ads head

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

Fully invest ตอนที่ 2 Portfolio selection diversification of investment

Fully invest ตอนที่ 2 Portfolio selection diversification of investment
ที่มาhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kunjoja
ผมได้เกริ่นนำไว้ก่อนหน้านั้นว่า
fully invest นั้นมีหลายๆคนมองในมุมของการลงทุนในหุ้นอย่างเดียว ที่จะทำให้ได้ผลตอบแทนสูงที่ สุด แต่มีอีกมุมที่น่าสนใจเกี่ยวกับการลงทุนที่ไม่จำเป็นต้องลงในหุ้นเต็มร้อย ของเงินออมเสมอไป
ผมคิดว่า หลายๆคนเคยได้ยินคำว่า อย่าใส่ไข่ในตะกร้าใบเดียวกัน มาบ้างแล้ว
มีความหมายที่มักกล่าวถึงหลายๆอย่าง

- เพื่อลดความเสี่ยง port ของเราเองไม่ควรจะมีการลงทุนในหุ้นเพียงอย่างเดียว
- เมื่อมีการลงทุนในหุ้น ก็ไม่ควรที่จะลงทุนในหุ้นกลุ่มเดียวหรือตัวเดียว


ใน One up on Wall street ของ peter lynch (แปลโดย ดร.นิเวศ) ก็ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ในบทหนึ่งของเค้า (บทที่ 16 การออกแบบพอร์โฟลิโอ) คร่าวๆว่า

เป็น เรื่องที่ไม่ปลอดภัยเสียเลยที่จะถือหุ้นเพียงตัวเดียวแม้ว่าท่านจะไตร่ตรอง ดูอย่างถี่ถ้วนแล้วก็ตาม หุ้นตัวนั้นที่คุณเลือกเพียงตัวเดียวอาจจะตกเป็นเหยื่อของสถานการณ์ที่เรา ไม่คาดคิดมาก่อนได้เสมอ ถ้าผมมี Port ขนาดเล็กผมจะสบายใจถ้าถือหุ้นไว้ 3-10 ตัวซึ่งมีประโยชน์ได้หลายอย่าง
เช่น หนึ่งในนั้นอาจจะพบกับหุ้นสิบเด้ง (Peter lynch ชอบพูดถึง การค้นหาหุ้นสิบเด้งบ่อยมาก) และ มีหุ้นหลายตัว ก็เพิ่มสภาพคล่องในการสับเปลี่ยนหุ้นในพอร์ท (เรื่องนี้จะกล่าวต่อไปในตอนต่อไป)



ในบทความของ Charles Schwab & Co., Inc. (May 21, 2010) ได้แสดงแผนผัง ในหัวข้อ why you Should Diversify Your Investments


Source: Schwab Center for Financial Research with data provided by Morningstar, Inc. Asset class performance is represented by total annual returns of the following indexes: S&P 500® Index (large cap), Russell 1000® Growth Index (large-cap growth), Russell 1000® Value Index (large-cap value), Russell 2000® Index (small cap), Russell 2000® Growth Index (small-cap growth), Russell 2000® Value Index (small-cap value), MSCI EAFE Net of Taxes (international stocks), Barclays Capital U.S. Aggregate Bond Index, and Citigroup U.S. Domestic 3-Month Treasury bills (cash). Returns assume reinvestment of dividends, interest, and capital gains.

แผนผังนี้ ได้เผยแพร่กันอย่างกว้างขวางในเอกสารงานวิจัยต่างๆของต่างประเทศ บางท่านอาจจะเคยเห็นหรือผ่านตามาบ้างแล้ว ขออธิบายย่อๆแล้วกัน
ถ้า ได้ดูแผนผังนี้แล้วจะรู้สึกได้ว่า Asset classes (ตราสารต่างๆ) จะให้ผลตอบแทนในแต่ละปีแตกต่างกันไป ในบางปี ตราสารทุนต่างๆ (ในตลาดหุ้น) ก็ให้ผลตอบแทนได้ดีสุด บางปีการถือพันธบัตรก็ทำให้มีผลตอบแทนได้ดีสุด สิ่ง ที่เค้าต้องการบอกคือ เราไม่สามารถคาดเดาอนาคตได้แม่นยำว่าปีไหนจะมีตราสารไหนให้ผลตอบแทนได้สูง สุด แต่เรามีวิธีการทำให้เราได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจมากกว่าการลงทุนในกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง (ถ้าสนใจ อ่านต่อไปเดียวเล่าให้ฟัง อิอิ )

ก่อนการมองว่า ทำอย่างไรที่เราลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจนั้น หลักการเบื้องต้นที่เค้ามักพูดกันคือ ทัศนคติต่อการลงทุนในกลุ่มประเภทต่างๆนั้นเอง
ผมขอเอาหนังสือเล่มหนึ่งมาอ้างอิง.ซึ่งนักลงทุนหลายๆคนถือเป็นคัมภีร์ที่ทรงคุณค่าเล่มหนึ่ง .เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ทัศนคติต่อการลงทุนมีผลต่อการจัดพอร์ทการลงทุนมาก ...

ในหนังสือ the intelligent investor ของ Benjamin graham (ภาคภาษาไทย) ก็ยังแบ่งกลุ่มนักลงทุนเป็นสองกลุ่ม เรียกว่านักลงทุนเชิงรับ(defensive investor ) กับนักลงทุนเชิงรุก( Enterprising investor) การแบ่งนั้นเพื่อ ให้เหมาะสมกับทัศนคติและอุปนิสัย รวมถึงความพร้อมในการรับความเสี่ยงในการลงทุนในหุ้น
กลยุทธ์ต่างๆของแนวคิด Benjamin graham ก็จะแตกต่างกันระหว่างนักลงทุนเชิงรับซึ่งยอมรับความเสี่ยงได้น้อยกว่า นักลงทุนเชิงรุก
สิ่ง ที่ Benjamin grahamแยกกลุ่มนั้นสะท้อนถึงแนวคิดของ Benjamin grahamที่เห็นความสำคัญของจิตวิทยาการลงทุน และบุคลิกภาพของนักลงทุนเป็นส่วนสำคัญ ดังนั้น นักลงทุนที่ใช้แนวคิดเชิงวิชาการจะต้องมี การเรียนรู้ทางจิตวิทยาร่วมด้วย จึงจะประสบความสำเร็จในการลงทุนในหุ้น ด้วยเช่นกัน


ในบทความเรื่อง How to Diversify Your Investments CFA, Vice President, Head of Portfolio Consulting, Charles Schwab & Co., Inc. October 12, 2007 () ก็ได้แยกกลุ่มนักลงทุนละเอียด เป็นห้ากลุ่ม ดังภาพล่างต่อไปนี้



เมื่อ เรารู้ว่าตัวเองควรอยู่ในกลุ่มไหน ก็มากระจายการลงทุนในกลุ่มต่างๆ ตัวเลขข้างล่าง ที่ให้ลงประเภทต่างๆนั้นเป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ย ที่ทดลองในการถือครองติดต่อกันเป็นเวลาโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 1970-2006 เกือบสามสิบกว่าปี จะเห็นว่า ค่าเฉลี่ยผลตอบแทนก็จะอยู่ราวๆ 8-11% คนที่อยู่ในกลุ่ม อนุรักษ์มากๆก็ได้ผลตอบแทนที่น้อยลงกว่าคนที่อยู่ในกลุ่มที่กล้ารับความ เสี่ยงมากๆ

ในแผนภูมิเหล่านี้มีสิ่งต่างๆสะท้อนออกมาให้เห็นใน แง่มุมต่างๆที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นปีที่เลวร้ายสำหรับผลตอบแทนก็จะติดลบเยอะ ปีที่ดีสุดก็มีผลตอบแทนอีกลักษณะ แต่คนอ่านน่าจะวิเคราะห์ด้วยตัวเองดีกว่า เลยเขียนอธิบายย่อๆให้แค่นี้พอ





ท้ายสุด ของหัวข้อวันนี้ ในมุมมองของผมก็คือ

1. การลงทุนนั้นสำคัญที่ทัศนคติของตัวเราเอง และความมั่นใจ รวมถึง ประสบการณ์ต่างๆ นำไปสู่การกระจายการลงทุนให้เหมาะสมได้ คนๆหนึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นแค่ conservative หรือ aggressive type เสมอ เมื่อเวลาผ่านไปเราสามารถเปลี่ยนtype ตัวเองได้
2. การใส่ไข่ในตะกร้าใบเดียวนั้น ในแง่เชิงวิชาการ ยังไม่เห็นว่า จะได้ผลตอบแทนที่สูงสุดดังนั้น ต่อให้เรามีความมั่นใจในการลงทุนแค่ไหนก็ตามเราควรจะแบ่งพอร์ทการลงทุนไว้ใน ส่วนของตราสารอื่นๆบ้างก็ดี (สำหรับผม ผมซื้อสลากออมสินไว้ส่วนหนึ่ง เผื่อดวงดี ถูกรางวัลที่หนึ่ง 5555 ) ส่วนเปอร์เซ็นต์เท่าไรแค่ไหนที่จะแบ่งนั้น การอิงวิชาการก็แค่เป็นตัวเลขเปรียบเทียบอย่าไปยึดติดมาก อยู่ที่การพิจารณาด้วยตัวเรา ปรับตามกาลเวลาให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ น่าจะดีที่สุด

ขอบคุณทุกท่านที่หลงติดตามอ่านจนจบหัวข้อ

บทความต่อไปจะมองไปว่า เมือลงทุนไปแล้ว การจัดความสมดุลอย่างไรแบบไหน ถึงจะได้ผลตอบแทนที่ดี



Create Date : 15 สิงหาคม 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น