VI (Value Investor) ถูกรุมสวด
ในช่วงเวลาเร็วๆ นี้ หลายๆ ท่านอาจจะได้อ่านข้อความต่างๆ ในเว็บบอร์ด
ที่บอกว่ามีนักลงทุนที่เรียกว่า VI หรือ Value Investor
ได้เข้ามาซื้อหุ้นที่ราคาถูกแล้วเทขายทำกำไรออกไป (หรือแม้แต่อาจจะไม่ขาย
แต่หุ้นก็ไม่ได้ขึ้นต่อ ผู้ที่ซื้อทีหลังที่ราคาแพงกว่าก็ไม่ได้อะไร
ปะปนกับการติดหุ้นที่ราคาสูง) หลายๆ คนอาจจะเข้ามาบ่นในเว็บบอร์ดก็มาก
บางทีบ่นไปถึงกับเรื่องของการทำราคาหุ้นให้สูงขึ้นมากๆ
(ก็เรียกว่าปั่นหุ้นนั่นแหละครับ เพียงแต่พูดให้เพราะหน่อยเท่านั้นเอง)
ซึ่งก็ไม่ทราบความจริงว่าเป็นอย่างไร
เรื่องนี้ก็อดไม่ได้ที่ผมจะเข้ามาเล่าสิ่งที่เป็นพื้นฐานของการลงทุนกันอีก
ครั้งหนึ่ง อันว่าด้วยเรื่องการทำราคา
การลงทุน เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลจะต้องตัดสินใจเองนะครับ การที่ใครจะปลุกหุ้นไหนมาเล่นมาทำราคา มาเรียกแขก มันก็จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า story (เคยได้ยินไหมครับที่บอกว่า Fact tells. Story sells.) ฉันใดก็ฉันนั้นแหละครับ การปลุกหุ้นมาเล่น ก็ต้องอาศัยเรื่องราวต่างๆ ว่าหุ้นตัวนี้จะมีผลประกอบการอย่างนี้ หุ้นตัวนั้นจะมีผลประกอบการอย่างโน้น ไม่อย่างนั้นก็จะไม่มีใครมาหลงเชื่อ ยอมซื้อต่อที่ราคาสูงมากๆ ได้
ส่วนมากหุ้นที่ปลุกกันขึ้นมาเล่นนั้น มักจะมีขนาดเล็ก ผลประกอบการเรื่อยๆ เปื่อยๆ ไม่ดีนัก พื้นฐานก็งั้นๆ ไม่ดี ไม่มีชื่อเสียง ไม่ใช่กิจการผูกขาดหรือผู้ค้าน้อยราย และมักจะจ่ายปันผลไม่มากนัก จ่ายบ้างไม่จ่ายบ้าง หรือไม่จ่ายเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากไม่มีปัญญาจะจ่าย (การจะจ่ายเงินปันผลได้ บริษัทจะต้องมีกำไรเป็นตัวเงินสด กำไรในรูปแบบอื่นนั้นไม่ใช่เงินสดก็ไม่สามารถจ่ายปันผลออกมาได้ ยกเว้นบางบริษัทที่กู้เงินมาจ่ายปันผลก็มี)
จากนั้น ก็เริ่มด้วยการออกข่าวร้ายเพื่อเก็บหุ้น อาจจะประโคมข่าวซ้ำเติมข่าวผลประกอบการที่ก็มักจะแย่อยู่แล้ว (บางที บริษัทที่ดีๆ ก็ยังโดนด้วยก็มี กรณีแบบนี้ต้องเล่นกันเป็นทีม) รวมทั้งเทขายทุบหุ้นลงมาก่อนเพื่อเก็บของ จากนั้นเมื่อได้หุ้นในมือครบแล้ว ก็เริ่มเล่นปาหี่เรียกแขก สร้างโวลลุ่มและฐานราคา พอได้ที่ก็เริ่มแกล้งปล่อยข่าวความคาดหวังของผลประกอบการว่าน่าจะเป็นอย่าง นั้น อย่างนี้ (นี่ถ้าไม่ตกลงกับ ผบห. หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ไว้ก่อน ก็อาจจะผิดคิวกันได้) ทำให้รายย่อยต่างๆ ที่ไม่ได้พิจารณาให้ดี เข้าไปซื้อหุ้น เมื่อถูกสร้างราคาขึ้นสูงมากแล้ว เรียกว่าเขาทำราคามารอไว้เรียบร้อยแล้ว การที่นักลงทุนที่ไม่ได้พิจารณาพื้นฐานและมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นได้เข้าไป ซื้อที่ราคาที่สูงมามากแล้วเมื่อเทียบกับต้นทุนของผู้ที่เก็บไปก่อน ทำให้เขาเหล่านั้นสามารถขายได้ทุกราคา ยังไงก็กำไร
เมื่อหุ้นราคาลดลง ก็จะเริ่มลากราคาโชว์รายย่อย ให้เข้าไปรับของอีกรอบหนึ่ง (ตอนลากราคาตอนหลังนี่ก็ไม่ได้ลำบากอะไร เพราะรายย่อยส่วนมากติดดอยอยู่ ซึ่งมักจะมีแนวโน้มที่จะไม่ขายราคาขาดทุน จึงไม่ต้องใช้เงินมากนัก) เมื่อนักลงทุนประสบการณ์น้อย (อาจจะเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง)เข้าไปรับของจนหมดจากเจ้ามือ คราวนี้ก็เหลือแต่นักลงทุนรายย่อยผู้ไร้ประสบการณ์ถือหุันนั้นเอาไว้ที่ราคา สูง ผลประกอบการของบริษัทก็งั้นๆ บางที P/E สูงกว่า 30 หรือแย่กว่านั้นก็เป็นหุ้นของบริษัทที่ขาดทุน ไม่สามารถจ่ายปันผลได้ (เลยไม่สามารถประเมินค่าของ P/E ได้)
กลับข้างกันกับนักลงทุนแนวประเมินคุณค่าของบริษัทก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน นักลงทุนเหล่านี้จะดูพื้นฐานของบริษัท ทั้งที่เป็นตัวเลขผลประกอบการ (ดูงบการเงินต่างๆ) และที่ไม่ได้อยู่ในรูปของตัวเลข (คือดูว่า ใครเป็นเจ้าของ ผลิตอะไรขายให้ใคร ลูกค้ามากหรือน้อย ของที่ผลิตมีชื่อยี่ห้อ หรือการผูกขาดใดๆ หรือไม่ ฯลฯ) เมื่อประเมินแล้วว่าบรษัทนี้ทั้งบริษัทควรจะมีราคาเท่าไร แล้วไปเปรียบเทียบกับราคาของบริษัทนี้ที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ถ้าราคาที่ขายนั้นถูกมากก็สามารถที่จะพิจารณาซื้อไว้ได้ แต่หากราคาแพงเกินกว่าที่ได้คำนวณไว้ก่อนล่วงหน้า นักลงทุนแนว VI ก็คงไม่สนใจนักในการเข้าไปลงทุนซื้อหุ้นนั้น
การเป็นนักลงทุนประเภทใดก็ตาม ไม่ได้ยากหรือง่ายไปกว่ากันสักเท่าไร เพียงแต่ว่าแต่ละชนิดหรือประเภท (แม้แต่ที่เป็นแบบลูกผสมก็ตาม) ก็มีเทคนิคจำเพาะตัว มีข้อจำกัดในการที่จะต้องเอาใจใส่หุ้นนั้นมากน้อยต่างกันไป นักเก็งกำไรอาจจะมีโอกาสให้ได้ซื้อหรือขายหุ้นเพื่อให้ได้กำไรได้ถี่กว่า ในขณะที่ต้องเฝ้าหุ้น เฝ้าราคา เฝ้าติดตามตลาดหุ้นทั่วโลกและข่าวสารต่างๆ มาก ในขณะที่นักลงทุนแนวเน้นคุณค่า จะมองดูราคาหุ้น และเฝ้ารอจนได้จังหวะดีจริงๆ จึงทำการซื้อครั้งหนึ่งโดยที่เมื่อซื้อแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องคอยเฝ้าราคาหุ้นมากมายนัก แต่ปล่อยให้บริษัทของตัวเองดำเนินกิจการไปตามปกติ จากนั้นนานๆ ทีหนึ่งจึงดูราคาและผลประกอบการสักครั้งหนึ่ง โดยสิ่งที่นักลงทุนแบบเน้นมูลค่าของกิจการจะสนใจก็คือ พื้นฐานและความสามารถในการทำกำไรอย่างสม่ำเสมอของบริษัทตัวเองในระยะยาว มากกว่าการกระเพื่อมเปลี่ยนไปมาของราคาหุ้นในระยะสั้น(เนื่องจากว่า ในระยะสั้นนั้น อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้กับราคาของหุ้นหนึ่งๆ เพราะเกิดจากความโลภ ความอยาก ความกลัว ผสมกันไป ในขณะที่ราคาของหุ้นในระยะยาวนั้นจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทเสมอ)
VI จริง จะซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานของมัน และจะต้องบอกให้ได้ (ด้วยตัวเอง) ว่ามูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นนั้น ต้องเป็นราคาเท่าไร และทำไม จึงเป็นราคานั้น รวมทั้งมีปัจจัยความเสี่ยงอะไรของบริษัทบ้าง เมื่อซื้อหุ้นมาแล้ว ถึงตรงไหนที่เมื่อปัจจัยพื้นฐานได้เปลี่ยนไป แล้วนักลงทุนแบบ VI จึงต้องตัดสินใจขาย (ไม่ว่าจะขาดทุนหรือกำไรก็ตามที - แต่ถ้าได้กำไรย่อมดีกว่าจริงไหมครับ) ไม่ใช่ว่า เป็นกลุ่มคนที่ออกมาแล้วบอกว่า หุ้นตัวนี้ VI ซื้อไว้อย่างนั้นอย่างนี้อย่างลอยๆ แบบนั้นก็ไม่ไหวนะครับ
เท่าที่ลงทุนมาในระยะเวลาหลายปี ผ่านวิกฤติต่างๆ มามาก ผมยากบอกตามตรงว่า หุ้นของหลายๆ บริษัท ที่บอกกันว่า นักลงทุนแบบ VI เข้าไปซื้ออย่างนั้นอย่างนี้ ยังไม่เข้าสายตาของผมเลยก็มีมาก (นั่นคือ VI จริงๆ อาจจะไม่ได้เข้าไปซื้อหรอก) สุดท้ายแม้หุ้นจะสะบัดราคาขึ้นไปบ้าง แต่ในที่สุดก็ต้องปรับราคาลงมาอยู่ดี เนื่องจากผลประกอบการที่ไม่ได้สอดคล้องกับคำว่า "ราคาถูก" ของหุ้นนั้นๆ
การลงทุน เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลจะต้องตัดสินใจเองนะครับ การที่ใครจะปลุกหุ้นไหนมาเล่นมาทำราคา มาเรียกแขก มันก็จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า story (เคยได้ยินไหมครับที่บอกว่า Fact tells. Story sells.) ฉันใดก็ฉันนั้นแหละครับ การปลุกหุ้นมาเล่น ก็ต้องอาศัยเรื่องราวต่างๆ ว่าหุ้นตัวนี้จะมีผลประกอบการอย่างนี้ หุ้นตัวนั้นจะมีผลประกอบการอย่างโน้น ไม่อย่างนั้นก็จะไม่มีใครมาหลงเชื่อ ยอมซื้อต่อที่ราคาสูงมากๆ ได้
ส่วนมากหุ้นที่ปลุกกันขึ้นมาเล่นนั้น มักจะมีขนาดเล็ก ผลประกอบการเรื่อยๆ เปื่อยๆ ไม่ดีนัก พื้นฐานก็งั้นๆ ไม่ดี ไม่มีชื่อเสียง ไม่ใช่กิจการผูกขาดหรือผู้ค้าน้อยราย และมักจะจ่ายปันผลไม่มากนัก จ่ายบ้างไม่จ่ายบ้าง หรือไม่จ่ายเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากไม่มีปัญญาจะจ่าย (การจะจ่ายเงินปันผลได้ บริษัทจะต้องมีกำไรเป็นตัวเงินสด กำไรในรูปแบบอื่นนั้นไม่ใช่เงินสดก็ไม่สามารถจ่ายปันผลออกมาได้ ยกเว้นบางบริษัทที่กู้เงินมาจ่ายปันผลก็มี)
จากนั้น ก็เริ่มด้วยการออกข่าวร้ายเพื่อเก็บหุ้น อาจจะประโคมข่าวซ้ำเติมข่าวผลประกอบการที่ก็มักจะแย่อยู่แล้ว (บางที บริษัทที่ดีๆ ก็ยังโดนด้วยก็มี กรณีแบบนี้ต้องเล่นกันเป็นทีม) รวมทั้งเทขายทุบหุ้นลงมาก่อนเพื่อเก็บของ จากนั้นเมื่อได้หุ้นในมือครบแล้ว ก็เริ่มเล่นปาหี่เรียกแขก สร้างโวลลุ่มและฐานราคา พอได้ที่ก็เริ่มแกล้งปล่อยข่าวความคาดหวังของผลประกอบการว่าน่าจะเป็นอย่าง นั้น อย่างนี้ (นี่ถ้าไม่ตกลงกับ ผบห. หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ไว้ก่อน ก็อาจจะผิดคิวกันได้) ทำให้รายย่อยต่างๆ ที่ไม่ได้พิจารณาให้ดี เข้าไปซื้อหุ้น เมื่อถูกสร้างราคาขึ้นสูงมากแล้ว เรียกว่าเขาทำราคามารอไว้เรียบร้อยแล้ว การที่นักลงทุนที่ไม่ได้พิจารณาพื้นฐานและมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นได้เข้าไป ซื้อที่ราคาที่สูงมามากแล้วเมื่อเทียบกับต้นทุนของผู้ที่เก็บไปก่อน ทำให้เขาเหล่านั้นสามารถขายได้ทุกราคา ยังไงก็กำไร
เมื่อหุ้นราคาลดลง ก็จะเริ่มลากราคาโชว์รายย่อย ให้เข้าไปรับของอีกรอบหนึ่ง (ตอนลากราคาตอนหลังนี่ก็ไม่ได้ลำบากอะไร เพราะรายย่อยส่วนมากติดดอยอยู่ ซึ่งมักจะมีแนวโน้มที่จะไม่ขายราคาขาดทุน จึงไม่ต้องใช้เงินมากนัก) เมื่อนักลงทุนประสบการณ์น้อย (อาจจะเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง)เข้าไปรับของจนหมดจากเจ้ามือ คราวนี้ก็เหลือแต่นักลงทุนรายย่อยผู้ไร้ประสบการณ์ถือหุันนั้นเอาไว้ที่ราคา สูง ผลประกอบการของบริษัทก็งั้นๆ บางที P/E สูงกว่า 30 หรือแย่กว่านั้นก็เป็นหุ้นของบริษัทที่ขาดทุน ไม่สามารถจ่ายปันผลได้ (เลยไม่สามารถประเมินค่าของ P/E ได้)
กลับข้างกันกับนักลงทุนแนวประเมินคุณค่าของบริษัทก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน นักลงทุนเหล่านี้จะดูพื้นฐานของบริษัท ทั้งที่เป็นตัวเลขผลประกอบการ (ดูงบการเงินต่างๆ) และที่ไม่ได้อยู่ในรูปของตัวเลข (คือดูว่า ใครเป็นเจ้าของ ผลิตอะไรขายให้ใคร ลูกค้ามากหรือน้อย ของที่ผลิตมีชื่อยี่ห้อ หรือการผูกขาดใดๆ หรือไม่ ฯลฯ) เมื่อประเมินแล้วว่าบรษัทนี้ทั้งบริษัทควรจะมีราคาเท่าไร แล้วไปเปรียบเทียบกับราคาของบริษัทนี้ที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ถ้าราคาที่ขายนั้นถูกมากก็สามารถที่จะพิจารณาซื้อไว้ได้ แต่หากราคาแพงเกินกว่าที่ได้คำนวณไว้ก่อนล่วงหน้า นักลงทุนแนว VI ก็คงไม่สนใจนักในการเข้าไปลงทุนซื้อหุ้นนั้น
การเป็นนักลงทุนประเภทใดก็ตาม ไม่ได้ยากหรือง่ายไปกว่ากันสักเท่าไร เพียงแต่ว่าแต่ละชนิดหรือประเภท (แม้แต่ที่เป็นแบบลูกผสมก็ตาม) ก็มีเทคนิคจำเพาะตัว มีข้อจำกัดในการที่จะต้องเอาใจใส่หุ้นนั้นมากน้อยต่างกันไป นักเก็งกำไรอาจจะมีโอกาสให้ได้ซื้อหรือขายหุ้นเพื่อให้ได้กำไรได้ถี่กว่า ในขณะที่ต้องเฝ้าหุ้น เฝ้าราคา เฝ้าติดตามตลาดหุ้นทั่วโลกและข่าวสารต่างๆ มาก ในขณะที่นักลงทุนแนวเน้นคุณค่า จะมองดูราคาหุ้น และเฝ้ารอจนได้จังหวะดีจริงๆ จึงทำการซื้อครั้งหนึ่งโดยที่เมื่อซื้อแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องคอยเฝ้าราคาหุ้นมากมายนัก แต่ปล่อยให้บริษัทของตัวเองดำเนินกิจการไปตามปกติ จากนั้นนานๆ ทีหนึ่งจึงดูราคาและผลประกอบการสักครั้งหนึ่ง โดยสิ่งที่นักลงทุนแบบเน้นมูลค่าของกิจการจะสนใจก็คือ พื้นฐานและความสามารถในการทำกำไรอย่างสม่ำเสมอของบริษัทตัวเองในระยะยาว มากกว่าการกระเพื่อมเปลี่ยนไปมาของราคาหุ้นในระยะสั้น(เนื่องจากว่า ในระยะสั้นนั้น อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้กับราคาของหุ้นหนึ่งๆ เพราะเกิดจากความโลภ ความอยาก ความกลัว ผสมกันไป ในขณะที่ราคาของหุ้นในระยะยาวนั้นจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทเสมอ)
VI จริง จะซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานของมัน และจะต้องบอกให้ได้ (ด้วยตัวเอง) ว่ามูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นนั้น ต้องเป็นราคาเท่าไร และทำไม จึงเป็นราคานั้น รวมทั้งมีปัจจัยความเสี่ยงอะไรของบริษัทบ้าง เมื่อซื้อหุ้นมาแล้ว ถึงตรงไหนที่เมื่อปัจจัยพื้นฐานได้เปลี่ยนไป แล้วนักลงทุนแบบ VI จึงต้องตัดสินใจขาย (ไม่ว่าจะขาดทุนหรือกำไรก็ตามที - แต่ถ้าได้กำไรย่อมดีกว่าจริงไหมครับ) ไม่ใช่ว่า เป็นกลุ่มคนที่ออกมาแล้วบอกว่า หุ้นตัวนี้ VI ซื้อไว้อย่างนั้นอย่างนี้อย่างลอยๆ แบบนั้นก็ไม่ไหวนะครับ
เท่าที่ลงทุนมาในระยะเวลาหลายปี ผ่านวิกฤติต่างๆ มามาก ผมยากบอกตามตรงว่า หุ้นของหลายๆ บริษัท ที่บอกกันว่า นักลงทุนแบบ VI เข้าไปซื้ออย่างนั้นอย่างนี้ ยังไม่เข้าสายตาของผมเลยก็มีมาก (นั่นคือ VI จริงๆ อาจจะไม่ได้เข้าไปซื้อหรอก) สุดท้ายแม้หุ้นจะสะบัดราคาขึ้นไปบ้าง แต่ในที่สุดก็ต้องปรับราคาลงมาอยู่ดี เนื่องจากผลประกอบการที่ไม่ได้สอดคล้องกับคำว่า "ราคาถูก" ของหุ้นนั้นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น