นโยบายทางการคลังที่ภาครัฐนิยมใช้
จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์
คือนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญคนแรกที่เสนอให้รัฐบาลใช้อำนาจที่มีอยู่ในมืออย่าง
เช่นมาตรการทางด้านภาษีและการใช้จ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐมาเป็นเครื่องมือ
ที่ใช้สำหรับพลิกฟื้นเศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่ให้กลับกลายดีขึ้น
บทวิเคราะห์ของเคนส์เป็นไปอย่างเรียบง่ายและตรงไปตรงมาว่าในช่วงที่เศรษฐกิจ
เป็นขาลงนั้นความต้องการซื้อสินค้าและบริการนั้นได้ลดลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำ
กว่าปริมาณสินค้า
ผู้ประกอบการจึงต้องลดกำลังการผลิตลงส่งผลให้คนตกงานเพิ่มมากขึ้น
วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเคนส์สรุปว่าวัฎจักรที่
กำลังดำเนินอยู่ในห้วงขณะเวลานั้นภาครัฐไม่สามารถปล่อยให้ดำเนินไปตาม
ยถากรรมได้เพราะวิกฤติจะลุกลามขยายวงกว้างขึ้น
สถานการณ์มีแต่จะเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ
และเมื่อสถานการณ์อันเลวร้ายนี้ได้ดำเนินต่อไปจนถึงจุดๆหนึ่งเศรษฐกิจก็จะพังพินาศ
ความกลัวที่มีแต่จะเพิ่มขึ้นในจิตใจของผู้ประกอบการและผู้บริโภคจะบีบคั้น
บังคับจิตใจคนให้รัดเข็มขัด ประหยัดค่าใช้จ่ายจนเกินเหตุไป
ต่างคนต่างประหยัดเพราะรายได้มีแต่จะลดลงเรื่อยๆและบรรยากาศทางเศรษฐกิจอัน
น่าสลดหดหู่ที่แผ่ปกคลุมไปทั่ว ดังนั้นจึงเกิดแรงงานส่วนเกินขึ้น
โรงงานไร้ซึ่งการผลิต กำลังซื้อที่ลดลงก็ลดลงแล้ว ลดลงอีก สภาพการจ้างงาน
การผลิต
และราคาสินค้าที่ดำเนินไปนำไปสู่ภาวะเงินฝืดทำให้เศรษฐกิจเกิดการชะงักงัน
อย่างต่อเนื่องยาวนาน
เคนส์เชื่อว่าเศรษฐกิจไม่ สามารถฟื้นตัวได้ด้วยตัวเอง
รัฐบาลจึงต้องเข้ามามีบทบาททั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อขจัดปัญหาที่เกิดขึ้น
จากกำลังซื้อและกำลังการผลิตที่อ่อนแอทำให้เกิดผลผลิตส่วนเกินขึ้น
เพื่อให้เศรษฐกิจกลับมามีเสถียรภาพและขยายตัวได้อีกครั้งรัฐบาลจำเป็นต้อง
ขาดดุลงบประมาณเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศก่อนที่เศรษฐกิจจะต้อง
เผชิญกับหายนะ
และเมื่อช่วงเวลาอันเลวร้ายได้ผ่านพ้นไปแล้วรัฐบาลก็จะต้องกลับมาทำงบประมาณ
ให้คืนสู่ภาวะสมดุลขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
ในความเป็นจริงนั้นเคนส์เองก็มีความเชื่อว่าหากรัฐบาลกลับมาใช้นโยบายการ
เงิน-การคลังที่เข้มงวดอีกครั้งหนึ่งก่อนถึงเวลาอันควรก็เท่ากับว่ารัฐบาล
กำลังบีบคั้นภาวะเศรษฐกิจที่กำลังดีวันดีคืนให้สะดุด
เกิดภาวะชะงักงันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
เคนส์นำเสนอแนวคิดของเขาเป็นครั้งแรกในปี 1936
โดยแนะนำให้รัฐบาลดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจตามคำแนะนำของเขา
เริ่มจากฮูเวอร์ทดลองทำตามข้อเสนอของเคนส์และสิ้นสุดที่ New Deal
ของรูสเวลท์
โครงการสาธารณะทั้งเล็กและใหญ่เกิดขึ้นเพื่อให้ประชาชนกลับมามีงาทำกันอีก
ครั้งหนึ่ง ความต้องการสินค้าและบริการปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
งานก่อสร้างจำนวนมากที่ดำเนินการในช่วงนั้นยังคงดำรงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
เป็นเรื่องที่น่าประทับใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น คลองส่งน้ำยาว 24,000
ไมล์ สนามบิน 480 แห่ง สะพาน 78,000 สะพาน โรงพยาบาล 780 โรง ทางหลวง
572,000 ไมล์ โรงเรียนอีก 15,000 แห่ง ศาล และอื่นๆอีกมากมาย
ผล
ที่เกิดขึ้นจากการนำนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของเคนส์มาใช้นั้นราวกับเรื่องราว
ปาฏิหาริย์อันน่าอัศจรรย์ใจ จากปี 1933 – 1937
ตัวเลขการว่างงานลดลงจากร้อยละ 25 เหลือร้อยละ 15 ปี 1937
เมื่อรัฐบาลตัดสินใจทำงบประมาณแบบสมดุลย์อีกครั้งหนึ่งเศรษฐกิจที่กำลังดี
วันดีคืนก็กลับสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรงอีกครั้ง
รูสเวลท์จึงต้องกลับมาทำงบประมาณแบบขาดดุลกันต่อไป
กลับมากระตุ้นการใช้จ่ายผ่าน New Deal อีกครั้งหนึ่ง
จากนั้นก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น
ส่งผลให้รัฐบาลจำเป็นต้องขาดดุลงบประมาณจำนวนมหาศาลอย่างที่ไม่อาจหลีก
เลี่ยงได้ สหรัฐอเมริการอดพ้นจากการตกเป็นเหยื่อของ the Great Depression
อันยืดเยื้อยาวนานไปได้ เศรษฐกิจของสหรัฐกลับมาขยายตัวอีกครั้ง
เคนส์
กลายเป็นนักเศรษฐศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพลในยุคหลังสงครามโลกขึ้นมาทันที
ทฤษฎีของเคนส์ไม่เพียงแค่ได้กลายเป็นมาตรฐานการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจของ
ภาครัฐเมื่อเผชิญภาวะเศรษฐกิจขาลงเท่านั้น
แต่ยังมีการนำทฤษฎีเคนส์มาใช้ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างอ่อนแอเปราะบาง
ด้วย ทศวรรษที่ 1970 เริ่มมีเสียงคัดค้านทฤษฎีเคนส์
แต่เมื่อกาลเวลาล่วงเลยมาจนถึงต้นทศวรรษที่ 1990
ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่นแตก
ทฤษฎีเคนส์ก็ถูกปัดฝุ่นนำกลับขึ้นมาใช้ใหม่
แล้วก็ยังคงได้ผลสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจกลับคืนมาได้อีกครั้งหนึ่ง
รัฐบาลญี่ปุ่นไม่เพียงแค่กำหนดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนับสิบมาตรการเท่านั้น
แต่รัฐบาลญี่ปุ่นยังทุ่มเงินงบประมาณนับล้านล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจด้วย ตัวเลขการขาดดุลงบประมาณของญี่ปุ่นพุ่งทะยานทุบทำลายสถิติ
เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นเลิกใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจหลายอย่างของญี่ปุ่นก็ดีขึ้น
แต่ก็มีอีกหลายมาตรการที่ไปแล้วเกิดความสูญเปล่า
ภาคชนบทของญี่ปุ่นเองก็ถูกละเลยมองข้ามไป
นักเศรษฐศาสตร์ยังคงถกเถียงกันเรื่องมาตรการอันเลวร้ายและประโยชน์ที่
ญี่ปุ่นได้รับจากการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในครั้งนั้น
หลายคนเชื่อว่าความล้มเหลวที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้มาจากวิธีคิดของญี่ปุ่น
แต่เกิดจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดในขั้นตอนการเลือกเฟ้นโครงการว่าจะดำเนิน
โครงการอะไรบ้าง
ตัวเงินจริงๆที่รัฐบาลญี่ปุ่นใส่ลงไปในระบบเศรษฐกิจนั้นก็มีน้อยมาก
แล้วเม็ดเงินที่ถูกดึงกลับออกมาหลังจากดำเนินมาตรการไปไม่นานนั้นกลับมี
มากกว่าเสียอีก
วิธีการแบบนี้นั้นเป็นเพียงแค่หนึ่ง
ในหลายๆวิธีการในการใช้นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือที่ผู้กำหนดนโยบายสามารถ
ทำได้
นอกจากการใช้จ่ายโดยตรงเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อแล้วเครื่องมือทางการคลังที่
สามารถนำมาใช้ได้ยังมีเรื่องการลดภาษีและการคืนภาษีซึ่งเป็นทฤษฏีการส่ง
เสริมให้ผู้บริโภคใช้จ่ายด้วยการใส่เม็ดเงินลงไปในมือประชาชนทำให้ประชาชนมี
รายได้เพิ่มมากขึ้น
หรือจะพูดว่าเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ยของภาคประชาชนก็ว่าได้
แต่วิธีการแบบนี้นั้นไม่ได้มีการนำมาใช้ในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ
ครั้งใหญ่ในทศวรรษ 1930
ซึ่งฮูเวอร์ใช้การเพิ่มภาษีและรูสเวลท์ก็ทำเช่นเดียวกัน
แต่ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น
การลดภาษีและการให้เครดิตสินเชื่อก็กลายมาเป็นส่วนเติมเต็มให้กับมาตรการทาง
การคลังที่มีอยู่ให้สมบูรณ์
หลากหลายเพิ่มมากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจเกิดการถดถอยและวิกฤติเศรษฐกิจในญี่ปุ่น
ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ใช้การลดภาษีเป็น่วนหนึ่งของแนวทางตอบสนองหลังเกิด
วิกฤติเศรษฐกิจ
ทางเลือกที่ 3
สำหรับมาตรการทางด้านการคลังก็คือการจ่ายเงินโอน (transfer payment)
คือรัฐบาลใส่เงินลงไปในมือกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ เช่น
คนจนหรือคนตกงาน มลรัฐหรือรัฐบาลท้องถิ่นที่กำลังประสบปัญหา
เงินโอนนี้เป็นอีกหนึ่งนโยบายการคลังที่สำคัญยุคหลังทศวรรษที่ 1930
นับแต่มีการนำ New Deal มาใช้ มีการใส่เงินลงไปเพื่อต่ออายุ
ต่อลมหายใจให้กับบรรดากลุ่มเป้าหมาย วิธีการอย่างเช่น
การลดภาษีก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของ New Deal
ที่มีการนำออกมาใช้รับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจและภาวะเศรษฐกิจถดถอย
เงินโอนนั้นทำได้หลากหลายรูปบบไม่ว่าจะเป็นการให้เงินช่วยเหลือแก่คนตกงาน
การจัดตั้งกองทุนสำหรับการฝึกอบรม พัฒนาทักษะ สร้างงาน สร้างอาชีพ
วิกฤติ
เศรษฐกิจครั้งที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นอย่างมากใน 3
มาตรการทางด้านการคลังที่ได้รับความนิยม เดือนมกราคม 2008
รัฐสภาสหรัฐอนุมัติกฎหมายมูลค่า 152
พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการงดเว้นการจัดเก็บภาษีส่วนบุคคลและนิติบุคคล
แล้วกฎหมายว่าด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2008 (the Economic Stimulus
Act of 2008)
ก็ถูกบดบังด้วยกฎหมายเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการกลับมาลงทุนใหม่
ของอเมริกัน ปี 2009(the American Recovery and Reinvestment Act of
2009)ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 787 พันล้านดอลลาร์ กฎหมายทั้ง 2
ฉบับล้วนมุ่งไปยังเป้าหมายเดียวกันคือการดำเนินมาตรการทางการคลังด้วยการใช้
จ่ายเงินงบประมาณจำนวนมหาศาลของภาครัฐเพื่อให้เกิดกำลังซื้อสินค้าและบริการ
และการใช้จ่ายโดยตรงในโครงการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและโครงการด้าน
พลังงาน วงเงินรวมสูงถึง 140 พันล้านดอลลาร์
ทั้งยังมีการใช้จ่ายในโครงการอื่นๆร่วมด้วย
ไม่ว่าจะเป็นโครงการเกี่ยวกับการประมงไปจนถึงการควบคุมระบบระบายน้ำเพื่อ
ป้องกันน้ำท่วมโดยมีมูลค่ากว่าพันล้านดอลลาร์
กฎหมาย
ที่ออกมายังรวมถึงงบพิเศษจำนวนมหาศาลสำหรับการให้เครดิตทางภาษีและโครงการ
เงินโอน
แท้จริงแล้วเครดิตทางภาษีนั้นกลับเป็นโครงสร้างส่วนใหญ่ของชุดมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจที่กำหนดขึ้นโดยระงับการเก็บภาษีรายได้ส่วนบุคคลมูลค่า 237
พันล้านดอลลาร์ บางส่วนก็ถูกนำไปใช้สำหรับประชาชนบางกลุ่มอย่างเช่น
การให้เครดิตทางภาษีแก่ผู้ซื้อบ้านหลังแรกและรถยนต์คันใหม่ที่เป็นแบบ
fuel-efficient cars
โดยมีเป้าหมายที่จำเพาะเจาะจงไปยังภาคส่วนทางเศรษฐกิจที่ต้องการเป็นการ
เฉพาะ ส่วนสุดท้ายของกฎหมายก็คือการให้ความช่วยเหลือโดยตรงแก่คนว่างงาน
ผู้สูงอายุ และประชาชนที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
รวมทั้งเม็ดเงินนับพันล้านดอลลาร์เพื่อช่วยเหลือแก่รัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาล
มลรัฐ
ประเทศต่างๆทั่วโลกก็นำนโยบายการคลังมาใช้ใน
ลักษณะคล้ายๆกันแต่ให้น้ำหนักในการดำเนินโครงการที่น้อยกว่า
แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุโรปถูกนำมาใช้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2008
เม็ดเงินจำนวน 200 พันล้านยูโรถูกนำมาใช้กับสารพัดโครงการ
แต่ละประเทศต่างก็ดำเนินการเช่นเดียวกันในขนาดที่เล็กกว่า
ญี่ปุ่นก็เริ่มแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ภายใต้ความสับสนวุ่นวายทางการ
เมือง
รัฐบาลซึ่งเป็นสถาบันการเมืองที่มีอำนาจสูงสุดใช้เงินจำนวนมากไปกับการลด
ภาษีและการใช้จ่ายภาครัฐ
จีนกลับทุ่มเทความพยายามที่มากกว่าด้วยวงเงินสูงถึง 586
พันล้านดอลลาร์ในโครงการสาธารณะเช่น ทางรถไฟ การชลประทาน และสนามบิน
ขณะที่เม็ดเงินบางส่วนถูกนำไปใช้เพื่อการฟื้นฟูมณฑลเสฉวนหลังเกิดเหตุแผ่น
ดินไหวครั้งใหญ่
ประเทศอื่นๆที่เล็กกว่าอย่างเกาหลีใต้และออสเตรเลียก็งัดมาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจออกมาใช้เช่นเดียวกัน
การใช้นโยบายการคลัง
เข้าแทรกแซงเศรษฐกิจนี้แน่นอนว่าช่วยสกัดยับยั้งภาวะเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำได้
แต่การแทรกแซงดังกล่าวก็ต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
แรกสุดเลยคือต้องจดจำให้ขึ้นใจว่าการนำนโยบายการคลังออกมาใช้นั้นไม่ใช่ว่า
จะทำได้แบบฟรีๆโดยไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรใดๆทั้งสิ้น
เมื่อรัฐบาลใช้จ่ายมากขึ้นขณะที่รายได้จากภาษีของภาครัฐกลับลดลงจากภาวะ
เศรษฐกิจถดถอยนั้นย่อมส่งผลให้ตัวเลขการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐเพิ่มขึ้น
รัฐบาลจึงต้องก่อหนี้เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งที่สุดแล้วรัฐบาลก็ต้องหาเงินมาใช้หนี้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง
หากรัฐไม่ยอมจ่ายคืนหนี้ การขาดดุลงบประมาณก็จะขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีๆ
รัฐบาลก็ได้แต่ล่อลวงนักลงทุนกระเป๋าหนักเข้ามาซื้อหนี้ด้วยการเพิ่มอัตราผล
ตอบแทนในพันธบัตรรัฐบาลให้สูงขึ้น
ภาระหนี้ที่รัฐบาลจะต้องชำระจึงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
ทั้งยังต้องแข่งขันกำหนดอัตราผลตอบแทนในตราสารหนี้แข่งกับผู้ออกตราสารหนี้
รายอื่นๆด้วย ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยจากการรับจำนองอสังหาริมทรัพย์
สินเชื่อส่วนบุคคล หุ้นกู้ของธุรกิจเอกชน และดอกเบี้ยของลิสซิ่งต่างๆ
ต้นทุนการกู้ยืมเงินของผู้ระดมทุนแต่ละรายก็จะเพิ่มสูงขึ้น
จากนั้นภาคธุรกิจก็จะต้องตัดสินใจลดต้นทุนทางการเงินของตนเองลงมา
ภาคครัวเรือนก็จะปรับลดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของตนเองลงมาเพราะมีภาระที่
ต้องผ่อนชำระหนี้เพิ่มขึ้น
เมื่อหนี้สาธารณะเพิ่มสูง ขึ้น รัฐบาลก็จะเริ่มอึดอัด
ขยับตัวลำบาก ทำอะไรไม่ได้มากนัก
อัตราดอกเบี้ยก็จะเริ่มขยับปรับตัวสูงขึ้นจากความกลัวเรื่องการผิดนัดชำระ
หนี้ที่เพิ่มมากขึ้น
เมื่อสถานการณ์ดำเนินมาถึงขั้นนี้แล้วรัฐบาลมีทางเลือกที่จำกัดมาก
ได้แต่โกงความตายด้วยการพิมพ์เงินเพิ่มเพื่อนำเงินมาใช้จ่าย
มากน้อยแค่ไหนก็สุดแท้แต่ปริมาณหนี้ที่เป็นสกุลเงินท้องถิ่นที่รัฐบาลก่อไว้
ว่าจะมีมากน้อยแค่ไหนซึ่งเราเรียกวิธีการโกงความตายด้วยมาตรการทางการเงิน
นี้ว่า “การบริหารหนี้ด้วยมาตรการทางการเงิน” (monetizing the deficit)
กลไกนี้ก็คือมาตรการ QE (quantitative easing)ที่สหรัฐกำลังทำอยู่นั่นเอง
ยกเว้นในเรื่องการซื้อหนี้กลับคืนซึ่งไม่ได้ทำให้เอาชนะเงินฝืดไปได้เลย
มันเป็นเพียงแค่การซุกหนี้เอาไว้เท่านั้น
มันก็เหมือนกับการโปรยหว่านเม็ดเงินออกไปไล่ซื้อสินค้าและผลักดันระดับราคา
สินค้าให้เพิ่มขึ้น ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ
และนั่นย่อมหมายความว่าได้ทำให้อัตราดอกเบี้ยขยับสูงขึ้นด้วย
และด้วยการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้เองที่ช่วยค้ำยันเศรษฐกิจเอาไว้ไม่ให้ล้ม
ครืนลงมา
มีข้อมูลบางอย่างที่บ่งชี้ให้เห็นว่าผูเสีย
ภาษีจะต้องจับตา ให้ความสนใจกับความเสี่ยงนี้เป็นพิเศษ
บางประเทศที่นำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใช้นั้นผู้บริโภคจะต้องตระหนัก
ว่ามันจะสร้างผลประโยชน์อะไรให้กับเราได้บ้างจากมาตรการบางอย่างที่ภาครัฐ
กำหนดออกมานี้ แต่ในท้ายที่สุดแล้วรัฐบาลก็จะต้องขึ้นภาษี
และเมื่อเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น
เราเองก็จะต้องตระหนักเอาไว้ด้วยว่าเมื่อรัฐขึ้นภาษีนั้นผู้บริโภคก็จะปรับ
ลดการใช้จ่ายของตนเองลงมา
การใช้จ่ายในระยะสั้นและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในระยะยาวคือสิ่งที่เราสามารถคาด
คิดคำนวณได้ล่วงหน้าว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
การ
ลดภาษีถือเป็นมาตรการหลักรูปแบบหนึ่งเมื่อมีการนำมาตรการทางการคลังออกมาใช้
ในเวลาที่เศรษฐกิจเกิดปัญหา
นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องการใช้จ่ายเงินภาษีของภาครัฐและการคืนภาษีซึ่งภาค
ครัวเรือนสามารถนำเงินที่ประหยัดได้นี้มาฝากเก็บไว้กินดอกเบี้ยก็ได้หรือจะ
นำไปชำระหนี้ก็ได้
แล้วในปี 2008 – 2009 นั้นเล่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
มาตรการทางด้านภาษีทีเกิดขึ้นจากกฎหมายทั้ง 2
ฉบับนั้นส่งผลให้ผู้บริโภคได้เงินภาษีคืนมา 25 – 30
เซ็นต์ต่อการใช้จ่ายทุกๆ 1 ดอลลาร์
ส่วนที่เหลือจะถูกนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของภาคครัวเรือน
ซึ่งดูเผินๆแล้วเหมือนจะเป็นมาตรการที่ดี แต่ช้าก่อน
ลองมานึกทบทวนรายละเอียดจากมาตรการ QE
กันดูอีกครั้งหนึ่งก็จะพบว่ามาตรการต่างๆเหล่านี้ไม่ได้ช่วยกระตุ้นกำลัง
ซื้อให้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใดเลย
มันเป็นการยักย้ายถ่ายเทหนี้ออกจากกระเป๋าข้างซ้ายไปไว้ในกระเป๋าข้างขวา
เท่านั้นเอง หนี้ภาคเอกชนลดลงแต่หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น
ไม่ใช่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชาญฉลาดแต่อย่างใดเลย
แนว
ความคิดเรื่องการใช้มาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนี้จึงเป็นแค่
เพียงภาพลวงตาเท่านั้นเอง ผิดกับนโยบายทางการเงิน(monetary
policy)ที่ธนาคารกลางเป็นผู้กำหนดขึ้นมาตามแรงกดดันของรัฐสภาซึ่งเป็น
มาตรการที่กำหนดขึ้นโดยไม่ต้องไปซ่อมสร้าง
ดำเนินการอะไรใดๆให้สิ้นเปลืองงบประมาณและทรัพยากรอะไรใดๆทั้งสิ้น
นโยบายเศรษฐกิจที่สมบูรณ์นั้นจะต้องทำทั้งนโยบายการเงินและการคลังให้สอด
คล้องกัน ทำให้เกิดการฟื้นฟูประเทศด้วยการบูรณะ ซ่อมแซม ทำนุบำรุง
ฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ชำรุดทรุดโทรม
และเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต
หากเราจะเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของญี่ปุ่นก็จะพบว่าโครงการที่คลุมเครือ
ไม่ชัดเจนอย่างกฎหมายฟื้นฟูและลงทุนใหม่ของอเมริกันนั้นเป็นเพียงนโยบายที่
พูดง่ายทำยาก
บางทีเราอาจจะต้องเรียนรู้จากจีน
รัฐบาลจีนกำหนดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผล
ทำให้จีนฟื้นจากวิกฤติการณ์ครั้งที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี
นักการเมืองแต่ละคนมีอิสระที่จะคิดพิจารณาสิ่งต่างๆได้อย่างเป็นตัวของตัว
เอง
รัฐบาลสามารถดำเนินมาตรการต่างๆได้อย่างรวดเร็วและได้ผลในการปรับปรุงและ
เสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัย
แต่ก็มีบ้างบางมาตรการที่ทำไปแล้วเกิดความสูญเปล่าและไร้ประสิทธิภาพ
หรือไม่ก็ทำให้เกิดฟองสบู่ขึ้นได้ในอนาคต
มาตรการทาง
การคลังที่รัฐบาลนิยมนำมาใช้กันนั้นมีทั้งมาตรการทางด้านภาษีและการใช้จ่าย
ของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะวิกฤติ
แต่การปรับลดภาษีและการสร้างงานนั้นพึ่งจะเริ่มต้นขึ้น
รัฐบาลยังสามารถดำเนินมาตรการอื่นๆได้อีกหลายอย่างเพื่อต่อสู้กับวิกฤติการ
เงินที่กำลังดำเนินอยู่นี้ เส้นทางยังอีกยาวไกล
ความเป็นไปนับวันยิ่งสลับซับซ้อน
และแน่นอนว่ามีต้นทุนการดำเนินการให้เราต้องจ่ายกันด้วย
ขอเรียน: เรามีทุกประเภทของเงินให้กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยที่ 3% กรุณา
ตอบลบส่งอีเมลถึงเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้วันนี้ถ้าสนใจ เรามีเงินให้สินเชื่อ
ผู้ประกันตนได้ดีสำหรับการรักษาความปลอดภัยสูงสุดที่มีความสำคัญและ 100% ถูกต้องตามกฎหมายของเรา
และเรามีการลงทะเบียนกันอีเมล์: raphealjefferyfinance@gmail.com
ชื่อ:
ที่อยู่:
เบอร์โทรศัพท์:
จํานวนเงินที่จำเป็น:
ระยะเวลา:
อายุ:
เพศ:
ซีอีโอ / อีเมล์: raphealjefferyfinance@gmail.com
ขอแสดงความนับถือ
คุณชาย Rapheal