เทคนิคส่วนตัวในการหาจังหวะซื้อหุ้น (โดยอิงพื้นฐาน ..)
ที่มาhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kunjoja1.คัดกรองก่อนโดยมีหลักยึดอยู่ ง่ายๆ
-พื้นฐานที่เรายึดเป็นหลัก ต่างๆ เช่น ROE ROA dividend yield เป็นต้น
-ตลาดให้ความคาดหวังไม่สูงมากนัก แปลตรงๆ ก็คือ P/E ไม่ได้สูงกว่า อุตสาหกรรมเดียวกัน
-เป็นหุ้นที่มี Undervalue หมายความว่า.... ราคาหุ้นในตลาด ณ ปัจจุบัน ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น
ผมขอแค่สามตัวหลักก่อนเบื้องต้น ตัวคัดกรองแรกก็คือ พื้นฐานบริษัทง่ายๆ ตัวกรองต่อไปก็คือ พีอี บวกกับ ปันผล ถ้าผ่าน ก็เข้ามาเป็น Watch list แต่จังหวะเข้าซื้อของผม ที่สำคัญก็คือ Undervalue ดังนั้นวันนี้ไม่ได้มาคุยเรื่อง วิธีการหาหุ้น แต่มาคุยเรื่อง หาจังหวะเข้าซื้อหุ้น สมมุติๆ นะว่า มีหุ้นที่อยู่ใน watch list แล้ว เราจะเข้าซื้อหุ้นตัวนี้อย่างไร.......
2.มี สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกเสมอคือ ณ ปัจจุบัน ตลาดมักจะให้ overvalueกับ หุ้นหลายๆตัว เช่น ในทางเทคนิคก็มีกราฟสวยๆ ในทางพื้นฐานมีกระแสข่าวเยี่ยมๆ สร้างความคาดหวังกับบริษัทนี้ในอนาคต พวกนี้ เล่นได้แต่ต้องระวัง เพราะสิ่งที่เราเล่นนั้น เป็น ความคาดหวัง ผมมองว่าเป็นการมอง expect value in future คือ เรามองพื้นฐานไปอนาคตแล้วว่าบริษัทนี้ จะให้ผลตอบแทนกับนักลงทุนอย่างไร fair value ที่เกิดนั้น ในอนาคตจะต้องเป็นเท่าไร กลุ่มเหล่านี้ เล่นได้ถูกตัวถูกจังหวะรู้หลัก ก็รวยไม่รู้เรือง ผมยกตัวอย่าง ที่เห็นปัจจุบัน เช่น PTL AJ ถ้าย้อนหลังไปปีหนึ่ง ก็เช่น cpall cpf hmpro เป็นต้น
3.เทคนิคของผมจะให้ความสำคัญของ present มากกว่า อนาคต เพราะผม คิดว่า ผมไม่รู้อนาคตว่าบริษัทนั้นๆจะเป็นอย่างไร ...อาจจะดีจริง หรือ ตรงข้าม ดังนั้น เอาข้อมูลปัจจุบันมาใช้เท่าที่หาได้ อันไหนหาไม่ได้แล้วต้องไปขุดคุ้ยมาให้ได้ ก็ไม่สามารถ เพราะขี้เกียจ 55555 (จริงๆเป็นหตุผลไม่ดีนะอย่าเลียนแบบ )
4.เอา ความจริงปัจจุบันเป็นตัวตั้งว่า value ของ ราคาหุ้นเป็น under over หรือ fair สูตรง่ายๆที่value investor ฝึกหัดหลายๆคนใช้กัน(รวมทั้งผมด้วย) ก็คือ FV = EPS * PE
5.ผมเกริ่นแล้วว่า ต้องเป็นข้อมูล fact เท่านั้น ที่หาได้ง่ายๆ ดังนั้น การใช้ ความคาดหวังว่า บริษัทนั้นๆจะมี eps สิ้นปีเท่าไร อนาคตเท่าไร อันนั้น คือคาดหวัง ผมไม่เล่นด้วย กับมัน แต่ ถามตรงๆ ผมฝันถึงได้ แต่ผมไม่ละเมอ ออกมา เพราะว่า ละเมอเมื่อไร เป็นเรื่องทุกที EPs ณ ปัจจุบัน( 11/11/53) ก็จะ รู้ผลประกอบการไตรมาสสาม ของปี 53 เท่านั้น ผมก็ขอข้อมูลที่ได้แค่นั้นพอ ไม่ละเมอไปถึง ไตรมาสสี่ของปี 53 ขอยกตัวอย่าง หุ้นที่ผมถือแล้วกัน (ไม่ได้เชียร์หุ้น ) เช่น smt ประกาศผลไตรมาสสาม ไปแล้ว ผลก็คือเราได้ข้อมูล fact ว่า งบการเงินรวม EPS รวมเก้าเดือน เท่ากับ 1.014 เป็นต้น
6.ไอ้ที่ยากสุด คือ พีอี นี่แระ เพราะ แต่ละทีให้ต่างกันเหลือเกิน และดันเป็นความคาดหวังของ Market เสียด้วย เผลอๆให้พีอีสูงลิ่ว บางครั้ง จำใจต้องไปหาใน set อีกเช่นกัน แป๋วววววว ! ทำไม smt ตลาดให้ พีอี สูงชะมัด 16.74 ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมนี้ อยู่ราวๆ 13 เอง (อันนี้คือตัวอย่าง จริงๆต้องกรองหุ้นมาก่อนแล้วในระดับหนึ่ง เลือกหุ้นที่มีพีอี ต่ำๆหรือ อยู่ในค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้นๆ)
7.มีวิธีลัดอีกวิธีในการพิสูจน์ ว่า ตลาดให้ พีอี เท่านี้นั้น เหมาะสมไหม ก็คือ การหา PEG ถ้าออกมาต่ำกว่า หนึ่ง แสดงว่า โอเคแระ เอาพีอีอันนี้มาเป็นตัวยึด ถ้าสูงกว่า 1 ขอใช้ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมแล้วกัน
8.growth จะหาจากไหน ก็ดูจากกำไรสุทธิ สามไตรมาส (หาเท่าที่หาได้) เฉลี่ยว่าขึ้นมากี่เปอร์เซ็นต์ จริงๆแล้ว ตามหนังสือ เค้าให้ดู กำไรเป็นรายปี แต่ผมขอเป็นไตรมาสแล้วกัน ชอบเล่นสั้น 555
9.สรุปแล้วกัน ว่า smt ตัวนี้ ได้ค่า PEG เกือบๆหนึ่ง อ่า ผมจำต้องใช้ pe ที่สูงลิ่วนี้ คือ 16.7 หรือไม่ก็ลดพีอีลงมานิดนึงแต่ไม่ควรมากกว่านี้
10.เมื่อ ได้ EPS ได้ PE แล้ว เราก็พบว่า ณ ปัจจุบัน ครบสามไตรมาส ราคาที่เหมาะสมควรอยู่ที่ราวๆ 16.7 บาท แต่เมือเราดูราคาตลาดจะเห็นว่า overvalue นิดนึง ดังนั้น สำหรับผมปัจจุบันจึงไม่ใช่จังหวะในการเข้าซื้อหุ้นตัวนี้ เมือไร ตลาดเกิด panic แล้ว ลดราคา ลงมาให้ หุ้นตัวนี้ราคาต่ำกว่า FV ที่ผมคำนวณไว้เบื้องต้น นั้นคือ จังหวะ การเข้าซื้อ ของผมครับ
11.ความ หมายของการเข้าซื้อ เมือไรราคาเป็น undervalue in the present ก็แปลว่า เรามีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง เพราะสุดท้ายราคาหุ้นก็ย่อมสะท้อนไปตามมูลค่าพื้นฐานของหุ้น (ถ้าเราเชื่อว่า theory นี้ถูกต้องนะครับ ถ้าไม่เชื่อ ก็ไปเล่นแนวอื่น ที่ไม่ใช่พื้นฐาน) ผมขอเรียกสั้นๆว่า มี mos เพียงพอ ( margin of safety) ยิ่ง undervalue มากเท่าไร ยิ่ง มีmos มากเท่านั้น
12.หลักการสำคัญที่ผมคิดคือ อนาคตกำไรที่เพิ่มขึ้น ของบริษัท จะทำให้ present fair value เป็น undervalue ในอนาคตเสมอ ดังนั้น ถ้าปัจจุบันเราถือ หุ้นที่ undervalue ของปัจจุบัน อนาคตเราก็จะมีmos ที่ทรงประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีก ....
13.ดัง นั้น การใช้ FV ของผม จึงไม่ใช่ target price ของตัวผม เพราะผมเชื่อใน fact มากกว่า เมื่ออนาคต บริษัท ให้ผลประกอบการออกมา เราก็จะได้ FV ใหม่ทุกครั้งไป จนกว่า FVนั้น จะทำให้ mos ของเราลดลงไปเรื่อยๆ ก็เป็นตัวบ่งบอกได้ว่า บริษัทนั้น เราพร้อมที่จะสละเรือ ได้หรือยัง
ขอจบ เพียง 13 ข้อ ครับผม
Create Date : 11 พฤศจิกายน 2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น