รีบซื้อหุ้น (ไปทำไม)
ที่มา http://www.monkeyfreetime.com/2012/10/blog-post_7.html
ในยามที่ตลาดเป็นขาขึ้น คนไหนมีหุ้นอยู่ก็มักจะดีใจและรู้สึกว่าตัวเองรวย
ขึ้น ส่วนคนที่ไม่มีหุ้นอาจจะรู้สึกตรงกันข้าม และเสียดายที่ไม่ได้
"รีบซื้อหุ้น" ตั้งแต่ตอนที่มันยังมีราคาถูก
พอคิดแบบนี้การรีบซื้อหุ้นน่าจะเป็นเรื่องดี แต่ถ้าเรามองจากอีกมุมหนึ่ง การรีบซื้อหุ้นอาจไม่ใช่เรื่องดีก็ได้ หากว่าเราซื้อแล้วหุ้นกลับเป็นขาลง มาถึงตรงนี้เราอาจเริ่มสงสัยว่าการรีบร้อนซื้อหุ้นจะให้ผลดีหรือผลเสียกัน แน่ ผมว่าเราลองมาดูความรีบร้อนในรูปแบบที่เราคุ้นเคยกันก่อนดีกว่า
คำถามนี้คล้ายๆ เวลาที่เราต้องตัดสินใจซื้อของลดราคา พนักงานขายจะบอกเราว่า "วันนี้ลดราคาวันสุดท้ายนะคะ" ผมสังเกตเอาจากคนรอบตัว (โดยเฉพาะสุภาพสตรี) ส่วนมากจะแพ้ใจตัวเองและยอมควักกระเป๋าในที่สุด พวกเธอจะบอกว่า "ถึงอย่างไรเราก็คงซื้อมันอยู่ดี" ก่อนที่จะเปิดกระเป๋าและหยิบบัตรเครดิตยื่นให้กับคนขาย
ในเวลาที่เราต้องตัดสินใจภายใต้เวลาที่กำหนด ความคิดของเราจะรอบคอบน้อยลง ดูเหมือนสมองของเราจะรู้ตัวว่าเวลามีน้อยจึงลัดขั้นตอนบางอย่างไป ความคิดจึงมักตกๆ หล่นๆ ส่วนใหญ่จะวนเวียนอยู่ที่การซื้อหรือไม่ซื้อ ได้ส่วนลดหรือจ่ายราคาเต็ม แทนที่จะมองว่าของชิ้นนี้ต้องรีบใช้หรือไม่ หรือซื้อไปแล้วจะได้ใช้บ่อยหรือเปล่า
เคยเห็นหรือเปล่าครับ คนที่ซื้อเครื่องออกกำลังกายมาไว้ที่บ้าน พอผ่านไปครึ่งปี มันกลายเป็นที่ตากผ้าไปซะแล้ว!
การรีบซื้อเพียงเพราะเห็นว่าเงื่อนไขดี หรือ "กลัว" ว่าถ้าไม่รีบก็จะต้องซื้อในราคาปกติ อาจทำให้เราควักกระเป๋าซื้อในสิ่งที่ไม่สมควรจะซื้อ บางครั้งนอกจากเสียเงินแล้วยังได้ความเดือดร้อนรำคาญใจตามมาด้วย หากว่าสิ่งของนั้นไม่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของเราจริงๆ
คำขู่ของคนขายในลักษณะนี้ใช้ไม่ได้กับผม เพราะผมจะบอกว่า "ยังไม่เอาครับ ขอบคุณ" พนักงานขายมักประหลาดใจเวลาที่ไม้ตายของเขาใช้ไม่ได้ผล บางครั้งก็ทวนคำอีก 2-3 รอบ ว่าส่วนลดมีถึงวันนี้เท่านั้นนะ ไม่รับไปก่อนเหรอ ฯลฯ
ภาษาอังกฤษมีประโยคคล้ายๆ กันบอกว่า "Take it or leave it" แปลเป็นไทย (แบบบ้านๆ) ก็คือ "ถ้าจะเอาก็เอาซะ หรือจะไปไหนก็ไป!" ซึ่งเมื่อไหร่ที่เจอแบบนี้ผมจะตอบว่า "So I will leave it"
ย้อนกลับมาเรื่องหุ้น บางคนรู้สึกใจสั่นเมื่อเห็นหุ้นราคาถูก พวกเขาเห็นมันเป็นของลดราคาและคิดอยู่ว่า การรีรอในวันนี้อาจทำให้พวกเขา "พลาดกำไร" ในวันพรุ่งนี้หรือไม่... อย่างไรก็ตาม ผมขอให้ข้อคิดดังนี้
อย่างแรก ราคาหุ้นที่เราคิดว่าถูกหรือเป็นราคาลดนั้น "ลดจริง" หรือ "ถูกจริง" หรือไม่ บางครั้งเราเพียงแต่เห็นว่าราคาหุ้นมีการย่อตัวลงมาจากจุดพีค แล้วก็คิดเอาเองว่านี่คือหุ้นมีราคาถูกแล้ว ซึ่งมันอาจไม่จริงก็ได้
อย่างที่สอง การพลาดกำไรนั้นยังไม่เกิดขึ้น หรือต่อให้เกิดขึ้นจริงในเวลาต่อมา เราก็เพียงแต่สูญเสียในแง่ของ "โอกาส" เท่านั้น ยังไม่ได้เสียเงินออกไปเลยแม้แต่บาทเดียว พูดง่ายๆ ก็คือ มันเป็น opportunity loss ไม่ใช่ real loss
เมื่อคิดได้อย่างนี้แล้ว ผมจึงไม่รู้สึกเดือดร้อนและตะกุยตะกายไขว่คว้าโอกาสที่ลอยผ่านหน้ามากมายนัก ผมอยากจะใช้เวลาคิด วิเคราะห์ และทบทวน ก่อนที่จะลงมือทำอะไรลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามันเกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ
หากว่ากรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว พอร์ตหุ้นของเราก็ไม่ควรต้องรีบร้อนสร้างขึ้นเช่นกัน พึงคิดไว้เสมอว่าเรามีโอกาสที่จะ "ทำความรู้จัก" บริษัท รวมถึงฝ่ายบริหาร แต่เราก็ต้องใช้เวลาที่มากเพียงพอ อย่าลืมว่าเราต้องการซื้อบริษัทที่ "ดี" ไม่ใช่แค่ "ดูดี"
อีกประเด็นหนึ่งที่หลายคนมองข้ามไปก็คือ บางธุรกิจมีวัฏจักร (cycle) หรือช่วงฤดูกาล (seasonality) หากเราซื้อหุ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เราอาจมีโอกาสได้เห็นสิ่งเหล่านี้และทำความเข้าใจธุรกิจมากขึ้น และนี่คือสิ่งที่ นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือ Value Investor ควรทำไม่ใช่หรือ
การรีบร้อนซื้อหุ้นแบบตูมเดียวจบเป็นการริดร อนเวลาและกดดันตัวเราเองโดยไม่จำเป็น ลองคิดดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าเราถือหุ้นไว้เต็มมือแล้ว จากนั้นค่อยมารู้ว่าบริษัทนี้ดูดีแค่เปลือกนอก หรือไม่ก็ดูดีเพียงเพราะว่ามันเป็นช่วงพีคของธุรกิจพอดี!?
โดยส่วนตัวแล้วผมอาจจะ "ซื้อหุ้น" หรือ "ค่อยๆ ซื้อหุ้น" แต่ว่าผมจะไม่ "รีบซื้อหุ้น" เด็ดขาด ก็ในเมื่อตลาดหุ้นเปิดทำการอยู่ทุกวัน อยากซื้อเมื่อไหร่ก็ได้ซื้อ อยากขายเมื่อไหร่ก็ได้ขาย คิดให้ดีก่อนค่อยซื้อก็ยังทันถมเถ ส่วนใหญ่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ "ซื้อไม่ทัน" หรอกครับ
แต่อยู่ที่ "คิดไม่ทัน" และ "ไม่ทันคิด" ต่างหาก
พอคิดแบบนี้การรีบซื้อหุ้นน่าจะเป็นเรื่องดี แต่ถ้าเรามองจากอีกมุมหนึ่ง การรีบซื้อหุ้นอาจไม่ใช่เรื่องดีก็ได้ หากว่าเราซื้อแล้วหุ้นกลับเป็นขาลง มาถึงตรงนี้เราอาจเริ่มสงสัยว่าการรีบร้อนซื้อหุ้นจะให้ผลดีหรือผลเสียกัน แน่ ผมว่าเราลองมาดูความรีบร้อนในรูปแบบที่เราคุ้นเคยกันก่อนดีกว่า
จะเอาหรือไม่เอา!?
คำถามนี้คล้ายๆ เวลาที่เราต้องตัดสินใจซื้อของลดราคา พนักงานขายจะบอกเราว่า "วันนี้ลดราคาวันสุดท้ายนะคะ" ผมสังเกตเอาจากคนรอบตัว (โดยเฉพาะสุภาพสตรี) ส่วนมากจะแพ้ใจตัวเองและยอมควักกระเป๋าในที่สุด พวกเธอจะบอกว่า "ถึงอย่างไรเราก็คงซื้อมันอยู่ดี" ก่อนที่จะเปิดกระเป๋าและหยิบบัตรเครดิตยื่นให้กับคนขาย
ในเวลาที่เราต้องตัดสินใจภายใต้เวลาที่กำหนด ความคิดของเราจะรอบคอบน้อยลง ดูเหมือนสมองของเราจะรู้ตัวว่าเวลามีน้อยจึงลัดขั้นตอนบางอย่างไป ความคิดจึงมักตกๆ หล่นๆ ส่วนใหญ่จะวนเวียนอยู่ที่การซื้อหรือไม่ซื้อ ได้ส่วนลดหรือจ่ายราคาเต็ม แทนที่จะมองว่าของชิ้นนี้ต้องรีบใช้หรือไม่ หรือซื้อไปแล้วจะได้ใช้บ่อยหรือเปล่า
เคยเห็นหรือเปล่าครับ คนที่ซื้อเครื่องออกกำลังกายมาไว้ที่บ้าน พอผ่านไปครึ่งปี มันกลายเป็นที่ตากผ้าไปซะแล้ว!
การรีบซื้อเพียงเพราะเห็นว่าเงื่อนไขดี หรือ "กลัว" ว่าถ้าไม่รีบก็จะต้องซื้อในราคาปกติ อาจทำให้เราควักกระเป๋าซื้อในสิ่งที่ไม่สมควรจะซื้อ บางครั้งนอกจากเสียเงินแล้วยังได้ความเดือดร้อนรำคาญใจตามมาด้วย หากว่าสิ่งของนั้นไม่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของเราจริงๆ
คำขู่ของคนขายในลักษณะนี้ใช้ไม่ได้กับผม เพราะผมจะบอกว่า "ยังไม่เอาครับ ขอบคุณ" พนักงานขายมักประหลาดใจเวลาที่ไม้ตายของเขาใช้ไม่ได้ผล บางครั้งก็ทวนคำอีก 2-3 รอบ ว่าส่วนลดมีถึงวันนี้เท่านั้นนะ ไม่รับไปก่อนเหรอ ฯลฯ
ภาษาอังกฤษมีประโยคคล้ายๆ กันบอกว่า "Take it or leave it" แปลเป็นไทย (แบบบ้านๆ) ก็คือ "ถ้าจะเอาก็เอาซะ หรือจะไปไหนก็ไป!" ซึ่งเมื่อไหร่ที่เจอแบบนี้ผมจะตอบว่า "So I will leave it"
แล้วถ้าเป็นหุ้น
ย้อนกลับมาเรื่องหุ้น บางคนรู้สึกใจสั่นเมื่อเห็นหุ้นราคาถูก พวกเขาเห็นมันเป็นของลดราคาและคิดอยู่ว่า การรีรอในวันนี้อาจทำให้พวกเขา "พลาดกำไร" ในวันพรุ่งนี้หรือไม่... อย่างไรก็ตาม ผมขอให้ข้อคิดดังนี้
อย่างแรก ราคาหุ้นที่เราคิดว่าถูกหรือเป็นราคาลดนั้น "ลดจริง" หรือ "ถูกจริง" หรือไม่ บางครั้งเราเพียงแต่เห็นว่าราคาหุ้นมีการย่อตัวลงมาจากจุดพีค แล้วก็คิดเอาเองว่านี่คือหุ้นมีราคาถูกแล้ว ซึ่งมันอาจไม่จริงก็ได้
อย่างที่สอง การพลาดกำไรนั้นยังไม่เกิดขึ้น หรือต่อให้เกิดขึ้นจริงในเวลาต่อมา เราก็เพียงแต่สูญเสียในแง่ของ "โอกาส" เท่านั้น ยังไม่ได้เสียเงินออกไปเลยแม้แต่บาทเดียว พูดง่ายๆ ก็คือ มันเป็น opportunity loss ไม่ใช่ real loss
เมื่อคิดได้อย่างนี้แล้ว ผมจึงไม่รู้สึกเดือดร้อนและตะกุยตะกายไขว่คว้าโอกาสที่ลอยผ่านหน้ามากมายนัก ผมอยากจะใช้เวลาคิด วิเคราะห์ และทบทวน ก่อนที่จะลงมือทำอะไรลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามันเกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ
หากว่ากรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว พอร์ตหุ้นของเราก็ไม่ควรต้องรีบร้อนสร้างขึ้นเช่นกัน พึงคิดไว้เสมอว่าเรามีโอกาสที่จะ "ทำความรู้จัก" บริษัท รวมถึงฝ่ายบริหาร แต่เราก็ต้องใช้เวลาที่มากเพียงพอ อย่าลืมว่าเราต้องการซื้อบริษัทที่ "ดี" ไม่ใช่แค่ "ดูดี"
อีกประเด็นหนึ่งที่หลายคนมองข้ามไปก็คือ บางธุรกิจมีวัฏจักร (cycle) หรือช่วงฤดูกาล (seasonality) หากเราซื้อหุ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เราอาจมีโอกาสได้เห็นสิ่งเหล่านี้และทำความเข้าใจธุรกิจมากขึ้น และนี่คือสิ่งที่ นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือ Value Investor ควรทำไม่ใช่หรือ
การรีบร้อนซื้อหุ้นแบบตูมเดียวจบเป็นการริดร อนเวลาและกดดันตัวเราเองโดยไม่จำเป็น ลองคิดดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าเราถือหุ้นไว้เต็มมือแล้ว จากนั้นค่อยมารู้ว่าบริษัทนี้ดูดีแค่เปลือกนอก หรือไม่ก็ดูดีเพียงเพราะว่ามันเป็นช่วงพีคของธุรกิจพอดี!?
ปัญหาอยู่ที่...
โดยส่วนตัวแล้วผมอาจจะ "ซื้อหุ้น" หรือ "ค่อยๆ ซื้อหุ้น" แต่ว่าผมจะไม่ "รีบซื้อหุ้น" เด็ดขาด ก็ในเมื่อตลาดหุ้นเปิดทำการอยู่ทุกวัน อยากซื้อเมื่อไหร่ก็ได้ซื้อ อยากขายเมื่อไหร่ก็ได้ขาย คิดให้ดีก่อนค่อยซื้อก็ยังทันถมเถ ส่วนใหญ่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ "ซื้อไม่ทัน" หรอกครับ
แต่อยู่ที่ "คิดไม่ทัน" และ "ไม่ทันคิด" ต่างหาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น