ads head

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

ทุกย่างก้าวคือตำนาน 'นันยาง' รองเท้าที่เป็นมากกว่ารองเท้า

ทุกย่างก้าวคือตำนาน 'นันยาง' รองเท้าที่เป็นมากกว่ารองเท้า

ที่มา http://www.thairath.co.th/content/eco/317194
Pic_317194 ช่วงวัยเด็กเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของใครหลายๆ คน เพราะไม่ต้องคิดโน่นคิดนี่ให้ยุ่งวุ่นวาย ได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระและเต็มที่ทุกครั้งที่เจอเพื่อนหรือไปโรงเรียน วันนี้ Success Story จะพาย้อนวัยเด็กผ่านรองเท้านักเรียนยอดฮิตอย่าง "นันยาง" ที่เชื่อว่าใครไม่เคยใส่ในช่วงวัยเด็กต้องเรียกว่าเชย ซึ่งบุคคลที่จะมาพูดคุยกับเราวันนี้ถือเป็น 2 หนุ่มหล่อไฟแรง ทายาทรุ่น 3 ของตระกูล "ซอโสตถิกุล" นั่นคือ ชัยพัชร์ ซอโสตถิกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และ จักรพล จันทวิมล Marketing & Brand Communications Executive บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ที่มาช่วยกันเล่าถึงความเป็นมาของรองเท้ายอดฮิตให้ชาวไทยรัฐออนไลน์ได้ฟังกัน



จุดเริ่มต้นของนันยาง


แรก เริ่มนันยางสั่งผลิตภัณฑ์นันยางมาจากประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่ปี 2489 และได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคในสมัยนั้นซึ่งตรงกับช่วงสมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีที่ไม่ค่อยนิยมให้นำสินค้ามาจากต่างประเทศเพราะเกรงว่าจะ เสียดุลการค้า และทางคุณวิชัย ซอโสตถิกุล ซึ่งเป็นคุณปู่ และเป็นคุณตาของคุณจักรพงษ์ ก็มีความคิดที่จะตั้งโรงงานผลิตรองเท้านันยางในประเทศไทยโดยใช้แรงงานและ วัตถุดิบจากประเทศไทย ซึ่งวัตถุดิบหลักก็คือยางพารา และเผอิญตอนนั้นคุณปู่ก็ได้รู้จักกับประธานบริษัทนันยางที่สิงคโปร์ จึงได้เจรจาขอซื้อกรรมวิธีการผลิต ก็เลยตั้งเป็นบริษัทนันยางอุตสาหกรรมขึ้นมาในประเทศไทยช่วงปี 2496


ต้นกำเนิดชื่อ "นันยาง"

แรก เริ่มชื่อแบรนด์ที่มาจากสิงคโปร์จริงๆ ชื่อ หน่ำเอี๊ย เป็นภาษาแต้จิ๋วแปลว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) แต่ถ้าเป็นภาษาจีนกลางจะใช้ชื่อว่าหนันหยาง แต่พอมาเป็นภาษาไทยอาจจะเพี้ยนหรืออาจจะเรียกทับศัพท์เป็น นันยางไป และการที่ใช้นันยางก็เรียกง่ายด้วย

การปั้นแบรนด์ตามแบบฉบับนันยาง


ช่วง แรกเราจะเน้นการผลิตเยอะๆ เพื่อให้ต้นทุนต่ำและขายได้ในราคาต่ำ ถ้าถามว่านันยางโดดเด่นหรือยังในช่วงนั้นผมว่าก็คงยังไม่ได้ตื่นเต้นอะไรมาก แต่ก็ถือว่าเป็นรองเท้าที่ทนเพราะตอนนั้นจุดขายเราคือทน และสมัยนั้นคนจะเดินเยอะกว่าสมัยนี้เพราะมีเดินข้ามภูเขา เดินไปตัดอ้อย เขาก็จะใส่นันยาง แต่หลังจากช่วงนั้นประมาณปีที่ 20 กว่าๆ ของนันยาง การตลาดเริ่มเข้ามามีบทบาท รองเท้าจากต่างประเทศเริ่มเข้ามา จากเดิมใส่นันยางทำได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเล่นกีฬา เที่ยว ฯลฯ แต่พอมาหลังๆ เริ่มไม่ได้ รองเท้าแต่ละชนิดจะต้องมีฟังก์ชั่นของตัวเอง ทำให้ตลาดบีบลง เราเลยต้องทำให้ตัวเองโดดเด่นมากขึ้นด้วย ซึ่งรองเท้าเราจะเน้นเป็นอยู่ 3 อย่าง คือ แบดมินตัน ตะกร้อ และนักเรียน ซึ่งจริงๆ รองเท้าเราเน้นจากแบดฯ เพราะตอนรุ่นที่ 2 คุณลุงเป็นนายกสมาคมแบดมินตัน จึงได้ทำรองเท้าให้ทีมแบดมินตัน ซึ่งช่วงนั้นคนที่เล่นแบดมินตันจะนิยมกันมาก ส่วนตะกร้อเป็นที่นิยมกันเพราะเป็นกีฬาชาติไทยอยู่แล้ว และรองเท้านันยางก็มีคุณสมบัติพิเศษคือเกาะพื้นและนุ่ม เวลาคอนโทรลบอลจะง่าย ส่วนรองเท้านักเรียนที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟังคือตอนแรกเราก็ไม่ได้หวังว่าจะบูม แต่ปรากฏว่าช่วงปี 2520 กว่าๆ รองเท้านักเรียนนันยางมีชื่อเสียงขึ้นมาในวงการรองเท้านักเรียน และตั้งแต่นั้นมาทำให้รองเท้านันยางก็อยู่คู่กับเท้า กับนักเรียนมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่ง ณ ช่วงนั้นเรายังไม่ได้ทำการตลาดอะไรมาก เพราะเราจะเน้นขาย แต่พอมายุคประมาณปี 2530, 2540, 2550 จนถึงตอนนี้เราก็ทำการตลาดค่อนข้างจริงจัง


ปัญหาและอุปสรรคในการปั้นแบรนด์


ช่วง ประมาณปี 2530-2540 เราก็ประสบปัญหาคือสินค้าโดนเลียนแบบจากคู่แข่ง ซึ่งเหมือนของเราทุกอย่างเพียงแต่ตัดตรานันยางที่เป็นรูปช้างดาวออกและเอา ยี่ห้อเขาใส่ไปแทน นอกนั้นไม่ว่าจะเป็นพื้นเขียวที่เราเรียกว่าลายก้างปลาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ นันยาง ได้ถูกเลียนแบบรวมถึงทรงหน้าผ้าทุกอย่างจะเหมือนกันหมด ซึ่งเราก็ประสบปัญหาพอสมควรเพราะผู้บริโภคที่เคยใช้นันยางมาก่อนจะรู้ว่า สินค้าของเราคุณภาพเหนือกว่าคู่แข่ง ซึ่งหากย้อนหลังไป 10 ปี รองเท้านักเรียนกลายเป็นเหมือนนันยางหมดเลยคือพื้นเขียว ถ้าคนที่ไม่อยู่ในวงการก็จะนึกว่าคนใส่นันยางกันหมด แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ ซึ่งผู้ประกอบการหลายๆ รายคงเห็นว่ารองเท้าเราขายดี รูปทรงนี้คนชอบ ผู้ประกอบการที่เคยทำรูปทรงอื่นมาไม่ว่าจะโฆษณาเยอะยังไงก็ไม่ติด แต่พอทำรูปทรงคล้ายนันยางไม่ต้องโฆษณารองเท้าก็ติดตลาด ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายมากสำหรับนันยางว่า ถ้ารองเท้าหน้าตาเหมือนกันแล้วเราจะสื่อสารกับผู้บริโภคอย่างไรว่าจริงๆ แล้วหน้าตาเหมือนกันแต่คุณลักษณะเด่นหรือคุณสมบัติต่างๆ ไม่เหมือนกันเลย ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบหรืออะไร ซึ่งเราก็พยายามสื่อสารว่าคุณภาพของเราใช้ยางธรรมชาติ 100% จะมีคุณสมบัติยืดหยุ่น ทน ไม่ลื่นถ้าเดินจะมีเสียงเอี๊ยดๆ คุณภาพเราดีและเหนือกว่าคู่แข่งอยู่แล้ว แต่ก็อธิบายยาก ซึ่งหน้าที่ของการตลาดเราก็ต้องพยายามสื่อสารไปถึงผู้บริโภคว่าใส่นันยาง เป็นมากกว่ารองเท้า คุณใส่แล้วจะมีความรู้สึกร่วมหรือมีความเป็นชาวนันยาง นันยางมีเรื่องราวเพราะใส่กันมาตั้งแต่รุ่นพ่อ รุ่นพี่ จนกระทั่งปัจจุบันนี้เราใช้ว่าทุกก้าวคือตำนาน คือเป็นรองเท้าในตำนานที่คุณใส่ เพราะตอนนี้คุณยังไม่เป็นตำนานแต่วันหนึ่งที่คุณเป็นตำนาน นันยางก็จะเป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งของคุณ เราก็ใส่เรื่องราวต่างๆ เข้าไป ซึ่งจะแตกต่างจากรองเท้าทั่วไปที่เป็นรองเท้านักเรียน


แก้ปัญหายางแพงด้วยสติ


ปัญหา ราคายางพาราที่เพิ่มสูงขึ้น แน่นอนว่าทำให้ต้นทุนสูงขึ้น เพราะราคายางมีผลต่อราคารองเท้าของเราโดยตรงแต่เราสามารถขยับราคารองเท้า เพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย ไม่สามารถขึ้นได้เหมือนกับราคายางที่สูงขึ้นแต่เราก็อาศัยการป้องกันความ เสี่ยง บางส่วนเราก็จะมีการซื้อขายยางล่วงหน้า ซื้อฟิวเจอร์เพื่อล็อกราคาไว้เป็นราคาต้นทุนที่เรายอมรับได้ และเราก็สร้างสต๊อกเก็บยางเพิ่มขึ้น ในกรณีที่ยางราคาผันผวนหรือสูงขึ้นไปมากเราก็มียางที่พอใช้อยู่ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้าที่จะคอยส่งสัญญาณราคายางกัน อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราจะป้องกันความเสี่ยงเรื่องราคายางที่ผันผวนได้ ซึ่งเราจะซื้อยางแพงก็ไม่เป็นไรแต่ขอให้เราควบคุมต้นทุนของเราได้ เพราะถ้าเราซื้อยางแพงและทำให้เราต้องปรับราคาบ่อยๆ ก็ไม่ดี อย่างช่วงประมาณ 2 ปีที่แล้วที่ราคายางขึ้นไป 190-200 บาทต่อกิโลกรัม ช่วงนั้นเราต้องยอมขาดทุนเพราะเราไม่อยากขึ้นราคาและถ้าเราไม่ทำก็ไม่ได้ เพราะเรามีคนงานพันกว่าคนที่ต้องดูแล ในขณะเดียวกันก็มีสินค้าลักษณะเราในตลาด เราจึงต้องพยายามรักษาส่วนแบ่งการตลาดของเราเอาไว้


การบริหารคนขององค์กร


เรา พูดได้เลยว่าเรารักพนักงานเหมือนคนในครอบครัว เพราะที่โรงงานมีพนักงานตั้งแต่เปิดบริษัทจนถึงขณะนี้ก็ยังอยู่กับเราเป็น ที่ปรึกษาหรือบางคนก็เป็นหัวหน้าแผนก พนักงานบางคนอายุ 60 กว่า 70 กว่า เราก็ยังไม่ปลดเพราะมันเป็นนโยบายตั้งแต่คุณย่า คุณบุญทรง ซอโสตถิกุล ที่ว่าพนักงานเก่าๆ จะมีความจงรักภักดีต่อบริษัทสูงมากและเขาจะทุ่มเททำงานมาก และการบริหารคนต้องมีความซื่อสัตย์และมีคุณธรรม อย่างความซื่อสัตย์ในเชิงของผู้บริหารก็ต้องซื่อสัตย์กับพนักงาน เราไม่เคยไล่คนออกเลยไม่ว่าจะยุคไหน การเมืองไม่นิ่ง เศรษฐกิจล้ม ราคายางพุ่ง ค่าแรง เราจะคำนึงถึงคนงานมากที่สุด อย่างที่บอกตอนราคายางสูงเราขาดทุนทุกคู่เราก็ต้องผลิต เพราะผู้ใหญ่จะบอกเสมอว่าถ้าเราไม่ผลิตคนงานเราก็จะไม่มีงานทำ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราเลี้ยงดูเหมือนลูกหลาน เพราะฉะนั้นความซื่อสัตย์ของเราคือการซื่อสัตย์ต่อพนักงานและผู้บริโภค คือไม่ว่าราคายางจะสูงขึ้นอย่างไร แต่คุณภาพเราก็จะยังเหมือนเดิม เพราะเราคิดว่าคุณภาพเป็นสิ่งที่ทำให้นันยางอยู่มาได้ถึง 60 ปี แต่ถ้าผู้บริโภคสูญเสียความมั่นใจในคุณภาพของเราแล้วมันยากที่จะทำให้เขา กลับมาไว้ใจเราอีก

ภาพรวมตลาดรองเท้าเป็นอย่างไรบ้าง


รองเท้า นักเรียนตลาดน่าจะประมาณ 3,000 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดเราน่าจะเบอร์ 1 ประมาณ 40-50% สภาพตลาด ณ ตอนนี้ไม่โตเพราะอัตราการเกิดของประชากรลดลง ตลาดต้องแย่งลูกค้าเพราะจะมีเด็ก ม.6 จบไปเรื่อยๆและก็มีเด็ก ม.1 เข้ามาเรื่อยๆ ก็จะมีลูกค้าเก่าที่หายไปเราก็ต้องสร้างลูกค้าใหม่ที่เข้ามาเรื่อยๆ อันนี้คือที่ผู้ประกอบการทุกคนในตลาดต้องแข่งขันกัน ซึ่งช่วง Back to School ประมาณ เดือน 4-5 ก็จะเห็นโฆษณาในทีวี รองเท้านักเรียนเยอะมาก


นิยามความเป็นนันยางที่เป็นตัวตนของนันยาง


นัน ยางจะพูดถึงความเก๋า ความเป็นตำนาน ทุกก้าวของเราจะเป็นตำนานและพูดถึงคุณภาพเราจะมาเป็นที่ 1 และหากพูดถึงความทน ความใส่สบาย ปลอดภัยในการสวมใส่ และถ้าพูดถึงความเป็นมโนธรรม คือเราเหมือนกับเป็นตำนานของรองเท้าผ้าใบ ทุกก้าวของเราคือตำนานและความเก๋าต่างๆ รวมๆ กัน และอยู่ได้ทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่รุ่นแรกๆ จนถึงรุ่นปัจจุบัน และเราก็หวังว่าจะคงอยู่ได้ต่อไป เพราะเราไม่ใช่แค่รองเท้า เด็กๆ ทุกคนจะรู้ว่าต่อให้คุณใส่เหมือนกันแต่มันไม่เหมือน เวลาคุณใส่นันยางกับใส่ยี่ห้ออื่นความเป็นตำนานตั้งแต่รุ่นพ่อ รุ่นเรา จนกระทั่งรุ่นลูกนันยางก็ยังจะอยู่เป็นตำนานคู่เท้าของเขาตลอด ซึ่งอันนี้เป็นความท้าทายอันหนึ่งว่าเราจะทำอย่างไรให้รุ่นลูกเราก็ยังใส่ นันยาง



ฝากถึงผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์


คิด ว่าผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์หลายๆ คนก็คงเคยผ่านประสบการณ์การใส่รองเท้านันยางมาก่อน ก็ขอขอบคุณที่สนับสนุนรองเท้านันยาง เพราะนันยางก็เป็นแบรนด์ของคนไทยและผลิตจากยางธรรมชาติซึ่งก็คือของคนไทยเรา ก็จะช่วยส่งเสริมสินค้าไทยและช่วยส่งเสริมผู้ผลิตยางก็ได้ตรงนี้ด้วย อยากจะฝากให้ช่วยกันใช้สินค้าไทย สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยลองก็อยากให้มาลองใส่นันยางดู ของเราแตกต่างจากยี่ห้ออื่นจริงๆ และอยากฝากเฟซบุ๊กนันยาง http://www.facebook.com/Nanyang.co.th ให้ผู้อ่านที่เป็นวัยทำงานเข้าไปย้อนยุคกลับสู่วัยเด็กอีกครั้ง เพราะในเฟซบุ๊กก็มีคนไม่น้อยที่เป็นตาเป็นยาย ส่วนถ้าเป็นเด็กๆ ก็อยากให้ลองเข้าไปดูว่าจะสนุกขนาดไหน

ประมวลรูปรองเท้านันยาง








ชัยพัชร์ ซอโสตถิกุล

จักรพล จันทวิมล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น