ผู้
ปลุกปั้น วอล-มาร์ท (Wal-Mart) จากร้านค้าเล็กๆ ในชนบทของสหรัฐ
วอล-มาร์ทกลายเป็นบริษัทใหญ่ที่สุดในโลก มีพนักงานกว่า 1.2
ล้านคนและมีสาขาในหลายสิบประเทศ
ความสำเร็จระดับมหัศจรรย์นี้เป็นผลงานของผู้ก่อตั้งชื่อ แซม วอลตัน (Sam
Walton)
หลักการใช้ชีวิตของคุณแซมรวบรวมมาได้ 10 ข้อ มาจากหนังสือ 10 Rules of Sam Walton อ่านดูแล้ว คิดว่าหลักการนี้นอกจากจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในฐานะผู้นำ (leadership) เราอาจจะประสบความสำเร็จในฐานะคนทำงานอย่างมีความสุขคนหนึ่งด้วย
1. Commitment: Commit to achieving success and always be passionate หมาย ถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทอย่างแรงกล้าต่องานนั้น คุณ Meyer (1990) เขาบอกไว้ว่าการ commit ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบใหญ่คือ
1.1 Readiness to accept คือเราเตรียมพร้อมตลอดเวลาที่จะรับงานหรือบทบาทใหม่ๆ ที่มีโอกาสได้ผ่านเข้ามาให้เราทำในชีวิต
1.2 Willingness to engage หมายถึงยินดีและเต็มใจที่จะทำงานเพิ่มนอกเหนือจากภาระงานประจำตามปกติของเรา ถ้างานนั้นทำให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรของเรา
1.3 Willingness to avoid หมายถึงยินดีและเต็มใจที่จะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัิติตัวที่จะเกิดผลเสียต่อการทำงานของเรา
พูดง่ายๆ คือถ้าเรามองเห็นความสำเร็จที่เราคาดหวังเป็นปลายทาง และตั้งใจเดินไปด้วยกำลังขาของตัวเอง อาจต้องเดินอ้อมบางจุดที่ทางมันวิบากหน่อย หรือมีอะไรล่อตาล่อใจให้แอบนอนพักกลางทางบ้าง แต่สุดท้ายคนที่มี commitment ก็จะระลึกถึงสิ่งที่ตัวเองต้องการและมุ่งมั่นเดินต่อไป เรียกว่าเป็นข้อแรกและข้อสำคัญที่สุดสำหรับเริ่มต้นทำอะไรซักเรื่องเลย ก้าวแรกเราต้อง set goal หรือตั้งเป้าเสียก่อน
2. Sharing: Share success with those who have helped you หมาย ถึงเมื่อเราประสบความสำเร็จมาได้ถึงจุดหนึ่งแล้ว เราต้องหันกลับไปเอื้อมมือดึงคนอื่นมาให้ประสบความสำเร็จกับเราด้วย คนที่เห็นแก่ตัวมักจะลืมจุดนี้ ลองจินตนาการภาพตอนกำลังปีนเขาอยู่ก็ได้ ถ้าเราขึ้นไปสูงกว่าเพื่อนหน่อยหนึ่งแล้ว การหันกลับไปช่วยฉุดเพื่อนขึ้นมาให้ประโยชน์หลายอย่าง นอกจากเพื่อนจะรักเราแล้ว หากก้าวต่อไปเราเหยียบพลาดตกเขา อย่างน้อยเพื่อนก็อาจจะช่วยฉุดเราขึ้นไปบ้าง
3. Motivation: Motivate yourself and others to achieve your dream คำนี้หมายถึงสร้างแรงบันดาลใจ โดยก่อนที่เราจะมีแรงบันดาลใจได้เราต้องมี "ความฝัน" เสียก่อน ความฝันที่ว่านี่ไม่ใช่นอนตีพุงแล้วฝัน แต่เป็นความมุ่งมั่นในอีกไกลพอสมควรที่เรารู้สึกอยากไปให้ถึงตรงนั้น ต้องยอมรับว่าไม่ใช่ทุกคนที่มีแรงบันดาลใจ (โดยเฉพาะสังคมไทยซึ่งเรามีข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ นั่งอยู่บ้านเฉยๆ ก็ไม่มีใครว่า) ของแบบนี้เกิดขึ้นได้เราต้องมองเห็นตัวเองในวันที่ดีกว่านี้ เก่งกว่านี้ มีความสุขกว่านี้ ฯลฯ คือเห็นตัวเองในแง่บวกมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แล้วเรารู้สึกว่าอยากทุ่มเทเพื่อให้สิ่งนั้นเป็นจริง
การทุ่มเทคนเดียวบางทีก็เหนื่อยเกินไป ดังนั้นเราต้องบอกให้คนรอบข้างรู้ถึงความฝันของเราด้วย และ motivate หรือสร้างแรงบันดาลใจให้คนเหล่านั้นร่วมมือร่วมแรงเพื่อทุกคนจะสามารถเดินไป ถึงความฝันในแบบเดียวกันได้พร้อมๆ กัน สรุปว่ามี 2 องค์ประกอบ คือทำให้คนอื่นเชื่อตามความฝันของเรา และกระตุ้นให้คนเหล่านั้นเกิดแรงบันดาลใจอยากทำให้ฝันนี้เป็นจริงนั่นเอง
4. Communication: Communicate with people and show your care แปล ตรงตัวคือเราต้อง "สื่อสาร" กับผู้อื่น ในที่นี้หมายถึงเวลาคนอื่นทำอะไรแล้ว จะดีจะชั่วเราก็ต้องให้เขารู้ว่าสิ่งที่เขาทำมีคนเห็น มีคนรับรู้ และคนที่ดูก็มีความรู้สึกต่อสิ่งที่เขาทำด้วย แต่ปัญหาคือหลายคนไม่รู้จัก "การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์" พูดง่ายๆ คือถ้าเรามีเพื่อนร่วมงานทำงานพลาด ต่อให้เราหวังดีอยากตักเตือนเขา เราก็ไม่มีศิลปะในการเตือนโดยไม่เสียเพื่อนไป บางคนเลือกที่จะเฉย ไม่บอก ไม่สน บอกไปก็โดนด่าขาดทุนอีก หรือบางคนเลือกที่จะต่อว่าข่มขู่เพราะเชื่อว่าคงทำให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เหมือนที่พ่อแม่เคยทำกับเรา แต่เพื่อนร่วมงานไม่ใช่ลูกเรา เขาไม่จำเป็นต้องรับฟังเราหรอกเพราะเราก็ไม่ใช่พ่อแม่เขาเสียหน่อย
"การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์" จึงหมายถึงหากเขาทำดี เราต้องไม่ลืมที่จะชื่นชม หากเขาทำพลาด เราต้องเข้าไปให้กำลังใจและช่วยเหลือในส่วนที่เราทำได้ (อาจทำได้มากสุดแค่รับฟังซึ่งนั่นก็มากพอแล้ว เพื่อนเราอาจจะไม่มีใครซักคนรับฟังเขาเลยก็ได้) และแม้ตอนที่เขาไม่ได้ทำอะไรทั้งนั้น เราก็ต้องหาโอกาสเหมาะๆ บอกเขาบ้างว่าเรายังใส่ใจเขาอยู่นะ เช่น วันนี้แต่งตัวสวยนี่ ซื้อเสื้อที่ไหนเหรอ หรือวันนี้ดูสดชื่นเชียว มีอะไรดีๆ รึเปล่า หลักการง่ายๆ คือ "พูดให้สร้างสรรค์เข้าไว้" พยายามคิดไปในทางที่ดี
5. Appreciation: Appreciate and recognize people for their effort and results อันนี้ต่อเนื่องจากข้อข้างบน หมายถึงเราต้อง "ชื่นชมในความพยายามและผลแห่งความพยายามของผู้อื่น" คนทำดีอาจจะไม่ได้หวังรางวี่รางวัลอะไรมากมาย แต่แค่ทำแล้วมีคนรู้ ทำแล้วมีคนมองเห็นความพยายาม แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว หลักการนี้ใช้ได้กับการเลี้ยงลูก เนื่องจากเด็กเล็กๆ ยังไม่สามารถคิดเหตุผลที่ซับซ้อนมากๆ ได้ ดังนั้นเขาไม่สามารถตัดสินว่าสิ่งนี้ควรทำหรือไม่ควรทำในสถานการณ์ที่แตก ต่างกัน เด็กจะจำแนกได้แค่ทำแล้ว "ดี" กับ "ไม่ดี" และสิ่งที่ดีคือสิ่งที่ต้องทำบ่อยๆ เพื่อให้ได้รับคำชมและไม่ถูกลงโทษ ส่วนสิ่งไม่ดีก็ไม่ควรทำเพราะทำแล้วจะโดนตี วิธีสอนว่าสิ่งไหนควรทำหรือไม่ก็ใช้การ "ชม" นี่ล่ะ หากเขาทำในสิ่งที่ดี เช่น ช่วยคุณแม่ล้างจาน ให้เราชมว่าหนูเป็นเด็กดี ช่วยคุณแม่ล้างจานด้วย เท่านี้เด็กก็จะเรียนรู้และทำบ่อยๆ เพราะอยากได้รับคำชม
การทำดีแล้วไม่มีคนรับรู้หรือชื่นชมจะเกิดอะไรขึ้น ต้องระลึกไว้อย่างนึงว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะมีความสามารถในการแยกแยะความ ดี-ชั่วได้ด้วยตัวเอง หลายคนอยากทำดีแต่ไม่รู้ทำยังไงก็เลยพยายามทำมันหลายๆ แบบแล้วดูปฏิกิริยาจากคนรอบข้าง ถ้าเขาชื่นชมก็แปลว่าดี ควรทำต่อ แต่ถ้าไม่มีใครสน ทุกคนเฉย เขาก็จะเรียนรู้ว่านี่ไม่ดี ไม่ควรทำต่อ ดังนั้นหากเราเพิกเฉยต่อสิ่งดีๆ ที่คนอื่นทำ เขาก็จะเลิกทำในที่สุดนั่นเอง
6. Celebration: Celebrate your own and other's accomplishment หมายถึงเฉลิมฉลองและป่าวประกาศให้คนทั่วไป (และตัวเอง) รู้ว่าสิ่งที่เราพยายามกันมาตลอด เหน็ดเหนื่อยแทบตาย บัดนี้บรรลุผลไปขั้นหนึ่งแล้วนะ ไม่จำเป็นต้องสำเร็จถึงความฝันแล้วจึงฉลอง เราควรฉลองเป็นระยะๆ ไม่ถี่และไม่ห่างจนเกินไป สาเหตุที่ต้องฉลองเพราะเวลาที่เราทำงานใดงานหนึ่งไประยะนึงแล้ว เรามักจะหลงทางอยู่กลางมหาสมุทรที่มีแต่งาน รู้แต่ว่าต้องว่ายต่อไปทางนี้ แต่จำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าว่ายมาไกลจากจุดเริ่มต้นเท่าไหร่แล้ว และอีกนานแค่ไหนถึงจะไปถึงประภาคารที่อยู่ข้างหน้าเสียที หากปล่อยให้ว่ายต่อไปเรื่อยๆ บางคนจะเริ่มท้อใจและยอมจมน้ำไป ทฤษฎีนี้เรียกว่า Learned helplessness theory (Seligman 1975) ใช้อธิบายว่าทำไมคนเราถึงเป็นโรคซึมเศร้า สรุปว่าเพราะเรารู้สึกว่าชีวิตที่ผ่านมาไม่มีอะไรสำเร็จซักอย่าง และรอต่อไปก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่มันจะสำเร็จ
ดังนั้นการเฉลิมฉลองก็เพื่อให้คนเหล่นี้ทราบว่าความพยายามของเขาผ่านมาได้ ครึ่งทางแล้วนะ (หรือถ้าทางไกลมาก ก็อาจจะฉลองความสำเร็จทุก 10-20% ก็ยังได้) จุดสำคัญคือผลของความพยายามควรจะมีรูปธรรมชัดเจนพอสมควร และมีการย้อนให้เห็นว่าแรกๆ ทุกคนลำบากมากกว่านี้ ทุกวันนี้เริ่มสบายขึ้นบ้างแล้วใช่ไหม อีกไม่นานก็จะบรรลุผลแล้วและจะสบายมากกว่านี้อีก ฯลฯ ถือเป็นการฉีดบูสเตอร์กระตุ้นให้คนที่เหน็ดเหนื่อยกลับมามีพละกำลังขึ้นอีก ครั้งก็ว่าได้
7. Listening: Listen to others and learn from their ideas คือ รับฟังและเรียนรู้จากไอเดียของผู้อื่น จริงอยู่ว่าคุณ Sam Walton เป็นคนเก่งมาก และดีไม่ดีไอเดียของเขาจะกระฉูดเด็ดดวงกว่าไอเดียของคนอื่นที่นั่งร่วมโต๊ะ ประชุมเป็นไหนๆ แต่ถ้าเขาไม่อยากเหนื่อยคนเดียว อยากให้คนอื่นช่วยเขาเหนื่อยบ้าง อยากให้คนอื่นได้นำเสนอสิ่งที่อาจจะเป็นจุดอ่อนที่เขาคิดไม่ถึงโดยไม่รู้สึก เกรงหรือกลัวที่จะต้องเสนอแนวคิดต่อหน้าเจ้าพ่อวอลมาร์ทผู้เก่งกาจ เขาจำเป็นต้อง "ฟัง"
การฟังอย่างมีประสิทธิภาพเรียกว่า "active listening" หมายถึงไม่ใช่ฟังแบบ passive คือปล่อยให้ผ่านหูไป ต้องฟังและมีปฏิกิริยาตอบสนองด้วย เช่น ส่งเสียงหรือท่าทางบอกให้รู้ว่าเราฟังอยู่ อาจจะพยักหน้า หรือบอกว่า "อืม" "ครับ" "แล้วยังไงต่อ" หรืออาจจะสรุปควาสั้นๆ ในสิ่งที่ฟังเพื่อให้ผู้พูดรู้สึกว่าคนอื่นก็เข้าใจเรานะเนี่ย เราอาจปรับสิ่งที่ฟังนิดหน่อยและเรียงลำดับประโยคให้ดูเข้าใจงานขึ้นก็ยัง ได้ และหากมีบางจุดที่ไม่เคลียร์ ก็สามารถถามเพิ่มเติมเพื่อให้คนพูดอธิบายรายละเอียดอีกนิดก็ยังได้
8. Exceed expectation: Exceed expectations of customers and others แปลว่าทำให้เกินกว่าที่ผู้อื่นคาดหวัง มีทฤษฏีว่าด้วยเรื่อง motivation หรือการสร้างแรงบันดาลใจทฤษฎีนึงที่น่าสนใจมาก ชื่อ organisational justice theory (Folger 1989) บอกว่าพื้นฐานของมนุษย์เราไม่รู้หรอกว่าสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ในมือ เช่น เงินเดือนที่ได้อยู่ทุกเดือน หรือสวัสดิการที่ได้รับจากที่ทำงาน มันมีค่ามากน้อยแค่ไหนเนื่องจากทุกคนรอบตัวก็ได้เหมือนๆ กันหมด พูดง่ายๆ คือไม่รู้คุณค่านั่นเอง คนเหล่านี้จะตัดสินว่าสิ่งที่เขาได้รับมัน "แฟร์" คือยุติธรรมและเหมาะสมกับเขาไหมทำได้ 2 ทาง คือ distributive justice หมายถึงเทียบกับคนอื่นๆ ที่อยู่ในสถานะเดียวกับเราเช่นทำงานตำแหน่งเดียวกัน ถ้าได้น้อยกว่าทั้งที่ทำงานเท่ากันก็แปลว่าผลตอบแทนนี้ไม่ยุติธรรม (injustice) สำหรับเรา อีกทางคือ procedural justice หมายถึงเทียบกับคนต่างบริษัท ถ้าเทียบแล้วเราได้ผลตอบแทนน้อยกว่าบริษัทอื่น (แต่ในบริษัทเดียวกันได้พอๆ กัน) ก็หมายถึง distribute ดีแต่ procedure ไม่ดี ผลก็คือแม้เราจะไม่พอใจกับรายได้ของเรานักเพราะได้น้อยกว่าบริษัทอื่นนี่นา แต่เราก็มี commitment คือยังคงเต็มใจทำงานที่นี่นะ เพราะอย่างน้อยก็ยังแฟร์กับทุกคนในบริษัทแหละ
สรุปว่าจากทฤษฎีนี้ ความคาดหวัง (expectation) ของคนเราเกิดจาก "การเปรียบเทียบ" ผลของการเปรียบเทียบก็ออกมาได้ 3 ทางใหญ่ๆ คือ เป็นอย่างที่คาดไว้ (คือเทียบแล้วเราก็พอๆ กับคนอื่นหรือพอๆ กับที่คิดเอาไว้แล้ว), น้อยกว่าที่คาดหวัง (เทียบแล้วเราได้น้อยกว่าแม้ที่จริงอาจจะเยอะกว่าบริษัทอื่นก็ตาม), และมากกว่าที่คาดหวังไว้ (เทียบแล้วเยอะกว่าที่คิด แม้ความจริงจะไม่ได้เยอะมากเมื่อเทียบกับที่อื่นก็ตาม ผู้นำ (leader) ที่ดีต้องจัดระดับความคาดหวังให้พอเหมาะ ถ้าตั้งไว้ต่ำมากเพื่อให้ได้ผลตอบแทนนิดเดียวก็ดีใจ คนทำอาจจะท้อและหนีไปก่อนก็ได้ แต่ถ้าตั้งความคาดหวังไว้สูง เมื่อได้รับผลตามคาด แทนที่จะดีใจอาจกลายเป็นเฉยๆ เพราะเทียบกับความตั้งใจเดิมมันก็ไม่ต่างจากที่คิดเท่าไหร่
9. Frugality: Control expenses and save your way to prosperity หมายถึงรู้จักประหยัดมัธยัสถ์นั่นเอง คำนี้มี 2 องค์ประกอบใหญ่คือต้อง "ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด" กับ "เก็บออมไว้ยามฉุกเฉิน" ด้วย การเก็บเงินไม่ใช่ได้มาเท่าไหร่แล้วต้องเก็บให้มากที่สุด ใช้ให้น้อยที่สุด นั่นอาจเข้าข่ายใช้เงินไม่เป็นและตระหนี่ถี่เหนียว หากเป็นคนที่รู้จักวิธีลงทุนก็อาจจะทำเงินไปลงทุนเพื่อต่อยอดให้มันงอกเงย มากขึ้น แต่ใช่ว่าทุกคนจะลงทุนเป็น ยิ่งคนที่ทำงานบริษัท มีหน้าที่รับคำสั่งเจ้านายแล้วก็ทำตาม สิ้นเดือนทีก็รับเงินเดือนที คนพวกนี้จะลงทุนไม่เป็นเพราะไม่รู้ว่าทำยังไงเงินจะงอกขึ้นมาได้นอกจากรอ รับเงินเดือน ดังนั้นเขาจึงต้องเก็บหอมรอมริบได้ได้เยอะๆ ใช้ให้น้อยหน่อยเพื่อให้มีเงินเก็บไว้สำหรับใช้จ่ายในเหตุการณ์คาดไม่ถึงใน อนาคต
10. Swim upstream: Swim upstream, be different, and challenge the status quo ข้อสุดท้ายคือเราต้องเป็นปลาที่ว่ายทวนน้ำ หมายถึงต้องท้าทายสถานะในปัจจุบันของเรา คิดไว้เสมอว่าเราทำได้ดีกว่านี้ เราไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร ไม่จำเป็นต้องไหลไปตามกระแสเหมือนคนอื่น เราต้องว่ายทวนกระแสขึ้นไปให้ถึงต้นน้ำ และเมื่อนั้นเราก็จะควบคุมกระแสน้ำได้ตลอดทั้งสาย กลายเป็นคนอื่นที่ต้องว่ายตามกระแสของเราในที่สุด
ข้อนี้เหมาะกับการเป็นข้อปิดท้ายมากที่สุดเลย เราเริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมาย คิด ทำ และนำไปใช้ สุดท้ายก็จบตรงที่เราเรียนรู้ภูมิปัญญาทุกอย่างในงานที่เราทำแล้ว เราก็เลือกที่จะ "แตกต่าง" และสร้างวัฒนธรรมใหม่ของตัวเองขึ้นมา นี่คือคุณสมบัติของคนที่สามารถเรียนปริญญาเอกและมี "ด็อกเตอร์" นำหน้าชื่อได้นั่นเอง คือมีสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาประดับโลกนี้ได้ อย่าคิดว่าความรู้รอบตัวเรามันเกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติและเราไปเด็ดเอาได้ ฟรีๆ เหมือนเด็ดผลไม้จากต้น ทุกอย่างล้วนเกิดจากความพยายามและแนวคิดของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อน ในเมื่อไอ้ของเท่ๆ พวกนี้มนุษย์คิดขึ้นมาได้ หากเราเป็นมนุษย์ เราก็ต้องคิดได้เหมือนกัน
แต่ถ้าถามว่าเรา ต้องทำสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นตั้งแต่แรกเลยหรือเปล่า คำตอบคือถ้าได้ก็ดี แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่ต้องกังวล นักเขียนการ์ตูนทุกคนล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งมาก่อน เสมอ ผลงานยุคแรกๆ ของเขาแม้จะวาดออกมาคล้ายๆ กันชนิดที่ดูแล้วบอกได้เลยว่าชอบนักเขียนคนไหน แต่ถ้าอ่านไปซัก 2-3 เรื่องก็จะเริ่มเห็นเอกลักษณ์ของตัวเองมากขึ้นแล้ว ถ้ายังไม่เห็นเอกลักษณ์ เห็นทีนักเขียนคนนี้ไม่รุ่งแน่ๆ เพราะไม่สามารถ swim upstream ได้ แต่ถ้าผลงานชิ้นต่อๆ มาคนอ่านดูปุ๊บบอกได้ปั๊บว่าเป็นงานเรา แสดงว่าเขากำลัง swim upstream อยู่ จนกระทั่งวันหนึ่งมีนักเขียนคนอื่นเขียนงานโดยรับอิทธิพลจากเราไป เมื่อนั้นล่ะจึงจะสรุปได้ว่าเราไปถึงต้นน้ำและเป็นผู้สร้างกระแสน้ำของ ตัวเองขึ้นมาอย่างแท้จริง
ที่มา.. คุณนนท์ นักแสวงหาโอกาส , Moonfleet Blog
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น