ads head

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

Fully invest ตอนที่ 3. Rebalancing Portfolio or Dynamic port

Fully invest ตอนที่ 3. Rebalancing Portfolio or Dynamic port
ที่มาhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kunjoja
ขอเสริมประเด็นเพิ่มและทบทวนเพื่อเดินหน้าต่อ...
ตอนที่ 1 ทัศนคติของการลงทุนเต็มร้อย : ผมเสริมประเด็นคำว่า เต็มร้อย นั้น เต็มร้อยจากอะไร
ใน มุมมองของผมจะมองในแง่เงินออมที่เป็นสัดส่วนของการลงทุนทั้งหมด ไม่ใช่เงินเก็บ ที่เก็บไว้สำหรับการใช้จ่ายในอนาคตหรือ ยามจำเป็น ดังนั้นต้องแยกระหว่าง เงินออม กับ เงินเก็บ ให้ดี .ง่ายๆคือ เงินเย็นนั้นเอง

ตอนที่ 2 การกระจายเงินเงินออมไปยังตราสารต่างๆ แล้วแต่บุคลิกของแต่ละคนนั้น ไม่ใช่การกระจายโดยเน้นแค่ น้ำหนักของการลงทุนแบบไหนมากกว่ากัน แต่ต้องลงทุนโดยมีพื้นฐานความรู้ของวัฎจักรทางเศรษฐกิจ(Economic cycles)ด้วย เพราะ เมื่อไรลงน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มต่างๆไม่สอดคล้องกับวัฎจักรนั้นๆแล้ว ก็จะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ไม่ดีเท่าที่ควร แม้แต่เราจะเป็นconservative type ก็ต้องเรียนรู้เพื่อทำให้ได้ผลตอบแทนที่ดีด้วยเช่นกัน
…..

วัฎจักรทางเศรษฐกิจ(Economic cycles) นั้นคืออะไร !
ผมขอเอารูปวงจรมาให้ดูแทนคำอธิบาย ยาวๆ
จากรูปจะเห็นว่า วงจรเศรษฐกิจในแต่ละช่วงก็จะมี ตราสารต่างๆและธุรกิจต่างๆที่ up and down แตกต่างกันในแต่ละช่วงของวงจร



เราตอบได้ไหมว่า ช่วงนี้ คือ ช่วงไหนของวงจร ถ้าเราตอบได้ นั้นคือ โอกาส ในการลงทุน ของคุณนั้นเอง !
............
หมายเหตุสำหรับคนที่ไม่พร้อมศึกษาวงจรเหล่านี้ ....
คน ทั่วไปที่ไม่มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับ cycles ต่างๆหรือ ไม่มีเวลามาศึกษาว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ควรให้น้ำหนักการลงทุนกับตราสาร หรือcommodities ประเภทไหน ก็ไม่ต้องตกใจ มีทางเลือกที่น่าสนใจ(สำหรับคนที่ไม่กล้าลงทุนด้วยตนเอง) นั่นคือ ...กองทุนต่างๆ ที่บริหารจัดการด้วยสถาบันต่างๆในประเทศ เช่นการลงทุนในLTF RMF หรือแม้แต่การลงทุนในกองทุนต่างๆที่ไม่ได้ช่วยการลดหย่อนภาษีก็มีมากมาย และ เราอาจจะไม่รู้ตัวว่า เงินเราก็หมุนเวียนอยู่ในระบบกองทุนเหล่านี้ด้วย เช่น ข้าราชการ ก็มี กบข. สถาบันเหล่านี้ ก็จะมีผู้จัดการกองทุน ซึ่งแต่ละกองทุนก็จะมีกลยุทธ์ที่แตกต่างกันไป โดยคำนึงถึง กลไกต่างๆ เช่น Economic cycles เป็นต้น
ข้อดี ในการลงทุนในกองทุนคือ เราไม่ต้องลงแรง หาความรู้ และลงทุนด้วยตนเอง และน่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินในธนาคารอย่างเดียว
แต่ข้อเสียของ การนำเงินไปลงทุนในกองทุนต่างๆนั้น คือ ค่าใช้จ่ายต่างๆของกองทุน(อาทิเช่น ค่าดำเนินการ ค่าจ้าง )ซึ่งจะกินผลตอบแทนของเราทำให้ได้ผลตอบแทนที่น้อยลงบ้าง และด้วยความเป็นกองทุนที่มีจำนวนเงินมาก รวมถึงข้อจำกัดของกองทุนที่ต้องอยู่ในระเบียบนโยบายต่างๆ ทำให้การเปลี่ยนแปลงตราสารต่างๆทำได้ลำบาก บางกรณีถ้าเกิด break down ของตราสารใดตราสารหนึ่ง ก็ทำให้ผลตอบแทนของเราลดลงได้เช่นกัน
....

ที่กล่าวมาทั้งหมด ก็เป็นแค่ เรียกน้ำย่อย 55555
เพราะ สุดท้าย ผมก็คิดว่า ทุกๆคนต้องการอยากลงทุนด้วยตนเอง (ไม่อยากยืมมือชาวบ้านเท่าไรนัก) ถ้าจะยืมมือกองทุนก็คงเพียงเพราะผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น เพื่อลดหย่อนภาษี โดนบังคับกลายๆเช่น กบข. เป็นต้น


.....
กลับ มาที่ประเด็นการกระจายการลงทุน อีกรอบ ไม่ว่าจะลงทุนเต็มร้อยในตราสารหุ้น หรือ กระจายไปในตราสารต่างๆนั้น สิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือ การลงทุน ไม่ได้จบแค่การกระจายการลงทุน แต่ต้องมี dynamic ไม่ใช่ หยุดนิ่ง ..

หมายความว่าอย่างไร !
...

ผมเอากราฟแท่ง มาให้ดูกัน

Smart Ways to Monitor Your Portfolio
Bryan Olson CFA, Vice President, Head of Portfolio Consulting, Charles Schwab & Co., Inc. May 27, 2004



Portfolios that are not rebalanced can be much more volatile over time that portfolios that are periodically rebalanced. Schwab looked at two portfolios invested in 60% stocks and 40% bonds 25 years ago. The first portfolio was never rebalanced, while the second was rebalanced back to 60% stocks at the beginning of each year.

At the end of 2003, the ending dollar value of the two portfolios was less than 4% apart. However, when we looked at what each investor experienced during those 25 years, we found the range of annual returns varied dramatically. The first portfolio ended up with a final allocation of nearly 80% stocks, and the difference between the highest and lowest annual return was 25% wider than the rebalanced portfolio

ขออธิบายย่อๆ คือ
เมื่อ มีการปรับพอร์ท หรือ rebalance พอร์ทใหม่ จะทำให้ พอร์ทนั้น มีความผันผวนน้อยกว่า พอร์ท ที่นิ่งเฉย ในอีกแง่มุมหนึ่งคือ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการลงทุนได้ดีกว่า การลงทุนโดยไม่ทำอะไรเลย


.......
อีก ข้อมูลหนึ่ง SCIR with data from Ibbotson Associats ,Inc. ได้แสดงพอร์ทการลงทุน ประเภท moderate portfolio ตั้งแต่ปี 1970 ถึง 2005
จะเห็นว่า ถ้ามีการปรับพอร์ทอย่างสม่ำเสมอ จะมีความผันผวนของพอร์ท น้อยกว่า และได้ผลตอบแทนมากกว่า กลุ่มที่ไม่มีการปรับพอร์ทเลย..



Lowered Risk and Increased Returns if Rebalancing Portfolio



ดังนั้น ผมขอสรุปก่อนจบว่า
1.การจับ จังหวะเวลาและให้น้ำหนักกับการลงทุนในแต่ละกลุ่มตราสารหรือ ประเภทของกลุ่มหุ้นให้ถูกกับวงจรเศรษฐกิจ ก็จะทำให้ได้ผลตอบแทนที่ดีได้
2.เมือไรที่คุณหยุดนิ่ง ไม่ทำอะไรกับพอร์ท นั่นก็เสมือนว่า คุณหยุดการลงทุน และเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้ ผลตอบแทนที่ได้ลดลง

ดังนั้นสิ่งที่ทำให้พอร์ทของคุณมีประสิทธิภาพก็คือ การทำให้พอร์ทของคุณมีdynamic อยู่สม่ำเสมอ

ความหมายคือ ต้องหมั่น ปรับพอร์ท โดยคำนึงถึงจังหวะเวลา และโอกาส
(ส่วน เวลาไหน ตอนไหน ตัวไหนที่จะต้องปรับ นั้น โอกาสว่างๆจะมาเขียนเล่าให้ฟังต่อไปครับ )

......
ปล. ความเห็นต่างๆ เป็นแค่ไอเดียที่นำเสนอ ถูกผิด ขออภัยและน้อมรับ ครับ



Create Date : 29 สิงหาคม 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น