือคุณภาพ และต้องคิดถึงประโยชน์ของเกษตรกร นี่คือหลักที่ผมเรียนรู้จากคุณพ่อ  ต้องซื่อสัตย์ต่อคุณค่าของลูกค้าและคู่ค้า ในโบราณคุณพ่อก็คำนึงถึงหลักนี้แล้วว่าการที่เราไปหลอกลวงเกษตรกรเขาไม่ได้ เราต้องหาเมล็ดพันธุ์ที่ดีที่สุดให้เขา เพราะเขาเหน็ดเหนื่อยเขาลงทุนไปแล้วถ้าหากว่าเมล็ดพันธุ์ไม่ดีเขาจะขาดทุน ทั้งน้ำหนักก็ไม่มี ราคาก็ไม่ดี เพราะเมล็ดพันธุ์นี้สำคัญมากเพราะเมล็ดพันธุ์นี้มีชีวิต และมีการลงวันที่ เช่น ถ้าหมดอายุแล้วสามารถนำมาเปลี่ยนได้ฟรี นี่คือหลักที่ทำให้ผมเข้าใจว่าถ้าผมมารับกิจการบริหารธุรกิจอาหารสัตว์เนี่ย จะยึดหลักเรื่องคุณภาพเป็นที่หนึ่งและเรื่องประโยชน์ของคู่ค้าเป็นที่หนึ่ง และเราเป็นที่สอง

Christine Tan : ท่าน เป็นลูกคนสุดท้องของคุณพ่อซึ่งมีลูกชาย 4 คนด้วยกันแต่ทำไมถึงได้รับการเลือกให้เข้ามาบริหารบริษัทท่านเป็นลูกคนโปรด ของคุณพ่อรึเปล่า

ท่านประธานธนินท์ : คือ อย่างนี้ครับ ผมเป็นลูกคนสุดท้องก็จริง แต่ธุรกิจในช่วงที่คุณพ่อกับคุณอาทำนั้นเป็นเฉพาะธุรกิจเมล็ดพันธุ์   ต่อมาพี่ชายคนโตและคนที่สองได้มาริเริ่มเรื่องอาหารสัตว์  มีพี่ชายคนที่สองเป็นCEO และพี่ชายคนโตเป็น Chairman  พี่ ๆ ได้มอบหน้าที่ให้ผมบริหาร ซึ่งต่อมาธุรกิจนี้ได้ขยายตัวและเติบโต ในขณะที่ธุรกิจอื่นทำแล้วไม่ได้กำไร ไม่ราบรื่นเท่าธุรกิจอาหารสัตว์  เพราะผมได้ต่อยอดทำให้อาหารสัตว์กลายเป็นอาหารคน คือ มีการขายเป็น Trademark 

Christine Tan : ตอนนั้นท่านพร้อมไหม? ที่จะมารับช่วงธุรกิจต่อจากคุณพ่อถึงแม้ว่าท่านยังอายุน้อยอยู่

ท่านประธานธนินท์: ไม่ครับ คือผมรับช่วงต่อจากพี่ชาย ไม่ใช่คุณพ่อ  เพราะคุณพ่อไม่ได้เกี่ยวกับธุรกิจนี้

Christine Tan : ตอน นั้นท่านยังหนุ่มอยู่ และท่านต้องมีภารกิจที่ต้องสร้างธุรกิจของครอบครัว ท่านรู้สึกยังไงในตอนนั้นซึ่งท่านก็อายุยังน้อยอยู่แต่ต้องรับภาระนี้ และท่านใช้ยุทธศาสตร์อะไรตั้งแต่เริ่มต้น  ใช้วิธีไหนในการทำธุรกิจ

ท่านประธานธนินท์: ต้องพูดอย่างนี้ ตอน นั้นที่ผมรับบริหารธุรกิจอาหารสัตว์  กิจการนี้ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์  ยังไม่ใช่ว่าเป็นธุรกิจหลัก คือตอนที่ผมเข้ามา ธุรกิจหลักคือมีทั้งโรงงานทอกระสอบ มีทั้งการค้าระหว่างประเทศ มีเมล็ดพันธุ์เรื่องปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช ดังนั้นที่ผมรับมาเนี่ยเป็นเพียงส่วนหนึ่ง และส่วนนี้พี่ชายคนโตก็เป็นChairman อยู่แล้วพี่ชายคนที่สองก็เลื่อนขึ้นไปเป็นVice Chairman ผมเข้ามาเป็นประธาน และพอผมทำได้ผลแล้วก็ใหญ่กว่าธุรกิจอื่น ๆ ก็เป็นไปโดยอัตโนมัติ คือพี่ชายคนโตก็เลื่อนขึ้นมาเป็นประธานกิตติมศักดิ์ ก็ต้องยกย่องพี่ชายคนโตผมกับพี่ชายคนรองที่ให้โอกาสผม ไม่ใช่อยู่ดีดีเรามารับธุรกิจของเครือฯซึ่งธุรกิจนี้ใหญ่ที่สุดในเครือฯ

Christine Tan : รู้สึกว่าท่านถ่อมตัวมาก

ท่านประธานธนินท์ : ไม่ครับ ความเป็นจริงตอนนั้นผมรับธุรกิจนี้มาบริหาร ธุรกิจตัวนี้เล็กสุดไม่ใช่ใหญ่สุดของครอบครัว

Christine Tan : ดังนั้นท่านก็ได้พิสูจน์ตัวเองกับพี่ชายของท่าน

ท่านประธานธนินท์ : ครับ แล้วสำคัญที่สุดเราเป็นน้องแล้วให้พี่ ๆ เชื่อถือ ก็ต้องรู้จักเสียสละไม่ใช่ทำงานมากกำไรมาก ต้องแบ่งให้มากที่สุด ไม่ใช่นะครับ ต้องดูแลต้องยกย่องแล้วผลประโยชน์เนี่ยต้องแบ่งกันให้พอใจกันทุกฝ่าย  ซึ่งนี่คือหลักสู่ความสำเร็จ

Christine Tan : ทุก วันนี้บริษัทซีพีหรือบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้กลายเป็นผู้ผลิตอาหารสัตว์ และส่งออกกุ้งรายใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตไก่รายใหญ่ที่สุดในโลก ตอนนี้บริษัทได้กลายเป็นบริษัทระดับโลกไปแล้วและก็มีการกระจายสินค้าไปทั่ว โลกท่านเคยคิดไหมว่าท่านจะประสบความสำเร็จถึงเพียงนี้

ท่านประธานธนินท์ : ตอน ที่เข้ามารับหน้าที่นี้ ไม่ได้คิดเลยว่าหน้าที่นี้จะมีโอกาสประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้ไปถึงทั่ว โลกและมีการลงทุนถึง 14 ประเทศรวมแล้วมีประชากร 3พันล้านคน ตอนนั้นผมไม่ได้คิด ผมเพียงแต่ว่าถ้าผมรับหน้าที่อะไรมาแล้วต้องทำให้ดีที่สุด แล้วก็ตามที่คุณพ่อได้เน้นเรื่องคุณภาพและดูแลประโยชน์ของคู่ค้า ซึ่งคู่ค้าของเราเนี่ยมีอยู่สองคน คนหนึ่งคือคนเลี้ยง อีกคนหนึ่งคือคนซื้อ ดั้งนั้นเราจึงต้องใช้เทคโนโลยีเรียนรู้จากอเมริกา ต้องพูดอย่างนี้ว่าเทคโนโลยีกว่า 90 %เนี่ยไปเรียนรู้จากอเมริกา   และ10 % เอามาจากยุโรป เราเอาเทคโนยีมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มรายได้ และสามคนแบ่งกันคือคนเลี้ยงแล้วก็บริษัทและก็ผู้บริโภค

Christine Tan : เมื่อ ปี 1997 ท่านได้ประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในเอเซียซึ่งทำให้เครือของท่าน ต้องมีหนี้สินถึงประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งท่านถูกบังคับที่จะต้องขายทรัพย์สินบางส่วนเพื่อเอาเงินมาใช้หนี้เหล่า นี้ ท่านจำได้ไหมว่าการเผชิญหน้ากับเจ้าหนี้มีความลำบากแค่ไหน ซึ่งเจ้าหนี้พวกนี้เรียกร้องมากมายทีเดียว และท่านได้เรียนรู้อะไรจากบทเรียนในครั้งนั้น

ท่านประธานธนินท์ : สำคัญ ยิ่ง ผมดีใจมากที่ได้เจอวิกฤตในครั้งนั้น ตอนนั้นผมอายุ 58 เลยทำให้ผมได้พิสูจน์ตัวเอง ผมประชุมกับพี่ชาย 3 คนบอกว่าผมขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว  ให้ทั้งสามท่านสบายใจได้ เพราะผมมี 3 ธุรกิจที่ขายได้ ซึ่ง 3 ธุรกิจนี้ผมเป็นคนริเริ่มเอง ผมก็รับปากและก็ยืนยันกับพี่ชายทั้ง 3 ท่าน และบอกว่าผมจะทำให้ไม่ล้มละลาย และต่อไปจะทำให้ใหญ่กว่านี้อีก และผมจะขายโลตัสที่ผมริเริ่มทำขึ้นมาเพื่อการค้าปลีก ถ้าโลตัสขายแล้วยังไม่พอผมจะขายเซเว่น อีเลฟเว่น ถ้ายังไม่อยู่อีก ผมจะขายทรูก็จะทำให้เราอยู่ได้แน่นอน จริง ๆ ถ้าผมขายเซเว่นฯก็น่าจะเอาอยู่แล้ว พอประชุมเสร็จผมก็ขายโลตัสออกไปและกู้เงินจากธนาคาร     

ผมถือว่าในการทำธุรกิจถ้าต้องกู้เงินจากธนาคาร เราจะต้องเตรียมเงินไว้ให้พร้อมทุกเมื่อเพื่อชำระคืน เพราะธนาคารก็มีภาระในการรับภาระฝากเงินจากลูกค้า ธนาคารจะเสียหายได้ ถ้าเรามีโอกาสคืนเงินทุกบาททุกสตางค์  เราต้องคืน เราเป็นลูกค้าที่ดี เราเข้าใจธนาคาร แต่บางคนไม่เข้าใจว่าเวลาวิกฤตธนาคารเอาร่มกลับ เวลาแดดออกธนาคารก็เอาร่มมาให้ เราถืออันนี้ไม่ใช่ นี่คือหน้าที่ของธนาคาร ซึ่งต้องปกป้องประโยชน์ของผู้ฝากเงิน ผมเข้าใจในประเด็นนี้ และผมบอกธนาคารว่าไม่ต้องห่วง ผมชำระคืนได้แน่นอน ซึ่งผมขายโลตัสตอนนั้นได้มาหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ  ซึ่งก็ได้ชำระคืนธนาคารรวมทั้งหนี้สินต่าง ๆ ด้วย 

ทีนี้ตัวก็เบาขึ้นและผมก็ขายเซเว่นฯไปเพียง 10% เท่านั้น ทุกอย่างก็เข้าที่เข้าทางแต่ลำบาก ซึ่งวิกฤตตอนนั้นทุก ๆ ฝ่ายต่างก็จะเรียกเอาเงินคืน ตอนนั้นลำบาก แต่ลำบากกว่านี้คือหลังจากวิกฤตธนาคารเมืองไทยไม่มีเงินให้กู้ ธนาคารต่างประเทศก็ไม่กล้าให้เงินกู้ เพราะวิกฤตต้มยำกุ้งเกิดในประเทศไทย ดังนั้นพอพูดถึงธุรกิจเมืองไทย ไม่มีใครให้กู้ ตรงนี้ลำบาก ผมจึงไม่ได้ขายเฉพาะธุรกิจแต่ยังต้องพัฒนา ซึ่งผมมีปรัชญาว่าตอนที่ดีที่สุดเราต้องคิดถึงตอนที่เราแย่ที่สุด เราถึงจะพัฒนาบริษัทเราอยู่รอดได้อย่างไร ตอนที่ดีที่สุด เราต้องเตรียมพร้อม เพราะตอนแย่ที่สุดมันต้องมาแน่นอน เพราะธุรกิจไม่เคยดีไปตลอด ดีถึงสุด ก็ต้องลง ลงแล้วขึ้นไปใหม่ ซึ่งผมก็เตรียมตัวไว้แล้วว่าตอนที่ดีที่สุดเราจะต้องปกป้องอย่างไร เราจะต้องทำอย่างไร แล้วตอนที่แย่ที่สุด เราจะต้องคิดว่าตอนที่ดีที่สุดจะมาแล้วเราถึงจะมีกำลังใจ และตอนนั้นเราจะต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ธุรกิจดีขึ้น ฟื้นขึ้น เราถึงจะได้รับประโยชน์จากตรงนั้นเต็ม ๆ ลำบากที่สุดคือตอนที่แย่ที่สุด เราจะขยายธุรกิจนั้นอย่างไร ตรงนี้แหละคือสิ่งที่ผมทำสำเร็จพอเราฟื้นขึ้นมา ทุกอย่างเราก็พร้อมที่จะก้าวหน้าไปเติบโตอย่างยั่งยืน

Christine Tan : ใน ตอนนั้น ท่านทำธุรกิจมากมายแต่ที่เด่นชัดธุรกิจหลักก็คือเรื่องอาหารและก็การเกษตร ซึ่งในด้านอุตสาหกรรมท่านก็ได้ขยายไปทางด้านโทรศัพท์ ทางด้านมอเตอไซด์ ทางด้านปิโตรเคมี ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนั้น ทำให้ท่านได้รู้สึกไหมว่าเป็นการกระจายทางด้านธุรกิจที่มากเกินไป

ท่านประธานธนินท์ : ตรง นี้ไม่ใช่เป็นปัญหา แต่เต็มไปด้วยโอกาส เราทำมอเตอไซค์ที่ไม่เคยทำก็จริง แต่เราร่วมมือกับบริษัทในจีนที่ทำมอเตอไซด์ใหญ่ที่สุดในเมืองจีน เท่ากับเราผลิตมอเตอไซด์ออกมาเท่าไหร่ก็ขายหมด และยังไม่พอขาย ตรงนี้จึงยังไม่ใช่ปัญหา แล้วก็ลงทุนน้อยได้กำไรมากเพราะไม่มีคู่แข่ง ไม่มีใครได้โอกาสดีอย่างนี้ โรงงานของรัฐบาลที่ขายมอเตอไซค์ดีที่สุดในเมืองจีนมาร่วมทุนกันคนละครึ่ง เราเพียงแต่ใส่เงินทีละขั้นทีละขั้นเพิ่มทุนทีละครั้ง  สุดท้ายก็เอากำไรมาเพิ่มทุนอีก ตรงนี้เป็นประโยชน์มาก เพราะฉะนั้นตอนที่วิกฤตยังมีตัวยาจากเมืองจีนที่มาช่วย

Christine Tan : หลัง จากวิกฤตแล้ว เมื่อตอนที่รู้สึกธุรกิจเริ่มดีขึ้น เกิดมีเหตุการณ์ไข้หวัดนกขึ้นมาและในฐานะที่เป็นผู้ผลิตไก่รายใหญ่ที่สุดของ ประเทศในแถบเอเซียและหุ้นของท่านก็ตกหวบเพราะมีข่าวเรื่องไข้หวัดนก  เหตุการณ์ในตอนนั้นฟาร์มของท่านประสบปัญหาไข้หวัดนกหรือไม่และท่านพยายามหา วิธีการป้องกันอย่างไร เพื่อไม่ให้ไข้หวัดนกระบาด

ท่านประธานธนินท์ : ในตอนนั้น ที่เมืองจีนประสบปัญหาและเสียหายมากที่สุด แต่ก็สามารถแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือตัวเองได้ แทนที่จะเอากำไรมาช่วยเหลือตรงที่ขาดทุน  ส่วนเมืองไทยบริหารได้ดีมาก สามารถทำให้ทุกคนมั่นใจไก่ของซีพี ไม่ต้องห่วงว่าจะติดเชื้อ และในการส่งออกไปยุโรป หรือ ญี่ปุ่น ก็ไม่ได้มีการขาดตอน เพราะเปลี่ยนเป็นอาหารสำเร็จรูปทำให้สุก  สร้างความเข้าใจแก่ทุกคนว่าถ้าอุณหภูมิสูงเชื้อไข้หวัดนกตัวนี้ก็จะตายหมด ดังนั้นที่การส่งออกไปยุโรปไปญี่ปุ่นจึงยังปกติ แต่ไม่ใช่ไก่สดนะไก่สดตอนนั้นยังส่งออกไปไม่ได้ แต่นโยบายของเครือฯไดทำเรื่องไก่แปรสภาพมาเป็นระยะเวลานานแล้ว เพราะฉะนั้นสะเทือนชั่วคราวและกลับส่งผลดีระยะยาว เนื่องจากผู้บริโภคเชื่อถือ ต่างประเทศก็เชื่อถือในตัวบริษัททำให้ขายดิบขายดี

Christine Tan : การ ที่ท่านเข้าไปประเทศจีนในจังหวะที่ถูกต้องรู้สึกว่าเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่และ เฉลียวฉลาดหลังจากที่เติ้งเสี่ยวผิงได้เริ่มนโยบายปฎิรูปเศรษฐกิจ ในฐานะที่ท่านได้เป็นบริษัทแรกที่เข้าไปลงทุนยังประเทศจีน ในตอนนั้นที่ท่านได้รับการสนับสนุนเชื่อถือจากรัฐบาลจีน ท่านคิดว่าท่านได้รับการสนับสนุนและเชื่อถือจากรัฐบาลจีนมากน้อยแค่ไหนแล้ว ท่านทำอย่างไรถึงจะเปิดประตูการค้ากับประเทศจีนได้ตอนนั้น

ท่านประธานธนินท์ : ตอนนั้นสำคัญมาก เพราะซีพีเป็นคนแรกที่ไปสนับสนุนนโยบายของเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งการที่เราได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนเนี่ยเพราะเราใช้นโยบายสาม ประโยชน์คือเราทำอะไรทุกอย่างประเทศจีนต้องได้ประโยชน์ประชาชนจีนต้องได้ ประโยชน์และซีพีจะต้องได้ประโยชน์ ซึ่งสามประโยชน์เนี่ยขาดตัวนึงก็ไม่ได้เลย ทำให้รัฐบาลจีนยิ่งประทับใจและเอาการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ไปพัฒนาประเทศจีน ซึ่งรัฐบาลจีนเห็นด้วยว่าเกษตรกรจะต้องมีบริษัทรายใหญ่มาสนับสนุนการเงิน ทรัพยากรและสนับสนุนเรื่องการตลาด ตรงนี้สำคัญกว่าประเด็นที่ว่าเพราะเราเป็นรายแรก หากประเทศไม่ได้ประโยชน์ ประชาชนไม่ได้ประโยช แน่นอนเรามีประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว เราก็รู้จักเติ้งเสี่ยวผิงดี จะสนับสนุนเรา เราก็อยู่ไม่ได้ ถ้าคนมองว่าบริษัทมาทำกำไรแต่ไม่ได้ทำประโยชน์ เราก็คงไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและประชาชนฉะนั้นความสำเร็จที่แท้จริง คือสามประโยชน์ซึ่งมาเป็นนโยบายหลักที่เราไปประเทศไหนก็ได้รับการต้อนรับ เพราะประเทศได้ประโยชน์ประชาชนได้ประโยชน์ ซีพีถึงจะได้ประโชยน์ ซีพีเอาเทคโนโลยีไป ไม่ใช่ไปกอบโกย แต่เราไปสร้างประโยชน์ซึ่งต้องแบ่งกันสามฝ่าย

Christine Tan : ใน ตอนนั้นชาวนาจีนเข้าใจเรื่องการทำการเกษตรสมัยใหม่ได้แค่ไหนและก็ท่านประสบ ปัญหาอะไรตอนนั้นที่เกษตรชาวจีนเข้าใจเรื่องการเกษตรสมัยใหม่

ท่านประธานธนินท์ : คือ ในประเด็นนี้ คนทั่วไปมักจะเข้าใจผิดว่าเกษตรกรที่ไม่มีความรู้และซีพีใช้เทคโนโลยีใหม่ เข้าไป เกษตรกรจีนคงรับไม่ไหว แต่ในทางตรงกันข้ามคือยิ่งไฮเทคยิ่งทำให้ง่ายขึ้นเหมือนกับกล้องถ่ายรูปที่ ไม่ต้องปรับอะไรเลย เพียงแต่คนถ่ายต้องจัดให้รู้จักตำแหน่งแล้วถ่ายไป จึงถือเป็นเคล็ดลับของซีพีว่าซีพีไปที่ไหนก็เอาเทคโนโลยีที่ดีที่สุดของโลก ไปด้วยทำให้เกษตรเข้าใจง่ายและปฏิบัติได้ง่ายแล้วก็สบายด้วย ไม่ใช่ไปทำให้เกษตรกรที่ลำบากอยู่แล้วไปทำให้ลำบากมากยิ่งขึ้นไปตากแดดตากฝน แต่ซีพีให้เกษตรกรเลี้ยงไก่เลี้ยงหมูในห้องแอร์ไม่มียุงไม่แมลงวันใช้ เครื่องอัตโนมัติ ทำให้เกษตรกรทำงานเหนื่อยน้อยลง แต่ได้ผลผลิตสูง คนทั่วไปจะไม่เข้าใจคิดว่าว่าประเทศที่ด้อยพัฒนาจะต้องใช้เทคโนโลยีที่ด้อย พัฒนา ยิ่งประเทศที่ด้อยพัฒนายิ่งต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งไฮเทคจึงจะเหมาะ สม

Christine Tan : การ ที่ท่านเข้าไปเมืองจีนเป็นรายแรกทำให้ท่านได้ประโยชน์ จนทุกวันนี้ท่านมีส่วนแบ่งตลาดเกินกว่าครึ่งในตลาดจีน ท่านเป็นห่วงหรือไม่ว่าในแง่ที่เศรษฐกิจจีนจะเกิดการชะลอตัวลง และจะมีผลกระทบกับตัวท่านอย่างไรบ้าง

ท่านประธานธนินท์ : จีน นั้น ถึงแม้ว่าจะชะลอตัวลงก็ดีกว่า 33 ปีที่ผ่านมาก นอกจากนี้ประเทศจีนในปัจจุบันนี้ ประชาชนมีการศึกษาต้องการอาหารที่ทำให้สุขภาพดีและปลอดภัย ซึ่งตรงกับจุดที่ซีพีถนัดและทำมาอยู่แล้ว 40 -50 ปีในขณะที่ชาวจีนเนี่ยยังไม่มีความรู้ตรงนี้ก็อาจจะเกิดการแข่งขันกันเฉพาะ ในด้านของราคา และยังไม่ได้ดูถึงในด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ สุดท้ายของถูกกลายเป็นของแพง และก็ทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง วันนี้เราได้รับการสนับสนุนที่ดี และตอนนั้นยังมีกำไรทั้ง ๆ ที่เมืองจีนเพิ่งจะเปิดประเทศเงินตราต่างประเทศก็ไม่มีพื้นฐานการก่อสร้างก็ ไม่มี ซีพียังทำกำไรได้ วันนี้จีนพร้อมทุกอย่าง ประชาชนเรียกร้องว่าคุณภาพของสินค้าต้องดี เนื้อไก่ต้องปลอดภัย อาหารต้องไม่มีสารตกค้าง ทั้งนมทั้งเนื้อหมู นี่คือโอกาส และตลาดก็ยิ่งใหญ่มาก เพราะอาหารเป็นสิ่งที่คนต้องรับประทานและประชากร 1,300 ล้านคน  หากจำนวน 10 %ที่ร่ำรวยก็มีขนาดใหญ่เท่าญี่ปุ่น กำลังซื้อก็ใหญ่เท่าญี่ปุ่น แต่ถ้า20 %ร่ำรวยกำลังซื้อก็ใหญ่เท่าประเทศอเมริกา ดังนั้นเราเป็นเบอร์ 1 และสินค้าของซีพีก็กำลังเป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนชาวจีนว่ามีความปลอดภัย คุณภาพดี ดังนั้นผมว่าเป็นโอกาสไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟื่อยที่ต้องประหยัด แต่ปากท้องประหยัดไม่ได้ อาหารของซีพีก็ไม่ใช่ขายแพง แต่เป็นของดีที่มีคุณภาพและราคาถูกอีกด้วย

Christine Tan : ประสบการณ์ ของท่านในประเทศจีนได้มาจากการที่มีการติดต่อทางการเมืองกับผู้นำของจีน ท่านจะสูญเสียความสัมพันธ์บางอย่างตรงนี้ไปไหมในขณะที่จีนกำลังเปลี่ยนผู้นำ ใหม่

ท่านประธานธนินท์ : ต้องอธิบายอย่างนี้ ผมไม่มีเวลาที่จะไปทำความรู้จักพบปะผู้ใหญ่ แต่บังเอิญธุรกิจของซีพีเป็นปากท้องของประชาชนทุกระดับ ผู้นำของจีนจะต้องเข้าใจเรื่องปากท้องของประชาชนและต้องผลิตอาหารให้เพียงพอ กับความต้องการของประชาชนไม่อย่างนั้นรัฐบาลจะอยู่ไม่ได้ ซึ่งบังเอิญซีพีไปทำธุรกิจจเกือบครบทุกมณฑล เหลือเพียงสองมณฑลที่ยังไม่ได้ไปลงทุน เวลาเราลงทุนต้องมีการติดต่อโรงงานและขยายตลาดไปถึงหมู่บ้านซึ่งเรารู้จัก ตั้งแต่ผู้ใหญ่บ้านกำนันจนไปถึงผู้ว่า จนไปถึงมณฑลก็รู้จักซีพี คงลำบากถ้าเราไปขอพบ แต่ท่านอยากจะขอพบเข้ามาศึกษามาเรียนรู้ เราเป็นเพื่อนกันตั้งแต่ตอนยังไม่พัฒนา ไม่ว่ารัฐบาลชุดไหน ซีพีก็มีคนรู้จักตั้งแต่ครั้งที่เป็นนายอำเภอ เป็นผู้ว่า รู้จักกันมานาน เพราะฉะนั้นเราไม่ได้อาศัยอิทธิพลของรัฐบาล เราอาศัย 3 ประโยชน์ที่ไปทำให้ประเทศเค้าได้ประโยชน์ประชาชนได้ประโยชน์แล้วซีพีถึงจะ ได้ประโยชน์

Christine Tan : ถึง แม้ว่าจะเกิดวิกฤตในยุโรปและการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศอเมริกาก็ยังอ่อนแอ แต่ก็รู้สึกว่าท่านยังตั้งความหวังไว้เกี่ยวกับการเจริญเติบโตทางธุรกิจ ในทางปฎิบัติท่านจัดการกับปัญหาเรื่องการขึ้นราของวัตถุดิบ เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด แต่ในขณะเดียวกับเนื้อก็ราคาไม่ดี เพราะเกิดการผลิตมากเกินไป

ท่านประธานธนินท์ : ตรงนี้มันเป็นปัญหาที่ต้องพบแน่นอน เพราะพอมีกำไรทุกคนก็เลี้ยงมากขึ้นหรือวัตถุดิบสูงขึ้นราคาตามไม่ทันก็กำไร น้อยลง แต่อย่างไรก็ตามทางซีพียึดหลักว่าเราพยายามแปรสภาพให้เป็นอาหารมนุษย์ที่ขาย ไปทั่วโลก อย่างเช่นกุ้งก็มีเกี๊ยวกุ้งซึ่งเกิดจากการแปรสภาพไม่ใช่ขายกุ้งแช่แข็ง ไก่ก็เป็นไก่ที่แปรสภาพแค่เอามาเข้าไมโครเวฟก็สามารถรับประทานได้แล้ว ดังนั้นวิกฤตจะเกิดขึ้นอย่างไรก็ตามอย่างผมไปศึกษาข้อมูลประเทศอเมริกาคน อเมริกาให้ความสำคัญกับเรื่องอาหาร 5 - 6% ไม่ว่าอาหารแพงก็ 5 - 6 % 

ในเรื่องอาหารไม่ว่าคนจะมีเงินเดือนแค่ 100 บาทแต่ในเรื่องอาหารต้องใช้ 5 – 6 บาทแม้จะยากจนยังไงเรื่องปากท้องก็ต้องมาก่อนอย่างอื่นไว้ทีหลัง ยุโรปก็ประมาณ 11 - 12 %  ดังนั้นในประสบการณ์ของผมเกิดวิกฤตอย่างไรก็ตามอย่างอื่นประหยัดได้ แต่เรื่องอาหารการกินเนี่ยต้องกิน ต้องเหลือเงินไว้สำหรับใช้จ่ายเพื่อการรับประปาน ซึ่งค่าใช้จ่ายก็ไม่ได้แพง ถูกกว่าเรื่องซื้อรถยนต์ เรื่องฟุ่มเฟื่อยต้องหยุดชั่วคราวก่อนแต่ปากท้องเนี่ยหยุดไม่ได้ หยุดได้อย่างมาก 3 วันไม่กินข้าว ดังนั้นจากประสบการณ์ของผมเนี่ยวิกฤตเราก็ดี ตอนที่เศรษฐกิจดีเราก็ดีแต่ดีน้อยกว่าธุรกิจอื่น แต่เราใช้การขยายไปมีตลาดในโลกนี้ 6,000 – 7,000 พันล้านคนซึ่งต้องกิน ของใช้ยังหยุดชั่วคราวได้แต่ของกินเนี่ยหยุดไม่ได้

Christine Tan : ท่าน ได้เพิ่มเป้าหมายการลงทุนใน  5ปีข้างหน้าเพิ่มอีก 50% เป็นจำนวนเงิน 2,400 ล้านสหรัฐฯ  ท่านกำลังคิดจะลงทุนในโครงการอะไรบ้าง และเงินส่วนใหญ่จะไปทางด้านซื้อบริษัทอื่นรึเปล่า

ท่านประธานธนินท์ : คืออย่างนี้ ทางที่ซีพีกำลังลงทุนเต็มที่คือเรื่องอาหารสำเร็จรูปและการค้าปลีกและเรื่อง ศูนย์อาหารและเกี่ยวกับพวกอาหารเปิดร้านย่อย หรืออย่างเช่นซีพีเฟรชมาร์ท ซึ่งเรามีกำลังการผลิต เราต้องสร้างเครือข่ายในการตลาด ซึ่งต้องควบคู่กับการผลิตไม่ใช่เราไปผลิตมาก ๆ แต่ไม่รู้ว่าจะขายที่ไหนขายให้ใคร สองเรื่องนี้เราต้องดำเนินการไปพร้อมกันและสำคัญอย่างยิ่งที่ซีพีประสบความ สำเร็จ เราค้าปลีกทำไม เพราะค้าปลีกนั้นมีของกินมากกว่าของใช้ อย่างเช่นเซเว่นมีของกินมากกว่าของใช้ทั้งสดทั้งแห้งทั้งไม่ต้องเข้าตู้เย็น มีจำนวนมากกว่าของใช้ 

ดังนั้นธุรกิจของซีพีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขยายไปทั่วโลกลงทุนไปทั่วโลก อย่างเช่นวันนี้ซีพีกำลังจะไปสร้างโรงงานผลิตอาหารสำหรับคนที่ประเทศอเมริกา แล้วขายกลับมายังเอเชียที่รสชาติและความต้องการตรงกับความต้องการของชาวเอ เซีย แต่อเมริกาอาจไม่ต้องการและที่สำคัญราคาถูก ต่อไปในโลกนี้ไม่ใช่เอเชียไปขายให้อเมริกาอย่างเดียว แต่เอเชียจะต้องมีสินค้าขายไปยังอเมริกา เพราะเอเชียรวยขึ้นแล้ว ซึ่งสมัยก่อนประเทศอเมริการวยมีกำลังซื้อ แต่ในวันนี้เอเชียก็มีกำลังซื้ออย่างเช่นประเทศจีนก็มีเงินตราต่างประเทศมาก และมีเงินตราต่างประเทศที่สะสมอยู่เป็นที่ 13 ของโลกยังมากกว่าฝรั่งเศสต้องเข้าใจว่าไม่ใช่เอาแต่สินค้าเอเชียไปขายยุโรป ผมจะตั้งโรงงานผลิตใช้เครื่องอัตโนมัติ ใช้คนน้อยที่สุดเพื่อผลิตสินค้าที่ชาวเอเชียต้องการขายส่งไปประเทศอเมริกา และขายกลับมายังทวีปเอเซีย

Christine Tan : ใน ขณะที่ประเทศอเมริกาและประเทศยุโรปเศรษฐกิจยังไม่แข็งแรงได้ทำให้เกิดมี โอกาสที่ท่านจะเข้าไปซื้อทรัพย์สินในราคาถูกอะไรบ้างที่ท่านคิดว่าอยากจะ เข้าไปซื้อ

ท่านประธานธนินท์ : คือ อย่างนี้ครับ ถ้าซีพีไปซื้อหรือไปร่วมลงทุนเราจะต้องหาธุรกิจที่ดีมีทีมงานที่ดีที่เก่ง ไม่ได้ซื้อทั้งบริษัทแล้วเอาคนไทยไปบริหาร ผมยังไม่มีคนผมดำไปบริหารคนผมแดง เรายังไม่ถึงขั้นนี้ แต่ผมจะไปเข้าหุ้น ไปลงทุนในบริษัท และไปซื้อสินค้าของเขามาแปรสภาพแล้วก็สร้างโรงงาน ถ้าโรงงานเขามีความสามารถที่จะผลิตอาหารเอเชียให้ผม แล้วผมก็เอามาขายยังเอเซียและประเทศอเมริกา อย่างคาร์ฟูร์ผมไม่ได้ซื้อ ผมไปลงทุนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่รายหนึ่งในคาร์ฟูร์เพื่อจะนำสินค้าในเอเชียไป ผ่านเครือข่ายในการขายสินค้าของคาร์ฟู หรือคาร์ฟูร์มาลงทุนในเอเชียผมมีโอกาสสนับสนุน นโยบายของซีพีเป็นอย่างนี้ครับ อย่าเรียกว่าไปซื้อ เรียกว่าไปร่วมลงทุนเลยดีกว่า ร่วมงานกับคนเก่ง แล้วก็ไปกับเขาและก็เสริมซึ่งกันและกันได้ประโยชน์ทั้งคู่แต่อย่าเข้าใจผิด ว่าไปซื้อคาร์ฟูร์ แค่ไปร่วมลงทุนลงหุ้นกับเขา

Christine Tan : นอกจากคาร์ฟูร์และสมิทฟิลด์แล้วท่านยังคิดที่จะร่วมทุนอย่างอื่นด้วยไหม

ท่านประธานธนินท์ : คือ อะไรที่เราไปร่วมแล้วได้ประโยชน์ ผมก็กำลังศึกษาอยู่  เราไปร่วมกับเขาแล้วเราต้องทำประโยชน์ให้กับเขา และในเวลาเดียวกันซีพีก็ได้ประโยชน์ด้วย อย่างนี้ผมถึงจะไปร่วม ไม่ใช่ว่าไปร่วมกับบริษัทที่ไม่สำเร็จ ผมจะร่วมกับบริษัทที่สำเร็จและที่สำคัญที่สุดต้องมีทีมงานที่บริหารที่เก่ง ผมถึงจะไปร่วมนะครับ อย่างคาร์ฟูร์เนี่ยมีประธานบริษัทที่เก่งมาก ผมเห็นว่าเขาบริหารคาร์ฟูร์จะต้องได้ผลกำไรฟื้นกลับมาแน่นอนและก็กำไรดีมาก ไป เราต้องอาศัยคนเก่งในคาร์ฟูร์หรืออาศัยคนเก่งใน Smithfield 

Christine Tan : ขอให้ท่านชี้แจงให้ชัดเจนว่าท่านจะไม่ได้เข้าไปซื้อคาร์ฟูร์

ท่านประธานธนินท์ : ใช่  ผมไม่ได้จะเข้าไปซื้อคาร์ฟูร์ แต่จะแค่เข้าไปซื้อหุ้นจำนวนส่วนหนึ่งของคาร์ฟูร์เท่านั้น ไม่ได้ซื้อหุ้นทั้งหมดของคาร์ฟูร์ คือเราจะไม่เปิดเผยในข้อมูลส่วนนี้เพราะมันเป็นเรื่องมารยาทและเรื่องการ ตลาด แต่เรามีนโยบายว่าจะไปลงทุนคือเป็นผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งของคาร์ฟูร์

Christine Tan : ท่านกำลังคิดว่าจะซื้อสักเท่าไหร่ 

ท่านประธานธนินท์ : ถ้า ดีที่สุดจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ส่วนหนึ่งในผู้ถือ หุ้นที่มีอยู่ คือเราจะไม่เด่น ต้องเข้ากับผู้ถือหุ้นใหญ่ในปัจจุบัน ต้องดูว่าเขาต้อนรับเราเข้าไปไหม ต้องการจะให้เราถือหุ้นเท่าไร เพราะเราไม่ได้จะไปเทคโอเวอร์ เราแค่จะไปร่วมกันทำให้ได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่เราได้ฝ่ายเดียว ถ้าเขาเห็นว่าเราเข้าไปร่วมทุนแล้วเขาได้ประโยชน์และซีพีก็ได้ประโยชน์ก็ แล้วแต่ว่าผู้ถือหุ้นเดิมรึผู้ถือหุ้นใหม่จะให้เราเท่าไหร่นี่เป็นนโยบายของ ผม ว่าจะไม่ไปเทคโอเวอร์ ขอให้ชัดเจนในจุดนี้

Christine Tan : ดังนั้นการที่ท่านได้แสดงเจตนาว่าจะไปร่วมลงทุนกับคาร์ฟูร์อันนี้คิดว่าได้รับการต้อนรับจากนักลงทุนรายอื่นหรือไม่ในคาร์ฟูร์

ท่านประธานธนินท์ : ยัง ไม่ถึงเวลาที่จะเปิดเผย คือถ้า
หากทางผู้ถือหุ้นเดิมหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่ต้อนรับเรา เราก็จะไม่ไปเข้าร่วมหุ้น เราเข้าไปเป็นมิตรกันเป็นเพื่อนกัน ไม่ใช่เข้าไปควบคุม

Christine Tan : ท่าน ผลิตอาหารและส่งอาหารไปขายใน 40กว่าประเทศในวันนี้ เรื่องความปลอดภัยของอาหารนี้เป็นเรื่องใหญ่ท่านมีนโยบายในด้านนี้อย่างไรใน เมื่อตอนนี้ทุกอย่างไปเน้นในเรื่องของการทำกำไร แล้วก็ทำให้ฟาร์มไม่เอาเทคโนโลยีสูง ๆ ไปทำเพราะมีการลงทุนจำนวนมาก เรื่องความสนใจของท่านกับเรื่องความปลอดภัยของอาหารมีขนาดไหน

ท่านประธานธนินท์ : สำคัญ ที่สุดคืออาหารปลอดภัย โดยเฉพาะกับประเทศที่กำลังพัฒนาเพราะประเทศที่กำลังพัฒนา ไม่ได้เกิดจากการเลี้ยง การผลิตไปถึงขั้นสุดท้าย อย่างประเทศที่เจริญแล้วเลี้ยงสุกรก็ต้องมีฐานะและมีฟาร์มที่ทันสมัย ทุกอย่างทำถูกต้อง ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วต้องเป็นเช่นนี้ ตรงนี้แหละที่เป็นจุดเด่นของซีพี ซีพีจะไปประเทศไหนก็ตาม ยิ่งในประเทศที่ด้อยพัฒนา ประเทศด้อยพัฒนาเพราะขาดแคลนคนเก่ง ไม่เข้าใจการเลี้ยง ไม่มีความสามรถในการเลี้ยงไก่พันธุ์ หมูพันธุ์ ไม่มีทุนที่จะไปเลี้ยงไก่ที่ทันสมัยซึ่งต้องลงทุนสูง แต่จริง ๆ แล้วถ้าไฮเทคจะเกิดสองสูง ยิ่งการลงทุนสูงประสิทธิภาพก็จะยิ่งสูง ทำให้ต้นทุนถูกและคุณภาพดี กลายเป็นต้นทุนถูกซึ่งซีพีมีความสามารถในการส่งเสริมเกษตรกร อะไรที่เกษตรกรเลี้ยงอะไรที่ซีพีทำได้แบ่งหน้าที่กัน สิ่งซีพีทำอย่างเช่นการค้นคว้าศึกษาต้องเป็นหน้าที่ของซีพี ตอนที่เลี้ยงซีพีไปสนับสนุนเกษตรกรในการเลี้ยงทุนเงินเทคโนโลยีความรู้และ ตลาด ซีพีเป็นคนทำเรื่องไฮเทค เรื่องแปรสภาพซีพีเป็นคนทำแล้วก็ไปถึงเรื่องการขนส่งการขายการตลาด เพราะฉะนั้นเราควบคุมได้ทุกขั้นตอนถึงจะมีความปลอดภัยไม่เสี่ยงในเรื่อง อาหารไม่มาตรฐาน

Christine Tan : ท่าน มีจุดยืนอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องการใช้ฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโตกับการ ที่ใช้แอนตี้ไปโอติก ซึ่งบางคนบอกว่าการใช้ยาปฎิชีวนะไม่ดีต่อสุขภาพต่อสัตว์และคนในระยะยาว

ท่านประธานธนินท์ : สำคัญ ที่สุดคือ ถ้าหากว่าเราสร้างโรงเรือนทันสมัยให้ไก่และสุกรอยู่อย่างมีความสุข สุกรและไก่ก็จะไม่เป็นโรคไม่ป่วย ก็ไม่ต้องใช้ยา ประหยัดทั้งเงินและในเรื่องเนื้อหมูเนื้อไก่ก็ปลอดภัย ดังนั้นการใช้ยานี่ล้าสมัยไปแล้วโดยเฉพาะฮอร์โมนนี่ไม่ต้องพูดถึงเลย ประเด็นสำคัญอยู่ที่พันธุ์กับอาหารและต้องไปค้นคว้าที่พันธุ์ให้อาหารที่ เหมาะสมกับพันธุ์ส่วนยาปฎิชีวนะถ้าเลี้ยงไก่และสุกรแข็งแรงก็ไม่ต้องใช้ยา

Christine Tan : ใน เวลานี้ท่านถูกขนานนามว่าเป็นผู้ที่รวยที่สุดในประเทศไทยโดยมีมูลค่าถึง 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐและเป็นบุคคลที่รวยเป็นอันดับ134 ของโลกความสำเร็จของท่านขึ้นอยู่กับโชคหรือขึ้นอยู่กับการทำงานที่ขยันขัน แข็ง

ท่านประธานธนินท์ : ความ สำเร็จของเครือซีพีคือการใช้เทคโนโลยีมาตลอด และก็เรื่องสามประโยชน์ซึ่งเป็นหลักของเครือซีพี และการสนับสนุนคนเก่งในเครือซีพี ความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ใช่ฟลุค แต่เกิดจากความร่วมมือกันของพนักงานในเครือซีพีและเราเข้าใจไปลงทุนในประเทศ ที่กำลังพัฒนา และประเทศเหล่านี้ต้องการที่จะมีอาหารโปรตีน ซึ่งซีพีเข้าใจมากกว่าว่าประเทศที่กำลังพัฒนาต้องการใช้เทคโนโลยีเข้าไป ไม่ใช่ยิ่งประเทศที่ด้อยพัฒนายิ่งเอาเทคโนโลยีที่ด้อยพัฒนาเข้าไป ซึ่งมันจะยิ่งทำให้ไม่ประสบความสำเร็จไปให้เกษตรกรทำงานเหน็ดเหนื่อยเป็นไป ไม่ได้แต่ต้องให้เกษตรกรทำงานสบายกว่าเดิม มีประสิทธิภาพกว่าเดิมและมีรายได้มากกว่าเดิม ถึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ ดังที่เป็นตัวอย่างในหลายประเทศ เราลงทุนใน14ประเทศรัฐบาลให้การสนับสนุนและเห็นด้วยกับสามประโยชน์ของซีพี และยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้าไปในประเทศแล้วก็แบ่งผลประโยชน์กันคือซีพีได้ประโยชน์เกษตรได้ประโยชน์ ผู้บริโภคได้ประโยชน์ประเทศชาติได้ประโยชน์ ซีพีก็ได้ประโยชน์ไปด้วย  และซีพีก็อยู่ใน14ประเทศที่มีประชากร 3,000 กว่าล้านคน แล้วซีพียังมีธุรกิจมีสาขาอยู่ในประเทศอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศสในเยอรมันในประเทศที่มีกำลังซื้อเรามีสาขาทุกประเทศที่จะนำสินค้า ของซีพีไปขาย

Christine Tan : CNBC จะให้รางวัลท่านเกี่ยวกับเรื่องความสำเร็จในชีวิตของท่านรางวัล ท่านมีความเห็นข้อคิดเห็นที่ท่านจะให้กับคนอื่นเกี่ยวกับเรื่องความสำเร็จใน การทำธุรกิจอย่างไรบ้าง

ท่านประธานธนินท์ : คือ ผมพูดมาตลอดว่าธุรกิจที่จะสำเร็จได้ต้องทำอย่างไรให้ได้ 3 ประโยชน์ นี่แหละที่เป็นความสำเร็จของซีพีและอีกตัวหนึ่งคือต้องรู้จักการใช้ เทคโนโลยีใหม่ของโลกทั้งในด้านการลงทุนและการพัฒนาธุรกิจ และต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง เช่น ซีพีจะไปลงทุนการผลิตอาหารสำเร็จรูปในประเทศอเมริกา ต้องรู้ว่าค่าแรงงานอเมริกาสูง จะไปลงทุนได้อย่างไร นี่คือความสำเร็จของซีพี  ซีพีมีวิสัยทัศน์ที่เห็นก่อนคนอื่น เช่นวันนี้มีเทคโนโลยีไฮเทค เรามีสินค้าหลายตัวไม่ต้องใช้คนเลยใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ เหมือนวันนี้เราเลี้ยงไก่ คนอเมริกาคนหนึ่งเลี้ยงไก่ได้แสนตัว เราก็ต้องเลี้ยงแสนตัว วันนี้เลี้ยงไก่ไข่ 4 -5 แสนตัวซีพีอยู่ในประเทศด้อยพัฒนาแต่ก็สามารถเลี้ยงได้ ดังนั้นอย่าเข้าใจผิดว่าประเทศที่ด้อยพัฒนาต้องทำธุรกิจที่ด้อยพัฒนา ต้องเข้าใจใหม่ด้วยว่าพวกการเกษตรต้องยิ่งใช้เทคโนโลยีไฮเทคเข้ามาใช้เข้ามา ลงทุนในประเทศที่กำลังพัฒนา นี่แหละคือความสำเร็จ

Christine Tan : ใน ฐานะที่ท่านเป็นกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนกลุ่มธุรกิจในประเทศไทย ท่านจะอธิบายเกี่ยวกับคุณภาพการเป็นผู้นำของท่าน และวิธีการบริหารของท่านเป็นอย่างไร

ท่านประธานธนินท์ : คน เป็นผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องรู้จักให้ และส่งเสริม  สำหรับนั้นซีพีวันนี้ทุกบริษัทต้องมีองค์กรที่ให้ความรู้พนักงานแต่ยังไม่พอ วันนี้เรากำลังหาระดับโลกเพื่อมาพัฒนาคนของซีพีให้สามารถก้าวทันโลกได้ และทำอย่างไร ไปเรียนรู้จากบริษัทใหญ่ ๆ ที่ประเทศอเมริกาที่ยุโรป เราต้องยอมรับว่าในเรื่องการบริหารการจัดการของโลกนั้นที่เก่งที่สุดใน วันนี้คือประเทศอเมริกา รองลงมาก็คือประเทศยุโรป  เพราะมีประวัติศาสตร์ตั้งหลายร้อยปี เมืองไทยก็ยังไม่ถึงร้อยปี แล้วเพิ่งเริ่มทำธุรกิจใหญ่ ๆ ก็ไม่ถึง 10 ปี ตรงนี้ต้องยอมรับว่าซีพีเรียนรู้จากบริษัทที่ประสบความสำเร็จในสังคม ซึ่งจะต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้นำที่จะนำเอาเครือฯไปสู่ความสำเร็จ สำคัญที่สุดคือคน ต้องคนเก่ง ในซีพีคนเก่งเราสร้างได้อย่างไร ต้องให้เกียรติกับคนเก่ง ให้อำนาจและให้เงินที่เหมาะสมกับสังคมและหน้าที่ของเขา สามตัวนี้ต้องไปพร้อมกันและสำคัญที่สุดซีพีมีนโยบายมานานแล้วว่าคนเก่งที่ สุดในโลกนี้เป็นของซีพี เงินของในโลกนี้เป็นของซีพี วัตถุดิบในโลกนี้เป็นของซีพี ตลาดในโลกนี้เป็นของซีพี ซีพีถึงจะมีโอกาสยิ่งใหญ่และไปขยายได้ทั่วประเทศ

Christine Tan : ตอน นี้ท่านก็มีอายุ 73 ปีแล้ว ท่านก็มีลูกชาย 3 คนที่มีการศึกษาสูงและยังทำงานกับเครือของท่านอยู่ ท่านจะมีแผนเกี่ยวกับการผ่อนถ่ายอำนาจหน้าที่ให้กับลูกชายอย่างไร

ท่านประธานธนินท์ : คือ เรื่องนี้ ผมให้ลูกผมเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นและไม่ต้องลงมาทำธุรกิจเพียงแต่อยู่ข้าง บนดูแลเรื่องการเงินและบุคคล และต้องให้คนเก่งของแต่ละบริษัทเป็นผู้บริหาร และก็ใช้คนเก่งให้ยิ่งมากขึ้น อย่างซีพีเอฟเราก็ใช้มืออาชีพใช้คนเก่ง ซีพีออล์ก็เหมือนกัน ต่างประเทศก็เหมือนกัน ส่วนลูกของผมนั้น ให้ทำธุรกิจที่เครือยังไม่เคยทำ อย่างเช่น ค้าปลีก อย่างเช่นโลตัส ตอนนั้นลูกชายคนที่สอง ส่วนโทรศัพท์กับเรื่องเคเบิ้ลทีวีทีวีดาวเทียมก็ลูกชายคนที่หนึ่งและคนที่ สองทำ ตรงนี้เป็นประโยชน์มากถ้าเขาทำสำเร็จ เขามีความสามารถแล้วเขามาบริหาร แต่ไม่ใช่ไปบริหารแทนบริษัทที่สำเร็จแล้วเพราะที่สำเร็จเพราะมีคนเก่งจึง ต้องพัฒนาคนเก่งขึ้นมา ถ้าลูกชายผมเก่งต้องไปสร้างอาณาจักรใหม่ ถ้าสร้างไม่ได้ก็ให้อยู่เฉย ๆ ดีกว่าไปบริหาร ซีพีเอฟซีพีออลล์หรือธุรกิจอื่น ๆ เช่น ปิโตรเคมี ฯลฯ ไม่มีประโยชน์ มีแต่ทำให้เสียหาย นี่คือความสำเร็จของซีพีอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งผู้ถือหุ้นใหญ่ก็เห็นด้วยที่ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแทนผม ไม่ใช่ไปบริหารทุกบริษัท แต่ต้องส่งเสริมทุกบริษัทเพียงแต่เข้าไปดูแลเรื่องการเงินเรื่องกฎหมาย เรื่องบุคคล ไม่เข้าไปก้าวก่ายการบริหารการจัดการ

Christine Tan : เวลาท่านเกษียนแล้ว ท่านออกไปแล้วคนที่จะเข้ามาบริหารต่อก็จะเป็นมืออาชีพที่ท่านจะต้องมีส่วนวางแผนด้วยหรือไม่

ท่านประธานธนินท์ : ตอน นี้เราพูดชัด และทางครอบครัวก็วางแผนให้ผมเป็นคณะกรรมการบริหารงานอยู่เบื้องบน ไม่ลงมาบริหารบริษัทที่สำเร็จแล้ว มีแต่สนับสนุนและพัฒนา ตอนนี้เราจ้าง ดร.โนเอล ทิชชี่ เรากำลังสร้างโรงเรียนที่จะหมุนเวียนเอาคนเก่งในแต่ละบริษัทมาหมุนเวียน แล้วคัดคนเก่งออกมาเป็นประธานบริษัทมาบริหาร ต่อไปเราจะมีซีอีโออยู่สองคน คนหนึ่งคือเป็นซีโอที่มาดูแลจัดการทรัพย์สมบัติและผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ใหญ่ กับอีกคนคือประธาน ประธานนั้นทำหน้าที่อะไร คือกฎหมายกับบุคคลและก็การเงิน ซึ่งสามส่วนนี้(กฏหมาย บุคคล และเงิน)มีทางครอบครัวเป็นคนดูแล ส่วนบริษัทที่บริหารอยู่เราจะคัดหาคนเก่งมาบริหารธุรกิจ

Christine Tan : แล้วท่านได้ค้นพบคนที่จะบริหารงานแทนท่านหรือยัง

ท่านประธานธนินท์ : ใน ส่วนนี้มีพร้อมหมดแล้วและมีทั้งคนที่จะทดแทนด้วยจากกลุ่มซีพีออล์ ซีพีเอฟ ทรู จากกลุ่มเหล่านี้เราได้เตรียมพร้อมไว้แล้ว แต่กำลังหาคนที่จะมาดูแลทั้งหมดในการบริหาร ขณะนี้กำลังสร้างคน โดยให้คนจากหลายบริษัทที่ไม่เคยรู้จักกันมาสัมผัสกันมาเข้าใจกันเพราะธุรกิจ ของเรามีทั้งโทรศัพท์มีทั้งทีวีและมีทั้งอินเตอร์เน็ต ยา รถยนต์ มอเตอร์ไซต์ ค้าปลีก และห่วงโซ่อาหาร ปุ๋ย ซึ่งได้ทำการศึกษาสำเร็จแล้วเพียงแต่ว่าทำอย่างไรจะหาคนขึ้นมาดูแลทุกกลุ่ม
Christine Tan : คนนี้คือใคร

ท่านประธานธนินท์ : คนนี้กำลังหาอยู่ แต่จะพยายามหาคนที่ทำงานอยู่ในเครือฯ
Christine Tan : ท่านอายุ 73 ปีแล้ว ท่านเคยพูดหลายครั้งแล้วว่าจะเกษียนอันนี้ เรื่องนี้จะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้หรือไม่

ท่านประธานธนินท์ : คือ อย่างนี้ ความจริงตั้งเป้าไว้ว่าจะเกษียนอายุ 55  ปี วันนี้ผมเปลี่ยนวิธีใหม่คือต้องทำงานให้น้อยลง คือการทำงานเหลือครึ่งวัน ให้ยืดอายุมากขึ้น แต่ผมยังทำไม่ได้นะครึ่งวัน แต่ผมต้องทำให้ได้ แล้วก็พยายามให้คนเก่งที่มีอยู่ทำไป แล้วความจริงตอนนี้ผมทำหน้าที่อะไร หน้าที่ของผมคือทำอะไรที่ใหม่ ๆ โลกกำลังเปลี่ยนแปลง นี่คือหน้าที่ของผม เพราะคนต้องมีอำนาจเต็มที่ถึงจะทำได้ ซึ่งทุกวันนี้เราเรียนรู้จากหลายฝ่าย การเปลี่ยนแปลงจะต้องกิดจากคนที่มีอำนาจสูงสุดพอเปลี่ยนแปลงตรงนี้แล้ว ผมเชื่อว่าเครือก็เริ่มจะเข้าที่เข้าทางมากขึ้น

Christine Tan : หลังจากที่ท่านเกษียนจริงๆ แล้ว ท่านคิดว่าจะมีแนวทางในการพักผ่อนหย่อนใจหรืออยากจะทำอะไรได้เข้าว่าท่านชอบไก่ชน

ท่านประธานธนินท์ : ผม ชอบดูไก่ชนเพื่อที่จะไปส่งเสริมให้กับชาวบ้านที่ยากจน แต่ที่ผมชอบจริง ๆ คือนกพิราบ แต่ผมแพ้ฝุ่นนก ทุกวันนี้ก็พยายามถ้าไปดูนกก็ให้เขาจับมาให้ดู แต่คิดว่าคงออกกำลังกายมากกว่า อย่างตีไก่ประมาณอาทิตย์ละครั้ง แต่บางทีเดือนสองเดือนยังไม่เคยไปดูตีไก่ สำหรับผมนั้นถ้าทำอะไรที่ไม่มีประโยชน์ผมจะทำเงียบ ๆ แต่อย่างเรื่องตีไก่สังคมได้ประโยชน์คือสถานที่ตีไก่เนี่ยเป็นสถานบันเทิง ของชาวนา เป็นตลาดหลักทรัพย์ของชาวนา  ชาวนาไม่มีคาราโอเกะ ไม่มีสปา เพราะฉะนั้นวันเสาร์อาทิตย์เขาก็จะมาแลกเปลี่ยนความรู้ เอาไก่มาชนตัวที่ชนะก็ได้ราคาแพงหน่อยสิบเท่ายี่สิบเท่าร้อยเท่า ผมกำลังสร้างให้คนเลี้ยงไก่ ถ้าเค้ามีสวน อย่างสวนยางสวนผลไม้ก็เลี้ยงแล้วกินเอง ตีไก่เนี่ยไม่ใช่เป็นหลัก แต่ถ้าฟลุคก็มาขายตัวเป็นหมื่นเป็นพัน ที่เหลือเค้าก็กินเองเอาตัวนี้มาล่อให้เค้าไปเลี้ยงไก่ แล้วสุดท้ายก็ทำให้เขามีทั้งโปรตีนจากการเลี้ยงไก่เป็นอาหารประหยัดรายจ่าย ก็เท่ากับเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร สำคัญที่สุดผมไปเปลี่ยนแปลงเรื่องการทรมานสัตว์ถ้าไม่ไปเปลี่ยนแปลงต่อไปพวก อนุรักษ์ก็มาให้ปิดก็เสียดายเพราะเป็นประต่อชาวสวนชาวไร่ผมเลยต้องไปเปลี่ยน แปลงให้การตีไก้ต้องใส่นวม มียกเหมือนนักมวย เหมือนคน ตรงนี้แหละถึงจะอยู่ได้นานเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น