ads head

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

ข้อคิดในการบริหารหนี้สิน

ข้อคิดในการบริหารหนี้สิน

Filed under บทความ
ที่มา http://www.thaivi.org/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%
 ภาพ http://www.baanmaha.com/community/thread47342.html
ระยะนี้มีข่าว เกี่ยวกับการที่คนไทยมีภาระหนี้เพิ่มขึ้นจนมีความกังวลว่า หากปล่อยให้เป็นอย่างนี้เรื่อยๆ บางคนอาจจะตกอยู่ในสภาวะมีหนี้อย่างถาวร สัปดาห์นี้ดิฉันจึงขอฝากข้อคิดในการบริหารหนี้กับท่านผู้อ่านค่ะ

วิธี ที่ดีที่สุดในการสร้างภูมิคุ้มกันในเรื่องหนี้คือการสร้างความเข้าใจเกี่ยว กับหนี้ให้ประชาชนตระหนักและสามารถประเมินตัวเองได้ว่า มีความสามารถในการก่อหนี้ได้มากน้อยเพียงใด

ประการแรกคือต้องเข้าใจ พลังของดอกเบี้ยทบต้น เราทราบว่าในการออมเงิน ดอกเบี้ยที่ทบต้นนานๆจะทำให้เงินพอกพูนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่สูง

กฎของเลข 72 ไม่ได้ใช้ได้เฉพาะกรณีออมเงินเท่านั้น แต่ยังใช้ได้ในกรณีกู้เงินอีกด้วย เงินที่กู้ยืมมาจะกลายเป็นสองเท่าจะใช้เวลากี่ปี จะคำนวณจากเลข 72 หารด้วยอัตราดอกเบี้ย เช่น กู้เงินมา 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี หากเราไม่ชำระคืนเลย เงินกู้จะกลายเป็น 200,000 บาท ภายในเวลา 72 หารด้วย 10 เท่ากับ 7.2 ปี แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเป็น 20%. เงินกู้จะกลายเป็นสองเท่าภายในเวลาเพียง 72 หารด้วย 20 เท่ากับ 3.6 ปี เท่านั้น

ดังนั้นก่อนที่จะคิดเป็นหนี้ ต้องดูด้วยว่าจำเป็นหรือไม่ ทางเลือกอีกทางหนึ่งที่ผู้มีวินัยเลือกทำกันคือ การออมเงินให้ได้จำนวนที่ต้องการก่อนที่จะซื้อของชิ้นนั้นๆ วิธีนี้ใช้ได้ดีกับของชิ้นที่มีราคาไม่สูงมาก แต่ของราคาสูงที่ไม่แนะนำให้เก็บเงินก่อนซื้อคือบ้าน เพราะกว่าจะเก็บเงินได้ ราคาบ้านก็อาจจะวิ่งขึ้นไปสูง และอาจจะไม่มีโอกาสซื้อ

ประเด็นหนึ่งที่ควรทราบในกรณีซื้อบ้านคือ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะต่ำกว่าสินเชื่อประเภทอื่นๆ ดังนั้นจึงเป็นสินเชื่อที่น่าสนใจมากที่สุดในบรรดาสินเชื่อทั้งหมด

ประเด็น ที่สอง ต้องรู้จักประเมินความสามารถในการชำระคืนของตนเอง ในการคิดจะเป็นหนี้จึงต้องประเมินด้วยว่า เรามีความสามารถในการชำระคืนมากน้อยเพียงใด โดยเกณฑ์ที่ใช้กันส่วนใหญ่คือ 35% ของรายได้ เช่นมีรายได้เดือนละ 30,000 บาท ภาระในการผ่อนชำระที่จะไม่ทำให้ตึงมากเกินไปคือ 10,500 บาทต่อเดือน หรือถ้าจะผ่อนเต็มที่คือ 40% ของรายได้ ซึ่งจะเท่ากับ 12,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ต้องรวมภาระผ่อนหนี้ทุกประเภทนะคะ

ในการผ่อนนั้น ต้องมีการผ่อนส่วนที่เป็นเงินต้นด้วย มิฉะนั้นจะเป็นหนี้ถาวร เช่น หนี้นอกระบบ 20,000 บาท ที่คิดอัตราดอกเบี้ย 10% ต่อเดือน หากผ่อนชำระเดือนละ 2,000บาท เงินที่ผ่อนชำระนั้นจะเป็นการชำระเฉพาะดอกเบี้ยเท่านั้น อย่างนี้ต่อให้ผ่อนไปกี่สิบปี เงินต้นก็ไม่ลดลง เป็นต้น
ประเด็นที่ สาม การมีหนี้ก็เหมือนการกินยา เราควรจะก่อหนี้เมื่อเราไม่สบาย เราไม่กินยาพร่ำเพรื่อฉันใด เราก็ไม่ควรก่อหนี้โดยไม่จำเป็นฉันนั้น เว้นแต่จะเป็นหนี้ไม่มีดอกเบี้ย ดังนั้นจึงไม่ควรหาเรื่องให้ตัวเองป่วย ด้วยการใจอ่อนอยากได้อะไรเกินความสามารถของตัวเองบ่อยๆ ต้องรู้จักพอเพียง อย่าเป็นทาสของกิเลส

หลายคนยึดคติ “ออมก่อนใช้” ไม่ยอมใช้วิธี “ใช้ก่อน ผ่อนทีหลัง” จริงๆแล้วการออมก่อนใช้ทำให้ชีวิตมีเป้าหมาย มีความหวัง แม้จะเป็นเป้าหมายเล็กๆ เช่น เก็บเงินซื้อแทปเล็ต เก็บเงินไปเที่ยว การบรรลุเป้าหมายเล็กๆเหล่านี้จะทำให้เรารู้สึกดี รู้สึกเสมือนไดรับรางวัล ซึ่งเป็นรางวัลจากการออมของเรานั่นเอง
เมื่อ มีเป้าหมายอย่างนี้ ผลพลอยได้ที่จะได้รับคือการเรียนรู้เรื่องการลงทุน เพราะเราต้องเลือกว่าจะเก็บเงินออมในรูปแบบไหน ซึ่งเมื่อทำการลงทุนและบรรลุเป้าหมายในการออมแล้ว เราอาจจะติดใจ กลายเป็นนักลงทุนต่อไปได้

การลงทุนเริ่มได้ด้วยเงินจำนวนไม่มาก การฝากเงินธนาคารเริ่มได้ที่หลักร้อยบาท การลงทุนซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างๆ หากลงทุนต่อเนื่องรายเดือน เริ่มได้ด้วยเงินเพียง 500 บาทเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น