ads head

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

6 ขั้นตอนสู่การเป็นผู้มีเงินใช้ไม่ขัดสน

6 ขั้นตอนสู่การเป็นผู้มีเงินใช้ไม่ขัดสน

ที่มา http://www.pattanakit.net
ปี ใหม่ 2555 ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วนะคะ  และคนส่วนใหญ่กลับมาจากการไปท่องเที่ยวหรือพักผ่อนประจำปีทำงานตามปกติ ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็คงคาดหวังว่าชีวิตในปีใหม่นี้จะดีกว่าปีที่ผ่านมา พรที่ทุกคนต้องการก็คงจะมีอยู่สองประการหลัก ๆ คือ

 (1) จะทำอย่างไรคนเราจึงจะมีชีวิตสุขสบาย ไม่ขัดสน ไม่เดือดร้อนเงินทอง หรือพูดง่าย ๆ ว่าอยากจะร่ำรวย และ

 (2) คงต้องการให้มีสุขภาพที่แข็งแรง 

     ดัง นั้น ในวันนี้จึงขอนำเอา 6 ขั้นตอนสู่การเป็นผู้มีเงินใช้อย่างสบาย ๆ ซึ่งคัดลอกมาจากหนังสือเกร็ดการออมของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มาฝากให้กับผู้อ่านไปใช้นะคะ สำหรับ 6 ขั้นตอนง่าย ๆ ก็คือ
  
ขั้นแรก คือต้องมีเงินออมประมาณ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำเดือน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเวลาที่ต้องการใช้เงินฉุกเฉิน
  
ขั้นที่สอง จ่ายหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยแพงที่สุด และหนี้สินที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตเสียก่อน

ขั้นที่สาม ทำประกันชีวิต เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กับตัวเองและครอบครัว

ขั้นที่สี่ ออมทรัพย์กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่าง ๆ รวมถึงกองทุนรวมระยะยาว

ขั้นตอนที่ห้า ทำประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ
ขั้นตอนที่หก นำเงินที่เหลือจาก 5 ขั้นแรกและค่าใช้จ่ายประจำไปลงทุนเพิ่มทำให้เงินงอกเงยเพิ่มขึ้น
     การ กันเงินไว้สำหรับเพื่อกรณีฉุกเฉิน ก็คือเงินออมส่วนที่เรากันเอาไว้สำหรับ การใช้จ่ายกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย การซ่อมแซมรถยนต์หรือบ้านเรือน และเครื่องใช้ต่าง ๆ หากเสียหายและชำรุดเกิดขึ้น 

     การ เก็บเงินเพื่อการฉุกเฉินนั้น จากที่ได้มีการศึกษาไว้พบว่า จำนวนขั้นต่ำที่ควรเก็บไว้คือที่ประมาณ 6 เท่าของรายจ่ายประจำเดือน  ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีค่าใช้จ่ายประจำรายเดือนอยู่ประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน ก็ควรกันเงินในส่วนนี้อยู่ประมาณ 60,000 บาท

     การ จ่ายหนี้สินที่มีดอกเบี้ยที่แพงที่สุดออกไปเสียก่อน หมายถึงการบริหารหนี้สินของตนเองให้มีประสิทธิภาพ หนี้นอกระบบหรือหนี้บัตรเครดิตการ์ดหรือสินเชื่อสินค้าส่วนใหญ่จะเก็บใน อัตราดอกเบี้ยที่สูงรวมทั้งมีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการติดตามหรือบริหารหนี้ค่อนข้างมาก 

นอกจากนั้นเราจะเห็นได้ว่าวิธีหนึ่งที่สร้างหลักประกันสำหรับความต้องการใช้เงินในยามจำเป็นฉุกเฉินคือการประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และ ประกันอุบัติเหตุตามข้อที่สี่และห้านั้น ก็ เป็นการสร้างเกราะป้องกันตนเองและครอบครัวจากค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ในกรณีเกิด อุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วยจากโรคร้ายแรงซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันกับตัวคุณเองหรือ สมาชิกในครอบครัวได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องใช้เงินค่ารักษาพยาบาลค่อนข้าง สูง อย่างที่เคยมีผู้กล่าวว่า เงินออมมาตลอดชีวิตหรือค่ารักษาพยาบาลตลอดชีวิตยังน้อยกว่าค่ารักษาพยาบาล จากโรคร้ายแรงในช่วง 3 เดือน 6 เดือนสุดท้ายของชีวิต 

 ถ้า หากท่านปฏิบัติตาม 6 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น ท่านก็จะมีความมั่นคงในชีวิต ที่ไม่ต้องเดือดร้อนต้องไปขอกู้หนี้สินหรือพึ่งพาผู้อื่น คนที่ทำงานทุกคนจึงต้องมีการจัดสรรการใช้จ่าย การออม และการลงทุนอย่างรอบคอบและมีวินัย

 ก็ คงตรวจสอบตัวเองว่าได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนนี้แล้วหรือยัง  ถ้าหากยังก็ควรที่จะเริ่มเก็บออมเสียตั้งแต่วันนี้ ซึ่งก็มีวิธีการตรวจสอบตนเองอย่างง่ายว่ามีเงินออมเพียงพอหรือยัง ดังนี้

 เงินออมที่ควรมีในปัจจุบัน = (1/10) x อายุ x รายได้ทั้งปี

 ตัวอย่าง เช่น หากเป็นคนโสดมีอายุ 30 ปี ทำงานมีเงินเดือน เดือนละ 15,000 บาทรายได้ทั้งปีเท่ากับ 180,000 บาท ดังนั้นจึงควรมีเงินออมเท่ากับ 1/10x 30 x 180,000 = 540,000 บาท ซึ่งเงินออมนี้ก็อาจรวมถึงทรัพย์สินสุทธิที่มีอยู่ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ หรืออื่น ๆ เป็นต้น

 ถ้าหากเงินออมที่มีอยู่ยังต่ำกว่าเกณฑ์ข้างต้น แสดงว่าสุขภาพการเงินของท่านยังไม่แข็งแรงจึงควรออมเพิ่มขึ้นนะคะ.

ที่มา : คอลัมภ์เข็มทิศเงินทุน นสพ.เดลินิวส์  วันเสาร์ที่ 7 มกราคม 2555


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น