ads head

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

สร้างนิสัยการลงทุน

สร้างนิสัยการลงทุน

ที่มา http://www.learners.in.th/blogs/posts/172993
การรู้นิสัยตนเองก่อนการลงทุน
นิสัย ที่ควรพึงนึกถึงตลอดเวลา ก็คือ วินัยในการลงทุน หมายความว่า ซื้อหุ้นโดยมีแผนการไว้ในใจสำหรับเป้าหมายการลงทุน และคอยติดตามการลงทุนของเราว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร นิสัยที่ดีในการลงทุนก็เหมือนๆกับการจัดการชีวิต คือ ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ จากการทำงานหนัก ศึกษาโดยละเอียด ดูให้รอบคอบ

การ ยอมอดทนถือหุ้นเพื่อหวังกำไรก้อนโตในระยะยาว โดยปล่อยให้กำไรจากการลงทุนเพิ่มขึ้น (Let Profit Run) ก็ถือว่าเป็นนิสัยที่ต้องฝึกเหมือนกัน ไม่อย่างนั้น อาจจะดีใจได้ชั่วครู่แล้วก็มาเสียดายในภายหลังที่ไม่เก็บหุ้นนั้นไว้ในพอร์ต ต่อไป

การ ลงทุนในตลาดหุ้น ต้องถือว่าการเลือกหุ้นที่ดี (Stock Selection) เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งในการเพิ่มกำไรจากการลงทุน และทั้งๆที่มีทฤษฎีและบทพิสูจน์ทางสถิติมากมายที่แสดงให้เห็นว่า การลงทุนอย่างมีหลักเกณฑ์และมีหลักการมักจะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม ก็มักจะมีสิ่งที่มาล่อตาล่อใจให้นักลงทุนอย่างเราๆท่านๆ ต้องเฉไฉ ขาดวินัยในการลงทุนอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตามกระแส หรือการแกว่งตัวของภาวะตลาด และราคาหุ้นในระยะสั้น ที่ทำให้เสียนิสัยในการลงทุนอยู่หลายครั้ง ดังนั้น จึงน่าสนใจที่จะมาคุยกันว่า ทำอย่างไรจึงจะสร้างนิสัย (ที่ดี) ในการลงทุนได้

ก่อนอื่น ก่อน ที่จะไปลงทุนในหุ้นบริษัทไหน ก็ควรจะมีนิสัยในการเลือกหุ้นเสียก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของการวิเคราะห์หลักทรัพย์ตามปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ที่เกี่ยวเนื่องกับการวิเคราะห์งบการเงิน วิเคราะห์ตัวเลขต่างๆ เพื่อดูว่าบริษัทมีผลดำเนินงานที่ดี ยอดขายเติบโต กำไรดี แต่ก็มักจะมีคำถามอีกว่า ที่ว่าดีน่ะ คือเท่าไหร่กันแน่ ตรงนี้ ก็มีบรรดาผู้รู้ (GURU) บอกไว้เหมือนกันว่า ถ้าบริษัทที่เติบโตดี น่าจะหมายถึงบริษัทที่มีกำไรต่อหุ้น อยู่ระหว่าง 10-25% ต่อปี ในช่วงระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปีที่ผ่านมา คือมองหาทั้งหุ้นที่มีประวัติดี และไม่หวือหวาจนเกินไป 

ใน เรื่องนี้ มีข้อสังเกตุไว้หน่อยนะครับ ข้อแรก แทนที่เราจะดูกันที่กำไรสุทธิ เราพิจารณากันที่กำไรต่อหุ้น เพราะบริษัทอาจมีการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น เช่น การเพิ่มทุน ฯลฯ ก็ต้องให้มั่นใจว่า ผู้ถือหุ้นไม่ได้โดนปันส่วนให้ได้รับน้อยลง หรือที่เรียกว่า Dilution Effect ในกรณีที่มีการเพิ่มทุนแล้วทำให้ได้ประโยชน์น้อยลง แต่ถ้าเป็นเรื่องการแตกหุ้นหรือแตกพาร์ ก็เป็นเรื่องที่ต่างกันไป เพราะถึงแม้ว่า กำไรต่อหุ้นจะลดน้อยลง แต่ผู้ถือหุ้นได้รับหุ้นมากขึ้นโดยอัตโนมัติ คิดเบ็ดเสร็จแล้ว ก็ได้รับผลประโยชน์เท่าเดิม ส่วนข้อที่สอง การที่ต้องดูเป็นระยะ 5 ปีนั้น ก็เพื่อให้มั่นใจว่า เรากำลังเลือกบริษัทที่มีแผนการขยายธุรกิจอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนในระยะยาวและสม่ำเสมอทั้งในระดับรายได้ และกำไร

นอก จากนี้ การเลือกหุ้นดี ควรจะหมายถึงการเลือกลงทุนในหุ้นที่มีราคาไม่สูงจนเกินไป เรื่องนี้ ไม่ได้แปลว่า ห้ามซื้อหุ้นราคาเป็นร้อยๆบาทต่อหุ้น แล้วให้ซื้อเฉพาะหุ้นราคาไม่เกินสิบบาทนะครับ แต่แปลว่า ราคาหุ้นเมื่อเทียบกับกำไรแล้วไม่สูงจนเกินไป เช่น ถ้าเราดูที่ค่าพีอีเรโช (P/E : Price-to-earnings Ratio) โดยเฉลี่ยก็ควรจะอยู่ระหว่าง 8-20 เท่า ขึ้นอยู่กับลักษณะอุตสาหกรรม และการเปรียบเทียบกับหุ้นบริษัทอื่นในตลาด ส่วนในเรื่องหุ้นแพงหรือถูกนั้น บางครั้งการกำหนดจังหวะเวลาที่เข้าไปซื้อหุ้นช่วงที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม ก็เป็นนิสัยการลงทุนที่มีส่วนสำคัญเหมือนกัน ในหลายๆโอกาส อาจจะมีช่วงเวลาที่หุ้นบางบริษัทหรือบางกลุ่มธุรกิจออกอาการ “หุ้นตกอับ” คือไม่ค่อยมีคนสนใจ หรือภาวะตลาดอึมครึม หรือวงการนักวิเคราะห์ไม่ได้มองเห็นมูลค่าที่แท้จริง เช่น อาจลืมดูมูลค่าจริงของสินทรัพย์และที่ดินที่บริษัทถืออยู่ หรือในกรณีของบริษัทที่มีบริษัทลูกหรือการลงทุนในโครงการต่างๆ แล้วเกิดมีความเสี่ยง ก็อาจจะคิดมูลค่าโดยเผื่อขาดทุนไว้มากจนเกินไป ก็อาจจะเป็นโอกาสที่เข้าไปซื้อของถูกก่อนใครก็ได้ 

เมื่อเลือกหุ้นได้แล้ว นิสัยที่ควรพึงนึกถึงตลอดเวลา ก็คือ วินัยในการลงทุน หมายความว่า ซื้อหุ้นโดยมีแผนการไว้ในใจสำหรับเป้าหมายการลงทุน และคอยติดตามการลงทุนของเราว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร นิสัยที่ดีในการลงทุนก็เหมือนๆกับการจัดการชีวิต คือ ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ จากการทำงานหนัก ศึกษาโดยละเอียด ดูให้รอบคอบ และสิ่งที่จะทำให้การลงทุนได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าคนอื่น ก็คือ การมีความรู้มากกว่าคนอื่นเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ดีกว่า ซึ่งในหลายๆกรณีหมายถึง ความสามารถในการตัดสินใจที่ไม่เหมือนคนอื่น เช่น ในกรณีที่เกิดข่าวร้ายในตลาดและทุกคนแห่กันขายหุ้น (Panic Selling) ถ้าคุณตัดสินใจได้ดีกว่า โดยเชื่อจากข้อมูลและการศึกษาว่าเป็นกรณีที่เกิดขึ้นเป็นชั่วคราว และอาการตื่นเต้นมากกว่า เหมือนเป็น Knee Jerk Effect คุณก็อาจจะไม่ขาย แต่ถือไว้แทน หรือขายออกไปก่อนแล้วเข้าไปช้อนซื้อในราคาที่ต่ำกว่าในขณะที่คนอื่นยังไม่ กล้ากลับเข้ามาใหม่

นิสัยที่สำคัญในการลงทุนอีกประเภทหนึ่ง คือเรื่องของระยะเวลาและกรอบการลงทุน ถ้ากรอบการลงทุนของคุณเน้นที่ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว คุณอาจจะให้ความสำคัญกับผลตอบแทนด้านเงินปันผลไม่มากนัก เพราะมีหลายบริษัทที่ช่วงแรกเป็นช่วงของการเติบโต จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมากในการขยายธุรกิจ ซึ่งจะทำให้จ่ายเงินปันผลได้ไม่มากนัก (คงไม่ถึงขั้นว่าไม่จ่ายเลย ถ้าบริษัทดำเนินธุรกิจได้ค่อนข้างมั่นคง) และคิดไว้อยู่เสมอว่า อย่านิสัยเสียโดยมีหุ้นในพอร์ตไว้เยอะเกินไป ขอเพียงเลือกลงทุนไม่กี่บริษัทที่เชื่อมั่นว่าให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า แล้วเน้นเงินลงทุนไปที่หุ้นเหล่านั้น เพราะการที่ถือหุ้นจำนวนมากบริษัทเกินไป กลับจะเป็นผลเสีย เพราะไม่สามารถติดตามข้อมูลบริษัทได้อย่างทั่วถึง จำนวนที่เหมาะสมน่าจะอยู่ที่ประมาณ 10-12 บริษัทเท่านั้น เพราะถ้าเกินเลยไปถึงมากกว่า 20 บริษัท ก็อาจจะเข้าข่ายจัดการดูแลได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ นิสัยเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการถือหุ้น (Hold Strategy) โดยไม่รีบขาย โดยควรถือหุ้นที่เลือกลงทุนไว้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นฐานของ บริษัท เช่น มีการเปลี่ยนประเภทธุรกิจหลัก หรือ บริษัทเติบโตจนเข้าใกล้จุดอิ่มตัวหรือไม่สามารถจะเติบโตไปพร้อมๆกับเศรษฐกิจ ที่ขยายตัวอีกต่อไป เป็นต้น แต่อย่ารีบขายหุ้นเพราะหวังเพียงกำไรเล็กๆน้อยๆในช่วงสั้น เพราะการยอมอดทนถือหุ้นเพื่อหวังกำไรก้อนโตในระยะยาว โดยปล่อยให้กำไรจากการลงทุนเพิ่มขึ้น (Let Profit Run) ก็ถือว่าเป็นนิสัยที่ต้องฝึกเหมือนกัน ไม่อย่างนั้น อาจจะดีใจได้ชั่วครู่แล้วก็มาเสียดายในภายหลังที่ไม่เก็บหุ้นนั้นไว้ในพอร์ต ต่อไป

นิสัย การลงทุนประการสุดท้าย คือ เราควรนึกอยู่เสมอว่า ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ และจริงๆแล้วต้องถือว่าเป็นเรื่องของต้นทุนแบบหนึ่งในการลงทุนเหมือนกัน เพราะการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงและทุกคนไม่เก่งไปเสียทุกครั้งที่เลือกลงทุน แต่การตัดสินใจขายตัดขาดทุนต่างหากเป็นนิสัยที่ต้องฝึกไว้ เพราะการที่รับรู้ความผิดพลาดได้อย่างรวดเร็วและรีบตัดขายออกไปก่อนในช่วง ที่ยังขาดทุนไม่มาก จะช่วยยุติความผิดพลาดที่ยืดเยื้อ เพราะหากถือหุ้นนั้นต่อไป ก็อาจจะเกิดการขาดทุนมากจนทำใจตัดขายขาดทุนออกไปไม่ไหว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น