วิกฤตการเงินกรีซ บทเรียนหนี้สาธารณะไทย มติชน 23 มิถุนายน 2555
ที่มา - ส่วนหนึ่งบทความของนาย ธีรวุฒิ ศรีพินิจ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเอกสารการสัมมนาในหัวข้อ "หนี้สาธารณะ-เพื่อชาติหรือระเบิดเวลา" จัดทำโดยสมาคมเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถานะหนี้สาธารณะของประเทศไทย
พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 กำหนดให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นผู้ดูแลบริหารหนี้สาธารณะของประเทศไทย โดยมีข้อกำหนดว่า
1) รัฐบาลสามารถกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี และ
2) รัฐบาลสามารถกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณไม่เกินร้อยละ 80 ของงบประมาณที่ตั้งไว้เพื่อชำระคืนเงินต้น
รัฐบาลยังกำหนดกรอบความยั่งยืนทางการคลังดังนี้1) สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 60
2) ภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15
3) สัดส่วนรายจ่ายลงทุนต่องบประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25
สถานะหนี้สาธารณะเปรียบเทียบ
ปริมาณ หนี้สาธารณะของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ. หนี้สาธารณะและกรอบความยั่งยืนทางการคลัง ในส่วนนี้จะได้ทำการเปรียบเทียบระดับหนี้สาธารณะของประเทศต่างๆ เพื่อสำรวจว่าระดับหนี้สาธารณะของประเทศไทยมีฐานะเป็นอย่างไร
หนี้สาธารณะของประเทศไทยถือว่าอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอา เซียน 5 ประกอบด้วย ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ทุกประเทศในกลุ่มประเทศนี้มีสัดส่วนหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นในปี 2552 อันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกาจนถึงปี 2551 ยกเว้นอินโดนีเซียที่มีสัดส่วนหนี้ลดลงต่อเนื่อง สัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศไทยจัดอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับประเทศใน กลุ่มนี้แต่แนวโน้มการก่อหนี้ของประเทศไทยทำให้ IMF คาดการณ์ว่าระดับหนี้สาธารณะจะเพิ่มสูงขึ้นเกินร้อยละ 50 ภายใน 5 ปีข้างหน้า และสูงเป็นลำดับที่สองรองจากมาเลเซีย
สัดส่วนหนี้สาธารณะ ของประเทศไทยถือว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว อาทิ กลุ่มประเทศ G7 และกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะในทุกกลุ่มเศรษฐกิจ มีลักษณะโดยรวมคล้ายกันประการหนึ่่งคือมีระดับหนี้สูงขึ้นในปี 2552 อันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศอเมริกา สัดส่วนหนี้นี้คาดว่าจะคงระดับสูงแบบนี้ไปอีก 5 ถึง 8 ปีข้างหน้า กลุ่มประเทศ G7 มีระดับหนี้สูงสุดตลอดมาอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 83 ตามมาด้วยกลุ่มสหภาพยุโรปที่ระดับร้อยละ 62 และกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ที่ระดับร้อยละ 40 ถึง 50
บทเรียนจากประเทศกรีซเพื่อการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในส่วนนี้จะได้กล่าวถึงบทเรียนวิกฤตหนี้สาธารณะ ของประเทศกรีซพอสังเขปดังนี้ วิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยุโรปกล่าวโดยย่อเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มทาง เศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ทำให้กลุ่มประเทศที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจอ่อนแอนั้นได้แฝงตัวและใช้โอกาส จากความแข็งแกร่งทางกลุ่มเศรษฐกิจ การบิดเบือนกลไกทางเศรษฐกิจนี้ประกอบกับการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการเงินกับ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเกิดวิกฤตในประเทศสหรัฐอเมริกาความเปราะบางที่ซ้อนอยู่จึงถูกเผยออกมา และสถานการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายขึ้นตามลำดับ จากการปิดตัวของสถาบันการเงินและหนี้สาธารณะที่สะสมอยู่ในสัดส่วนที่อยู่
วิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มสหภาพยุโรปเริ่มต้นจากประเทศ กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส โดยในที่นี้จะพิจารณาประเทศกรีซเป็นกรณีดังกล่าว กรีซจัดเป็นรัฐสวัสดิการซึ่งทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะของกรีซสูง และสูงกว่าระดับมาตรฐานของสหภาพยุโรปตั้งแต่ก่อตั้งสหภาพยุโรป และเมื่อภายหลังสหภาพยุโรปได้ก่อตั้งแล้วสัดส่วนหนี้สาธารณะของกรีซก็ยังไม่ ลดลงตามที่ได้ตกลงไว้ การรวมตัวกันของสหภาพยุโรปได้สร้างเงื่อนไขทางการเงินให้กับประเทศสมาชิกรวม ทั้งกรีซด้วยโดยทุกประเทศสมาชิกจะได้รับการจัดอันดับเครดิตในระดับเดียวกัน ซึ่งสำหรับประเทศกรีซ นับว่ามีต้นทุนทางเงินนี้ถูกกว่าพื้นฐานเศรษฐกิจของตน การที่มีต้นทุนทางการเงินที่ถูกลงในลักษณะนี้จึงเป็นดาบสองคม ในทางหนึ่งทำให้กรีซสามารถเข้าถึงแหล่งทุนที่มีราคาถูก ซึ่งทำให้สามารถนำมาพัฒนาประเทศได้ อีกทางหนึ่งต้นทุนทางการเงินที่ถูกลงไม่ได้สะท้อนถึงพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดพฤติกรรมการกู้เงินเกินตัวได้ และเนื่องจากกรีซเป็นรัฐสวัสดิการจึงเป็นที่น่าเชื่อได้ว่าแหล่งเงินทุนที่ ถูกนี้ จะไม่ถูกนำไปใช้เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการผลิต
เงื่อนไขประการต่อมาของการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปคือ ประเทศสมาชิกสามารถขายสินค้าและเคลื่อนย้ายทรัพยากรกันได้อย่างเสรี ซึ่งก็เป็นดาบสองคมให้แก่ประเทศกรีซอีกเช่นกัน ในทางหนึ่งกรีซมีโอกาสเข้าสู่ตลาดที่ใหญ่ขึ้นเป็นการสร้างรายได้ให้สูงขึ้น และสามารถมองเห็นจุดอ่อนในภาคเศรษฐกิจของตนเองได้ชัดเจนขึ้น ในอีกทางหนึ่งการเปิดตลาดลักษณะนี้ทำให้ภาคเศรษฐกิจที่อ่อนแอและไม่ได้รับ การปรับปรุงเสียหายได้
สำหรับประเทศกรีซส่วนของภาคแรงงานได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ความสามารถในการแข่งขันของกรีซลดลงจากต้นทุนแรงงานที่สูงกว่าทำให้กรีซประสบ กับปัญหาการว่างงานขึ้นซึ่งเป็นผลของกลไกตลาดที่คัดเลือกใช้ทรัพยากรที่มี ประสิทธิภาพก่อน แนวทางในการจัดการกับปัญหาการว่างงานของรัฐสวัสดิการเช่นกรีซคือ การให้เงินสนับสนุนต่อผู้ว่างงาน การแก้ไขปัญหาลักษณะนี้จึงเท่ากับไม่ได้แก้ปัญหาและยังเป็นการสร้างภาระทาง การคลังให้สูงขึ้นด้วยซึ่งเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะ ของกรีซเพิ่มขึ้น
กรีซทราบว่าปัญหาการสูญเสียความสามารถทางการแข่ง ขันและการมีสัดส่วนหนี้สาธารณะที่สูงขึ้นจะเป็นปัญหาในภายหน้า จึงได้ทำการตกแต่งบัญชีเดินสะพัดและบัญชีหนี้สาธารณะให้มีผลสถานะดีกว่าที่ เป็นจริง เมื่อเกิดปัญหาวิกฤตการเงินในประเทศสหรัฐและความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการ เงินในระดับสูงระหว่างประเทศสหรัฐและกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป อีกทั้งสถานะทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอกับการสูญเสียความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับการ รายงานหนี้สาธารณะที่ต่ำกว่าความเป็นจริงทำให้กรีซต้องประสบกับภาวะวิกฤตการ เงินอย่างหนักและลุกลามไปยังประเทศสมาชิกอื่นๆ ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป
บทเรียนที่ได้จากประเทศกรีซ เป็นลักษณะที่เกิดซ้ำๆ ในประเทศต่างๆ ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจการวิเคราะห์ในส่วนต่อไปนี้แม้จะเป็นการเปรียบเทียบ กันโดยตรงกับประสบการณ์ของประเทศกรีซ แต่ในขณะเดียวกัน ก็พิจารณาได้ว่าเป็นการสรุปเอาข้อผิดพลาดที่เป็นพื้นฐานที่เกิดในประเทศอื่น มาประกอบด้วยเช่นกัน
บทเรียนแรกที่อาจนำมาเทียบเคียงได้คือการดำเนินระบบรัฐสวัสดิการของกรีซ ปัจจุบันอาจจะยังไม่สามารถเปรียบเทียบประเทศไทยกับกรีซได้โดยตรงนักใน ประเด็นนี้ แม้กระนั้นก็ตาม การเพิ่มขึ้นของโครงการประชานิยมตามลำดับก็อาจจะพิจารณาได้ว่าประเทศไทยจะมี ค่าใช้จ่ายในลักษณะรัฐสวัสดิการมากขึ้น ข้อสำคัญในประเด็นนี้คือแนวโน้มที่สูงขึ้นของสัดส่วนหนี้สาธารณะแต่เป็นแนว โน้มที่จะลดลงได้ยาก ดังที่เห็นในประเทศกรีซว่าการทอนสิทธิที่ให้แล้วจะต้องใช้ความกล้าหาญของ รัฐบาลอย่างมาก
บทเรียนที่สอง คือผลของการบิดเบือนกลไกทางเศรษฐกิจจากการใช้นโยบายรัฐสวัสดิการประสบการณ์ ที่ผิดพลาดของประเทศกรีซในเรื่องนี้คือ การแก้ปัญหาการว่างงานด้วยการให้เงินช่วยเหลือผู้ตกงานหรือเงินอุดหนุนค่า จ้างแรงงาน นโยบายนี้ได้ทอนโครงสร้างแรงจูงใจที่จะพัฒนาฝีมือแรงงาน ทำให้แรงงานยิ่งขาดประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้มีการว่างงานมากขึ้นในรอบถัดไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นนโยบายระยะสั้นที่สร้างความเสียหายในระยะยาว กล่าวคือเป็นนโยบายที่นำประเทศเข้าสู่วงจรอุบาทว์นั่นเอง
บทเรียนที่สาม เป็นประเด็นต่อเนื่องจากบทเรียนที่สอง ดังที่กล่าวไว้แล้วว่า การอุดหนุนแรงงานเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ซึ่งก็เป็นนโยบายที่สำคัญ แต่หากขาดนโยบายสวัสดิการที่ต่อเนื่องเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน นโยบายระยะสั้นดังกล่าวย่อมเป็นการสูญเปล่าทางงบประมาณ
บทเรียนที่สี่ คือความโปร่งใสในการดำเนินนโยบาย การที่กรีซไม่กล้ารวบรวมตัวเลขหนี้ทั้งหมดและพยายามรายงานให้น้อยเข้าไว้ เป็นการบิดเบือนสัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่ง และเมื่อเปิดเผยให้เห็นตัวเลขที่แท้จริง จึงทำให้เกิดความตื่นตระหนก สำหรับประเทศไทยยังมีข้อบ่งชี้ที่ไม่ชัดเจนว่ารัฐบาลได้พยายามซ่อนตัว เลขอย่างประเทศกรีซ ความโปร่งใสในการดำเนินนโยบายยังรวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นต่อสาธารณะด้วย เช่นกัน ประเด็นความโปร่งใสจึงเป็นสิ่งที่ทำมากได้ผลดีมาก ดังนั้น จึงควรเป็นประเด็นที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ
บทเรียนที่ห้า คือภาวะความผันผวนและเหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจสัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศจะสูงขึ้นอย่างมาก เสมอ ข้อผิดพลาดประการสำคัญของกรีซ คือไม่ได้ให้ความสนใจในการสร้างความเข้มแข็งทางการเงินในภาวะปกติ ดังนั้น เมื่อเกิดวิกฤตต้นทุนทางการเงินจึงสูงมาก การก่อหนี้สาธารณะของประเทศไทยในปัจจุบัน ในมุมหนึ่งอาจจะมองได้ว่าเป็นการลงทุนเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และสัดส่วนหนี้สาธารณะยังอยู่ในกรอบที่กำหนดไว้แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ควรจะ พิจารณาความเสี่ยงที่อาจจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นได้ทั้งจากนอกประเทศและใน ประเทศ
ประการสุดท้าย การเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปได้ให้ทั้งผลดีและผลเสียกับกรีซ การได้แหล่งต้นทุนที่ถูกและมีตลาดที่กว้างขึ้น ทั้งตลาดสินค้า แรงงาน และตลาดเงิน ให้ผลดีกับประเทศสมาชิก เช่น กรีซในระยะต้น ในระยะยาวกรีซไม่ได้ปรับตัวให้ทันกับโครงสร้างทางการแข่งขันที่เปลี่ยนไป ประโยชน์ที่ได้จากการเป็นประเทศสหภาพยุโรปกลับกลายเป็นให้ความเสียหายกับ กรีซแทน ในทำนองเดียวกัน การเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ย่อมมีทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และโทษต่อประเทศไทยเช่นกัน ในช่วงการเปลี่ยนผ่านนี้ย่อมจะต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากเพื่อปรับโครงสร้าง ให้สอดรับกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป
ที่มา:http://www.matichon.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น