ads head

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิกฤติเศรษฐกิจ 1929 (ตอนที่ 3): เมื่อความช่วยเหลือทางการเงินเริ่มต้นขึ้น

เมื่อความช่วยเหลือทางการเงินเริ่มต้นขึ้น


รัฐบาล สามารถนำเงินงบประมาณออกมาใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือ/ค้ำประกันทางการเงินเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ กับประชาชนโดยทั่วไปก็ได้เช่นเดียวกัน แต่ก็ต้องตระหนักด้วยเช่นกันว่าสุดท้ายแล้วคนที่ต้องแบกรับภาระดังกล่าวเอา ไว้ก็คือผู้เสียภาษี ดังนั้นการใช้นโยบายทางการคลังจึงต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนรอบคอบ ให้เกิดความเหมาะสม จัดสมดุลย์ระหว่างการค้ำประกันหนี้เก่ากับหนี้ใหม่ แม้จะสามารถสะกัดยับยั้งวิกฤติครั้งที่ผ่านๆมาให้สงบลงได้ แต่ก็เท่ากับเป็นการเปิดประตูไปสู่ปัญหาเรื่องความมั่นใจ ความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน

โดยมาก แล้วรัฐมักใช้การค้ำประกันเงินฝากให้กับประชาชนที่ฝากเงินได้กับธนาคารต่างๆ เพื่อให้การรับรองว่าเงินฝากในบัญชีธนาคารของประชาชนจะไม่ได้รับความเสียหาย แม้ว่าธนาคารจะถูกปิดกิจการก็ตามแต่ รับรองได้ว่าประชาชนจะยังคงได้รับเงินที่ฝากไว้กับธนาคารที่ถูกปิดกิจการ นั้นๆคืนมาอย่างแน่นอน 

แนวคิดนี้มีที่มาที่ต้องย้อนกลับไปยังศตวรรษที่ 19 ก่อนปี ค.ศ. 1933 คือปี ค.ศ. 1866- 1933 ซึ่งอเมริกายังไม่มีสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ตราบจนกระทั่งมีสมาชิกสภาคองเกรส 150 คนเข้าชื่อกันเสนอกฎหมายคุ้มครองเงินฝากเข้าสู่สภาคองเกรสโดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ธนาคารซื้อพันธบัตรแบบคุ้มครองเงินต้นของรัฐบาล(surety bond) โดยมีการให้หลักประกันแก่บุคคลที่ 3 ซึ่งบางคนก็เรียกว่าเป็นการเปิดโอกาสให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการเป็นผู้ให้ การค้ำประกันเงินฝากในธนาคารโดยตรง แต่ก็มีบางคนที่เรียกว่าเป็นการตั้งเงินกองทุนเพื่อค้ำประกันเงินฝากให้แก่ ผู้ฝากเงิน

ในช่วงที่เกิด the Great Depression นั้น ในท้ายที่สุดแล้วอเมริกาก็นำมาตรการค้ำประกันเงินฝากออกมาใช้ โดยมาตรการดังกล่าวประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ กองทุนหลักประกัน(insurance fund)และการค้ำประกันของภาครัฐ(a federal guarantee) สัปดาห์แรกที่มีการคิดและถือกำเนิด New Deal ขึ้นมา 

องค์กรที่ต่อมาก็ได้กลายเป็นสถาบันคุ้มครองเงินฝาก(the Federal Deposit Insurance Corporation : FDIC)นั้นไม่ได้มาจากเงินภาษีประชาชน แต่การดำเนินงานของสถาบันคุ้มครองเงินฝากนั้นมีค่าดำเนินการที่มาจากการ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสมาชิกของสถาบันคุ้มครองเงิน ฝาก อัตราค่าธรรมเนียมที่ธนาคารสมาชิกจะต้องจ่ายให้กับสถาบันคุ้มครองเงินฝาก นั้นนั่นเองที่สถาบันฯจะจ่ายคืนให้กับธนาคารในกรณีที่ธนาคารถูกปิดกิจการ 

เจ้าหน้าที่ของสถาบันคุ้มครองเงินฝากและผู้บริหารสถาบันจะร่วมกันประเมิน ความเสี่ยง ความมั่นคงในการดำเนินกิจการของธนาคารสมาชิกแต่ละราย และความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากธนาคารล้มละลายหรือถูกควบคุม ควบรวมกิจการโดยธนาคารที่มีเงินทุนสูงกว่า สถาบันที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอีก 1 แห่งก็คือ สถาบันค้ำประกันเงินฝากและเงินกู้(the Federal Savings and Loan Insurance Corporation : FSLIC)ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1934 เพื่อให้การค้ำประกันเงินฝากและเงินกู้

ทั้ง 2 สถาบันผ่านวันและคืนมาได้อย่างราบรื่น กาลเวลาล่วงเลยมาจนถึงทศวรรษที่ 1980 สถาบันการเงินที่รับฝากเงินและปล่อยกู้หลายพันแห่งล้มละลายพร้อมๆกัน สร้างภาระอันหนักอึ้งให้กับนายประกันอย่าง FSLIC ในทันที การล้มละลายของสถาบันการเงินนับพันทำให้ FDIC เข้าเทคโอเวอร์กิจการของ FSLIC และใส่เงินเพิ่มทุนเข้าไปใหม่ด้วยเงินภาษีของประชาชนจำนวน 153 พันล้านดอลลาร์ 

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนให้เราได้เห็นภาพของความเป็นจริงที่ว่าภาคการเงิน การธนาคารนั้นอ่อนไหว เปราะบางเป็นอย่างมากเมื่อมีวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ หากรัฐบาลเลือกที่จะทำอีกอย่างหนึ่งคือปล่อยให้ผู้ฝากเงินสูญเสียเงินฝากของ ตนเองก็ทำได้ แต่รัฐบาลไม่ต้องการให้เกิดภาพความสับสน โกลาหลจากความแตกตื่นของประชาชนที่แห่กันเข้าคิวถอนเงินออกจากธนาคารอื่นๆ ที่ยังแข็งแรงอยู่เพราะความตื่นตกใจที่เห็นสถาบันการเงินหลายแห่งล้มละลาย จึงเกรงว่าเงินที่ตนฝากไว้จะเบิกถอนไม่ได้ ดังนั้นรัฐบาลจึงเลือกที่จะออกมาส่งสัญญานว่าเงินฝากได้รับการคุ้มครองไม่ ว่าจะฝากเงินไว้กับธนาคารที่ยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปได้หรือจะฝากไว้กับ ธนาคารที่ล้มละลายไปแล้วก็ตามแต่

แต่การกระทำเช่นนี้ ก็เท่ากับเป็นการปลุกผีที่น่ากลัวตัวอื่นให้ตื่นขึ้นมา อันเนื่องมาจากการใส่เม็ดเงินลงไปเพื่ออุ้มสถาบันการเงิน เมื่อรัฐบาลส่งสัญญานว่าจะรัฐบาลพร้อมที่จะกระโดดเข้ามาอุ้มช่วยสถาบันการ เงินครั้งหนึ่งแล้ว แน่นอนว่าในอนาคตก็จะต้องมีความจำเป็นครั้งที่ 2, 3, 4,… เกิดขึ้นตามมาอีกอย่างแน่นอน 

ผู้จัดการธนาคารจึงไม่ต้องกังวลกลัวเกรงว่าจะต้องเผชิญหน้ากับความโกรธแค้น ของผู้ฝากเงิน และผู้ฝากเงินก็อุ่นใจได้เลยว่าเงินทองที่ตนเองฝากไว้กับธนาคารจะไม่ละลาย หายวับไปกับการล้มละลายของธนาคารอย่างแน่นอน ตราบใดที่ FDIC ยังคงค้ำประกันเงินฝากให้กับธนาคารสมาชิกอยู่ เงินฝากในบัญชีธนาคารปลอดภัยแน่นอน เมื่อถึงเวลาหน้าสิ่วหน้าขวาน สถาบันคุ้มครองเงินฝากก็จะออกมาประกาศย้ำครั้งแล้วครั้งเล่าให้ผู้ฝากเงิน มั่นใจได้ว่าเงินฝากได้รับการคุ้มครอง “ผู้ฝากเงินยังคงเชื่อมั่นได้อย่างเต็มที่ จงเชื่อมั่นในความน่าเชื่อถือของรัฐบาลอเมริกัน”

การ ค้ำประกันเงินฝากนั้นกลายเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของผู้คนขึ้นมาอีก ครั้งในช่วงปี ค.ศ. 2008 – 2009 ก่อนเกิดวิกฤิต FDIC คุ้มครองเงินฝากในบัญชีธนาคารสูงถึงบัญชีละ 100,000 ดอลลาร์ ประเทศอื่นๆก็ดำเนินการในลักษณะที่คล้ายคลึงกันต่างกันแค่เพดานเงินฝากที่ ได้รับการคุ้มครองเท่านั้นเอง และการคุ้มครองเงินฝากก็ไม่ได้คุ้มครองทุกบัญชี มีการจำกัดวงเงินสูงสุดเอาไว้ด้วย ดังนั้นจึงมีบัญชีเงินฝากอีกเป็นจำนวนมากที่มีเงินฝากในบัญชีสูงกว่าวงเงิน ที่ได้รับการคุ้มครอง สำหรับสหรัฐอเมริกาแล้วเงินฝากมากกว่าร้อยละ 40 อยู่ในภาวะล่อแหลมสุ่มเสี่ยง ไม่ได้รับการคุ้มครองจากการปิดกิจการไม่ว่าจะเป็นของธนาคารต่างชาติ IndyMac และ Washington Mutual

และด้วยภัยคุกคามที่มาจาก ภาคส่วนอันเปราะบางนี้นั่นเองที่ทำให้เกิดการออกมาประกาศคุ้มครองเงินฝาก เพิ่มเติมรอบใหม่ในเดือนกันยายน 2008 เพื่อเพิ่มวงเงินคุ้มครองเงินฝากทุกบัญชีใน 6 ธนาคารยักษ์ใหญ่ในอเมริกา FDIC จึงต้องออกมาขยับเพดานการคุ้มครองเงินฝากเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 แสนดอลลาร์ 2 วันต่อมาเยอรมันก็ออกมาประกาศคุ้มครองเงินฝากในธนาคารทุกบัญชี 

 วันต่อมาก็เป็นคิวของสวีเดนบ้างโดยขยายวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองเพิ่มขึ้น เป็น 5 แสนโครนาหรือประมาณ 7.5 หมื่นดอลลาร์ หลังจากนั้นก็เป็นการประกาศของสหราชอาณาจักรเพิ่มวงเงินที่ได้รับการคุ้ม ครองเป็น 5 หมื่นปอนด์ สัปดาห์ต่อมาอิตาลีก็ออกมาประกาศว่าจะไม่ยอมให้ภาคธนาคารของประเทศล้มโดด เด็ดขาด ผู้ฝากเงินมั่นใจได้เลยว่าเงินฝากในบัญชีธนาคารจะไม่สูญหายไปไหนอย่างแน่นอน เดือนต่อมาสวิสเซอร์แลนด์ก็เพิ่มเพดานการคุ้มครองเงินฝาก และประเทศอื่นๆก็ทำในลักษณะเดียวกันนี้ด้วยเช่นกัน

การ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้เปรียบเหมือนกับการแข่งขันกันระหว่างชาติต่างๆใน การใช้อาวุธที่มีอยู่ในมือออกมาตอบโต้กันว่าใครจะใช้ออกได้อย่างรวดเร็วกว่า กัน เมื่อไอร์แลนด์ออกมาประกาศคุ้มครองเงินฝากก็เท่ากับเป็นการบีบบังคับประเทศ อื่นให้ต้องทำในแบบเดียวกันด้วย อย่างน้อยๆก็ต้องขยับเพดานบนให้เพิ่มขึ้นด้วยเหตุผลที่อธิบายได้ง่ายๆว่าถ้า ไม่ทำเช่นนั้นแล้วเงินทุน เงินฝากก็จะไหลออกจากประเทศที่จำกัดการคุ้มครองเงินฝากไปยังอีกประเทศหนึ่ง ที่สามารถฝากเงินไว้ได้อย่างอุ่นใจมากกว่า ดังนั้นภาครัฐจึงไม่อาจทนนิ่งดูดายให้เกิดเหตุการณ์เงินทุน-เงินออมไหลออก นอกประเทศได้

แนวทางอื่นๆเกี่ยวกับเงินฝากนั้นมาจาก โครงการให้หลักประกันซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาล ในสหรัฐอเมริกา สำนักงานบริหารเครดิตยูเนียนแห่งชาติ(the National Credit Union Administration : NCUA) องค์กรที่ให้ความคุ้มครองแบบเดียวกันกับสถาบันคุ้มครองเงินฝาก แต่เป็นผู้ดูแลในส่วนของเครดิตยูเนียน ได้ควบรวมธุรกิจสมาชิก 2 แห่งเข้าด้วยกันคือ U.S. Central และ WesCorp จากนั้น็ออกมาค้ำประกัน คุ้มครองเงินฝากที่มีอยู่ทั้งหมด 8 หมื่นล้านดอลลาร์ครอบคลุมเงินฝากของเครดิตยูเนียนทุกแห่งในสหรัฐอเมริกา

การ คุ้มครองเงินฝากพึ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น ธนาคารหลายแห่งในสหรัฐและยุโรปกู้ยืมเงินเอาไว้มากมายมหาศาลผ่านการออกหุ้น กู้ที่ไม่มีหลักประกันและหนี้ในส่วนนี้นี่เองที่จะกลายเป็นชนวนปัญหาให้เกิด วิกฤติทางการเงินเมื่อวิกฤติดำเนินไปถึงจุดสูงสุด และมันเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะ roll over เงินกู้/หนี้สินก้อนนี้ออกไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเกิดการล่มสลายของเลห์แมน บราเธอร์ส และเมื่อเราไม่สามารถ renew หนี้เหล่านี้ได้ ธนาคารก็จะพังทลายลงไปเพราะหนี้สูญเหล่านั้น จากนั้นก็จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังบัญชีเงินฝากของธนาคาร สหภาพยุโรปจึงออกมาค้ำประกันหุ้นกู้ของภาคธนาคารในเดือนตุลาคม 2008 เดือนเดียวกับกับที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากของสหรัฐออกหลักเกณฑ์การค้ำประกัน และการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารและธนาคารลูกมูลค่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

หลักประกันทั้งหมดที่ภาครัฐออก มาค้ำประกันก็คือป้ายราคาที่บ่งบอกให้เรารู้ว่าราคาของการค้ำประกันที่รัฐจะ ต้องจ่ายเพื่อคุ้มครองเงินฝาก เงินกู้นั้นมีมูลค่า มีราคาเท่าไหร่ ไตรมาส 3/2009 ฐานะของเงินกองทุนของสถาบันคุ้มครองเงินฝากถูกปรับลดความน่าเชื่อถือมาอยู่ ในเชิงลบ นี่คือภาระที่ผู้เสียภาษีต้องร่วมกันแบกรับไว้บนบ่าอย่างที่ไม่อาจหลีก เลี่ยงได้จากการออกมาแสดงบทบาทเป็นผู้ค้ำประกันของรัฐบาล แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้คนจำนวนมากก็ยังไม่ล่วงรู้ถึงเหตุเภทภัยที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมาในรูปของ วิกฤติเงินออมและเงินกู้ซึ่งวิกฤติที่จะเกิดขึ้นนี้ก็จะมีลักษณะคล้ายๆกับ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากมาตรการต่างๆที่ออกมาก่อนหน้า นี้แล้วทำให้เกิดวิกฤติตามมา รวมถึงข้อผูกมัดต่างๆที่ไม่เคยมีมาก่อนที่จะสร้างภาระให้กับผู้เสียภาษีอีก เช่นเคย

การให้เงินช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินก้อน ใหญ่เริ่มต้นขึ้นที่ แฟนนี่ เม (Fannie Mae) และ เฟรดดี้ แมค(Freddie Mac) 2 ผู้ประกอบการธุรกิจรับจดจำนองยักษ์ใหญ่ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล กระทรวงการคลังสหรัฐต้องออกมาค้ำประกันเป็นเงินสูงถึง 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และควบรวม 2 กิจการของรัฐเข้าด้วยกันเพราะเหตุจำเป็น หายนะได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง รัฐบาลสหรัฐได้ออกมาประกาศอย่างชัดเจนว่าหนี้สินของทั้ง 2 กิจการนั้นได้รับการค้ำประกันเต็มจำนวน “full faith and credit”

เพียง แค่ไม่กี่ปีเท่านั้นเองเราก็จะได้เห็นกันว่าต้นทุนทางการคลังที่แท้จริงจาก การเข้าไปอุ้มแฟนนี่เมและเฟรดดี้ แมคนั้นรวมเสร็จสรรพแล้วทั้งหมดคิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ การแปรสภาพ 2 กิจการเข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลนั้น มีพันธะ ภาระที่รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบอยู่ประมาณ 5 ล้านล้านดอลลาร์ในการค้ำประกันทางการเงินแก่ทั้ง 2 บริษัท และมีหนี้สินอื่นๆอีก 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ที่ทั้ง 2 กิจการปล่อยออกมา ซึ่งแน่นอนว่าตอนนี้รัฐบาลยังไม่ได้มีมาตรการอะไรออกมารองรับเม็ดเงินมหาศาล เหล่านี้เลบ แต่หากราคาบ้านยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ผู้จำนองบ้านทิ้งจำนอง ไม่ส่งเงินต่อ รัฐบาลก็จะต้องรับภาระความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเองทั้งหมด

รัฐบาล ก็พยายามที่จะประคับประคองตลาดที่อยู่อาศัยให้เดินต่อไปได้อยู่เหมือนกัน ด้วยการออกกฎหมายที่ชื่อว่า กฎหมายว่าด้วยที่อยู่อาศัยและการพื้นฟูเศรษฐกิจ (the Housing and Economic Recovery Act)ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากสภาไปในเดือนกรกฎาคม 2008 มูลค่า 3.2 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือเจ้าของบ้านพักอาศัยที่ประสบปัญหาให้ได้รับการรีไฟแนนซ์สัญญา จำนองบ้านภายใต้การค้ำประกันของคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ(the Federal Housing Administration) แม้ว่าโปรแกรมฟื้นฟูที่ริเริ่มดำเนินการขึ้นมานี้จะมีการจัดสรรเงินที่ผิด พลาด ล้มเหลวอยู่บ้างก็ตาม ประธานาธิบดีบารัค โอบามาประกาศเคาะตัวเลขวงเงินออกมา 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อใช้สำหรับแผนการป้องกันการทิ้งจำนอง โปรแกรมต่างๆก็ยังคงดำเนินการต่อไป และแน่นอนว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็คือภาระที่ผู้เสียภาษีจะต้องแบกรับเอาไว้ อีกเช่นเดียวกัน

เงินช่วยเหลือก้อนใหญ่ที่สุดนั้นคือ เม็ดเงินที่นำมาใช้สำหรับให้ความช่วยเหลือและค้ำประกันในส่วนที่เรียกว่า โปรแกรมฟื้นฟูสินทรัพย์เสี่ยง (the trouble Asset Relief Program : TARP) ซึ่งสภาคองเกรสได้อนุมัติให้มีการจัดสรรเงินงบประมาณจำนวน 7 แสนล้านดอลลาร์เพื่อนำมาใช้ซื้อสินทรัพย์ที่เป็นหนี้เสีย 

แทนที่รัฐบาลจะนำเงินก้อนนี้ไปช่วยเหลือเจ้าของบ้านที่กำลังเดือดร้อนต้อง การความช่วยเหลือจากภาครัฐ และอีกส่วนหนึ่งก็นำไปใช้เพื่ออุ้มบริษัทผู้ผลิตรถยนต์อย่างเจนเนอรัล มอเตอร์สและไครส์เลอร์ เบ็ดเสร็จแล้วอุตสาหกรรมรถยนต์ได้เงินช่วยเหลือไปถึง 8 หมื่นล้านดอลลาร์ เงินบางส่วนก็นำไปใช้ในการปล่อยกู้ ส่วนที่เหลือรัฐบาลก็นำไปใช้ในการซื้อหุ้น เข้าไปเป็นเจ้าของกิจการร่วมกับเจ้าของกิจการเดิม ร่วมเดิมพันครั้งใหญ่กับบริษัทที่กำลังร่อแร่ปางตายว่าจะฟื้นกลับคืนมา ประกอบธุรกิจได้ดังเดิมหรือไม่

โชคไม่ดีอีกเช่นกัน ที่บริษัทรถยนต์เหล่านี้เองก็พึ่งจะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของภาวะวิกฤติเท่า นั้นเอง เงินกองทุนของ TARP ประมาณ 3.4 แสนล้านดอลลาร์ถูกนำไปใช้สำหรับให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงินเกือบ 700 แห่ง บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างซิตี้กรุ๊ป แบงค์ออฟอเมริกา และเอไอจี รวมถึงธนาคารขนาดเล็กอื่นๆ เงินส่วนใหญ่ถูกใช้ไปเพื่อการอัดฉีดเงินทุนที่น่าฉงนสงสัยซึ่งรัฐบาลจ่ายไป เพื่อแลกกับการเป็นผู้ร่วมถือหุ้นบางส่วนในธนาคารที่ได้รับเงินช่วยเหลือ

หุ้นที่ได้มาจากการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปนี้คือเดิมพันครั้งใหญ่ของรัฐบาลว่า ธนาคารที่กำลังประสบปัญหาเหล่านั้นจะฟื้นคืนกลับมาได้หรือไม่ รัฐบาลจะได้รับเงินปันผลตอบแทนคืนกลับมามากน้อยแค่ไหน สิ่งต่างๆเหล่านี้คือการใช้จ่ายของภาครัฐที่ยังคงดำเนินต่อไปซึ่งสะท้อนให้ เห็นถึงเม็ดเงินจำนวนเยอะแยะมากมายมหาศาลที่รัฐนำมาใช้ในฐานะที่เป็นส่วน หนึ่งของนโยบายการคลังรูปแบบใหม่ๆในทิศทางที่ผิดแผกแตกต่างกันไปหลากหลายรูปแบบ

ที่มา http://seksanpantu.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น