ads head

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

ทฤษฎีการแกะรอย บันทึกจาก ฟิลลิป ฟิชเชอร์ ถึง วอร์เรน บัฟเฟตต์

ทฤษฎีการแกะรอย บันทึกจาก ฟิลลิป ฟิชเชอร์ ถึง วอร์เรน บัฟเฟตต์


ที่มา http://www.thaivi.org/%E0%B8%9

Filed under บทความ
“อันความรู้รู้กระจ่างแต่อย่างเดียวแต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล” ผมขอเริ่มต้นบทความผมด้วยสุภาษิตไทยบทนี้ กับภาวะของตลาดหุ้นไทยในปัจจุบัน ภาวะตลาดหุ้นไทยในกระแสวีไอ นักลงทุนรุ่นใหม่มาแรงครับ คนเล่นหุ้นหน้าใหม่เมื่อเริ่มเล่นหุ้นก็อยากเป็นวีไอ ไว ไว เสือเฒ่าเก๋าเกมส์ก็สวมวิญญาณวีไอ กันก็มี นักเก็งกำไรปล่อยข่าวก็แอบใส่หน้ากากวีไอ ก็ไม่ใช่น้อย เม่าน้อยกับคำถามว่า พี่ NB ครับ เราควรใช้ พีบี พีอี พีเอสอาร์ พีโน่น พีนี่ พีนั่น มาวิเคราะห์ดีมั๊ยครับ? จะใช้ตัวอะไรก่อน อะไรมากดี น้อยดีมั๊ย จะใช้สัมพันธ์กันอย่างไร จะยังไงดีครับพี่?

 พี่ครับ พี่ครับ! สัปดาห์ที่แล้วผมวิเคราะห์ได้หุ้นมาตัวนึง พีอี ต่ำผมเลยซื้อไว้ใส่พอร์ต สัปดาห์นี้ได้หุ้นใหม่มาอีกตัวครับพี่ แหมตัวนี้พีอีต่ำกว่าเดิมอีก ผมเลยรีบขายตัวเดิมเลยครับพี่มาใส่ตัวใหม่แบบนี้ผมเป็นวีไอแล้วใช่มั๊ยครับ พี่ แล้ว พีบี, พีอีจี แล้วเอ่อ พีอาร์อาร์ พีเอสอาร์ แล้วต้องดูประกอบกันยังไงครับพี่ แหม ผมใจร้อนอยากเป็นวีไอเร็ว ๆ อยากรวยเร็ว ๆ

 เอ่อ น้องครับใจเย็น ทั้งนี้เมื่อประเทศของเรามีเศรษฐกิจดีขึ้น ตลาดหุ้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีคนรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดหุ้นมากขึ้น นักลงทุนแนววีไอ ก็มากขึ้น ทฤษฎีวีไอ โดนตีความกันไปหลากหลาย ทั้งเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ แล้วนักเก็งกำไรหายไปไหนครับ? นักเก็งกำไรหายไปจากตลาดหุ้นแล้ว หรือ ไม่เชิงหรอกครับ นักเล่นม้าเมื่อสนามม้าเปิดพวกเค้าก็พร้อมจะมาเจอกัน นักเล่นหุ้นก็เช่น เดียวกัน วอร์เรน บัฟเฟตต์ เคยเปรียบเปรยไว้ว่า

 นักแทงม้านั้นแยกออกเป็นสองกลุ่ม ความเร็วและสายพันธ์ นักเล่นที่พนันบนความเร็วต้องการตัวเลขในการวิเคราะห์ เค้าจะจดจ่อกับทุกอนูของตัวเลขเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายความเร็วสูงสุดที่ม้า ตัวนั้นจะทำได้ในการแข่งขัน บนเงื่อนไขของพื้นสนาม น้ำหนักที่ม้าต้องแบก ฯลฯ ส่วนนักพนันที่เล่นบนสายพันธ์ม้านั้นแทบจะไม่สนใจตัวเลขเลย กลับดูหมิ่นด้วยซ้ำ เค้ามักจะกล่าวซ้ำ ๆ ว่า “สิ่งที่ผมต้องการรู้ก็คือสายพันธ์ม้าและคู่แข่งในอดีตของมันเท่านั้น เอง”

 น่าแปลกที่หลักการทั้งสองสิ่งนี้มีเช่นเดียวกันในโลกแห่งการลงทุน เช่น เดียวกันเราก็มีนักลงทุนที่มุ่งเน้นในเชิงตัวเลข และมุ่งเน้นในเชิงคุณภาพ ของธุรกิจ เฉกเช่นปรัชญาการลงทุนของ ฟิลลิป ฟิชเชอร์
 นักวิเคราะห์ตัวเลขกล่าวว่า “ซื้อหุ้นราคาถูกและวัดผลงานของมันด้วยดัชนีต่าง ๆ เช่น พีอี พีบี ยิลด์ ฯลฯ”

 ส่วนนักวิเคราะห์เชิงคุณภาพกล่าวว่า “ซื้อหุ้นในกิจการที่ดีที่ สุด, ประกอบด้วยผู้บริหารที่เก่งที่สุด และก็ไม่ต้องไปกังวลกับตัวเลขต่าง ๆ”

 น่ามีความสุขครับ, ทาง ไปสวรรค์มีหลายทาง ทักษะและมุมมองของผู้มีประสบการณ์นำทางไปสู่ความสำเร็จ วอร์เรนโชคดีครับที่ได้ผู้ชี้ทางผู้ยิ่งใหญ่ที่นำพาเค้าไปสู่ผลสำเร็จมหาศาล อันเนื่องมาจากการชี้นำของฟิชเชอร์ หลังจากอ่านหนังสือของ ฟิล ฟิชเชอร์ Common Stocks and Uncommon Profits และอีกเล่ม Paths to Wealth Through Common Stocks ในช่วงต้นปี 1960 วอร์เรนก็ตั้งใจจะเข้าไปพบ ฟิล ฟิชเชอร์ ให้ได้

 เมื่อ วอร์เรนพบเค้าครั้งแรก เค้าค้นพบว่า ฟิล มีความละม้ายคล้ายกับอาจารย์เบน แกรม อย่างมาก ฟิชเชอร์เป็นคนถ่อมตัว ใจกว้าง และก็เชี่ยวชาญในการสอนคน วอร์เรนเรียนรู้เรื่องทฤษฎีการแกะรอย (Scuttlebutt) มาจากจุดนี้

 ”เราต้องออกไปเสาะหาข้อเท็จจริงของธุรกิจ จากการสืบค้น พูดคุยกับแหล่งข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น คู่แข่ง, ซัพพลายเออร์, ลูกค้า เพื่อที่จะสืบเสาะดูว่าการดำเนินงานของบริษัท แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร?”
 ความเข้าใจอันละเอียดถี่ถ้วนซึ่ง ฟิล ฟิชเชอร์ สอนให้วอร์เรนประกอบกับการวิเคราะห์เชิงปริมาณที่ เค้าเรียนรู้มาจาก อาจารย์เบน ช่วยให้ยึดมั่นในเส้นทางแห่งการลงทุนด้วยสติปัญญา และนั่นเป็นเส้นทางแห่งความสำเร็จของนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่คนนี้

 “ลงทุนด้วยสติปัญญา” คำ ๆ นี้เป็นคำสำคัญ เมื่อวอร์เรน บัฟเฟตต์เลือกบริษัทลงทุนเค้าให้น้ำหนักกับตัวเลขหรือคุณภาพ กิจการมากกว่า กัน วอร์เรนพูดไว้ละเอียดครับเมื่อครั้งเค้าไปบรรยายที่ University of Florida Business School ช่วงวันที่ 15 ตุลาคม 2540

 “อย่า! ซื้อเพียงเพราะตัวเลขมันบอกคุณให้ซื้อ” ถึงแม้ตัวเลขมันจะบอกคุณ ให้ซื้อและคุณซื้อมามันก็ยังไม่นับว่าเป็นการลงทุนที่ดี จงซื้อเพราะคุณมั่นใจในสินค้า ผลิตภัณฑ์ของเค้า ไม่ใช่เพียงเพราะมันถูก ครั้งหนึ่งวอร์เรนก็เคยซื้อบริษัททำกังหันลม (windmill) เป็นการลงทุนแบบก้น บุหรี่ เค้าซื้อมันมาราคาถูกมากในราคาเพียงหนึ่งในสามของเงินทุนหมุน เวียน และแน่นอนมันทำกำไร แต่มันก็แค่ครั้งเดียวและมันไม่เกิดขึ้นอีก มันไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ ชีวิ ตวอร์เรน บัฟเฟตต์ผ่านเรื่องพวกนี้มาหมดแล้วบริษัทรถรางเค้าก็ซื้อมาแล้ว

 กลับกันในเชิงคุณภาพ วอร์เรนแทบจะสามารถตีแตกเกือบทุกครั้งแค่เพียงแค่พูดคุยโทรศัพท์เพียงห้านาที หรือสิบนาที !

 “But if you don’t know enough to know about the business instantly, you won’t know enough in a month or in two months.”

 ถ้ามันเป็นธุรกิจที่ยากเย็น ฟังคำอธิบายสั้น ๆ แล้วคุณไม่เข้าใจ ต่อให้คุณใช้เวลาอีกเดือนหรือสองเดือนคุณก็ไม่เข้าใจมันอยู่ดี คุณต้องมอง ตัวเองให้ออกว่าสิ่งใดเรารู้สิ่งใดเราไม่รู้ สิ่งใดเราเข้าใจสิ่งใดเราไม่เข้าใจ นั่นคือหัวใจสำคัญของการลงทุน แต่กว่า วอร์เรน จะมาถึงจุดนี้ได้มันไม่ใช่ง่าย

 “ลงทุนภายใต้ขอบเขตความรู้ของตนเอง” มันไม่สำคัญหรอกว่าคุณจะรู้มากรู้น้อยเป็นพหูสูตรมาจากไหน คุณไม่จำเป็นต้องเป็นวอร์เรน บัฟเฟตต์คนที่สอง คุณไม่ต้องเป็น ดร.นิเวศน์ คนที่สอง มันไม่สำคัญ มันสำคัญที่ว่าสิ่งใดที่คุณไม่รู้ไม่เข้าคุณอย่าไปยุ่ง ไม่จำเป็นต้องรู้จักหุ้นหมดทุกตัวในตลาดสมมติคุณรู้แค่ 30 ตัวในตลาดรู้แบบรู้จริงนะ คุณก็โอเคแล้วครับ เมื่อคุณรู้จักธุรกิจนั้น ๆ เป็นอย่างดีคุณก็ใช้เวลาในการทำความเข้าใจน้อยลง จุดนี้ทำให้ผมนึกไปถึงสุภาษิตไทยที่ว่า “อันความรู้รู้กระจ่างแต่อย่างเดียวแต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล” แต่กว่าเราจะ “รู้กระจ่าง” ในธุรกิจนั้น ๆ เราต้องทำอย่างไร วอร์เรน เองเค้าก็ไม่ได้เก่งมาแต่เกิดหรือเริ่มลงทุน เค้าทำอย่างไร?

 วอร์เรนทำงานหนักอย่างมากเพื่อให้รู้ลึกในบริษัทที่เค้าลงทุนและเค้าใช้ Scuttlebutt Approach  หรือทฤษฎีการแกะรอยครับ

 I would go out and talk to customers, suppliers, and maybe ex-employees in some cases. Everybody. Everytime I was interested in an industry, say it was coal, I would go around and see every coal company.

 วอร์เรนจะไปพูดคุยกับลูกค้าของบริษัท ซัพพลายเออร์ของบริษัท และพนักงานเก่า คือ ทุกคน ทุกที่ นั่นหล่ะครับ ถ้าเค้าสนใจในธุรกิจเหมืองเค้าก็จะไปดูบริษัทเหมืองทุกๆ ที่ เค้าจะไปคุยกับซีอีโอว่า “ถ้าคุณจะซื้อสต๊อกของบริษัทเหมืองบริษัทอื่นที่ไม่ใช่คุณ คุณคิดว่าใครน่าสนใจ?” ทำไมครับ? คุณเก็บข้อมูลเหล่านี้ รวบรวมข้อมูลเหล่านี้ทีละนิดทีละน้อย และคุณก็จะได้เรียนรู้เติมเต็มภาพของธุรกิจจนคุณเกิดความรู้ความเข้าใจขึ้น มา

 แล้วคู่แข่งล่ะ ถ้าคุณมีปืนอยู่ในมือและคุณยิงใครทิ้งก็ได้โดยไม่ผิดกฎหมายคุณอยากซัดใคร? ทำไม? ลองถามซีอีโอ ด้วยประโยคเหล่านี้และคุณจะได้รับคำตอบที่เต็มไปด้วยความลึกซึ้งของคนที่ อยู่ในธุรกิจจริง ๆ เชื่อผมเถอะความรู้จะติดตัวเราไปจนวันตาย เมื่อเราเรียนรู้สิ่งใดแล้วสิ่งนั้นก็จะเป็นองค์ความรู้ให้เราต่อยอดไปได้ เรื่อย ๆ นั่นทำให้คุณได้เรียนรู้ รู้ลึก รู้จริง “รู้กระจ่าง”

 น้องไวไว อยากเป็นวีไอ ซื้อปั๊บขึ้นปุ๊บกำไรเลยเดือนหน้า หรืออีกสองเดือน ค่อยหาตัวใหม่ให้พีอีต่ำ ๆ ไว้ ผมคิดว่านั่นยังไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องสักเท่าไรครับ นักลงทุนรุ่นใหม่ควรใช้เวลาให้ลึกกับธุรกิจ อ่านรายงานประจำปี 56-1 ฟัง Oppday ประชุมผู้ถือหุ้น คุยกับ IR หาข้อมูลจากเน็ต จากการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม เปรียบเทียบงบการเงินของลูกค้า คู่แข่ง หลาย ๆ บริษัท ถามตัวเองว่าทำไม เค้ากำไรมากกว่า ทำไมคู่แข่งมาร์เก็ตแชร์มากกว่า ผู้บริหารให้สัมภาษณ์อะไรไว้บ้าง นั่นเป็นเส้นทางวีไอที่ถูกต้อง และจะทำให้พวกเราประสบความสำเร็จบนเส้นทางนี้ได้ยั่งยืนกว่าครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น