ปิดตำนาน ROYNET หุ้นฉาวแต่งบัญชีลวงโลกแหกตานลท.
ถือเป็นการปิดตำนาน "รอยเนท" เมื่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย มีคำสั่งเมื่อ วันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา ให้เพิกถอนบริษัท รอย เนท จำกัด(มหาชน) (ROYNET) ออกจากการเป็นหลักทรัพย์ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2547 เป็นต้นไป โดยอาศัยอำนาจ ตาม มาตรา 171(4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ . 2535 เนื่องจากบริษัทฝ่าฝืนไม่นำส่งงบการเงินและรายงานตามมาตรา 56 เป็น ระยะเวลานาน
ถือเป็นการฝ่าฝืนละเลย ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด ของตลาดหลักทรัพย์อย่างร้ายแรง
ส่วนการเปิดให้ทำการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ของรอยแนท ครั้งสุดท้ายจะ อนุญาตให้ซื้อขายในวันที่ 14 ตุลาคม-15 พฤศจิกายน 2547 โดยไม่กำหนดราคาสูง สุด หรือต่ำสุด แม้ว่าจะถึงนาทีสุดท้ายของการซื้อขายหุ้นรอยเนทแล้ว นักลง ทุนยังต้องใช้ความระมัดระวังในการตัดสินใจซื้อขายหุ้นรอยเนท เพราะข้อมูล เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลดำเนินงานของรอยเนท ไม่เป็นข้อมูลปัจจุบัน งบการ เงินถูกสั่งให้แก้ไข รวมทั้งความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารจัดการและ ดำเนินธุรกิจของ รอยเนท
สำหรับราคาหุ้น รอยแนท ครั้งสุดท้ายที่มีการซื้อขายอยู่ที่ 0.72 บาทต่อหุ้น
"รอยเนท" ถือเป็นหุ้นน้องใหม่ในธุรกิจอินเทอร์เน็ตในตลาดหลักทรัพย์ ใหม่ รายแรกที่เข้าไปเทรดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2544 แต่ไม่นานนักก็ประสบ ปัญหาเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี ที่บริษัทอาศัยช่องโหว่ในการลงบัญชีรับรู้ราย ได้จากการขายชั่วโมงอินเทอร์เน็ต ที่ฝากขายไว้แก่ร้านค้า ซึ่งถือเป็นการให้ เครดิตร้านค้าที่รับชั่วโมงอินเทอร์เน็ตไปขาย แต่ "รอยเนท" บันทึกเป็น การ ขายสินค้าเงินสด ทั้งที่ในความเป็นจริงบริษัทยังไม่ได้รับเงินสดเข้ามา ทันที ทำให้ตัวเลขผลการดำเนินงานของบริษัทมีกำไรสูงเกินจริง
นั่นคือที่มาที่ไป...ในแง่ของการใช้ "ช่องโหว่" ของการลงบันทึก บัญชี จนเป็นที่มาให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งให้รอยเนทปรับปรุงงบการเงินใหม่ จนท้าย ที่สุดหลังปรับ งบการเงิน ผลการดำเนินงานของรอยเนทก็ปูดขึ้นมา กลับกลายเป็นว่าบริษัทประสบ ปัญหาขาดทุน สร้างความเสียหายให้แก่นักลงทุนรายย่อย ที่เข้าลงทุนเป็นอย่าง มาก รายย่อยจึงกลายเป็นเหยื่อ "ตกหลุมพราง" ที่ผู้บริหารขุดล่อ
นอกเหนือจากความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นจาก การบันทึกบัญชี ของ " รอยเนท" แล้ว ยังมีประเด็นปัญหาในเรื่องของ "ธรรมาภิบาล" หรือการกำกับดูแล กิจการที่ดีของผู้บริหารที่เกี่ยวข้องด้วย
เพราะ "กลุ่มตระกูลเยาวพฤกษ์" ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น ใหญ่ของรอยเนท ใน สัดส่วนกว่า 60% มีการเทขายหุ้นออกมาต่อเนื่อง หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ ใหม่ จนท้ายที่สุดแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นลดลงเหลือเพียง 18.03%
และที่สำคัญลักษณะการเทขายหุ้น รอยเนท ออกมา ของ "กิตติพัฒน์ เยาว พฤกษ์" ประธานกรรมการบริหารของ บริษัทรอยเนท และกลุ่มผู้บริหารรายอื่น ยัง มีเจตนาที่จะปิดบังซ่อนเร้น นักลงทุนซึ่งตามกฎของก.ล.ต.แล้วหากมีการซื้อขาย หุ้นทุก 5% จะต้องแจ้งรายการให้แก่ก.ล.ต.ทราบ แต่...ผู้บริหารรอยเนทไม่ทำ เช่นนั้น
เพราะ...ในห้วงเวลาที่อยู่ระหว่างการตกแต่งบัญชี ผู้บริหารจะทำการ เทขายหุ้นออกมาเพื่อทำกำไร และพร้อมที่จะจ่ายค่าปรับให้ก.ล.ต. เนื่องจากค่า ปรับที่เรียก เก็บต่ำมากเมื่อเทียบกับกำไรส่วนต่าง ที่พวกเขาจะสามารถ "ไซ ฟ่อนเงิน" เข้าพกเข้าห่อ โดยค่าปรับสูงสุดจะไม่เกิน 1 แสนบาท
นั่นจึงเป็นที่มาที่ไป ซึ่งทำให้ "ประสาร ไตรรัตน์-วรกุล" เลขาธิ การก.ล.ต.ในช่วงนั้น ยื่นกล่าวโทษ "กิตติพัฒน์" ต่อสำนักงานสืบสวนสอบสวนคดี เศรษฐกิจ (สศก.) กรณีเจตนาตกแต่งบัญชีเพื่อลวงบุคคลอื่น เจตนาปกปิดรายงาน การซื้อขายหุ้น ที่ตามกฎต้องมีการ รายงานการซื้อขายทุก 5% และใช้ข้อมูลภาย ในในการขายหุ้น
คำถามที่ต้องการคำตอบ...จากหน่วยงานกำกับไม่ว่าจะเป็นตลาดหลัก ทรัพย์-ก.ล.ต. เหตุไฉนกลไกการ ตรวจสอบข้อมูลถึงปล่อยให้ลากยาวได้ถึงป่าน นี้ ถ้านับรวมแล้วกระบวนการตรวจสอบ ตั้งแต่ที่ "รอยเนท" เข้ามาจดทะเบียน จะ ต้องมีการทำหนังสือชี้ชวนต่างๆ ต้องมีความครอบคลุมกับแผนการดำเนิน ธุรกิจ และที่สำคัญกระบวนการเข้าตลาดหุ้น จำเป็นที่จะต้องมีส่วนสัมพันธ์กับ ที่ปรึกษาทางการเงิน ในการนำหุ้นเข้าจดทะเบียน ซึ่งทำให้อดคิดไม่ได้ ว่า แล้วความรับผิดชอบของที่ปรึกษาทางการเงินอยู่ที่ไหน หรือเป็นเพียงแค่ทำ หน้าที่ในการช่วย "แต่งหน้า ทาแป้ง" ให้บริษัทที่มีเจตนาฉ้อฉล เพื่อดึงเม็ด เงินลงทุนจากบรรดานักลงทุน รายย่อยเข้าพกเข้าห่อเพียงเท่านั้นหรือ
ขณะเดียวกัน ในแง่ของบทลงโทษ ผู้บริหารที่มีเจตนาทุจริตมีการสร้าง ราคาหุ้นด้วยการปล่อยข่าวผ่านสื่อเพื่อดันราคาหุ้น จากนั้น ตัวผู้ บริหาร หรือกรรมการของบริษัทก็เทขายหุ้นออกมา โดยไม่รายงานข้อมูลให้แก่ก. ล.ต.ได้รับทราบ เพียงแต่ยอมเสียค่าปรับจำนวนน้อยนิด เมื่อเทียบกับการฟัน ส่วนต่างกำไรจากการขายหุ้น
ไม่แน่ใจว่า ก.ล.ต.จะจัดการอย่างไรกับพฤติกรรม เยี่ยงนี้ เพราะนัก ลงทุนรายย่อยไม่รู้อีโหน่อีเหน่ ขณะที่รายใหญ่ทิ้งหุ้น ส่วนรายย่อยเก็งกำไร ตามข่าว ทาง ออกก.ล.ต.น่าจะมีการเปิดเผยข้อมูลการซื้อขายหุ้นให้มากขึ้น และ ให้เร็วทันท่วงที ไม่ใช่ปล่อยให้ลากยาวออกไป ท้ายที่สุดแล้ว ความคาดหวังที่ จะให้ตลาดหุ้นไทยเป็นตลาดที่สมบูรณ์จะกลายเป็นสิ่งที่เพ้อฝัน
บทเรียนที่เกิดขึ้นกับรอยเนทครั้งนี้ ก็ได้แต่คาดหวังว่าจะเป็นบท เรียนราคาแพงสำหรับตลาดหลักทรัพย์-ก.ล.ต.ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลให้เร่ง รื้อหลักเกณฑ์ การกำกับดูแลต่างๆ ให้มีความเข้มงวด และมีมาตรฐาน ยิ่ง ขึ้น เพื่อคุ้มครองนักลงทุนรายย่อย ไม่ให้ตกกลายเป็นเหยื่อของ "โจรเสื้อ สูท" ที่ต้องการนำหุ้นเน่าเข้าตลาดฯ และไซฟ่อนเงินเข้ากระเป๋าตัวเองเพียง เท่านั้น
ที่มา:http://www.google.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น