ads head

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิกฤติเศรษฐกิจ 1929 (ตอนที่ 4): แนวคิดในเรื่องทุน

แนวคิดในเรื่องทุน

ภาพ http://www.xn--12cle2dff5el5l9ac.net/

ธนาคาร คือธุรกิจอันลึกลับซับซ้อน มีคนไม่มากนักที่เข้าใจกลไก ระบบการทำงานของธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆอย่างแท้จริง ส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากสาเหตุที่ว่าขาดความรู้ ขาดความเข้าใจในการทำงบดุล(balance sheet)ของธนาคารว่ามีที่มาที่ไป และเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ได้อย่างไร ด้านขวามือของงบดุลเป็นฟากฝั่งของความน่าเชื่อถือของธนาคาร(bank’s liabilities) ส่วนข้อมูลด้านซ้ายมือนั้นเป็นสินทรัพย์ที่ธนาคารมีอยู่

ความน่าเชื่อถือของธนาคารคืออะไร อธิบายกันแบบง่ายๆ คร่าวๆก็คือความน่าเชื่อถือของะนาคารนั้นจะมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับเม็ด เงินที่ธนาคารมีอยู่ในมือ ที่ธนาคารสามารถนำมาใช้ในการทำธุรกิจได้ ซึ่งเม็ดเงินจำนวนดังกล่าวนั้นมีที่มาจาก 2 แหล่งคือ 1) มาจากการระดมทุน กระจายหุ้นออกขายให้กับนักลงทุนทั่วไปเพื่อแลกกับการที่นักลงทุนจะได้เข้ามา เป็นเจ้าของกิจการธนาคารนั้นๆร่วมกัน แนวทางนี้ธนาคารไม่จำเป็นต้องเป็นหนี้ใคร ไม่ต้องคืนเงินต้นให้กับผู้ถือหุ้น แต่ต้องปันส่วนผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ถือหุ้น ดังนั้นหุ้นจึงถูกมองว่าเป็นความน่าเชื่อถือของธนาคารที่ผู้ถือหุ้นสามารถ ใช้สิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าของร่วมในธนาคารนั้นๆได้

วิธี การที่ 2 ที่ธนาคารใช้ในการเพิ่มความน่าเชื่อถือของธนาคารก็คือการกู้ยืมเงิน ซึ่งส่วนมากก็จะมาจากเงินฝากของประชาชน หรือไม่ก็การกู้ยืมเงินกันเองระหว่างธนาคารกับธนาคารและสถาบันการเงิน ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณนำเงินของคุณไปฝากไว้กับธนาคาร นั่นก็คือการที่คุณนำเงินของคุณไปให้ธนาคารนั้นๆกู้ยืมเงินจากคุณนั่นเอง เงินฝากของคุณก็จะกลายเป็นความน่าเชื่อถือของธนาคาร เมื่อคุณต้องการเงินที่อยู่ในบัญชีธนาคารของคุณคืนมา ธนาคารก็จะคืนเงินให้กับคุณ เช่นเดียวกันกับเงินที่ธนาคารกู้ยืมมาจากธนาคารอื่นซึ่งเป็นการกู้ยืมเงิน กันระหว่างธนาคารด้วยกันเองก็เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธนาคารด้วย เช่นกัน

ธนาคารไม่เพียงแต่จะกู้ยืมเงินจากประชาชนและธนาคารอื่นด้วยวิธีการตรงๆอย่าง ที่ได้อธิบายไว้แล้วเท่านั้น แต่ธนาคารยังสามารถใช้วิธีการอื่นๆได้อีกด้วย เช่น การออกผลิตภัณฑ์ประเภทตราสารทางการเงินรูปแบบต่างๆ เป็นต้น ซึ่งก็สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธนาคารได้เช่นกัน ในการกู้เงินธนาคารนั้น เงินกู้ส่วนใหญ่นั้นได้ทำให้เกิดต้นทุนของธนาคารเพราะธนาคารมีภาระที่จะต้อง จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากให้กับเจ้าของบัญชี ตราสารหนี้ก็เช่นเดียวกัน ธนาคารก็ต้องจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือตราสารหนี้ด้วยเช่นกัน

แล้ว ธนาคารนำเงินที่ระดมทุนมาได้จากการกระจายหุ้นและกู้ยืมด้วยวิธีการต่างๆไปทำ อะไร ? คำตอบก็คือ ธนาคารนำเงินที่ระดมทุนได้ไปใส่ไว้อีกฟากข้างหนึ่งของงบดุล คือ ในส่วนที่เป็นสินทรัพย์ของธนาคารนั่นเอง เช่น ธนาคารปล่อยเงินกู้ใหกับธนาคารอื่น ภาคธุรกิจ และผู้ซื้อหรือสร้างบ้าน เงินกู้เหล่านี้ก็จะถูกธนาคารพิจารณาว่าเป็นสินทรัพย์ของธนาคารเพราะสิน เชื่อที่ธนาคารปล่อยออกไปนี้ก็คือการลงทุนของธนาคารที่จะนำมาซึ่งรายได้ของ ธนาคารในระยะยาวนั่นเอง

 เงินกู้ดังกล่าวสามารถสร้างผลกำไรกลับคืนสู่ธนาคารได้ ทำให้ธนาคารกลายเป็นกิจการที่มีมูลค่าทางธุรกิจ สินทรัพย์อื่นๆที่ธนาคารถือครองอยู่ก็เช่นกัน ธนาคารสามารถนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรของรัฐบาลหรือหลักทรัพย์อื่นๆ ในสินทรัพย์ที่มีค่า สำหรับสินทรัพย์ส่วนที่เหลือของธนาคารก็คือเงินสดที่กองรวมกันอยู่ในห้อง นิรภัยของธนาคาร รวมทั้งของมีค่าอื่นๆอีกเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมดที่ ธนาคารนั้น น่าประหลาดใจเป็นอย่างมากที่มันกลับไม่อาจทำเงิน สร้างผลกำไรกลับคืนมาให้กับธนาคารได้มากสักเท่าใดนัก

นั่น คือระบบ กลไกการทำงานแบบง่ายๆคร่าวๆของธุรกิจธนาคาร ว่าธนาคารนั้นสามารถเพิ่มเงินในมือตัวเองได้ด้วยการออกหุ้นและกู้ยืมเงินจาก ผู้ให้กู้ ขนาดของเงินทุนทำให้ธนาคารมีความน่าเชื่อถือ ธนาคารจึงมีความจำเป็นต้องกู้เงิน สะสมสินทรัพย์ แล้วธนาคารก็สามารถทำกำไรได้ด้วยการนำเงินทุนที่มีอยู่มาหมุนเวียน กินส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ย ระหว่างดอกเบี้ยที่ธนาคารต้องจ่ายคืนให้เจ้าหนี้หรือเจ้าของบัญชีกับ ดอกเบี้ยรับที่ธนาคารได้จากลูกค้าสินเชื่อของธนาคาร หากดอกเบี้ยที่ธนาคารต้องจ่ายต่ำกว่าดอกเบี้ยที่ธนาคารได้รับก็กลายเป็นราย ได้ เป็นผลกำไรของธนาคาร

หากว่าทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปอย่างเรียบง่ายและตรงไปตรงมา แต่การธนาคารนั้นไม่ใช่วิชาการที่ตายตัวอย่างเช่นการทำจรวดไปเหยียบผิวดวง จันทร์ ดังนั้นจึงไม่อาจคาดหวังจากนายธนาคารได้ว่าธนาคารจะดำเนินธุรกิจอย่างซื่อๆ ตรงไปตรงมาตามหลักวิชาที่วางไว้นี้ได้เสมอไป
และใน ตอนนี้เรื่องราวของเราก็ได้ดำเนินมาถึงส่วนที่เป็นสาระสำคัญกันแล้ว นั่นคือ เรื่องที่ว่า แท้จริงแล้วธนาคารมีมูลค่าเท่าไหร่กันแน่ ? ยกตัวอย่างง่ายๆคือ มันมีความแตกต่างกันอยู่ระหว่างมูลค่าสินทรัพย์ของธนาคารกับมูลหนี้ที่เชื่อ ถือได้ของธนาคาร เราลองมาทำให้ตัวเลข 2 ฝั่งนี้แตกต่างกันดู เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าหากเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร

ในกรณีที่สินทรัพย์ของธนาคารมีมากกว่ามูลหนี้ที่เชื่อถือได้นั้น ธนาคารก็จะบอกกับเราว่าส่วนต่างที่ว่านี้คือมูลค่าของธนาคาร ซึ่งเราเรียกกันว่า”ทุน”(capital)หรือ”สินทรัพย์”(equity) ซึ่งทุนที่ว่านี้ก็เป็นของเจ้าของธนาคารหรือผู้ถือหุ้นซึ่งมีสิทธิเรียกร้อง ในสินทรัพย์ส่วนที่เหลือนี้จากธนาคารได้ ส่วนด้านขวามือของงบดุลซึ่งเป็นส่วนของหนี้สินของธนาคารนั้น หนี้ที่ธนาคารมีต่อผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ใส่เงินเข้ามาในกองทุนของธนาคารใน ช่วงแรกเริ่มที่มีการก่อตั้งธนาคารหรือมีการเพิ่มทุนธนาคารด้วยการกระจาย หุ้นให้กับบุคคลทั่วไปในภายหลังนั้น ผู้ถือหุ้นก็จะได้รับส่วนแบ่งจากกำไรของธนาคารในรูปเงินปันผล และได้กำไรเพิ่มขึ้นจากมูลค่าหุ้นที่สูงขึ้นจากผลประกอบการที่ส่งผลให้ สินทรัพย์ของธนาคารเพิ่มสูงขึ้น
คราวนี้เราลองมาดู กันว่าธนาคารจะทำอย่างไรเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติการเงิน สิ่งที่เราต้องให้ความสนใจ ต้องพิจารณากันเป็นพิเศษก็คือ ในฟากฝั่งที่เป็นความน่าเชื่อถือของธนาคารที่อยู่ในงบดุลของธนาคารว่ามัน เกิดการบิดเบี้ยว ผิดรูปไปจากที่มันควรจะเป็นได้อย่างไร เมื่อธนาคารไม่สามารถกู้ยืมเงินเพิ่มได้ หรือธนาคารต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้นทุนการกู้ยืมเงินของธนาคารนั้นสูง เกินไปเพราะอัตราดอกเบี้ยจ่ายสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยรับ ผู้ฝากเงินจากธนาคารก็จะเกิดอาการแตกตื่นและแห่กันมาถอนเงินออกจากบัญชีเงิน ฝากของตนเอง หรือหากว่าธนาคารอื่นปฏิเสธที่จะปล่อยเงินกู้ก้อนใหม่ให้กับธนาคารหรือไม่มี ใครยอมซื้อตราสารทางการเงินที่ธนาคารเป็นผู้ออก

จากวิกฤติการณ์ในอดีตที่ผ่านมา เฟด-ธนาคารกลางของสหรัฐก็มักจะใช้วิธีคิดค้น เฟ้นหาสารพัดวิธีการที่จะปล่อยเงินกู้ให้กับธนาคารที่ประสบปัญหาไปพร้อมๆกับ การสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าหนี้ของธนาคารว่าเงินที่พวกเขาเหล่านั้นฝากไว้ หรือปล่อยกู้ให้กับธนาคารนั้นจะไม่เกิดความเสียหายขึ้นอย่างแน่นอน รัฐบาลจะทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือให้ส่วนต่างๆที่ประกอบกันเป็นความน่า เชื่อถือของธนาคารที่อยู่ในงบดุลนั้นดำรงอยู่ได้ มีการใส่เม็ดเงินก้อนใหม่เข้ามาเพื่อเพิ่มสินทรัพย์ให้กับธนาคาร เพิ่มการให้หลักประกันเงินฝากว่ายังมั่นใจได้และให้การคุ้มครอง รับประกันอย่างเต็มที่แม้ในส่วนของหนี้สินของธนาคารที่ไม่มีหลักประกันหรือ สุ่มเสี่ยงว่าจะเกิดความเสียหายขึ้น

แล้วอีกฟากข้าง หนึ่งของงบดุลธนาคารซึ่งเป็นส่วนของสินทรัพย์ของธนาคารล่ะ ? เฟด-ธนาคารกลางสหรัฐสามารถทำอะไรได้ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่ตนเองจะมีอำนาจ กระทำการได้ในฐานะธนาคารกลางเพื่อให้ธนาคารสามารถกู้ยืมเงินในขณะที่เกิด วิกฤติการเงินได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าสินทรัพย์ของธนาคารมีมูลค่าน้อยกว่าที่เคยมีในอดีตที่ผ่านมา ส่วนของทุนหรือมูลค่าสุทธิของธนาคารย่อมลดต่ำลงด้วยเช่นกัน เมื่อความน่าเชื่อถือของธนาคารปราศจากสินทรัพย์มารองรับ มูลค่าของธนาคารก็จะเหลือเป็นศูนย์ ธนาคารนั้นก็จะล้มละลาย(insolvent)หรือถูกฟ้องล้มละลาย(bankrupt)

ช่วง ที่วิกฤติการเงินครั้งที่ผ่านมาเลวร้ายลงไปยิ่งขึ้น สินทรัพย์จำนวนมากของธนาคารซึ่งอยู่ในงบดุลก็เริ่มเสื่อมมูลค่าลงไปเรื่อยๆ สินทรัพย์บางส่วนที่นำออกไปปล่อยกู้กลายเป็นหนี้เสีย ขณะที่สินทรัพย์อื่นๆที่เป็นหลักทรัพย์ก็ได้มาจากยึดจำนองและการปล่อยกู้ใน รูปแบบอื่นๆ เมื่อเจ้าของบ้านทิ้งจำนอง ผิดนัดชำระหนี้ หนี้เสียในส่วนนี้ก็จะส่งผลกระทบต่อไปเป็นลูกโซ่ถึงภาคส่วนอื่นๆในระบบการ เงินทั้งระบบ มูลค่าของทุกสิ่งทุกอย่างที่มาจากการปล่อยกู้ให้กับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในท้องถิ่น ไปจนถึง CDOs(collateralized debt obligations)ก็เริ่มมีมูลค่าลดลง และเมื่อมูลค่าของสินทรัพย์ต่างๆเหล่านี้ลดลง ส่วนของทุนที่ยังเหลืออยู่ก็ลดลงตามไปด้วย

ธนาคารใน สหรัฐอเมริกาและยุโรปในขณะนั้นต่างก็มีความจำเป็นต้องใส่เงินเพิ่มทุนลงไป อันดับแรกคือการเปิดหมวกรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนเพื่อความมั่งคั่งของ รัฐบาลที่ยอมจ่ายเงินซื้อหุ้นเพิ่มทุน (prefered shares) ซึ่งหุ้นดังกล่าวธนาคารได้นำออกมาจำหน่ายแบบจำเพาะเจาะจงว่าออกมาเพื่อ จำหน่ายให้กับรัฐบาลโดยเฉพาะ โดยมีเงื่อนไขว่ารัฐบาลที่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนนี้ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงใดๆทั้ง สิ้น รัฐบาลเป็นแต่เพียงผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่งของธนาคารและจะได้รับเงินปันผลตอบแทน จากผลกำไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลจึงไหลเข้าไปอยู่ในกองทุนของธนาคาร และธนาคารสามารถฟื้นฟูสถานะของเงินกองทุนของตนเองขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง ในชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในอีกหลายๆมาตรการที่ใช้เป็นเครื่องชี้วัดสุขภาพในการ ดำเนินธุรกิจของธนาคาร แต่มูลค่าของสินทรัพย์ต่างๆของธนาคารก็ยังคงปรับลดลงต่อไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นธนาคารก็จะต้องเพิ่มทุนกันอีกครั้ง คราวนี้ธนาคารใช้การระดมทุนจากภาคเอกชนเป็นเครื่องมือด้วยการออกหุ้นสามัญ เพิ่มทุน แต่ก็ยังได้เงินมาไม่เพียงพออีกเช่นเคย ฤดูใบไม้ร่วงปี 2008 มูลค่าของสินทรัพย์ที่ธนาคารครอบครองอยู่ก็ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเหตุการณ์ได้ดำเนินมาถึงตอนนี้แล้ว ไม่มีใครสนใจจะใส่เงินเข้าไปเพิ่มทุนให้กับธนาคารกันอีกแล้ว

เมื่อ สถานการณ์ดำเนินมาถึงขั้นนี้แล้ว ผู้กำหนดนโยบายก็ต้องหยิบยกมาตการอะไรสักอย่างที่มีอยู่ในมือออกมาใช้ ผู้กำกัดดูแลกิจการธนาคารสามารถที่จะเลือกได้ว่าจะปล่อยให้ธนาคาร(และสถาบัน การเงินอื่นๆที่ไม่ใช่ธนาคาร เช่น ธนาคารลูก และธุรกิจตัวแทน นายหน้าของธนาคาร)ล้มดีหรือไม่ หลังจากนั้นภาครัฐก็อาจจะปรับโครงสร้างธุรกิจไม่ว่าจะด้วยวิธีผ่านกระบวนการ ในหรือนอกศาล หรือผ่านกระบวนการของ FDIC ที่ธนาคารเป็นสมาชิกอยู่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างในกรณีที่บางธนาคารอยู่ในฐานะล่อแหลม สุ่มเสี่ยง ขาดความมั่นคง เจ้าหนี้ที่เป็นผู้ถือครองตราสารทางการเงินที่ออกโดยธนาคารนั้นๆ เป็นต้น

อาจจะเห็นพ้องต้องกันว่าให้ธนาคารแปลงหนี้บางส่วนเป็นหุ้นหรือสินทรัพย์อื่น ใดของธนาคาร ซึ่งการแปลงหนี้เป็นสินทรัพย์นี้(debt-for-equity swaps)ไม่จำเป็นจะต้องกำหนดเงื่อนไขในการเจรจาที่แน่นอนตายตัวเอาไว้ล่วง หน้า ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกการเจรจาต่อรองระหว่างเจ้าหนี้ของธนาคารแต่ละรายว่าจะ มีเงื่อนไขการต่อรองกันอย่างไร ซึ่งเจ้าหนี้บางรายอาจจะเลือกใช้เงื่อนไขอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงินมาเจรจาต่อรอง กับธนาคารก็ได้ หรือบางรายอาจจะยอมปล่อยกู้เพิ่มเติมให้กับธนาคารเพื่อให้ธนาคารสามารถกลับ มาดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีกครั้งก็ย่อมได้ ดังนั้นธนาคารก็จะสามารถกลับมาดำเนินกิจการได้อีกครั้งหนึ่งหลังการปรับโครง สร้างหนี้ เจ้าหนี้ยอมปรับลดหนี้ ยกหนี้ให้บางส่วนแล้ว จากนั้นความน่าเชื่อถือของธนาคารที่ลดลงไปก็จะกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลย์สอด คล้องกับมูลค่าสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ ธนาคารคก็จะมีเงินทุนและปล่อยกู้ได้อีกครั้งหนึ่ง

วิธี การนี้เท่ากับว่าเป็นการยอมให้ตลาดได้ขจัดของเสียออกไปจากระบบ ธนาคารที่ย่ำแย่ก็ปล่อยให้ล้มหายตายจากไปก่อน จากนั้นก็ปรับโครงสร้างธนาคารและฟื้นฟูกิจการกลับคืนมาใหม่ ได้ผลออกมาในลักษณะเดียวกัน ความสำเร็จเกิดจากการที่ธนาคารกลางของรัฐบาลออกมาประกาศให้ชัดเจนว่าจะมี ธนาคารบางส่วนที่ล้มละลายและถูกขจัดทิ้งไปจากระบบ แล้วธนาคารเหล่านั้นก็จะถูกแทนที่ด้วยการที่ภาครัฐเข้าไปควบคุมกิจการ ส่งคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์เข้าไปดำเนินการขายสินทรัพย์ดี บริหารสินทรัพย์เสีย จากนั้นก็ปล่อยให้ธนาคารดำเนินกิจการไปตามปกติ กระบวนการนี้เรียกว่า “การแปลงธุรกิจไปเป็นของรัฐ”(nationalization) ซึ่งเป็นทางเลือกที่สวีเดนนำมาใช้แก้ไขวิกฤติภาคธนาคารที่เกิดขึ้นในช่วงต้น ทศวรรษที่ 1990 และสหรัฐอเมริกาก็นำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพในการเข้าเทคโอเวอร์กิจการของ ธนาคารคอนติเนตัล อิลลินอยส์(Continental Illinois) ธนาคารยักษ์ใหญ๋ที่ประสบปัญหาจากวิกฤติเงินออมและเงินกู้(the saivings and loan crisis)คราวก่อน

แต่วิกฤติการเงินครั้งที่ผ่าน มานี้ เรากลับไม่ได้นำวิธีการเช่นนั้นออกมาใช้ และภายหลังความล้มเหลวที่เกิดกับเลห์แมน บราเธอร์ส การแก้ไขปัญหาภาคธนาคารก็ยืนอยู่บนจุดยืนที่ว่าธนาคารล้มไม่ได้ รัฐจะให้ความกรุณแก่ผู้ถือตราสารทางการเงินของธนาคารที่ประสบปัญหาไม่ให้ ต้องเผชิญกับหนี้สูญอย่างแน่นอน

ตราสารทางการเงินดังกล่าวนั้นรัฐต้องใช้เงินราวๆ 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านการออกกฎหมายที่ให้อำนาจกับ TARP เป็นผู้รับซื้อหนี้ก้อนดังกล่าวจากธนาคาร และใส่เงินทุนก้อนใหม่เข้าไปในธนาคาร ผู้ที่ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆยังรวมถึงธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง แบงค์ออฟอเมริกา ซิตี้กรุ๊ป เจพีมอร์แกนเชส โกลด์แมนแซคส์ และเอไอจี ซึ่งทั้งหมดได้เงินอัดฉีดไปประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ธนาคารอื่นๆอีกนับร้อยราย ธนาคารขนาดเล็กล้วนเข้าแถวเรียงราย ต่อคิดกันรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้ตามมาด้วยการขยายวงเงินเพิ่มเติมในภายหลัง รัฐบาลซึ่งก็คือชาวอเมริกันที่เป็นผู้เสียภาษีนั่นเองที่ได้กลายเป็นเจ้าของ ตัวจริงในกิจการที่เข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินครั้งใหญ่คราวนี้ของบรรดา ธนาคารต่างๆ เป็นผู้แบกรับภาระหนี้เสีย หนี้สูญที่ถูกตัดทิ้งไปตัวจริง

สิ่ง ที่กำลังคืบคลานเข้ามาก็คือระบบการเงินบางส่วนได้กลายเป็นกิจการของรัฐไป แล้ว และหากเราจะต้องให้ความช่วยเหลือธนาคารอื่นๆที่เหลืออยู่ทั้งหมด เม็ดเงินมหาศาลที่รัฐจะต้องใส่ลงไปช่วยเหลือก็จะกลายเป็นต้นทุนในระยะยาวที่ ยากจะคิดคำนวณออกมาได้ว่าแท้จริงแล้วจะเป็นเท่าไหร่ อย่างไรกันแน่ ธนาคารขนาดใหญ่ส่วนมากได้จ่ายเงินคืนให้กับกองทุนภายใต้ความดูแลของ TARP บ้างแล้ว และรัฐบาลก็กำลังจะปลดเปลื้องภาระของตนเองจากสถาบันการเงินต่างๆเหล่านั้น ออกไปได้ แต่ธนาคารอื่นๆ รวมถึงธนาคารขนาดเล็กจำนวนมาก ธนาคารท้องถิ่นที่ยังคงต้องพึ่งพาอาศัยความช่วยเหลือทางการเงินจาก TARP อยู่ ยังไม่สามารถจ่ายเงินคืนให้กับ TARP ได้นั้นก็จะยังคงเป็นต้นทุนทางการคลังของรัฐ ของผู้เสียภาษีต่อไปในอนาคตอีกนั่นเอง
สำหรับธนาคาร ที่ได้คืนเงินให้กับ TARP แล้วนั้น ปัญหาแท้จริงที่เป็นรากเหง้าของวิกฤติการธนาคารก็ยังคงอยู่เช่นเดิม สินทรัพย์ของธนาคารยังคงเสื่อมราคาต่อไปเรื่อยๆ ปัญหารอเวลาที่จะปะทุขึ้นมาอีกครั้งก็เท่านั้นเอง แล้วรัฐบาลก็จะต้องใส่เงินเข้าไปอีกมากมายมหาศาลให้กับธนาคารเหล่านั้นกัน อีกครั้ง แต่คราวนี้สินทรัพย์ที่มีปัญหาซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของธนาคารได้เปลี่ยน แปลงไปจากเดิมแล้ว หนี้เสียได้ถูกขว้างทิ้งออกไปแล้ว คราวนี้เราอาจจะต้องขว้างสินทรัพย์ดีทิ้งไปบ้างก็ได

ที่มา http://seksanpantu.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น