September 14, 2009
Posted by KOBSAK (ADMIN)
Posted by KOBSAK (ADMIN)
1 Years after Lehman Brothers
ทำไมเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ
เมื่อมองย้อนกลับไป ภายในช่วงเวลาสั้นๆ เพียง 2 วันเมื่อ 1 ปีที่แล้ว มีบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่งในสหรัฐฯ เกิดปัญหาอย่างรวดเร็ว – Merrill Lynch ถูก Bank of America ควบรวมไป Lehman Brothers ล้มลง และ AIG ต้องถูกรัฐบาลเข้าไปอุ้มไว้
แต่ที่สำคัญที่สุด ก็เป็นกรณีของ Lehman Brothers เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลสหรัฐฯ ยอมให้สถาบันการเงินขนาดใหญ่ของตน ล้มลงโดยไม่เข้าไปช่วยเหลือ ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของความกังวลใจของทุกคน รวมทั้งในส่วนของเจ้าหนี้ ผู้ฝากเงิน และนักลงทุน เพราะว่า
เป็นครั้งแรก ที่ทุกคนรู้สึกว่า ในวิกฤตครั้งนี้ การที่เป็นบริษัทที่มีประวัติยืนยาวนาน 158 ปีไม่ได้รับประกันอะไร และยิ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่ คือ อันดับที่ 4 ของ Investment Banking สหรัฐ ก็ยังล้มลงได้ ประเภทยิ่งใหญ่ ยิ่งมีโอกาสล้ม
เมื่อรวมกับเหตุของ AIG ก็ส่ง shockwaves ออกไปอย่างกว้างขวางในระบบการเงินโลก ทำให้
- คนที่เกี่ยวข้องกับ Lehman Brothers ประสบปัญหา
- ตลาดการเงิน Freeze up อย่างรวดเร็ว
- ผู้ฝากเงินบางคนไม่มีความมั่นใจ เริ่มถอนเงินจากแบงก์เพื่อนำไปเก็บไว้
- Spread
- Vix
- ราคาหุ้น
1 ปีแล้วเรียนรู้อะไร ปัญหาอยู่ตรงไหน
เมื่อมองย้อนกลับไป บางคนมองว่าการปล่อยให้ Lehman Brothers ล้มลงไป เป็นความผิดพลาดทางนโยบาย เพราะเป็นจุดที่ทำให้หลายคนหมดความเชื่อถือในระบบสถาบันการเงิน
แต่บางคนก็บอกว่า “ไม่มีทางเลือก” ทั้งในส่วนของทางการสหรัฐ ที่ไม่มีอำนาจพอที่จะเข้าไปช่วยเรื่องสภาพคล่อง และความจำเป็นที่จะต้องปล่อยให้ล้มบ้างเพื่อไม่ให้เป็นตัวอย่างของการเข้าไป อุ้มคนที่เกิดปัญหาไว้ทุกกรณี และที่สำคัญไปกว่านั้น เพื่อยอมตามแรงกดดันทงการเมืองที่เพิ่มขึ้น หลังจากใช้เงินภาษีรัฐบาลเข้าไปช่วยสถาบันการเงินที่มีปัญหาไปแล้วหลายแห่ง เช่น Freddie Mac หรือ Fannie Mae ไปแล้ว ต้องสาธิตให้การเมืองเห็นว่า การล้มลงมีผลพวงอย่างรุนแรง และ Lehman Brothers ใหญ่ แต่ไม่ใหญ่ที่สุด เป็นตัวอย่างที่ดีที่จะใช้สาธิต
ตรงนี้ หลายคนมองย้อนกลับไปว่า การล้มลงของ Lehman Brothers ทำให้การเข้าไปช่วยเหลือสถาบันการเงินอื่นๆ เป็นไปได้ และถูกขัดขวางน้อยลงจากทางการเมือง และแม้กระทั่งที่ยุโรปเอง ผู้กำหนดนโยบายของยุโรปก็มองว่า จะไม่ให้กรณีเช่น Lehman Brothers เกิดขึ้นที่ยุโรป และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ยุโรปตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการเข้าไปอุ้มแบงก์ ต่างๆ ที่เกิดปัญหา รวมถึงการประกาศค้ำประกันเงินฝากเต็มจำนวนในหลายๆ ประเทศที่เกิดขึ้นตามมาอย่างรวดเร็ว
แต่การล้มลงของ Lehman Brothers ได้ชี้ถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่ในระบบที่หลายคนต้องกลับมา
ขบคิดเพื่อหาทางแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเช่นเดิมขึ้นอีก
- ปัญหาแรก คือ ในระบบมีสถาบันการเงินหลายแห่งที่เรียกว่าใหญ่มาก จะทำอย่างไรกับสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่หลายคนเรียกว่าปัญหา too big too fail หรือ ใหญ่เกินไปที่จะล้มเหล่านี้ รัฐบาลควรจะยอมปล่อยให้สถาบันการเงินบางแห่งใหญ่ขึ้นมาจนกระทั่งไม่มีทาง เลือกอื่น ยกเว้นต้องเข้าไปอุ้มเมื่อเกิดปัญหาอีกต่อไปหรือไม่
- ปัญหาที่สอง จะปล่อยให้สถาบันการเงินเสี่ยงอย่างเต็มที่เหมือนช่วงที่ผ่านมาอีกหรือไม่ เพราะกรณีของ Lehman มีเงินทุนแค่ 17,000 ล้านดอลลาร์เท่านั้น แต่สินทรัพย์ที่ไปเสี่ยง สูงถึง 750,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 40 กว่าเท่าตัว
- ปัญหาที่สาม จะทำอย่างไรกับเครื่องมือทางการเงินที่มีความซับซ้อน ที่สถาบันการเงินทำเอาไว้ รวมถึงธุรกรรมอื่นๆ ในส่วนที่อยู่นอกบัญชี หรือ off balance sheet โดยเฉพาะในตราสารบางตัวที่บางส่วนงานของสถาบันการเงินนั้น เข้าไปทำธุรกรรมเพื่อยกระดับของกำไรในระยะสั้น แต่เพิ่มความเสี่ยงขององค์กรในระยะยาว เช่นกรณีของ AIG ธุรกิจด้านประกันภัย ซึ่งเป็นธุรกิจดังเดิมสามารถเดินไปได้ดีมาก แต่ธุรกิจด้านตลาดทุนที่ส่วนงานหนึ่งมีคนไม่กี่ร้อยคน เข้าไปขาย CDS สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงในระยะยาวแก่ทั้งองค์กร จนล้มลง
- ปัญหาที่สี่
จะทำอย่างไรกับปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใสของข้อมูล โดยเฉพาะในกลุ่มของ
สถาบันการเงินที่ลงทุน เช่น Hedge Fund หรือกลุ่มวานิชธนกิจคล้าย Lehman
Brothers
ที่ทำให้นักลงทุนไม่สามารถรู้ถึงระดับความเสี่ยงในสถาบันการเงินนั้นๆ และแม้กระทั่งทางการก็ไม่เข้าใจ ไม่สามารถประเมินความรุนแรงของสถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง - ปัญหาที่ห้า
กฏเกณฑ์ในปัจจุบัน และ อำนาจความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐในปัจจุบัน
เช่น กลต. และ ธนาคารกลาง มีพอเพียงในการที่จะต่อสู้ดิ้นรนกับวิกฤตใน
ลักษณะนี้หรือไม่
ต้องทำอะไรกันต่อไป
หลายคนมองว่า 1 ปีผ่านไป วิกฤตได้ซาลงก็จริงจากมาตรการภาครัฐ ที่เข้าไปช่วยเหลือ ทั้งในส่วนของการเพิ่มทุน การประกันหนี้เสีย การเข้าไปอักฉีดสภาพคล่อง แต่พอมองย้อนกลับไปดู หลายคนมองว่า ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงที่เกิดขึ้น กับระบบการเงินโลก คุณหมอแค่ช่วยดามแขนขาที่หักเท่านั้น แม้ว่าจะมีคนตกงานไปแล้วในวงการการเงินเป็นจำนวนมาก แต่ว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังที่จะนำมาซึ่งการป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤต ครั้งต่อไป ยังไม่เกิดขึ้น
และยังมีคำถามว่า
- จะสะสางปัญหาที่เหลืออยู่อย่างไร ทั้งส่วน Toxic assets และสถาบันการเงินที่ยังล้มอยู่
- จะถอนความช่วยเหลือที่ให้ไปทั้งในส่วนของการค้ำประกันเงินฝาก การค้ำประกันสินเชื่อ การเพิ่มทุนสถาบันการเงินอย่างไร และเมื่อไร
- จะยกเครื่องวิธีกำกับดูแลสถาบันการเงินเหล่านี้อย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอีกครั้ง
แต่ถ้ามองย้อนกลับไปอีกที่ ใน 1 ปีที่ผ่านมา ก็ต้องบอกว่าเป็น 1 ปีที่มีสีสันอย่างยิ่งในวงการการเงินโลก ที่หลายๆ คนคงยากที่จะลืม
ที่มา:http://www.kobsak.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น