ads head

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

“8 วิธี ที่จะทำให้..รวยก่อนเกษียณ” ตอนที่ 1

8 วิธี ที่จะทำให้..”รวยก่อนเกษียณ” ตอนที่ 1





“รวยก่อนเกษียณ”   ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง…
คนที่มีอายุ 40ปี หรือ 50ปี  หรือใกล้ๆจะ 60ปีแล้ว
แต่ผมกำลังหมายความว่า…
“คนที่อายุมาก  ควรจะอ่านบทความนี้…
คนที่อายุน้อย  คุณ..ไม่อยากเกษียณเร็วหรือ ?”


หนึ่ง  ตั้งเป้าหมายใหญ่  ด้วย  “พลังของดอกเบี้ยทบต้น”
เพื่อนๆ  ยังจำได้ไหมครับว่า
ผมเคยเล่าเกี่ยวกับวิธี  “รวยผ่อนส่ง”
ซึ่งเจ้าของไอเดียก็คือ  อาจารย์นิเวศน์ เหมวชิรวรากร  นั่นเอง
(สนใจคลิกที่  http://www.doctorwe.com/variety/20120716/2564 )


ในเรื่องนี้  อ.นิเวศน์ได้พูดถึงพลังของดอกเบี้ยทบต้น ที่ว่า
สมมุติว่า  เราตั้งระยะเวลาของการผ่อนไว้ 30 ปี
นั่นหมายความว่า ถ้าคุณอายุ 30 ปี วันที่คุณจะรวยก็คือวันที่คุณเกษียณ
เงินที่คุณต้อง ผ่อน ต่อเดือนก็คือ 10000 บาท
ซึ่งไม่น่าจะเป็นภาระมากจนเกินไป


โดยเฉพาะถ้าคุณมีอายุ 30 ปี และแต่งงานช่วยผ่อนกันสองคนสามีภรรยา
การผ่อนของคุณก็คือการเอาเงินไปลงทุนในหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อย่างน้อย 6-7 ตัวขึ้นไป
โดยที่คุณจะต้องไม่ถอนออกมาไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
เงินผ่อนทุกงวดจะต้องอยู่ในหุ้นตลอดเวลา
แม้ว่าคุณอาจจะสลับตัวหุ้นที่ลงทุนบ้าง


เงินปันผลที่ได้รับมาทั้งหมดก็ต้องเอาไปลงทุนในหุ้นต่อไปห้ามเอามาใช้
ถ้าคุณศึกษาและมีความรู้ในการลงทุนเป็น Value Investor ที่ดี
ซึ่งผมคิดว่าคุณน่าจะทำผลตอบแทนได้เฉลี่ยปีละ 12%
ในวันที่คุณเกษียณผ่อนมาครบ 30 ปี
คุณจะมีเงินประมาณ 28.9 ล้านบาท ชีวิตบั้นปลายของคุณน่าจะเป็น วัยทอง จริง ๆ


ด้วยตัวเลขเกือบ 30 ล้านบาทนี้..
ก็จะเป็น  “แรงจูงใจขนาดมหึมา”
ที่จะทำให้คุณ  “กล้าฝัน”  และ  “ต้องพยายาม..สุดขีด”
เพื่อให้ได้มาซึ่ง…เงินลงทุนให้ได้


สอง  ตั้งเป้าทุกวัน…ทำให้ได้ทุกวัน
ฟังแล้ว เหมือนง่าย..
แต่ถ้าเราต้องทำให้ได้ทุกวัน..  มันก็จะไม่ง่ายเลย
ตัวอย่างเช่น  “เซียนมี่”  นักเล่นหุ้นตัวยงอีกคนหนึ่ง


เซียนมี่..   เคยขับวินมอเตอร์ไซค์
เขาตั้งเป้าไว้ว่า  จะหาให้ได้วันละ  “หนึ่งพันบาท”
ดังนั้น จึงต้องเริ่มขับตั้งแต่ตอนตีห้า…
แล้วก็…   ขับไปเรื่อยๆ  ขับไปเรื่อยๆ  จนกว่าจะหาเงินให้ได้หนึ่งพันบาท


เป้าหมายของเซียนมี่…
จึงไม่ใช่  หนึ่งล้านบาท  สิบล้านบาท  หรือร้อยล้านบาท
แต่เป็นแค่…  “หนึ่งพันบาท”  ต่อวัน เท่านั้น
เพียงแต่….    ถ้าหาไม่ได้ก็   “ไม่ต้องกลับบ้าน”  เท่านั้นเอง
สนใจเรื่อง “เซียนมี่”   คลิกที่ http://www.doctorwe.com/radio/20120428/999


สาม   หา “อาชีพเสริม”
หากคุณเป็นเจ้าของกิจการอยู่แล้ว
ก็จงทุ่มทรัพยากรทั้งหมดลงไปในกิจการของคุณ
เพื่อให้กิจการของคุณยิ่งเติบโตสร้าง “ผลตอบแทนเป็นทวีคูณ”


แต่ถ้าหากคุณเป็น  “มนุษย์เงินเดือน”
คุณอาจจะมีเวลาว่างในตอนเย็น หรือวันเสาร์ วันอาทิตย์
จงอย่าใช้เวลาหยุดพักผ่อนส่วนใหญ่ไปในทาง  “ใช้เงิน”
แต่พยายามใช้เวลาเหล่านั้นไปในทาง  “หาเงิน”
เช่น  การสอนหนังสือ หรือ รับจ้างทำงานต่างๆ เป็นต้น


สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ
คุณควรฝึกที่จะมีความสุข “2 เด้ง”  นั่นคือ
สุขที่หนึ่ง คือ  เพลิดเพลินกับการที่มี “เงินทอง” เพิ่มขึ้น  เช่นเดียวกับ วอร์เรน บัฟเฟตต์
และ  สุขที่สอง  คือ  มีชีวิตอยู่กับครอบครัว “ที่บ้าน”  โดย  “ไม่ต้องไปเที่ยวข้างนอก”
หากฝึกที่จะมี “ความสุข 2 เด้ง” ได้แล้ว  ก็จะมี…เงินเหลือ นำไป “ต่อยอดหาเงินเพิ่ม” ได้อีกด้วย


สี่  ถ้าคุณเป็น  “คนขี้กลัว”  ก็จงอย่า  “ฝากเงินไว้ในธนาคาร”
การฝากเงินไว้ในธนาคารนั้น..
ดูเหมือนว่า..จะเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงต่ำมาก
เพราะปัจจุบันหากเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ
ก็มีแนวโน้มว่า รัฐบาลจะเข้ามารับประกัน  เหมือนวิกฤตในปี 2540


แต่ถ้าดูผลตอบแทนที่ได้จากการฝากธนาคารแล้วจะพบว่า
อัตราผลตอบแทนจากการฝากประจำ  น่าจะอยู่ประมาณ 3-4 เปอร์เซ็นต์
และถ้าเราไปดูอัตราเงินเฟ้อของไทย ในเวลานี้ก็จะพบว่า
อัตราเงินเฟ้อปีนี้ ก็น่าจะอยู่ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์กว่าๆ เช่นกัน
ดังนั้น ในปีนี้  “การฝากเงินในธนาคาร”  คงจะได้ดอกเบี้ยพอๆกับ
“ราคาสินค้า”  ที่จะขึ้นราคาในปีนี้  นั่นเอง


แต่ที่หนักหนาไปกว่านั้นก็คือ
อัตราเงินเฟ้อจะผันผวน ไม่แน่นอน
และมีโอกาสมากที่จะสูงกว่า “อัตราดอกเบี้ยที่ได้จากการฝากเงินในธนาคาร”
สรุปแล้ว ในระยะยาว  ผลตอบแทนที่ได้จากดอกเบี้ยจากธนาคาร
จะน้อยกว่าราคาสินค้าที่…เพิ่มขึ้น ทุกปี…ทุกปี  เสียอีก



และนี่คือ  4 ข้อแรก  ของ  “8 วิธีที่จะ..รวยก่อนเกษียณ”
เพื่อนๆบางคน  อ่านแล้ว..   อาจรู้สึก “เฉยๆ”
เพื่อนๆบางคน  อ่านแล้ว..   อาจรู้สึกว่า  “มีคุณค่ามาก”
เพื่อนๆบางคน  อ่านแล้ว..   อาจรู้สึกว่า  “สุดยอด..ไม่ทำไม่ได้”
แต่ที่สำคัญที่สุดคือ…  ควรจะอ่านแล้ว  ลงมือทำ “ทันที”
ก่อนที่เพื่อนๆ  “จะเริ่มทำ”   ก็ถึง…  “วันเกษียณแล้ว”
 
ข้อความนี้ถูกโพสต์ขึ้นโดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
http://www.doctorwe.com/variety/20120804/2956

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น