พลิกแพลงกลยุทธ์ของ Bismarck เพื่อค้นหา “หุ้นดี” ที่จะเติบโตยิ่งใหญ่ในอนาคต
นักลงทุนหุ้นคุณค่า (Value Investor)
ไม่ควรจำกัดตัวเองไว้ที่การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจของหุ้นตัวนั้น
เพียงอย่างเดียว
หากทว่ายังต้องเพ่งมองให้ทะลุไปถึงความสามารถในการวางหมากแยบยลทางการเมือง
และสังคมของหุ้นตัวนั้น เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันอีกด้วย
Bismarck เป็นรัฐบุรุษที่ยิ่งใหญ่ของโลก ซึ่งมอบบทเรียนล้ำค่าให้เห็นว่าการพิชิตชัยในสมรภูมิรบ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการทหาร ไม่จำเป็นต้องใช้เพียงความแข็งกร้าวและรุนแรงเท่านั้น
ที่มา http://www.siamintelligence.com/bismarck-for-investment/
1. ชัยชนะได้มาด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้ตนเอง ยึดกุมจุดยุทธศาสตร์ที่ศัตรูไม่อาจทำลายได้
ประวัติศาสตร์ทางการทหารล้วนแต่ทำให้ผู้ศึกษาเรื่องกลยุทธ์เข้าใจผิดพลาด เพราะทำให้หมกมุ่นในการคิดค้นแผนการซับซ้อนเพื่อโจมตีศัตรู โดยคิดว่านี่คือปัจจัยชี้ขาดของชัยชนะในสงคราม
ความปราชัยของนักการทหารที่ยิ่งใหญ่เยี่ยงนโปเลียน ก็เนื่องมาจากการขยายแนวรบที่ยืดยาวเกินไปเข้าไปในประเทศรัสเซียที่อ้างว้าง และเหน็บหนาว หากทว่า นั่นก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงมิได้ เพราะนโปเลียนได้สร้างศัตรูไปทั่วยุโรป ที่กำลังรอเวลารวมตัวเพื่อล้างแค้น กลยุทธ์ของนโปเลียนจึงมีเพียงการใช้สงครามเพื่อยุติสงครามเท่านั้น
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชที่แทบไม่เคยรบแพ้ในสมรภูมิใดเลย ก็กลับต้องแพ้ภัยตัวเองและต้องเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มฉกรรจ์ บ้างก็ว่าเกิดจากความเหน็ดเหนื่อยและการตรากตรำในสมรภูมิรบ บ้างก็ว่าเหล่าทหารคู่ใจวางแผนกันปลงพระชมน์เพราะทนไม่ได้ที่จะต้องรบ รบ รบ โดยมิมีวันสิ้นสุด
อัครมหาเสนาบดี Bismarck ผู้ใส่ใจศึกษาประวัติศาสตร์อย่างจริงจัง คงจะเข้าใจถึงจุดอ่อนของการพิชิตชัยด้วยการรบเป็นอย่างดี จึงวางยุทธศาสตร์ในการรวมชาติเยอรมัน โดยทำสงครามให้น้อยที่สุด หากทว่าเน้นการวางแผนที่แยบยลเพื่อสร้างความได้เปรียบให้ตนเอง แล้วจึงค่อยขย้ำเหยื่ออย่างเลือดเย็น
Bismarck ต้องเล่นเกมทั้งในและนอกสภา เพื่อให้ได้งบประมาณมาปรับปรุงกองทัพ หลังจากนั้นจึงค่อยหาจังหวะโอกาสในการทำให้ผู้ขัดขวางแผนการรวมชาติเยอรมัน ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว เมื่อมั่นใจว่าตนเองได้เปรียบแล้ว จึงค่อยหาเหตุผลชอบธรรมในการประกาศสงครามในขั้นสุดท้าย ซึ่งทำให้รัฐปรัสเซียของบิสมาร์คได้รับชัยชนะ โดยจ่ายค่าตอบแทนทั้งชีวิตทหาร เงินทอง และทรัพยากรน้อยที่สุด
ที่ลึกซึ้งที่สุดก็คือ Bismarck ไม่พยายามบีบคั้นศัตรูให้พินาศล่มจม หากทว่า เมื่อได้รับชัยชนะตามต้องการแล้วก็รู้จักหยุดยั้งตัวเอง ทั้งเพื่อประหยัดทรัพยากรในการรบพุ่งแล้ว ยังทำให้ศัตรูที่ปราชัยนั้นไม่อ่อนแอเกินไป ซึ่งจะกลายเป็นเบี้ยหมากให้บิสมาร์กได้ใช้ในการถ่วงดุลกับมหาอำนาจและศัตรู ที่เหลืออยู่ต่อไปอีก
หุ้นที่น่าลงทุน จึงไม่ใช่บริษัทที่จ้องแต่จะยึดครองส่วนแบ่งของคนอื่นอยู่ร่ำไป เพราะนอกจากทำให้ฝ่ายตรงข้ามดำเนินนโยบายตอบโต้ที่รุนแรงแล้ว ยังอาจเป็นการเปิดช่องว่างให้บริษัทหน้าใหม่รุกเข้ามาในตลาดได้อีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อบริษัทของเราและคู่แข่งต่างก็บาดเจ็บบอบช้ำด้วยกันทั้งคู่
2. สร้างโครงข่ายพันธมิตรที่ซับซ้อน จัดสรรผลประโยชน์ของทุกภาคส่วนอย่างลงตัว
ชัยชนะในสงครามกับฝรั่งเศส ทำให้เกียรติภูมิของรัสปรัสเซียในการเป็นผู้นำรวมชาติเยอรมันพุ่งถึงจุดสูง สุด ซึ่งทำให้ภารกิจสร้างประเทศเยอรมันสำเร็จลงในปี 1871 หากทว่า บิสมาร์คเป็นผู้นำที่เล่นเกมยาว มองเห็นการณ์ไกลว่า ยุทธศาสตร์การรวมชาติเยอรมันโดยการใช้สงครามกับฝรั่งเศสเป็นบันไดเบิกทาง นั้น ย่อมสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้กับฝรั่งเศส และต้องหาโอกาสแก้แค้นในอนาคตอย่างแน่นอน
บิสมาร์คจึงได้สร้างระบบพันธมิตรกับประเทศมหาอำนาจยุโรปทั้งหลาย โดยทำให้กรุงเบอร์ลินเป็นศูนย์กลางทางการฑูตที่ประเทศอื่นจะเข้ามาเจรจาต่อ รองผลประโยชน์กัน แน่นอนว่า ต่างฝ่ายต่างก็หวาดระแวงซึ่งกันและกัน หากทว่าด้วยอัจฉริยภาพของบิสมาร์ค ก็สามารถทำให้ชาติเยอรมันที่พึ่งสถาปนาขึ้นนี้สามารถเป็นพันธมิตรได้กับทุก ฝ่าย แม้ว่าแต่ละชาติต่างก็มีปัญหากินแหนงแคลงใจเรื่องผลประโยชน์และดินแดน อาณานิคม
การโดดเดี่ยวฝรั่งเศส จึงเป็นยุทธศาสตร์ทางการฑูตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของบิสมาร์ค ที่แทบไม่มีผู้นำยุโรปคนใดสามารถกระทำได้สำเร็จมาก่อน เพราะการเมืองของยุโรปตั้งแต่สมัยเรเนสซองค์เป็นต้นมานั้น ประเทศมหาอำนาจที่ผงาดขึ้นมาในแต่ละช่วงเวลา มักจะถูกรุมกระหนาบจากประเทศอื่นที่ด้อยกว่า จนกระทั่งต้องสูญเสียความเข้มแข็งของตนเองไป
หากทว่า โดยการหยิบยื่นและไกล่เกลี่ยผลประโยชน์ให้ชาติทั้งหลายอย่างลงตัว แน่นอนว่า การเลือกออสเตรียเป็นพันธมิตร อาจทำให้รัสเซียซึ่งมีเรื่องกินแหนงแคลงใจกับออสเตรียต้องพลอยขุ่นเคือง เยอรมันไปด้วย หากทว่าด้วยความแยบยลละเอียดอ่อนในการจัดการของบิสมาร์คก็ทำให้รัสเซียพึงพอ ใจได้ ดังนั้น แม้ทุกชาติจะเป็นศัตรูกันเอง หากทว่าก็พร้อมจะเป็นมิตรกับเยอรมัน
หุ้นที่ดีจึงไม่ใช่บริษัทที่จ้องจะรีดกำไรจากลูกค้าหรือซัพพลายเออร์อย่าง ถึงที่สุด หากจะต้องรู้จักศิลปะในการผ่อนหนักผ่อนเบา แน่นอนว่า ผลกำไรในธุรกิจหนึ่งย่อมมีอย่างจำกัด การแบ่งไปให้คนอื่น ก็หมายความว่าตนเองอาจจะสูญเสียไป ดังนั้น ความสร้างสรรค์ในการเพิ่มผลตอบแทนให้กับอุตสาหกรรมโดยรวม จึงเป็นสิ่งสำคัญควบคู่ไปกับการจัดสรรผลประโยชน์ ที่ย่อมแน่นอนว่า การที่พันธมิตรของเรา ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ซัพพลายเออร์ หรือแม้กระทั่งคู่แข่ง ให้ความร่วมมือกับเรา ก็ย่อมเพิ่มความน่าจะเป็นในการเพิ่มก้อนเค้กของผลกำไร ซึ่งสุดท้ายก็จะย้อนกลับมาตอบแทนให้กับธุรกิจของเรามากกว่าคู่แข่ง
นี่คือ ความซับซ้อนในการจัดการผลประโยชน์ของบิสมาร์ค ที่น่าจะไปศึกษาค้นคว้าให้ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งย่อมเป็นประโยชน์ทั้งในการพัฒนาธุรกิจ การลงทุนในหุ้นสุดยอด และการประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
3. ยอมรับใน “ข้อจำกัด” ของทั้งตัวเราและองค์กรอย่างหน้าชื่นตาบาน เพื่อนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นจริง
เยอรมันในยุคสมัยของบิสมาร์คกำลังก้าวแซงหน้าอังกฤษไปทั้งในเชิงเศรษฐกิจและ เทคโนโลยี หากทว่า บิสมาร์คก็ยังเจ้าเล่ห์เพียงพอที่จะตระหนักดีว่า ความเก่งกาจของเยอรมัน ก็ไม่อาจเอาชนะการกลุ้มรุมจากประเทศระดับสองที่รวมหัวกันได้
เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง บิสมาร์คจึงได้วางตำแหน่งของประเทศเยอรมันไว้เพียงการเป็น “มหาอำนาจในภาคพื้นยุโรป” เท่านั้น โดยไม่ก้าวล่วงไปชิงชัยเพื่อจะเป็นเจ้าอาณานิคมทางทะเลกับอังกฤษและฝรั่งเศส แม้ในบางครั้งบิสมาร์จะถูกบีบจากประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ในเยอรมันให้เข้า ครอบครองอาณานิคมเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบของโรงงานอุตสาหกรรม หากทว่า บิสมาร์คก็มีวิธีประนีประนอมกับทุกฝ่าย เลือกที่จะยึดอาณานิคมอย่างพอเพียงแบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น จึงสามารถรักษายุทธศาสตร์เดิมที่วางไว้ได้ตลอดวาระการเป็นอัครมหาเสนาบดี
ที่น่าเศร้าคือ หลังจากกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ ก็เริ่มมีความทะนงตนตามภาษาคนหนุ่มที่ผ่านโลกมาน้อย พระองค์ทรงลิดรอนอำนาจของบิสมาร์คจนกระทั่งต้องลาออกไปในท้ายที่สุด และได้ดำเนินนโยบายขยายอำนาจของเยอรมันไปในทุกสมรภูมิ จนกระทั่งนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ในที่สุด
ความพ่ายแพ้ของเยอรมันในปี 1918 กลับยิ่งแสดงถึงอัจฉริยภาพของบิสมาร์คที่เลือกจะวางตำแหน่งและผลประโยชน์ของ ประเทศอย่างแยบยล เลือกที่จะเข้าสู่สงครามให้น้อยที่สุด จ่ายค่าตอบแทนให้ต่ำที่สุด พัฒนาประเทศทั้งทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการคมนาคม ควบคู่ไปด้วยเสมอ ที่สำคัญคือ การสร้างระบบพันธมิตรและจัดสรรผลประโยชน์อย่างฉลาดสร้างสรรค์ รู้จักการขยายและเพิ่มพูนก้อนเค้กผลประโยชน์ด้วย ไม่ใช่สักแต่เพียงแย่งชิงก้อนเค้กที่ทำให้ผู้ที่ได้รับส่วนแบ่งน้อยต้องโกรธ เคือง และนำไปสู่ความขัดแย้งซึ่งมีต้นทุนที่แพงยิ่ง
ฉันใดก็ฉันนั้น หุ้นของบริษัทที่ดีจึงต้องเข้าใจ “ขีดจำกัด” ในการทำธุรกิจของตัวเอง บางครั้งต้องจัดการเรื่องการเงินให้คล่องตัวก่อนที่จะขยายสาขา ไม่ใช่ขยายไปก่อนแล้วจึงหวังว่าเงินจะเข้ามาได้ทันเวลากับการจ่ายหนี้ บางครั้งก็ต้องจัดการเรื่องการเมืองในองค์กรให้เรียบร้อย ก่อนที่จะไปโจมตีคู่แข่ง
นักลงทุนที่อยู่วงนอก จึงมักจะประหลาดใจทุกครั้งว่าทำไม “หุ้นที่ยิ่งใหญ่” จึงเชื่องช้าในการขยายกิจการ เพราะต้องลงทุนทรัพยากรและเวลาไปในการทลายขีดจำกัดของตัวเองก่อนที่จะก้าว ต่อไป สุดท้าย เราจึงมักจะไปเลือกหุ้นที่มีวิสัยทัศน์สวยหรูในการประยุกต์นวัตกรรมที่คิด ค้นได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ได้ใคร่ครวญถึงขีดจำกัดของทั้งตัวเอง ลูกค้า และการตอบรับของตลาดอย่างลึกซึ้ง
Bismarck เป็นรัฐบุรุษที่ยิ่งใหญ่ของโลก ซึ่งมอบบทเรียนล้ำค่าให้เห็นว่าการพิชิตชัยในสมรภูมิรบ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการทหาร ไม่จำเป็นต้องใช้เพียงความแข็งกร้าวและรุนแรงเท่านั้น
ที่มา http://www.siamintelligence.com/bismarck-for-investment/
ประวัติศาสตร์ทางการทหารล้วนแต่ทำให้ผู้ศึกษาเรื่องกลยุทธ์เข้าใจผิดพลาด เพราะทำให้หมกมุ่นในการคิดค้นแผนการซับซ้อนเพื่อโจมตีศัตรู โดยคิดว่านี่คือปัจจัยชี้ขาดของชัยชนะในสงคราม
ความปราชัยของนักการทหารที่ยิ่งใหญ่เยี่ยงนโปเลียน ก็เนื่องมาจากการขยายแนวรบที่ยืดยาวเกินไปเข้าไปในประเทศรัสเซียที่อ้างว้าง และเหน็บหนาว หากทว่า นั่นก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงมิได้ เพราะนโปเลียนได้สร้างศัตรูไปทั่วยุโรป ที่กำลังรอเวลารวมตัวเพื่อล้างแค้น กลยุทธ์ของนโปเลียนจึงมีเพียงการใช้สงครามเพื่อยุติสงครามเท่านั้น
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชที่แทบไม่เคยรบแพ้ในสมรภูมิใดเลย ก็กลับต้องแพ้ภัยตัวเองและต้องเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มฉกรรจ์ บ้างก็ว่าเกิดจากความเหน็ดเหนื่อยและการตรากตรำในสมรภูมิรบ บ้างก็ว่าเหล่าทหารคู่ใจวางแผนกันปลงพระชมน์เพราะทนไม่ได้ที่จะต้องรบ รบ รบ โดยมิมีวันสิ้นสุด
อัครมหาเสนาบดี Bismarck ผู้ใส่ใจศึกษาประวัติศาสตร์อย่างจริงจัง คงจะเข้าใจถึงจุดอ่อนของการพิชิตชัยด้วยการรบเป็นอย่างดี จึงวางยุทธศาสตร์ในการรวมชาติเยอรมัน โดยทำสงครามให้น้อยที่สุด หากทว่าเน้นการวางแผนที่แยบยลเพื่อสร้างความได้เปรียบให้ตนเอง แล้วจึงค่อยขย้ำเหยื่ออย่างเลือดเย็น
Bismarck ต้องเล่นเกมทั้งในและนอกสภา เพื่อให้ได้งบประมาณมาปรับปรุงกองทัพ หลังจากนั้นจึงค่อยหาจังหวะโอกาสในการทำให้ผู้ขัดขวางแผนการรวมชาติเยอรมัน ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว เมื่อมั่นใจว่าตนเองได้เปรียบแล้ว จึงค่อยหาเหตุผลชอบธรรมในการประกาศสงครามในขั้นสุดท้าย ซึ่งทำให้รัฐปรัสเซียของบิสมาร์คได้รับชัยชนะ โดยจ่ายค่าตอบแทนทั้งชีวิตทหาร เงินทอง และทรัพยากรน้อยที่สุด
ที่ลึกซึ้งที่สุดก็คือ Bismarck ไม่พยายามบีบคั้นศัตรูให้พินาศล่มจม หากทว่า เมื่อได้รับชัยชนะตามต้องการแล้วก็รู้จักหยุดยั้งตัวเอง ทั้งเพื่อประหยัดทรัพยากรในการรบพุ่งแล้ว ยังทำให้ศัตรูที่ปราชัยนั้นไม่อ่อนแอเกินไป ซึ่งจะกลายเป็นเบี้ยหมากให้บิสมาร์กได้ใช้ในการถ่วงดุลกับมหาอำนาจและศัตรู ที่เหลืออยู่ต่อไปอีก
หุ้นที่น่าลงทุน จึงไม่ใช่บริษัทที่จ้องแต่จะยึดครองส่วนแบ่งของคนอื่นอยู่ร่ำไป เพราะนอกจากทำให้ฝ่ายตรงข้ามดำเนินนโยบายตอบโต้ที่รุนแรงแล้ว ยังอาจเป็นการเปิดช่องว่างให้บริษัทหน้าใหม่รุกเข้ามาในตลาดได้อีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อบริษัทของเราและคู่แข่งต่างก็บาดเจ็บบอบช้ำด้วยกันทั้งคู่
2. สร้างโครงข่ายพันธมิตรที่ซับซ้อน จัดสรรผลประโยชน์ของทุกภาคส่วนอย่างลงตัว
ชัยชนะในสงครามกับฝรั่งเศส ทำให้เกียรติภูมิของรัสปรัสเซียในการเป็นผู้นำรวมชาติเยอรมันพุ่งถึงจุดสูง สุด ซึ่งทำให้ภารกิจสร้างประเทศเยอรมันสำเร็จลงในปี 1871 หากทว่า บิสมาร์คเป็นผู้นำที่เล่นเกมยาว มองเห็นการณ์ไกลว่า ยุทธศาสตร์การรวมชาติเยอรมันโดยการใช้สงครามกับฝรั่งเศสเป็นบันไดเบิกทาง นั้น ย่อมสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้กับฝรั่งเศส และต้องหาโอกาสแก้แค้นในอนาคตอย่างแน่นอน
บิสมาร์คจึงได้สร้างระบบพันธมิตรกับประเทศมหาอำนาจยุโรปทั้งหลาย โดยทำให้กรุงเบอร์ลินเป็นศูนย์กลางทางการฑูตที่ประเทศอื่นจะเข้ามาเจรจาต่อ รองผลประโยชน์กัน แน่นอนว่า ต่างฝ่ายต่างก็หวาดระแวงซึ่งกันและกัน หากทว่าด้วยอัจฉริยภาพของบิสมาร์ค ก็สามารถทำให้ชาติเยอรมันที่พึ่งสถาปนาขึ้นนี้สามารถเป็นพันธมิตรได้กับทุก ฝ่าย แม้ว่าแต่ละชาติต่างก็มีปัญหากินแหนงแคลงใจเรื่องผลประโยชน์และดินแดน อาณานิคม
การโดดเดี่ยวฝรั่งเศส จึงเป็นยุทธศาสตร์ทางการฑูตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของบิสมาร์ค ที่แทบไม่มีผู้นำยุโรปคนใดสามารถกระทำได้สำเร็จมาก่อน เพราะการเมืองของยุโรปตั้งแต่สมัยเรเนสซองค์เป็นต้นมานั้น ประเทศมหาอำนาจที่ผงาดขึ้นมาในแต่ละช่วงเวลา มักจะถูกรุมกระหนาบจากประเทศอื่นที่ด้อยกว่า จนกระทั่งต้องสูญเสียความเข้มแข็งของตนเองไป
หากทว่า โดยการหยิบยื่นและไกล่เกลี่ยผลประโยชน์ให้ชาติทั้งหลายอย่างลงตัว แน่นอนว่า การเลือกออสเตรียเป็นพันธมิตร อาจทำให้รัสเซียซึ่งมีเรื่องกินแหนงแคลงใจกับออสเตรียต้องพลอยขุ่นเคือง เยอรมันไปด้วย หากทว่าด้วยความแยบยลละเอียดอ่อนในการจัดการของบิสมาร์คก็ทำให้รัสเซียพึงพอ ใจได้ ดังนั้น แม้ทุกชาติจะเป็นศัตรูกันเอง หากทว่าก็พร้อมจะเป็นมิตรกับเยอรมัน
หุ้นที่ดีจึงไม่ใช่บริษัทที่จ้องจะรีดกำไรจากลูกค้าหรือซัพพลายเออร์อย่าง ถึงที่สุด หากจะต้องรู้จักศิลปะในการผ่อนหนักผ่อนเบา แน่นอนว่า ผลกำไรในธุรกิจหนึ่งย่อมมีอย่างจำกัด การแบ่งไปให้คนอื่น ก็หมายความว่าตนเองอาจจะสูญเสียไป ดังนั้น ความสร้างสรรค์ในการเพิ่มผลตอบแทนให้กับอุตสาหกรรมโดยรวม จึงเป็นสิ่งสำคัญควบคู่ไปกับการจัดสรรผลประโยชน์ ที่ย่อมแน่นอนว่า การที่พันธมิตรของเรา ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ซัพพลายเออร์ หรือแม้กระทั่งคู่แข่ง ให้ความร่วมมือกับเรา ก็ย่อมเพิ่มความน่าจะเป็นในการเพิ่มก้อนเค้กของผลกำไร ซึ่งสุดท้ายก็จะย้อนกลับมาตอบแทนให้กับธุรกิจของเรามากกว่าคู่แข่ง
นี่คือ ความซับซ้อนในการจัดการผลประโยชน์ของบิสมาร์ค ที่น่าจะไปศึกษาค้นคว้าให้ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งย่อมเป็นประโยชน์ทั้งในการพัฒนาธุรกิจ การลงทุนในหุ้นสุดยอด และการประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
3. ยอมรับใน “ข้อจำกัด” ของทั้งตัวเราและองค์กรอย่างหน้าชื่นตาบาน เพื่อนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นจริง
เยอรมันในยุคสมัยของบิสมาร์คกำลังก้าวแซงหน้าอังกฤษไปทั้งในเชิงเศรษฐกิจและ เทคโนโลยี หากทว่า บิสมาร์คก็ยังเจ้าเล่ห์เพียงพอที่จะตระหนักดีว่า ความเก่งกาจของเยอรมัน ก็ไม่อาจเอาชนะการกลุ้มรุมจากประเทศระดับสองที่รวมหัวกันได้
เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง บิสมาร์คจึงได้วางตำแหน่งของประเทศเยอรมันไว้เพียงการเป็น “มหาอำนาจในภาคพื้นยุโรป” เท่านั้น โดยไม่ก้าวล่วงไปชิงชัยเพื่อจะเป็นเจ้าอาณานิคมทางทะเลกับอังกฤษและฝรั่งเศส แม้ในบางครั้งบิสมาร์จะถูกบีบจากประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ในเยอรมันให้เข้า ครอบครองอาณานิคมเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบของโรงงานอุตสาหกรรม หากทว่า บิสมาร์คก็มีวิธีประนีประนอมกับทุกฝ่าย เลือกที่จะยึดอาณานิคมอย่างพอเพียงแบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น จึงสามารถรักษายุทธศาสตร์เดิมที่วางไว้ได้ตลอดวาระการเป็นอัครมหาเสนาบดี
ที่น่าเศร้าคือ หลังจากกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ ก็เริ่มมีความทะนงตนตามภาษาคนหนุ่มที่ผ่านโลกมาน้อย พระองค์ทรงลิดรอนอำนาจของบิสมาร์คจนกระทั่งต้องลาออกไปในท้ายที่สุด และได้ดำเนินนโยบายขยายอำนาจของเยอรมันไปในทุกสมรภูมิ จนกระทั่งนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ในที่สุด
ความพ่ายแพ้ของเยอรมันในปี 1918 กลับยิ่งแสดงถึงอัจฉริยภาพของบิสมาร์คที่เลือกจะวางตำแหน่งและผลประโยชน์ของ ประเทศอย่างแยบยล เลือกที่จะเข้าสู่สงครามให้น้อยที่สุด จ่ายค่าตอบแทนให้ต่ำที่สุด พัฒนาประเทศทั้งทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการคมนาคม ควบคู่ไปด้วยเสมอ ที่สำคัญคือ การสร้างระบบพันธมิตรและจัดสรรผลประโยชน์อย่างฉลาดสร้างสรรค์ รู้จักการขยายและเพิ่มพูนก้อนเค้กผลประโยชน์ด้วย ไม่ใช่สักแต่เพียงแย่งชิงก้อนเค้กที่ทำให้ผู้ที่ได้รับส่วนแบ่งน้อยต้องโกรธ เคือง และนำไปสู่ความขัดแย้งซึ่งมีต้นทุนที่แพงยิ่ง
ฉันใดก็ฉันนั้น หุ้นของบริษัทที่ดีจึงต้องเข้าใจ “ขีดจำกัด” ในการทำธุรกิจของตัวเอง บางครั้งต้องจัดการเรื่องการเงินให้คล่องตัวก่อนที่จะขยายสาขา ไม่ใช่ขยายไปก่อนแล้วจึงหวังว่าเงินจะเข้ามาได้ทันเวลากับการจ่ายหนี้ บางครั้งก็ต้องจัดการเรื่องการเมืองในองค์กรให้เรียบร้อย ก่อนที่จะไปโจมตีคู่แข่ง
นักลงทุนที่อยู่วงนอก จึงมักจะประหลาดใจทุกครั้งว่าทำไม “หุ้นที่ยิ่งใหญ่” จึงเชื่องช้าในการขยายกิจการ เพราะต้องลงทุนทรัพยากรและเวลาไปในการทลายขีดจำกัดของตัวเองก่อนที่จะก้าว ต่อไป สุดท้าย เราจึงมักจะไปเลือกหุ้นที่มีวิสัยทัศน์สวยหรูในการประยุกต์นวัตกรรมที่คิด ค้นได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ได้ใคร่ครวญถึงขีดจำกัดของทั้งตัวเอง ลูกค้า และการตอบรับของตลาดอย่างลึกซึ้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น