วิกฤติเศรษฐกิจ 1929 (ตอนที่ 1): เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐแต่ลดภาษี ?
ช่วงที่ประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์(Herbert
Hoover)ออกมาแถลงผลงานประจำปีในปี 1930 นั้น
สหรัฐอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งหายนะครั้งใหญ่ทางเศรษฐกิจมาแล้ว 1
ปี
แถลงการณ์ของประธานาธิบดีฮูเวอร์ในวันนั้นฮูเวอร์ได้เน้นย้ำอย่างชัดเจนว่า
“เศรษฐกิจตกต่ำนั้นไม่สามารถเยียวยารักษาให้หายได้ด้วยการออกกฎหมายหรือการ
ออกแถลงการณ์ ประกาศหรือคำสั่งต่างๆของฝ่ายบริหาร
และบาดแผลที่เกิดจากพิษภัยทางเศรษฐกิจนี้จะสามารถเยียวยารักษาให้หายได้ก็
ด้วยการแสดงบทบาทของตัวเองของแต่ละภาคส่วน องคาพยพ
ในระบบเศรษฐกิจทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค”
ฮูเวอร์แนะนำว่า”แต่ละคนจะต้องคงศรัทธาและความกล้าหาญเอาไว้”และ”แต่ละคนจะ
ต้องรักษาความเชื่อมั่นในตนเองเอาไว้ให้ได้”
ขอบคุณสำหรับคำกล่าวเช่นนี้
ฮูเวอร์ยังคงเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่แสดงออกให้เห็นถึงความละเลยเพิกเฉย
ไม่แยแสสนใจ ไม่ยอมทำอะไรเลยของภาครัฐ
แต่ในความเป็นจริงนั้นกลับมีอะไรที่สลับซับซ้อนมากไปกว่านั้น
และน่าสนใจมากด้วย ในแถลงการณ์ที่เหมือนกันเป็นอย่างมาก
ฮูเวอร์ชี้ให้เห็นว่าการใช้จ่ายในโครงการสาธารณะต่างๆจะถูกพับเก็บไว้ก่อนใน
ช่วงที่เศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ขาลง
ในช่วงเวลาเช่นนี้ฮูเวอร์กล่าวรายงานด้วยความภาคภูมิใจ ชาติ รัฐ
และรัฐบาลท้องถิ่นจะใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างรอบคอบในการปรับปรุงโครงสร้าง
พื้นฐานทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นการให้น้ำหนัก เป็นการดำเนินการที่ผิดพลาด
นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ความเป็นจริงแล้วฮูเวอร์โวว่า”รัฐบาลกลางจะให้ความอุดหนุนช่วยเหลือใน
โครงการขนาดใหญ่อย่างเช่นการทำคลองส่งน้ำ ท่าเรือ การควบคุมน้ำท่วม
การก่อสร้างสาธารณะ ทางหลวง
และการปรับปรุงการขนส่งทางอากาศในทุกสิ่งทุกอย่างที่สหรัฐมีอยู่”
ภายใต้สิ่งนี้ “ไม่ทำอะไรเลย” ประธานาธิบดี
รัฐบาลกลางจะใช้จ่ายเงินมากขึ้นเป็น 2 เท่าในแต่ละโครงการ
แม้ฮูเวอร์จะสนับสนุนการใช้จ่ายบ้าง
แต่ฮูเวอร์ก็ยังคงเชื่อเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มการใช้จ่ายของ
ภาครัฐไม่มากนัก ฮูเวอร์แถลงว่า”ช้าพเจ้าไม่สามารถให้การส่งเสริม
สนับสนุนอย่างเข้มแข็งเกินไปได้
แต่จำเป็นอย่างถึงที่สุดที่จะต้องคล้อยตามแผนการอื่นๆเพื่อเพิ่มการใช้จ่าย
ของภาครัฐ” แต่ฮูเวอร์ก็ยังคงดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจอย่างเข้มงวด
งบประมาณรายจ่ายของภาครัฐยังคงต้องอยู่ภายใต้กรอบการจัดทำงบประมาณแบบสม
ดุลย์
ข้อความที่ฮูเวอร์บ่งบอกออกมานั้นชัดเจนในตัวอยู่แล้วว่าเขาจะไม่ยอมให้เกิด
การขาดดุลย์งบประมาณอย่างแน่นอน
ฮูเวอร์จอมตืดกำลังยืนอยู่บนจุดเปลี่ยนสำคัญทางประวัติ
ศาสตร์ของวิกฤติเศรษฐกิจ
แถลงการณ์ของฮูเวอร์แสดงให้เห็นว่าเขากำลังตกอยู่ภายใต้กับดับหลุมพรางจาก
ความไม่รู้ คือไม่รู้ว่าจะเลือกบริหารจัดการวิกฤติครั้งนี้อย่างไร
ด้วยวิธีการแบบไหน 2 วิธีที่มีการนำเสนอขึ้นมานั้นแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว
หนึ่งคือการมองย้อนกลับไปยังอดีตแล้วสั่งให้ทุกคนอดทนข่มกลั้น
ทำงบประมาณแบบสมดุลย์ต่อไป กับอีกหนึ่งวิธีการซึ่งกลายเป็นวิถีแห่งอนาคต
คลื่นลูกใหม่กระแสใหม่คือให้ทำงบประมาณแบบขาดดุลและทำโครงการสาธารณะขนาด
ใหญ่ ฮูเวอร์มองเห็นแนวโน้มของอนาคตข้างหน้า
แต่เขาก็ยังคงยึดติดอยู่กับอดีต เขาต้องการประนีประนอมกับทั้ง 2
วิธีการที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วนี้เพื่อความมั่นใจของตนเอง
เพื่อให้ภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
และเพื่อรักษาวินัยทางการเงินการคลังไปพร้อมๆกัน
ซึ่งทั้งหมดนี้มันทำพร้อมกันไม่ได้ มันไปด้วยกันไม่ได้เลย
6 ปีหลังจากฮูเวอร์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี จอห์น
เมย์นาร์ด
เคนส์ก็ได้บัญญัติหลักการใหม่ที่มีความชัดเจนขึ้นมาว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่จะ
เกิดขึ้นครั้งใหม่ในอนาคตนั้น
รัฐบาลจะต้องใช้นโยบายการเงินเป็นเครื่องมือเพื่อลดแรงกระแทกให้กับระบบ
เศรษฐกิจด้วยการเร่งการใช้จ่ายภาครัฐ
หากเศรษฐกิจมีการขยายตัวเพียงเล็กน้อยก็จะต้องลดภาษี
ซึ่งนโยบายการเงินในลักษณะดังกล่าวส่งผลให้รัฐต้องทำงบประมาณแบบขาดดุล
นโยบายทางเศรษฐกิจแบบเดิมๆที่รอให้เศรษฐกิจเยียวยารักษาตัวเองนั้นก็เท่ากับ
ว่าเรายอมให้คนไข้ทนอยู่กับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น
ต้องทนอยู่กับมันโดยที่ไม่มีใครยอมลงไม้ลงมือทำอะไรเลย
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาล้วนแต่อาศัยพึ่งพานโยบาย
การเงินเป็นเครื่องมือทั้งสิ้นในยามที่เศรษฐกิจเป็นขาลง
ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเหตุให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจตามมาหรือไม่ก็ตาม
หากฮูเวอร์ยืนอยู่ในช่วงรอยต่อทางประวัติศาสตร์ของ
นโยบายการเงินแล้ว เราเองก็อาศัยอยู่ในโลกอีกยุคหนึ่งเช่นกัน
เครื่องมือของเคนส์เติบโตขยายตัวจากเครื่องมือเล็กๆที่เชื่อถือไว้ใจได้กลาย
เป็นชุดของเครื่องมือที่มีลำดับกระบวนการในการใช้งานที่สลับซับซ้อนที่ภาค
รัฐใช้ในการแทรกแซงเศรษฐกิจ ในสหรัฐอเมริกาและอีกหลายๆประเทศ
ภาครัฐไม่เพียงแต่ใช้จ่ายเงินในงานสาธารณะเพื่อส่วนรวมเท่านั้น
แต่กลับใช้เงินงบประมาณเพื่อวัตถุประสงค์อื่นด้วย อย่างเช่น
การค้ำประกันเงินกู้ให้กับภาคธนาคาร ค้ำประกันหนี้ ค้ำประกันเงินฝาก
นอกจากนี้ภาครัฐยังใช้เงินภาษีของประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นเจ้าของ
ผู้ถือหุ้นที่มีบทบาทสำค้ญในอุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมขนาดใหญ่
และธนาคารยักษ์ใหญ่ด้วย
นโยบายการเงินค่อยๆพัฒนาความซับซ้อนและวิธีการที่ละเอียดละออในการทำงาน
นโยบายการเงินกลายเป็นเทคนิค กลอุบายสำคัญ และมีมูลค่าสูงมากสำหรับภาครัฐ
ผู้กำหนดนโยบายในบุคนี้สมัยนี้พบว่าตัวเองกำลังแก้ไขข้อ
บกพร่องต่างๆคล้ายๆกับ ที่ฮูเวอร์ต้องทำ ต้องเผชิญ
พวกเขาต้องการที่จะลดภาษีและเพิ่มการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อประคับประคองตลาด
แรงงานและเพิ่มกำลังซื้อและการการผลิตสินค้า
แต่หลายรัฐบาลมาแล้วก็ได้ใช้วิธีการขาดดุลงบประมาณจำนวนมหาศาลนี้ไปแล้ว
ส่งผลให้หนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มสูงขึ้นจนเกินระดับที่ภาครัฐจะสามารถ
แบกรับภาระต่อไปได้ พวกเขาจึงต้องอาศัยการบีบบังคับแบบฮูเวอร์
“ผู้ผลิตและผู้บริโภค”ให้ช่วยเหลือตัวเอง
แต่ก็ยังคงให้ความช่วยเหลือทางการเงินด้วยการใช้จ่ายเงินงบประมาณจำนวน
มหาศาลยิ่งกว่าที่เคยมีมา
และขณะที่พวกเขาต้องการประคับประคองระดับของความเชื่อมั่นเอาไว้ไม่ให้ตกต่ำ
จนถึงขีดที่เป็นอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจพวกเขาก็ต้องช่วยกันประคับประคองภาค
ครัวเรือน สถาบันการเงิน และบรรษัทเอกชนต่างๆด้วยการกระตุ้น
จูงใจสารพัดวิธีซึ่งนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจขั้นที่ 1
ในระยะสั้นก็มีการโต้เถียงกันบ้างเกี่ยวกับเม็ดเงิน
จำนวนมหาศาลที่ใช้ในนโยบาย การเงินแห่งศตวรรษที่ 21
ว่าสถานการณ์อันยากลำบากที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างช่วงเวลา
ที่ฮูเวอร์ต้องเผชิญ
วิธีการแบบเดิมๆที่เคยทำกันมานั้นใช้ไม่ได้ในยุคปัจจุบันซึ่งมีข้อมูลข้อ
เท็จจริงที่กำลังค่อยๆปรากฏขึ้นมาให้เราใด้เห็นกันแล้วทีละเล็กทีละน้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น