ads head

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

สำรวจ7ของไฮเทค ไม่อยากตกเทรนด์ 2013 ต้องมีติดตัว!

สำรวจ7ของไฮเทค ไม่อยากตกเทรนด์ 2013 ต้องมีติดตัว!
Pic_316207
 ที่มา http://www.thairath.co.th/content/tech/316207
 ส่งท้ายปีมังกรทอง กับเทรนด์ของไฮเทคต้อนรับปี 2013 กับอุปกรณ์ 7 ชนิด ซึ่งทีมข่าวไอทีออนไลน์ ล้วงไม่ลับมานำเสนอ ให้คนอยากอินเทรนด์ได้เตรียมตัว เตรียมพร้อม...

ผ่านกระแสดรา ม่าสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตดัง ถึงมหากาพย์ 3จี จนถึงวันย่างเข้าสู่ปีใหม่ แน่นอนว่านอกจากเสื้อผ้า หน้าผม ที่แต่ละคนสรรหามาเสริมแต่งรับฤกษ์ดี สิ่งใหม่ๆ ในชีวิต หลายคนยังมองหาบรรดาของเล่นไฮเทคชิ้นใหม่ รวมถึงคอมพิวเตอร์และมือถือเครื่องใหม่มาต้อนรับปีใหม่อีกด้วย "ทีมข่าวไอทีออนไลน์" ไม่รอช้า อาสาไปล้วงเทรนด์ไอทีจาก "ประสิทธิ์ วรฉัตราวณิช" รองผู้จัดการทั่วไปและผู้อำนวยการฝ่ายไอที/ดิจิตอล บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงานคอมมาร์ต ที่จะมาช่วยอัพเดทความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในปี 2013 ให้คนอยากรู้ได้หายข้องใจ กับ 7 ของอินเทรนด์ที่ขอบอกว่า ไม่มีไม่ได้!! ...

1. จากสมาร์ทโฟนสู่ "แฟลบเล็ต"
ขอ ย้ำอีกครั้งให้คุณแน่ใจว่าไม่ได้อ่านหรือสะกดผิด เพราะเรากำลังจะพูดถึง แฟบ-เล็ต (Phablet) อุปกรณ์ลูกผสมระหว่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ซึ่งหน้าจอมักจะมีขนาดตั้งแต่ 5-7 นิ้ว เรียกว่ามีหน้าจอขนาดใหญ่กว่าสมาร์ทโฟนแต่เล็กกว่าแท็บเล็ต แฟบเล็ตสามารถตอบสนองการใช้งานได้ทั้งการสื่อสารตามแบบโทรศัพท์ และตอบรับการใช้งานรวมถึงความบันเทิงได้ตามสไตล์แท็บเล็ต ดังนั้น แฟบเล็ต จึงเป็นทางออกที่น่าสนใจของคนที่ต้องพกทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต เพราะนอกจากขนาดเครื่องที่เล็กกะทัดรัดลงทำให้พกพาได้สะดวกขึ้นแล้ว ยังตรงกับพฤติกรรมการใช้งานของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการอุปกรณ์ที่ทำได้ทุกอย่าง ในมือเดียว!




2. "แท็บเล็ต" ยังจำเป็นสำหรับคนทำงาน
นอก จากแท็บเล็ตที่เด็กนักเรียนต้องใช้ แท็บเล็ตก็ยังถือเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์จำเป็นสำหรับคนทำงาน และคนทำงานนอกสถานที่อย่างจริงจัง เพราะคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าโน้ตบุ๊กหรือเน็ตบุ๊กที่ว่าง่ายต่อการพกพาก็ ยังแพ้ความบางเบาของแท็บเล็ต ซึ่งส่วนใหญ่จะมีขนาดหน้าจอราว 7-10 นิ้ว แท็บเล็ตจึงกลายเป็นอีกหนึ่งอวัยวะของคนทำงาน



3. หลาก "แอพฯ ออนไลน์"
เพราะ รูปแบบการสื่อสารในปัจจุบันไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงการโทรเท่านั้น เรายังมีช่องทางอื่นๆ ให้ติดต่อพูดคุยกันได้ง่ายและสะดวกอีกหลายช่องทาง รวมถึงสารพัดแอพพลิเคชั่นเพื่อการสื่อสารที่ช่วยให้เราสื่อสารกันได้แบบ เรียลไทม์ ทั้งวอทส์แอพ ไลน์ เฟซบุ๊ก หรืออินสตาแกรม นอกจากประโยชน์ที่ช่วยให้เราใกล้ชิดเพื่อนฝูงหรือคนในครอบครัวมากขึ้น แอพฯ เหล่านี้ยังช่วยให้เราสามารถติดตามคนดัง ศิลปิน ดารา ได้ใกล้ชิดขึ้นอีกด้วย

4. "สมาร์ททีวี" จะฮิตมากขึ้น
แม้ สมาร์ททีวี จะเปิดตัวหลายยี่ห้อในประเทศไทยแล้ว แต่ต้องยอมรับว่าการเติบโตหรือยอดขายยังไม่ถึงขนาดโดดเด่นจนเป็นที่น่าจับตา ส่วนหนึ่งอาจมาจากปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานและคอนเทนต์ ซึ่งยังมีผู้ผลิตสู่ตลาดน้อยราย แต่เชื่อว่าหลังจากประเทศไทยเปิดใช้บริการ 3จี เชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2013 จะทำให้ตลาดสมาร์ททีวีคึกคักได้แน่นอน


5. "แบตสำรอง" ส่วนเกินที่จำเป็น!
หลาย คนยังมีความเข้าใจแบบผิดๆ และชอบบ่นว่าทำไมมือถือหรือแท็บเล็ตของตนนั้นถึงได้แบตเตอรี่หมดไวเหลือเกิน แต่คุณอาจลืมไปว่าขนาดหน้าจอที่ใหญ่ขึ้น การเล่นเกมออนไลน์ ดูยูทูบ แชตผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้น ล้วนแต่เป็นวิถีกินแบตเตอรี่ทั้งสิ้น ทำให้เราต้องพกพาแบตฯ สำรองไว้ข้างกาย จนถือเป็นอีกหนึ่งส่วนเกิน แต่มีความจำเป็นต่อชีวิตในปัจจุบันอย่างมาก


6. อย่าเพิ่งแน่ใจว่า "โน้ตบุ๊ก" หมดประโยชน์
แม้ จะมีสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือสมาร์ททีวี เข้ามาเติมเต็มการสื่อสาร การสร้างสรรค์ผลงานและความบันเทิงในชีวิตแล้ว แต่โน้ตบุ๊กก็ยังมีความจำเป็นต่อนักเรียนและกลุ่มคนทำงาน จากความสามารถที่เหมาะแก่การสร้างชิ้นงานมากกว่าใช้เปิดพรีวิวหรือแก้ไข เล็กๆ น้อยๆ บนแท็บเล็ต


7. "Personal Cloud" ทางออกของคนข้อมูลเยอะ
ท่าม กลางการขยายตัวของดีไวซ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่ออุปกรณ์รอบกายขยายจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก แน่นอนว่าข้อมูลจะยิ่งเติบโตตามไปด้วย ดังนั้น เพอร์โซนอล คลาวด์ จึงกลายเป็นทางออกสำหรับคนชอบจัดเก็บและแชร์คอนเทนต์ โดยเฉพาะผู้ท่ี่มีหลายอุปกรณ์และต้องการให้ข้อมูลต่างๆ เชื่อมโยงถึงกันกับแต่ละอุปกรณ์ ซึ่ง เพอร์โซนอล คลาวด์ จะอำนวยความสะดวกได้มากกว่าการมีสตอเรจที่สามารถจัดเก็บข้อมูลแต่ไม่สามารถ เชื่อมต่อได้

โปรดใช้วิจารณญาณในการซื้อและพกพา เพราะแม้จะเป็นมือถือเก่า โน้ตบุ๊กเครื่องหนา หรือแท็บเล็ตรุ่นแรก แต่หากใช้อย่างคุ้มค่าสมราคาที่จ่ายไป ก็น่าจะดีกว่าต้องเสียเงินถอยเครื่องรุ่นใหม่ แต่ใช้งานได้ไม่ถึงครึ่งของประสิทธิภาพ สวัสดีปีใหม่ค่ะ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น