ads head

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

ทำไม คนมีมุทิตา ถึงชนะอารมณ์ตลาดหุ้นได้... ที่มา

ทำไม คนมีมุทิตา ถึงชนะอารมณ์ตลาดหุ้นได้...

ที่มาhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kunjoja&month
เคยเป็นไหม... ขายหมู ซื้อหมา ...
-set บวกกระจุย แต่หุ้นเรานิ่งไม่ขึ้น หุ้นเพื่อนๆขึ้นกันถ้วนหน้า แต่หุ้นเราวางเฉย 555
-เห็นหุ้นคนอื่นบวกเรื่อย หน้ามืดตามัว เผลอขายหุ้นนิ่งของเรา ไปเข้าหุ้นของเค้า.
-พอซื้อหุ้นเค้า หุ้นเค้าก็นิ่ง แต่หุ้นที่เรามีขายไปแล้ว ดันขึ้นแทน
-โชคร้ายซ้ำอีก กลับตาลปัตร หุ้นที่ขึ้นๆที่เราเผลอซื้อ ดันลงสะ (อยู่เฉยๆก็ดีอยู่แล้ว ..)
...


สิ่งที่นำมาช่วยให้เราไม่ขายหมู ซื้อหมา ก็คือ
หลักธรรมพื้นฐานที่รู้จักกันดี แต่ไม่ค่อยสนใจกันเท่าไรนัก...

พรหมวิหารสี่ ...
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ปล. ขอเขียนในทางปฎิบัติ ไม่เขียนแนวธรรมตรงๆนะครับ
....

ข้อที่สำคัญที่ทำให้ไม่ไปตามอารมณ์ของตลาดหุ้นก็คือ.

มุทิตา คือพลอยยินดีปรีดากับผู้ที่มีความสุข

ยินดี (ไม่ต้องถึงกับดีใจก็ได้ เราไม่ได้ใจเป็นพระสะหน่อย .... หุ้นตัวเองไม่ขึ้น แต่เห็นคนอื่นขึ้นกัน )
จุดหลักของคำว่ายินดี คือ ต้องละ คำว่า อิจฉาริษยา ให้ได้ เพราะส่วนใหญ่ ปากก็บอกว่า ดีใจด้วยๆ แต่ในใจไม่ได้คิดเช่นนั้น
เมือไร เราใช้ปากบอกว่า ดีใจด้วย แต่ใจเราไม่คิดเช่นนั้น กลับมาคิดอิจฉาเค้าที่หุ้นขึ้น
เมื่อนั้น เราก็ไม่มีมุทิตาแล้วล่ะ...


ทางโลก บอกว่า ยากนักสำหรับคนที่คิดมุทิตาจริงๆ ( ก็จริงที่เขียน ดีใจด้วยนะ รวยแล้วๆ แต่ใจเราฝ่อห่อเหี่ยวมองหุ้นตัวเอง พอร์ทแดงสะขนาดนี้ ทำไมเราดวงไม่ดี..ทำไมเค้าถึงดวงดีกว่าเรา )
แต่ทางธรรมบอกว่า ทำได้ไม่ยากนัก

---- ลองฝึก อุเบกขาให้คล่อง แล้ว ใจมุทิตาจะกำเนิด...----

แล้ว เจ้า อุเบกขานั้น ไซร์ จะฝึกอย่างไร สำหรับใจปุถุชน เช่นเรา .......
ก็มาถึงคราว อุเบกขา คือการวางเฉย

มองหุ้นตัวเองแล้วนิ่งเฉย นั้นคงเป็นพระอินทร์พระปูน
มีเคล็ดง่ายๆแค่ เมือเรามองแล้วเห็น ก็อย่ามอง มันก็ไม่เห็น ...5555
ไม่รู้เข้าใจไหม ...
สิ่งแรก สำหรับคนที่เห็นหุ้นตัวเองแล้ว ใจหวั่นไหวง่ายๆ ก็อย่าไปเห็นหุ้นตัวเองบ่อยๆ
ง่ายแต่ยากชะมัด...

แต่บางคนก็บอกว่า มองแล้วไม่เห็น ทำได้ไหม ก็ขอตอบว่า ทำได้ครับ มองแล้ว ไม่รู้สึกอะไร เหมือนอากาศ นั่นคือ ของแท้ของอุเบกขา เลยล่ะ ..
แต่พวกเรา ก็ขอแค่ ไม่มอง ไม่เห็น ก็พอก่อน แล้วกัน ขอเริ่มต้นก่อน (ใครเก่งกว่า ก็มองไป ไม่ว่ากัน )

แต่นี่คือจุดหลักของการฝึก ถ้าทำได้ ใจเราเริ่มเดินทางไปสู่ เส้นทาง อุเบกขาได้บ้างแล้ว

ยังไม่หมด สำหรับเคล็ดของอุเบกขา ถ้าแปลว่า วางเฉย เฉยๆ นั้นผิดแระ
เพราะเต็มๆก็คือ
วางเฉยด้วยปัญญา

แปลว่าไร.....
ผมขอใช้คำคมที่ฮิตๆ ในตลาดหุ้น มาใช้ ก็คือ เมือเราซื้อหุ้นด้วยเหตุผลอะไร ก็ต้องขายด้วยเหตุผลนั้น
แต่ให้ลึกซึ้งคือ เราวางเป้าหมายของการซื้อหุ้นตัวนี้ไว้อย่างไร ก็จงพิจารณาขายหุ้นตัวนั้น ด้วยปัญญาของเรา ( แต่ส่วนใหญ่เรามักใช้ปัญญาเราซื้อแต่ เราขายด้วยปัญญาคนอื่น )


ดัง นั้น ถ้าเราซื้อหุ้นด้วยเป้าหมายจะรับปันผล เรามั่นใจในตัวธุรกิจนั้นว่าจะมีการเติบโตที่ดี รอผลประกอบการไตรมาสถัดไป ....หรือเหตุผลอื่นๆใดๆ
ก็จงใช้เป้าหมายเดิมนั้นแระ ในการขายหุ้นตัวนั้น
ถ้ากลัวลืม ก็จดไว้ในสมุดว่าหุ้นตัวนี้ ต้องการเป้าหมายอะไร .......แล้วติดไว้ให้เราเห็นชัดๆ ...

แค่นี้ ก็พอเข้าทางของประโยคที่ว่า ... วางเฉยด้วยปัญญา

ได้แระ อุเบกขา ..
...
ยังไม่จบ แม้ได้อุเบกขา มาเป็นอาวุธเสริมให้มุทิตา
แต่มุทิตา นั้นยากแท้ อุเบกขา ก็ต้องพ่ายแพ้ได้...
แล้ว อุเบกขา นำให้เกิดมุทิตาอย่างไร...

อุเบกขาคืออาวุธ ทะลวงใจเรา ให้เรา รู้สึกมีมุทิตาต่อตนเอง
…..

และสุดยอดคัมภีร์ ก็มาถึงแล้ว....


keyword ของมุทิตา คือ จะยินดีกับคนอื่น ก็จงยินดีกับตนเองให้ได้เสียก่อน

หัด นิสัยมองดูตนเองให้มากๆ อย่าเปรียบเทียบแต่กับคนที่ดีกว่าเรา คนที่มีลาภ ยศ สรรเสริญ สุข น้อยกว่าเรา ก็มีมาก พลเมืองในโลกกี่พันล้านคนที่เป็นคนยากจน ที่ไม่เคยมีข้าวกินอิ่ม คนที่อยู่ในสังคมที่ไม่สงบ อยู่ท่ามกลางสงคราม ป่วยเป็นโรค ติดยาเสพติด มีปัญหาในชีวิตมากมาย
มองดูตนเอง จะเห็นว่าเรามีโอกาสดีกว่าอีกหลายๆ คน อย่างน้อยก็ให้เกิดสันโดษขึ้นในจิตใจ ยินดีในสิ่งที่ได้ พอใจในสิ่งที่มีอยู่
ตัวอย่างเช่น....
หุ้นของเรากำไรนิดเดียว แต่ก็ยังกำไร ดีกว่า ฝากเงินในธนาคาร
ดีกว่า การเอาเงินไปลงทุนเช่าร้าน เผลอๆอาจจะขาดทุนหนักกว่าหุ้นของเรา
คิดบวก คิดเหตุผลต่างๆให้จิตใจเรา ว่า เราโชคดีเพียงใดที่เรามีหุ้นตัวนี้ ....ถ้าเราจะซื้อตัวอื่น เราอาจจะไม่ได้เท่านี้ เป็นต้น
....

ดัง นั้น เมื่อเรารู้สึกยินดีกับตัวเองได้ เราก็พร้อมที่จะฝึก ยินดีกับคนอื่นได้เช่นกัน (พูดภาษาคนทางโลกคือ เมือเราไม่รู้สึกว่าตัวเองแย่ ก็จะไม่ได้ไปอิจฉาคนอื่นที่ได้ดีกว่าเรา นั่นเอง ) ....

และ เมตตากรุณาล่ะ แท้แล้ว เมือใจเรามีมุทิตา ก็จะบังเกิด เมตตาและกรุณา มาพร้อมกันได้ เช่นกัน

มุทิตาธรรมที่สมบูรณ์ จึงต้องประกอบด้วยคุณธรรมของความเมตตาและกรุณาอยู่ในตัวนั่นเอง

ท้ายสุด เราได้มุทิตา เราก็จะได้ พรหมวิหารสี่ มาอยู่ในใจเช่นกัน...

ขอจบ เพียงแค่นี้ ไว้โอกาสหน้าจะมาเขียนใหม่ ....




Create Date : 14 มิถุนายน 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น