วิธีที่ควรใช้พิจารณาลงทุนยามตลาด (หุ้น) ผันผวน
"โอ้ร่วงอีกแล้ว
ดูสิ ลงไป 13
จุด พวกที่ซื้อไว้เมื่อวานจะทำยังไง" เสียงใสๆ ของเพื่อนร่วมงานสาวสวย (พอประมาณ)
เรียกให้ผมไปดูหน้าจอกระดานหุ้นในบ่ายวันที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ผันผวน
ทำให้ผมอดไม่ได้ต้องลุกไปหาเธอ และพูดคุยกันถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
ตลาดหลักทรัพย์ปิดตลาดด้วยมูลค่าการซื้อขาย หนาแน่นดัชนีเพิ่มขึ้นไป
8
จุด แต่พอมาถึงวันนี้กลับลดลงถึง 13
จุด เนื้อหาที่เราคุยกัน จะเป็นเรื่องจังหวะการเข้าซื้อหุ้น รวมไปถึงกองทุนรวม
(กองที่เน้นลงทุนในหุ้นเป็นหลัก) ว่าจะเข้าซื้อตอนเช้าหรือบ่าย วันไหนถึงจะดี
ได้หุ้นราคาถูก แล้วถ้าจะขายควรขายวันไหน พร้อมคาดเดากันไปต่างๆ นานา
ถูกบ้างผิดบ้าง แต่ทั้งหมดก็เพื่อให้มีกำไรมากที่สุด
ทั้งที่การลงทุนของเราทั้งคู่ ก็ไม่พ้นนิยามของคำว่า แมงเม่าที่มีนิสัยชอบเล่นกับไฟ
แต่ที่ต่างกันคือ แมงเม่า อย่างเธอบินรอดกลับมาจากกองไฟได้ แต่ผมมักจะนอน
จบชีวิตในกองเพลิงเป็นประจำเพราะทุกครั้งที่ผมซื้อหุ้น
ด้วยเงินทุนเพียงน้อยนิดตามอัตภาพ ราคาหุ้นของผมมักจะลดลง
ทั้งที่เป็นหุ้นพื้นฐานดีและมีเหตุให้ผมต้องตัด (ใจ) ขายขาดทุนเป็นประจำ
ขณะที่เธอมักจะได้กำไรเป็นกอบ เป็นกำ"
เมื่อผมลองเปรียบเทียบความแตกต่างในวิธีลงทุนของเรา
ผมพบว่าเธอมีระยะเวลาลงทุนเฉลี่ยในหุ้นแต่ละตัวนานกว่าผม ไม่ใช่ พวกตัดสินใจเร็ว
(แต่พลาด) เช่นผม
ปัญหาที่เกิดกับตัวเอง ทำให้ผมนึกถึงวิธีลงทุนที่ได้อ่านผ่านตา เมื่อหลายวันก่อน
จนต้องกลับไปค้นเอกสารที่เคยอ่านมาดูอีกรอบ
และพบว่าวิธีนี้น่าจะช่วยแก้ปัญหาที่ชอบตัดสินใจผิดพลาดของผมได้
แถมยังช่วยให้นักลงทุนรับมือกับความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
และวิธีนี้ยังไม่จำกัดว่าจะต้องใช้กับการลงทุนในตลาดหุ้นเท่านั้น
แต่สามารถปรับใช้กับการลงทุนใน หลักทรัพย์ประเภทอื่นๆ ได้ด้วย
วิธีลงทุนที่ผมพูดถึงก็คือ "การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน หรือ
Dollar Cost Averaging"
การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน หรือ Dollar Cost
Averaging
คืออะไร
ในโลกแห่งการลงทุน ไม่ใช่ว่านักลงทุนรายย่อยคือกลุ่มที่ตัดสินใจผิด
แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะหลายครั้งผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เรื่องการลงทุน
เป็นอย่างดี ก็ตัดสินใจซื้อหุ้นตอนที่ราคาขึ้นสูงเช่นกัน ความรู้ไม่ได้เป็นเครื่อง
ประกันว่าใครเก่งกว่าใคร เพียงแต่เมื่อหุ้นตก นักลงทุนที่มีความรู้มากๆ
และพวกสถาบันการเงินจะไม่ตื่นตระหนกเทขายหุ้นออกมา พวกเขาจะศึกษาข้อมูลก่อน
เพื่อที่จะกะจังหวะการลงทุนให้ถูกต้อง เข้าซื้อหุ้นตอน ราคาถูก แล้วขายตอนราคาแพง
ซึ่งถือเป็นทฤษฎีการลงทุนที่ทุกคนรู้กัน อยู่แล้ว
แต่ในทางปฏิบัติ ไม่ง่ายเลยครับ ที่จะบอกว่าตอนไหนหุ้นมีราคาถูก ที่สุด
เหมาะที่จะซื้อ และตอนไหนหุ้นขึ้นสูงเหมาะที่จะขาย หลายคนอาจ เถียงผมว่า ไม่จริง
เพราะคุณเคยคาดการณ์ถูก และทำได้มาแล้ว แต่จะสักกี่คนละครับที่ทำได้ หรือที่ผ่านมา
คุณทำได้กี่ครั้ง
ธรรมชาติของนักลงทุนส่วนใหญ่ที่เห็นๆ กันอยู่ คือแห่เข้าไปซื้อหุ้น
ตอนที่หุ้นกำลังร้อนแรง มีราคาสูงขึ้น เพราะเชื่อว่าจะสูงขึ้นอีก และจะเทขาย
เมื่อดัชนีปรับตัวลดลงตามกระแสข่าวที่เกิดขึ้น เพราะกลัวจะขาดทุนมาก กว่านี้
แต่วิธีลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน หรือ Dollar
Cost Averaging (DCA)
ช่วยได้ครับ
การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน คือ วิธีการลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าให้นัก ลงทุนระยะยาว
ช่วยลดความเสี่ยงและให้ผลตอบแทนที่ดี วิธีนี้นักลงทุน
ต้องสร้างวินัยการลงทุนให้ตนเอง ลงทุนในหลักทรัพย์เป็นประจำสม่ำเสมอ
ตามช่วงเวลาที่กำหนด เช่น ทุกวันที่ 5
ของเดือนจะซื้อกองทุนหุ้นกองหนึ่ง หรือซื้อหุ้นกลุ่มหนึ่งเป็นจำนวน
5,000
บาท โดยไม่สนใจว่าราคาหุ้นในตอน นั้นเป็นเท่าไรจะขึ้นหรือตก
วิธีนี้คุณต้องมีวินัยอย่างเคร่งครัด ลงทุนเป็นประจำอย่าได้ขาดครับ
จะว่าไปคนที่มีบัญชีเงินฝากประจำจะคุ้นเคยอยู่แล้วครับ เพราะวิธีนี้
ก็เหมือนกับการฝากเงินเข้าบัญชีเป็นประจำสม่ำเสมอทุกๆ เดือน แต่มาวันนี้
ดอกเบี้ยเหลือไม่ถึงบาท หลายคนไม่อยากฝากเงินอีกต่อไป
วิธีนี้จะเสนอให้คุณนำวินัยทางการเงินมาใช้กับการลงทุนแบบอื่นที่ไม่ใช่การ ฝากเงิน
ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น
อาจใช้วิธีนี้กับหลักทรัพย์อื่นๆ ก็ได้ เช่น หุ้นบุริมสิทธิ,
กองทุนรวมตราสารทุน,
กองทุน รวมตราสารหนี้ หรือกองทุนผสม ก็ได้ ไม่ผิดกติกาแต่อย่างไร
โดยขึ้นอยู่กับผลตอบแทนที่คุณคาดหวัง บวกกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ซึ่งขึ้นอยู่กับธรรมชาติของตราสารแต่ละประเภทครับ
มาถึงตรงนี้อาจมีบางคนงงอยู่ว่า
ในเมื่อบอกว่าว่าหุ้นกำลังตกแล้วยังจะลงทุนไปทำไมให้ขาดทุน คืออย่างนี้ครับ
วิธีนี้ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าไม่มี ใครฟันธงได้ว่า หุ้นที่คิดว่าจะตกนั้น
จะตกจริงหรือเปล่า ไม่มีใครที่ทำนาย อนาคตถูกทุกครั้งครับ
แต่ไม่ใช่ว่าพอลงทุนด้วยวิธีนี้แล้ว คุณจะลงทุนกับหุ้นหรือตราสารอะไรก็ได้นะครับ
คุณต้องไม่ลืมหลักการเบื้องต้นของการลงทุน นั่นคือต้องมั่นใจเสียก่อนว่า
ตราสารที่เลือกต้องมีปัจจัยพื้นฐานดี มีศักยภาพดี
และสามารถสร้างผลตอบแทนในระยะยาวให้ได้ ซึ่งข้อดีของวิธีนี้คือ
จะช่วยขจัดปัญหาเรื่องจังหวะการเข้าซื้อให้คุณได้ ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าจะเข้าไปทุ่ม
ซื้อผิดเวลาครับ
หนทางสร้างกำไรยามตลาดผันผวน
การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน เหมาะมากในภาวะตลาดผันผวน ราคาหลักทรัพย์หรือ
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV)
เปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่าง รวดเร็ว และช่วยให้นักลงทุนไม่ตกขบวนด้วยครับ
และเพื่อช่วยให้คุณๆ เข้าใจว่า
การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุนสามารถลดความเสี่ยงและสร้างผล
ตอบแทนได้อย่างไรในภาวะที่หุ้นผันผวน ผมขอยกตัวอย่างประกอบการ อธิบายครับ
ตัวอย่างการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน ของนายประสบโชค ที่เลือกลงทุน
ในกองทุนหุ้นทุกเดือนเป็นเวลา 8
เดือน ด้วยเงินลงทุนเดือนละ 10,000
บาท
สมมุติให้นายประสบโชคลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน เป็นประจำนาน
8
เดือนด้วยเงินลงทุนเดือนละ 10,000
บาท เขาเลือกลงทุนในกองทุนหุ้น ตอนที่ตลาดมีความผันผวนสูง แม้ราคาจะเปลี่ยนแปลง
NAV
จะผันผวน ไปมากเพียงไร นายประสบโชคผู้มีวินัยในการลงทุนอย่างเคร่งครัด ก็ยังคง
ลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่าเดิมอย่างต่อเนื่อง เขาไม่กังวลกับราคา
NAV
ไม่ตื่น ตระหนก ตัดสินใจเทขายเมื่อขาดทุน และเมื่อถึงเดือนที่
7
ตลาดฟื้นตัวราคา NAV
ขยับสูงขึ้น ผลคือเขามีกำไรในเดือนที่ 8
ถึง 36.6
เปอร์เซ็นต์ หรือ 29,262
บาท จากเงินลงทุน 80,000
บาทครับ
แต่ถ้านายประสบโชคใจไม่แข็งพอ ตัดขายขาดทุนไปในช่วงที่
NAV
ลดลง เขาก็จะขาดทุน นายประสบโชคต้องใจแข็ง ไม่ยอมให้ความตื่นตระหนกครอบงำจิตใจ
ช่วงนี้แหละที่วินัยในการลงทุน
ความสำคัญเป็น อย่างยิ่ง และถ้านายประสบโชคไม่กล้าเข้าซื้อเพิ่มในเดือนถัดไป เพราะ
NAV
ตก เมื่อครบ 8
เดือน แม้จะมีกำไรเพราะ NAV
ขึ้นจาก 10
บาท เป็น 11
บาทต่อหน่วยลงทุน แต่เขาจะมีกำไรแค่ 1,000
บาท จากเงินลงทุน 10,000
บาทเท่านั้นอีกกรณีคือหากนายประสบโชคไม่มีการจัดสรรเงินลงทุนที่คงที่ทุก เดือน
แต่ทุ่มลงทุนเดือนแรกจนหมด 80,000
บาท เมื่อ NAV
ลดลง แม้ นายประสบโชคจะใจแข็งไม่ตัดขายหนีขาดทุน แต่เขาก็ไม่มีเงินลงทุนเพิ่ม
และเมื่อครบ 8
เดือน ถึงจะมีกำไรก็แค่ 10
เปอร์เซ็นต์ เป็นเงิน 8,000
บาท แต่ถ้าลงทุนสม่ำเสมอตามกติกาจะได้กำไร
36.6
เปอร์เซ็นต์ เท่ากับ 29,262
บาท
เห็นข้อดีมาเยอะแยะ การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุนใช่ว่าจะสร้างผล ตอบแทนให้คุณเสมอไป
โอกาสขาดทุนก็มีครับหาก หุ้นที่คุณเลือกไม่ใช่หุ้น ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี
เพราะหุ้นบางตัวแม้ราคาจะมีขึ้นมีลง แต่ภาพรวมแล้ว
ทิศทางของราคามีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ที่ราคาขึ้นบ้างเป็นบางช่วงก็เพราะการเก็งกำไร
หุ้นแบบนี้ลงทุนวิธีไหนก็เสี่ยงครับ เพราะยังไงพื้นฐานของ
หุ้นก็สำคัญที่สุดในการสร้างผลตอบแทนที่มั่นคง
ลงทุนระยะยาว ง่ายกว่า เสี่ยงน้อยกว่า
นอกจากนี้กฎสำคัญอีกข้อของการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน เพื่อลดความ
เสี่ยงและให้ได้ผลตอบแทน คือต้องลงทุนระยะยาวครับ
การลงทุนระยะยาวอาจไม่ให้ผลตอบแทนสูงเท่าไรนัก แต่ก็ทำให้คุณไม่
ต้องปวดหัวกับการหาจังหวะซื้อ จังหวะขาย และยังลดโอกาสขาดทุนได้ด้วย
ประเด็นนี้ผมขอนำตัวเลขดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาใช้แทน
ราคาหุ้นเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นกันง่ายๆ อย่างนี้ครับ
ตลาดหุ้นไทยเปิดทำการตั้งแต่ปี 2518
สมมุติว่าคุณเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่ปลายปี 2518
จนถึงปลายปี 2545
รวมระยะเวลาการลงทุนได้ทั้งสิ้น 27
ปี ทีนี้ผมจะเปรียบเทียบการลงทุนตามช่วงเวลาในการลงทุน โดยแบ่งออกเป็น
6
แบบ ได้แก่ ลงทุน 1
ปี, 5
ปี, 10
ปี, 15
ปี, 20
ปี และ 27
ปี เช่น นักลงทุนที่ลงทุนแบบ 1
ปี คือ ซื้อหุ้นตอนปลายปีที่แล้ว และมาขายตอนปลายปีนี้ (ถือไว้
1
ปีแล้วขายออก) แบบนี้คุณจะมี ช่วงเวลาลงทุน
27
ช่วง แต่ถ้าลงทุน 5
ปี คือซื้อแล้วถือไว้ 5
ปีก่อนจะขายคุณจะลงทุนได้ 23
ช่วง แต่ถ้าลงทุน 27
ปี ก็ลงทุนได้ครั้งเดียว คือซื้อตั้งแต่ปลายปี
2518
และมาขายตอนปลายปี 2545
เป็นต้น
จากตารางคุณจะเห็นว่าการลงทุนระยะสั้น แม้จะมีโอกาสได้อัตราผล ตอบแทนสูงกว่า
แต่คุณก็มีโอกาสขาดทุนสูงกว่าเช่นเดียวกันครับ
แถมอัตราผลตอบแทนเวลาขาดทุนยังสูงตามไปด้วย ถ้าคุณลงทุนแค่ปีเดียว คุณ จะได้กำไร
15
ครั้ง และขาดทุน 12
ครั้ง คือจะขาดทุนถึง 44
เปอร์เซ็นต์ ของการลงทุนทั้งหมด แต่ถ้าลงทุนยาว
10
ปี โอกาสขาดทุนจะลดเหลือ 28
เปอร์เซ็นต์แทน และถ้าลงทุนยาวตั้งแต่ 15
ปีขึ้นไป คุณจะไม่ขาดทุน เลยครับ
เห็นไหมครับว่าการลงทุนระยะยาว จะช่วยลดการขาดทุนให้คุณได้
และคุณยังไม่ต้องเสียเวลาคอยหาจังหวะเข้าออกวุ่นวายอีกด้วย แล้วอย่างนี้คุณ
จะยังไม่สนใจลงทุนวิธีการลงทุนระยะยาวหรือครับ
จากตัวอย่างที่ผมนำมาแสดงนี้ทำให้ได้พบว่าการลงทุนแบบเฉลี่ย ต้นทุน
โดยที่ผู้ลงทุนต้องกันเงินจำนวนหนึ่ง ลงทุนโดยสม่ำเสมอต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน
จะให้ประโยชน์คุ้มค่า แถมไม่ต้องเป็นกังวลคอยนั่งลุ้น
การขึ้นลงของดัชนีทุกวันทุกเวลา
หรือทำตัวเป็นแมงเม่าบินเข้ากองเพลิงสังเวยเม็ดเงินที่สะสมมา
ผมรับรองว่าครั้งนี้ความรู้จะเป็นเครื่องรับประกัน ความเก่งได้แน่ๆ ครับ
ดังที่ได้บอกตอนต้นแหละครับว่า หากท่านผู้อ่านคุ้นกับบัญชีเงินฝาก ประจำ
DCA
ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ผมมีตัวอย่างของบริการลงทุน ด้วยวิธี
DCA
ที่บล.และบลจ.บางแห่งคิดขึ้นมาเสนอต่อท่านผู้อ่านด้วยครับ
เริ่มกันที่โครงการสะสมหุ้นสู่ความมั่งคั่งหรือ
Wealth Builder
ของ บล.ซิกโก้ เป็นการลงทุนแบบสะสมในหุ้นรายเดือน โดยแบ่งการลงทุนเป็น
12
งวดๆ ละเท่าๆ กัน ทางบล.ซิกโก้จะนำเงินลงทุนของ
ลูกค้าที่ฝากมาในแต่ละเดือนไปลงทุนตามที่ลูกค้า เลือกโดยใช้หลักการเฉลี่ยต้นทุน (DCA)
ซึ่ง บล.ซิกโก้ ได้เลือกหุ้นชั้นดีจำนวนหนึ่งมาเข้าในโครงการนี้เพื่อ
ให้ลูกค้าเลือกลงทุน
ข้อดีของการทำเช่นนี้คือลูกค้าไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก โดยบล.ซิกโก้กำหนดวงเงินลงทุนเริ่มต้น
เพียง 2,000
บาทเท่านั้น โครงการนี้จะช่วยให้จัดรูป แบบการลงทุนได้ตามความต้องการและมีการกระจาย
ความเสี่ยง
ในส่วนของ K-ASSET Saving Plan
มีลักษณะเป็นแผนการลงทุนอย่าง สม่ำเสมอ เป็นบริการของบลจ.กสิกรไทย โดยกำหนด
กองทุนของบริษัท จำนวนหนึ่งเข้ามาอยู่ในแผนการลงทุน นี้
ให้ลูกค้าเริ่มต้นลงทุนซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนใดก็ได้ ที่อยู่ในแผน
ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500
บาท/เดือน และต้องไม่ต่ำกว่า 5,000
บาท/ปี/กองทุน ลูกค้าสามารถ เลือกวันลงทุนได้ตามที่ต้องการ
ผู้ที่ต้องการจะซื้อหุ้นด้วยหลักการ DCA
ก็สามารถไป สอบถามข้อมูลรายละเอียดจากบล.ซิกโก้ได้ ส่วนท่านที่ อยากจะลองใช้วิธี
DCA
กับกองทุนก็มาที่บลจ.กสิกรไทย ปัจจุบัน 2
แห่งนี้ให้บริการด้วยวิธี DCA
ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น