5 คำถามยอดฮิตที่ต้องคิดเวลาขายหุ้น
ที่มา http://roadtobillion.wordpress.com/2012/09/24/%E0%B8%9
เคยรู้สึกแบบนี้มั้ยครับ เวลาหุ้นปรับตัวขึ้นมามากๆ
แทนที่จะถือไว้เรากลับกลัวว่ากำไรมันจะหดหายก็เลยรีบขายทิ้ง
เวลาหุ้นปรับตัวลงเยอะๆเราก็ใจฟ่อไม่กล้า cut loss สุดท้ายหุ้นก็ลงต่อไปอีก
ผมเชื่อว่านักลงทุนทุกคนน่าจะเคยผ่านความรู้สึกแบบนี้มาบ้าง
ความรู้สึกไม่แน่ใจ สงสัย ว่าเมื่อไหร่เป็นจังหวะที่เหมาะสมในการ “ขายหุ้น”
วันนี้ผมก็เลยขออนุญาตวิเคราะห์แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการขายหุ้นผ่านคำ
ถาม 5 ข้อที่คิดว่าทุกคนน่าเคยจะถามตัวเองมาบ้างเวลาคิดที่จะขายหุ้น
1. หุ้นลงมาเยอะแต่ต้นทุนแพง ไม่ควรขายรึเปล่า?
ผมสังเกตนักลงทุนหลายท่าน (ทั้งสมัครเล่นและมืออาชีพ) มีแนวโน้มที่จะไม่กล้าที่จะขายหุ้นขาดทุน เพราะให้ความสำคัญกับ “ต้นทุน” มากจนเกินไป แน่นอนครับว่าต้นทุนอาจจะมีผลต่อ “ความรู้สึก” แต่ลองคิดดูนะครับว่าต้นทุนที่แท้จริงของหุ้นเราจริงๆแล้วคือ “ราคาวันที่เราซื้อ” หรือ “ราคาปิดเมื่อวาน” ตัวอย่างเช่นบริษัทก้ามปู ถ้าเรามีต้นทุนที่ 800 บาท วันนี้ราคาซื้อขายอยู่ที่ 400 บาท หลายคนอาจจะไม่กล้าขายเพราะกลัวขาดทุน แต่ลองคิดดูครับ ถ้าเรา “ไม่ขาย” เรา “ไม่ขาดทุน” จริงๆรึเปล่า?
2. หุ้นขึ้นมาเยอะควรจะขายทำกำไรรึเปล่า?
ในทางตรงกันข้ามนักลงทุนหลายท่านเลือกที่จะขายหุ้นที่ถืออยู่เพียงเพราะ ว่าหุ้นตัวนั้นขึ้นมาเยอะแล้ว โดยมองข้ามผลประกอบการ หรือ การเปลี่ยนแปลงทางปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นๆ ตัวอย่างเช่นถ้าเราซื้อหุ้นโรงพยาบาลแห่งหนึ่งแถวเพชรบุรีตอนราคา 25 บาท วันที่ราคา 50 บาทเรารู้สึกว่ามันแพงเพราะหุ้นขึ้นมา 100% ในระยะเวลาแค่นิดเดียว เราอาจจะรู้สึกว่าแพงและขายมันทิ้งไป จนลืมไปว่าการที่บริษัทเข้าไปซื้อกิจการจะมีผลดีต่อบริษัทอย่างไรในระยะยาว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจจะทำให้หุ้นขึ้นไปเกิน 100 บาทได้ ถึงแม้ว่าอดีตอาจจะพอบอกอะไรกับเราได้บ้าง แต่อย่าลืมว่าทุกครั้งที่เราลงทุน เราลงทุนกับอนาคตของบริษัท
3. ควรเล่นรอบรึเปล่า?
ฟิลล์ พิชเชอร์ บุคคลที่บัฟเฟตต์นับถือเป็นอาจารย์ท่านหนึ่ง เคยบอกไว้ว่า “ผมจะไม่เลือกขายหุ้นที่ผมชอบเพียงเพราะแค่ผมกลัวว่าตลาดหุ้นจะพัง” เพราะจากประสบการณ์ของฟิชเชอร์การคาดการให้ถูกว่าตลาดจะขึ้นหรือลงนั้นมี โอกาสถูกประมาณ 60% แต่การเลือกหุ้นที่ดีที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มหลายเท่าตัวนั้นมีโอกาสถึง 90% (ถ้ายึดหลักการที่ถูกต้อง) ฉะนั้นฟิชเชอร์จึงเลือกที่จะถือหุ้นมากกว่าขายเวลาตลาดไม่ดี
แต่ในมุมกลับกันจอร์จ โซรอส หาเงินเป็นกว่าสองล้านล้านได้จากการ “เล่นรอบ” หรือเก็งกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นและตลาดเงิน สิ่งที่โซรอสให้ความสำคัญมากๆเลยก็คือการเขียน Investment Diary เพื่อจดบันทึกการตัดสินใจซื้อขายทุกครั้ง เพราะสมองของคนเรามักจะลืมการตัดสินใจที่ผิดและเลือกจำเฉพาะในสิ่งที่ถูก (ถึงแม้จะไม่เล่นรอบก็แนะนำให้เขียนนะครับ เป็นประโยชน์มาก) ถ้าได้ผลก็ทำต่อไปได้ครับ แต่ถ้าลองมองย้อนกลับมาดูแล้วเสียมากกว่าได้ ก็อาจจะต้องลองพิจารณาทบทวนดูอีกทีครับ
4. Cut loss ควรทำหรือเปล่า?
มีผู้จัดการกองทุนที่มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่งเคยถามผมว่า “ถ้าหุ้นที่เราซื้อผลประกอบการออกมาดีมากๆเลย แต่ราคาปรับตัวลงทุกๆวัน เราจะ cut loss รึเปล่า?” ถ้าเป็นผู้อ่านจะตอบว่ายังไงครับ…
วันนั้นผมตอบไปว่า “ไม่ cut loss ครับ เพราะหุ้นนี้ผมวิเคราะห์มาดีแล้ว ถ้าลงผมก็จะซื้อเพิ่ม”
ฟังดูแล้วก็เหมือนจะเป็นเรื่องสมเหตุสมผลสำหรับคนนักลงทุนที่เน้นพื้นฐาน หุ้นดีแต่ถูกกว่าเดิม ทำไมจะไม่ซื้อล่ะ? แต่หลังจากผมได้ออกมาเป็นนักลงทุนเต็มตัวผมก็พบว่า จริงๆแล้วในทางปฏิบัติมันก็เป็นอะไรที่ทำได้ยากมากทีเดียว นอกจากเรื่องของ “ความรู้สึก” แล้วบางครั้งหุ้นที่เราถืออาจจะเกิดเหตุการบางอย่างที่เราอาจจะไม่ทราบ ซึ่งอาจจะเกิดจากธรรมาภิบาลที่ไม่ดี หรือการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของกิจการนั้นๆ ในกรณีที่เราพอจะทราบว่าหุ้นนั้นลงเพราะอะไรเราอาจจะพอประเมินได้ว่าตลาด over react หรือมองเวอร์เกินไปรึเปล่า แต่หลายครั้งราคาหุ้นก็อาจจะปรับตัวลงโดยไม่ทราบสาเหตุ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็สายเกินไปแล้ว
หลายครั้งความเสียหายจากหุ้นตัวเดียวนั้นอาจจะทำให้พอร์ตทั้งพอร์ตเสียไป เลยก็ได้ เพราะฉะนั้นสำหรับหุ้นที่มีความไม่แน่นอน หรือมีปัจจัยที่เราไม่รู้เยอะ (unknown factors) เช่นหุ้นพวกกลุ่มวัฏจักร หุ้นที่มีการลงทุนในต่างประเทศเยอะๆ หุ้นที่มีรายได้มาจากลูกค้าไม่กี่ราย การตั้ง cut loss อาจจะเป็นทางเลือกที่ไม่เลวเลยในการปกป้องเงินต้น
5. ขายแล้วจะนำเงินไปลงทุนอะไร?
สองทางเลือกคือ 1) ซื้อหุ้นตัวอื่น 2) ถือเงินสด ถ้าเราอยากจะซื้อหุ้นตัวอื่นคงพอจะเปรียบเทียบกันได้ว่าหุ้นหัวไหนดีกว่ากัน แต่นักลงทุนหลายๆคนมองข้ามความเป็นจริงที่ว่า “เงินสด” ก็ถือว่าหุ้นชนิดหนึ่งเหมือนกัน อย่าเช่นเงินฝากดอกเบี้ย 3% ต่อปีจะเทียบได้กับหุ้นที่มีปันผล (Dividend Yield) ปีละ 3% มีอัตราการเติบโตของกำไรปีละ 3% (จากดอกเบี้ยทบต้น) และจะมีอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (PE) ที่ 33 เท่า แน่นอนล่ะครับ เงินต้นคงจะไม่หายแน่ (ถ้าแบงค์หรือบริษัทหลักทรัพย์ไม่เจ๊ง) แต่อยากให้ลองถามตัวเองให้ชัดเจนก่อนว่า “หุ้นเงินสด” ตัวนี้คุ้มค่าที่จะอยู่ในพอร์ตของเรามั้ย
ข้อคิดท้ิงท้าย
“การขายหุ้นที่ดี” มักจะเกิดจาก “การซื้อที่ดี” การวางแผนล่วงหน้า การทำการบ้านให้เยอะๆก่อนการตัดสินใจซื้อหุ้นซักตัว จะทำให้เรารู้ว่าเราซื้อไปเพราะอะไร และจะทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะขายเมื่อไหร่ แค่นี้เราก็ไม่ต้องเสียใจภายหลังเวลาขายหุ้นแล้วครับ
แล้วคุณล่ะครับ มีวิธีการขายหุ้นยังไง? แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ใน comment ครับ
ด้วยรักและพันล้าน
Road to Billion
1. หุ้นลงมาเยอะแต่ต้นทุนแพง ไม่ควรขายรึเปล่า?
ผมสังเกตนักลงทุนหลายท่าน (ทั้งสมัครเล่นและมืออาชีพ) มีแนวโน้มที่จะไม่กล้าที่จะขายหุ้นขาดทุน เพราะให้ความสำคัญกับ “ต้นทุน” มากจนเกินไป แน่นอนครับว่าต้นทุนอาจจะมีผลต่อ “ความรู้สึก” แต่ลองคิดดูนะครับว่าต้นทุนที่แท้จริงของหุ้นเราจริงๆแล้วคือ “ราคาวันที่เราซื้อ” หรือ “ราคาปิดเมื่อวาน” ตัวอย่างเช่นบริษัทก้ามปู ถ้าเรามีต้นทุนที่ 800 บาท วันนี้ราคาซื้อขายอยู่ที่ 400 บาท หลายคนอาจจะไม่กล้าขายเพราะกลัวขาดทุน แต่ลองคิดดูครับ ถ้าเรา “ไม่ขาย” เรา “ไม่ขาดทุน” จริงๆรึเปล่า?
2. หุ้นขึ้นมาเยอะควรจะขายทำกำไรรึเปล่า?
ในทางตรงกันข้ามนักลงทุนหลายท่านเลือกที่จะขายหุ้นที่ถืออยู่เพียงเพราะ ว่าหุ้นตัวนั้นขึ้นมาเยอะแล้ว โดยมองข้ามผลประกอบการ หรือ การเปลี่ยนแปลงทางปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นๆ ตัวอย่างเช่นถ้าเราซื้อหุ้นโรงพยาบาลแห่งหนึ่งแถวเพชรบุรีตอนราคา 25 บาท วันที่ราคา 50 บาทเรารู้สึกว่ามันแพงเพราะหุ้นขึ้นมา 100% ในระยะเวลาแค่นิดเดียว เราอาจจะรู้สึกว่าแพงและขายมันทิ้งไป จนลืมไปว่าการที่บริษัทเข้าไปซื้อกิจการจะมีผลดีต่อบริษัทอย่างไรในระยะยาว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจจะทำให้หุ้นขึ้นไปเกิน 100 บาทได้ ถึงแม้ว่าอดีตอาจจะพอบอกอะไรกับเราได้บ้าง แต่อย่าลืมว่าทุกครั้งที่เราลงทุน เราลงทุนกับอนาคตของบริษัท
3. ควรเล่นรอบรึเปล่า?
ฟิลล์ พิชเชอร์ บุคคลที่บัฟเฟตต์นับถือเป็นอาจารย์ท่านหนึ่ง เคยบอกไว้ว่า “ผมจะไม่เลือกขายหุ้นที่ผมชอบเพียงเพราะแค่ผมกลัวว่าตลาดหุ้นจะพัง” เพราะจากประสบการณ์ของฟิชเชอร์การคาดการให้ถูกว่าตลาดจะขึ้นหรือลงนั้นมี โอกาสถูกประมาณ 60% แต่การเลือกหุ้นที่ดีที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มหลายเท่าตัวนั้นมีโอกาสถึง 90% (ถ้ายึดหลักการที่ถูกต้อง) ฉะนั้นฟิชเชอร์จึงเลือกที่จะถือหุ้นมากกว่าขายเวลาตลาดไม่ดี
แต่ในมุมกลับกันจอร์จ โซรอส หาเงินเป็นกว่าสองล้านล้านได้จากการ “เล่นรอบ” หรือเก็งกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของตลาดหุ้นและตลาดเงิน สิ่งที่โซรอสให้ความสำคัญมากๆเลยก็คือการเขียน Investment Diary เพื่อจดบันทึกการตัดสินใจซื้อขายทุกครั้ง เพราะสมองของคนเรามักจะลืมการตัดสินใจที่ผิดและเลือกจำเฉพาะในสิ่งที่ถูก (ถึงแม้จะไม่เล่นรอบก็แนะนำให้เขียนนะครับ เป็นประโยชน์มาก) ถ้าได้ผลก็ทำต่อไปได้ครับ แต่ถ้าลองมองย้อนกลับมาดูแล้วเสียมากกว่าได้ ก็อาจจะต้องลองพิจารณาทบทวนดูอีกทีครับ
4. Cut loss ควรทำหรือเปล่า?
มีผู้จัดการกองทุนที่มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่งเคยถามผมว่า “ถ้าหุ้นที่เราซื้อผลประกอบการออกมาดีมากๆเลย แต่ราคาปรับตัวลงทุกๆวัน เราจะ cut loss รึเปล่า?” ถ้าเป็นผู้อ่านจะตอบว่ายังไงครับ…
วันนั้นผมตอบไปว่า “ไม่ cut loss ครับ เพราะหุ้นนี้ผมวิเคราะห์มาดีแล้ว ถ้าลงผมก็จะซื้อเพิ่ม”
ฟังดูแล้วก็เหมือนจะเป็นเรื่องสมเหตุสมผลสำหรับคนนักลงทุนที่เน้นพื้นฐาน หุ้นดีแต่ถูกกว่าเดิม ทำไมจะไม่ซื้อล่ะ? แต่หลังจากผมได้ออกมาเป็นนักลงทุนเต็มตัวผมก็พบว่า จริงๆแล้วในทางปฏิบัติมันก็เป็นอะไรที่ทำได้ยากมากทีเดียว นอกจากเรื่องของ “ความรู้สึก” แล้วบางครั้งหุ้นที่เราถืออาจจะเกิดเหตุการบางอย่างที่เราอาจจะไม่ทราบ ซึ่งอาจจะเกิดจากธรรมาภิบาลที่ไม่ดี หรือการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของกิจการนั้นๆ ในกรณีที่เราพอจะทราบว่าหุ้นนั้นลงเพราะอะไรเราอาจจะพอประเมินได้ว่าตลาด over react หรือมองเวอร์เกินไปรึเปล่า แต่หลายครั้งราคาหุ้นก็อาจจะปรับตัวลงโดยไม่ทราบสาเหตุ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็สายเกินไปแล้ว
หลายครั้งความเสียหายจากหุ้นตัวเดียวนั้นอาจจะทำให้พอร์ตทั้งพอร์ตเสียไป เลยก็ได้ เพราะฉะนั้นสำหรับหุ้นที่มีความไม่แน่นอน หรือมีปัจจัยที่เราไม่รู้เยอะ (unknown factors) เช่นหุ้นพวกกลุ่มวัฏจักร หุ้นที่มีการลงทุนในต่างประเทศเยอะๆ หุ้นที่มีรายได้มาจากลูกค้าไม่กี่ราย การตั้ง cut loss อาจจะเป็นทางเลือกที่ไม่เลวเลยในการปกป้องเงินต้น
5. ขายแล้วจะนำเงินไปลงทุนอะไร?
สองทางเลือกคือ 1) ซื้อหุ้นตัวอื่น 2) ถือเงินสด ถ้าเราอยากจะซื้อหุ้นตัวอื่นคงพอจะเปรียบเทียบกันได้ว่าหุ้นหัวไหนดีกว่ากัน แต่นักลงทุนหลายๆคนมองข้ามความเป็นจริงที่ว่า “เงินสด” ก็ถือว่าหุ้นชนิดหนึ่งเหมือนกัน อย่าเช่นเงินฝากดอกเบี้ย 3% ต่อปีจะเทียบได้กับหุ้นที่มีปันผล (Dividend Yield) ปีละ 3% มีอัตราการเติบโตของกำไรปีละ 3% (จากดอกเบี้ยทบต้น) และจะมีอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (PE) ที่ 33 เท่า แน่นอนล่ะครับ เงินต้นคงจะไม่หายแน่ (ถ้าแบงค์หรือบริษัทหลักทรัพย์ไม่เจ๊ง) แต่อยากให้ลองถามตัวเองให้ชัดเจนก่อนว่า “หุ้นเงินสด” ตัวนี้คุ้มค่าที่จะอยู่ในพอร์ตของเรามั้ย
ข้อคิดท้ิงท้าย
“การขายหุ้นที่ดี” มักจะเกิดจาก “การซื้อที่ดี” การวางแผนล่วงหน้า การทำการบ้านให้เยอะๆก่อนการตัดสินใจซื้อหุ้นซักตัว จะทำให้เรารู้ว่าเราซื้อไปเพราะอะไร และจะทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะขายเมื่อไหร่ แค่นี้เราก็ไม่ต้องเสียใจภายหลังเวลาขายหุ้นแล้วครับ
แล้วคุณล่ะครับ มีวิธีการขายหุ้นยังไง? แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ใน comment ครับ
ด้วยรักและพันล้าน
Road to Billion
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น