ads head

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

The Pizza Company The warrior’s lesson


The Pizza Company The warrior’s lesson

ภาพ  http://www.brandage.com


นาราตา ปัญญาวงษ์

อาณาจักรของ เดอะ ไมเนอร์ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)” ในวันนี้ ก่อร่างสร้างเค้าโครงขึ้นในราวปี 2518 จากการเปิดสาขาแฟรนไชส์มิสเตอร์โดนัทแห่งแรกขึ้นในประเทศไทย

แต่ ธุรกิจที่จุดชนวนให้เดอะ ไมเนอร์ฟู้ด กรุ๊ป เติบใหญ่ขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว ก็คือ ธุรกิจร้านพิซซ่าจานด่วนที่ บิลหรือ วิลเลี่ยม อี.ไฮเนคกี้แม่ทัพใหญ่แห่งเดอะ ไมเนอร์ กรุ๊ป ผู้ชื่นชอบ

การทานพิซซ่า ใช้เงินเพียง 5,000 เหรียญสหรัฐ ซื้อลิขสิทธิ์ พิซซ่า ฮัทมาจากเป๊ปซี่โค เพื่อปั้นเป็นธุรกิจดาวรุ่ง

ปี 2523 พิซ ซ่า ฮัท เปิดสาขาแรกขึ้นที่พัทยา แบบค้านความรู้สึกคนท้องถิ่นว่าธุรกิจในลักษณะนี้ไปรอดได้ยาก แต่เขาสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงโอกาสทางการตลาดด้วยความสำเร็จของจำนวนสาขา ร้านพิซซ่า ฮัท ที่

ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่า 100 สาขา

ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เดอะ พิซซ่า จำกัด ที่ภายหลังขยับฐานะขึ้นเป็น บมจ.เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ก่อนจะเกิดกรณีพิพาทในช่วงปี 2543 กับไทรคอน เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้ก้าวเข้ามา
เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ร้านพิซซ่า ฮัท ต่อจากเป๊ปซี่โค
กระทั่ง กลายเป็นสาเหตุของการสร้างแบรนด์พิซซ่าถาดใหม่ในชื่อของ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี พิซซ่าสัญชาติไทยที่กลายมาเป็นคู่ต่อกรกับพิซซ่าแบรนด์ระดับโลกอย่างพิซซ่า ฮัท
Pizza War ในตลาดเมืองไทยก็ปะทุนับแต่นั้นเป็นต้นมา...

The Lesson
เด อะ พิซซ่า ใช้เวลาอยู่นานหลายปีกว่าจะทำให้ผู้บริโภคชาวไทยเปิดใจยอมรับกับรสชาติ และวัฒนธรรมการบริโภคพิซซ่า แต่สิ่งที่ทุ่มเทให้กับการปั้นแบรนด์พิซซ่ามานานเกือบ 20 ปี แทบจะสูญเปล่าในช่วงครบรอบปีที่ 20 ของการได้สิทธิ์ทำตลาดพิซซ่า ฮัท ในเมืองไทย เป็นช่วงเวลาของการเจรจาเพื่อต่อสัญญาครั้งใหม่
เดอะ พิซซ่า สามารถปลุกปั้นสร้างแบรนด์พิซซ่า ฮัท จนประสบความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วยส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 90% จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องยากหากเดอะ พิซซ่า ต้องการเจรจาเพื่อขยายเวลาการได้
สิทธิ์การเปิดร้านพิซซ่า ฮัท ที่กำลังจะหมดลงในปี 2543
แม้ว่าโดยสัญญาเดอะ พิซซ่า จะได้สิทธิ์ทำตลาดต่อไปอีก 5 ปี โดยอัตโนมัติ แต่สถานการณ์กลับไม่เป็นอย่างที่คิด เมื่อไทรคอนที่เพิ่งซื้อกิจการร้านพิซซ่า ฮัท เคเอฟซี และทาโค เบล มาจากเป๊ปซี่โค มีแนวคิดจะ
เข้า มาทำตลาดพิซซ่า ฮัท ในเมืองไทยเสียเอง เบื้องหลังการเจรจาจึงไม่สะดวกราบรื่นเหมือนเช่นสายสัมพันธ์ครั้งก่อนเก่า ที่เคยมีกับเป๊ปซี่โค แถมการเจรจาก็ยากขึ้นเป็นลำดับ
บลิ ไฮเนคกี้ ยอมรับว่า ส่วนหนึ่งคงเป็น เพราะความทะเยอทะยานของเขาเอง
เพราะในช่วงปี 2540 แม้ว่าร้านพิซซ่า จะสามารถขยายสาขาได้กว่า 100 สาขา แต่อัตราการเติบโตของร้านพิซซ่ากลับต่ำกว่าธุรกิจอาหารประเภทอื่น เช่น แดรี่ควีน และไอศกรีมสเวนเซ่นส์ เขาจึงมองหาโอกาสใน
การเพิ่มรายได้จากธุรกิจอาหารประเภทอื่น และได้พบว่า คนไทยนิยมบริโภคไก่มากกว่าแป้งพิซซ่า
ไม่ ใช่เรื่องยากหากจะขยายธุรกิจไปสู่ร้านไก่ทอด เพราะต้นสังกัดพิซซ่า ฮัท ก็มีแบรนด์เคเอฟซีอยู่ในมือ หากแต่ว่าบริษัทแม่ก็กำลังมีแนวคิดจะเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยเสียเอง เช่นเดียวกับนโยบายการทำร้าน
พิซซ่า
เขาจึงติดต่อที่จะนำแบรนด์ ชิคเก้น ทรีทธุรกิจอาหารจานด่วนจากออสเตรเลียเข้ามาเปิดตลาดในเมืองไทยแทนการขอสิทธิ์ทำตลาดเคเอฟซี ซึ่งเป็นเจ้าตลาดฟาสต์ฟู้ดไก่ทอดในเวลานั้น
การเดินหน้าของ ชิคเก้น ทรีทยิ่งตอกย้ำให้รอยร้าวระหว่างเดอะ พิซซ่า และไทรคอนเริ่มลงลึก และแยกยาวมากขึ้น เพราะนอกจากไทรคอนจะยื่นข้อเสนอใหม่ด้วยการขอค่าลอยัลตี้เพิ่มขึ้นอีก 50% เช่นเดียวกับค่าธรรมเนียมการเปิดร้านใหม่ และขอเพิ่มส่วนแบ่งยอดขายเพิ่มจาก 4% เป็น 6%
ที่ สำคัญ หากต้องการเปิดกิจการร้านฟาสต์ฟู้ดประเภทไก่ แฮมเบอร์เกอร ์ แบรนด์อื่นๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากต้นสังกัดเสียก่อน ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องที่ไม่เคยมีมาก่อนในสัญญาชุดเดิม และโดยปกติแฟรนไชส์พิซซ่า ฮัท ที่มีอยู่หลายแห่งทั่วโลกก็เคยดำเนินกิจการร้านฟาสต์ฟู้ดประเภทไก่ และแฮมเบอร์เกอร์แบรนด์อื่นร่วมกันโดยไม่มีปัญหาเหมือนอย่างที่เดอะ พิซซ่า กำลังเผชิญอยู่
เมื่อ แนวคิด และผลประโยชน์สวนทางกัน ข้อตกลงต่างๆ จึงไม่บรรลุผล และนำไปสู่การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับไทรคอน ขณะเดียวกันทางไทรคอนก็ฟ้องร้องกลับในข้อหาละเมิดสิทธิ์ จนกลายเป็นกรณีพิพาทที่
ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
เมื่อ เดอะ พิซซ่า เดินหน้าที่จะเปิดชิคเก้น ทรีท ไทรคอนจึงประกาศเจตนารมณ์ที่จะสานต่อธุรกิจพิซซ่าด้วยตนเอง ด้วยการประกาศบอกเลิกสัญญาผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่หลายฉบับ และต่อมา บิล ไฮเนคกี้
ก็เปิดเผยข้อมูลพิซซ่าแบรนด์ใหม่ของตนที่กำลังจะปั้นขึ้นเพื่อแทนที่แบรนด์ลูกรักที่เขากำลังจะสูญเสียไป
ขณะ ที่คดีความกำลังดำเนินอยู่นั้น ด้วยเหตุผลหลายๆ ประการก็ทำให้ทั้งคู่ตกลงหย่าศึก ยุติการฟ้องร้อง ยุติข้อพิพาทในศาล โดยเดอะ พิซซ่ายังต้องทำร้านพิซซ่า ฮัท ทั้ง 116 สาขา ต่อไปจนถึงเดือนมกราคม 2544 ในกรอบสัญญาเดิม ก่อนที่ไทรคอนจะเข้ามารับช่วงต่อ และเดอะ พิซซ่าก็จะเริ่มต้นปั้นแบรนด์ใหม่ของตนในชื่อของ เดอะ พิซซ่า คอมปะนีเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อบริษัทที่เคยปลุกปั้นพิซซ่า ฮัท ให้ประสบความสำเร็จ
มาก่อนหน้านี้
ครั้งนี้ ผลประโยชน์จะตกอยู่กับเดอะ พิซซ่า อย่างเต็มร้อย ไม่ต้องแบ่งสันปันส่วนรายได้ให้กับใครๆ อีกเหมือนเช่นที่ผ่านมา

New Opportunity
แม้ ว่าจะต้องสูญเสียร้านพิซซ่า ฮัท ไปทั้งหมด และยังต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่กับร้านเดอะ พิซซ่า คอมปะนี แต่เครือข่ายของร้านที่ถูกโยงใยไปทั้ง 116 สาขา บนทำเลที่ตั้งเดิมก็ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เดอะ พิซซ่า
วางไว้ตั้งแต่เริ่มทำตลาดพิซซ่า กลายเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้การสร้างแบรนด์น้องใหม่ไม่ยุ่งยากกว่าที่คิด
16 มีนาคม 2544 วัน ที่เดอะ พิซซ่า รอคอยก็มาถึง และเป็นวันที่หน้าประวัติศาสตร์การตลาดเมืองไทยต้องจารึกไว้ เมื่อเขาได้นำทีมงานเริ่มดำเนินการปลดป้ายร้านพิซซ่า ฮัท ทั้ง 116 แห่ง ลงมา พร้อมกับยกป้าย
เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ขึ้นไปติดตั้งแทนด้วยอารมณ์ที่ บิล ไฮเนคกี้ คงรู้สึกสะใจอยู่ลึกๆ
ถือ เป็นวันสิ้นสุดสายสัมพันธ์ที่ดี ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโดยทันทีกับตลาดพิซซ่าในเมืองไทย และเป็นก้าวสำคัญของทั้งกับเดอะ พิซซ่าคอมปะนี และพิซซ่า ฮัท
เพราะ ในเช้าวันรุ่งขึ้นทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปสู่การเริ่มต้นครั้งใหม่ สื่อประโคมข่าวการปลดป้ายลงกันอย่างออกรส ถือเป็นการแก้เกมที่เรียกวิกฤตให้คืนกลับมาเป็นแต้มต่อของตนได้อย่างเหนือ ชั้น
เป็นการสร้างแบรนด์ที่ใช้เวลาเพียงชั่วข้ามคืน และเพียงแค่ข้ามวัน เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ก็มีสาขาที่เกิดขึ้นพร้อมกันถึง 116 แห่ง ขณะที่พิซซ่า ฮัท ที่พยายามเร่งเปิดสาขาก่อนหน้านี้ เพิ่งมีสาขาเพียงไม่กี่สิบ
สาขา
ตำแหน่งผู้นำตลาดเปลี่ยนไปทันที!
เกม นี้เดอะ พิซซ่า มั่นใจเต็มร้อยว่า ลูกค้าจะเข้าใจทุกอย่างเมื่อได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของร้านพิซซ่า ฮัท จากเดิมๆ ถูกเปลี่ยนโฉมใหม่หมดพร้อมกันทั้ง 116 สาขา ทั้งในเรื่องของหน้าตาบรรยากาศร้าน เครื่อง
แบบ พนักงาน รวมไปถึงเมนู และรสชาติอาหาร ดังนั้นหากเดอะ พิซซ่าคอมปะนี มีการเริ่มต้นที่ดี โอกาสที่จะเข้าไปแทนที่พิซซ่า ฮัท และมัดใจลูกค้าไว้ให้อยู่หมัดได้ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
เด อะ พิซซ่า คอมปะนี ก้าวขึ้นเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของพิซซ่า ฮัทโดยทันที ด้วยความพร้อมของจำนวนสาขา ความยืดหยุ่นในการบริหารในฐานะบริษัทคนไทย แถมชั้นเชิงการตลาดที่เหนือกว่าหลายเท่า
ที่ สำคัญการเป็นผู้สร้างแบรนด์พิซซ่า ฮัท มาตั้งแต่ต้น จึงรู้สายสนกลในเชิงการตลาดของพิซซ่า ฮัท เป็นอย่างดี นอกเหนือจากการรู้จักตลาดพิซซ่าเมืองไทย และรู้ใจคนไทยมานานกว่า 20 ปี
ข้อนี้อดีตผู้บริหารใหญ่ของพิซซ่า ฮัท ก็ยังยอมรับ
บิล ไฮเนคกี้ และ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี จึงเข้าถึงคนไทยได้มากกว่าพิซซ่าแบรนด์ใดๆ
เดอะ พิซซ่า เดินเกมต่อทันทีด้วยการกำหนดให้ใช้เลขหมายโทรศัพท์ 1112 เพียงหมายเลขเดียว สำหรับบริการสั่งซื้อทางโทรศัพท์กับร้านอาหารในเครือทุกแบรนด์ ได้แก่ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ชิคเก้น ทรีท
เบอร์เกอร์ คิงส์ แดรี่ควีน และสเวนเซ่นส์ เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับลูกค้า และทำให้แต่ละแบรนด์เติบโตไปพร้อมกัน
วันนี้เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ที่ดำเนินงานโดยบมจ.เดอะ ไมเนอร์ฟู้ด กรุ๊ป มีสาขาในประเทศทั้งแบบดำเนินการเอง และแฟรนไชส์มากกว่า 180 แห่ง ครองส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่า 70%
ส่วนพิซซ่า ฮัท มีสาขาอยู่ราว 75 แห่ง มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 25%
ด้วย สถานการณ์ที่กำลังเป็นรองคู่แข่งขัน ทำให่วันนี้พิซซ่า ฮัท ตั้งเป้าโฟกัสมาที่ตลาดเมืองไทย ขณะที่เดอะ พิซซ่า คอมปะนี พิซซ่าสัญชาติไทยกำลังเบนเข็มไปสู่ระดับ Global Brand โดยก่อนหน้านี้ เดอะ พิซซ่า คอมปะนีรุกเข้าไปปักธงในประเทศต่างๆ มาแล้วกว่า 20 สาขา อาทิ ประเทศดูไบซาอุดีอาระเบีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา จอร์แดน บาห์เรน และเวียดนาม

The Growth
หากมองในแง่ภาพรวมของเดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แบ รนด์เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ก็มีฐานะเป็นแบรนด์เอกของกลุ่มธุรกิจอาหารและเป็นกำลังหลักที่ช่วยสร้างราย ได้ให้กับกลุ่มธุรกิจอาหาร ส่งผลให้ธุรกิจอาหารมีด้วยสัดส่วนรายได้ที่มากกว่า 50% ของกลุ่มไมเนอร์ กรุ๊ป
นอก จากกำลังหลักจากเดอะ พิซซ่า คอมปะนี ในกลุ่มของเดอะไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ยังได้กำลังเสริมจากแบรนด์ชั้นนำในหลายหมวดหมู่ที่เดอะไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป อิมพอร์ตเข้ามาเพื่อตอบสนองความต้องการแบบครอบคลุมในทุกกลุ่มเป้าหมาย อาทิ แดรี่ ควีน ซิซซ์เล่อร์ เบอร์เกอร์คิง และสเวนเซ่นส์
ล่าสุดยังได้ปั้นแบรนด์น้องใหม่ในกลุ่มร้านอาหารญี่ปุ่นในชื่อ Benihuna ภายใต้คอนเซ็ปต์ Japanese Steakhouse and Sushi ซึ่งเปิดให้บริการในเครือโรงแรมอย่างเช่นที่ พัทยา แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา และที่
บางกอก แมริออท รีสอร์ท แอนด์ สปา
การ หาช่องว่างทางการตลาด และการมองโอกาสในการขยายเข้าไปในไลน์ธุรกิจอาหารแบรนด์ใหม่ๆ ยังเป็นนโยบายหลักที่เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้รุกเข้าซื้อกิจการร้านอาหารภายใต้แบรนด์ เลอ แจ๊สจากผู้ร่วมทุนในปักกิ่ง ปัจจุบันมีสาขาอยู่กว่า 20 แห่ง ในประเทศจีน
ติดตามมาด้วยการเข้าไปลงทุนเพิ่มในบริษัท เอสแอนด์พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) จำนวน 20% เพราะ เล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตของธุรกิจที่ดำเนินไปในทิศทางที่ดี และเป็นการสร้างพันธมิตรด้านธุรกิจอาหารในระยะยาว ถือเป็นการผนึกกำลังที่ช่วยเพิ่มให้เกิดความหลากหลายให้กับตัวสินค้าและยัง เป็นการต่อยอดธุรกิจอาหารระหว่างไมเนอร์ฯ และเอสแอนด์พี ในแง่ของการเพิ่มศักยภาพการดำเนินงาน สามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านการจัดหาวัตถุดิบสำหรับธุรกิจอาหาร ส่งผลต่อการเพิ่มอัตราผลกำไรให้กับทั้ง 2 บริษัท
ปี นี้ในส่วนของธุรกิจอาหาร อยู่ในระหว่างการพิจารณาเพิ่มโปรดักต์ใหม่ที่เป็นเซอร์วิส เรสเทอรองต์ในกลุ่มอาหาร และเครื่องดื่มอินเตอร์แบรนด์ที่ยังไม่เคยมีในประเทศไทย คาดว่าต้องใช้เงินลงทุนอีกกว่า 2,000 ล้านบาทรวมถึงแผนการเพิ่มสาขาร้านอาหารเป็น 703 สาขา ในสิ้นปีนี้ หรือเพิ่มสาขาใหม่เป็น 38 สาขา
ส่งผลให้รายได้จากธุรกิจร้านอาหารมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 7% จากปีก่อน เพิ่มขึ้นเป็น 6,337 ล้านบาท
ปัจจุบันเดอะ ไมเนอร์ ฟู้ดส์ กรุ๊ป มีสาขาร้านอาหารทุกแบรนด์รวมกันกว่า 630 แห่ง แบ่งเป็นสาขาในประเทศ 530 แห่ง และต่างประเทศ 100 แห่งไม่นับรวมแฟรนไชส์ร้านอาหารของบริษัทอีกราว 74 แห่ง โดยปีนี้มีแผนขยายเพิ่มขึ้นเป็น 80-100 แห่ง
โดยภาพรวมของเดอะ ไมเนอร์ กรุ๊ป ในปีนี้ คาดว่าจะมีอัตราเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 10-15% จากเดิมในปี 2549 มีรายได้อยู่ที่ 12,000 ล้านบาท
ที่สำคัญยังเป็นตัวเลขรายได้ที่มาจากกลุ่มธุรกิจอาหารสูงถึงกว่า 50% ®

เส้นทาง เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป
2518 ตั้งมิสเตอร์โดนัท แฟรนไชส์ร้านอาหารจานด่วนแห่งแรกขึ้นในประเทศไทย
2522 เปิดและปิดมิสเตอร์โดนัทในมาเลเซีย
2523 เปิดพิซซ่า ฮัท แห่งแรกในพัทยา
2529 เปิดร้านไอศกรีมสเวนเซ่นส์แห่งแรก
2532 เริ่มบริการส่งพิซซ่า ฮัท ถึงบ้าน
2533 นำบริษัท เดอะ พิซซ่า จำกัด จดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2534 เปิดภัตตาคารซิซซ์เล่อร์แห่งแรก
2535 ตั้งโรงงานผลิตเนยเพื่อป้อนให้กับพิซซ่า ฮัท
เปิดโรงงานไอศกรีมเพื่อป้อนให้กับสเวนเซ่นส์
2536 บริษัท เดอะ พิซซ่า จำกัด เปิดสาขาที่ 100
2537 เริ่มแนะนำบริการโทรศัพท์เบอร์เดียวสั่งพิซซ่าทั่วทุกหนแห่ง
2538 เปิดแดรี่ควีน แห่งแรก
2540 เปิดร้านอาหารสาขาที่ 200 ในนามบริษัท เดอะ พิซซ่า จำกัด (มหาชน)
2542 เปิดตัวชิคเก้น ทรีท และเบอร์เกอร์คิง
2543 เกิดกรณีพิพาทเรื่องสิทธิ์ในการขายพิซซ่า ฮัทกับไทรคอน และในปีเดียวกันนี้ได้ประกาศสร้าง
พิซซ่าแบรนด์ใหม่ในชื่อของ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี
2544 ยุติข้อพิพาท และหันมาสร้างแบรนด์เดอะ พิซซ่าคอมปะนี อย่างมุ่งมั่น

วิลเลี่ยม อี.ไฮเนคกี้
The Warrior of Food Business
เบื้องหลังความสำเร็จ และการเติบใหญ่ของบริษัทเดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ใน วันนี้ ที่แม้ว่าจะอยู่ภายใต้การดูแลของ พอล ชาลีส์ เคนนี่ ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนปัจจุบัน แต่ทุกคนก็รู้ดีว่า หากขาดเสาเอกอย่าง วิลเลี่ยม อี.ไฮเนคกี้ วันนี้ของเดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ปก็คงไม่มาถึง
ในวัย 58 ปี เขาได้ผ่านสนามการต่อสู้ การประลองกำลังมาอย่างมากมาย ทั้งในฝั่งธุรกิจอาหาร แฟชั่นเครื่องแต่งกาย และในกลุ่มธุรกิจโรงแรม
เขาเป็นชาวอเมริกันที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประเทศไทย และกลายเป็นเศรษฐีเงินล้านในขณะที่ยังมีอายุเพียง 21 ปี ด้วยเงินทุนในการเริ่มต้นทำธุรกิจเพียง 1,000 เหรียญสหรัฐ กับถังน้ำพลาสติก และไม้ถูพื้น
ครอบครัวของ บิล ไฮเนคกี้ ย้ายมาอยู่ในกรุงเทพฯตั้งแต่ปี 2506 และ เขาก็ลงหลักปักฐานอยู่ในเมืองไทย ด้วยเหตุผลที่ว่า ประเทศไทยเป็นสถานที่ที่น่าสนใจ เขารู้สึกรักเมืองไทย และรักคนไทย และในที่สุดเมื่อมีโอกาสเขาก็ได้เปลี่ยนมาถือสัญชาติไทยในปี 2534
มากกว่า ครึ่งหนึ่งของชีวิต จึงเริ่มต้น และเติบโตในเมืองไทย เขาจึงเข้าถึงวิถีชีวิตในสไตล์แบบไทยๆ และส่งผลให้เขาประสบความสำเร็จกับการสร้างวัฒนธรรมการบริโภคพิซซ่าให้เป็น ที่ยอมรับในหมู่คนไทย
ความ ที่เป็นคนไม่หยุดนิ่ง และพยายามมองหาโอกาสทางการตลาดอยู่เสมอ ด้วยการเข้าไปลงทุนในธุรกิจอาหารแฟชั่นเครื่องแต่งกาย และธุรกิจโรงแรม ทำให้เขาประสบความสำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง และมั่นคง แม้ว่าในบางครั้งจะพบกับอุปสรรค และวิกฤตอันใหญ่หลวงแต่ก็สามารถฝ่าฟันผ่านมาได้ในทุกครั้ง
กระทั่งในปี 2541 นิตยสารเอเชียมันนี่ได้เลือกให้บริษัท เดอะ พิซซ่า จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในบริษัทที่บริหารงานได้เยี่ยมยอดที่สุดในประเทศไทย ขณะที่นิตยสารฟอร์บส์ จัดอันดับให้เดอะ พิซซ่า เป็น 1 ใน 300
บริษัทขนาดเล็กที่บริหารงานได้ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก
ปัจจุบัน วิลเลี่ยม อี.ไฮเนคกี้ มี บทบาทสำคัญในฐานะประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในนามบริษัท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น (MINOR) และบริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT)
เป็นเครือข่ายธุรกิจที่ครอบคลุมไปทุกไลฟ์สไตล์ของคนไทย และเรารู้จักกันดีในชื่อของโรงแรมในเครือ
แมริออท เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแบรนด์เนมหลายยี่ห้ออาทิ เอสปรี บอสสินี่ เครื่องสำอางเรดเอิร์ธ และร้าน
อาหารแบรนด์ดังที่ดำเนินงานผ่านบมจ.เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ดกรุ๊ป
นอก จากพระเอกอย่างแบรนด์เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ในกลุ่มนี้ยังมีแบรนด์ร้านอาหารชั้นนำที่เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ดกรุ๊ป นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งแบรนด์ที่ได้สิทธิ์ในการทำตลาด ได้แก่ แดรี่ ควีน ซิซซ์เล่อร์ เบอร์เกอร์คิง และสเวนเซ่นส์
บิล ไฮเนคกี้ มักพูดเสมอว่า
ความสำเร็จของการฝ่าฟันวิกฤต และอุปสรรคนานัปการมาได้ตลอดนั้น เกิดจากการมุ่งมั่นที่จะขยาย
ธุรกิจไปในทิศทางที่ตนถนัด และมีประสบการณ์อยู่เสมอนั่นเอง ®

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น