ads head

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิกฤติเศรษฐกิจ 1929 (ตอนที่ 6): สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา

สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา

ต้นทศวรรษที่ 1930 คือจุดเริ่มต้นของวิกฤติเศรษฐกิจครั้งร้ายแรง ธนาคารหลายพันแห่งในสหรัฐประสบปัญหา ภาคครัวเรือนที่จำนองบ้านไว้กับธนาคารพากันผิดนัดชำระหนี้ ตัวเลขคนว่างงานพุ่งสูงปรี๊ดปานติดจรวด ความช่วยเหลือของภาครัฐที่เกิดจากข้อตกลง New Deal ของ FDR ก็มาถึงอย่างล่าช้า เศรษฐกิจตกอยู่ภายใต้ภาวะชะงักงันอย่างต่อเนื่องยาวนาน หลายประเทศก็ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกัน เศรษฐกิจอ่อนปวกเปียกดำเินินไปเรื่อยๆตลอดช่วงทศวรรษที่ 1930 จนกระทั่งสงครามอุบัติขึ้น การฟื้นฟูประเทศที่เสียหายจากพิษภัยของสงครามจึงได้เริ่มต้นขึ้น

ขณะที่ในปัจจุบันนั้นรัฐบาลไม่ได้ปล่อยให้สถาการณ์ ลุกลามขยายวงกว้างออกไปจนยากที่จะควบคุมได้ รัฐบาลสหรัฐดำเนินมาตรการต่างๆครั้งแล้วครั้งเล่าแม้จะเป็นมาตรการที่สุ่ม เสี่ยงหมิ่นเหม่ ช็อคคนทั่วทั้งโลกให้ตื่นตะลึงไปกับมาตรการที่ปล่อยออกมาซึ่งเกิดจากการปรับ เปลี่ยน ดัดแปลง ปรับประยุกต์บทเรียนแห่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นในช่วง the Great Depression และความล้มเหลวในการแก้ไขวิกฤติการณ์ครั้งหลังๆที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐพยายามทุกวิถีทาง ทุ่มสุดตัวเพื่อหาทางเยียวยาแก้ไขปัญหาต่างๆที่กำลังรุมเร้าเศรษฐกิจของ สหรัฐอยู่ในขณะนี้ ทั้งการหยิบยืมวิถีแนวทางแบบเดิมๆที่เคยใช้ได้ผลและประดิษฐ์คิดค้นมาตรการ ใหม่ๆกันแบบสดๆร้อนๆ

รัฐบาลสหรัฐเลือกที่จะใช้ทั้งมาตรการทางด้านการเงินและ การคลังผสมผสานกัน ระดมสรรพอาวุธทุกชนิดที่มีอยู่ปูพรมโยนใส่ลงไปสู้กับปัญหาไม่ว่าจะเป็นการลด ดอกเบี้ยหรือลดภาษี แต่เมื่อรัฐบาลเห็นว่ามาตรการต่างๆดังกล่าวไม่ได้ผลและส่อเค้าว่าจะเกิดภาวะ เงินฝืดขึ้น เศรษฐกิจตกต่ำทำท่าว่าจะมาเยือนสหรัฐกันแล้วจริงๆ เฟดจึงกลายเป็นที่พึ่งสุดท้ายของรัฐบาลสหรัฐ กลายเป็นแหล่งกู้ยืมเงินชั้นเยี่ยมที่มีเงินให้รัฐบาลใช้จ่ายได้ไม่อย่างไม่ มีอั้นเพื่อนำเงินมาใช้ต่อลมหายใจเฮือกสุดท้ายให้กับสถาบันการเงิน จากนั้นก็ตามมาด้วยภาคธุรกิจต่างๆ ผู้ประกอบการที่จำเป็นต้องได้รับกู้เงินก้อนใหม่มาจ่า่ยคืนหนี้เงินกู้ก้อน เดิมที่ครบกำหนดชำระ ถึงเวลาไถ่ถอนตราสารหนี้รุ่นก่อนแล้ว (roll over)

ขณะที่ธนาคารกลางเองก็พยายามตีความกฎหมายเข้าข้างตนเองเพื่อให้ตนเองมีอำนาจ เพิ่มมากขึ้น ขยายขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนเองให้กว้างขวางขึ้นเพื่อช่วยรัฐบาลสหรัฐแก้ไข ปัญหาวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นกับภาคการเงิน

ความพยายามให้ความช่วยเหลือขนานใหญ่คราวนี้คือความช่วย เหลือครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ ทั้งยังเป็นปรากฎการณ์ที่แผ่ขยายวงข้ามขอบเขตแห่งรัฐชาติ แม้แต่องค์กรระหว่างประเทศอย่างไอเอ็มเอฟยังกระโจนเข้ามาร่วมวงด้วย เฟดปล่อยเงินกู้ให้กับธนาคารกลางของประเทศต่างๆที่ต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐ ไปเสริมสภาพคล่อง ซึ่งเฟดก็สวมบทคนใจใหญ่ เจ้าบุญทุ่ม รับประกันว่ามีเงินดอลลาร์สหรัฐให้ธนาคารที่ประสบปัญหาและบรรษัทต่างๆทั่ว โลกได้แลกใช้กันได้อย่างไม่ขาดมืออย่างแน่นอน ความช่วยเหลือที่เกิดขึ้นนี้เป็นความช่วยเหลือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยุค ปัจจุบัน ยังดีอยู่นิดนึงที่ยังไม่ถึงกับเป็นสถิติสูงสุดตลอดกาล

ซึ่งนี่ยังคงเป็นเพียงแค่ระยะเริ่มต้น จุดเริ่มแรกแห่งวิกฤติเศรษฐกิจเท่านั้น แต่รัฐบาลสหรัฐก็ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นในภาคธุรกิจหลายแห่ง ได้ซื้อหุ้นในกิจการของเอกชนที่ประสบปัญหาต้องการการเพิ่มทุนซึ่งรัฐบาล สหรัฐก็จัดให้ด้วยการใส่เงินทุนลงไปแลกกับการถือครองหุ้นของบรรษัทต่างๆ เหล่านั้นในจำนวนหุ้นที่มีมูลค่าเทียบเท่ากับเงินทุนก้อนใหม่ที่รัฐบาลใส่ลง ไป จากนั้นก็ตามมาด้วยการเข้าซื้อตราสารอนุพันธ์ต่างๆที่ออกโดยธนาคาร สถาบันการเงิน และหากว่าความช่วยเหลือที่แล้วมานั้นยังไม่เพียงพอ นักลงทุนยังคงต้องสูญเสียเงินลงทุนของตนเองต่อไปจนกระทั่งมีการเปิดเผยตัว เลขออกมาอย่างเป็นทางการว่าความเสียหายที่ภาคธนาคารได้รับ ประชาชนที่เป็นเจ้าของบ้านได้รับ และอื่นๆมีมูลค่าเท่าไหร่กันแน่ รัฐบาลก็จะออกมาใส่เงินช่วยเหลือเพิ่มลงไปอีกเพื่อซื้อหนี้เสียออกมาจากระบบ บัญชีงบดุลของธนาคารเพื่อให้ธนาคารที่ประสบปัญหาสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจ ปล่อยกู้ให้กับประชาชนเพิ่มเติมได้อีก

และสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในห้วงขณะเวลานี้ก็คือ สารพัดเงินช่วยเหลือที่รัฐบาลควักกระเป๋าจ่ายออกมาอย่างเยอะแยะมากมายมหาศาล นั้นก็ยังคงไม่เพียงพออยู่ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเงินกู้ วงเงินที่รัฐบาลออกมาค้ำประกันทั้งในส่วนที่เป็นสินเชื่อและเงินฝาก หรือเม็ดเงินที่รัฐบาลควักกระเป๋าออกมาซื้อหนี้เสียออกจากงบดุลของธนาคาร ความเชื่อมั่นของตลาด-ผู้บริโภค-นักลงทุนก็ยังคงไม่กลับคืนมา เฟดและธนาคารกลางอีกหลายแห่งได้กลายสภาพมาเป็นนักลงทุนความหวังสุดท้ายที่ ออกมารับซื้อหนี้เสียออกจากกระเป๋าของภาคเอกชนแปลงสภาพหนี้ภาคเอกชนไปเป็น หนี้ภาครัฐ และยังคงต้องใส่เงินเพิ่มลงไปเสริมสภาพคล่องให้กับเอกชนผ่านมาตรการ QE เพื่อแทรกแซงตลาดการเงินขนานใหญ่


 พยายามจะสร้างดีมานด์-กำลังซื้อ-ความต้องการซื้อสินค้าและบริการต่างๆให้ เกิดขึ้นให้ได้ แต่จนแล้วจนรอดความต้องการจับจ่ายใช้สอยเงินทองเพื่อซื้อหาสินค้าและบริการ ต่างๆก็ยังคงไม่เกิดขึ้นอยู่ดีทั้งๆที่รัฐบาลสหรัฐได้ออกมาซื้อบ้านที่ถูก ยึดและตราสารทางการเงินต่างๆออกไปจากระบบชั่วคราวแล้วก็ตาม ไหนจะมีมาตรการสินเชื่อรถยนต์ไปจนถึงสินเชื่อเพื่อการศึกษาออกมาอีกเล่า แต่ตลาดก็ยังคงเงียบเหงาไ่ม่มีอะไรดีขึ้น

ผู้มีอำนาจออกกฎหมายทั้งในสหรัฐและประเทศต่างๆทั่วโลก ต่างก็ทำในลักษณะเดียวกัน มีการตั้งกองทุนขึ้นมาสารพัดรูปแบบเพื่อดำเนินมาตรการในลักษณะดังกล่าวที่ ว่าไว้ เสนอความช่วยเหลือให้กับเจ้าของบ้าน และสิ่งที่เป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือการอนุมัติให้รัฐบาลจัดทำงบ ประมาณขาดดุลนับล้านล้านดอลลาร์เพื่อใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ออกมาตรการต่างๆทั้งนโยบายเก่าแก่ดั้งเดิมสุดคลาสสิคอย่างการซ่้ อม-สร้าง-ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้นไปจนถึงการ ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ ตั้งแต่รัฐบาลท้องถิ่นไปถึงคนตกงาน

มาตรการทางการเงิน-การคลังทั้งหลายทั้งปวงนี้ถูกโยนใส่ ลงไปในระบบเศรษฐกิจที่ดำเนินมาแล้วกว่า 2 ปี เม็ดเงินจำนวนมากมายมหาศาลนำมาซึ่งการฟื้นตัวอย่างเปราะบางของระบบเศรษฐกิจ ตามมาด้วยข้อสงสัยเยอะแยะมากมาย การถกเถียงกันในวงกว้าง ทุนนิยมยังคงไม่ล่มสลาย ชะตากรรมของไอซ์แลนด์ก็ยังคงเป็นได้แค่เพียงชะตากรรมของไอซ์แลนด์ยังไม่ ลุกลามขยายวงกว้างออกไปจนกลายเป็นชะตากรรมโลก มาตรการต่างๆที่ธนาคารกลาง รัฐบาล และผู้มีอำนาจออกกฎหมายนำมาใช้จะนำพาเศรษฐกิจที่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤตินี้ไป สู่ฉากจบแบบไหน อย่างไร ภายนอกผิวเผินที่ดูเหมือนจะสงบราบรื่นไร้คลื่นลมนั้น ภายในยังคงเป็นบาดแผลที่ยังไม่แห้งหายสนิท ยังคงสร้างความปวดระบมให้กับผุ้คนอยู่ต่อไป แม้ตัวเลขทางเศรษฐกิจในปี 2009 จะออกมาดีกว่าที่หลายคนคาดคิดคำนวณไว้ แล้วปีต่อๆไปหลังจากนั้นเล่าจะยังดุดี ดูได้อยู่หรือเปล่า ฉากจบนั้นใกล้เข้ามาทุกทีๆแล้ว
 
ข่าวดีผ่านไป ถึงคราวของข่าวร้ายกันบ้าง เสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้นแลกมาด้วยต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงมากๆ ขอบคุณสำหรับสารพัดเงินช่วยเหลือที่ออกมาหลากหลายรูปแบบ ทั้งการค้ำประกันสินเชื่อ ค้ำประกันเงินฝาก แผนการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และอีกสารพัดมาตรการที่ภาครัฐทุ่มระดมทุนควักเงินออกมาจากกระเป๋าเพื่อแก้ไข ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น หนี้สาธารณะของสหรัฐกำลังพุ่งทะยานเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับจีดีพี การขาดดุลงบประมาณก็ใกล้จะทะลุ 9 ล้านล้านดอลลาร์กันแล้วในอีกไม่ช้าไม่นาน นี่คือวิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในแบบของเคนส์ซึ่งเคยใช้ได้ผลมาแล้ว สหรัฐอเมริกาก็เคยขาดดุลงบประมาณมากมายมหาศาลมาแล้วจากข้อตกลง New Deal และสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งรัฐบาลสหรัฐก็สามารถจ่ายเงินชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้อย่างสบายๆไม่มี ปัญหาอะไร ปี 1946 สหรัฐอเมริกามีหนี้สาธารณะสูงถึง 122% ของจีดีพี นี่เป็นสถิติสูงสุดตลอดกาลของสหรัฐอเมริกา และในตอนนี้หนี้สาธารณะของสหรัฐก็กำลังจะแต่ะระดับ 90% ของจีดีพีและแน่นอนว่าไม่ได้หยุดอยู่แค่ร้อยละ 90 เท่านั้นแน่ ทะลุและพุ่งต่อไปเรื่อยๆอย่างแน่นอน

แต่บริบทแวดล้อมสหรัฐในปี 1946 ก็ไม่เหมือนกับสภาพสหรัฐอเมริกาที่เป็นอยู่ในห้วงขณะนี้ ปี 1946 นั้นสหรัฐอเมริกากำลังรุ่งเรือง กำลังจะพุ่งทะยานไปสู่จุดสูงสุด สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้า สหรัฐอเมริกาไม่ได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นสิ่งที่ใครต่อใครเห็นแล้วต่างก็พากันอิจฉาตาร้อน ส่วนคู่แข่งสำหรับของสหรัฐในเวลาต่อมาคือญีปุ่นและเยอรมันนั้นพังพินาศ ยับเยินจากพิษภัยของสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกากลายเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของหลายประเทศทั่วโลก สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความน่าเชื่อถือด้านเครดิตสูงสุด มีงบประมาณที่เกินดุล ได้ดุลการค้าจากการค้าขายกับต่างประเทศ ดอลลาร์สหรัฐกลายเป็นทุนสำรองของโลก ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจแต่อย่างใดที่สหรัฐสามารถชำระหนี้ 122% ของจีดีพีได้อย่างสบายๆ แต่สภาพสหรัฐในปัจจุบันนั้นผิดไปจากปี 1946 เป็นอย่างมาก ภาคการผลิตของสหรัฐอ่อนแอมาก สหรัฐเป็นลูกหนี้รายใหญ่ของโลก สหรัฐขาดดุลการค้า สหรัฐขาดดุลงบประมาณจำนวนมาก ขอบคุณจีนคู่แข่งสำคัญในอนาคตข้างหน้าของสหรัฐที่ให้สหรัฐกู้ยืมเงินเป็น จำนวนมาก สหรัฐวันนี้ไม่เหมือนสหรัฐในปี 1946 สหรัฐในวันนี้ไม่อยู่ในฐานะที่จะจ่ายคืนหนี้เงินกู้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆได้ ง่ายๆสบายๆอย่างในอดีต ความเป็นชาติมหาอำนาจ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงลดน้อยเสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆกันต่อไป

รัฐบาลสหรัฐตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการใช้ มาตรการทางด้านการคลัง และนี่ยังคงเป็นเพียงแค่จุดเิริ่มต้น ระยะเริ่มแรกของวิกฤติการณ์เท่านั้น ยังมีเงื่อนไข เหตุปัจจัยอีกมากมายที่พันผูก ทับซ้อนกันจนยุ่งเหยิงอยู่ภายในตัววิกฤติการณ์ รัฐบาลต้องจับตามองดูจุดที่เป็นปัญหาแล้วใส่เงินป้อนลงไปในจุดนั้น แต่สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐไม่คิดที่จะทำคือการแปรรูปธนาคารที่มีปัญหาเป็นธนาคาร รัฐ(nationalize) สิ่งที่รัฐบาลทำจึงเป็นแต่เพียงการใส่เงินลงไปชดเชยในส่วนของทุนที่ได้รับ ความเสียหายกลายเป็นหนี้เสีย-หนี้สูญ จากนั้นก็ปล่อยให้ธนาคารดำเนินกิจการกันต่อไป แล้วธนาคารก็ยังคงล้มละลายกันต่อไป ความช่วยเหลือที่รัฐบาลมอบให้กับ good bank และ bad bank นั้นก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน ไม่ได้สร้างความแตกต่างอะไรให้เกิดขึ้น ดังนั้นเสถียรภาพของระบบการเงินจึงยังคงเป็นประเด็นที่สร้างความปวดเศียร เวียนเกล้าให้รัฐบาลสหรัฐต้องตามแก้กันต่อไป

อาจกล่าวได้ว่าความช่วยเหลือทั้งหลายทั้งปวงนั้นมุ่งไป ที่ผู้เป็นเจ้าของบ้าน ผู้ผลิตรถยนต์ และผู้ได้รับประโยชน์อื่นๆตามที่รัฐบาลจะเห็นว่าเป็นการสมควรที่จะได้รับ ความกรุณาจากรัฐบาล วิกฤติการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นยังคงกัดเซาะบ่อนทำลายระบอบทุนนิยมกันต่อไป เรื่อยๆ ค่อยๆแทะเล็มกัดกินทีละเล็กทีละน้อย วิธีที่จะป้องกันปัญหาที่ไม่แตกปะทุระเบิดขึ้นมาอีกครั้งอย่างที่รัฐบาล ผู้มีอำนาจกำลังทำๆกันอยู่ก็คือการลดภาษี การจ่ายคูปองเงินสดเพื่อกระุต้นให้เกิดการใช้จ่าย และมาตรการกระตุ้นตลาดที่พักอาศัยแต่มันก็ให้ผลลัพธ์ออกมาแค่การชะลอการล่ม สลายที่กำลังจะเกิดขึ้นให้เกิดขึ้นช้าลงเท่านั้นเอง(ทฤษฎีของ Schumpeter) ขณะที่วิกฤติเศรษฐกิจกำลังดำเนินไปเรื่อยๆนั้น หากมาตรการที่กำหนดออกมาใช้แก้ไขปัญหาทำได้ตรงจุดปัญหาก็จบ แต่หากมาตรการต่างๆที่กำหนดออกมาไม่ถูกต้อง แก้ไขปัญหาไม่ได้ก็เท่ากับว่านี่คือการเติมเชื้อไฟใส่ลงไปเร่งวิกฤติการณ์ ให้หนักขึ้น เร็วขึ้น แรงขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการตัดหนี้สูญให้กับลูกหนี้ซึ่งส่งผลกระทบต่องบดุลและฐานะเงิน กองทุนของธนาคาร หรือการปิดกิจการของผู้ผลิตรถยนต์ และการทิ้งจำนองปล่อยให้บ้านถูกยึดของผู้เป็นเจ้าของบ้านที่ประสบปัญหาในการ ผ่อนชำระค่าบ้านให้กับสถาบันการเงิน

ซึ่งมาตรการต่างๆที่รัฐบาลนำออกมาใช้นั้นแตกต่างจากมาตร การของเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ในช่วงที่วิกฤติเศรษฐกิจพึ่งจะเริ่มต้นขึ้นไม่มากนัก แน่นอนว่าวิธีการป้องกันไม่ให้วิกฤติเศรษฐกิจลุกลามขยายวงออกไปจนไม่อาจควบ คุมได้นั้นมีอยู่มากมายด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายทางด้านการคลัง แต่สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในปัจจุบันนั้นก็เหมือนกับสิ่งที่ฮูเวอร์ทำในช่วง แรกๆก็คือการพยายามประนีประนอมกับปัญหาที่ไม่อาจจะประนีประนอมด้วยได้ เหมือนกับว่าเรามีเค๊กอยู่ก้อนหนึ่งซึ่งเราต้องเลือกว่าจะเก็บเค๊กก้อนนี้ ไว้หรือว่าจะกินมันดี เราไม่สามารถช่วยเหลือคนที่กำลังเดือดร้อนเพราะการตัดสินใจที่ผิดพลาดท่าม กลางภาวะวิกฤติได้ทุกคนพร้อมๆกับการพยายามฟื้นฟูระบอบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมแบบ ที่เป็นอยู่ให้ดำเนินต่อไปได้เรื่อยๆ นี่คือความจริงอันโหดร้ายที่เราต้องทำใจยอมรับมันและตัดสินใจว่าจะเลือกอะไร แบบไหน อย่างไร จึงจะมีคนสักกลุ่มหนึ่ง กึ่งหนึ่ง หรือเกือบทั้งหมดที่สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้

การแก้ไขปัญหาแบบลองผิดลองถูกก็คือการทำลายขวัญกำลังใจ ของผู้คนให้ลดน้อยถอยลงไป ทำให้คนทั่วไปขาดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ-การผลิต-การลงทุน-การบริโภค เมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาธนาคารกลางภายใต้การกุมบังเหียนของอลัน กรีนสแปนได้แทรกแซงตลาดในช่วงที่เกิด “the saving and loan crisis” ขึ้นในปี 1987 และ 9-11 โศกนาฏกรรมช็อคโลกจากน้ำมือของกลุ่มอัลกอดิดะห์ วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้คือบททดสอบความเชื่อของกรีนสแปน(หรือ เบอร์นันเก)ว่าสถาบันการเงิน(เลห์แมน บราเธอร์ส)ล้มได้หรือไม่ ธนาคารกลางและรัฐบาลสหรัฐมีอำนาจล้นฟ้าขึ้นในชั่วพริบตา แต่แล้วในที่สุดก็ไม่อาจสะกัดยับยั้งทำลายวงจรการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจให้จบ สิ้นไปได้

เมฆหมอกที่แผ่ปกคลุมเราอยู่นี้ยังพอมีแสงสว่างเล็ดลอด ออกมาให้เราได้เห็นกันอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น ยังมีอีกหลายประเทศที่ดุลบัญชีของประเทศยังคงเข้มแข็ง มีหนี้สาธารณะอยุ่ในระดับต่ำซึ่งช่วยชะลอให้ประเทศนั้นๆรอดพ้นจากพิษภัยของ วิกฤติเศรษฐกิจไปได้ในระยะเวลาหนึ่ง มีเวลาให้ประเทศนั้นๆได้หายใจหายคอ ตั้งสติ คิดหาวิธีการรับมือ โยกย้ายเม็ดเงินงบประมาณมากระตุ้นเศรษฐกิจที่พลอยได้รับผลกระทบจากวิกฤติ การณ์ที่เกิดขึ้นไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศหดตัวได้


เม็ดเงินเหล่านนี้ถูกนำมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากการกระตุ้นการบริโภคภาย ในประเทศแทนการส่งออกซึ่งก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลประเทศต่างๆทำกันทั่วไปทั่วทุก มุมโลก ซึ่งนี่คือต้นทุนระยะยาวที่จะส่งผลต่อประเทศต่างๆในระยะต่อๆมาอันเนื่องมา จากการปรับลดภาษีที่จะส่งผลให้รายได้ของประเทศปรับตัวลดลงขณะที่รายจ่ายของ ภาครัฐปรับเพิ่มขึ้นสวนทางกับรายได้ รัฐบาลต้องใช้เงินงบประมาณที่มากขึ้นเพื่อช่วยเหลือแรงงานที่ต้องตกงานกัน เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในด้านอื่นๆ


นโยบายการคลังที่หลายประเทศนิยมนำออกมาใช้กันนั้นสร้างภาระหนี้ให้กับประเทศ รอเวลาที่ปัญหาหนี้สินของภาครัฐจะแตกปะทุออกมาแบบเดียวกันที่กำลังจะเกิด ขึ้นกับชาติอุตสาหกรรมชั้นนำ เมื่อถึงจุดๆหนึ่งหนี้สาธารณะจะกลายเป็นปัญหาหนักอกที่สร้างความวิตกกังวล ให้กับนักลงทุนต้องคิดให้ตก ตัดสินใจให้ดีว่ารัฐบาลประเทศนั้นๆยังคงสามารถบริหารหนี้สาธารณะที่มีอยู่ และกำลังเพิ่มระดับขึ้นไปเรื่อยๆได้อยู่หรือไม่ และความเสี่ยงในการรีไฟแนนซ์หนี้ที่ครบกำหนดชำระด้วยการก่อหนี้ก้อนใหม่ เพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งเืมื่อไหร่ก็ตามที่มีการเปิดเผยข้อมูลตัวเลขส่วนนี้ออกมาก็จะกลายเป็น ปัญหาก้อนใหม่ให้กับโลกการเงินในระยะต่อๆไปในทันที

สิ่งที่เป็นปัญหาที่ใหญ่โตกว่านั้นก็คือเงินช่วยเหลือ และความเชื่อมั่นซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อน เงินช่วยเหลือที่ผู้ให้กู้ปล่อยออกมาแบบไม่ดูตาม้าตาเรือ ไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วนรอบคอบ ผู้กู้เองก็สักแต่ว่ากู้โดยไม่พิจารณาดูให้ดีว่าจะกู้มาทำอะไรให้เกิด ประโยชน์สูงสุด กู้แบบไร้สำนึกรับผิดชอบจะเพาะสร้างนิสัย พฤติกรรมเลวร้ายที่เป็นหนทางสู่ความวิบัติได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างฟองสบู่หรือการซ้ำเติมวิกฤติเศรษฐกิจให้หนักหนาสาหัส ยิ่งขึ้นกว่าเดิม


สำคัญที่สุดที่ต้องพิจารณากันให้ถ้วนถี่ก็คือความเชื่อมั่น จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ หากเราปล่อยปละละเลยเรื่องวินัย จริยธรรม ความเชื่อมั่นแล้วสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็จะย้อนกลับมาทำร้ายเราเองในภายหลัง เหมือนๆกับการที่เรามีกระทาชายนายหนึ่งอาศัยอยู่ร่วมกับเราในอพาร์ตเมนต์ ่ขนาดใหญ่ กระทาชายนายนี้เป็นคนเห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจตัวเอง ใจร้อน สะเพร่า ประมาทเลินเล่อ ขี้หลงขี้ลืม หลงหน้าหลงหลัง โง่เขลาเบาปัญญา วันหนึ่งกระทาชายนายคนนี้ก็นอนเอกเขนงสูบบุหรี่อยู่บนเตียงด้วยความคุ้นชิน กับความประมาทเลินเล่อ เป็นเรื่องล่ะสิคราวนี้พี่แกวางบุหรี่ไว้บนที่เขี่ยบุหรี่ซึ่งวางอยู่บน เตียงอย่างหมิ่นเหม่แล้วลุกขึ้นจากเตียงไปเข้าห้องน้ำ บุหรี่หล่นร่วงออกจากที่เขี่ยบุหรี่ตกลงไปบนผ้าห่มเกิดเพลิงลุกไหม้ กว่านายคนนี้จะรู้ตัวเพลิงไฟก็ได้เผาพลาญเชื้อไฟจนลุกลามบานปลายเกินกว่าจะ สะกัดยับยั้งต้นเพลิงได้ทันแล้ว ในอพาร์ตเมนต์นั้นก็ยังมีคนอื่นๆอยู่ด้วยอีกเยอะแยะมากมาย อัคคีเพลิงลุกลามไปทั่วทั้งทางเข้าออกและทางหนีไฟ ไม่มีใครสามารถวิ่งฝ่าเปลวเพลิงที่สกัดทางหนีออกมาได้ แล้วเราจะทำอย่างไร

เปรียบเหมือนกับธนาคารกลางและรัฐบาลที่กำลังเผชิญวิกฤติ เศรษฐกิจกันอยู่ในขณะนี้ ธนาคารเพื่อการลงทุนหรือบริษัทประกันชีวิต-ประกันภัยกำลังถูกอัคคีเพลิงเผา ผลาญจนวอดวาย เราจะช่วยสถาบันการเงินต่างๆเหล่านี้กันอย่างไร แน่นอนว่าเราต้องช่วยสถาบันการเงินต่างๆเหล่านี้ แต่ผลพวงของอัคคีเพลิงที่เกิดขึ้นนั้นได้เผาผลาญระบบการเงินจนวอดวายไปแล้ว ไม่นับรวมชีวิตคนทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินอีกมาก มายนับไม่ถ้วนทั่วทุกมุมโลกที่พลอยฟ้าพลอยฝนได้รับผลกระทบ ถูกทำลายอาชีพการงานไปด้วย ทุกคนล้วนได้รับบทเรียน เจ็บปวด สูญเสียจากมหันตภัยที่เกิดขึ้นไม่มากก็น้อยแตกต่างกันไป ขณะที่ความช่วยเหลือที่ได้รับจากนโยบายการคลังนั้นก็สูญเปล่า ไม่ได้ผล และเงินช่วยเหลือเองก็เข้าไม่ถึงคนที่ลำบากเดือดร้อน การใช้นโยบายการคลังกระตุ้นการใช้จ่ายที่เคยประสบความสำเร็จในการปกป้อง ช่วยเหลือระบบการเงินจากหายนะภัย the Great Recession ก็กำลังจะนำพาเราไปสู่ the Great Depression ครั้งใหม่อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความต้องการในการบริโภคสินค้าและบริโภคของ ภาคเอกชนยังคงหดหายถูกทำลายให้ร่วงหล่นลงไปเรื่อยๆ อย่างไร้รูปแบบ ไร้ทิศทาง (freefall)

ณ ห้วงขณะเวลานี้นั้นคือช่วงเวลาที่เราต้องแก้ปัญหาเรื่อง moral hazard และความอ่อนแอเปราะบางในทุกมิติที่เกิดขึ้นกับระบบสถาบันการเงินซึ่งต้องทำ หลังจากที่เราได้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ลุล่วงผ่านพ้นไปได้แล้ว วิกฤติเศรษฐกิจเป็นมหันตภัยอันเลวร้ายที่น่าสะพรึงกลัวซึ่งเมื่อมันเริ่มต้น เปิดฉากขึ้นมาแล้วก็จะลุกลามขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ เราต้องหยัดยืนยอมรับความจริง ยอมรับความเจ็บปวด กัดฟันฝืนทนปฏิรูประบบการเงินที่เสียรูป เสียทรง เสียสมดุลย์ให้กลับมาเข้ารูปเข้ารอยให้ได้อีกครั้งหนึ่ง ดั่งเช่นที่ the Great Depression ได้กวาดเอาคำวิพากษ์วิจารณ์ การโต้แย้งถกเถียงของฮูเวอร์ทิ้งไปแล้วถูกแทนที่ด้วยทฤษฎีใหม่ของเคนส์อย่าง เต็มรูปแบบ the Great Recession ที่กำลังดำเนินไปนี้ก็เช่นกันมันจะนำมาซึ่งแนวทางความคิดใหม่ๆ ความรู้ ความเข้าใจแบบใหม่ๆ เทคนิควิธีการแก้ไขปัญหาแบบใหม่ที่ได้ผลซึ่งช่วยปกปักรักษา เยียวยา และป้องกันวิกฤติเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นต่อๆไปในภายหลังได้

ที่มา http://seksanpantu.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น