เราจะเป็นผู้ชนะในเกมที่เรียกว่า ตลาดหุ้น ได้อย่างไร ( อธิบายโดย game theory)
ที่มาhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kunjoja&month=09-2010&date=26&group=1&gblog=25วันนี้เลยนึกถึง game theory ขึ้นมา...
…เอาประวัติและความหมายย่อๆมาก่อน
โดยสรุปย่อๆ เราสามารถแบ่งเกมออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1) เกมที่มีผลรวมเป็นศูนย์ (zero-sum games) เป็น เกมที่ผลรวมผลได้ของผู้ชนะมีค่าเท่ากับผลรวมความเสียหายที่ผู้แพ้ได้รับ และที่หนักที่สุดคือผู้ชนะได้หมดที่เราเรียกว่า "The winner take all" ซึ่งผู้เสียจะสูญเสียไปทั้งหมด
2) เกมที่มีผลรวมไม่เป็นศูนย์ (nonzero-sum games) เป็นเกมที่มีกลยุทธ์ที่ผลได้ของผู้ชนะมีค่าไม่เท่ากับความเสียหายที่ผู้แพ้ ได้รับ ในเกมชนิดนี้ผู้แข่งขันทุกคนอาจเป็นผู้ชนะ (win-win) หรือในทำนองกลับกันก็อาจจะเป็นผู้แพ้ (loss-loss) ทั้งหมดก็ได้
ที่มาของ ทฤษฎีเกม..
ในปี ค.ศ. 1928 นักคณิตศาสตร์ชื่อ John Von Newmann(มีคนบอกว่านี่คือ บิดาของทฤษฎีเกม)
เมื่อทฤษฎีเกมของนิวแมนรวมเข้ากับความคิดของออสการ์ มอร์เกนสะเติร์น (Oskar Morgenstern) จึงเกิด "Theory of Games and Economic Behavior" ขึ้น
ต่อมา ปี 1994 ทฤษฎีเกมมาโด่งดังอีกครั้ง เมื่อนักเศรษฐศาสตร์ John F. Nash เกิดทฤษฎีเกี่ยวกับ Non-Cooperative Games (คนๆนี้ เคยเอามาสร้างหนังเรื่อง Beautiful Mind )
เอาว่าง่ายๆคือ ก่อน John F. Nash game theory ถูกมองว่าเป็นแบบ Zero-Sum Game หรือแบบมีได้มีเสีย Win-Loose
แต่ เมื่อนำ Non-Cooperative Games ของ John F. Nash มารวม ก็จะทำให้คนเข้าใจถึง Win-Win Solution หรือ nonzero-sum games
……..
ผมขอยกตัวอย่างตามลำดับง่ายๆ ของ Zero-Sum Game หรือแบบมีได้มีเสีย Win-Loose- เช่น สลากกินแบ่งรัฐบาล เราเสียค่าสลากกินแบ่งแปดสิบบาท(แถวบ้าน โดนกินค่าต๋งเพิ่ม ต้องจ่ายคู่ละ120 บาท แพงชิบ ) ถ้าถูกเราได้รางวัล ถ้าผิดเราเสีย ความน่าจะเป็นที่จะถูกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1/100 ต่อหนึ่งใบ ที่จะถูกรางวัลอย่างน้อยเลขท้ายสองตัว
- ม้าแข่ง ถ้ารอบนั้นแข่งกันแปดตัว(ไม่รู้ว่าจริงๆ เค้าแข่งกันกี่ตัว 555) ถ้า ชนะ ก็ได้เงิน ถ้าแพ้เสียเงิน ความน่าจะเป็นที่มีโอกาสถูกคือ หนึ่งในแปด (ยังดีกว่า เล่นหวย 55)
-
…….
แล้วตลาดหุ้น เราเป็นเกม แบบไหน !
(ปล. ต่อไปนี้คือ ทัศนคติของผม /มุมมองส่วนตัว สามารถติชมและแชร์ไอเดียได้ครับ)
คงไม่มีคำตอบตายตัว แต่ผมมีคำตอบอันหนึ่งที่ทำให้ฉงน !
โดย ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นม้าแข่ง เล่นไพ่ ซื้อสลากกินแบ่ง ตลาดจะบังคับเกม ในตัวอยู่แล้ว เราไม่มีสิทธิ์ในการเลือก (คือ ถ้าถูก ก็ชนะ ถ้าผิด ก็แพ้ )
แต่ในตลาดหุ้น เราเป็นคนเลือกเกม เอง ว่า เราจะเลือกเกม แบบไหน (ยิ่งงง กันหรือเปล่า 5555 )
เพราะในตลาดหุ้น มีทั้งแบบ Zero-Sum Game และ nonzero-sum games ผสมผสานกันไป...
หมายความว่าไง !..
ใน เกม ตลาดหุ้น เราเอาเงินมาซื้อหุ้น เราจะพบว่าตลาดหุ้นจะมีผลตอบแทนที่เป็นเงินกองกลางเพิ่มให้กับผู้เล่น ( ตลาดหุ้นจะมีเงินปันผลของแต่ละบริษัทมาลงขันให้กับนักลงทุนเพิ่มทุกๆปี ก็คือ เกมนี้ ผู้เล่นนอกจากวางเงินเข้ากองกลางแล้ว บริษัทต่างๆเอาเงินมาลงขันเพิ่มในกองกลางให้ด้วยโดยบริษัทไม่ได้นำเงินกลับ คืนออกจากกองกลางนี้ ดังนั้นเวลาผู้เล่นแต่ละคนจะเอาเงินคืนจากกองกลาง ถ้า win to win ก็คือ ทุกคนได้เงินเพิ่มจากต้นทุนของตัวเอง จากเงินที่บริษัทมาลงขันให้ )
แต่อย่าลืม !
ทุกคนมีโอกาสได้เงินกองกลางโดยไม่เสียเงินต้น แต่ก็ทุกคนก็มีโอกาสขาดทุนจากการเสียเงินต้นเช่นกัน
ที่บอกว่า อยู่ที่ตัวเราเลือก ก็คือ
ใน ตลาดหุ้นสามัญ (ขอกล่าวถึงเฉพาะหุ้นสามัญ ไม่นับหุ้นที่เป็น DW หรือ W ที่ไม่มีปันผล ) โดยทั่วไปจะมีบริษัทที่มีปันผล และไม่มีปันผล
-คุณ เอง เลือกหุ้นที่มีปันผล(การที่บริษัทนั้นมีปันผล ก็บ่งบอกข้อมูลว่าบริษัทย่อมมีพื้นฐานดีในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่เสมอไป ต้อง ดูข้อมูลพื้นฐานอื่นประกอบด้วย) บวกกับ การศึกษาหุ้นให้ดี เช่น การเลือกหุ้นที่มี good MOS ( margin of safe or down side risk น้อยๆ )
โอกาส เกิด win to win สูง โอกาสจะเป็น nonzero-sum games สูง
ในกรณีที่คุณเลือก Zero-Sum Game ก็คือ นักลงทุนไม่ได้หวัง เงินปันผลต้องการ capital gain และเล่นแนวเดย์เทรดหรือระยะสั้น
-คุณ เลือกหุ้น ไม่มีพื้นฐาน หวัง capital gain ไม่มีปันผล มีโอกาสเกิด down side risk สูงมาก ถามว่า นี่คือ ความน่าจะเป็นของการเกิด win to win ของนักลงทุนทุกคนที่มาลงในหุ้นตัวนี้ มีไหม
ผมคิดว่า มีน้อยกว่ามากๆ โอกาสการเป็น Zero-Sum Game สูง คือ ผู้เล่นมีทั้ง ผู้ชนะ และ ผู้แพ้ ..
ในเกม ฟิวเจอร์ คุณจะ short(คาดว่าตลาดจะลง) หรือ long(คาดว่าตลาดจะขึ้น) โอกาสถูกคือ ½
ในเกมนี้ จะไม่มีเงินกองกลางเข้ามาร่วมวง เหมือนตลาดหุ้นสามัญ ดังนั้นเงินทั้งหมดเป็นเงินของผู้เล่นเท่านั้น
ถ้าพลาด ท้ายสุด เงินกองนั้นจะต้องมีคน ได้ และ คนเสีย ดังนั้น ผมมองว่าเป็น Zero-Sum Game
ใน เกม ฟิวเจอร์ มีบางคนก็พยายามลด risk ของการเกิดภาวะ การแพ้ คือ โอกาสชนะมากกว่า ½ โดยใช้ความรู้ต่างๆมาช่วย รวมถึงการนำ option มาใช้ แต่ท้ายสุดก็ยังเป็น Zero-Sum Game เพราะท้ายสุดเราชนะ ก็ต้องมีคนแพ้จากเกมนี้อยู่ดี (เนื่องจากไม่มีเงินกองกลางที่เพิ่มมากกว่าเงินของผู้เล่น) ...
ท้ายสุด มองภาพออกไหมว่า เราอยากเลือกเป็น Zero-Sum Game หรือ เราจะเลือกเป็น nonzero-sum games เราเป็นผู้เลือกเอง ไม่ใช่ตลาดเลือก….
แต่ผมให้คุณเลือก เกมที่มีผู้แพ้ชนะ เมือคุณมีเครื่องมือยอดเยี่ยมอยู่ในตัวนั่นคือ
-เทพแห่งความโชคดีอยู่กับคุณเสมอ (ซื้อหวยก็ถูก ทำไรก็ดวงดี)
-เทพแห่งกราฟ คุณเก่งในการดูกราฟ (มองตามเทคนิคแล้วโอกาสชนะมากกว่าแพ้มากๆ)
-เทพแห่งการหาโอกาส คุณมีความได้เปรียบในเรื่องของข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะInsider หรือการเก็งกำไร
ดังนั้นถ้าคุณมีเครื่องมือเหล่านี้ ผมแนะนำให้คุณ เล่น Zero-Sum Game เพราะท้ายสุดเกมทั้งหมดที่คุณเล่น คุณมีโอกาสชนะมากกว่าแพ้
ถ้าคุณไม่มีเลย แต่คุณอยากเล่น Zero-Sum Game คุณก็ต้องยอมรับว่า คุณอาจจะกลายเป็นผู้แพ้มากกว่าผู้ชนะในเกมเหล่านั้น
แต่ ถ้าคุณไม่มีเทพเหล่านั้นมาช่วย สิ่งที่คุณจะหาได้คือ ต้องมีเทพ องค์อื่นมาประทับ และใช้เทพองค์นั้นมาเล่น nonzero-sum games เพื่อท้ายสุด คุณก็จะเป็น ผู้ชนะเสมอ ..
แต่เรามักไม่ค่อยชอบ เพราะเทพองค์นี้ ที่มาช่วยเรา มักจะต้องอาศัยอะไรๆหลายๆอย่างที่เราไม่ชอบทำ
เทพองค์นั้น ก็คือ เทพแห่งการอดทน และ ความรู้ (การค้นหาบริษัทที่มีผลประกอบการดี มีปันผลดีต่อเนื่อง มี mos ดีๆ มี downside risk น้อยๆ )
เทพแห่งการอดทน มักต้องใช้เวลา กินเวลานาน เสียเวลาในการรอคอย
แต่พวกเรามักไม่เลือกเทพเหล่านี้ …
....
มีข้อโต้แย้ง อยู่ว่า ในกรณีมี Big correction หรือ ตลาด crash ครั้งใหญ่ นั้น ตลาดจะเป็น Zero-Sum Game เสมอ ..
ในทัศนคติผมนั้น ไม่เสมอไป และไม่ใช่เครื่องมือที่เรียกว่า Stop loss หรือ cut loss
เมือไรคุณใช้ เครื่องมือข้างต้น (Stop loss หรือ cut loss) นั้นคือ คุณก็เข้ามาในเล่น Zero-Sum Gameแล้ว
-ขออธิบาย การเล่น Zero-Sum Game ที่จะทำให้คุณมีโอกาสชนะมากกว่าแพ้ ก็คือคุณต้องมีเครื่องมือ ที่เรียกว่า Stop loss หรือ cut loss เพราะท้ายสุด คุณอาจจะแพ้ แต่ก็ไม่แพ้มาก หรือ คุณยังเป็นผู้ชนะที่ไม่ชนะมากในกรณีที่เกิดbig correction
แล้ว อะไรที่เป็นเครื่องมือของ nonzero-sum games ในกรณีเกิดภาวะ big correction
ผมเขียนมาตลอด นั้นคือ
mos และ downside risk จะ เป็นเครื่องมือในการเล่น nonzero-sum games เพราะ อย่าลืมว่า การเล่น nonzero-sum games ที่ต้องการผู้ชนะกับผู้ชนะ คือ เราจะไม่ได้เล่นเพื่อเอาเงินจากผู้เล่นคนอื่น แต่เราได้เงินจากกองกลางที่บริษัท เอามาลงขันเพิ่ม (ก็คือ เงินปันผลนั่นเอง )
...
Big correction ที่เกิดจากเกม ใน nonzero-sum games คืออะไร
ก็คือ การให้โอกาสกับผู้เล่นคนอื่นที่จะกลายเป็นผู้ชนะ เช่นเดียวกับเรา <
เพราะ เมือไรที่ ตลาดเกิด crash แสดงว่า เกมนั้นมีความไม่สมดุลของผู้ชนะที่ได้มากเกินไป(เนื่องจากมีผู้เล่นที่มี capital gain ที่สูงกว่า จำนวนเงินปันผลทั้งหมดที่มาวางในกองกลาง ) ดังนั้นในเกม nonzero-sum gamesจึงต้องมี การปรับตัว เพื่อสร้างสมดุลขึ้นมาใหม่
เมื่อ เรามี mosในการถือหุ้นตัวนี้ ราคาที่ดิ่งลงมาของหุ้นตัวนั้นก็ จะไม่ได้กระทบกับเรามาก ส่วนcapital gain ที่ลดลงของเรา เป็นแค่ตัวต่อรองของเรา ให้กับตลาดในเกม นี้ เพื่อให้เราเป็นผู้ชนะเช่นเดียวกับคนอื่น และให้คนอื่นเห็นว่า เราไม่ได้เปรียบไปกว่าเค้า
ดังนั้น capital gain ใน nonzero-sum games จึงไม่มีจริง เป็นเพียงตัวเลขต่อรองเพื่อให้เราเป็นผู้ชนะในเกม เหมือนคนอื่นๆ เมื่อตลาดเกิด crash
....
งง กันป่ะ ถ้างง ลองค่อยๆอ่านแล้วนึกภาพ ไป
เรามักสับสน ในเรื่องของ capital gain เสมอ ผมถือว่าเป็นกับดัก ทางใจ อย่างหนึ่งในการนำเราเข้าไปสู่ Zero-Sum Game เสมอ ถ้าเราคิดเรื่องกำไรและขาดทุนจากราคาหุ้น
ใน มุมมองของ nonzero-sum games ราคาหุ้นที่เราถือถ้ามี mos มากๆ อาจจะมีกำไรเยอะหรือ down side น้อยๆ นั้น กำไรตัวนี้หรือ down side น้อยๆนี้ เป็นแค่ ตัวที่จะเสนอต่อรองให้กับผู้เล่นคนอื่น เวลาตลาดเกิดความไม่สมดุลของผู้ชนะ
อธิบาย ง่ายๆเช่น การคุยการทูตของสองประเทศ เราต้องการ win to win การเสนอข้อดีๆกับอีกฝ่าย ทำให้อีกฝ่ายยอมรับ หรือการที่เรามีไพ่เหนือกว่า แล้วเราก็เอาไพ่ที่เหนือกว่ายื่นให้อีกฝ่ายโดยที่เราไม่เสียเปรียบ ทำให้เค้ารู้สึกว่านี่คือ การร่วมมือ และก็จะจบแบบ happy นั้นคือ การเสนอไพ่นั้นให้กับอีกฝ่าย นั้นคือ การต่อรองที่ ทำให้เกิด win to win นั้นเอง (ถ้าเทียบกับหุ้น ก็คือ เรายอมที่จะให้ราคาหุ้นเข้าใกล้mos ของเรามากขึ้น )
...
สุดท้าย อยู่ที่ตัวเรา ที่จะเลือกเกม ว่าอยากเป็นผู้ชนะตลอดหรือเปล่า ...
ปล. เขียนไปเขียนมาอ่านเข้าใจยากกันอีกแล้ว 555555
Create Date : 26 กันยายน 2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น